ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
tambun
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 พ.ค.2007, 1:53 pm |
  |
เมื่อสองวันก่อน ไปตลาดซื้อของ ระหว่างยืนรอเพื่อนมีคนรู้จักคนหนึ่งซึ่งเคยบวชมาระดับเจ้าอาวาสวัดประจำจังหวัด แต่ปัจจุบันสึกมามีครอบครัว ไม่พบกันนานมากแล้ว อยู่ๆ ก็เข้ามาทัก เรารู้หล่ะว่าเขาทักผิดคน ไม่อยากให้ท่านเสียหน้า เพราะคำพูดที่ทักคำแรก คือ เธอได้บทสวดครบทุกบทหรือยัง
อืม..งง แต่ก็ตอบไปว่ายัง สุดท้ายท่านพูดว่าบทสวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในสวรรค์แต่ละชั้น ,โลกมนุษย์,โลกบาดาล ไม่เหมือนกันให้สวดใหม่ มีแบบนี้ด้วยหรือ คุณปุ๋ยมีบทสวดนั้นมั๊ยคะปัจจุบันสวด อิติปิโส วิเสเสอิ... ฯ ค่ะ แล้วท่านผู้นี้ก็ให้ตามไปที่บ้าน นำหนังสือหลวงพ่อมหาวีระ ฯ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2519 มาให้บอกว่าให้ฝึกตามหนังสือนั้น |
|
|
|
|
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
14 พ.ค.2007, 3:10 pm |
  |
ขออภัยที่ตอบล่าช้าไปเพราะเดินทางไปบวชพระ ไม่มีหนังสือบทสวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุเลยค่ะ เวลาสวดมนต์ก็ได้แต่สวดมนต์ธรรมดาค่ะ ลองอ่านบทความตามลิ้งค์ข้างล่างนะคะ นำไปใช้ได้ประโยชน์ดีมากค่ะ
สวดมนต์ให้เย็น (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7844
เจริญในธรรม
มณี ปัทมะ ตารา  |
|
|
|
   |
 |
tambun
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 พ.ค.2007, 4:30 pm |
  |
อนุโมทนา สาธุ ค่ะ
อ้อ ..ลืมบอกอีกข้อ พระอาจารย์ท่านนั้น ได้เรียบเรียงบทสวดมนต์ให้ใหม่ โดยให้สวด
สัมพุทเธ,กรณียเมตตะฯ , นโมการัฎฐฯ, เพิ่มอีก บางบทที่เราสวดอยู่เขาให้ตัดออกก่อน แล้วก็แผ่เมตตา
"นี่แสดงว่าที่ผ่านมาเราสวดมนต์ร้อนเข้าไปนะสินี่ ถึงมีแต่เรื่องวิ่งเข้ามาชนให้แก้ปัญหาอยู่เรื่อย
แม้แต่มนต์ดำ ที่เขาทำเพื่อทรัพย์แผ่นดินก็เข้าไปยุ่งกับเขามา กว่าจะเอาตัวรอดเกือบสายเสียแล้ว
คุณปุ๋ยเชื่อมั๊ยคะว่ามนต์ดำมีจริง" |
|
|
|
|
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
16 พ.ค.2007, 12:24 am |
  |
ค่ะ เชื่อค่ะ คาถาอาคมที่กำกับไว้กับวัตถุเครื่องรางต่างๆนี่ ก็อันตรายที่สุด มนุษย์นี่แหละที่ทำร้ายมนุษย์ด้วยน้ำมือมนุษย์ด้วยกันเอง ไม่ใช่ผีสางเทวดาที่ไหน
เจริญในธรรม
มณี ปัทมะ ตารา
 |
|
|
|
   |
 |
tambun
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
17 พ.ค.2007, 1:00 pm |
  |
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 พ.ค. ไปกราบ "แม่ชีไน้" มา ท่านให้ข้อคิดข้อธรรมมามากมาย พอสรุปดังนี้นะคะ
1.คนที่ฟังธรรมะ ไม่รู้เรื่องเพราะใจไม่เคยเปิดรับ (ข้อนี้เกิดกับตัวเองแน่นอน ก่อนหน้านี้เป็นเช่นนั้นจริง ๆ )
2.กัม ถาน แตกต่างกับ กรรมฐาน
3.กรรม ทุกอย่างอยู่ที่ใจไม่มีใครแก้ได้ นอกจากใจเรา ทำใจให้มี ศีล สมาธิ ภาวนา รู้ตลอดเวลา กรรมจะบรรเทา หรือมาแสดงผลได้ช้าลง
4.ยก สมถะ ขึ้นสู่ วิปัสสนา ต้องมี ฌาน เพราะ ฌาน เป็นทางนำไปสู่ตัวรู้
5.เปรียบจิต เป็น แย้ เปรียบเทียบอายตนะ 6 เป็นรูเข้าออกของแย้ ท่านให้ปิดทางเข้า-ออก ให้ เหลือ รู เดียว เมื่อเข้าออกจนคล่องแล้ว ไม้โท จะวิ่งเข้ามาหา รู เอง (กลายเป็น รู้)
6.ท่านพูดถึงเรื่อง โอปะนะยิโก
..(ฟังไม่รู้เรื่อง เพราะมีเสียงอื่นมารบกวน แต่สรุปตอนท้ายท่านเน้นเรื่อง "โยนิโสมนสิการ" เป็นตัวสำคัญ
7. แสงพันธาริณี........
เก็บเนื้อความได้เท่านี้ ค่ะ รบกวนคุณปุ๋ย และสหายธรรมช่วยอธิบายเพิ่มเติมหน่อยนะคะ
อีกเรื่องหนึ่งมิใช่คำถามแต่สงสัย ดิฉันได้มีโอกาสกราบหลวงปู่ลมัย จ.เพชรบูรณ์,
หลวงปู่ทองดี จ.พิจิตร และหลวงปู่จันทรา จ.พิจิตร ท่านพูดเบามาก บางครั้งจะจับใจความได้ไม่ค่อยชัดเจน รวมทั้ง แม่ชีไน้ ด้วย ส่วน พระอาจารย์มานิตย์ เขาสมอแคลง จ.พิษณุโลก
พระองค์นี้ เวลาสอนธรรมะ เหมือนยิง M 16 ใส่ หลวงพ่อเกษม จ.เพชรบูรณ์ก็คล้ายกัน
อยากถามจังแต่ไม่กล้าเขียนนะ
|
|
|
|
|
 |
happiness center
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 17 พ.ค. 2007
ตอบ: 6
|
ตอบเมื่อ:
17 พ.ค.2007, 11:59 pm |
  |
มันเป็นความกังวลเรื่องเกี่ยวกับลมหายใจเราเกินไป อย่าเกร็งลมหายใจ บังคับลมหายใจ ปล่อยไปตามธรรมชาติ ให้จิตอยู่กับคำบริกรรม หรือ สติระลึกรู้อยู่ จิตกำลังจะสงบอยู่เเล้วเนี่ย ลมหายใจมันจะค่อยๆ เเผ่วลง เเผ่วลง ไปเรื่อยๆ เเต่ลมหายใจนะยังมีอยุ่เหมือนเดิม ลมหายใจไม่ได้ไปไหนหรอก ฉะนั้น จงอย่าใส่ใจ เเละเป็นกังลงเรื่องลมหายใจเรามากนัก กำหนดจิตอยู่กับ คำบริกรรม หรือมีสติระลึกรุ้อยู่กับการทำสมาธิ อาการเหล่านี้ เป็นไม่บ่อยหรอก เดี๊ยวก็หายไปเอง |
|
|
|
  |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
18 พ.ค.2007, 10:35 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 พ.ค. ไปกราบ "แม่ชีไน้" มา ท่านให้ข้อคิดข้อธรรมมามากมาย พอสรุปดังนี้นะคะ
1.คนที่ฟังธรรมะ ไม่รู้เรื่องเพราะใจไม่เคยเปิดรับ (ข้อนี้เกิดกับตัวเองแน่นอน ก่อนหน้านี้เป็นเช่นนั้นจริง ๆ )
2.กัม ถาน แตกต่างกับ กรรมฐาน
3.กรรม ทุกอย่างอยู่ที่ใจไม่มีใครแก้ได้ นอกจากใจเรา ทำใจให้มี ศีล สมาธิ ภาวนา รู้ตลอดเวลา กรรมจะบรรเทา หรือมาแสดงผลได้ช้าลง
4.ยก สมถะ ขึ้นสู่ วิปัสสนา ต้องมี ฌาน เพราะ ฌาน เป็นทางนำไปสู่ตัวรู้
5.เปรียบจิต เป็น แย้ เปรียบเทียบอายตนะ 6 เป็นรูเข้าออกของแย้ ท่านให้ปิดทางเข้า-ออก ให้ เหลือ รู เดียว เมื่อเข้าออกจนคล่องแล้ว ไม้โท จะวิ่งเข้ามาหา รู เอง (กลายเป็น รู้)
6.ท่านพูดถึงเรื่อง โอปะนะยิโก
..(ฟังไม่รู้เรื่อง เพราะมีเสียงอื่นมารบกวน แต่สรุปตอนท้ายท่านเน้นเรื่อง "โยนิโสมนสิการ" เป็นตัวสำคัญ
7. แสงพันธาริณี........
เก็บเนื้อความได้เท่านี้ ค่ะ รบกวนคุณปุ๋ย และสหายธรรมช่วยอธิบายเพิ่มเติมหน่อยนะคะ
อีกเรื่องหนึ่งมิใช่คำถามแต่สงสัย ดิฉันได้มีโอกาสกราบหลวงปู่ลมัย จ.เพชรบูรณ์,
หลวงปู่ทองดี จ.พิจิตร และหลวงปู่จันทรา จ.พิจิตร ท่านพูดเบามาก บางครั้งจะจับใจความได้ไม่ค่อยชัดเจน รวมทั้ง แม่ชีไน้ ด้วย ส่วน พระอาจารย์มานิตย์ เขาสมอแคลง จ.พิษณุโลก
พระองค์นี้ เวลาสอนธรรมะ เหมือนยิง M 16 ใส่ หลวงพ่อเกษม จ.เพชรบูรณ์ก็คล้ายกัน
อยากถามจังแต่ไม่กล้าเขียนนะ
|
กราบสวัสดีคุณtambun
1.ใจไม่เปิดรับเพราะไม่เข้าใจวิธีการเปิดรับธรรมด้วยการเจริญสติในการฟัง
2.แตกต่างกันแน่นอนเพราะเขียนผิดกันอยู่แล้ว
3.ถูกต้องค่ะ ทุกอย่างอยู่ที่ใจ กรรมไม่มีใครแก้ได้ และสุดท้ายก็ไม่ต้องแก้
4.สมถะเป็นบาทฐานเจริญขึ้นสู่วิปัสสนา เปรียบเหมือนพื้นฐานที่มั่นคง บางท่านกล่าวว่าคนที่ฝึกสมถะดูโง่ งมงาย เสียเวลา สู้ฝึกวิปัสสนาล้วนๆไม่ได้ นั่นย่อมเป็นการเข้าใจผิด คนที่ฝึกวิปัสสนาล้วนๆโดยที่ไม่ผ่านสมถะ มักจะรักษาตัวไม่ได้และถูกครอบงำด้วยนิวรณ์ได้โดยง่าย ส่วนมากมักจะไม่รู้ตัว ถึงจะกล่าวว่าฝึกวิปัสสนาแต่ผลก็เจริญตามลำดับและย้อนกลับมาสมถะอย่างแยกไม่ออก เพราะไม่มีความเข้าใจในพื้นฐาน
5.วิธีอบรมจิตด้วยอายตนะ 6 ขอให้เข้าใจว่า อายตนะ 6 ก็ดี ขันธ์ 5 ก็ดีมีความหมายอันเดียวกัน คือ อายตนะ 6 มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย จัดเป็นรูปขันธ์เสียแล้วส่วนใจนั้นจัดเป็นนามขันธ์ และขอให้เข้าใจว่าขันธ์ 5 รูปก็เป็นรูปตามเดิม คือ ดิน น้ำ ประชุมกันเป็นกาย ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็รวมเข้าเป็นนามตามเดิม และก็ขอให้เข้าใจอีกว่าเราอบรมอายตนะ 6 ก็ดี อบรมขันธ์ 5 ก็ดีก็มีความหมายอันเดียวกัน เป็นเพียงว่าสมมติว่า 6 สมมติว่า 5 ผิดกันเท่านั้น...แต่ความหมายก็อันเดียวกัน
ย่น 6 ลงมาเป็น 2 ตา หู จมูก ลิ้น กายย่นลมเป็นรูปขันธ์ ใจเป็นนามขันธ์ดังกล่าวแล้วนั้น ทีนี้จะย่นขันธ์ 5 ลงเป็น 2 เหมือนอายตนะ 6 คือกายก็เป็นกายตามเดิม เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ตามเดิม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็เป็นนามตามเดิม อายตนะ 6 ก็ดี ขันธ์ 5 ก็ดี รูปธาตุ นามธาตุก็ว่าเหมือนกัน รูปธรรมนามธรรมก็ว่าเหมือนกันรูปขันธ์ก็ว่าเหมือนกัน รูปอินทรีย์นามอินทรีย์ ก็ว่าเหมือนกัน รูปโลกนามโลกก็ว่าเหมือนกัน
สิ่งเหล่านี้ก็รวมมาเป็นสังขารโลกก็ได้จะรวมลงมาเป็น สังขารธรรมก็ได้ จะรวมมาเป็นสังขารธาตุก็ได้ จะรวมลงมาเป็นสังขารขันธ์ก็ได้ให้เข้าใจว่าเมื่อสังขารออกหน้าแล้วก็ต้องเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ตรงกับคำว่า "สังขารา ปรมา ทุกขา สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง" มาเป็นเมืองขึ้นของไตรลักษณ์ตามเดิม เมื่อพิจารณาไตรลักษณ์ให้กลมกลืนเป็นเชือก 3 เกลียวแล้ว
กรรมฐานที่อยู่ในสรรพโลกทั้งปวงก็รวมลงมาตั้งฐานอยู่ในที่นี้ เกิดขึ้นแล้ว แปรปรวนอยู่หาระหว่างมิได้ ไม่ขึ้นอยู่กับผู้รู้ และผู้ไม่รู้ แต่ต้องพยายามรู้เพื่อจะได้ไม่ยึดถือเอาเป็นตัวตน เรา เขา สัตว์ บุคคล เพราะมีแต่กองทุกข์ จะยึดถือเอาเป็นตัว ตน เรา เขา จริงๆ จังๆ จนแกะไม่ได้คายไม่ออกก็ไม่ตรงกับคำว่า "รู้ตามเป็นจริง ปฏิบัติตามเป็นจริงสิ้นความสงสัยตามเป็นจริง"
อ่านต่อตามลิ้งค์...
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8580
6.โอปะนะยิโก หมายความว่า เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้าใส่ตัว คือนำเข้าไปสู่ความสงบแห่งจิต พระธรรมนั้นไม่ได้น้อมนำเราไปสู่ความหยาดเยิ้ม ตรึงใจ มีเสน่ห์ชวนให้หลง หรือตื่นเต้นผจญภัย แต่น้อมนำไปสู่นิพพาน ความดับสนิท สงบสงัดอย่างสิ้นเชิง
โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือ พิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริง โดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะ และความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี
อธิบายเพิ่มเติม
โดยหลักแล้วโยนิโสมนสิการก็คือหลักการสำคัญของการเจริญวิปัสสนา คือการมีสติเฝ้าสังเกตสภาวะที่ปรากฏตามความเป็นจริงในขณะที่เป็นปัจจุบันนั้นของรูปนาม หรือร่างกายและจิตใจ (โดยเน้นที่ร่างกายและจิตใจของตนเองเป็นหลัก) เพื่อให้เห็นความเป็นไปของรูปนาม หรือร่างกายและจิตใจ โดยเป้าหมายขั้นสูงสุดก็เพื่อให้เห็น หรือให้รู้ธรรมชาติที่แท้จริงของรูปนาม หรือร่างกายและจิตใจ คือความที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวนไปตลอดเวลา ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนาของใคร ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ถ้าขืนไปยึดก็มีแต่ทุกข์ที่จะตามมา ฯลฯ
เมื่อเห็นความเป็นจริงมากขึ้น และชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่ก็จะลดน้อยถอยลงไปตามลำดับ จนถึงขั้นทำลายกิเลสได้ในที่สุด (อ่านรายละเอียดได้ในเรื่องต่างๆ ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ตั้งแต่เรื่องแรกของหมวดเป็นต้นไป)
ซึ่งการมีสติเฝ้าสังเกตนี้จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประกอบด้วย (ความจริงแล้วโยนิโสมนสิการก็คือตัวสำคัญที่ทำให้ปัญญาเกิดขึ้นนั่นเอง) และเมื่อสังเกตไปมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ก็จะได้ข้อมูล (ตามความเป็นจริง) มากขึ้นเรื่อยๆ การพิจารณาโดยแยบคายก็จะตามมา ทำให้เห็นธรรมชาติที่แท้จริงของรูปนาม หรือร่างกายและจิตใจ นอกจากจะเห็นสภาวะที่แท้จริงในแต่ละขณะแล้ว ยังสามารถเห็นความสัมพันธ์ของสภาวะอันนั้นกับเหตุปัจจัยที่ทำให้สภาวะอันนั้นเกิดขึ้นอีกด้วย ยิ่งสังเกตมากขึ้นเท่าใด ปัญญา ความรู้แจ้งในธรรมชาติที่แท้จริงของรูปนาม หรือร่างกายและจิตใจก็จะมากขึ้นเท่านั้น
ถ้าเป็นการดูแบบไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่มีโยนิโสมนสิการประกอบ ก็จะเป็นเหมือนการเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาเลย
ที่มา...
http://www.dhammathai.org/
7.วิชานี้เป็นวิชาเก่าแก่ของคนยุคโบราณ เป็นวิชาว่าด้วยการหายใจ การบังคับลมหายใจให้ลึก และยาว นานและช้าๆ สัตว์ที่หายใจหอบถี่จะมีอายุสั้น เช่น กระต่าย นก ฯลฯ ส่วนสัตว์ ที่หายใจลึกยาวจะมีอายุยืน เช่น ช้าง เต่า ฯลฯ โยคีอินเดียก็ใช้วิชานี้แหละ ทำให้สามารถฝังตัวเองในหลุมเป็นเวลานานนับปี แล้วไม่ตาย ฮินดูเรียกวิชานี้ว่า พันธาริณี หรือ กุณฑาลินี
ในธิเบตเรียกว่า ลม ๗ ฐาน ผู้สำเร็จจะมีคุณวิเศษมากมาย เช่น มีพลังในตัว ใช้พลังรักษาโรคได้ ไม่มีเหงื่อ เวลาป่วยใช้วิธีซึมซับพลังจากธรรมชาติรอบตัวเข้าร่าง รู้วาระจิตของผู้อื่น ฯลฯ ถ้าจะเรียนครบ ๗ ฐานต้องถือเพศพรหมจรรย์ คนมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดัน ฯลฯ ไม่สมควรฝึก เป็นอันตราย
ส่วนคำถามที่สงสัย ที่ท่านเหล่านั้นพูดเบา เพราะท่านพูดเสียงไม่ดัง ส่วนท่านที่สอนธรรมะเหมือนยิง M 16 ใส่นี่ ถ้ากล่าวถึงพูดเร็ว ก็คือท่านพูดไม่ช้า แต่ถ้าถามว่าพูดแทงใจดำก็คือ ท่านสอนคนแบบล่วงรู้วาระจิตของคนที่มานั่งฟัง คือฟังแล้วโดนอะไรประมาณนี้ ที่คุณกล่าวชื่อมา ไม่เคยไปกราบท่านหรอกค่ะ ตอบตามที่คุณสงสัยเท่านั้นค่ะ
เจริญในธรรม
มณี ปัทมะ ตารา
 |
|
|
|
   |
 |
tambun
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
18 พ.ค.2007, 4:41 pm |
  |
สาธุ...
อนุโมทนา
ได้รับความรู้เพิ่มเติมอย่างละเอียด จริง ๆ เกี่ยวกับ "โยนิโสฯ "
ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ |
|
|
|
|
 |
tambun
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 พ.ค.2007, 2:04 pm |
  |
กัม-ถาน แตกต่างจาก กรรมฐาน โดยสรุปที่คุณแม่ท่านอธิบายคือ เมื่อเราเริ่มรับกรรมฐานเริ่มฝึกกันใหม่ ๆ กรรมที่ทำไว้ชาติ ไหน ๆ ก็จะมาทวง มาตาม ความหนักจะเกิดที่ฐาน มันหนักจริง ๆ เพราะความชั่ว อันเกิดจากกิเลส จากการกระทำมันหมักหมมเหมือน ถาน ซึ่งแปลว่าส้วมนั่นเอง มันเลยหนัก เพราะลดไม่ได้ ละไม่ได้ ซึ่งตรงนี้ดิฉันเป็นจริง ๆ ทุกวันนี้ก็ยังไม่หายหนัก เพียงแต่ว่าไม่ตามไปดู ไปรู้อย่างแต่ก่อน คิดว่าเป็นเวทนา คือเวทนา แล้วก็ปล่อยไป บางช่วงก็ปวดแสนสาหัส บางช่วงก็ลืมไปว่าปวด ว่าเหน็บอยู่ และสามารถเพิ่มสัจจะได้ว่าจะนั่ง 1 ชั่วโมง ก็ได้ 2 ชั่วโมงก็ได้ ทนได้ แต่พอใกล้เวลาจะครบกำหนด มันปวด บิด ใจแทบขาด เลยจริง ๆ นะไ ม่เบาสบาย ไม่โปร่ง เหมือนช่วงบนหรอกนะคะ
คุณปุ๋ยมีคำอธิบายเพิ่มเติมมากกว่านี้ไหมคะ |
|
|
|
|
 |
tambun
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 พ.ค.2007, 2:22 pm |
  |
การสำเร็จธรรมชั้นสูง ขนาดรู้วาระจิตคน คงไม่จำเป็นต้องพูดเสียงดัง แต่สอนเหมือน m16 ก็รู้วาระจิตสอนธรรมกระแทกใจ สั่งมาล่วงหน้าว่าจะเจออะไร ซึ่งตอนสั่งก็ไม่ได้คิด เมื่อพบแล้วจึงรู้
คำถามที่กระแทกใส่เมื่อพบครั้งแรก คือ " หัวใจเป็นพุทธะหรือยัง ไปไหนก็ขอพรให้ตัวเองรวย
หัดทำตัวให้เป็นพุทธะซะที เสียเวลาอยู่ได้.. รักษาศีลห้า ข้อ 4 ให้บริสุทธิ์ซะที เพ้อเจ้อ .. เหลวไหล..ผิดศีล"
 |
|
|
|
|
 |
tambun
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
05 มิ.ย.2007, 4:46 pm |
  |
สวัสดีค่ะ คุณปุ๋ย..
ไม่ได้มาเยี่ยมหลายวัน เหตุเพราะฟ้าใจร้าย ทำเน็ตเสียหาย
มีคำถามที่พยายามอ่านทำความเข้าใจเท่าไหร่ ก็ไม่เข้าใจ ในคำแปลของพระคัมภีร์
"พระธาตุกะถา"
1.การสงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้
2. สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้
3. สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้
4. การอยู่ด้วยกัน การพลัดพราก คือ การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไปจัดเป็นสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้
อ่านเท่าไรก็ยังนึกภาพไม่ออก ขอความกรุณาอธิบายเพิ่มเติม และขอตัวอย่างด้วยนะคะ |
|
|
|
|
 |
พีรวิชญ์
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 19 เม.ย. 2007
ตอบ: 24
|
ตอบเมื่อ:
19 มิ.ย.2007, 11:28 am |
  |
ถ้าเป็นอาการหายใจไม่เต็มปอดก็ควรสูดลมหายใจยาวๆซัก3ครั้งแล้วมาหายใจกันใหม่ครับ
แต่ถ้ารู้สึกว่าลมหายใจไม่มีแล้ว
อารมณ์- ปฐมฌานโดยย่อมีดังนี้
1. วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
2. วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
3. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
4. สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุข อย่างประณีต
5. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์ อื่นเข้ามาแทรกแซง
อารมณ์ ๓ ของทุติยฌานมีดังต่อไปนี้
1. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ
2. สุข ความสุขอย่างประณีต
3. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ตามผลปฏิบัตินั้นวิตกวิจารที่ถูกตัดมิได้ตัดด้วยการยกเว้น คืองดการนึกคิด เอาเอง เฉย ๆ ท่านตัดด้วยการปฏิบัติเข้าถึงระดับ คือ ในระยะแรกก็เจริญภาวนาคาถา ภาวนาตามท่านอาจารย์สอน จะภาวนาว่าอย่างไรก็ได้ ท่านไม่ได้จำกัดไว้คาถาภาวนาเป็น สายเชือกโยงใจเท่านั้นให้ใจมีหลักเกาะไว้ไม่ให้สอดส่ายไปในอารมณ์นอกจากคำภาวนา อย่างนี้ท่านเรียกว่า "บริกรรมภาวนา" ขณะที่ภาวนาอยู่จิตคิดถึงคำภาวนานั้นท่านเรียกว่า " วิตก" จิตที่คอยประคับประคองคำภาวนา คิดตามว่า เราภาวนาถูกตามอาจารย์สอนหรือ ไม่ครบถ้วนหรือไม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่า " วิจาร " การตัดวิตกวิจาร ก็ภาวนาไปอย่างนั้น จนเกิด ปีติ สุขและเอกัคคตา คือมีอารมณ์คงที่ จิตไม่สนใจกับอารมณ์ภายนอก รักษาอารมณ์ ภาวนาและอาการเอิบอิ่ม สุขสันต์อยู่ตลอดเวลา ลมหายใจชักจะอ่อนลงทุกที รู้สึกว่าหายใจ เบา อารมณ์จิตโปร่งแจ่มใส หลับตาแล้ว แต่คล้ายกับมีใครเอาประทีปมาวางไว้ใกล้ ๆ ใน ระยะนี้เองจิตจะหยุดภาวนาเอาเฉยๆ มีอารมณ์นิ่งดิ่งสบายกว่าขณะที่ภาวนามาก รู้สึกว่า ลมหายใจอ่อนระรวยลง หูได้ยินเสียงภายนอกแต่เบาลงกว่าเดิม จิตไม่สนใจกับอะไร มี อารมณ์เงียบสงัดดิ่งอยู่ บางรายพอรู้สึกตัวว่าหยุดภาวนาก็ตกใจ รีบคิดถึงคำภาวนา บางราย ก็คว้าต้นชนปลายไม่ถูก คำภาวนาภาวนามาจนคล่อง กลับคิดไม่ออกว่าอะไรเป็นต้นเป็น ปลาย กึกกักอึกอักอยู่ครู่หนึ่งจึงจับต้นชนปลายถูก อาการที่จิตสงัดปล่อยคำภาวนามีอารมณ์ เฉยไม่ภาวนานั่นแหละเป็นการละวิตกวิจาร ละด้วยอารมณ์เข้าถึงสมาธิอันดับฌาน ๒ ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะมาหยุดภาวนาไปนั้นตอนนั้นจิตตกอารมณ์ทุติยฌาน เข้าสู่อารมณ์ปฐมฌาน ตามเดิม บางรายก็เข้าสู่ภวังค์ คืออารมณ์ปกติธรรมดาเอาเลย
พูดมาอย่างนี้ คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจแล้วว่า การละหรือตัดวิตกวิจารนั้นก็การ ที่ภาวนาไปจนมีอารมณ์สงัด จิตปล่อยคำภาวนานั่นเอง เมื่อจิตปล่อยคำภาวนาแล้ว ก็เหลือ แต่ความชุ่มชื่นหรรษามีความสุขสันต์ทางกายอย่างประณีต มีอารมณ์ใจดิ่งอยู่อย่างไม่สนใจ กับอารมณ์ใด หูเกือบจะไม่ได้ยินเสียงอะไร เป็นอารมณ์จิตที่มีความสุขสบายยอดเยี่ยมกว่า ฌานที่ ๑ มาก เพราะฌานที่ ๑ ยังต้องมีกังวลอยู่กับการภาวนาและต้องระมัดระวังบทภาวนา ให้ถูกต้องครบถ้วน จัดว่ามีกังวลมาก สำหรับทุติยฌานนี้ตัดคำภาวนาออกเสียได้ด้วยการเข้า ถึงอารมณ์ที่ละเอียดกว่า มีแต่ความชุ่มชื่นหรรษาด้วยอำนาจปีติมีความสุขละเอียดอ่อนประณีต เพราะสู่ความสุขอันประณีตด้วยอำนาจสมาธิที่ตั้งมั่นกว่าปฐมฌานจิตเป็นหนึ่ง คือมีอารมณ์ สงัดจากอารมณ์ภายนอก แม้แต่คำภาวนาก็ไม่แยแส นี่แหละที่ท่านเรียกว่าได้ทุติยฌาน หรือ ทุติยสมาบัติ เมื่อได้แล้วต้องฝึกฝนให้คล่องว่องไว คิดจะเข้าทุติยฌานเมื่อไร ก็เข้าได้ทัน ท่วงทีหรือจะทรงทุติยฌานอยู่นานเท่าใด ก็กำหนดเวลาได้ตามความประสงค์ อย่างนี้จึงจะ ชื่อว่า ได้ทุติยฌานแน่นอน แต่ทว่าเมื่อได้แล้วก็อย่าประมาท ถ้าพลั้งพลาดปล่อยให้อกุศล มารบกวนใจหรือจิตใจไปใคร่ในอกุศลเข้าเมื่อไร ทุติยฌานก็ทุติยฌานนั่นแหละ เป็นเสื่อม- ทรามลงทันที ฉะนั้นท่านจึงว่า ฌานโลกีย์นี้ระมัดระวังยาก ต้องคอยประคับประคองประคบ ประหงมยิ่งกว่าเด็กอ่อนนอนเบาะเสียอีก
เสี้ยนหนามของทุติยฌาน
เสี้ยนหนามของปฐมฌานได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรูคอยทำลายปฐมฌาน เมื่อใดถ้าจิต ยุ่งกับเสียง คือทนรำคาญไม่ไหว ก็หมายความว่า ปฐมฌานเสื่อมเสียแล้ว สำหรับทุติฌานนี้ มีวิตกวิจารเป็นเสี้ยนหนามศัตรู เมื่อขณะที่จิตทรงสมาธิอยู่ในระดับทุติยฌาน จิตคอยจะเคลื่อน เลื่อนลงมาหาอารมณ์ปฐมฌาน คือคอยจะยึดเอาคาถาภาวนาเป็นอารมณ์ เพราะคาถาภาวนา เป็นวิตกวิจาร จึงจำต้องคอยระมัดระวังไว้ อย่าปล่อยสติสัมปชัญญะให้คลาดเคลื่อนคุมอารมณ์ ทุติยฌานอย่าให้เลือนไปได้ ฝึกหัดตั้งกำหนดเวลาทรงฌานเข้าไว้ แล้วทำให้ชินตามกำหนด เวลา
อานิสงส์ทุติยฌาน
ฌานทั้งหมด เป็นอารมณ์สมาธิที่ทำจิตใจให้พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ เวลาจะทำ การงานก็มีความทรงจำดี จิตใจไม่เลอะเลือนฟุ้งซ่าน เป็นอารมณ์รักษาโรคประสาทได้ดี ที่สุด นอกจากนี้ เวลาจะตายก็มีสติสัมปชัญญะดีไม่หลงตาย ถ้าตายในระหว่างฌานท่านว่า ทุติยฌานที่เป็นโลกียฌานให้ผลดังนี้
ก. ทุติยฌานหยาบ ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๔
ข. ทุติยฌานกลาง ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๕
ค. ทุติยฌานละเอียด ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๖
ถ้าเอาอารมณ์ทุติยฌานไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้ว สมาธิระดับทุติยฌานจะมี กำลังช่วยให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสได้ดีและรวดเร็วกว่ากำลังของปฐมฌานมาก ท่านอาจมี หวังถึงที่สุดของพรหมจรรย์ในชาติปัจจุบันก็ได้ ถ้าท่านมีความเพียรดี ปฏิบัติตรงต่อพระพุทธ- พจน์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปฏิบัติพอดีพอควร ไม่ยิ่งหย่อนนัก เรียกว่าปฏิบัติพอเหมาะ พอดี การปฏิบัติพอเหมาะพอดีนี้ปฏิบัติอย่างไร ท่านก็ศึกษาจากตัวของท่านเองนั่นแหละตรง ต่อความเป็นจริง
อ่านดูหละกันถ้ายังไม่ทิ้งหัวข้อนี้อะครับ ถ้าต้องการ ฌาณ 3 ก็บอกละครับ |
|
|
|
  |
 |
ณพรหม
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 25 มิ.ย. 2007
ตอบ: 47
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
01 ก.ค.2007, 10:26 pm |
  |
ผมก็เหมือนจ้ะ
แต่ผ่านมาได้แล้ว ละจ้ะ
ใจเราเป็นธาตุสำเร็จนะจ้ะ
เรากังวลไปเองจ้า
การที่เราไม่หายใจเพราะเรานั่งสมาธิ
เพื่อวิชชามากเกินไป
จดจ่อแบบไม่ปล่อยวาง หรือ ง่ายๆใช้กำลังนั้นเอง เพราะอยากบรรลุเกินไปจ้า
มีวิธีคือ
1เริ่มนั่งให้เราทำใจเบาๆ สบายๆ ปดปล่อยว่างในทุกสิ่ง สูดหายใจอย่างเบาๆ สบายๆ
2เริ่มทำวิชชาที่ได้ศึกษามาจ้ะ
3ถ้าใจกลับไม่นิ่งให้เริ่มใหม่ ทำอย่างนี้เท่านั้นละจ้ะ ไม่ต้องกังวล
**หยุดคือตัวสำเร็จ** **หยุดนิ่งเฉย เบาๆสบายๆ**
เพื่อความสุขกายสุขใจ
ต้อง หยุด นิ่ง เฉย
ไม่ใช่ อยาก แสวง กังวล
สวัดดีจ้า
ขอให้ได้บรรลุมรรถผลได้อย่างง่าย เทอญ
ขออนุโมทนาบุญที่ตั่งใจประพฤติดีเช่นนี้จ้า
 |
|
_________________ ตะวันที่ให้แสงสว่างแก่ สัตว์ทั้งหลายทุกโลกธาตุฉันใด
ตัวเราจะเป็นผู้ให้ความสว่างชี้ทางสู่ความเป็น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหัตถเจ้า ตลอดอนันต์โลกธาตุ จะรื้อสัตว์ขนสตัว์ให้หมดไปฉันนั้น |
|
   |
 |
เหม่งตุ๊ก
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 28 ก.ย. 2007
ตอบ: 26
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2007, 12:47 pm |
  |
เคยเป็นแบบ คุณประสิตา ในบางวันที่ทำสมาธิบางวันก็ปกติดี ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้เพื่อการพัฒนาปฏิบัติต่อไป...ขอบคุณ...ขอบคุณ |
|
|
|
  |
 |
KINNAREE
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 13 ก.ย. 2007
ตอบ: 22
ที่อยู่ (จังหวัด): สุราษฎร์ธานี
|
ตอบเมื่อ:
21 ต.ค.2007, 8:29 pm |
  |
ในทางธรรมนะคะถือว่าคุณเข้าสมาธิลึกมากจิตของเราจะละเอียดมากจริงๆแล้วคุณยังหายใจอยู่ไม่ต้องกลัวเราหายใจเข้าไปได้ทีละนิด ๆ คะให้ละทิ้งลมหายใจกำหนดรู้ที่จิตอย่าให้จิตไปกำหนดอยู่ที่ลมหายใจมันก็แค่ลมหายใจเข้าลมหายใจออกแค่นั้นคะฝึกทำสมาธิของคุณต่อไปเลยคะ |
|
_________________ จริงตัวเดียวเท่านั้นสำเร็จได้ |
|
  |
 |
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 7:40 pm |
  |
แสดงว่าคุณกำลังหายใจอย่างละเอียดครับ
นั่งสมาธิต่อไปโดยไม่ต้องกังวลครับ
บริกรรมแบบเดิมต่อไป(ไม่ต้องตกใจ)
ขอให้เจริญในธรรมยิ่งขึ้นครับ  |
|
_________________ "ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
http://www.wimutti.net |
|
     |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
21 มิ.ย.2008, 8:05 pm |
  |
สติไม่พอจะเห็นลมหายใจ ที่จริงลมไม่ได้หายไปไหน
กำลังสติไม่พอต่างหาก |
|
|
|
  |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
01 ส.ค. 2008, 4:07 pm |
  |
ทำต่อไป เดี๋ยวก็ดีขึนเอง |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
วทันยา
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 21 ส.ค. 2008
ตอบ: 1
ที่อยู่ (จังหวัด): prachuab khiri khun
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 4:32 pm |
  |
เป็นเหมือนกันเลยค่ะ รุ้สึกว่าตัวเองไม่หายใจแล้ว
ก็ตกใจกลัวตายน่ะคะ รีบออกจากสมาธิทันที
และมีอยู่หนึงครั้งค่ะ ที่สวดมนต์ตามแบบหลวงพ่อจรัญ (สวดมาได้อาทิตย์กว่า)
เป็นอะไรไม่ทราบได้ค่ะ พอสวดถึงบทแผ่เมตตา อทินนาทานา นำตาไหลเองค่ะ
ใจนึกถึงกรรมที่ทำตอนเป็นเด็กโดยอัตโนมัติ ตกใจตัวเองเหมือนกันค่ะ
แต่ไม่คิดมากค่ะ คงปกติธรรมดา  |
|
_________________ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน |
|
   |
 |
ละอองบุญ
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 30 ส.ค. 2008
ตอบ: 2
|
ตอบเมื่อ:
30 ส.ค. 2008, 8:16 pm |
  |
อนุโมทนาบุญ...ผู้ใผ่ธรรมะทุกท่าน
แต่ละท่านประสบการณ์ดีๆทั้งนั้น
***เท่าที่อ่านก็เคยเป็นเหมือนกัน
ทางแก้ก็ทำแบบนี้อ่ะ กำหนดปัจจุบันอารมณ์
ที่เกิดขึ้น รู้สึกอย่างไงก็กำหนดอย่างนั้น
***ก็รอดพ้นและสบายดี |
|
|
|
  |
 |
|