ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
05 มี.ค.2007, 11:20 am |
  |
การที่หลวงปู่ให้พวกเราได้ทำงาน
อย่างน้อยนอกจากจะไม่ทำตนให้เป็นคนเกียจคร้าน
หลวงปู่ไม่ได้มุ่งหวังว่า จะได้เล็งผลเลิศในการทำงาน
ไม่ได้มุ่งหวังว่า จะได้ผล หรือเป้าหมายของการทำงาน
แต่หลวงปู่มุ่งหวังว่า ให้เราได้เปลี่ยนอุปนิสัยจิตใจของตน
ให้เป็นคนโอบอ้อมอารี มีน้ำใจเอื้ออาทร
เผื่อแผ่ และก็แกร่ง เข้มแข็ง อดทนต่ออุปสรรคและสิ่งที่ไปเผชิญ
และหัดใช้ปัญญาใช้สมองพิจารณา
แก้ไขปัญหาแยกแยะก่อนหลัง
ไม่ใช่ทำโดยใช้สีข้างเข้าสี และเอาอารมณ์ตัวเองเป็นใหญ่
จนลืมไปว่าผลประโยชน์ของคนอื่นควรจะมีด้วยหรือไม่
แล้วก็สังคมของพระศาสนาเนี๊ยะ เขาอยู่ร่วมรวมกันด้วย
ความสมัครสมานฉันท์สามัคคี กลมเกลียว
เขาให้เกียรติและยอมรับกัน โดยคุณธรรม ศีลธรรม
แล้วก็พรรษากาล อย่าลืมว่า หลวงปู่พูดว่าคุณธรรม ศีลธรรม
แล้วก็พรรษากาล ให้มากไปด้วยพรรษามากมาย
นั่นหมายถึง แก่จนถึงขนาดไหน ก็แล้วแต่ ถ้าไม่มีคุณธรรม ไม่มีศีลธรรม
ก็ไม่ได้หมายถึงว่า จะเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ทุกคนเสมอไป
แต่ถ้าพวกเราทั้งหลายมีคุณธรรม มีศีลธรรมไม่จะเป็นต้องอยู่จนแก่
ก็สามารถจะเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมทั้งหลายได้
 |
|
|
|
   |
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
05 มี.ค.2007, 11:22 am |
  |
เวลาที่หลวงปู่เข้าไปร่วมประชุมพระสังฆาธิการ
พระทั้งจังหวัด 275 วัด แต่ละวัดเขาให้การยอมรับ
หลวงปู่ โดยฐานะเป็นผู้นำโดยคุณธรรม โดยศีลธรรม
ซึ่งหลวงปู่ไม่ได้เอาป้ายเขียนติดไว้ที่หน้าอก
แต่เพราะเรามีวิถีทาง มีการแสดงออกในการเป็นตัวของตัวเอง
จนได้เป็นที่ยอมรับของพระทั้งจังหวัด
ในฐานะที่เป็นเยี่ยงและอย่างที่ดี ควรที่จะทำตาม
สมภารเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค ยกย่องว่า
วัดอ้อน้อย เป็นเยี่ยงและอย่างในการพัฒนา
ความเป็นผู้นำของบุคคลในอาวาส
เล่าให้พวกเราฟังก็ไม่ได้มุ่งหวังว่า ให้พวกเราได้จิตใจพองโต
แต่พูดให้ฟังโดยฐานะว่า
สิ่งที่หลวงปู่สอนพวกเรา นั่นคือ สิ่งที่หลวงปู่ทำ
หลวงปู่ไม่ได้เป็นผู้นำ โดยฐานะที่คอยจะสั่งแล้วก็ใช้
จริงๆแล้วสมภารหรือผู้นำเนี๊ยะ ควรจะนั่งเฉยๆ
มีปากก็ให้ใช้ มีนิ้วก็ให้ชี้ ปล่อยให้คนอื่นเขาไปทำบ้าง
นี่คือสิ่งที่เขาอบรมกันในที่ประชุม
หลวงปู่ก็เลยยกมือค้านขึ้นมาว่า ถ้ามีปากเอาไว้ใช้ มีนิ้วเอาไว้ชี้
และถ้าเผอิญไอ้คนที่มันจะมารับคำสั่งใช้ และรับคำสั่งชี้
มันไม่มีแล้วจะทำอย่างไร วัดนั้น อาวาสนั้น มันไม่รกเป็นรังหนู
เป็นที่อยู่ของงู ของเสือไปหรอกเหรอ
เพราะฉะนั้น การทำตนเป็นผู้นำ นอกจากจะ ทำดีให้คนอื่นเขาทำตาม
จึงควรจะได้รับเรียกขานว่า เป็นผู้นำโดยกมลสันดาน และจิตใจ
ในขณะเดียวกันก็ การที่ให้พวกเราได้มีโอกาสลงมือทำทุกอย่าง
ด้วยตัวของพวกเราเอง ก็เพื่อจะฝึกปรืออบรม
บ่มนิสัยจิตใจของตน ให้เป็นคนแกร่งและกล้า
อดทนอดกลั้นต่ออุปสรรค และปัญหาทั้งปวงที่รุมเร้า ทั้งกายและใจ
 |
|
|
|
   |
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
05 มี.ค.2007, 11:24 am |
  |
จงมีคติเตือนไว้ในหัวใจอยู่เสมอว่า
การทำงานทุกอย่าง ก็คือ การสมัครใจเข้าไปแก้ปัญหา
งาน คือ ตัวปัญหาเมื่อใดที่เราแก้ปัญหาได้หนึ่งเรื่อง
เราก็ฉลาดได้หนึ่งครั้ง เมื่อใดที่เราทำงานได้หนึ่งอย่าง
เท่ากับเราแก้ปัญหาได้หนึ่งเรื่อง
และเราสามารถแก้ได้ทุกเรื่องทุกอย่าง
ก็เท่ากับว่าเราฉลาดได้ทุกเรื่อง ทุกอย่าง
เพราะฉะนั้น ถ้าคิดว่างาน คือ การแก้ปัญหา
การแก้ปัญหา คือ วิถีทางนำเอาชีวิตเข้าไปสู่การเรียนรู้
และเบิกวิถีชีวิตของเรา ให้มีประสบการณ์ทางวิญญาณ
ที่กว้างไกลมากขึ้นไปอีก ถ้าทุกคนสามารถสำคัญและมีสามัญสำนึก
ในการคิดอย่างนี้ การทำงานแต่ละอย่าง
มันจะเป็นการทำงานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยมีความสุข
มีความรู้สึกที่มีชีวิตวิญญาณ มีเสรีภาพ มีอิสระ
และช่างเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังอำนาจ
ของการเรียนรู้และหล่อหลอมจิตใจให้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
กับงานที่ลงมือกระทำ มันจะเป็นการทำงานได้อย่างสนุกโดยไม่เบื่อหน่าย
และก็จดจ่อ จริงจัง จับจ้อง อย่างตั้งใจ
 |
|
|
|
   |
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
05 มี.ค.2007, 11:25 am |
  |
แต่ถ้าหากว่าทำโดยความรู้สึกเกียจคร้าน
และไม่อยากจะลงมือกระทำ
อย่าว่าแต่งานคนอื่นเลย แค่งานตัวเอง ล้างหน้าแปรงฟัน ขี้ เยี่ยวตด
มันก็ช่างเป็นภาระอันหนักยิ่ง มันไม่อยากจะทำไปทั้งนั้น
ถ้ามีชีวิตอยู่ในลักษณะนี้ เปลืองอากาศบริสุทธิ์ๆ
คนดีๆ เขาจะมาเกิดบ้าง ก็ไม่ได้เกิด
หรือเกิดก็มีอากาศไม่บริสุทธิ์เสียแล้ว เพราะเราเป็นตัวรกสถานที่
รกบรรยากาศ ทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลภาวะ
ตายเสียดีกว่า เพราะอยู่ก็ไม่ได้สร้างประโยชน์
ให้เกิดขึ้นต่อโลก ต่อตน และก็สังคมสักเท่าไหร่
การที่พวกเราจะลงมือช่วยกันทำงาน
นอกจากจะได้ประสบการณ์ทางวิญญาณที่กว้างไกล
วิถีทางของชีวิตที่แกร่งกล้า มันเป็นการฝึกปรืออบรมบ่มนิสัย
ดัดกายวาจาใจของตน ให้เป็นคนโอบอ้อมอารี มีน้ำใจ
เอื้ออาทรและเผื่อแผ่
เราจะรู้จักคนได้จากการทำงาน
เราจะเรียนรู้คนได้จากวิถีทางของการทำงาน
เราจะรู้ว่าคนๆ นี้ มีน้ำใจกับเรามากแค่ไหน
มีใจโอบอ้อมและเอื้ออาทร เผื่อแผ่ต่อสังคม
และคนอยู่ร่วมได้มากอย่างไร
ก็ต้องดูว่า วิธีที่เขาทำงานกับเรา กับสังคมและส่วนรวม ทำอย่างไร
เราจะดูว่าคนๆ นี้ เป็นคนเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ เกียจคร้าน
คอยหลบๆ อู้ๆ มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ก็ดูได้ด้วยการทำงาน
เราจะดูว่าคนดีหรือคนเลว ก็ดูได้จากการทำงาน
 |
|
|
|
   |
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
05 มี.ค.2007, 11:27 am |
  |
พระพุทธเจ้าสอนให้ดูคนสะอาด นั่นคือ ดูคนดี
ก็ดูจากการทำงานว่า การทำงานอันนั้น
จะสามารถทำแล้วยังประโยชน์ให้เกิด ทั้งผู้ทำและผู้รับการกระทำหรือไม่
ทั้งตนและคนอื่น รวมทั้งส่วนรวมหรือเปล่า
ถ้าการงานอันใดทำแล้ว ทำให้เกิดโทษต่อคนอื่น
และเอาแต่ประโยชน์ตนเป็นใหญ่
พระศาสดาทรงเรียกงานนั้นว่า สกปรก
เพราะฉะนั้น เราจะเห็นน้ำใจของคน
รู้จักหน้าตาแท้จริงของผู้คนที่อยู่ใกล้
แล้วเข้าใจ สังคมรอบข้างตัวเองได้
ก็ต่อเมื่อตัวเรา ตัวเขาร่วมกันกระทำงาน
หรือต่างฝ่ายต่างลงมือกระทำงาน
ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังจะยกของหนัก เพื่อนเดินผ่านมา
เห็นแล้วก็ยิ้มใส่ แล้วก็สะบัดตูดไป
เฉยไว้แล้วดีเอง แล้วเราก็ยกของหนักต่อไป
บอกได้เลยว่า ไอ้นั่นไม่ใช่เพื่อนเรา
ไม่ใช่เพื่อนผู้ร่วมทุกข์ ร่วมสุขของเรา
มันจะร่วมแต่สุข แต่เวลาทุกข์มันยิ้มแล้วก็ สะบัดตูด
นั่นไม่ใช่เพื่อน สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ
เรื่องที่ยากที่สุดสร้างมิตรแท้
อะไรที่เป็นเรื่องยาก ถ้าเพื่อนของเราหรือคนอยู่ใกล้
แวดวงสังคมของเรา เข้ามาช่วยเหลือเอื้ออาทร
ถือว่าคนๆ นั้น เป็นมิตรของเรา
แต่ถ้ามีเรื่องยาก คนทั้งหลายกลัวลำบาก เพื่อนเราก็เปิดหนี
อย่างนั้นแสดงว่า ไอ้นั่นไม่ใช่มิตรของเรา
นอกจากจะไม่ใช่มิตรแล้ว บางครั้งมันอาจจะคิดเป็นศัตรูกับเราด้วย
ในบางทีก็ได
เพราะฉะนั้น เราจะดูคนที่เห็นแก่ตัวหรือคนมีน้ำใจ
ก็ดูตรงการทำงาน
ชั่วชีวิตหลวงปู่จึงมีแต่งาน
จะเห็นว่าหลวงปู่ไม่เคยหยุดนิ่ง
ไม่มีวันใดที่หลวงปู่จะนั่งเฉยๆ สบายๆ ไม่ต้องทำอะไร
ข้อมูลจาก... ธรรมะจากหลวงปู่
http://www.dhamma-isara.org/dhamchap_6_1.html
 |
|
|
|
   |
 |
|