ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
20 ธ.ค.2004, 5:35 pm |
  |
คนไทยในยุคสมัยใหม่จำนวนไม่น้อย กล่าวกันว่าสมัยนี้เราไม่ต้องไปวัดก็ศึกษาธรรมะได้
เพราะว่าเรามีหนังสือธรรมะดีๆจำนวนมาก เข้าไปร้านหนังสือเดินเลือกซื้อได้ตามใจชอบ แล้วนำมาอ่านหาความรู้และศึกษาธรรมะได้แล้ว
ในการปฏิบัติธรรมรือเจริญภาวนา ก็สามารถทำได้ที่บ้าน เราสามารถจัดบ้านให้เป็นที่เงียบสงบแล้วปฏิบัติธรรมได้ ความรู้ในการปฏิบัติธรรมก็สามารถทำได้
ในการถวายทานก็อาจทำได้ ถ้ามีพระภิกษุมาบิณฑบาตหน้าบ้าน หรือในที่ซึ่งท่านสามารถออกไปใส่บาตรได้ หรืออาจทำทานด้วยวิธีอื่น ด้วยการบริจาคต่างๆ ก็ทำได้เสมอ
ถ้าเราไม่ต้องไปวัดเหมือนคนไทยสมัยก่อน ท่านมีความเห็นอย่างไรในเรื่องว่าเราสมควรหรอไม่สมควรจะไปวัด ในสภาวะสังคมเช่นปัจจุบันนี้ ? |
|
|
|
|
 |
ดนุวัติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
20 ธ.ค.2004, 6:05 pm |
  |
การไปวัดสิ่งที่จะได้ก็คือ พุทธา,ธัมมา,สังฆานุสติ เป็นสิ่งสำคัญของคนที่มีกำลังใจอ่อนอยู่ หรือแม้แต่คนที่มีกำลังใจดีมากในพระพุทธศาสนา ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นทีเดียว และก็มีโอกาสทำสังฆทาน เป็นต้น
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการที่ไม่ไปวัดจะระลึกถึงพุทธา,ธัมมา,สังฆานุสติ ไม่ได้ หรือว่าจะบำเพ็ญไม่ได้ แต่ว่าการไปวัดก็สร้างความชื่นใจให้แก่ผู้ปฏิบัติ อย่างน้อย ก็ได้พบสนทนาธรรมกํบครูบาอาจารย์ ได้ เป็นต้น
บางวัดนี่ท่านเจ้าอาวาสท่านก็พยายามสร้างถาวรวัตถุ ให้มีความสวยสดงดงาม เพื่อให้ผู้ที่พบเห็นจำติดตาตรึงใจ ถ้าแม้ก่อนตายนึกได้ ก็จะมีสุคติเป็นที่ไป ครับ อันนี้เป็นเจตานาดีของท่าน แล้วแต่ว่าใครจะคิดอย่างไร |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
20 ธ.ค.2004, 8:37 pm |
  |
|
|
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
20 ธ.ค.2004, 10:17 pm |
  |
ผมได้สนทนากับท่านหนึ่ง ที่ภายในหนึ่งสัปดาห์ก็จะเข้าวัดประมาณ 2 วัน
คือวันอาทิตย์ กับวันพระ ท่านได้เล่าว่าในช่วงเวลาที่อยู่วัด กับอยู่บ้านนั้น
ชั่งแตกต่างกันมาก เมื่อเวลาอยู่วัดนั้นจิตใจก็จะสบายเพราะได้ปล่อยว่างภาระ
หน้าที่การงานทั้งหมดที่เคยทำตอนอยู่ที่บ้าน จะนั่งสมาธิเดินจงกรมก็จิตใจดีไปหมด
แต่พอกลับมาบ้านก็ต้องทำภาระหน้าที่การงานต่อ ถึงแม้จะปฏิบัติธรรมแต่ด้วย
ภาระหน้าที่ต่างๆ ที่บีบรัดจึงทำให้ไม่สามารถทำได้ต่อเนื่องอย่างที่เคยอยู่ที่วัด
จะเห็นว่าวัดหรือสถานปฏิบัติธรรมนั้น เป็นสถานที่เหมาะกับการปฏิบัติธรรม
เพราะเราไม่ต้องเห็นไม่ต้องรับรู้ภาระหน้าที่ เมื่อไม่รับรู้ไม่เห็นความวิตกกังวล
ความห่วงต่างๆ ก็คลายตัวออกไปทำให้เราได้เห็นได้เข้าถึงสภาพจิตที่ปกติมากขึ้น
บางคนบางท่านวัดหรือสถานที่ปฏิบัติก็ไม่เป็นสิ่งจำเป็น เพราะปฏิบัติที่ไหนก็ได้
แต่กว่าจะถึงจุดนั้นเริ่มต้นก็ต้องหาสถานที่ปฏิบัติธรรมที่เหมาะสมอำนวยให้เกิดผลในช่วงต้น
หลังจากนั้นก็สามารถปฏิบัติได้ทุกที่ทุกเวลา แต่สำหรับผู้เริ่มต้นวัดหรือสถานที่ปฏิบัติธรรม
เป็นสิ่งที่จำเป็น เมื่อมีโอกาสก็ควรมองหาวัดหรือสถานที่ปฏิบัติแล้วเข้าไป
สัมผัสหรืออยู่พักปฏิบัติธรรมบ้างจะเป็นการดีมาก |
|
|
|
    |
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 ธ.ค.2004, 6:31 am |
  |
ขอบคุณครับ ยิ่งมีความเห็นมาก ทำให้เห็นแง่มุมความคิด ที่จริงแล้วเป็นประสบการณ์ของการไปวัด
เป็นเรื่องทรงคุณค่าที่แต่ละท่านไปเห็นไปพบเป็นเรื่องน่าสนใจ ในขณะที่ค่านิยมการไปวัดลดเหลือน้อยลงทุกที |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 ธ.ค.2004, 9:11 pm |
  |
ผมมีความเห็นเรื่องไปวัดดังนี้
ถ้าพ่อแม่ไปวัด อาจพาลูกๆไปด้วย เด็กที่โตพอสมควรนั้นควรจะได้ไปวัดบ้าง
เพราะเด็กควรจะได้หัดกราบพระ แบบเบญจางคประดิษฐ์ เดี๋ยวนี้คนกราบพระไม่ค่อยเป็น กราบก็เอาฝ่ามือแบกราบที่พื้น ทำง่ายๆ ลวกๆ
ถ้านั่งเรียบร้อย กราบหมอบลงไปหน้าผากจรดพื้น ข้อศอกขนเข่า ความรู้สึกของใจที่นอบน้อมลงไปนั้น ก็ยังต่างกันกับการกราบที่ดูเหมือนลวกๆ
เด็กๆควรได้รับการฝึกกิริยาอาการกราบที่ถูกต้อง
เด็กอาจเห็นศาสนพิธีต่างๆจากวัด จะได้เข้าใจพิธีกรรม เช่นอาราธนาศีล อาราธนาธรรม การสวดมนต์ไหว้พระ
เด็กจะได้รับการฝึกและเรียนรู้ในสถานที่จริง และเข้าใจความหมายของวัดจากการไปเห็น แทนรู้จากคำบอกเล่า
นี่เป็นเรื่องของเด็กๆ ที่เราปลูกฝังในเรื่องศาสนา
ส่วนผู้ใหญ่ หญิงชาย เป็นอุบาสก อุบาสิกา เป็นหุ้นส่วนของศาสนาที่เรียกว่าพุทธบริษัท ถ้าเราไม่ไปวัด ความเป็นพุทธบริษัทนั้นเป็นได้ยาก เพราะว่าพระอยู่ที่วัด อุบาสก อุบาสิกาศึกษาธรรมะอยู่ที่บ้าน กลับทอดทิ้งวัดให้อยู่แต่ลำพัง
ความเป็นพุทธบริษัทอาจแตกสลายได้ อาจถูกทำลายได้
เราจะปล่อยให้พระอยู่ที่วัดฝ่ายเดียวนั้นไม่สมควร เพราะวัดนั้นมีปัญหามาก แม้เรื่องเงินเรื่องทองก็อาจมีปัญหา อุบาสก อุบาสิกา เข้าไปดูแลวัดบ่อยๆ พระก็เกรงใจชาวบ้านผู้มีความศรัทธา จะได้ช่วยกันดู ช่วยกันควบคุม ไม่ให้มีสิ่งผิดพลาดหรือไม่สมควรเกิดขึ้นในวัด
องค์ประกอบของพุทธบริษัทมีความสำคัญ ถ้าคนสนใจวัดมาก ปัญหาของวัดคงจะได้รับการแก้ไข มีหลายเรื่องควรจะตราเป็นกฏหมาย เพื่อแก้ปัญหาวัด แต่นักการเมืองไม่รู้ปัญหาวัด ไม่มีใครบอกว่าควรแก้กฏหมายอย่างไรบ้าง
เพื่อให้ความเป็นอยู่ของพระนั้นเหมาะกับธรรมวินัย และทำอย่างไรให้พระได้รับความสะดวกตามธรรมวินัย วัดต้องมีฆราวาสไปทำงานให้พระ วัดขาดบุคลากรมาก เพราะว่าบุคลากรนั้นอาจต้องการรายได้เงินทองในการทำงาน ถ้ารัฐบาลจัดบุคลากรและมีค่าใช้จ่ายให้ก็พอมีคนไปอยู่วัดให้พระได้อาศัย เพราะพระไม่สามารถทำบางอย่างได้
วัดอาจมีฆราวาสเป็นคณะบุคคลบริหาร และมีระบบการตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใส เพราะว่าวัดจะมีเงินที่ได้จากการบริจาคมาก
ถ้าเราไม่ไปวัด ปฏิบัติธรรมที่บ้าน ก็เหมือนทอดทิ้งวัด การสืบทอดศาสนาอาจชะงักและสะดุด
ถ้าทำให้วัดมีศักยภาพในการเผยแพร่ศาสนาแก่ชุมชน ปัญหาสังคมในชุมชนจะน้อยลงด้วย
ชุมชนกับวัดควรมีความสัมพันธ์กัน แม้ว่าวัดต่างๆโดยความเป็นจริงแล้วมีปัญหามาก ต้องหาทางแก้ปัญหาที่หมักหมม ทำให้การสืบทอดศาสนามีปลายทางเรียวแคบลงไปเรื่อยๆ |
|
|
|
|
 |
|