Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สมถะภาวนา และวิปัสสนาภาวนาต่างกันอย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
บารมี10
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 02 ก.ย. 2004
ตอบ: 2

ตอบตอบเมื่อ: 15 ธ.ค.2004, 12:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมถะภาวนา และวิปัสสนาภาวนาต่างกันอย่างไร



เนื้อหา

การอบรมเจริญภาวนามี

ทั้งการอบรมเจริญความสงบ ซึ่งเป็นสมถะภาวนา และ

การอบรมเจริญปัญญา คือ วิปัสสนาภาวนา



ทั้งสองอย่างต้องอาศัยปัญญาจึงจะเจริญได้เพราะเหตุว่า

ถ้าไม่รู้ลักษณะสภาพของจิตที่ต่างกันระหว่าง กุศลจิต และ อกุศลจิต

ก็ย่อมจะเจริญสมถะ คือ ความสงบจากอกุศล ไม่ได้



ฉะนั้นการอบรมเจริญความสงบของจิต จึงต้องมีสติสัมปชัญญะที่สามารถรู้

สภาพที่ต่างกันของ กุศลจิต และ อกุศลจิต ในขณะนี้เสียก่อน

แล้วจึงจะอบรมเจริญกุศลที่เป็นความสงบ คือ สมถภาวนา



สำหรับวิปัสสนาภาวนา เป็นสติสัมปชัญญะที่สามารถรุ้

สภาพที่ต่างกันของ นามธรรม และ รูปธรรม ตามความเป็นจริง

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 ธ.ค.2004, 4:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ค้นอ่านในพระไตรปิฏกจากเวบของธรรมจักร ที่พระอานนท์เล่า พอสรุปว่า



1 เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื่องหน้า

2 เจริญวิปัสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า หรือ

3 เจริญสมถะและวิปัสนาควบคู่กันไป



การเจริญภาวนาทั้ง 3 วิธีนี้จึงทำให้มรรคเจริญ และละสังโยชน์ได้



จึงเห็นว่าต้องเจริญทั้งสองวิธี คือเจริญสตินั่นเอง แล้วในการภาวนาอารมณ์ที่ปรากฏนั้นทำให้สลับกันไปกันมา



เช่นเพ่งกายคตาสติเห็นกระดูกสีขาว แทนที่จะเจริญวิปัสสนาต่อไป ก็เพ่งเอาอารมณ์สีขาวให้ชัด เป็นอุคหนิมิตสีขาว ได้ทิพย์จักษุ ได้ทิพย์จักษุแล้วก็พิจารณากายต่อไป โดยเพ่งอาการ 32 อย่างใดอย่างหนึ่งที่ปรากฏเน้นไปที่ความไม่งาม เป็นวิปัสสนาอีก หรือเพ่งอาการ 32 อย่างใดอย่างหนึ่งโน้มไปในควมเป็นธาตุ ก็เป็นจตุธาตุววัตถาน เป็นวิปัสสนาอีก



แต่เมื่อธาตุ 4 อย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏแล้ว ธาตุ 4 นี้ เช่นธาตุดิน มิได้หมายถึงดิน แต่ธาตุดินนี้อาจอยู่ในที่ว่างของอากาศอันเวิ้งว้าง (เพราะธาตุ 4 ที่มีอยู่ประจำโลกนั้นธาตุดินมิได้หมายถึงดิน แต่นิมิตที่ปรากฏจากสมถะนั้นจะเห็นว่าร่างกายประกอบด้วยธาตุสี่ด้วยลักษณะของความเป็นธาติที่เห็นโดยนิมิต



ก็ธาตุสี่นั้นจิตที่มีอำนาจฌาน อาจโน้มธาตุน้ำให้เป็นธาตุลม ธาตุลมให้เป็นธาตุไฟ หรือธาตุไฟจงเป็นธาตุดิน ตามวิธีการอธิษฐานฤทธิ์ได้



เมื่อเจริญวิปัสสนาให้ อาการ 32 ในกายมีความเป็นธาตุ อาจโน้มธาตุนั้นไปในการอธิษฐานฤทธิ์ เป็นการเจริญสมถะได้อีก นี่ก็เรียกว่าเจริศสมถะและวิปัสสนาเหมือนกัน
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 ธ.ค.2004, 4:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การเจริญสติที่คนทั่วไป เช่นคนที่ทำงานส่วนใหญ่เจริญกันในเวลาไม่มากนั้น ไม่สามารถจะเรียกว่าปัสสนาได้เลย



เพราะเหตุใด?



เพราะว่านั้นยังไม่ได้เป็นการเจริญปัญญา มิได้ทำให้มากซึ่งปัญญา



ดังนั้นการเจริญสติที่บุคคลสมัยนี้ที่ยังทำงานทางโลกกันเป็นว่สนมากเอามาปฏิบัติ ในช่วงสั้น เช่นวัน ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงบ้างนี้ เรียกว่าอะไรดี ?



เรียกว่าศีลสังวร หรือเรียกว่าเป็นการอบรมศีล คนเหล่านั้นไม่ได้สมาทานและวิรัติศีลก็มี จึงไม่มีศีล เพราะไม่ได้วิรัติ ไม่ได้สมาทาน แต่เมื่อเจริญสติก็เกิดสังวรศีล แม้จะไม่ได้สมาทาน และไม่วิรัติิก็ตาม



แม้คนที่วัรัติและสมาทานศีลแล้วเป็นผู้มีศีล เมื่อมาเจริญสติเบื้องต้นเช่นนี้ก็เป็นการสำรวมอินทรีย์ สังวรศีลเช่นเดียวกัน



ดังนั้นการเจริญสติเบื้องต้นจึงน่าจะเป็นอินทรีย์สังวร



และทำให้เกิดสมาธิ เพราะสมาธิอันศีลอบรมแล้วมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่



การเจริญสติเบื้องต้นดังกล่าวเบื้องต้นทำให้เกิดปัญญาได้ไหม?



คำตอบคือไม่ได้เลย เพราะ...



ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้วเท่านั้น จึงมีผลใหญ่ อานิสงส์ใหญ่



จะเห็นว่า



ปัญญานั้นถูกอบรมด้วยสมาธิ มิใช่จะอบรมด้วยปัญญาเองได้



และสมาธินั้นต้องเกิดด้วยศีลอบรม



จิตอันถูกปัญญาอบรมแล้ว จึงหลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ



การเจริญภาวนาจึงเป็นไปตามหลัก ของ ศีล สมาธิ และปัญญา



เพราะศีลเป็นบาทฐานของสมาธิ สมาธิเป็นบาทฐานของปัญญา



การเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐานสี่ จึงเป็นหลักของ ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา



จะเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียวไม่ได้เลย



เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการจะสงสัยเรื่องสมถะกับวิปัสสนา ไม่เป็นเรื่องควรแก่ความสงสัย เพราะการเจริญสตินั้นจะนำไปสู่การเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาโดยแน่นอน แต่จะเป็นสมถะและวิปัสสนาในระดับใดเท่านั้น
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง