Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การเลือกเฟ้นการปฏิบัติธรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ธ.ค.2004, 6:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การเลือกเฟ้นธรรมมาปฏิบัติ เป็นเรื่องธัมมะวิจัย แต่ที่เอามากล่าวนี้ไม่ได้มีอะไรลึกซึ้ง เป็นแต่มักมีข้อถกเถียงกันเสมอว่า การปฏิบัติธรรมควรทำอย่างไร



ไม่เพียงเรื่องของการภาวนาเจริศสมถวิปัสสนาเท่านั้นที่ถกเถียงกัน แม้แต่เรื่องของศีล ทาน ภาวนา ก็ยังถกเถียงกันว่า อย่างหนึ่งดีกว่าอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งการถกเถียงก็เป็นข้อดีอย่างหนึ่ง



แต่เมื่อพระพุทธเจ้าเจ้าแสดงธรรม เพื่อให้เกิดความศรัทธาเกิดไปตามลำดับจนถึงปัญญา ก็แสดงเรื่องทาน ศีลไปก่อน เรื่องนรกสวรรค์บาปบุญคุณโทษไปก่อน แล้วจึงแสดงปัญญา



คนในวัดก็เช่นกัน บางคนชอบกวาดวัด บางคนชอบซ่อมกุฏิ บางคนชอบช่วยเหลือพระในเรื่องต่างๆ อำนวยความสะดวก บางคนชอบสวดมนต์ บางคนชอบนั่งภาวนา บางคนชอบถวายทาน หรือบางคนทำหลายอย่าง



อุปนิสัยในการทำบุญนั้นมีความแตกต่างกันมาก คนที่ภาวนาบางคน ก้อาจชอบศึกษาธรรมะ ชอบค้นคว้า บางคนไม่ชอบ บางคนอาจจะชอบฟังธรรม ถ้าจะพัฒนาคนก็ต้องพัฒนาไปตามจริตความชอบ เช่นคนชอบซ่อมเสนาสนะก็ต้องบอกให้ทราบว่าสิ่งที่เขาทำเป็นบุญกุศลสูง จะไปบอกว่าอันอื่นมีบุญกุศลสูงกว่านั้นยังไม่สมควร ต้องชี้ในสิ่งที่เขากำลังกระทำก่อน เพื่อเพิ่มความศรัทธาของเขาให้สูงขึ้นให้เป็นกำลังแก่เขาให้มาก เมื่อเขามีกำลังศรัทธาแล้วปัญญาของเขาจะกว้างไปเห็นข้อดีในด้านการปฏิบัติของคนอื่นๆ หรือเห็นข้อดีที่คนอื่นๆปฏิบัติอยู่ ให้เขาได้ลิ้มลองรสชาติความดีในทางอื่นๆ



เมื่อเขาเห็นคุณค่าในความดีด้านอื่นๆ มีจิตมั่นคงในการทำความดี และทำความเพียรได้แล้ว อาจแนะนำธรรมในการปฏิบัติในการต่อสู้กับความทุกข์ในการปฏิบัติอันยากอันอุกฤษฎ์ ถ้าเขามีความต้องการเช่นนั้นก็ย่อมได้ เพราะการปฏิบัติอย่างอุกฤษฎ์นั้นให้ผลเร็ว แต่ถ้าเขาไม่ต้องารผลอะไร แนวทางปฏิบัติที่เมาะสมของแต่ละคนนั้นเป็นสิ่งที่เหมาะสม



ความแตกต่างทางอุปนิสัยและความเห็น แม้ในหมู่พระอรหันต์ก็เห็นต่างกัน อย่างเช่นความเห็นในการปฏิบัติสมณธรรมที่ป่าประดู่ลายซึ่งเป็นที่อันเหมาะสมอย่างยิ่งในการปฏิบัติธรรม แต่ความเหมาะสมนั้นพระอรหันต์ก็เห็นไปตามจริตของตน แต่พระพุทธเจ้ากลับเห็นเป็นประโยชน์แก่ปุถุชนที่จะเข้าไปปฏิบัติ



สิ่งที่เราอยากให้คนอื่นเป็นนั้น มักเป็นสิ่งที่คนอื่นไม่อยากเป็น สิ่งที่คนอื่นอยากเป็นคือเราไม่อยากให้เป็น เพราะความนึกคิดของแต่ละคนก็ผูกอยู่กับจริตตนเอง แต่คำแนะนำต่างๆนั้นมีประโยชน์ตรงที่มีความรู้



จริตที่แตกต่างกันนี้เป็นกำลังในการดูแลรักษา สืบทอดศาสนา เพราะแต่ละคนต่างมีประโยชน์เฉพาะด้านนั้นๆ เว้นแต่ว่าจริตนั้นถูกทำให้เหมือนๆกันหมด และเป็นหมือนกันหมด ก็ไม่เป็นประโยชน์ที่ดีของศาสนา เพราะไม่มีฝ่ายที่เข้าไปดูแลในส่วนที่บกพร่องและมีปัญหา



ถ้าเราเข้าใจเรื่องจริตของคนในศาสนา การจัดการ การดูแล การแก้ปัญหาในศาสนา รวมทั้งปัญหาของวัดที่มีอยู่สามารถจะแก้ให้มีความเหมาะสมได้



การปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนนิกชนก็จะมีความเหมาะสมมากขึ้น การปฏิบัตินั้นเราอาจศึกษาด้วยตนเองได้ แต่การจะต้องสืบทอดศาสนาไว้นั้นเราต้องเข้าวัด ต้องเข้าไปร่วมพิธีการกับคนหมู่มาก ต้องฝึกตนและเข้าใจในกิจที่บุคคลอื่นทำอยู่ ต้องฝึกใส่บาตรบ่อยๆ และต้องฝึกรักษาศีลด้วยการวิรัติลงไปให้ชัดเจน หรือสมาทานตามพิธีกรรมที่เขาทำ แม้จะวิรัติเองได้ แต่เห็นว่ามีคนเขาสมาทานที่วัด เป็นวิธีการการมีส่วนร่วมที่ต้องปฏิบัติตามกัน ต้องรักษาวิธีการที่เป็นเปลือกนี้เอาไว้ จึงจะรักษาแก่นแห่งศาสนาได้ มันห่อหุ้มอยู่ด้วยกัน



การเลือกเฟ้นการปฏิบัติของเราแทนที่จะคิดเลือกการทำกรรมฐาน ก็คือการเลือกเฟ้นวิธีการ การมีส่วนร่วมรักษาชุมชนของชาวพุทธเอาไว้ เหมือนพ่อแม่ บรรพบุรุษของเรานั้นได้รักษาไว้มานานแล้ว จึงจะเป็นนการถูกต้อง
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง