Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อย่างไรถึงเป็นวิจิกิจฉา ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2005, 6:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่าวิจิกิจฉาหรือความลังเลสงสัยนี้ อย่างไรจึงเรียกว่าเป็นความลังเลสงสัย



อย่างไรที่ไม่มีความเป็นวิจิกิจฉา ความสงสัยจะมีหรือไม่มีต่อเรื่องต่างมาก



น้อยเท่าใด เช่นเรื่องของผลกรรมตามคำสอน เรื่องชาติหน้ามีจริงหรือไม่



เรื่องนรกสวรรค์ เรื่องผีสาง เทวดา คือโอปาติกะทั้งหลายว่ามีจริงหรือไม่



ความเชื่อเหล่านี้ถ้ามีลังเลสักเล็กน้อยเป็นความสงสัยหรือไม่



เช่นสงสัยว่าผีที่คนว่าอยู่ตามที่ต่างๆนั้นไม่น่าจะมี แต่เชื่อว่าเทวดาน่าจะมี



สัคว์นรกน่าจะมี คือเชื่อผลของกรรมอยู่ แต่เมื่อป่วยเช่นเป็นโรคร้ายแรง



อาจไปติดต่อมาเช่นเอดส์ หรือเป็นมะเร็ง ก็คิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญเพราะไป



เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ถ้าระวังก็ไม่เป็น ส่วนการเป็นมะเร็งก็นึกว่าเราได้



รับสารพิษจากสิ่งแวดล้อม จากการกินการได้รับพิษโดยวิธีต่างๆ ทำให้สุขภาพ



แย่คือป่วย ไม่ได้เกิดจากกรรม แต่เราไม่ป้องกัน ความคิดไม่เชื่อกรรมเก่า



ที่ทำชั่วไว้ แต่บางคนก็บอกว่าเชื่อเรื่องกรรมคือการกระทำว่าเพราะไป



สัมพันธ์กับคนเป็นโรคว่านั่นเป็นการทำกรรมอีก จึงได้รับกรรม อันเป็นการ



เข้าใจหลักกรรมบิดเบือนไปอีก แบบนี้เป็นความสังสัยลังเลหรือไม่



ในเรื่องไม่เชื่อเรื่องผี แต่อ้างว่าเชื่อหลักธรรมะ แต่เรื่องผีก็เป็นเรื่องของ



โอปปาติกะซึ่งก็เป็นหลักธรรมที่สอนเรื่องเช่นนี้ไว้มาก รวมทั้งเรื่องเทวดาอยู่



อาศัยตามต้นไม้ ถ้าไม่เชื่อเรื่องเช่นนี้ จะเข้าข่ายไม่เชื่อพระธรรมไหม



เพราะนี่ก็เป็นหลักธรรมที่สอนว่า ก็น่าจะเป็นการสงสัยต่อพระธรรมได้



เหมือนกัน แม้ว่าพระธรรมอื่นๆไม่สงสัย แต่ก็เป็นการเลือกเชื่อในพระ



ธรรมได้หรือไม่?



ในอดีตคนสมัยก่อนอาจมีพื้นฐานที่ดีในเรื่องของโลกหน้า เรื่องบุญบาป



เรื่องภูต เขาอาจไม่สงสัยอยู่เป็นทุนเดิม เมื่อได้ฟังพระธรรมก็ศรัทธา เช่น



ศรัทธาเรื่องทำดี และอาจตัดเรื่องทั้งหลายที่ยังไม่สามารถเชื่อได้ออกไปจาก



ใจ ไม่นำมาคิด เห็นว่าไม่สำคัญที่จะต้องไปคิดเลย ไม่ต้องไปนึกว่าเชื่อหรือ



ไม่เชื่อ ไม่ต้องไปเสียเวลาให้รกสมอง เพราะว่าไม่สำคัญอะไร แต่เห็นว่า



สาระแก่นสารของธรรมนั้นสำคัญ เพราะเขาเห็นทุกข์ในปัจจุบันว่าต้องกำ



จัดออกไป เพราะเห็นว่าทุกข์นั้นมีอยู่จริง ก็ไม่เป็นวิจิกิจฉาใช่หรือไม่
 
ลุงสุชาติ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2005, 4:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิจิกิจฉา หมายถึง การลังเลสงสัยในคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในทางตรงข้ามคือ การเชื่อมั่น หรือ ศรัทธาในคำสอนของพระบรมศาสดา

ศรัทธา จัดเป็นอินทรีย์หนึ่งในห้า (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)

อินทรีย์ห้าดังกล่าวอุปมาได้ดังนี้ ศรัทธาเปรียบได้แก่ กำลังเครื่องยนต์ วิริยะเปรียบเหมือนกับส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของรถยนต์ อาทิ ยางรถยนต์ สติ เปรียบเหมือนกับเครื่องอุปกรณ์ประกอบที่บังคับไม่ให้รถวิ่งออกนอกเส้นทางอาทิ เบรกรถยนต์ สมาธิ เปรียบหมือนกับเครื่องอุปกรณ์ประกอบที่บังคับควบคุมการเคลื่อนที่ของรถให้ไปตามเส้นทาง และให้รถเคลื่อนที่อย่างมีสมดุลย์ ไม่โคลงเคลง ได้แก่พวงมาลัย และปัญญา เปรียบเหมือนแผนที่ที่บอกให้คนขับทราบว่า ควรจะวิ่งเส้นทางใหนถึงจะสะดวกรวดเร็ว ถ้าเครื่องอุปกรณ์ส่วนประกอบรถยนต์ดังกล่าวมีกำลัง หรือ พละ มีประสิทธิภาพดี มีความสมดุลย์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2005, 8:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลุงสุชาติครับขอถามเพิ่มเติมดังนี้

1.วิจิกิจฉา ในนิวรณ์ห้ากับวิจิกิจฉาในสังโยชน์สิบ ต่างหรือเหมือนกันครับ



2.ธรรมที่ปราบวิจิกิจฉาในนิวรณ์ห้าคือธรรมอะไร เป็นศรัทธินทรีย์หรือครับ?



ขอสองข้อพอครับ ขอบพระคุณมา ณ ล่วงหน้า
 
ลุงสุชาติ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 12 ม.ค. 2005, 4:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑.วิจิกิจฉาในนิวรณ์ ๕ เป็นระดับโลกิยะ ส่วนวิกิจฉาในสังโยชน์ ๑๐ เป็นระดับโลกุตตระ

๒. ตามความเข้าใจของลุงเห็นว่า นอกจากศรัทธาแล้ว จะต้องมีปัญญาด้วย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ม.ค. 2005, 5:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พอจะแยกธรรมที่เป็นคูปรับกัน ออกมาแต่ละอย่าง ระหว่างอินทรีย์ห้ากับนิวรณ์ห้า



เช่นศรัทธา ปราบวิจิกิจฉา ผมอยากรู้ ปัญญา สติ สมาธิ ความเพียร ว่าแต่ละอย่างปราบนิวรณ์อะไรบ้าง?



ไม่ทราบผมเข้าใจเช่นนี้พอถูกต้องไหมครับ?
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ม.ค. 2005, 5:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องนี้ ผมก็เคยคิดเหมือนคุณโอ่เลยนะครับ

ศรัทธา ไว้ขจัด ความลังเลสังสัย อันนี้ก็ลงตัวอยู่แล้ว

สติ ไว้ขจัด ความฟุ่งซ่านรำคาญใจ อันนี้ก็น่าจะได้

ความเพียร ไว้ขจัด ความหดหู่เซื่องซึม อันนี้ก็น่าจะพอได้

สมาธิ,ปัญญา ไว้ขจัด กามราคะ,พยาบาท? ไม่รู้เหมือนกัน
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ม.ค. 2005, 9:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เวลาเจริญภาวนา ใช้เมตตาปราบพยาบาท ใช้อสุภปราบราคะ แสงสว่างปราบถีนมิทธะ



ที่เหลือก็ไม่แน่ใจ ต้องไปค้นอีก แต่หนังสือพวกนี้ได้ให้บุคคลอื่นไปนานแล้ว คงหาค้นในพระไตรปิฏก ซึ่งไม่ค่อยชำนาญ



แต่คิดว่าถ้าอินทรีย์ห้าเสมอกันก็ปราบนิวรณ์ได้ทั้งหมด จากประสบการณ์เป็นอย่างนั้น
 
ลุงสุชาติ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 13 ม.ค. 2005, 2:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กามฉันทะ และพยาบาท ขจัดด้วยสติ สมาธิ และปัญญา

ถีนมิทธะ ขจัดด้วยวิริยะ (ความเพียร)

อุทธัจจกุกกุจจะ ขจัดด้วยสมาธิ

อย่างไรก็ตาม อินทรีย์ทั้ง ๕ นั้น โดยปกติย่อมเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะสติที่คอยเฝ้าเตือนให้ระลึกรู้อยู่เสมอว่า เรากำลังทำอะไร นิวรณ์ได้เข้ามาขัดขวางมีลักษณะอย่างไร เราควรขจัดด้วยวิธีการใด (ปัญญา)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ม.ค. 2005, 5:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอขอบพระคุณ "ลุงสุชาติ"ที่ได้อธิบายธรรมที่ปราบนิวรณ์ วันก่อนพูดเรื่องศรัทธา ผมก้คัดลอกลักษณะของศรัทธามาลงไว้เสียเลย เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ตั้งมั่นไว้สำหรับผู่ปฏิบัติ และทำให้ชัดเจนขึ้นไปตามลำดับ เพราะศรัทธานั้นไม่ควรทำให้เสื่อมถอย จะหมดไปก็ต่อเมื่อมีปัญญาเต็มที่แล้วเท่านั้น คือพระอรหันต์





สัทธา ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ท่านแสดงสืบ ๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ ๑.กัมมสัทธา เชื่อกรรม ๒.วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม ๓.กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๔.ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต; เขียนอย่างสันสกฤตเป็นศรัทธา



สัทธาจริต พื้นนิสัยหนักในสัทธา เชื่อง่าย พึงแก้ด้วยปสาทนียกถา คือถ้อยคำที่นำให้เกิดความเลื่อมใสในทางที่ถูก ที่ควร และด้วยความเชื่อที่มีเหตุผล (ข้อ ๔ ในจริต ๖)



สัทธานุสารี “ผู้แล่นไปตามศรัทธา”, “ผู้แล่นตามไปด้วยศรัทธา”, พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ที่มีสัทธินทรีย์แรงกล้า (ถ้าบรรลุผล กลายเป็น สัทธาวิมุต) ดู อริยบุคคล ๗



สัทธาวิมุต “ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา”, พระอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรคที่มีสัทธินทรีย์แรงกล้า (ถ้าบรรลุอรหัตตผลกลายเป็น ปัญญาวิมุต) ดู อริยบุคคล ๗



สัมมาปาสะ “บ่วงคล้องไว้มั่น”, ความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชน ด้วยการส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้คนจนxxx้ยืมทุนไปสร้างตัวในพาณิชยกรรม เป็นต้น (ข้อ ๓ ใน ราชสังคหวัตถุ ๔)



สัมโมทนียกถา “ถ้อยคำเป็นที่บันเทิงใจ”, คำต้อนรับทักทาย, คำปราศรัย; ปัจจุบันนิยมเรียกสุนทรพจน์ที่พระสงฆ์กล่าวว่า สัมโมทนียกถา



สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ เช่นเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสัมปรายิกัตถฯ ๔)



 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง