Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
เรื่องเล่า............
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
หนวดเต่า
บัวผลิหน่อ
เข้าร่วม: 20 ก.พ. 2007
ตอบ: 4
ตอบเมื่อ: 20 ก.พ.2007, 8:47 pm
เรื่องเล่า............
โดย ผู้ใด... ผู้หนึ่ง
เมื่ออายุ 21 ปี เราได้มีโอกาสฝึกตามรู้กาย-ใจ ของตนเองด้วยวิธีง่ายๆ ซึ่งตอนแรกๆ ที่ได้รับคำแนะนำเราก็ไม่ค่อยแน่ใจนักว่าจะเกิดผลดีกับชีวิตอย่างไร เพราะเราเข้าใจเรื่องศาสนาน้อยมาก โดยเฉพาะเรื่องกรรมฐานด้วยแล้วยิ่งรู้น้อยเข้าไปใหญ่ เราก็เคยเห็นแต่เขานั่งหลับตาบริกรรมคาถาต่างๆ และก็เดินช้าๆ เราก็เคยทำอย่างนั้นมาบ้างนิดๆ หน่อยๆ ยิ่งความเข้าใจในเรื่องผลของการทำกรรมฐานของเราก็ยิ่งเลอะเทอะเข้าไปอีก เพราะเราเข้าใจว่า ทำกรรมฐานแล้วจะเห็นผี เทวดา นรก สวรรค์ เห็นหวย ฯลฯ
พอเราได้มาฝึกเจริญสติแบบเคลื่อนไหว มีข้อแตกต่างจากรูปแบบที่เราเคยเห็นหลายอย่าง คือ ไม่ต้องหลับตา ไม่มีคำบริกรรม ไม่ต้องนั่งนิ่งๆ แต่ให้เคลื่อนไหว ไม่ต้องเดินช้าๆ แต่ให้เดินตามสบายๆ เริ่มแรกเราได้รับคำแนะนำง่ายๆ ว่าให้เฝ้าสังเกตกาย-ใจ โดยทำความรู้สึกตัว ท่านแนะนำให้นั่งทำจังหวะเคลื่อนไหวมือ เคลื่อนไหวเป็นจังหวะๆ มี 14 จังหวะ ในขณะเคลื่อนมือไปให้ใจตามรู้เบาๆ สบายๆ บรรจงพลิกมือ บรรจงยกมือเบาๆ เป็นจังหวะๆ ให้ใจรู้ คือ รู้สึกสัมผัส ขณะพลิก ขณะยก ขณะเคลื่อนของมือแบบสบายๆ เบาๆ เมื่อมีความคิดฟุ้งฝันโผล่เข้ามาให้ตัดทิ้งทันที คือ รู้ว่ามันคิดแล้วให้กลับมาอยู่กับการเคลื่อนไหวที่มือ ปล่อยให้ความคิดผ่านไป ทิ้งไป วางไป เมื่อนั่งนานๆ ปวดเมื่อยเกิดขึ้น เราก็สามารถเปลี่ยนท่านั่ง ไปเรื่อยๆ ไม่จำเป็นต้องนั่งท่าเดียว โดยก่อนจะเปลี่ยนท่าเราก็รับรู้ ความปวดเมื่อยทางร่างกายที่มันบีบคั้นเสียก่อน อดทนสักนิดหนึ่ง แล้วค่อยเปลี่ยนท่านั่งใหม่ เช่น นั่งขัดสมาธิก็เปลี่ยนไปนั่งเก้าอี้ก็ทำได้ พอปวดเมื่อยมากท่านก็แนะนำว่าให้ลุกเดินจงกรม เดินสบายๆ ไม่ต้องนับหรือบริกรรมใดๆ เพียงแต่ให้รู้การเคลื่อน การกระทบของฝ่าเท้า กับพื้นที่เหยียบก็พอ เดินตามธรรมดาๆ ไม่เร็วเกินไป ไม่ช้าเกินไป ขณะก้าวเท้าออกเดินให้รู้สึกตัว ใหม่ๆ ให้รู้แค่เท้ากระทบสัมผัสพื้น เบาๆ สบายๆ ก็พอ เราเลยเข้าใจว่า การเดินจงกรมก็คือ การเดินอย่างรู้สึกตัวนั่นเอง
นอกจากเดินและนั่งเคลื่อนไหวแล้ว ท่านยังได้แนะนำเราว่าแม้แต่เวลาที่เราไม่ได้เดินจงกรมหรือนั่งเคลื่อนไหวมือเป็นจังหวะแล้ว ในชีวิตจริงของเราก็ให้พยายามรู้สึกกับการเคลื่อนไหวในอิริยาบถต่างๆ นับตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงหลับนอน เช่น ตื่นขึ้นมา ลุกก็ให้รู้สึกตัวเข้าไปรับรู้การเคลื่อนไหวของอิริยาบถย่อยๆ เหล่านั้นทุกๆ กิจกรรมของชีวิต
เมื่อเราทำอย่างนี้ไปสักระยะหนึ่ง ช่วงแรกๆ จิตจะอยู่กับการเคลื่อนไหวได้เพียงระยะสั้นๆ ก็มักจะหลง เผลอนึกคิดหรือบางทีก็ง่วงซึม อาศัยความอดทนมากในช่วงแรก พอรู้ว่ามันเผลอนึกคิดออกไปนอกตัว เราก็รีบสลัดความคิดนั้นทิ้งทันที แล้วกลับมาเริ่มต้นที่รู้ตัวใหม่ ทำซ้ำๆ ย้ำๆ อยู่อย่างนี้ ทำเล่นๆ รู้เท่าที่รู้ได้ ไม่รู้ก็แล้วไป เผลอแล้วก็เริ่มใหม่ ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม แม้กำลังอยู่ในส้วม
โอ! แปลกมาก เมื่อทำบ่อยๆ โดยไม่หวังผลอะไร ทำเล่นๆ ความรู้สึกตัวกลับโตขึ้นๆ รู้ได้ง่าย รู้ได้ไวขึ้น รู้ได้คล่องขึ้น กายกับใจสามัคคีกันดีมาก เดินด้วยกัน นั่งด้วยกัน กินด้วยกัน เป็นเนื้อเดียวกันดี แต่ก็มีเผลออยู่บ้าง เอ ! เราไม่ได้ทำความสงบเลย แต่ทำไมมันสงบ สงบทั้งๆ ตาก็เห็น หูก็ได้ยิน
โอ้ย! นึกว่าทำกรรมฐาน จะรู้เห็น ผีสางเทวดา กลับเห็นตัวเอง เห็นตัวเองที่เป็นกองอะไรกองหนึ่งเท่านั้น.
คู่มือ การทำความรู้สึกตัว >>
http://se-ed.net/theeranun/
mingyea
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 09 มี.ค.2007, 5:01 pm
สาธุ .....ค่ะน้องเต่า
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th