ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.พ.2008, 3:58 pm |
  |
(ลิงค์ที่โยงเกี่ยวกับเรื่องอัตตาและอนัตตาข้างบนถูกลบหมดแล้ว)
ความจริง อนัตตา เป็นลักษณะของสิ่งทั้งหลาย เป็นเรื่องของสภาพ
ที่เป็นจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย เป็นเรื่องสำหรับรู้สำหรับเข้าใจ
คือใช้ปัญญาพิจารณาให้เข้าใจความเป็นจริงที่มีอยู่เป็นอยู่ตามธรรมดาว่า
สิ่งทั้งหลายไม่ใช่ตัวมิใช่ตน ปราศจากแก่นสารที่จะยึดถือเอาได้ว่าเป็นตัว
ตน เมื่อรู้เห็นเข้าใจถูกต้องแจ่มแจ้ง ก็เรียกว่า เป็นญาณ หรือ
วิชชา ทำให้จิตใจหลุดพ้นเป็นอิสระ ไม่ติดข้องไม่เป็นทาส
ของสิ่งทั้งหลาย เรียกว่าปัญญาวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา
โดยนัยนี้ อนัตตาจึงไม่ใช่เรื่องของการ (รู้สึกว่า) มีตัวตนอยู่แล้ว ตัวตน
นั้นหายไปหมดหรือเข้ารวมกับอะไรๆ อัตตาถูกกลืนหายกลายไปเป็นภาวะ
อย่างนั้นแต่ประการใดเลย
และ คนจะหมดความเห็นแก่ตัวได้อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อเกิดปัญญามอง
เห็นภาวะที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
พุทธธรรมหน้า 321 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.พ.2008, 4:09 pm |
  |
ผู้ปฏิบัติกรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐาน 4 อย่างถูกวิธี
ย้ำว่าต้องถูกวิธี จนเกิดสมาธิเกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ (=อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
โดยเฉพาะความเป็นอนัตตาของนามและรูปแล้ว ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
จะจางหายด้วยญาณทัสสนะนั้น
http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=11&topic=พิจารณาอะไรต่อไปคะ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 มี.ค.2008, 7:09 pm |
  |
-ความเข้าใจใน อนัตตตา มีคุณค่าสำคัญทางจริยธรรม คือ
1. ในขั้นต้น
-ทางด้านตัณหา ช่วยลดทอนความเห็นแก่ตน มิให้ทำกิจต่างๆ โดยยึดถือแต่ประโยชน์ตน
เป็นประมาณ ทำให้มองเห็นประโยชน์ในวงกว้าง ที่ไม่มีตัวตนมาเป็นเครื่องกีดกั้นจำกัด
2. ในขั้นกลาง
-ทางด้านทิฐิ ทำให้จิตใจกว้างขวางขึ้น สามารถเข้าไปเกี่ยวข้อง พิจารณา และจัดการ
กับปัญหาและเรื่องราวต่างๆ โดยไม่เอาตัวตน ความอยากของตน ตลอดจนความเห็น
ความยึดมั่นถือมั่นของตนเข้าไปขัด
แต่พิจารณาจัดการไปตามตัวธรรม ตามตัวเหตุตัวผล ตามที่มันเป็นของมัน
หรือควรจะเป็นแท้ๆ คือสามารถตั้งอุเบกขา วางจิตเป็นกลาง เข้าไปเพ่งตามที่เป็นจริง
งดเว้นอัตตาธิปไตย ปฏิบัติตามหลักธรรมาธิปไตย
3. ในขั้นสูง
-การรู้หลักอนัตตตา ก็คือ การรู้สิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นอย่างแท้จริง คือ รู้หลักความจริง
ของธรรมชาติถึงที่สุด ความรู้สมบูรณ์ถึงขึ้นนี้ ทำให้สลัดความยึดมั่นถือมั่นเสียได้
ถึงความหลุดพ้นบรรลุอิสระภาพโดยสมบูรณ์ อันเป็นจุดหมายของพุทธธรรม
อย่างไรก็ดี ความรู้แจ่มแจ้งในหลักอนัตตตา ต้องอาศัยควมเข้าใจตามแนวปฏิจจสมุปบาท
และการปฏิบัติตามแนวมรรค
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 มี.ค.2008, 7:13 pm |
  |
โดยทั่วไป หลักอนัตตตา พร้อมทั้งหลักอนิจจตา และหลักทุกขตา
เป็นเครื่องยืนยันความถูกต้องแท้จริง ของหลักจริยธรรมอื่นๆ โดยเฉพาะหลักกรรม
และหลักการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น เช่น สิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตน ความเป็นไปในรูปกระแส
แห่งเหตุปัจจัย ที่สัมพันธ์ต่อเนื่องอาศัยกัน จึงเป็นไปได้ กรรมจึงมีได้
และเพราะสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตน ความหลุดพ้นจึงมีได้
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 มี.ค.2008, 7:21 pm |
  |
มักมีผู้นิยมนำหลักอนิจจตามาใช้เป็นเครื่องมืองปลอบใจตนเอง หรือปลอบใจผู้อื่น ในเมื่อ
เกิดพิบัติ ความทุกข์ ความสูญเสียต่างๆ ซึ่งก็ได้ผลช่วยให้คลายทุกข์ลงได้มากบ้างน้อยบ้าง
การใช้หลักอนิจจตาในรูปนี้ ย่อมเป็นประโยชน์บ้าง เมื่อใช้ในโอกาสที่เหมาะสม
และโดยเฉพาะสำหรับให้สติแก่ผู้อื่น หรือไม่เคยสำนึกในหลักความจริงนี้มาก่อน
แต่ถ้า ถึงกับนำเอาการปลอบใจตัวแบบนี้มาเป็นหลักในการดำรงชีวิต หรือมีชีวิตฮยู่
ด้วยการปลอบใจตัวเองอย่างนี้ จะกลับเป็นโทษมากกว่า เพราะเท่ากับเป็นการปล่อยตัว
ลงเป็นทาสในกระแสโลก หรือการไม่ได้ใช้หลักอนิจจตาให้เป็นประโยชน์นั่นเอง
เป็นการปฏิบัติผิดต่อหลักกรรมในด้านจริยธรรม ขัดต่อการแก้ไขปรับปรุงตนเอง
เพื่อเข้าถึงจุดหมายที่พุทธธรรมจะให้แก่ชีวิตได้ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 มี.ค.2008, 7:38 pm |
  |
กล่าวโดยย่อ จริยธรรม หรือการรู้จักถือเอาประโยชน์จากหลักอนิจจตา มี 2 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่หนึ่ง
เมื่อประสบความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปรารถนา ก็บรรเทาหรือกำจัดทุกข์โศกได้
เมื่อประสบความเปลี่ยนแปลงที่พึงใจ ก็ไม่หลงใหลมัวเมา เพราะรู้เท่าทันธรรมดา
ขั้นตอนที่สอง
เร่งขวนขวายทำกิจที่ควรทำต่อไปให้ดีที่สุด และทำด้วยจิตใจที่เป็นอิสระ เพราะรู้ว่า
ความเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เป็นไปเองหรือเลื่อนลอย
หรือตามความปรารถนาของเรา
ผู้ที่เห็นว่า สิ่งทั้งหลายไม่ยั่งยืน ย่อมเปลี่ยนแปลงไป จะทำอะไรไปทำไม แล้วปล่อยชีวิต
ให้เลื่อนลอย ปล่อยอะไรๆ ไปตามเรื่อง
แสดงถึงความเข้าใจผิด และปฏิบัติผิดต่อหลักอนิจจตา ขัดกับพุทธโอวาทที่เป็นปัจฉิมวาจา
ว่า "สังขารทั้งหลายมีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตน
และประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท" |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|