Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เหตุผลของการเรียกร้องของพระสงฆ์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
wiroot999
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 25 เม.ย. 2007
ตอบ: 7

ตอบตอบเมื่อ: 28 เม.ย.2007, 8:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จดหมายเปิดผนึก

เรื่อง ขอให้กำหนดในรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรว่า
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย


พุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลเคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ในหลายเมืองทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย และบางส่วนของประเทศเนปาลในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากพระราชาซึ่งเป็นผู้ปกครองนับถือศาสนาพุทธ จึงใส่ใจทำนุบำรุงพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง พระราชาที่นับถือศาสนาอื่นเข้ามาเป็นผู้ปกครองศาสนาพุทธก็เริ่มถูกริดรอนและถูกทำลายไปในที่สุด

ในประเทศจีนพรรคคอมมิวนิสต์จีน กำหนดว่าสมาชิกต้องไม่นับถือศาสนาใดๆ ส่งผลให้ชาวจีนส่วนใหญ่ไม่ประกาศตนว่า นับถือศาสนาใด ทั้งนี้เพราะอาจเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในชีวิตของพวกเขา

การเมืองและการปกครองของแต่ละประเทศ จึงมีความสัมพันธ์กับศาสนาของคนในแต่ละชาติอย่างลึกซึ้ง ไม่สามารถแยกพิจารณาออกจากกันได้ ในกรณีของประเทศในอดีต พระมหาษัตริย์ ภายใต้การระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นอกจากเป็นผู้นำในการปกครองประเทศแล้ว ยังเป็นผู้นำทางพุทธศาสนาด้วย จึงเป็นรากฐานที่สำคัญที่ส่งผลทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ยึดถือแนวทางพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตอย่างร่มเย็น มีความสมานฉันท์และมีจิตใจเปิดกว้างต่อการเลือกนับถือศาสนาอื่นของคนไทยส่วนอื่นอีกด้วย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเคยถูกแรงกดดันจากประเทศมหาอำนาจตะวันตกขอร้องแกมบังคับให้พระองค์ท่านเปลี่ยนการนับถือพุทธศาสนาไปเป็นการนับุถือศาสนาอื่น แต่พระองค์ท่านก็ใช้พระปรีชา สามารถ หลีกเลี่ยงภาวะกดดันดังกล่าวไปได้โดยปราศจากข้อขัดแย้ง แต่ส่งผลทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ ยอมรับการเป็นอัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนาในประเทศไทย

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สถาบันพระมหากษัตริย์มิได้อยู่ในฐานะผู้ปกครองเช่นในอดีต แต่มีสถานะเป็นประมุขของประเทศ โดยมีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์เป็นพุทธมามกะ และเป็นอัครศาสนนูปถัมภก แต่ไม่มีข้อกำหนดใดๆ เกี่ยวกับการนับถือศาสนาของผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเลย

สังคมไทยแตกต่างจากสหรัฐอเมริกาในประเด็นเรื่องภูมิหลังการเลือกนับถือศาสนาของคนในชาติกล่าวคือ คนอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ อพยพจากยุโรปเพื่อหลยหนีอำนาจรัฐที่เข้มงวดต่อวิถีการดำรงชีวิตของพวกเขา รวมทั้งข้อจำกัดในการเลือกนับถือศาสนา ทำให้พวกเขาเดินทางไปแสวงหาดินแดนใหม่ เพื่อจัดตั้งประเทศที่พวกเขามีอิสระจากอำนาจรัฐที่เข้มงวด รวมทั้งการเลือกนับถือศาสนาเป็นเสรีภาพของประชาชน แต่กรณีของประเทศไทย คนไทยไม่เคยถูกบังคับในเรื่องการนับถือศาสนาใดๆ คนไทยมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาอยู่แล้วแต่คนไทยส่วนใหญ่เลือกนับถือศาสนาพุทธ เพราะเห็นว่าหลักคำสอนพุทธศาสนา ทำให้สังคมมีความร่มเย็นเป็นสุข อย่างไรก็ตาม ชาวไทยส่วนใหญ่ที่เป็นพุทธศานิกชนก็ไม่เคยมีพฤติกรรมข่มขู่คุกคามคนไทยที่นับถือศาสนาอื่นๆ

พุทธศานิกชนไทยบางท่านที่ศึกษาหลักศาสนาพุทธอย่างลึกซึ้ง อาจมองเห็นว่า การเรียกร้องให้กำหนดว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติของไทยไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น เป็นข้อเรียกร้องให้กำหนดว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติของไทยไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น เป็นข้อเรียกร้องที่เป็นเพียง “เปลือกหรือกระพี้” ไม่ใช่ “แก่น” ซึ่งเป็นสาระสำคัญ แต่ถ้าเราพิจารณากันอย่างรอบด้านโดยไม่ประมาทแล้วจะพบว่าถ้าขาด เปลือกหรือกระพี้ ที่แข็งแรง แก่นพุทธศาสน์ ก็อยู่ไม่ได้เช่นเดียวกัน

คนไทยส่วนใหญ่ (สถิติปี พ.ศ. 2543 จำนวนประชากรประมาณ 57 ล้าน) ที่นับถือพุทธศาสนา มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะร้องขอให้มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทยทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันว่า พวกเขาจะสามารถมีวิถีการดำรงชีวิตตามแนวพุทธได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยปราศจากการข่มขู่และคุกคามใด ๆ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองและการปกครอง ซึ่งอาจส่งผลต่อการเลือกนับถือศาสนาของคนในชาติ

พวกเราจึงขอเรียกร้องให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ได้กำหนดให้ศาสนาประจำชาติไทย และขอเรียกร้องชาวไทยทั้งมวลให้ร่วมกับสนับสนุนข้อเรียกร้องนี้กันอย่างกว้างขวาง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผ่านมา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 เม.ย.2007, 1:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คนศาสนาอื่นนะถ้าออกมาคัดค้านการบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติก็คือศาสนิกชนชั้นเลวของศาสนานั้นๆ แหละครับแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ที่มีจิตใจคับแคบมีจิตอิจฉาริษยา ถ้าหากเราจะมัวเกรงใจกับคนเลวๆ ประเภทนี้อยู่ประเทศชาติไม่มีวันเจริญหรอกครับ ที่ถูกต้องก็ควรที่จะร่วมอนุโมทนายินดีกับเราชาวพุทธที่ถึงจะถูกและจะเป็นเรื่องที่สวยงามอันแสดงถึงเป็นผู้ที่มีธรรมในใจของท่าน..

ลองอ่านพระราชนิพนธ์ของ ร.4 ดูครับ
คัดจากพระราชนิพนธ์ใน ร. ๔ ....
ประกาศพระราชทานส่วนกุศลทรงบริจาคเพชรใหญ่ประดับอุณาโลมพระแก้วมรกต
ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ เล่ม ๑ องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๒๘, หน้า ๘๒

ความว่า
".........การพระราชบริจาคอันนี้ทรงพระราชดำริเห็นว่า
ไม่ขัดขวางเป็นเหตุให้ท่านผู้ใดขุ่นเคืองขัดใจเลย
พระนครนี้เป็นถิ่นของคนนับถือพระพุทธศาสนามาแต่เดิม
ไม่ใช่แผ่นดินของศาสนาอื่น คนที่ถือศาสนาอื่นมาแต่อื่นก็ดี
อยู่ในเมืองนี้ก็ดี จะโทมนัสน้อยใจด้วยริษยาแก่พระพุทธศาสนาเพราะบูชาอันนี้ไม่ได้
ด้วยไม่ใช่เมืองแห่งศาสนาตัวเลย ถ้าโทมนัสก็ชื่อว่าโลภล่วงเกินไป........"
 
เพื่อนผ่านมา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 เม.ย.2007, 10:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เห็นด้วยครับ คุณผ่านมา
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 06 พ.ค.2007, 2:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://dhammathai.org/webboard/view.php?No=6637

ข่าวตามลิงค์นั้น...
ชาวพุทธจับตาดูให้ดี อาจเป็นกลลวงให้เราตายใจไม่ออกมาเรียกร้อง เพื่อที่พวกเขาจะหมกเม็ดงุบงิบทำกันเขียนกัน อย่ากระพริบตา
 
วิภา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2007, 12:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว
คนไทยจะรักษาศีล 5 ได้
ก็จะสนับสนุน
แต่ถ้าให้เป็นแต่ปาก หรือลายลักษณ์อักษร
ไม่ปฏิบัติ
ก็ไม่มีประโยชน์
น่าจะรณรงค์ให้คนไทย
หันมาปฏิบัติธรรม
เลิกพูดโกหก เลิกอยากได้ของคนอื่น เลิกผิดลูกเมียเขา เลิกอิจฉาริษยาผู้อื่น เลิกปากว่าตาขยิบ
จะดีกว่ามั้ยคะ
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2007, 1:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จะรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ เป็นต้นก็เหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
แต่ให้เขียนไว้ว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยแค่นี้เอง
และชาวพุทธจะไปวัดไหน ปฏิบัติกรรมฐานรูปแบบใดก็ทำได้คือเก่า
 
เศษพุทธทาส
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 08 เม.ย. 2007
ตอบ: 121

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2007, 2:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การมีพุทธเป็นศาสนาประจำประเทศชาติไทยก่อนในรัฐธรรมนูญ จะทำให้ในอนาคตยาวนานไทยไม่มีช่องโหว่ใดๆ ที่จะเปิดโอกาสให้คริสต์หรืออิสลามหรือศาสนาอื่นใด เป็นศาสนาประจำประเทศชาติไทยได้ และชี้นำสงครามได้ นอกจากชาวพุทธจะล้มเลิกกันเอง
 

_________________
ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
รักมั่นต่อพระพุทธเกินใจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 พ.ค.2007, 5:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อพุทธศาสนาหาย มลายไปจากโลก ทุกคนจะลืมเลือนทั้งแก่นแท้และกระพี้ ของพุทธะกันแน่นอน เพราะสติปัญญาคนไม่ถึงที่จะฟื้นคืนไหม่ได้ เอง ดังนั้นมาร่วมใจกันรักษาพุทธศาสนาทุกทางทั้งรัฐธรรมนูญกันครับเพื่อให้คงอยู่คู่ไทยและโลกสืบทอดยาวนานที่สุดให้ได้ถึง 10000 ปีกัน อย่างน้อยสำหรับผม ถ้าพุทธเกิดไม่มีในโลกแล้ว ผมจะยึดมั่นในพระราชาทรงคุณธรรมเพื่อชาติและโลกครับ หรือไม่ก็นักสมาธิที่ฝึกจิตสงบจนมีปาฏิหารย์จริงจริง เพื่อช่วยเหลือคนและชาติ สมาธิทั่วไปจะยังอยู่ แต่สมาธิขั้นพุทธจะหายไปเท่านั้นเอง /////////
 
20 มกราคม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2007, 11:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอยืนยันว่าหลักของรัฐธรรมนูญทั่วโลกไม่ได้มีข้อห้ามให้มีศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ คำนิยามที่ยกมาก็มาจากแบบประเทศที่ไม่ประกาศสาสนาประจำชาติ.แท้จริงในรัฐธรรมนูญจะมีสาสนาประจำชาติหรือไม่ ก็ได้ ขึ้นอยุ่กับว่าประชาชนต้องการอย่างไรให้รัฐธรรมนูญมีข้อเฉพาะแสดงถึงประจำชาติหรือไม่
ขอยืนยันว่า ราชจารีตประเพณีไทยและจารีตประเพณีของประชาชนไทย ต่างยืนยันว่า ไทยมีพุทธเป็นศาสนาประจำชาติและจารีตประเพณีไทยไม่ได้ห้ามให้บรรจุพุทธเป็นศาสนาประจำไทยในกฏหมายสุงสุดของไทยด้วยตลอดมายังเปิดทางให้ตลอดมา แสดงว่าตามหลักกฏหมายของไทยแต่โบราณไม่ได้มีข้อบัญญัติห้ามบรรจุพุทธเป็นสาสนาประจำชาติไว้ในกฏหมายสุงสุดเลยตลอดมายังเปิดทางให้ตลอดมา ดังนั้นเราบอกได้ว่า การบรรจุพุทธเป้นศาสนาประจำชาติไทยในกฎหมายสุงสุดของ ไทยไม่ผิดตามจารีตของไทยและไม่ผิดหลักการของทั่วโลกที่ไม่ผิดเพราะศาสนาประจำชาติไทยได้รับการคุ้มครองจากพระราชาที่อยู่เหนือกฏหมายสูงสุดของไทยแทน ในระบบราชาธิปไตย แต่ในระบบประชาธิปไตยปัจจุบัน รัฐธรรมนูญอยุ่เหนือราชา รัฐธรรมนูญกฏหมายสูงสุดจึงต้องรักษาพุทธเป้นสาสนาประจำชาติไทยแทนพระราชาต่อไป *****ผมขอสรุปให้ชัดเจนว่า ในสมัยราชาธิปไตย ศาสนาประจำชาติไทยถูกรักษาคุ้มครองทั้งจากพระราชาผุ้อยุ่เหนือกฎหมายสุงสุดและจากประชาชน นี่2ด้านเลยแม้ไม่ได้บัญญัติข้อความชัดเจนในกฎหมายสุงสุดก็ตาม แต่ยังเปิดทางที่3ด้วยคือไม่มีข้อบัญญัติชัดเจนห้ามให้บรรจุพุทธประจำชาติในกฎหมายสูงสุด นี่เป็นแบบจำลองการคุ้มครองพุทธประจำชาติในสมัยโบราณตลอดมา/ในสมัยประชาธิปไตยยุคปัจจุบัน ชาวไทย ควรทำตามแบบโบราณคือ พุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทยต้องได้รับการคุ้มครองรักษาจากทั้ง2ด้านเช่นกันไม่น้อยกว่านี้คือ พระราชายุคนี้และรัฐบาลยุคนี้ต่างอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศแทนพระราชา เราจึงต้องถึงเวลาให้กฎหมายรัฐธรรมนูญกฎหมายสุงสุดของไทยมีการบัญญัติพุทธเป็นสาสนาประจำชาติ เพื่อทำหน้าที่รักษาคุ้มครองพุทธศาสนา คุ่กับประชาชนรักษาคุ้มครองพุทธสาสนาด้วยนี่เป็น2ด้านหลักไหม่เพื่อรักษาพุทธศาสนาประจำไทยในสมัยระบบประชาธิปไตยต่อไปไม่ผิดตามจารีตไทยโบราณที่เปิดทางให้ตลอดมาและไม่ผิดหลักการของรัฐธรรมนูญทั่วโลกด้วยครับ........ผมpeach-yanunหรือนาย20มกราคม ขอออกความเห็นเท่านี้ครับ
 
คนฝึกหัด
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2007, 3:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่คุณวิภา ว่ามาว่า
------------------------------------
ถ้าเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว
คนไทยจะรักษาศีล 5 ได้
ก็จะสนับสนุน
แต่ถ้าให้เป็นแต่ปาก หรือลายลักษณ์อักษร
ไม่ปฏิบัติ
ก็ไม่มีประโยชน์
น่าจะรณรงค์ให้คนไทย
หันมาปฏิบัติธรรม
เลิกพูดโกหก เลิกอยากได้ของคนอื่น เลิกผิดลูกเมียเขา เลิกอิจฉาริษยาผู้อื่น เลิกปากว่าตาขยิบ
จะดีกว่ามั้ยคะ

ผมเห็นด้วยเต็มที่ครับ มีให้ภูมิใจแต่กาย กับใจยังชั่วอยู่ เอะอะไม่ได้ตามใจก็ร่วมกันประท้วงทั้งคนหัวดำ หัวไม่ดำ (ท่านที่เป็นสมมุตติสงฆ์) อย่าให้ความเป็นผู้ที่มุ่งความหนัก(ไม่ปล่อยวาง)เลยครับเพราะท่านเคยกล่าวไว้ในตอนที่ท่านขอบวชว่าบวชเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง