ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ชัยพร พอกพูล
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2006
ตอบ: 73
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
16 เม.ย.2007, 11:56 am |
  |
ผมสงสัยครับว่า หากวันหนึ่งเมื่อความจำเป็นบีบบังคับให้ต้องยึดอาชีพคนฆ่าสัตว์ พวกเขาควรจะทำเช่นไร แล้วเรื่องของผมกรรมจะเป็นเช่นไรครับ รบกวนนักธรรมทุกท่านด้วยครับ |
|
_________________ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม |
|
   |
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 เม.ย.2007, 12:29 pm |
  |
ก็ผิดศีลข้อหนึ่ง
แต่เมื่อมีความจำเปนต้องทำก็ทำด้วยความจำเปน และตั้งใจไว้ว่า เมื่อถึงระดับหนึ่งแล้วจะเลิก
เมื่อระดับที่ตนคิดแล้ว มีทางไปแล้วก็เลิกแล้วทำบุญให้สัตว์เหล่านั้น |
|
|
|
|
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
16 เม.ย.2007, 3:07 pm |
  |
กราบสวัสดี คุณชัยพร
คนส่วนมากที่ยึดอาชีพเกี่ยวกับทางนี้ มักกล่าวว่าไม่มีทางเลือกที่จะหางานทำอย่างอื่น หรือบางคนอาจอ้างเพราะทำเพื่ออาหารของมนุษย์ หรือบางคนอาจอ้างเพราะทำเพื่อการยังชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่ลืมนึกถึงชีวิตของสัตว์ที่เป็นอาหารว่า ไม่ว่าชีวิตใดก็ล้วนแล้วคือชีวิตเหมือนเราๆท่านๆทั้งสิ้น บางครั้งอาชีพคนฆ่าสัตว์ มิได้เป็นเครื่องหมายยืนยันว่าเพียงเพื่อเป็นอาหารเท่านั้น แค่ความสุขสำราญเบิกบานใจแห่งตนก็ก่อกรรมด้วยความไม่รู้
ขึ้นชื่อว่าเป็นอาชีพ ก็ต้องทำทุกวัน ก็เหมือนฆ่าทุกวัน กรรมที่ก่อก็กลายเป็นวิบาก เพราะทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อย่างนั้น เมื่อตนได้รับผลแห่งวิบากนั้นก็โทษกรรมโทษเวร โทษโน่นนี่เรื่อยไป แต่มีสักกี่คนที่จะสำนึกได้ว่าวิบากนั้นส่งผลมาจากการก่อกรรมของตนซ้ำแล้วซ้ำเล่าในชาติปัจจุบันนั่นเอง ความจำเป็นที่บีบบังคับมาจากสาเหตุอะไร ถ้าไม่ใช่กิเลส ถ้าสำนึกดีชีวิตเราเขาก็คือชีวิต ไม่แตกต่าง อย่างไรเสียก็คงไม่หันไปทางอาชีพที่ทำลายชีวิตด้วยกัน
หากถามถึงผลกรรม "ชีวิต ย่อมชดใช้ด้วยชีวิต กระทำต่อชีวิตนั้นอย่างไร ชีวิตนั้นได้รับความทุกข์เวทนาแสนสาหัสก่อนสิ้นใจอย่างไร ผู้กระทำต่อชีวิตนั้นย่อมได้รับผลในปัจจุบันชาติในลักษณะเดียวกัน"
เจริญในธรรม
มณี ปัทมะ ตารา
 |
|
|
|
   |
 |
ไร้ค่า
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 08 มี.ค. 2007
ตอบ: 2
|
ตอบเมื่อ:
16 เม.ย.2007, 6:18 pm |
  |
ผมสงสัยจังว่า 1 ชีวิตของยุง = 1 ชีวิตของไก่= 1 ชีวิตของวัว = 1 ชีวิตของคนหรือไม่
เพราะอะไร ใครเป็นกำหนดความเท่าเทียมอันนี้ ผมฆ่ายุง 1 ตัวด้วยความโกรธแค้นเพราะมัน
กัดผม ผมจะต้องตายชดเชยมันหรือไม่ |
|
|
|
  |
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 เม.ย.2007, 7:05 pm |
  |
ฆ่า สัตว์เล็ก ใช้เจตนาในการฆ่าไม่แรงเหมือนฆ่าสัตว์ใหญ่
ฆ่ามดไม่ต้องใช้ความพยายามมากเหมือนฆ่าช้าง เป็นต้น
-ฆ่ามนุษย์ยิ่งต้องใช้อกุศลเจตนาแรง ใช้ความพยายามสูง อกุศลเจตนาต่างๆ ก็เกิดแรงไปด้วย
ผลแห่งอกุศลเจตนาก็ส่งผลมาถึงร่างกาย
บีบคั้นจิตใจ ทำให้เครียดอยู่ตลอด
เมื่อฆ่าเขาได้แล้ว ก็อยู่อย่างหวาดวิตก หวาดระแวงว่าจะถูกพวกฝ่ายตรงข้ามตามเก็บตามฆ่าเอาเช่นกัน....ต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ....
การฆ่ามนุษย์นี่เองอาจจะต้องชดใช้ด้วยชีวิต เพราะมนุษย์มีความคิดลึกซึ้ง มีความโกรธมีความพยาบาทซับซ้อนกว่าสัตว์ดิรัจฉาน
สมมุติว่า ฆ่าพ่อเขาตาย
ลูกหลานญาติพี่น้องเขายังอยู่ อาจมาฆ่าล้างแค้นได้ หรือฆ่าเราไม่ได้ อาจฆ่าคนใกล้ชิดเป็นต้นก็ได้ ตามจองล้างจองผลาญ จองเวรกันฆ่ากันและกันจนหมดตระกูลก็ได้
คำว่า "สัตว์" เดิมทีเดียวท่านหมายถึงมนุษย์เป็นหลัก
แต่กาลต่อมารุ่นอรรถกถา รวมเอาสัตว์ดิรัจฉานเข้าด้วย |
|
|
|
|
 |
ไร้ค่า
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 08 มี.ค. 2007
ตอบ: 2
|
ตอบเมื่อ:
16 เม.ย.2007, 7:36 pm |
  |
ผมก้ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าอะไรความเท่าเทียมอันนี้
เช่น ในกฏแห่งกรรมของ ท.เลียงพิบูลย์ คนหลายขโมยวัวมาฆ่า 1 ตัว ทำให้คนหลายคนเหล่านั้นต้องโดนระเบิดท้องใส้ทะลักเหมือนกับวัวที่เขาฆ่า ถ้าเป็นจริงคงเป็นเรื่องบังเอิญหรือจินตนาการมากกว่า |
|
|
|
  |
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 เม.ย.2007, 8:01 pm |
  |
ธรรมชาติกำหนด
มองภาพให้กว้างออกไปอีก ตัดเขาตัดเราทิ้งก่อน มองให้เห็นธรรมชาติล้วนๆ
มนุษย์และสัตว์ (ซึ่งก็สัตว์ด้วยกันนั่นแหละ)
ไม่มีพระผู้สร้าง ไม่มีใครบันดาล ให้มันเป็นไปอย่างนั้นอย่างนี้ มันเป็นอย่างนั้นของมันเอง เป็นไปตามธรรมชาติ |
|
|
|
|
 |
จิตงาม
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 06 มี.ค. 2007
ตอบ: 86
|
ตอบเมื่อ:
16 เม.ย.2007, 9:03 pm |
  |
ขึ้นอยู่ที่วัตถุประสงค์ในอาชีพมากกว่า คุณยึดอาชีพเพื่อค้าขายด้วยความบริสุทธ์ของจิต การฆ่าสัตว์หนึ่งตัว จริงอยู่หนึ่งชีวิตต้องเจ็บปวดต้องตายลง แต่เป็นการตาย เหมือนเสียสละ เพื่อให้อีกหลายชีวิตต้องมีชีวิตอยู่อีกต่อไป การยึดอาชีพนี้ หากคนขายเป็นคนจิตเมตตา ไม่คดโกงในคนซื้อ คนซื้อก็ย่อมพอใจ สุขใจที่ได้มาซื้อขายร่วมกัน พอใจที่ได้กิน ได้มีอาหารประทังชีวิต คนขายเองก็มีทรัพย์เพื่อประทังชีวิตให้ได้อยู้ดิ้นรนต่อไปอีกนาน เมื่อความสุขเกิดทั้งสองฝ่าย ก็เหมือนเกิดบุญนะ จริงอยู่บาปมันก็เกิด แต่มันเป็นเรื่องร่วมกันระหว่างบุญกับบาป ซึ่งแยกจากกันได้ยาก
แต่ถ้าเป็นการฆ่า เพื่อความสนุก เพื่อความระบายแค้น อันนี้ไม่ใช่เกิดประโยชน์ต่อเพื่อมนุษย์ แต่เป็นการรังแกสัตว์ บาปเกิดเต็มๆ
สัตว์เกิดมาเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ หากมนุษย์ทุกคน เลี่ยงที่จะฆ่า หรือค้าขายเนื้อสัตว์ มนุษย์ที่เกิดมา ย่อมมีร่างกายขาดสารอาหาร นำมาเพื่อความทุกข์เจ็บป่วย
แล้วคนที่กินมังสฯล่ะ ทำไมอยู่ได้ ขอให้เปรียบดู ร่างกายของคนเหล่านี้ ไม่สมบรูณ์เต็ม ต้องใช้วิตามินช่วย เครียดนะ เมื่อเตรียดอันเกิดจากร่างกายไม่สมบรูณ์ จิตก็ไม่สงบ
เราเอง เคยลองกินมังสฯเต็มๆแล้ว ขอบอกว่า ร่างกายไม่สมบรูณ์เต็มร้อย เอาแค่เล็บมือเท้า มันจะเป็นริ้ว เปราะง่าย มันขาดสารอาหารไง
แต่หากเรากินเนื้อสัตว์ ใช้เนื้อสัตว์มาเพื่อประโยชน์อย่าพอเพียง ไม่ล้นเกินไป ก็ไม่เบียดเบียนสัตว์เขาเกินไปใช่ไหมล่ะ
ลอง กินเขาอย่างพอเพียง แค่เพื่อเป้นอาหารประทังชีวิตดู งดเนื้อสัตว์ ก่อนวันพระ และในวันพระ แค่นี้ กุศลก็เกิดถึงคุณและสัตว์
ทุกอย่างอยู่ที่คนซื้อ คนซื้อซื้อน้อยลง คนขายขายไม่ได้ ก็ต้องฆ่าสัตว์น้อยลง สัตว์ก็ตายน้อยลง ทุกอย่างเป็น บาปบุญ วนเวียนกันอยู่
ในส่วนตัว เรายังอยากให้มีอาชีพนี้อยู่ไม่ได้มองว่าฆ่่าสัตว์เพื่ออาหารเป็นโหดร้ายใดๆ แค่เราช่วยสัตว์ให้เขาตายน้อยลง โดยการงดกินเขาให้น้อยลงได้ |
|
|
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
16 เม.ย.2007, 9:41 pm |
  |
เจตนา ... เป็น กรรม มีผล เป็น วิบากกรรม
กรรม เป็นคำกลาง ๆ มีทั้ง กรรมดี กรรมชั่ว
เจตนามาก กรรมมาก วิบากมาก
เจนตาน้อย กรรมน้อย วิบากน้อย
ไร้เจตนา ก็เป็น อโหสิกรรม
....ผลของกรรม รู้ได้ด้วยจิต สะสมที่จิต จิตต้องรับผิดชอบ ทั้งหมด
ส่วนร่างกาย มิได้รับมรดกอันนั้น
พอกายดับสลาย วิบากกรรม ก็เกาะติด จิต ไปเป็นนามธรรม
เป็นที่อยู่ของจิต ที่พึ่งของจิต มีกรรมเป็นพันธุ์ และมีกรรมเป็นแดนเกิด
........เมื่อท่านมีเจตนาจะ ฆ่าแล้ว เจตนานั้นเป็นตัวก่อ กรรมภพ แล้วส่งจิตไปอยู่ตามภพนั้นมีภูมิเป็นชั้น ๆ ตามลักษณะเจตนาหนัก เบา
.......แม้ท่านจะอ้างว่า จำเป็น "ต้องฆ่า" ก็ตาม
เพราะถ้าพิจารณาแล้ว
ท่านจำเป็นต้องฆ่า เพื่อ สนองความต้องการของกาย เพื่อหาปัจจัย ให้กาย
แต่จิต ที่ไม่รู้อีโหน่ อีเหน่ เป็นผู้รับผล เต็มๆ แบบ จำเป็นต้องรับ แล้วตามเจตนาแต่แรก
.......ดังนี้ ผู้มีสติ รำลึกอยู่ ใหนเลยจะพอใจในการฆ่า ใหนเลยจะยินดีในเหตุจำเป็นนั้น
เพราะ เหตุผลที่ต้องการรักษา"จิต" กลับมีน้ำหนักยิ่งกว่า เหตุจำเป็นที่อ้างนั้น จึงต้องหาวิธีอื่นมาแก้ปัญหา ให้กายจนได้
เหตุผล..ใดก็ตาม ถ้ายังมีน้ำหนักมากกว่า "จิตตํ" นี้แล้ว แสดงว่า ท่านยังต้อง เจริญ ศีล และภาวนา อีกมากมาย
........ขอรับท่านผู้เจริญ เพราะท้ายสุด เมื่อลงมือ "ก็รอรับผลได้เลย" เพราะผลเป็นของท่านแล้ว ห้ามอุทรณ์ ฏีกา |
|
|
|
  |
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2007, 8:19 am |
  |
ห้ามฆ่าสัตว์ในศีลห้า เจตนาของศีลคือ ไม่รังแกสัตว์ ไม่ฆ่าสัตว์พร่ำเพรื่อเพื่อความสำราญตน
อย่าคิดมากครับ ถ้าไม่ได้เดินตามรอยพระอรหันต์ เอาแค่พุทธมามกะก็ดีแล้ว |
|
|
|
|
 |
เศษพุทธทาส
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 08 เม.ย. 2007
ตอบ: 121
|
ตอบเมื่อ:
17 เม.ย.2007, 10:19 am |
  |
ก็อย่างที่ทุกท่านรู้ คือเขาทำกรรมไว้ให้ต้องมารับกรรมแบบนี้ มีหลายหนทางที่จะช่วยเขาได้ก็คือ อนัตตา ความไม่แน่นอน ความไม่เป็นอย่างนี้ตลอด ควบคุมไม่ได้ ผมเชื่อว่าเป็นสัจธรรมที่จะพลิกให้เขาหลุดออกจากกรรมอันนี้ได้ และหากเขายังอยู่ในช่วงรับกรรม เราก็ได้แต่เพียงแผ่เมตตาให้เขา ทั้งคนฆ่าและผู้ถูกฆ่า เพื่อให้บุญที่เราแผ่ไปสะสมไว้ ณ ชาติใดก็ดีเขาก็จะมีบุญพอทีจะไม่ต้องมาทำแบบนี้ และรับแบบนี้ และหรือถ้ามีคนรู้จักเขาพอจะแนะนำให้เขามีสติ แล้วมาทำบุญบ้าง คละกันไปกับบาปเพื่อไม่ให้บาปเข้มเกินไป แต่มันก็อยู่ที่ว่าเขามีบุญพอที่จะได้เจอกับคนอย่างว่าหรือเปล่า
ท้ายที่สุดแล้วพวกเราที่นั่งกันอยู่หน้าคอมฯตรงนี้แล้ว ถือว่ามีบุญที่ไม่ต้องไปสร้างกรรมแบบนั้น
ก็จงอย่าให้มันขาดทุนเสียละ ท่านนักธรรมทั้งหลาย  |
|
_________________ ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด |
|
  |
 |
|