Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
รู้จักธรรมเพื่อสร้างสามัคคีธรรมยังความเจริญให้เกิดแก่สังคมไท
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
สันติธรรม
บัวผลิหน่อ
เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2007
ตอบ: 2
ตอบเมื่อ: 16 เม.ย.2007, 12:37 pm
ชนรุ่นใหม่สมัยนี้ห่างเหินธรรม
ชนรุ่นใหม่สมัยนี้ห่างเหินธรรม ไม่รู้จักธรรมและไม่รู้เจตนาแห่งธรรม บ้างไม่เข้าใจว่าปฏิบัติธรรมไปเพื่อสิ่งใด ขอกล่าวกันถึงธรรมใกล้ตัวที่ประพฤติปฏิบัติกันอยู่ บางคนทำกันแทบทุกวันเรียกได้ว่าปฏิบัติกันโดยแทบไม่รู้ตัว ไม่รู้เลยว่าปฏิบัติธรรมอยู่ เช่นธรรมเลี้ยงตนที่เรียกกันว่า ความอดทน ความเพียรพยายาม ธรรมตัวอย่างดังกล่าวนี้ปฏิบัติกันแทบทุกคน เพราะเราแทบทุกคนต้องทำงานเลี้ยงชีพให้คงไว้ ไม่เว้นแม้แต่พระและขอทาน ทุกคนล้วนต้องมีความอดทนและความเพียรพยายามในการประกอบกิจ หากขาดซึ่งธรรมสองสิ่งนี้แล้วการใดก็ไม่อาจสำเร็จได้ง่าย นี่เรียกว่า ธรรมใกล้ตัว ปฏิบัติธรรมกันโดยแทบไม่รู้ตัว
ดังกล่าวข้างต้น คือตัวอย่างธรรมส่วนน้อยที่ดึงมาจากพระธรรมส่วนใหญ่ ด้วยเกรงว่าบางคนยังไม่รู้จักธรรม ประโยชน์ธรรมยังมีอีกมากมายหลายประการ เพราะอาจเรียกได้ว่าธรรมคือกฎเกณฑ์แห่งสรรพสิ่ง ผู้ศึกษาธรรมจึงเรียกได้ว่าเป็นผู้ศึกษากฎเกณฑ์แห่งสรรพสิ่ง กฎเกณฑ์ความเจริญของสังคม หรือกฎเกณฑ์ความเจริญของประเทศชาติ ที่บัญญัติไว้ในธรรมก็มีเช่นกัน คือสังคมใดจะเจริญได้ต้องประกอบด้วยคนสองประเภท ได้แก่ คนดี และ คนทำดี
คนดี คือ ผู้กระทำกิจวิชชา ผู้ไม่เบียนใคร
คนทำดี คือ ผู้กระทำกิจวิชชา ผู้ไม่เบียดเบียนบุคคลซึ่งประพฤติตนอยู่ในกรอบของวิชชา และคอย ควบคุม หักล้าง อวิชชาในสังคม
สังคมใดมีบุคคลสองประเภทนี้เป็นส่วนมากในสังคม สังคมนั้นสันติเจริญ ประเทศใดมีบุคคลสองประเภทนี้เป็นส่วนมากในสังคม ประเทศนั้นเจริญรุ่งเรือง
ลักษณะสังคมที่มากด้วยผู้กระทำกิจ อวิชชา คือสังคมที่มีผู้ประพฤติอวิชชาเป็นส่วนมากในสังคม เรียกได้ว่าเป็นสังคมที่วุ่นวาย สังคมของคนพาล สังคมของผู้ที่ลุ่มหลงกามารมณ์ สังคมของผู้แย่งชิงทำลายล้างกัน สังคมที่กฏหมายทำลายล้างแม้กระทั่งผู้ที่ไม่ได้กระทำผิด กลุ่มคนไม่ดีเป็นใหญ่ในสังคม มีการเบียดเบียนกันทุกรูปแบบไม่เลือกว่า ดี หรือ เลว นี่เรียกว่า ลักษณะของสังคมที่มากด้วยผู้กระทำกิจอวิชชา
ลักษณะของสังคมที่มากด้วยผู้กระทำกิจ วิชชา คือสังคมที่มีผู้ประพฤติกิจวิชชาเป็นส่วนมากในสังคม เรียกได้ว่าเป็นสังคมสันติ ไม่มีความวุ่นวาย กลุ่มคนพาลไม่มีอำนาจ กลุ่มคนผู้ลุ่มหลงกามารมณ์ไม่มีอำนาจ กลุ่มคนผู้ใฝ่การแย่งชิงทำลายล้างกันไม่มีอำนาจ เป็นสังคมที่กฎหมายมีไว้ใช้แก่ผู้ที่กระทำผิดจริง ด้วยเพราะคนดีและคนทำดีมีมากในสังคม ดังกล่าวนี้เรียกว่า ลักษณะของสังคมที่มากด้วยผู้กระทำกิจวิชชา
คนดี หรือ ผู้ที่ประกอบกิจวิชชา สำหรับในพระพุทธศาสนาแล้วจัดเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพุทธมามกะ และกลุ่มบรรพชิตผู้ออกบวชศึกษาธรรม
กล่าวถึงพุทธมามกะโดยสังเขป คือ ผู้ประกาศว่าตนนับถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ประพฤติตนอยู่ในกรอบของศีลห้า ให้ทานตักบาตรทำบุญเป็นกิจนิจ นั่งบำเพ็ญปฏิบัติกรรมฐานเมื่อเวลาอำนวย ผู้ประกอบกิจดังกล่าวมานี้เรียกได้ว่าเป็น พุทธมามกะ
กล่าวถึงผู้ออกบวชในศาสนาพุทธโดยสังเขป คือ ผู้ประกาศว่าตนนับถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เดินรับบิณฑบาต ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของศีลพระนวโกวาท ศึกษาพระธรรม เผยแพร่พระธรรม ขจรชื่อพุทธศาสนาให้กว้างไกล กิจดังกล่าวมานี้คือกิจโดยย่อของผู้ที่ออกบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา
พุทธมามกะ และ ผู้ออกบวช จึงเรียกได้ว่าเป็นผู้ประกอบกิจวิชชาในทางพุทธ สังคมพุทธที่ใด มีบุคคลจำพวกนี้เป็นส่วนมากในสังคม สังคมนั้นมี สันติและความ เจริญรุ่งเรือง เพราะเป็นสังคมที่มากด้วย คนดี และ คนทำดี
โบราณว่าไว้ น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ คนฝ่ายมากย่อมมีอำนาจเหนือกว่าคนฝ่ายน้อย คนดีผู้รักดีผู้ซึ่งจะกระทำความดีย่อมเกิดไม่ได้ในสังคมของผุ้มากด้วยอวิชชา เปรียบได้เมล็ดไม้พันธุ์งามย่อมไม่สามารถเติบโตยังประโยชน์แก่ธรรมชาติได้ หากเมล็ดไม้พันธุ์งามนั้น ตกไปอยู่ในผืนทะเลทราย หรือ อยู่ในสังคมทราม
สังคมที่ดีคือสังคมที่มากด้วยผู้ประกอบกิจวิชชา พุทธมามกะและพระผู้ออกบวชจึงควรรวมกลุ่มกัน เป็นกลุ่มใหญ่ในสังคม มีจุดนัดพบเป็นศูนย์รวมใหญ่ มีจุดนัดพบเป็นที่ประชุมธรรม มีจุดนัดพบเพื่อปฏิบัติธรรม เพื่อสร้างสามัคคีธรรม ยังให้เกิดสามัคคีธรรมในสังคม เพื่อสันติของสังคม เพื่อให้ลูกหลานท่านได้ยังชีพในสังคมที่ดี เพื่อชนรุ่นหลังต่อไป ได้รู้จักประโยชน์แห่งธรรมของพระพุทธเจ้า ธรรมซึ่งพุทธองค์ ทรงเพียรพยายามอย่างสาหัสเพื่อให้ถึงการตรัสรู้ และบัญญัติเป็นสัจธรรมของสรรพสิ่ง โปรดเหล่าสัตว์ให้พ้นจากกองทุกข์ ยังสันติแห่งร่มธรรมให้เกิดมีแก่ โลก ใบนี้
ขอบพระคุณท่านผู้อ่านครับ
ธรรมเป็นสิ่งดีงาม ยังให้เกิดสันติในสังคมได้ ขอร่วมรณรงค์ธรรม
สันติธรรม
บัวผลิหน่อ
เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2007
ตอบ: 2
ตอบเมื่อ: 16 เม.ย.2007, 12:41 pm
เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางธรรมได้ที่นี่ครับ
http://www.buddatabase.org/
http://www.baanjomyut.com/
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th