Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มนุษยศาสตร์และประกาศธรรม (วณิชชา 5 และ อนันตริยากรรม) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ธัญลักษณ์ รัตนะ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 15 เม.ย. 2007
ตอบ: 1
ที่อยู่ (จังหวัด): สุราษฎร์ธานี

ตอบตอบเมื่อ: 15 เม.ย.2007, 7:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้าพเจ้าเรียนวิชา พุทธศาสนาในประเทศไทย
มีคติธรรมประจำวิชา คือ “ลูกศิษย์อาจารย์นภาจรี
มีเมตตาต่อสัตว์ ปฏิบัติศีล 5 รักษาพรหมจรรย์ เข้าเรียนทันตรงเวลา"

วณิชชา 5
(วิจารณ์ตัวเอง – ปัจจุบันข้าพเจ้าไม่มีอาชีพตามวณิชชา 5 และอนาคตข้าพเจ้าก็จะไม่ทำ)

ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ขอเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นพุทธบูชา คือ วณิชชา 5 (หน้า 66)
วณิชชา 5 (การค้าขาย 5 อย่าง ในที่นี้ หมายถึง การค้าขายที่เป็นอกรณียะสำหรับอุบาสก คือ
อุบาสกไม่ควรประกอบ [Vanijja : trade which should not be plied by a lay disciple]
1.สัตถวณิชชา (ค้าขายอาวุธ Sattha – vanijja : trade in weapons )
2.สัตตวณิชชา (ค้าขายมนุษย์ Satta - vanijja : trade in human beings)
3.มังสวณิชชา (ค้าขายเนื้อสัตว์ Mamsa - vanijja : trade in flesh ; อรรถกถาแก้ว่าเลี้ยงสัตว์
ไว้ขาย trade in animals for meat )
4.มัชชวณิชชา (ค้าขายของเมา Majja - vanijja : trade in spirits or narcotics)
5.วิสวณิชชา (ค้าขายยาพิษ Visa - vanijja : trade in poison)

อาจารย์นภาจรี อธิบายไว้ว่า
การประกอบสัมมาอาชีพ จะนำมาซึ่งความเจริญแห่งตนและบุตรหลาน
- การประกอบอาชีพที่จะนำมาซึ่งความเดือดร้อนกาย เดือดร้อนใจ จึงเป็นอาชีพต้องห้าม
เพราะเป็นอาชีพที่ขัดกับหลักแห่งมนุษยธรรม ได้แก่
-การค้าขายอาวุธ ให้ผู้ซื้อนำไปประหัตประหาร ทำลายล้างมนุษย์ และสัตว์โลก
ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน นำมาสู่ ความเศร้าสลด , การพลัดพราก
- การค้าขายมนุษย์ มนุษย์ย่อมมีสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกัน
จึงไม่ควรมีใครมีสิทธิ์ในการนำมนุษย์มาขายได้ ทั้งในลักษณะ การค้าทาส และการค้า โสเภณี
- เลี้ยงสัตว์และฆ่าเพื่อขาย การประกอบอาชีพโดยการเบียดเบียนชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
ย่อมเป็นการสร้างกระแสกรรมให้หมุนเวียนมิรู้จบสิ้น
- ค้าของมึนเมาทุกชนิด ที่เสพย์แล้วเกิดโทษเป็นการทำลายทรัพยากรมนุษย์ที่โหดม
และขาดศีลธรรมอย่างยิ่ง
- ค้าขายยาพิษ สิ่งที่เป็นพิษทั้งทางตรงและทางอ้อมที่อยู่ในอาหาร และเครื่องดื่ม
เป็นการทำลายผู้อื่นดุจการทำลายเผ่าพันธุ์แห่งตน
อารยชนผู้เจริญ และพ่อค้าวานิช ทั้งมวลจึงควรหลีกเลี่ยงดังกล่าว


อนันตริยากรรม 5
(วิจารณ์ตัวเอง – ข้าพเจ้าทำไม่มีความคิดที่จะปฏิบัติตนอย่างอนันตริกรรม 5 แต่อย่างใด)
ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ขอเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นพุทธบูชา คือ อนันตริยากรรม (หน้า 68)
อนันตริยากรรม 5 (กรรมหนักที่สุดฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลรุนแรงต่อเนื่องไป
โดยไม่มีกรรมอื่นมากั้นหรือคั่นได้ Anantariya – kamma : immediacy – deeds; heinous which
bring immediate, uninterrupted and uninterruptible results )
1.มาตุฆาต (ฆ่ามารดา Matughata: matricide)
2.ปิตุฆาต (ฆ่าบิดา Pitughata: patricide)
3.อรหันตฆาต (ฆ่าพระอรหันต์ Arahantaghata: killing an Arahant)
4.โลหิตุปบาท (ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป Lohituppada:
causing a Buddha to suffer a contusion or to bleed)
5.สังฆเภท (ยังสงฆ์ให้แตกกัน, ทำลายสงฆ์ Sanghavheda: causing schism in the Order)
กรรม 5 นี้ ในพระบาลีเรียกว่า อนันตริกกรรม

อาจารย์นภาจรีอธิบายไว้ว่า
กรรมหนัก บาปหนัก อกุศลให้ผลรุนแรงในทุกชาติภพ คือ
การฆ่าบิดา-มารดา-พระอรหันต์-ทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป และ
การยุยงสงฆ์ให้แตกแยก
แม้ในยุคปัจจุบันจะเหลือกรรมหนักเพียง 4 ข้อ แต่ก็เป็นสิ่งที่พึงตระหนักให้มั่นคง
โดยเฉพาะสังฆเภท นอกจากจะทำลายคณะสงฆ์แล้วยังเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอีกด้วย
เพราะคณะสงฆ์ที่มีความเป็นปึกแผ่น มีสามัคคี มีเอกภาพ ย่อมเป็นสถาบันหลักที่จะเป็น
องค์กรที่เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทั้งมวล เพราะสังคมมนุษย์ยังต้องการผู้จุดแสงแห่งปัญญา เพื่อ
สงบระงับกิเลส แห่งมนุษย์

จากที่ข้าพเจ้าได้อ่านธรรมะของพระพุทธเจ้า คือ วณิชชา 5 และ อนันตริยากรรม 5
ทำให้ข้าพเจ้าได้เข้าใจหลักธรรมใน 2 บทนี้อย่างถ่องแท้ ทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบและหลีกเลี่ยง
พฤติกรรมที่ไม่ดีไม่เหมาะสมดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ และข้าพเจ้ายัง ได้นำธรรมะ 2 บท นี้
ให้กับบิดา - มารดา ของข้าพเจ้าได้อ่านเพื่อที่จะได้เข้าใจถึงหลักธรรมอย่างถ่องแท้เช่นเดียวกัน
และข้าพเจ้าก็นำมาโพสไว้ในInternet เพื่อให้ประชาชนที่สนใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
ได้ทราบถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมว่ามีอะไรบ้าง เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงในพฤติกรรมดังกล่าว
 

_________________
ขะไม่ใช่น้ำตาในการแก้ปัญญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2007, 12:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุๆๆ สาธุ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง