|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 ส.ค. 2008, 4:28 pm |
  |
-ต่อ
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้นับถือในลัทธิศาสนาหรือหลักคำสอนใดๆ
พระองค์จะตรัสธรรมเป็นกลางๆ เป็นการเสนอแนะความจริงให้เขาคิด
ด้วยความปรารถนาดี เพื่อประโยชน์แก่ตัวเขาเอง โดยมิต้องคำนึง ว่า
หลักธรรมนั้นเป็นของผู้ใด โดยให้เขาเป็นตัวของเขาเอง ไม่มีการชักจูง
ให้เขาเชื่อ เลื่อมใสต่อพระองค์หรือเข้ามาสู่อะไรสักอย่างที่อาจจะเรียก
ว่าศาสนาของพระองค์
พึงสังเกตด้วยว่า จะไม่ทรงอ้างพระองค์หรืออำนาจเหนือธรรมชาติพิเศษ
อันใดเป็นเครื่องยืนยันคำสอนของพระองค์ นอกจากเหตุผลและข้อเท็จ
จริงที่ให้เขาพิจารณาเห็นด้วยปัญญาของเขาเอง เช่น
เรื่องในอปัณณกสูตร - (ม.ม.13/103-124/100-121) ซึ่งแสดงให้เห็น
เหตุผลที่ควรประพฤติธรรมโดยไม่ต้องอ้างนรกสวรรค์ ไม่ต้องยึดมั่น
ในความหวังผลที่จะมีในโลกหน้า ดังนี้
พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกถึงหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา พวกพราหมณ์
คหบดีชาวหมู่บ้านนี้ ได้ทราบกิตติศัพท์ของพระองค์ จึงพากันไปเฝ้า
แสดงอาการต่างๆ ในฐานะอาคันตุกะที่ยังมิได้นับถือกัน
พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า
คหบดีทั้งหลาย พวกท่านมีศาสดาท่านใดท่านหนึ่งที่ถูกใจ ซึ่งท่าน
ทั้งหลายมีศรัทธาอย่างมีเหตุผล อยู่บ้างหรือ ?
พวกพราหมณ์คหบดีทูลตอบว่า ไม่มี
.....
-ศรัทธาที่มีเหตุผล เรียกว่า "อาการวตีสัทธา" |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ส.ค. 2008, 8:12 am |
  |
-ต่อ
ตรัสว่า เมื่อท่านทั้งหลายยังไม่ได้ศาสดาที่ถูกใจ ก็ควรจะถือปฏิบัติ
หลักการที่ไม่ผิดพลาดแน่นอน- (อปัณณกธรรม) ดังต่อไปนี้ ด้วยว่า
อปัณณกธรรมนี้ เมื่อถือปฏิบัติถูกถ้วน จักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
หลักการที่ไม่ผิดพลาดแน่นอนนี้เป็นไฉน ?
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฏฐิว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
การบำเพ็ญทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรม
ที่ทำไว้ชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี ปรโลกไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี
ฯลฯ
ส่วนสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฏฐิที่เป็นข้าศึกโดยตรง
กับสมณพราหมณ์พวกนั้นทีเดียว ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล
การบำเพ็ญทานมีผล การบูชามีผล ฯลฯ ท่านทั้งหลายเห็นเป็น
ไฉน ? สมณพราหมณ์เหล่านี้ มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อกันมิใช่
หรือ ?
ทูลตอบว่า ใช่อย่างนั้น
ตรัสต่อไปว่า ในสมณพราหมณ์ 2 พวกนั้น พวกที่มีวาทะมีทิฏฐิว่า
ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบำเพ็ญทานไม่มีผล ฯลฯ สำหรับพวกนี้
เป็นอันหวังสิ่งต่อไปนี้ได้ คือ พวกเขาจะละทิ้ง กายสุจริต
วจีสุจริต มโนสุจริต อันเป็นกุศลธรรมทั้ง 3 อย่างเสีย แล้วจะยึดถือ
ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ซึ่งเป็นอกุศลธรรมทั้ง 3
อย่าง ข้อนั้นเป็นเพราะ เหตุใด ?
ก็เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่มองเห็นโทษ ความทราม
ความเศร้าหมอง แห่งอกุศลธรรม และอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นคุณ
ฝ่ายสะอาดผ่องแผ้วของกุศลธรรม |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
25 ส.ค. 2008, 8:41 pm |
  |
-ต่อ
อนึ่ง เมื่อปรโลกมี เขาเห็นว่าปรโลกไม่มี ความเห็นของเขา
ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อปรโลกมี เขาดำริว่าปรโลกไม่มี ความดำริของเขา ก็เป็น
มิจฉาสังกัปปะ
เมื่อปรโลกมี เขากล่าวว่าปรโลกไม่มี วาจาของเขา ก็เป็นมิจฉา
วาจา
เมื่อปรโลกมี เขากล่าวว่าปรโลกไม่มี เขาก็ทำตนเป็นข้าศึกกับ
พระอรหันต์ผู้รู้ปรโลก
เมื่อปรโลกมี เขาทำให้คนอื่นพลอยเห็นด้วยว่าปรโลกไม่มี การทำ
ให้พลอยเห็นด้วยนั้น ก็เป็นการให้พลอยเห็นด้วยกับอสัทธรรม
และด้วยการทำให้คนอื่นพลอยเห็นด้วยกับอสัทธรรม เขาก็ยกตนข่ม
ผู้อื่น
โดยนัยนี้ เริ่มต้นที่เดียว เขาก็ละทิ้งความมีศีลดีงาม เข้าไปตั้ง
ความทุศีลเข้าไว้เสียแล้ว
มีทั้งมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกกับอริยชน
การชวนคนให้เห็นด้วยกับอสัทธรรม การยกตน การข่มผู้อื่น
บาปอกุศลธรรมอเนกประการเหล่านี้ ย่อมมีขึ้น เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็น
ปัจจัย |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
25 ส.ค. 2008, 9:07 pm |
  |
ในเรื่องนี้ คนที่เป็นวิญญูชน ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ถ้าปรโลก
ไม่มี ท่านผู้นี้เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ไป ก็ทำตนให้สวัสดี
(ปลอดภัย) ได้ แต่ถ้าปรโลกมี ท่านผู้นี้เมื่อแตกกายทำลายขันธ์
ก็เข้าถึงอบาย ทุกคติ วินิบาต นรก เอาเถอะถึงว่าให้
ปรโลกไม่มีจริงๆ ให้คำของท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นความจริง
ก็เถิด ถึงกระนั้นบุคคลผู้นี้ก็ถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันนี้เอง
ว่า เป็นคนทุศีล มีมิจฉาทิฏฐิ เป็นนัตถิกวาท ก็ถ้าปรโลก
มีจริง บุคคลผู้นี้ก็ได้แต่ข้อเสียหายทั้งสองด้าน คือ ปัจจุบันก็ถูก
วิญญูชนติเตียน แตกกายทำลายขันธ์ไปแล้วก็เข้าถึง อบาย
ทุกคติ วินิบาต นรก อีกด้วย
ฯลฯ
...........
พอได้ใจความจากกาลามสูตรแล้ว  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
อิทธิกร
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 28 ส.ค. 2008
ตอบ: 137
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี
|
ตอบเมื่อ:
01 ก.ย. 2008, 4:30 pm |
  |
สมาธิสร้างปัญญา |
|
_________________ ชีวิตที่รู้ |
|
  |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |