Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ความขัดแย้งในที่ทำงาน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
คนวัดป่า
บัวผลิหน่อ
เข้าร่วม: 05 ธ.ค. 2006
ตอบ: 1
ที่อยู่ (จังหวัด): Bangkok
ตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2007, 5:13 pm
เราจะใช้ธรรมะ ช่วยในการแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไรค่ะ
เศษพุทธทาส
บัวใต้น้ำ
เข้าร่วม: 08 เม.ย. 2007
ตอบ: 121
ตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2007, 8:46 pm
ความขัดแย้งในที่ทำงาน นี่คือสัจจะประจำวัฏสงสาร คุณต้องจำให้ขึ้นใจ คือ ไม่เที่ยง คงทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ หาสภาพความเป้นตัวตนที่แท้ไม่ได้ หากคุณคิดอยากอยู่กับมัน ก็จงทำใจให้ได้ ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงมันให้ได้ บางสิ่งบางอย่างเราเปลี่ยนไม่ได้ แต่เราสามรถยอมรับได้ด้วยกำลังแห่งปัญญาที่เป็นตัวตรวจสอบดูแลวิถีแห่งความป็น ความขัดแย้งบางที่อาจนำมาซึ่งการประสานประโยชน์ได้ในภายหลัง
ผมไม่รู้รายละเอียด
แต่ส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากตัวเรา คือเราไปคิดให้มันขัดแย้งเอง ขัดแย้งที่เราเอง ยิ่งเราคิดมากเท่าไร มันก็จะเป็นการผูกกรรม ผูกใจเจ็บ ก็เท่ากับว่าเรากระโจนเข้าไปร่วมเส้นทางวิบากร่วมกันกับเขาที่จะรับบาปอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเอง
พวกเราส่วนใหญ่มักคิดกันว่าสาเหตุนั้นมาจากภายนอก แต่ที่จริงเราต่างหากที่ไปเก็บมันมาคิดแล้ว เป็นเหตุให้เกิดการพูดการทำขึ้นมา กลายเป็นปัญหา
บางทีปัญหานั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรา แต่เราก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับเขา
ทางที่ดีเราจึงต้องเเริ่มแก้ไขจากตัวเรา ไม่เห็นความขัดแย้งเป็นปัญหาแล้วเกาะเกี่ยวอยู่ในห่วงความคิด แต่เห็นความขัดแย้งเป็นสะพานข้ามที่จะข้ามมันไป สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นเพียงกระบวนการวิบากที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้เรียนรู้เพื่อทดสอบตัวเรา ว่าเราจะคล้อยตามหรือเป็นผู้กล้าเผชิญหน้ากับมัน
อย่างสงบเย็น
คนในที่ทำงานอาจเกือบทั้งหมดคือมิตรของเรา พวกเขาทั้งหลายคือความเป็นไปได้ แต่อะไรละครับที่ผลักดันให้เจอพวกเขาเหล่านั้น? กรรมใหม่ไงครับ มันเป็นแรงดึงดูดที่จะทำให้ได้พบกันกับคนร่วมงานที่ดีๆ
เปลี่ยนคนเก่าๆในวันวานของเราให้ดีขึ้น เพราะหากไม่เปลี่ยนก็สันนิษฐานได้ว่าจะเจอแต่เรื่องแบบเก่าๆอยู่ร่ำไป
อะไรจะเกิดขึ้นมันก็ด้วยกรรม พวกเขามีกรรมเป็นและวิบากที่ต้องทำต้องรับอยู่ตลอด
แต่เราจะต้องทำและรับให้ดีเท่านั้น
ส่วนเรื่องปัญหาความขัดแย้งในโลกที่คุณต้องเผชิญนั้น มันก็แก้ได้บ้างไม่ได้บ้าง บางที่เราไม่รู้จะแก้ยังไง ทำได้อย่างมากแค่ปล่อยมันไปเดี่ยวมันก็ดีเอง
ดังนั้นแก้ที่ตัวเรา เรานี่แหละคือความขัดแย้ง เป้นมนุษย์ทำอะไรก็ได้ สำคัญคือ จะทำแค่ไหนเท่านั้น
เมื่อคุณเป็นตัวอย่างได้แล้ว คนอื่นก็จะคล้อยตามคุณไปเอง เพราะใกล้คนเช่นไรติดใจคนแบบไหน ก็มีความโน้มเอียงที่จะเป็นคนเช่นนั้น ดูอย่างท่านองคุลีมาร สามรถเปลี่ยนจากมหาโจรผู้คร่าชีวิตมนุษย์เป็นอาชีพ กลายเป็นพระผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบได้ภายในวันเดียว เพียงเมื่อพบยอดกัลยณอย่างพระพุทธเจ้า คุณเองก็เลือกเพื่อนร่วมงานที่ดีๆไว้
ฉะนั้นจงเป็นคนมีเมตตา และรู้จักให้อภัย อย่าผูกกรรม ไม่ใช้ว่าผมบอกคุณแล้วคุณจะทำได้เลย คุณต้องฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ มีสติ มีสามธิในการเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง
May the Dhamma be with you. ขอธรรมจงสถิตอยู่กับท่าน
_________________
ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด
เสาหลักของธรรมะ
บัวผลิหน่อ
เข้าร่วม: 26 เม.ย. 2007
ตอบ: 8
ตอบเมื่อ: 26 เม.ย.2007, 9:59 am
ความขัดแย้งในที่ทำงาน
เราจะใช้ธรรมะ ช่วยในการแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไรค่ะ
ความขัดแย้งในที่ทำงานนั้น ขึ้นอยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ภายนอก และภายใน
ภายนอก คือ สภาวะแวดล้อมที่อยู่ลอบตัวเรา ทั้งบุคคลต่างๆ ที่เราทำงานด้วย ทั้งสถานที่
ภายใน คือ จิตใจของเรา คือเราไปยึดติดมัน ว่าทำไมต้องเป็นแบบนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ความว้าวุ่นใจ ความวิตกกังวลใจ หรื อความกลัว ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากต่อความรู้สึก และจิตใจของเรา ทำให้ปัญญา ซึ่งเป็นเสมือนเทียนที่จุดในที่มืดได้หายไป ทำให้เราหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาเรื้อรัง และบานปลายขึ้นซึ่งก็คือความขัดแย้งในที่ทำงาน
วิธีแก้ คือ
1. รักษาสภาพจิตใจของเราให้คงที่ อย่าให้ความวิตกกังวล หรือความกลัว ความระแวง ความอิจฉาริษยา มาบดบังสติปัญญาของเรา
2. ตรวจสอบดูสิว่า สิ่งใหนที่เราทำผิด หรือก่อให้เกิดความผิดผลาดในที่ทำงาน จนทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในที่ทำงาน
3. ตรวจสอบดูสิว่า มีสิ่งใด บุคคลใด ที่ทำให้เกิดความแตกแยกแก่หมู่คณะ หรือทำให้เกิดความขัดแย้งในที่ทำงานบ้าง หาวิธีแก้ไข โดยด่วน มิฉะนั้น ก็จะกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง แก้ไม่หาย !!!
4. นำธรรมะของพระพุทธเจ้า คือ อิทธิบาท 4
(1). ฉันทะ ความรัก คือรักในงาน เมื่อมีความรักในงานที่เราทำ ก็จะทำให้เราเกิด...
(2) วิริยะ คือความเพียร ดังที่ได้บอกไว้ในข้อแรกว่า เมื่อมีรัก ก็ต้องพยายามทำให้เกิดความสำเร็จ แต่เมื่อมีวิริยะคือ ความเพียรแล้ว ก็ควรจะมี...
(3) จิตตะ คือความฝักใฝ่ในสิ่งนั้น พยายามหาต้นเหตูที่ทำให้เกิดความผิดพลาด หรือพยายามหาสิ่งที่ช่วยสนับสนุนให้งานของตนนั้น สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี แต่สุดท้ายก็ต้องมี...
(4) วิมังสา คือติตรองให้รอบคอบ ว่า งานที่เราทำ หรือปัญหานี้ เกิดจากอะไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คือวางอนาคตของงานไว้ คิดให้รอบคอบแล้วค่อยทำ ก็ยังไม่สายเกินไป ในส่วนนี้ ต้องใช้ปัญญาอย่างมากในการวิเคราะห์ แยกแยะ และสังเคราะห์ออกมาเพื่อให้งานของเราดีที่สุด
ธรรมะ คือ อิทธิบาท 4 นี้ จะปรับใช้ได้ทุกสถานการ แม้แต่ความขัดแย้งภายในที่ทำงานก็นำไปปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความสามัคคี ซึ่งกันและกัน
สู้ ! สู้ ! นะคร้าบ..บบ
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 06 พ.ค.2007, 3:13 pm
ความขัดแย้ง คือ การเข้ากันไม่ได้ มีความแตกต่างกัน
ต้องดูก่อนว่ามีความขัดแย้งกันอย่างไร
ตัวเรา ขัดแย้งกับกลุ่มของพวกเขา
กลุ่มของพวกเขามีความขัดแย้งกับ ตัวเรา
เมื่อรู้ว่าขัดแย้งกันอย่างไรแล้วจากนั้นให้มาพิจารณาถึงการปรับตัว ต้องพิจารณาดูว่า
กลุ่มของพวกเขา เน้นหนักไปด้านใด เน้นหนักด้านวิชชา หรือ เน้นหนักไปด้านอวิชชา
เมื่อพิจารณาดูกลุ่มของพวกเขาถี่ถ้วนดีแล้วว่าเป็นอย่างไร ให้พิจารณาดูตนเองว่า
เรา มีความโน้มเอียงไปในทาง วิชชา หรือ เรา มีความโน้มเอียงไปในทาง อวิชชา
เมื่อรู้จักกลุ่มเขา และ รู้จักตนเองดีแล้ว ก็จะรู้เองว่า เราสามารถที่จะทำงานร่วมกับพวกเขาได้หรือไม่ได้
ปัจจัยอื่นที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม คือ ความต้องการทางทรัพย์สิน
หากเข้ากับคนที่ทำงานไม่ได้แต่มีความต้องการทางทรัพย์สิน และหลีกเลี่ยงความต้องการทางทรัพย์สินไม่ได้ ก็ควรปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนที่ทำงานไปสักระยะก่อน เมื่อได้งานใหม่ที่ดีกว่างานเดิมแล้วจึงค่อยทำการลาออก
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th