Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
สมาธิจากบทสวด
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2005, 5:18 pm
ท่านที่เคยฟังบทสวดมนต์จีนหรือธิเบต คงมีความรู้สึกสงบเย็นในจิตใจ ผมอยากเรียนถามทุกท่านให้ช่วยวิจารณ์ว่า ความรู้สึกสงบเย็นเช่นนั้นเป็นสมาธิอย่างหนึ่งหรือไม่ มีรายละเอียดแตกต่างกับความรู้สึกที่เราฟังเพลงเย็น ๆ ของทางโลกหรือไม่ หรือเป็นเพียงความเพลิดเพลินทางอารมณ์
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2005, 8:23 am
กราบสวัสดีครูบาอาจารย์ทุกท่าน ด้วยความเคารพ
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น
การสวดมนต์ หรือจะเป็นเทปบทสวด หรือจะเป็นเพลงบทสวด ไม่ว่าชาติไหน ภาษาไหน ประเทศไหน ล้วนแล้วแต่มีคุณประโยชน์เหลือคณานับ แบบง่ายๆที่ใช้สวดกันอยู่ก่อนปฏิบัติสมาธิ บางคนก็สักแต่ว่าสวดกันไป สวดจบแล้วก็ยังไม่สงบ สวดต่ออีกเพื่อหวังให้สงบ เพราะตั้งแต่เริ่มสวดมนต์ก็สวดกันไปอย่างงั้น สติไม่ได้จดจ่อกับบทสวดเลยแม้แต่น้อย
ลองจดจำบทสวดมนต์ต่างๆให้ขึ้นใจทั้งหมด เมื่อเวลาสวดมนต์ ก็ให้รู้ลมเข้าออกจากปาก ให้รู้ว่าตัวหนังสือซึ่งเป็นบทสวดมนต์แต่ละตัว แต่ละคำ แต่ละประโยคที่ออกจากปาก ปากขยับสวดมนต์ออกมาเป็นตัวหนังสืออะไรบ้าง เป็นคำอะไรบ้าง เป็นประโยคอะไรบ้าง การสวดมนต์ในลักษณะเช่นนี้ ท่านผู้ปฏิบัติจะทราบได้ด้วยตนเองว่า มีประโยชน์ต่อการเข้าสู่สมาธิได้รวดเร็ว และมีผลต่อการปฏิบัติต่อไปในภายภาคหน้า อย่างที่บางคนอาจคาดไม่ถึง (ลองฝึกดู ผลเป็นอย่างไรบ้าง มาเล่าสูกันฟังนะคะ)
ส่วนการฟังบทสวดมนต์จีนหรือธิเบต ถึงแม้จะไม่ช่ำชองในภาษา แต่บุคคลธรรมดาทั่วไปฟังแล้วก็จะรู้สึกสงบเย็น ก็ไม่ถึงขั้นเข้าสู่สมาธิ แต่หากมีพื้นฐานการปฏิบัติมาบ้างก็จะเข้าสู่สมาธิได้รวดเร็วเช่นกัน ซึ่งแตกต่างจากความรู้สึกที่เราฟังเพลงเย็นๆทางโลกโดยสิ้นเชิง
จะสังเกตได้ว่า บทสวดมนต์จีนหรือทางธิเบต จะมีเครื่องดนตรีประกอบ ยิ่งเป็นทางธิเบต เสียงดนตรีค่อนข้างจะหนักแน่นมาก ซึ่งเสียงดนตรีประกอบหรือแม้แต่เสียงสวดที่หนักแน่นได้ระดับ มีผลต่อปฏิกิริยาทางกายและจิตวิญญาณของผู้ปฏิบัติ ยิ่งเป็นเสียงเคาะของเครื่องทองเหลือง เสียงระฆังที่กังวาน ยิ่งมีอานุภาพมาก สามารถเข้าไปบำบัดรักษาโรคภายในอย่างที่นึกไม่ถึง อีกประการหนึ่งท่านที่ปฏิบัติสมาธิจนจิตละเอียดที่สุด ก็จะทราบได้ด้วยตนเองว่า เสียงระฆังที่กังวานมีผลก่อให้เกิดปัญญาญาณเฉียบพลันได้ในทันทีที่เราตามเสียงระฆังนั้น
ส่วนเสียงเคาะของเครื่องทองเหลือง ก็เช่นเดียวกัน หากไม่เคาะแต่นำมาคลึงรอบๆเช่น ซิงกิ้งโบล ท่านผู้ปฏิบัติก็จะทราบได้ด้วยตนเองว่า คลื่นที่ส่งออกมาขณะที่คลึง ซิงกิ้งโบล นั้น มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ต่อกายและจิตวิญญาณของผู้ปฏิบัติและผู้ที่อยู่รอบข้างอย่างไร (ลองฝึกดู แล้วมาเล่าประสบการณ์ให้ฟังบ้างนะคะ)
ขอธรรมะคุ้มครองคุรุผู้ประเสริฐ คุรุผู้เมตตาธรรมทุกท่าน
ขอธรรมะคุ้มครอง ท่านต้อม ท่านพระจันทร์ยิ้ม ท่านสถิตย์ธรรม...คุรุแห่งมณี
ธรรมะสวัสดี
มณี ปัทมะ ตารา
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2005, 9:01 am
ต่อค่ะ.....บทสวดมนต์ทางอินเดียก็เช่นเดียวกัน มีผลต่อการปรับสภาวะภายในกายและจิตวิญญาณของผู้ฟังเช่นเดียวกัน ปรับสภาวะสมดุลอีกทั้งรักษาโรคภายในอย่างที่คาดไม่ถึง
หากทางเวปธรรมจักร จัดทำเสียงบทสวดทางจีนหรือธิเบต หรือทางอินเดียได้เสียงที่ชัดเจน และแจ่มใสกว่านี้ ก็เป็นที่น่ายินดี จะได้ฝึกฟังกันค่ะ
ขอธรรมะคุ้มครองคุรุผู้ประเสริฐ คุรุผู้เมตตาธรรมทุกท่าน
ขอธรรมะคุ้มครอง ท่านต้อม ท่านพระจันทร์ยิ้ม ท่านสถิตย์ธรรม...คุรุแห่งมณี
ธรรมะสวัสดี
มณี ปัทมะ ตารา
ไอธรรมไอที
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 12 ธ.ค. 2004
ตอบ: 28
ตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2005, 11:55 am
บทสวดมนต์ทิเบตผมก็เคยฟังครับ สวดว่าโปโย โปโลเย ฟังแล้วก็ไพเราะดีครับ และก็สงบดีด้วย ก็เป็นการฟังสวดมนต์ชนิดหนึ่งละครับ
ทำวัตรสวดมนต์แบบชาวพุทธ
พุทธศาสนา
เป็นศาสนาแห่งการกระทำ ไม่ใช่ศาสน์แห่งการบวงสรวงอ้อนวอน บนบานศาลกล่าว หากเป็นศาสน์แห่งปัญญา อันเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากการกระทำ ตามคำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ซึ่งปัญญาเองจะเป็นสิ่งที่พัฒนาจิตใจมนุษย์ให้พ้นจากความหลงหรืออวิชชา อันเป็นเหตุของความทุกข์ทั้งปวงของชีวิต
ทำวัตร
ในที่นี้หมายถึง การกระทำโดยต่อเนื่องเป็นกิจวัตรซึ่งเป็นการฝึกหัด อันจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางจริตนิสัยและเป็นหนทางให้เกิดคุณธรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ความขยัน ความอดทน ความสำรวมระวัง ความตั้งมั่นแห่งจิตและความรู้แจ้งในสัจธรรม เป็นต้น
สวดมนต์
หมายถึง "การศึกษาเล่าเรียน" คำว่า "ศึกษา" ในทางพระพุทธศาสนาครอบคลุมไปถึงการปฎิบัติด้วย คือ เมื่อยังไม่รู้ก็เรียนให้รู้ ฟังให้มากท่องจำพิจารณาไตร่ตรองสิ่งที่ได้เรียนลงความเห็นว่าสิ่งใดถูกต้อง สิ่งใดดีงาม แล้วก็ตั้งใจปฏิบัติตามนั้นไป การทำวัตรสวดมนต์ ที่จะให้ผลดีแก่ผู้กระทำนั้น ต้องระรึกให้ถูกต้องว่า ไม่ใช่การปวงสรวงอ้อนวอน หรือไปคิดแต่งตั้งให้พระพุทธองค์ตลอดจนพระธรรมและพระสงฆ์เป็นผู้รับรู้และเป็นผู้ที่จะบันดาลสิ่งที่ตนปรารถนา ซึ่งจะกลายเป็นการกระทำที่ใกล้ต่อความงมงายไร้เหตุผล อันมิใช่วิสัยที่แท้จริงของชาวพุทธ การทำวัตรสวดมนต์ ควรทำในลักษณะของการภาวนา คือ ทำกุศลธรรมหรือสิ่งที่ถูกต้องดีงามให้เจริญขึ้น และทำในลักษณะของการศึกษาเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา
การทำวัตรสวดมนต์ เมื่อทำด้วยความเคารพสำรวมระวังบังคับกายกิริยามารยาทให้เรียบร้อยเป็นปกติ วาจากล่าวในสิ่งที่ถูกต้องดีงามส่วนนี้จัดเป็น"ศีล"
ขณะสวดมนต์ ตั้งจิตจดจ่ออยู่ในเนื้อหาและความหมายของบทธรรม ทำให้จิตทิ้งอารมณ์ต่างๆ มาสู่อารมณ์เดียวที่แน่วแน่ ขณะเช่นนั้นจัดเป็น "สมาธิ" การมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติสัมปชัญญะซาบซึ้งอยู่ในบทธรรม และเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งส่วนนี้คือ "ปัญญา"
ขณะทำวัตรสวดมนต์ เมื่อตั้งใจศึกษา แก้ไข้ปรับปรุงเปลี่ยนความคิดความเห็นให้เป็นไปตามธรรมะที่ท่องบ่นอยู่จนในขณะนั้น จิตใจเกิดความผ่องใส สงบ เยือกเย็น เป็นสภาวะธรรมะปรากฏขึ้นในใจของเราปรากฏการเช่นนี้ ก็จะคล้ายกับว่า เราได้พบกับพระพุทธองค์ เพราะธรรมะคือพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ที่แท้จริงคือ ธรรมะ ดังที่ท่านตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
ดังนั้นการศึกษาธรรมะในขณะทำวัตรสวดมนต์ หากไม่ทำด้วยใจที่เลื่อนลอยหรือจำใจทำแล้ว หากแต่กระทำด้วยสติปัญญา ตั้งใจเรียนรู้ไตร่ตรองตามเหตุผล แล้วนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ จากใจที่สกปรกไปสู่ใจที่สะอาด จากใจที่มืดมัวไปสู่ใจที่สว่าง และจากใจที่เร้าร้อนไปสู่ใจที่สงบในที่สุด อันเป็นสภาวะจิตใจที่พ้นทุกข์ดังเช่นที่ พระพุทธองค์ได้ทรงกระทำให้เราได้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว
คัดมาจากหนังสือ ทำวัตรสวดมนต์ วัดแพร่ธรรมมาราม อำเภอ เด่นชัย จังหวัดแพร่
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2005, 4:26 pm
การสวดมนต์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า "มนต์ไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน" ท่านจึงให้สาธายายมนต์ ในสมัยก่อนพระจะท่องจำบทสวดเพื่อสืบต่อศาสนา การท่องนี่มีประโยชน์ว่าสามารถจำพระธรรมได้ แต่พระพุทธเจ้าทรงรู้ถึงประโยชน์การสาธยายมนต์มากกว่านั้น
การสาธยายมนต์เป็นการภาวนาแบบบริกรรม มีสมาธิอย่างอ่อนเกิดขึ้น เรียกว่าการสาธยายมนต์เกิด"บุญ" ไม่ว่าเป็นภาษาอะไรก็เกิด"บุญ"ขึ้น
เพราะอะไรถึงเกิดบุญ เพราะ"วาจาใดอันชนกล่าวดีแล้ว เป็นมงคลอันสูงสุด"
การสวดมนต์เป็นความประพฤติดีด้วยวาจาอย่างต่อเนื่องยาวนาน กาย และใจก้ประพฤติตามวาจาที่เป็นผู้นำให้ทำความดีไปด้วย บุญจึงบังเกิดและมีความเย็นสบายเพราะบุญ ใส่บาตรก็เป็นเหมือนกัน ยังใจให้ศรัทธาเกิดก็เป็น ระลุกถึงอนุสติ 10 ก็เป็น เป็นเหมือนกันหมด ถ้าทำสมาธิง่ายก็จะเกิดความรู้สึกนี้ได้ด้วยการระลึกนิดเดียว ให้กุศลเข้ามาในจิตก็เป็นสุข แต่สุขนี้ชนิดนี้เรียกว่าสุขด้วยอามิส
นอกจากนั้นบรรดาพวกภูตวิญญาณต่างๆ ฟังภาษาสวดมนต์ออก ก็อนุโมทนา เจ้ากรรมนายเวรก็ค่อยๆละเวร เพราะได้อนุโมทนาบุญจากการสวดมนต์ นี่เองทำให้อุปสรรคในชีวิตเบาบางลง เพราะเจ้ากรรมนายเวรส่วนหนึ่งละเวรไม่จองเวร หันไปอนุโมทนาบุยจากการสวดมนต์ เทวดารักษา เพราะเทวดาฟังการสวดมนต์เท่ากับได้ฟังธรรม
สาเหตุเหล่านี้แหละทำให้เวลาสวดมนต์แล้วรู้สึกเป็นสุขด้วยอามิสเป็นอย่างยิ่ง
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 13 ม.ค. 2005, 11:04 am
สรุปกระทู้ข้อนี้ การฟังเพลงบทสวด หรือการสวดมนต์ก็ตาม จะเป็นสมาธิหรือไม่ก็ต้องแล้วแต่สภาพจิตความตั้งใจ และการปฏิบัติของแต่ละบุคคลในขณะนั้นว่า สามารถจะบังคับจิตให้ตั้งอยู่ในอารมณ์"สมาธิ"หรือไม่ เป็นปัจจัตตัง จะก้าวหน้าต่อไปเป็นขั้น ๆ หรือจะหยุดติดอยู่ระดับนั้นก็แล้วแต่ละบุคคล ผมสรุปอย่างนี้เป็นความคิดส่วนตัวอาจผิดหรือถูกก็ได้ ท่านใดจะแสดงความคิดเห็นต่อก็เชิญครับ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th