ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
16 ก.ค.2008, 7:21 am |
  |
รู้อยู่ที่เดียว
สติสัมปชัญญะ...สัมมาสติก็อันเดียวกันนั่นล่ะ มีหน้าที่กำหนดรู้...
ที่เกิดของธรรม-ที่ดับของธรรม รู้อยู่ที่เดียวนี้ล่ะ...
ละอยู่ที่เดียวนี้ล่ะ วางอยู่ที่เดียวนี้ล่ะ การปารภความเพียรก็เอาสตินี้ล่ะ...เวลาเกิดความคับขันก็ให้น้อมเข้ามา ปฏิบัติอยู่ ให้เพียรเพ่งอยู่จนหายสงสัย...อันนี้สำคัญมาก...เพ่งเข้ามาสู่จิตสู่ใจ อย่าไปเพ่งออกภายนอก...เพ่งจนหายสงสัย...จนไม่มีเกิด ไม่มีดับ...พราหมณาจารย์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เพียรเพ่งอยู่จนมันดับไปเอง...แม้เกิดขึ้นแล้ว มันก็ดับไปเอง แต่อย่าเข้าไปยึดถือในอะไรๆ สิ่งที่มันปรุงขึ้นแต่งขึ้น มักจับมันไม่ทัน...
ให้เพ่งจับอยู่เฉพาะในปัจจุบัน….อย่าไปเพ่งอดีต-อนาคต….อดีตเป็นธรรมเมา อนาคตเป็นธรรมเมา….พราหมณาจารย์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ …..เพ่งอยู่ภายใน….ต้องเพ่งเข้าสู่ภายใน….สิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อเกิดขึ้น มันก็ดับไปเอง…..อย่าเข้าไปยึดถือสำคัญมั่นหมายว่าเป็นสิ่งนั้น ว่าเป็นสิ่งนี้…..เพ่งอยู่จนหายสงสัย…..ถ้าหายสงสัยมันก็ได้บรรลุมรรค-ผล-นิพพานเท่านั้นล่ะ…..
การเพ่งอย่าให้มันออกไปข้างนอก ….ให้เพ่งเข้ามาหาใจ….ให้เข้าสู่ใจ ให้เข้าสู่ ฐิติ ภูตัง….. ให้ตั้งอยู่ในธรรม อันไม่ไป ไม่มา ไม่เข้า ไม่ออก….
(จากธรรมเทศนาของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ เรื่อง "ปัจจุบันธรรมเป็นธรรมโม"ในหนังสือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ของ กฝผ.จัดพิมพ์ หน้า67-68) |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
17 ก.ค.2008, 11:55 am |
  |
คำถาม
การนั่งหลับตาภาวนา ไม่ใช่วิธีนำไปสู่ สัมมาสมาธิ?
ความเห็น
สัมมาสมาธิ เป็นเรื่องที่บังเกิดในจิตใจ..... ไม่ได้เกี่ยวกับว่า ต้องเป็นอิริยาบถไหนๆ....ไม่ได้เกี่ยวว่า ต้องลืมตาเท่านั้น หรือ ต้องหลับตาเท่านั้น.
ผู้ใดภาวนาแบบลืมตาแล้วได้ผลดีก็ควรลืมตา
ผู้ใดภาวนาแบบหลับตาแล้วได้ผลดีก็ควรหลับตา...
ด้วยว่า สัมมาสมาธิที่แท้จริง บังเกิดจาก การมีสัมมาสติ ต่างหาก....
สัมมาสมาธิ ไม่ได้เกี่ยวว่า ต้องลืมตาเท่านั้น หรือ ต้องหลับตาเท่านั้น.
ถ้าสัมมาสติบังเกิดขึ้นสมบูรณ์ สัมมาสมาธิที่พอเหมาะ ย่อมบังเกิดตามมาเอง.... โดย ไม่จำกัดว่าต้องเป็นอิริยาบถไหน จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน. และ ไม่จำกัดว่าตาจะหลับหรือตาจะลืม..... |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
17 ก.ค.2008, 11:58 am |
  |
คำถาม
การภาวนาแบบเจริญสติในชีวิตประจำวัน กับ การภาวนาตามรูปแบบ...แบบไหนมีประโยชน์กว่ากัน?
ความเห็น
การภาวนาไม่ได้นับเฉพาะเวลาปลีกตนไปอยู่คนเดียว นั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรมเท่านั้น.... แต่ ในความจริงแล้ว การเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน สามารถกระทำได้ทุกเวลา(ถ้าคิดจะทำจริง) แม้นในขณะ ทำงานในหมู่คณะ. เช่น การเจริญ กายคตาสติในหมวดอิริยาบถบรรพ ก็สามารถกระทำได้ตลอดเวลา หรือ การเจริญจิตตานุปัสสนาก็ทำได้เกือบตลอดเวลา. ซึ่งถ้าไปกล่าวว่า การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบนี้ เป็นการเจริญภาวนานอกรูปแบบก็คงจะไม่ถูก เพราะในพระสูตรก็ทรงแสดงวิธีเหล่านี้ชัดเจนอยู่แล้ว.
แต่ ที่การเจริญภาวนาบางชนิด เช่น อานาปนสติตามพระสูตร ก็แนะนำให้อยู่ในที่วิเวก ไม่คลุกคลีหมู่คณะ เพราะถ้าการภาวนานั้นอาจจะทำให้เกิดสมาธิขั้นแน่วแน่ การไม่คุลกคลีหมู่คณะก็จะทำให้สมาธิเกิดง่ายขึ้น
การภาวนา จึงควรจะทำทั้งสองแบบ คือ ทั้งเวลาปลีกตนอยู่คนเดียว(กายวิเวก) และ การเจริญสติในชีวิตประจำวัน เท่าที่จะสามารถกระทำได้ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
17 ก.ค.2008, 12:01 pm |
  |
คำถาม
จะเลือกเฉพาะการเจริญสติในชีวิตประจำวันเท่านั้น(ด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม) โดยไม่ภาวนาแบบที่จะเกิดสมาธิขั้นแน่วแน่เลย ได้ไหม?
ความเห็น
ลองฟัง ท่านอ.ชยสาโร ท่านกล่าวไว้น่ะครับ....
(ผมนำมาจาก"หลับตาทำไม")
".......การทำสมาธิจึงช่วยได้ตั้งแต่เรื่องธรรมดา ๆ หรือง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันตลอดจนถึงเรื่องสูงสุด คือการบรรลุมรรคผล นิพพาน การพ้นทุกข์ในระดับสูงเกิดจากปัญญาระดับวิปัสสนา ปัญญาระดับวิปัสสนานั้นเกิดจากจิตใจที่สงบ ไม่มีนิวรณ์ณ์ จิตใจที่พ้นนิวรณ์ คือจิตใจที่ได้รับการฝึกอบรมทางสมาธิภาวนา
ฉะนั้น ผู้ที่ต้องการพ้นทุกข์ไม่ว่าระดับไหนก็ตาม ควรสนใจการทำสมาธิภาวนา.....บางคนถามว่า เอาแต่เจริญสติในชีวิตประจำวันได้ไหม....ถ้าทำสติมีความรู้อยู่ทุกอิริยาบถไม่ทำสมาธิได้ไหม?
(คำตอบคือ)ไม่ได้ .....คือต้องทำ(สมาธิ)...... ถ้าไม่ทำ สติเราจะไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของกิเลส และจิตใจจะไม่เข้มแข็งพอที่จะปฏิเสธการสำออยของมัน จิตใจที่มีสมาธิย่อมมีกำลังมาก ......"
"......หลักการสำคัญที่ขอย้ำไว้ที่นี่ ก็คือ สมาธิเป็นเครื่องข่มกิเลสไว้ ไม่ใช่เป็นตัวทำลายกิเลส ...แต่ก็จำเป็น .....เพราะการข่มกิเลสไว้ทำให้ปัญญามีโอกาสทำงานคล่องแคล่ว... เหมือนหมอผ่าตัด ต้องวางยาสลบก่อนผ่า ไม่วางยาสลบจะผ่าตัดยากเพราะคนไข้เจ็บแล้วต้องดิ้น .....สมาธิเหมือนยาสลบ .....สิ่งที่สลบไปก็คือ ความรู้สึกยินดียินร้าย ความหลงใหลตามสิ่งที่ปรากฏอยู่ในจิต ด้วยความพอใจและไม่พอใจ ....เมื่อจิตไม่เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ มีการรับรู้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็จะเห็นชัดขึ้นซึ่ง อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความบกพร่อง ความไม่สบบูรณ์ และ อนัตตา ความไม่มีเจ้าของหรือแก่นสารในสิ่งเกิดดับ...." |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ค.2008, 6:39 am |
  |
คำถาม
การฝึกใจให้เป็นสมาธิ กับ การฝึกใจให้เกิดปัญญา ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
ความเห็น
ในพระสูตรดั้งเดิม ทั้งสมถะ( การฝึกใจให้เป็นสมาธิ) และ วิปัสสนา(การฝึกใจให้เกิดปัญญา) ต่างก็ล้วนเป็นอริยมรรคที่มาประกอบกันนำไปสู่ความพ้นทุกข์ด้วยกันทั้งสองอย่าง
สมถะ ในที่นี้หมายเอา"สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้"(คนล่ะอย่างกับ สมถะแบบฤาษี) และ มีผลคือ สัมมาสมาธิ
ส่วน วิปัสสนา คือ การเจริญให้บังเกิดปัญญาญาณในขั้นอริยผล(สัมมาญาณะ) ซึ่งก็ต้องผ่านขั้นของ สัมมาสมาธิอยู่ดีครับ
จาก มหาจัตตารีสกสูตร
เพราะมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะ
เพราะมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะ
ๆลๆ
จริงอยู่ ที่สมถะ และ วิปัสสนา มีความหมายที่แยกออกจากกันได้
ด้วย สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ มีผลเป็นสัมมาสมาธิ
และ วิปัสสนาที่ประกอบด้วยสัมมาสมาธิ มีสัมมาญาณะ และ สัมมาวิมุติ เป็นผล
แต่เมื่อใด กลายสภาพจากการ"แยกแยะความหมาย"ของ สมถะ และ วิปัสสนา ไปสู่การ"แยกขาด" สมถะ ออกจาก วิปัสสนา ย่อมไม่บังเกิด"มรรคสมังคี"ที่นำไปสู่ อริยผล คือ สัมมาญาณะและสัมมาวิมุติ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.ค.2008, 6:42 am |
  |
คำถาม
เราเจริญสติเพื่อให้ใจเป็นสมาธินี้อย่างหนึ่ง และเจริญสติเพื่อให้ใจเกิดปัญญานี้ก็อีกอย่างหนึ่ง
ความเห็น
การเจริญสติที่นำไปสู่การติดตันเพียงขั้นของสมาธิ โดยไม่สามารถนำไปสู่ขั้นของปัญญานั้น....นี่ คือ มิจฉาสติ .... และ สมาธิที่เกิดจากมิจฉาสติ ก็เป็นมิจฉาสมาธิ ครับ
ถ้าเป็นการเจริญ สัมมาสติ (ตามหลักแห่งมหาสติปัฏฐาน) จะทำให้บังเกิดทั้ง สัมมาสมาธิ และ สัมมาญาณะ(ปัญญาในขั้นอริยผล) ตามมา |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
21 ก.ค.2008, 2:11 pm |
  |
ท่าน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
ท่านเคยสรุปสาระหลักแห่ง มหาจัตตารีสกสูตร ไว้ดังนี้ครับ
มหาจัตตาฬีสกสูตร
(แปลตามศัพท์ได้ว่า สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด 40 หมวดใหญ่)
จากพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน
อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
พระผู้มีพระภาพประทับ ณ เชตวนาราม.
ตรัสแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย มีใจความสำคัญ 3 ตอน คือ :-
1) ทรงแสดงสัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)
ที่มีที่อาศัย มีคุณธรรมอื่นๆ(องค์มรรคที่เหลือ)อีก 7 ข้อเป็นเครื่องประกอบ (บริขาร)
คือ สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา เจรจาชอบ
สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ
สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะ พยายามชอบ
สัมมาสติ ระลึกชอบ
2) ทรงแสดงสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) ว่าเป็นหัวหน้า
และว่า (ให้) รู้จักทั้งผ่ายเห็นชอบและฝ่ายเห็นผิด
ทรงอธิบายความเห็นผิดว่า ได้แก่เห็นว่า ผลทานที่ให้ไม่มี ผลกรรมดีกรรมชั่วไม่มี เป็นต้น
แล้วทรงแสดงสัมมาทิฏฐิว่ามี 2 อย่าง คือ ที่มีอาสวะ กับที่ไม่มีอาสวะ
(ชั้นต่ำสำหรับปุถุชน ชั้นสูงสำหรับพระอริยะ)
แล้วทรงแสดงสัมมาทิฏฐิในฐานะเป็นหัวหน้า ในการแจกรายละเอียดให้มรรคข้ออื่นๆ
3) ทางแสดงว่า ธรรมปริยายที่เรียกว่า มหาจัตตาฬีสกะ - หมวด 40 หมวดใหญ่ . นี้
คือเป็น ฝ่ายกุศล 20 ฝ่ายอกุศล 20
(ตั้งหลักมรรค 8 เติมสัมมาญาณะ ความรู้ชอบ สัมมาวิมุติ ความหลุดพ้นโดยชอบ รวมเป็น 10
กุศลธรรมเป็นอเนกเหล่าอื่นที่ถึงความเกิดมีบริบูรณ์
เพราะธรรมผ่ายถูกทั้ง 10 ข้อนั้นเป็นปัจจัย .... จัดเป็นฝ่ายกุศล 20
ตั้งหลักมิจฉัตตะ ความผิด มีความเห็นผิด เป็นต้นมีความหลุดพ้นผิดเป็นทีสุด เป็น 10
อกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่าอื่นที่ถึงความเกิดมีบริบูรณ์ เพราะธรรมฝ่ายผิด 10 ข้อนั้นเป็นปัจจัย .... จัดเป็นฝ่ายอกุศล 20) |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ค.2008, 9:20 pm |
  |
คำถาม
การฝึกสมาธิ ๆลๆ เป็นเพียงเครื่องอยู่สบายของใจ แต่ไม่ได้แก้ปัญหาของเรา
ขณะที่ฝึกสมาธิใจจะสนใจเฉพาะอารมณ์ที่เรากำหนด จึงไม่ได้สนใจปัญหาต่างๆของเรา ปัญหาต่างๆจึงไม่สามารถที่จะปรากฏในใจของเราได้ในขณะนั้นสภาพของใจจึงสงบและไม่มีความทุกข์ปรากฏ
แต่เมื่อใดเราหยูดฝึกสมาธิ ใจของเราก็พร้อมที่จะรับปัญหาต่างๆทันที
ความเห็น
พระพุทธองค์ทรงแสดง สมาธิภาวนาเอาไว้ว่า มี4อย่าง ดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา (การเจริญสมาธิ) มี 4 อย่าง ดังนี้ คือ
1. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร
(การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน)
2. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ
3. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ
4. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”
(องฺ. จตุก.ก. 21/41/53; ...)
สมาธิภาวนา ที่คำถามกล่าวถึงนั้น คือ ข้อ1 .... เป็นเพียง1 ใน 4อย่าง ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้
ถ้าจะให้ได้รับอานิสงส์ของสมาธิภาวนา ครบถ้วนกระบวนความ ควรจะได้ถึงข้อที่3 และ ข้อที่4 ด้วยครับ
ข้อ1 สมาธิที่ให้ผลระดับนี้ ก็มีประโยชน์ระดับหนึ่ง คือ ช่วยลดอาการเครียด-อาการล้าทางระบบประสาทได้ จะมีประโยชน์มากในผู้ที่ป่วยเป็นโรคประสาทกังวล หรือ โรคประสาทย้ำคิดย้ำทำ คือ สมาธิจิตจะช่วยรีเซ็ตสารเคมีในระบบประสาทให้ทำงานเป็นระบบระเบียบขึ้นได้....มีผลการวิจัยจากประเทศตะวันตกจำนวนมาก ที่แสดงให้เห็นประโยชน์ของสมาธิภาวนาในข้อนี้จริง
แต่ ก็เป็นความจริงที่ ต้องระวังว่าจะไม่ไปติดตันพอใจอยู่เพียงข้อนี้ แล้วกลายเป็น "หนีปัญหา -ละเลยการแก้ปัญหา" ไปเลย ....อีกทั้ง ละเลยประโยชน์อย่างยิ่งที่จะได้รับจากสมาธิภาวนา ในข้อ3 และ ข้อ4 .
ท่าน อ.ชยสาโร ท่านกล่าวถึงผู้ที่เจริญสมาธิเพียงเพื่อความสุขอย่างเดียวไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
“ถ้าคนไหน นั่งสมาธิ เพียงเพื่อผ่อนคลายจิตใจสงบสบายๆ แล้วพอใจ... อันนี้ ไม่ใช่ตรงตามที่ท่านสอน”
ข้อ2 นั้นไม่ใช่จุดมุ่งหมายหลักของสมาธิภาวนาที่แท้จริง .แม้นแต่ ฤาษีชีไพรก่อนสมัยพุทธกาลเขาก็ทำกันได้มานานแล้ว
ข้อ3 นี่คือ สมาธิภาวนาที่เป็นเหตุให้สติสัมปชัญญะตื่นตัว เป็นลักษณะของจิตที่อ่อนควรแก่การงาน(เจริญปัญญา) .ในอานาปานสติ จะกล่าวถึงคำว่า “สมาหิโต”เอาไว้
ข้อ4 นี่ก็คือ ผลที่สืบเนื่องมาจากข้อ3... ข้อ4 นี่ คือ สัมมาสมาธิ ที่เป็นองค์ประกอบแห่งอริยมรรค อันนำไปสู่ความสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลาย นั่นเอง
ดังนั้น ผมขอเสนอว่าการกล่าวถึง สมาธิภาวนา นั้นสมควรจะกล่าวให้ครบตามพระพุทธพจน์ดั้งเดิม ทุกข้อครับ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ค.2008, 10:50 am |
  |
คำถาม
อ้างอิงจาก: |
จะว่ากันเรื่องผลการปฏิบัติของแต่ละบุคคล หรือ จะว่ากันโดยยกเอาพระธรรมมาอ้างอิง แค่นี้ก็ไม่ตรงกันแล้ว |
ความเห็น
เรื่อง"ว่ากันเรื่องผลการปฏิบัติของแต่ละบุคคล "..... คงจะตรงกัน100%ไม่ได้ครับเพราะจริตนิสัยของแต่ล่ะคนแตกต่างกันครับ.
ดังนั้น ประเด็นจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า.... เจริญสมถะก่อนแล้วตามด้วยวิปัสสนา... หรือ เจริญวิปัสสนาก่อนแล้วสมถะได้รับการพัฒนาตามทีหลัง(หาใช่วิปัสสนาล้วนๆ).... หรือเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันไป....เพราะ ไม่ว่าจะมีจริตนิสัยอย่างไรก็ตาม ถ้าการปฏิบัติอยู่ในหลักแห่งมหาสติปัฏฐาน ย่อมพ้นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น(แต่ รายละเอียดอาจแตกต่างกันบ้าง)
ส่วน"ว่ากันโดยยกเอาพระธรรมมาอ้างอิง"แล้ว คุณเห็นว่า ไม่ตรงกันนั้น
ถ้าเป็น"คำสอนจากระดับพระสูตร"ดั้งเดิมนั้น ตรงกันทั้งหมดแน่นอนครับ
ที่ไม่ตรงกันนั้น เป็นเพราะคุณนำเอา "คำสอนจากระดับพระสูตร" มาเปรียบเทียบกับ"คัมภีร์รุ่นหลัง หรือ ความเห็นของอาจารย์รุ่นหลังพุทธกาล"
ที่กล่าวเช่นนี้ หาใช่ว่าผมปฏิเสธ "คัมภีร์รุ่นหลัง หรือ ความเห็นของอาจารย์รุ่นหลังพุทธกาล"แต่อย่างใด.... คือ ผมเคยอ่านคำสอนของอาจารย์รุ่นหลังที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น"ผู้ทรงพระไตรปิฎก"ใน ประเด็น สมถะยานิก-วิปัสสนายานิก. ผมอยากรู้ว่า ท่านอาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฎกนำคำว่า สมถะยานิก-วิปัสสนายานิก มาจากพระสูตรไหน???....ปรากฏว่า ท่านอาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฎก กลับนำคำว่า สมถะยานิก-วิปัสสนายานิก มาจากคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลอีกที แทนที่ท่านจะไปนำมาจากพระไตรปิฎกโดยตรง.
ผมค้น คำว่า" สมถะยานิก-วิปัสสนายานิก" ไม่พบจากพระสูตรครับ(อยากให้คุณลองค้นด้วยตนเองด้วย อย่าเพิ่งเชื่อผม).
จริงอยู่ ที่คำว่า สมถะยานิก อาจจะตรงกับ ในระดับพระสูตรที่ว่า"เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า"...
แต่ คำว่า วิปัสสนายานิก ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า ในพระสูตรครับ. เพราะ ถึงแม้นจะเป็นการเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าอย่างในพระสูตรก็ตาม "สัมมาสมาธิ"ที่เป็น ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง(หรือ เอกัคคตาจิต ซึ่งเป็นสมาธิระดับแน่วแน่) ที่มีสัมมาสตินำหน้า(จากมหาจัตตารีสกสูตร) ก็จะต้องปรากฏเช่นกัน.
คำจำกัดความของ "สัมมาสมาธิ" นั้น ขอให้ดูจากพระสูตรโดยตรงครับ
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=10&start_byte=447351
วิธีการ ปฏิบัติ สมถะ-วิปัสสสนา ขอให้ดูจากพระสูตรโดยตรงเช่นกันครับ
ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
ตอ. G.S. II : ๑๖๒
http://www.84000.org/true/220.html
และจาก
พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
ผมจึง ขอเชิญชวนว่า ในเรื่อง สมถะ-วิปัสสนา นี้...เรา-ท่าน ควรย้อนกลับไปศึกษาจากระดับพระสูตรโดยตรง จะเข้าใจตรงกันทุกฝ่ายง่ายขึ้นครับ |
|
|
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ค.2008, 9:52 pm |
  |
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2008, 11:48 am |
  |
กระแส"ยกวิปัสสนา-เหยียดสมถะ จนเกินเหตุอันควร"มีมากขึ้นทุกทีในสังคมชาวพุทธ...
จะเห็นได้จาก การใช้ภาษาที่สื่อแสดงในเรื่องต่างๆ
เช่น
1.ตัดคำว่า สมถะ ออกจาก การเจริญภาวนาตามหลัก สมถะ-วิปัสสนา ในพระสูตร....โดยเห็นว่า สมถะ นั้นต้องเป็นของฤาษีทั้งหมด เป็นของนอกพระพุทธศาสนา....แล้วเรียกการปฎิบัติธรรมเสียใหม่ ว่า "ปฏิบัติวิปัสสนา"
2.เรียก สำนักปฏิบัติธรรม เสียใหม่ ว่า "สำนักวิปัสสนา"
3.เรียก อาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน เสียใหม่ว่า "วิปัสสนาจารย์"
4.เวลาจะสอนภาวนา ก็มักจะเตือนผู้เรียนว่า "ให้ระวังว่าจะมีส่วนของสมถะมาปน" (คนล่ะอย่างกับ การเตือนผู้ภาวนาไม่ให้ติดตันอยู่เพียงแค่ขั้นสมถะ แล้วไม่ก้าวเข้าสู่วิปัสสนา)
5ๆลๆ
โดยท่านอาจลืมไปว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนถึง สัมมาสมาธิ(สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้) ไว้อย่างชัดเจน....
ใน ปริพาชกสูตร ตรัสถึงว่า อย่ารังเกียจสัมมาสมาธิ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=780&Z=846
บทแห่งธรรมคืออนภิชฌา ๑ บทแห่งธรรมคือ อพยาบาท ๑ บทแห่งธรรม คือ สัมมาสติ ๑ บทแห่งธรรมคือสัมมาสมาธิ ๑
ดูกรปริพาชกทั้งหลาย
บทแห่งธรรม ๔ ประการนี้แล บัณฑิตสรรเสริญว่าเป็นเลิศเป็นของมีมานาน เป็นประเพณีของพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจายไม่เคยกระจัดกระจาย
บัณฑิตย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะและพราหมณ์ไม่เกลียด
ๆลๆ
ถ้าบุคคลย่อมติเตียน ย่อมคัดค้านบทแห่งธรรม คือ สัมมาสมาธิ
สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ผู้มีจิตหมุนเวียน บุคคลนั้นยกย่องบูชาและสรรเสริญ ฯ
สัมมาสมาธิ ก็มาจาก สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้...นั่นเอง
ผมจึงขอเสนอว่า
เมื่อไม่พึงรังเกียจ สัมมาสมาธิ
ก็ไม่ควร " เหยียดสมถะ จนเกินเหตุอันควร"..... |
|
|
|
  |
 |
ขันธ์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2008, 10:34 pm |
  |
สำหรับ ตัวผม มีความเห็นว่า สมถะ เป็นการฝึกสมาธิ
แต่ว่า เมื่อไม่รู้จุดมุ่งหมายที่ให้ทำสมาธิ ก็จะฝึกกันแบบหลง นั้นแหละที่น่ากังวล และผมว่าคนส่วนมากก็ไม่น่ามีใครเหยียดสมถะ แต่อาจจะเห็นว่า เมื่อมาเจริญสติและ วิปัสสนาแล้ว ก็ปรากฎว่า โล่งใจกว่าการฝึกสมาธิอย่างเดียว
นี่ก็คือ เหตุที่ว่า ทำไมจึงบอกว่า อย่าไปฝึกสมาธิ อย่างเดียว ไม่น่าจะใช่เป็นการเหยียด
ทีนี้ ย้อนกลับมาถึงความจริง ว่าสมาธิจำเป็นแค่ไหน ก็ตอบว่า สมาธิในขั้นปุถุชนนั้น ขอเพียง อุปจารสมาธิ ก็เพียงพอ ไม่ต้องถึงกับอัปปนาสมาธิ ก็จะยกตัวอย่างเช่น ขณะที่ บุคคล ตั้งใจฟังธรรมของพระพุทธองค์ ขณะนั้นก็ไม่ได้ไปฝึกสมถะ แต่ก็บรรลุธรรมได้
แต่ทีนี้พอมาเป็นโลกุตระสมาธิเบื้องต้น คือ พระโสดาบัน ก็ไม่ต้องไปนั่งสมาธิก็เป็นสมาธิได้ เพราะว่า ประหารกิเลส หรือ เครื่องร้อน เครื่องเสียดแทงไปแล้ว ผลก็คือ จิตตั้งมั่นอยู่ ได้แม้อาการเคลื่อนไหว เพราะไม่ได้ปล่อยจิตปล่อยใจไปตามอำนาจกิเลส ทีนี้ ตรงที่เป็นผลญาณ ในโสดาบันบุคคล สัมประยุตจริงๆ จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ คือ สมาธิที่ไม่เจือด้วยฝ่ายกิเลส หรือ อกุศลเลย นั้นอกุศลดับไป ก็สัมประยุต ทั้ง สมาธิ สติ ปัญญารวมเป็นเอกคตา จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ ก็จะมีสมาธิ ทุกอริยาบท แม้กิน เดิน ยืน นั่งนอน ก็ทำไปด้วยอาการเดียว ไม่มี อาการเดินไปคิดไป นั่งไปคิดไป เดินคือเดิน คิดคือคิด คิดแล้ววาง อะไรผ่านมาดับไป หมด
นี้คือ พระโสดาบันและ สัมมาสมาธิที่แท้จริง
พอมาเป็นพระสกิทาคา ก็ต้องเจริญ สัมมาสมาธิใหม่อีก แต่ก็ยังไม่จำเป็นต้องถึงอัปปนาก็เป็นโลกุตตระสมาธิ เหมือนพระโสดาบัน
แต่พอมาเป็นพระอนาคามีและ พระอรหันต์ กิเลสในก้นบึ้งและเบาบางนั้นต้องขุด ก็ต้อง ดำเนินสมถะ อย่างเหนียวแน่น จนกลายเป็น อัปปนาสมาธิ
ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้ จึงมีแค่บุคคล 2 จำพวกคือ พระอนาคามีและพระอรหันต์ พระอริยบุคคล ฝ่ายพระโสดาบันและ พระสกิทาคามี อำนาจสมถะไปไม่ถึง
นี่ก็อธิบายที่มาที่ไปให้ฟัง |
|
_________________ เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์ |
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2008, 5:01 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
สำหรับ ตัวผม มีความเห็นว่า สมถะ เป็นการฝึกสมาธิ
แต่ว่า เมื่อไม่รู้จุดมุ่งหมายที่ให้ทำสมาธิ ก็จะฝึกกันแบบหลง นั้นแหละที่น่ากังวล และผมว่าคนส่วนมากก็ไม่น่ามีใครเหยียดสมถะ แต่อาจจะเห็นว่า เมื่อมาเจริญสติและ วิปัสสนาแล้ว ก็ปรากฎว่า โล่งใจกว่าการฝึกสมาธิอย่างเดียว
นี่ก็คือ เหตุที่ว่า ทำไมจึงบอกว่า อย่าไปฝึกสมาธิ อย่างเดียว ไม่น่าจะใช่เป็นการเหยียด |
สาธุครับ คุณขันธ์
--------------------------------------------------------------------
คุณตรงประเด็น เขาหลงประเด็นเพราะการตีความผิด ๆ โดยต่อต้านแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาแบบที่อาศัย ขณิกสมาธิ ที่กำหนด อิริยาบถใหญ่น้อยต่าง ๆ อย่างเช่น อิริยาบถบรรพะ ในมหาสติปัฏฐานสูตร
เพราะแกหลงประเด็นว่า ต้องอาศัยอุปจารสมาธิจนได้ฌานเท่านั้น จึงจะเจริญสติปัฏฐานได้ แต่ยกองค์ฌานเจริญวิปัสสนาอย่างไรไม่เคยอธิบายได้
อนึ่งเขาตีความพระพุทธพจน์เอง ประดุจอรรถกถา
ทำตัวเป็นผู้รู้ โดยไม่ยอมรับ อรรถกถา ฏีกา ที่ขัดกับความรู้สึกของเขา
อนึ่งการอ้าง พระพุทธพจน์ บาลี อรรถกถา ก็อ้างเฉพาะส่วนที่นำมาสนับสนุนทิฏฐิของตนเอง ดังเช่น
อ้างอิงจาก: |
สมถะ ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้
http://larndham.net/index.php?showtopic=32368&st=0
จากคุณ : ตรงประเด็น
ผู้ที่ได้บรรลุอริยมรรค-ผล(นับตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป) ด้วยการเจริญวิปัสสนาล้วนๆ(???) มีคุณสมบัติของจิตที่มีองค์แห่งฌาน
วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ
แปลว่า ว่าโดยวิปัสสนานิยาม แม้มรรคที่เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้เจริญ วิปัสสนาล้วนๆ ก็ย่อมประกอบด้วยองค์ปฐมฌาน
จากคุณ : ตรงประเด็น |
ขออ้างที่มาที่คุณตรงประเด็นกล่าวถึง หน่อยนะครับ ก่อนที่จะฟังการตีความเอาเองของคุณตรงประเด็น ประดุจอรรถกถา
ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนา ๒ อย่าง
http://larndham.net/index.php?showtopic=25844&st=7
อนึ่ง สุกขวิปัสสกบุคคล ผู้ไม่ได้ฌานเจริญวิปัสสนาภาวนากำหนดพิจารณารูปนามที่เป็นกามธรรมเพียงอย่างเดียว เมื่อมรรคจิตเกิดขึ้นก็ย่อมบริบูรณ์พร้อมด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ จัดว่าเป็นปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิต สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค ของสุกขวิปัสสกบุคคล ก็จัดเข้าเป็นปฐมฌานด้วยกันทั้งสิ้นตามที่อัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงไว้ว่า
วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ แปลว่า ว่าโดยวิปัสสนานิยาม แม้มรรคที่เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้เจริญ วิปัสสนาล้วนๆ ก็ย่อมประกอบด้วยองค์ปฐมฌาน
พระอริยะสุกขวิปัสสกบุคคล เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัญญาวิมุตติ พระอริยะนี้มีมากกว่าพระอริยะที่เป็นฌานลาภีบุคคล ก็ฌานลาภีบุคคลนี้สำเร็จเป็นพระอริยะแล้ว
อิเมสํ หิ สารีปุตฺต ปญฺจนฺนํ ภิกฺขุสตานํ สฏฺฐิ ภิกฺขู เตวิชฺชา สฏฺฐิ ภิกฺขู ฉฬาภิญฺญา สฏฺฐิ ภิกขู อุภโตภาควิมุตฺตา อถ อิตเร ปญฺญาวิมุตฺตา
แปลว่า ดูก่อนสารีบุตร ในภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ ภิกษุ ๖๐ องค์เป็นเตวิชชบุคคล ๖๐ องค์ เป็น ฉฬภิญญาบุคคล ๖๐ องค์ เป็นอุภโตภาควิมุตตบุคคล ที่เหลือเป็นปัญญาวิมุตตบุคคล
ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ผู้สำเร็จมรรคผล เพราะเห็นอนิจจลักษณ์ และอนัตตลักษณ์มีมากกว่าผู้เห็นทุกขลักษณ์ เพราะว่าผู้ที่เห็นทุกขลักษณ์นี้เป็นผู้มีปุพพาธิการ ยิ่งด้วยสมาธิ
เตวิชชบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้มีวิชชา ๓ คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ
ฉฬาภิญญาบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้มี อภิญญา ๖ หรือเรียกว่า วิชชา ๖ คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักขุญาณ อาสวักขยญาณ เจโตปริยญาณ ทิพยโสตญาณ และอิทธิวิธญาณ
อุภโตภาควิมุตตบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้เป็นฌานลาภีบุคคล หรือเรียกว่า เจโตวิมุตตบุคคล
ปัญญาวิมุตตบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้เป็นสุกขวิปัสสก
-----------------------------------------------------------
สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://larndham.net/index.php?showtopic=25151&st=0
----------------------------------------------
สมถะ -- วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ?
http://larndham.net/index.php?showtopic=11408&st=0&hl=
--------------------------------------------------------------------
สมถะ -- วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ? (๒)
http://larndham.net/index.php?showtopic=18545&st=7
---------------------------------------------------
ทางสายเอก
http://www.geocities.com/toursong1/thang/00.htm |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2008, 5:08 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
สมถะ ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้
http://larndham.net/index.php?showtopic=32368&st=0
จากคุณ : ตรงประเด็น
ผู้ที่ได้บรรลุอริยมรรค-ผล(นับตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป) ด้วยการเจริญวิปัสสนาล้วนๆ(???) มีคุณสมบัติของจิตที่มีองค์แห่งฌาน
วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ
แปลว่า ว่าโดยวิปัสสนานิยาม แม้มรรคที่เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้เจริญ วิปัสสนาล้วนๆ ก็ย่อมประกอบด้วยองค์ปฐมฌาน |
คุณตรงประเด็นครับ หากไม่เชื่อถือใน อรรถกถา ก็ไม่ต้องไปอ้างหลักธรรมที่ท่านอธิบายไว้นะครับ
หรือจะอ้างก็อ้างที่มาให้ครบ (ควรละอายใจบ้าง)
อนึ่งในแนวทางปฏิบัติแบบ สมถะยานิกะ และ วิปัสสนายานิกะ นี้ มีอธิบายอย่างละเอียดในอรรถกถา
ที่คุณตั้งประเด็นว่า ไม่มีในพระสูตร เพื่อต้องการชี้ประเด็นว่า ไม่ควรเชื่อถือ ? |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2008, 2:35 pm |
  |
ท่าน อ.แนบ ท่านบรรยายไว้ดังนี้
http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/003395.htm
ประวัติการปฏิบัติธรรม ของ อุบาสิกาแนบ มหานีรานนท์
แสดง ณ อภิธรรมมูลนิธิ วัดพระเชตุพนฯ
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2519
ๆลๆ
ไปได้การปฏิบัติธรรมมาอย่างไร …?
ดิฉันก็พูดเรื่อยไป เมื่อกี้นี้ เขาประกาศบอกว่า อยากจะให้ดิฉันเล่าเรื่องการปฏิบัติ ใช่ไหมคะ ว่าไปได้มาอย่างไร ?
คือว่า แต่ก่อนนี้ไม่มีนะคะ วิปัสสนานี่น่ะ ไม่มีเลย มีแต่สมาธิทั้งนั้น บริกรรมว่า สัมมาอรหังบ้าง
พุท เข้า โธ ออก บ้าง
แล้วแต่จะภาวนาอะไรก็ได้ อย่างไรก็ได้ สมาธิทั้งนั้นแหละค่ะ ไม่มีวิปัสสนาเลย
แต่ทั้ง ๆ ที่ทำสมาธิกันทุกแห่งหน เขาก็เรียกกันว่า วิปัสสนา ใครจะไปนั่งทำความสงบที่ไหน ก็เรียกว่า ไปนั่งทำวิปัสสนา ไปขึ้นวิปัสสนาวันนั้นวันเริ่มต้น เขาขึ้นวิปัสสนากับลูกศิษย์ใหม่ จะต้องไปวันนั้น ๆ ทีเดียว
ทุกแห่งทุกสำนักที่มีในประเทศไทย มีแต่สมาธิทั้งนั้น แต่ว่าเขาไม่รับว่าเป็นสมาธิ เพราะไม่เข้าใจว่า สมาธิกับวิปัสสนานี่ต่างกันอย่างไร
แต่เขาก็ทราบนะคะว่า วิปัสสนานี่เป็นทางดีสุดในพระพุทธศาสนา เป็นทางเจริญที่ทำให้สิ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น เขารู้เข้าอย่างนี้ เขาก็ไม่ทำกันเลย
สมาธินี่ ไม่มีใครบอกว่า เขาทำสมาธินะคะ เขาจะบอกแต่ว่า เขาทำวิปัสสนาทั้งนั้น แต่ที่จริงวิปัสสนาไม่มีเลย
ดูเหมือน ท่าน อ.แนบ ท่านจะเชื่อว่า ก่อนหน้าที่แนวทางที่ท่านปฏิบัติจะเข้ามาในไทย ในไทยไม่เคยมีการปฏิบัติวิปัสสนากันเลย....??? |
|
แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 26 ก.ค.2008, 4:40 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2008, 4:39 pm |
  |
ท่าน อ.แนบ ท่านบรรยายไว้ดังนี้
http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/003395.htm
การปฏิบัติจึงเป็นหนทางที่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ และการปฏิบัตินี้ ต้องเป็นวิปัสสนานะคะ
เพราะกิเลสนี่มี 3 อย่าง
ศีลกำจัด กิเลสอย่าหยาบ ที่จะล่วงออกมาทางกาย วาจา ศีลละได้ ผู้มีศีลแล้ว กายทุจริตก็เกิดไม่ได้ วจีทุจริตก็เกิดไม่ได้ เพราะรักษาศีลนะคะ
แล้วก็ กิเลสอย่างกลาง คือ นิวรณ์ นิวรณ์นี้ไม่ใช่กิเลส อย่างหยาบ แต่เป็นกิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างกลางนี้จะละได้ด้วยอะไร ละได้ด้วยสมาธิ เมื่อจิตสงบพอเป็นสมาธิแล้ว ความฟุ้งซ่านอุทธัจจะอะไรต่ออะไรก็ไม่มี เมื่ออุทธัจจะกุกกุจจะไม่มี นิวรณ์ก็ไม่มี นี่อันนี้ละได้
อย่างกลางนี่ ละได้ด้วยสมาธิ
แล้ว กิเลสอย่างละเอียด ที่เป็นอนุสัย นอนอยู่ในสันดานของเรานั่น ศีลก็ละไม่ได้ สมาธิก็ละไม่ได้ ต้องละได้ด้วยปัญญา คือ วิปัสสนาทางเดียวเท่านั้นถึงจะละได้ ละอย่างละเอียดได้ เพราะฉะนั้นวิปัสสนานี่ ละกิเลสทุกอย่างได้ ละได้ทั้ง 3 เลยนะคะ
ตรงนี้ ผมเห็นด้วย"บางส่วน"กับท่าน อ.แนบ ครับ
เห็นด้วย ตรงที่ว่าต้องเจริญถึงขั้นบังเกิดสัมมาญาณะ จึงจะล่ะกิเลสอย่างละเอียดได้... ถ้าเพียง ระดับศีล และ สมาธิ ไม่สามารถล่ะกิเลสอย่างละเอียดได้
แต่ ปัญหาคือ.....
"ถ้าหากปราศจากสัมมาสมาธิแล้ว สัมมาญาณะที่พอเหมาะ จะบังเกิดขึ้นได้ไหม???"
สัมมาสมาธิ ก็คือ หนึ่งในสามแห่งอธิจิตตสิกขา(สมาธิสิกขา)ในอริยมรรคที่มีองค์แปด
สัมมาญาณะ ก็คือ ปัญญาในขั้นอริยผล
จาก มหาจัตตารีสกสูตร เริ่มบรรยายอริยมรรคจาก สัมมาทิฏฐิ ไปจนถึง สัมมาสมาธิ
โดยอริยมรรคองค์ก่อนหน้า เป็นเหตุให้อริยมรรคองค์ต่อไป"พอเหมาะ"
และ บังเกิดอริยผลผล คือ สัมมาญาณะ และ สัมมาวิมุติขึ้น ตามลำดับ ดังนี้
[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ฯ
ดังนั้น
ถึงแม้นจะเป็นความจริงที่ว่า ต้องเป็นสัมมาญาณะ หรือ ปัญญาในขั้นอริยผล จึงจะสามารถล่ะกิเลสอย่างละเอียดได้...
แต่ สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงให้ละเอียดกว่านั้น คือว่า
"ถ้าหากปราศจากสัมมาสมาธิแล้ว สัมมาญาณะที่พอเหมาะ จะบังเกิดขึ้นได้ไหม???"
และ ถ้ากล่าวว่า "ต้องมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะที่พอเหมาะจึงเกิดขึ้นได้"....
ก็ คงต้องย้อนไปทบทวน คำจำกัดความของ สัมมาสมาธิ จากระดับพระสูตร กันแล้ว
ในความจริงแล้ว
เนื้อความในมหาจัตตารสกสูตร ก็กล่าวไว้ตรงกับ พระพุทธพจน์นี้เช่นกัน
“สีล ปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสงฺโส
สมาธิ ปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสงฺสา
ปญฺญา ปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ
สมาธิที่มีศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ปัญญาที่มีสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
จิตที่มีปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องเศร้าหมองเสียได้ ดังนี้.”
แสดงถึง ความสัมพันธ์ของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ว่า ไม่สมารถแยกขาดออกจากกันได้
ปัญญาใดๆที่ปราศจากสัมมาสมาธิเสียแล้ว
ปัญญานั้นๆย่อมไม่ใช่ ปัญญาในแนวทาง"วิปัสสนา ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้".... |
|
|
|
  |
 |
ขันธ์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2008, 6:58 pm |
  |
ก็ สัมมาสมาธิ นั้นถูกต้อง แต่ต้องพิจารณาว่า สัมมาสมาธิ นั้นคืออะไร
ก็ตอบว่า สมาธิ ที่ปล่อย ที่เป็นไปเพื่อความดับกิเลส เพื่อคลายกำหนัด เท่านั้น ไม่ใช่ ว่าจะต้อง กำหนดเหนียวแน่นเป็นอัปปปนา
แต่ทีนี้ เวลาคนที่นั่งสมาธิ แล้วก็ไม่เข้าใจในหลักการปล่อยตัวตน ก็จะเหมาเอาว่า นั้นคือ สัมมาสมาธิต้องทำ ต้องเจริญ
แต่จริงๆ แล้ว เมื่อเราค่อยๆ กำจัดกิเลสออกไป ตัวสมาธิแท้จะเผยออกมาเอง เพราะว่า จิตเป็นหนึ่งไม่สอดส่ายไปด้วยอารมณ์ และ ความฟุ้งซ่านหรือนิวรณฺ์ต่างๆ
ตรงนี้แหละคือ สัมมาสมาธิ
อากาศว่างอยู่ จะต้องไปทำอะไรให้มันว่างไปอีก
แต่หากว่า ไม่ว่าง เราจะไปบีบพื้นที่เพื่อให้มันว่างหรือ มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าทำเช่นนั้นมีแต่จะทำให้ความว่างลดลง จนไม่เหลือพื้นที่แห่งความว่าง
ทีนี้ ถ้าใครกำลังสมาธิมาก บีบอัดไปจน นิวรณ์สงบตัวลง ก็มี แต่ต้องเป็นกำลังสมาธิที่ มากจริงๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า นี้คือ สัมมาสมาธิ |
|
_________________ เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์ |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2008, 9:16 pm |
  |
ขันธ์ พิมพ์ว่า: |
ก็ สัมมาสมาธิ นั้นถูกต้อง แต่ต้องพิจารณาว่า สัมมาสมาธิ นั้นคืออะไร
ก็ตอบว่า สมาธิ ที่ปล่อย ที่เป็นไปเพื่อความดับกิเลส เพื่อคลายกำหนัด เท่านั้น ไม่ใช่ ว่าจะต้อง กำหนดเหนียวแน่นเป็นอัปปปนา
|
เมื่อก่อน ผมเองก็เคยเข้าใจเช่นเดียวกับคุณครับ
แต่ ช่วงหลัง ได้ลองย้อนไปค้นจาก"ระดับพระสูตร" ที่ตรัสถึงคำว่า ฌาน และ สัมมาสมาธิ....
พบว่า สัมมาสมาธิ ในหลายพระสูตร ตรัสระบุถึง รูปฌาน๑ ถึง รุปฌาน๔ เช่น
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=10&start_byte=447351
ก็ ว่ากันไปตามหลักฐานที่ปรากฏในพระสูตร น่ะครับ |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ค.2008, 6:13 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
ตรงนี้ ผมเห็นด้วย"บางส่วน"กับท่าน อ.แนบ ครับ
เห็นด้วย ตรงที่ว่าต้องเจริญถึงขั้นบังเกิดสัมมาญาณะ จึงจะล่ะกิเลสอย่างละเอียดได้... ถ้าเพียง ระดับศีล และ สมาธิ ไม่สามารถล่ะกิเลสอย่างละเอียดได้
แต่ ปัญหาคือ.....
"ถ้าหากปราศจากสัมมาสมาธิแล้ว สัมมาญาณะที่พอเหมาะ จะบังเกิดขึ้นได้ไหม???"
สัมมาสมาธิ ก็คือ หนึ่งในสามแห่งอธิจิตตสิกขา(สมาธิสิกขา)ในอริยมรรคที่มีองค์แปด |
เรียน คุณตรง(หลง)ประเด็น ก่อนที่คุณจะกล่าวโทษต่อ อุบาสิกาแนบ
ดังเช่นที่คุณเคยทำกับ อรรถกถาจารย์ ที่คุณไม่เห็นด้วยในเรื่อง หทยวัตถุ ที่เป็นที่ตั้งของจิต
ลองฟังการบรรยาย ในเรื่อง จิตตวิสุทธิ หรือ สมาธิวิสุทธิ ของอุบาสิกาแนบ ดูก่อน ท่านหาได้ปฏิเสธการทำฌานเพื่อเป็น บาทของวิปัสสนาไม่
แต่ การที่จิตตั้งมั่นในรูป นาม ที่เป็นปัจจุบันอารมณ์ ก็ถือเป็น สมาธิวิสุทธิ หรือ สัมมาสมาธิ ได้
ผมเชื่อว่าคุณตรง(หลง)ประเด็น คงไม่เห็นด้วยอีกเช่นกัน
สมัยที่ท่านแสวงหาแนวทางการปฏิบัตินั้น ครูบาอาจารย์สมัยนั้น สอนแต่ท่านทำสมาธิ อย่างเดียว แต่ไม่มีใครสอนวิธีการยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา และอีกอย่าง ท่านอาจจะเคยสั่งสมการปฏิบัติแบบขณิกะสมาธิ ที่พิจารณา รูปนาม ที่เป็นปัจจุบันอารมณ์ ท่านจึงได้มาพบพระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก
ท่านอุบาสิกาแนบ ไม่ได้ต่อต้านการทำฌานเพื่อเป็นบาทของการเจริญวิปัสสนา ซึ่งตรงนี้คุณตรงประเด็นไม่เคยอธิบายเลย
เพียงแต่ท่านส่งเสริมการปฏิบัติ แบบวิปัสสนายานิกะ
การชี้ประเด็นของคุณตรงประเด็น อาจอนุรักษ์การนั่งสมาธิ แล้วเข้าใจว่าเป็นการทำวิปัสสนา หรือ สติปัฏฐาน ก็ได้
อุบาสิกาแนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-02.htm
จิตตวิสุทธิ คืออย่างไร
จิตตวิสุทธิ ก็ได้แก่ สมาธิวิสุทธิ เป็นไปทำนองเดียวกับ ศีลวิสุทธิ คือว่า เราทำสมาธิเพื่ออะไร ถ้าทำเพื่อต้องการให้จิตสงบ หรือเพื่อจะได้มีความสุข ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ หรือ ทำความรู้สึกอย่างนี้ สมาธิที่ทำนั้น ก็ไม่เป็นวิสุทธิ เพราะต้องการความสุข ไม่ต้องการพ้นทุกข์ แต่ถ้าเราทำสมาธิเพื่อต้องการอานิสงส์ ที่จะให้เป็นปัจจัยแก่การพ้นทุกข์ สมาธินั้น จึงจะเรียกว่า “ วิสุทธิ “ หรือจะเรียกว่า “ จิตตวิสุทธิ “ ก็ได้อันเดียวกัน เพราะ” จิตตวิสุทธิ “ ก็หมายถึง “ สมาธิวิสุทธิ “ นั่นเอง
แต่โดยมากเราทำสมาธิ ก็เพื่อต้องการมีความสุข จึงไม่เป็น จิตตวิสุทธิ เพราะฉะนั้น ศีลวิสุทธิก็ดี จิตตวิสุทธิ ก็ดี จึงเป็นบาทของวิปัสสนา หรือเป็นไปในอารมณ์ของวิปัสสนา ฯ ถ้าจะพูดให้ตายตัวแล้ว ศีล หรือ สมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์อยู่ย่างนี้แล้ว ศีล และสมาธิ นั้นก็ วิสุทธิ และ สมาธิอันใดที่เกิดจากอารมณ์ของ สติปัฏฐานแล้ว สมาธิ อันนั้นจึงจะเป็น จิตตวิสุทธิ ได้
ปัญญาก็เหมือนกัน ปัญญาที่จะวิสุทธิ ก็ต้องไปจากอารมณ์ของสติปัฏฐาน และปัญญาที่เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาของ กาย เวทนา จิต หรือ ธรรม ปัญญานั้นจึงจะ วิสุทธิ
!
!
สมาธิที่เป็น “ จิตตวิสุทธิ “ นั้นคืออย่างไร..?
ถ้าสมาธิเกิดจากอารมณ์ของสติปัฏฐานแล้ว ก็เป็น จิตตวิสุทธิ แน่นอน เพราะทำลายกิเลส กิเลสจับไม่ได้เลย นี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งสมาธิที่ไม่มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์แล้วก็จะต้องมีความสุข ทำให้เราเกิดความสุขขึ้น เข้าใจว่ามีความสุข และมีความพอใจในความสุข หรือ สงบนั้น
ความพอใจอันนั้นเป็น กิเลส เกิดขึ้นเพราะอาศัย สมาธิ
ผู้ที่ทำสมาธิแล้วจะปฏิเสธว่า ไม่พอใจในความสุข ความสงบนั้น เป็นไปไม่ได้เลย ไม่มีเหตุผลที่จะเป็นไปได้เลย ต้องพอใจ ต้องชอบใจ นี้เป็นธรรมดา ต้องเห็นว่าเป็นความสุข ต้องรู้สึกว่าเป็นสุขจริงๆ เพราะเหตุนั้นกิเลสจึงเข้าอาศัยได้
ด้วยเหตุนี้แหละ สมาธิจึงไม่สามารถจะทำลายอารมณ์ที่เป็น วิปลาส ได้
วิปลาส ได้แก่ เห็นว่า งาม เห็นว่า เที่ยง เห็นว่า เป็นสุข เห็นว่า เป็นตัวเป็นตน เป็นต้น
ฉะนั้นสมาธิที่เกิดขึ้น นอกจากอารมณ์ของสติปัฏฐานแล้ว สมาธิอันนั้นจะต้องมีวิปลาสเข้าอาศัยโดยแน่นอน เพราะอะไร ก็เพราะว่าสำคัญว่างาม สำคัญว่าเที่ยง สำคัญว่าเป็นสุข สำคัญว่าเป็นตัวเป็นตน
เพราะไม่เห็นความเกิดขึ้น และดับไปในที่นั้น
ธรรมชาติของจิตหมุนเร็ว
ปัญญาอย่างเรานี้หยาบ
ไม่สามารถจะเข้าไปเห็นความจริงของธรรมะที่ละเอียดสุขุม ที่เกิดจากสมาธิได้
เมื่อไม่เห็นแล้วก็สำคัญว่าจิตนั้นเที่ยง จิตนี้เป็นอัตตาตัวตน หรือจิตนี้เป็นนิพพาน สำคัญเอาว่าอย่างนี้ก็มี เช่นอย่างว่า ว จิตนี้บริสุทธิ์ไม่มีกิเลสแล้ว นั่นแหละจึงเป็นนิพพาน
ความสำคัญในวิปลาส อันมีสุภวิปลาส นิจจวิปลาส และอัตตวิปลาส เกิดขึ้นจะปฏิเสธไม่ได้เลย มันต้องเกิดขึ้นเองโดยเหตุผลและโดยธรรมดาทีเดียว เมื่อจิตได้รับอารมณ์อย่างนั้นแล้วจะไม่รู้สึกว่าเป็นสุขนั้นเป็นไปไม่ได้
ทีนี้ทำอย่างไรจึงจะสามารถทำลายวิปลาสในสมาธินั้นได้
สำหรับผู้ที่ทำสมาธิได้จนถึงฌานแล้ว บางคนถึงกับร้องว่า “ โอ.. …สุขจริงหนอ… “
เพราะผู้ที่เกิดมานี้ น้อยคนนักที่จะได้เข้าถึงความสุขของสมาธิ โดยมากเราก็อาศัยความสุขอยู่แต่ในกามคุณ ที่ว่าอาศัยความสุขอยู่ในกามคุณนั้นอย่างไร….
หมายความว่า ได้รูปที่ดี ๆ ได้กลิ่นที่ดี ๆ ได้รสที่ดี ๆ ได้ถูกต้องที่ดี ๆ อย่างนี้โดยอาศัยกามคุณทั้ง 5 หรือ อารมณ์ทั้ง 6 นั้นเอง
และความสุขของเราจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าได้รูปไม่ดีได้เสียงไม่ดี เป็นต้น ความสุขก็ไม่มี ความสุขของคนเราโดยธรรมดาต้องเป็นอยู่อย่างนี้ ส่วนความสุขของผู้เข้าสมาธินั้นละเอียดยิ่งกว่าเป็นไปในกามคุณนี้มากมายนัก บางคนจะไม่เคยพบเลยในความสุขที่พ้นจากกามนั้น เพราะอะไร เพราะเป็นความสุขที่ประณีต ความสุขของสมาธินั้น สงบแล้วจากความสุขในกาม สงบจากความปรารถนาดิ้นรนในกาม เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้าถึงขั้นนี้แล้วจะถือว่า ความสุขในกามนั้นเป็นของเลว
ความสุขของท่านเหล่านี้ไม่ต้องอาศัยกาม และอาจจะกล่าวได้ว่า ความสุขอันนี้มีตนเป็นที่พึ่งก็ก็ได้ เพราะไม่ต้องอาศัยอารมณ์ภายนอก หรือไม่ต้องอาศัยความสุขจากผู้อื่น
แต่ว่า กิเลสวิปลาส อย่างละเอียดนั้นไม่สามารถจะกำจัดได้ ถ้ากำจัดได้แล้วพระพุทธเจ้าก็ไม่จำเป็นจะต้องทรงแสดงเหตุที่จะให้เกิดปัญญาอีก
ศีล กำจัด กิเลสอย่างหยาบ
สมาธิ กำจัด กิเลสอย่างกลาง
ปัญญา กำจัด กิเลสอย่างละเอียด
ท่านแสดงไว้ 3 ขั้นอย่างนี้ ถ้าหากว่าสมาธิสามารถทำให้หมดจดจากกิเลสได้ โดยไม่ต้องอาศัยปัญญาคือ วิปัสสนาปัญญา แล้ว ท่านฤาษีชีพราหมณ์เมื่อครั้งก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสรู้ ซึ่งท่านเหล่านี้ก็มีสมาธิแข็งแกร่งมากที่สุด จนกระทั่งสามารถจะเป็นบาทของอภิญญาได้ ก็ยังไม่ทำให้ท่านเหล่านั้นเกิดปัญญาได้
ถึงแม้สมาธิที่พระพุทธเจ้าจะทรงทำตามลำดับของฌานก็ไม่ยิ่งไปกว่าของเขา ไม่เกินเขา เพราะของเขานั่นน่ะ เป็นที่สุดแล้ว สมาธิในโลกไม่มีอะไรจะยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าที่สุดถึงเช่นนั้นแล้ว ก็ยังไม่ทำให้ท่านเหล่านั้นเกิดปัญญาได้
พระพุทธองค์ยังได้ ตรัสถึงดาบสทั้งสองท่าน ที่ได้ตายแล้วไปเกิดในพรหมโลกชั้นสูงว่า “ ฉิบหายเสียแล้วจากมรรคผล ฯ “ ถ้าหากว่าสมาธิอันนั้น เป็นประโยชน์แก่ปัญญา ทำสมาธิให้มาก ๆ ปัญญาต้องเกิดขึ้นเอง พวกทำสมาธิก็ต้องเกิดปัญญาแล้ว และพระพุทธเจ้าก็คงจะไม่ตรัสว่า “ ฉิบหายเสียแล้วจากมรรคผล ฯ “ เลย
มรรคผลนั้นจะบรรลุได้ ต้องด้วย ปัญญา
ไม่ใช่ด้วย สมาธิ อย่างแน่นอน
การเจริญวิปัสสนาของท่านผู้ที่ได้ฌาน เมื่อทำฌานได้แล้ว จะทำอย่างไรเล่า จึงจะทำลายวิปลาสในสมาธิออกเสียได้ เพราะตามธรรมดาผู้ที่ได้ฌานแล้วนั้น ย่อมเป็นสุข และ ย่อมเพลิดเพลินในสุขนั้น
ก็มีอีกนัยหนึ่ง ซึ่งเป็นนัยของวิปัสสนาที่เกิดจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้บอกทางแนะนำให้ โดยมีพราหมณ์ ถามว่า เมื่อเข้า รูปฌาน หรือ อรูปฌาน แล้ว พระองค์จะทรงแนะนำอะไรกับเขาบ้าง
ก็มีอยู่ทางเดียว อย่างเช่น ปฐมฌาน ก็มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา 5 องค์
สุขนี้นั้นเกิดจากอะไร
เกิดจาก ปีติ ปีติเป็นเหตุ
ปีติ นั้นเกิดจาก สมาธิ
ที่ทำให้เรารู้สึกเป็นสุขนั้น เพราะ “ ปีติ “ เป็นองค์สำคัญ เวลายกขึ้นสู่ “ วิปัสสนา “ ท่านจึงเอา “ ปีติ “ ซึ่งเป็นองค์ของ “ ฌาน “ นั้นแหละขึ้นสู่วิปัสสนา
ปีติ นี้เป็น นามธรรม อาศัยเกิดที่ หทัยวัตถุ ไม่ใช่เกิดจาก ตา หู หรือ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ ไม่ใช่อย่างนั้น
“ ปีติ “ นี้เกิดจาก “ หทัยวัตถุ “ ซึ่งเป็นรูป
พิจารณาอย่างนี้แล้ว ท่านก็เพ่งปีติ
ตามธรรมดาการทำฌาน ไม่ได้เพ่ง “ นามรูป “ แต่เพ่ง “ กสิณ “ มีเพ่ง น้ำ ดิน ไฟ ลม เป็นต้น
แล้วแต่ตัวกรรมฐานที่จะให้ได้ในฌานนั่น อารมณ์ของปีติ หรือ อารมณ์ของฌานในปีตินั้น มีอารมณ์กรรมฐานที่ตนเพ่งมาก่อนเป็นนิมิต หรือ เป็น ปฏิภาคนิมิต หรือ อุคคหนิมิต จากอารมณ์นั้นแล้วจึงได้เข้าถึงฌานในฌานนั้นก็มีอารมณ์อยู่อย่างนั้น
แต่เวลาที่จะยกขึ้นสู่วิปัสสนานั้น ไม่ได้เพ่งอารมณ์กรรมฐานมีกสิณ เป็นต้น อารมณ์เหล่านั้นเป็น บัญญัติธรรม ไม่มีสภาวะที่จะให้เห็นว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้
เพราะฉะนั้นจะยกขึ้นสู่อารมณ์วิปัสสนาไม่ได้ ท่านก็ยกเอาปีติ เพราะเป็น นามธรรม เป็นนามขันธ์ เป็น สังขารขันธ์ มีสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จึงยกเอาปีติขึ้นเพ่ง
ธรรมชาติของปีตินั้น จะเพ่ง หรือ ไม่เพ่ง ก็มีการ เกิด – ดับ และจิตเป็นสมาธิ ก็มีการเกิด – ดับ เมื่อปีติที่อาศัยจิตที่ได้ฌานแล้ว ปีติก็เกิด – ดับอยู่เป็นธรรมดาเช่นเดียวกัน แต่ว่าเกิด – ดับ ติดต่อรวดเร็วมาก จนกระทั่งไม่สามารถจะเข้าไปรู้ว่า เขาไม่เที่ยง หรือ เขาเกิด – ดับได้ และก็ไม่ได้ดูด้วย
------------------------------------------------ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ค.2008, 7:42 am |
  |
ท่าน อ.แนบ กล่าวไว้ว่า
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-02.htm
อ้างอิงจาก: |
มรรคผลนั้นจะบรรลุได้ ต้องด้วย ปัญญา
ไม่ใช่ด้วย สมาธิ อย่างแน่นอน |
นี่ ก็จะวกกลับเข้าไปสู่ประเด็นเดิมที่ว่า
ปัญญาที่ยังให้บรรลุมรรคผล โดย ปราศจากสัมมาสมาธิเป็นเหตุนำ -เป็นปัจจัย นั้น....เป็น วิปัสสนาที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ไหม???
ต้องไม่ลืมว่า
ปัญญาที่กล่าวๆ กันอยู่ในสัมมัตตะ๑๐ นั้น มี2ส่วน คือ
ปัญญาในส่วนขั้นต้นการเริ่มเดินอริยมรรคมรรค คือ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ
และ
ปัญญาในขั้นอริยผล ซึ่ง ก็คือ สัมมาญาณะ
ลองพิจารณาดูดีๆน่ะครับว่า
"ถ้าหากปราศจากสัมมาสมาธิแล้ว สัมมาญาณะที่พอเหมาะ จะบังเกิดขึ้นได้ไหม???"
องค์อริยมรรค ที่นำไปสู่ องค์อริยผล จึงไม่สามารถมองแบบแยกส่วนได้
เราต้องพิจารณาแบบ มรรคสมังคี...คือ เป็นที่ประชุมรวมของ ศีล สมาธิ ปัญญา
ถึงแม้น สมาธิ และ ปัญญา จะมีความหมายที่สามารถ"แยกแยะ"ออกจากกันได้... แต่ สมาธิ และ ปัญญา ในองค์อริยมรรค ไม่สามารถถูก"แยกขาด" อออกจากกันได้
เมื่อใด ที่ สมาธิ และ ปัญญา ถูกทำให้แยกขาดออกจากกัน....ก็จะผิดหลักแห่ง มรรคสมังคี ทันที!!! |
|
|
|
  |
 |
|