ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ค.2008, 10:48 am |
  |
กระทู้นี้เป็นกระทู้ที่ทุกศาสนาไม่มีใครโต้แย้งได้ นอกจาก ด่าว่าใส่ร้ายป้ายสีผมอย่างเดียว ขอเชิญนักปราชญ์
ผู้ทรงปัญญา แสดงความเห็นของท่านคัดค้านหรือด่าผมก็ได้นะครับ
กระทู้นี้รับรองว่า ดึงกิเลสมารในใจของเกือบทุกท่านออกมาแน่ครับ ว่าท่านมีอีโก้สูงเพียงใด พยายามเอา
สิ่งที่เป็นสิ่งสูงสุดที่ตนเองนับถือ ยกไว้เหนือสิ่งสูงสูดของศาสนาอื่นหรือเปล่า ทั้งๆที่สิ่งสูงสุดนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน
นิพพานคือสภาวะขององค์พระผู้เป็นเจ้า
เพื่อตอบสนองต่อท่านที่ต้องการแสวงหาคำตอบในเรื่องสูงสุด คือ เรื่องพระเจ้า และเรืองนิพพาน ดังนั้นผมจึงขอ
ลงข้อความที่ผมเคยลงในเว็บต่างๆ แต่ไม่มีใครค้านผมได้แบบมีเหตุผลเลย มีแต่ด่าว่าเสียดสีใส่ร้ายผมต่างๆนาๆ
ความจริง เรื่องสูงสุดนั้น ท่านต้องมีใจเป็นกลาง ไม่ถูกอวิชชาหรือกิเลสมารในใจตนเข้าแทรก ไม่เช่นนั้นท่านจะ
ถูกทิฏฐิมานะและความเชื่อดั้งเดิมของตนเองเข้าแทรก และจะไม่ยอมใช้เหตุผลเพื่อหาความจริง
ลักษณะของพระเจ้าที่ชาวคริสต์และอิสลามกล่าวถึง
พระผู้เป็นเจ้า" ในความหมายที่สมบูรณ์ที่สุด ก็คือ
1.พระผู้ทรงเป็นเลิศในทุก ๆ ด้าน พระผู้ทรงปรีชายิ่งในทุก ๆ ศาสตร์
2.พระผู้ทรงเป็นเจ้าของทุก ๆ อณูสรรพสิ่งในสากลจักรวาลในฐานะผู้ทรงสร้างและออกแบบสากลจักรวาลทั้งมวล
และบันดาลให้มันดำรงไปภายใต้กฏธรรมชาติที่พระองค์ทรงกำหนด
3.ผู้ที่ไม่มีจุดเริ่มต้น 4.ไม่มีจุดสิ้นสุด 5.พระองค์ผู้ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากกาลเวลา
6.ไม่มีอายุขัย 7. พระองค์ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด
นิพพานคืออะไร?
พระพุทธองค์ทรงตรัสอธิบายว่า นิพพานเป็น ธรรมชาติที่รู้แจ้ง(สัพพัญญู), สภาวะที่แจ่มใส และเป็นสุขอันหมดจด
มีอานุภาพเหนือกว่าสุขทั้งปวง, ไม่จุดเกิด(จุดเริ่มต้น),ไม่มีการเสื่อม, ไม่มีความโศกไม่มีการเจ็บ, ตั้งอยู่
ไม่แปรปรวนมีเสภียรภาพสถาพรไม่มีความตาย(จุดสิ้นสุด) ) และไม่มีที่สุด อมตะนิรันดร์
คราวนี้ลองเอาความหมายของนิพพานและพระเจ้ามาเปรียบเทียบกันดู
นิพพานเป็นธรรมชาติที่รู้แจ้ง(สัพพัญญู) = ข้อ 1. ของศาสนาคริสต์และอิสลาม - พระเจ้าผู้ทรงเป็นเลิศในทุก ๆ ด้าน
และพระผู้ทรงปรีชายิ่งในทุก ๆ ศาสตร์
สภาวะที่แจ่มใส และเป็นสุขอันหมดจด มีอานุภาพเหนือกว่าสุขทั้งปวง = ข้อ 7ของคาสนาคริสต์และอิสลาม
- ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด
ไม่จุดเกิด(จุดเริ่มต้น) = ข้อ 3 ของศาสนาคริสต์และอิสลาม - ผู้ที่ไม่มีจุดเริ่มต้น
ไม่มีการเสื่อม= ข้อ 5+6 ของศาสนาคริสต์และอิสลาม - 5.พระองค์ผู้ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆจากกาลเวลา
6.ไม่มีอายุขัย
ไม่มีความโศก = ข้อ 5 ไม่มีการเจ็บ = ข้อ 5 ตั้งอยู่ ไม่แปรปรวน = ข้อ 5 มีเสภียรภาพสถาพร =ข้อ 5.
( 5.พระองค์ผู้ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากกาลเวลา )
ไม่มีความตาย(จุดสิ้นสุด) = ข้อ 6 (6.ไม่มีอายุขัย)
และไม่มีที่สุด = ข้อ 4 (4.ไม่มีจุดสิ้นสุด) อมตะนิรันดร์ = 4+6 รวมทั้งข้อ 7 และข้ออื่นๆ
...............ส่วนข้อ 2 ของคาสนาคริสต์และอิสลาม คุณต้องรู้ว่า พระเจ้ามีเพียงหนึ่งเดียวคือ
จิตบริสุทธิ์ แต่อายตนะนิพพาน หรือธรรมกายของพระองค์มีเป็นอนันต์ คือ พุทธะที่อยู่ในพวกเราทุกคน
เมื่อ พวกเราอณูพุทธะทั้งหมด เริ่มเล่นเกมส์อัตตาแท้จริงเป็นอนัตตา หรือเกมเวียนว่ายตายเกิด
แล้วก็เข้านิพพานไป จิตบริสุทธิ์ทั้งหมดเป็นพุทธะ เราทั้งหมดร่วมกันสร้างจักรวาลนี้ขึ้นมา แต่การสร้างจักรวาลนี้
เราได้ใช้จิตของเราทำให้ทุกสรรพสิ่งที่เป็นพลังงาน หรือเป็นอนัตตาแข็งตัว(freezing energy)หนาแน่น
ขึ้นเป็น 100 พันๆล้านเท่า สิ่งที่เป็นอนัตตาชัดเจนในตอนก่อนสร้าง เลยมองดูเป็นอนัตตาไม่ชัดเจน
เมื่อจิตเราไปหลงยึดมั่น(อวิชชา)กับมายาลวงที่เราจินตนาการสร้างมันขึ้นมา เราเลยคิดว่ามันเป็นอัตตาหรือสสาร
นักวิทยาศาสตร์ควอนตัมฟิสิกซ์ ซึ่งค้นคว้าหาสิ่งที่เล็กที่สุด ได้ค้นพบแล้วว่า สิ่งที่เล็กที่สุดนั้นคือ ควาร์ค
แต่มันเป็นแค่พลังงาน ไม่มีตัว ไม่มีตน แต่อย่างใด ผมกำลังบอกคุณว่า จักรวาลของเรา ไม่มีสิ่งใด
ที่เป็นตัวเป็นตนเลย ทุกอย่างเป็นทวิภพ ถ้ามองผิวเผิน มันจะเป็นอัตตา ถ้ามองถึงแก่นแท้ที่เล็กที่สุดแล้ว
มันไม่มีอะไรเลย พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องอัตตาของโลกเป็นอุปทาน เป็นมายาลวง เป็นอนัตตา
เป็นความว่าง(สุญญตา)
..............พวกคุณรู้รึเปล่าว่า ควาร์คทั้งหมดในจักรวาล มันมีปัญญาสากลที่ควบคุมมันอยู่ สิ่งนี้ก็คือ จิตจักรวาลหรือพระเจ้า เอาแค่นี้ก่อน ถ้ายาวกว่านี้เดี๋ยวเพื่อนร่วมเว็บก็ไม่อ่าน
อย่าเพิ่งเริ่มด่าผมครับ สงบสติอารมณ์เอาไว้ก่อน หายใจลึกๆ และถอนหายใจ แล้วเริ่มอ่านข้อความของผมช้าๆ ค่อยๆคิดพิจารณาอีกครั้ง แล้วคุณจะรู้ว่าพระเจ้าและนิพพานเป็นเรื่องเดียวกัน |
|
|
|
  |
 |
thammathai
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 35
ที่อยู่ (จังหวัด): สังขตธาตุ
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ค.2008, 8:53 am |
  |
สาธุครับ....ท่านกล่าวดีกล่าวชอบแล้ว  |
|
_________________ เราคือใจที่บริสุทธิ์ |
|
  |
 |
thammathai
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 35
ที่อยู่ (จังหวัด): สังขตธาตุ
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ค.2008, 9:10 am |
  |
เดิมเราคือจิต....ที่บริสุทธิ์
แต่ไร้เดียงสา....ยังเป็นจิตที่โง่
อย่าถามนะว่าจิตเดิมมาจากไหน.....
ถ้ามีที่มาที่ไป....ก็ไม่ใช่จิตเดิม...
จิตเดิมเป็นอมตธาตุ....มันมีอยู่เดิมแล้ว....ไม่มีวันเสื่อมสลาย...
จิต....มีคุณสมบัติในการ....รู้สึก(เวทนา)
จำ(สัญญา)คิดนึก(สังขาร)รับรู้(วิญญาณ)และเพ่งพลัง(อภิชฌา)
เดิมเพียงแค่รู้สึกว่าเราคือจิต
จำได้แค่ว่าเราคือจิต
คิดได้แค่เราคือจิต
รู้ว่าเราคือจิต...
และเพ่งพลังติดต่อจิตอื่นๆว่าเราคือจิต...
คุณสมบัติของจิตมีได้เพียงแค่นั้น...ยกเว้นคิดนึก(สังขาร)
เพราะยังเป็นจิตอวิชชาจึงหลงคิดไปว่าถ้ามีอะไรมากกว่าจิต....จะเป็นอย่างไร...
หลังจากนั้นจึงยาวนานมาก.....เป็นมาเช่นทุกวันนี้หาทางออกจากวงเวียนนี้ไม่ได้....จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นพบปฎิจจสมุปบาท
จึงปลดหว่งโซ่ตรวนหลุด...
รู้ว่าเราคือจิตบริสุทธิ์....และใส่วิชชาลงไป = นิพพาน
นิพพานจึงอยู่พ้นโลกเหนือโลกจึงไม่เป็นอัตตาและอนัตตา |
|
_________________ เราคือใจที่บริสุทธิ์ |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ค.2008, 12:36 pm |
  |
คุณ"thammathai" ครับ
ข้อความของคุณ
" รู้ว่าเราคือจิตบริสุทธิ์....และใส่วิชชาลงไป = นิพพาน
นิพพานจึงอยู่พ้นโลกเหนือโลกจึงไม่เป็นอัตตาและอนัตตา "
ขออนุญาตชี้แนะนะครับ
1 รู้ว่าเราคือจิตบริสุทธิ์ นั้นถูกต้องแล้ว แต่เดิมเราอยู่ในนิพพานอยู่แล้ว แต่พวกเราต้องการ
เรียนรู้ภพภูมิอื่นๆด้วย เราจึงสร้างจักรวาล นรก สวรรค์ และสร้างกฎแห่งปฏิจจสมุปบาทขึ้นมา
2. ในจักรวาลนี้มีความจริงแท้หรือสัจธรรมเพียงอย่างเดียว สิ่งนั้นคือจิตพุทธะ หรือจิตบริสุทธิ์
ส่วน ดวงดาว มนุษย์รวมทั้งมนุษย์ต่างดาร และสรรพสัตว์ แม้แต่สวรรค์นรกพรหมโลก ล้วนเป็นมายาทั้งสิ้น
พระพุทธเจ้าเรียกความไม่จริงเหล่านี้ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
" อัตตา " ที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงในอนัตตลักขณะสูตร หมายถึง สิ่งนั้นต้องเที่ยง ไม่ทุกข์
ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา บังคับให้เป็นไปได้ดังใจ ซึ่งก็คือ อายตนะนิพพาน หรือธรรมกาย
ซึ่งจิตพุทธะหรือจิตบริสุทธิ์ดำรงอยู่ในนั้นชั่วนิรันดร
" อนัตตา " ที่พระพุทธเจ้าหมายถึง คือสิ่งนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวนเป็นธรรมดา ซึ่งก็คือจิตในปฏิจจสมุปบาทหรือจิตไม่บริสุทธิ์
อย่างไรก็ตาม "อัตตา" แท้จริงก็คือ "อนัตตา"ต่างกันก็เพียงระยะเวลาการคงสภาพว่าถาวรหรือไม่ถาวร
เท่านั้น
ถ้าอายตนะนั้นไม่ถาวร (คือ ขันธ์ 5) ก็เรียกว่า อนัตตา ถ้าอายตนะนั้นถาวร ก็เรียกว่า อัตตา
การที่พระพุทธเจ้าใช้ชื่อต่างกัน เพราะศาสนาพราหมณ์เขาเข้าใจผิดเรียกขันธ์ 5 ว่าอัตตา
พระพุทธองค์จึงชี้แจงให้ชัดว่า ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา อายตนะนิพพาน(ธรรมกาย)เป็นอัตตา
ส่วนอัตตาที่ชาวโลกพูดถึงนั้น เป็นอัตตาอุปทาน หรือ อัตตาทิฏฐิ พระพุทธองค์เรียก
อัตตาของโลกที่เป็นอัตตาอุปทาน หรือ อัตตาทิฏฐิว่า "อนัตตา" |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ค.2008, 1:30 pm |
  |
คุณธรรมะไทยครับ
ผมดัดมาจากกระทู้ของผมเรื่อง "อัตตาที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงในอนัตตลักขณสูตร ไม่ใช่อัตตทิฏฐิ หรือ
อัตตวาทุปาทาน"
ก่อนอื่นผมต้องกล่าวถึง สักกายทิฏฐิและอัตตาที่เกิดจากทิฏฐิหรือ
อุปทานเป็นอันดับแรก
จริงๆแล้ว สักกายทิฏฐิ กับ อัตตานุทิฏฐิ ( หรือ อัตตวาทุ
ปาทาน ) คือ ธรรมชาติอย่างเดียวกัน
สักกายทิฏฐิคือ ความยึดมั่นถือมั่นในกาย ว่าเที่ยงแท้ ยังเห็นว่ามีตัว
ตนว่าเป็นกาย มีมวลสาร เป็นตัวให้เห็นอยู่
แต่พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ คือ เห็นชัดรู้ชัด ประจักษ์จิต เห็น
ด้วยจิต เข้าใจด้วยจิตว่า กายนี้ไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้เป็นก้อนเนื้อสสาร
อย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ แต่พระโสดาบันท่านรู้อย่างถ่องแท้ว่า
มนุษย์และสัตว์เกิดจากธาตุ4 มาประชุม แล้วมี วิญญาณครอง ถูก
สมมุติเรียกว่าร่างกาย เมื่อแยกย่อยเหลือแต่อนุภาคมูลฐานแล้ว ก็
จะไม่เห็นว่าเป็นตัวร่างกาย แต่เป็น สิ่งๆ หนึ่งซึ่งเกิดจากสิ่งมูลฐาน
มาประชุมกัน เท่านั้น
ใน 3 ภพ ไม่มีอัตตาอยู่ มีแต่อัตตานุทิฏฐิ หรือ อัตตาของโลก ที่เกิดจากการยึดถือของมนุษย์ สัตว์
เทพ พรหม ฯลฯ ว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา ของเขา
ในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนปัญจวัคคีย์ว่า สิ่งที่จะ
เป็นอัตตาได้ต้องมีลักษณะดังนี้ :
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)นี้จักได้
เป็นอัตตา (มีตัวตน หรือเป็นของตัวตน อย่างแท้จริง) แล้ว
รูป ฯลฯ นี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ (ความเสื่อม ความเจ็บไข้ ความแปรปรวน)
และบุคคลพึงได้(หมายถึง ย่อมบังคับบัญชาได้ตามปรารถนา) ในรูป ฯลฯ ว่า
รูปฯลฯ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูป ฯลฯ ของเราอย่าได้ เป็นอย่าง
นั้นเลย
กล่าวอีกนัยหนึ่ง
" สิ่งใดเที่ยง, ไม่มีทุกข์, ไม่ปรวนแปรเป็นธรรมดา สามารถบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจหวังได้ สิ่งนั้นก็ย่อมเป็น อัตตา "
ดังนั้น กรุณาอย่านำ อัตตทิฏฐิ หรือ อัตตวาทุปาทาน มาเป็น
อัตตาเลยครับ
อัตตาที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงในอนัตตลักขณสูตร ไม่ใช่อัตตาของโลก ที่เป็นอัตตทิฏฐิ หรือ อัตตวาทุปาทาน
มันคนละตัวกันครับ |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ค.2008, 1:40 pm |
  |
คุณธรรมะไทยครับ
สิ่งที่ผมบอกคุณไป สรุปได้อย่างเดียว ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา ส่วนนิพพานเป็นอัตตา ที่ไม่ใช่อัตตาอุปทาน
อัตตาอุปทานนั้นเป็นอัตตาของโลก มีเกิด ก็ต้องมีแก่ เจ็บ และตาย ส่วนอัตตาในนิพพานนั้น ไม่มี
เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีอายตนะในนิพพานเหมือนกัน เรียกว่า อายตนะนิพพาน หรือธรรมกาย
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงพบอายตนะนิพพาน หรือธรรมกาย ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย และทรงสอนทางเข้าไปสู่กายนั้น ซึ่ง ต้องละราคะ โทสะ โมหะให้หมด และไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวกู ของกู |
|
|
|
  |
 |
thammathai
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 35
ที่อยู่ (จังหวัด): สังขตธาตุ
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ค.2008, 3:37 pm |
  |
เรียนคุณพงษ์ศักดิ์ผมเห็นด้วยกับคุณเกือบ 80 เปอร์เซนต์ ขอโมทนาและชมเชยกับคุณด้วยที่แสวงหาความรู้ได้มาดีมาก....สาธุ
มี 2 ประเด็นที่ผมเห็นต่างครับ
1.ข้อความที่คุณกล่าวว่า...
"รู้ว่าเราคือจิตบริสุทธิ์ นั้นถูกต้องแล้ว แต่เดิมเราอยู่ในนิพพานอยู่แล้ว"
ผมมีความเห็นต่างดังนี้ครับ....แต่เดิมเราคือจิตบริสุทธิ์จริง
แต่จิตยังโง่อยู่...ยังมีอวิชชาอยู่ ไม่ได้อยู่ในนิพพานครับ
เมื่อมีวิชชาหรือละอวิชชาเสียได้จิตจะเข้าสู่ภาวะนิพพาน
เพราะถ้าคุณบอกว่าเราอยู่ในนิพพานอยู่แล้ว...ทำไมจึงมาเวียนว่ายตายเกิดสร้างโลก จักรวาลอีกทำไม ... ไม่ใช่เพราะอยากเรียนรู้ครับแต่เพราะอวิชชาต่างหากจึงต้องมาสร้างจักรวาล นรก สวรรค์
2.นิพพานนั้นเป็นภาวะเหนือโลก(เมื่อไรมาเป็นโลกจะมีภาวะคู่เสมอเช่นสุข-ทุกข์ ขาว-ดำ อัตตา-อนัตตา)
เมื่อนิพพานเป็นภาวะเหนือโลก ละโลกทั้งปวงได้ จึงเป็นหนึ่งไม่มีคู่คือไม่ใช่ทั้งอัตตาและอนัตตา
ยินดีที่สนทนาแลกเปลี่ยนกับผู้ทรงความรู้เช่นคุณครับ  |
|
_________________ เราคือใจที่บริสุทธิ์ |
|
  |
 |
thammathai
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 35
ที่อยู่ (จังหวัด): สังขตธาตุ
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ค.2008, 3:41 pm |
  |
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงพบอายตนะนิพพาน หรือธรรมกาย ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย และทรงสอนทางเข้าไปสู่กายนั้น ซึ่ง ต้องละราคะ โทสะ โมหะให้หมด และไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวกู ของกู......
ยังครับคุณพงษ์ศักดิ์...ยังเข้าอายตนะนิพพานไม่ได้
จุดสุดท้ายคือต้องละ อวิชชา ครับ  |
|
_________________ เราคือใจที่บริสุทธิ์ |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ค.2008, 4:29 pm |
  |
คุณ"thammathai" ครับ
ข้อความของคุณ
มี 2 ประเด็นที่ผมเห็นต่างครับ
1.ข้อความที่คุณกล่าวว่า...
"รู้ว่าเราคือจิตบริสุทธิ์ นั้นถูกต้องแล้ว แต่เดิมเราอยู่ในนิพพานอยู่แล้ว"
ผมมีความเห็นต่างดังนี้ครับ....แต่เดิมเราคือจิตบริสุทธิ์จริง
แต่จิตยังโง่อยู่...ยังมีอวิชชาอยู่ ไม่ได้อยู่ในนิพพานครับ
เมื่อมีวิชชาหรือละอวิชชาเสียได้จิตจะเข้าสู่ภาวะนิพพาน
เพราะถ้าคุณบอกว่าเราอยู่ในนิพพานอยู่แล้ว...ทำไมจึงมาเวียนว่ายตายเกิดสร้างโลก จักรวาลอีกทำไม ... ไม่ใช่เพราะอยากเรียนรู้ครับแต่เพราะอวิชชาต่างหากจึงต้องมาสร้างจักรวาล นรก สวรรค์
.....คำตอบของผม ทุกอย่างต้องมีการเปรียบเทียบ เราจะรู้ว่านี่ป็นสีขาว ก็ต้องมีสีอื่นมาเทียบ อย่างน้อย
ก็สีดำ เราจึงจะรู้ว่านี่คือสีขาว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าภาวะนิพพานที่เราเคยอยู่เป็นภาวะที่ดีที่สุดแล้ว เราจะ
รู้ได้ก็ต่อเมื่อต้องมีภพภูมิอื่นเปรียบเทียบให้เห็น เราจึงต้องเวียนว่ายตายเกิดไปใน 3 ภพ 31-33 ภูมิ
กล่าวให้ละเอียดเลยนะครับ พวกเราเกิดมาเพื่อ....
1. เล่นเกมค้นหาตัวเอง ถ้าเราค้นหาตัวเองไม่พบ เราก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏต่อไปไม่มีสิ้นสุด พวกเราก็คือ (อนุ)พุทธะ หรือพระอรหันต์ หรือพุทธบุตร
ศาสนาคริสต์เรียกว่า พระบุตรของพระเจ้า เป็น 1 ใน 3 ของพระเจ้าที่ปรากฏออกมาให้รับรู้
ชาวพุทธเรียกว่าพระรัตนตรัย คริสต์เรียกว่า ตรีกานุภาพ
เมื่อพวกเราค้นหาตัวเองพบแล้ว เราทุกจิตก็จะเข้าถึงความบริสุทธิ์เหมือนเดิมก่อนออกมาเล่นเกม
พูดง่ายๆ พวกเราจะกลับไปเป็นพุทธะ หรือ อรหันต์ หรือ พระบุตรของพระเจ้า หรือ พระเจ้าเหมือนเดิมนั่นเอง
หลวงพ่อฤาษีลิงดำเรียก นิพพานว่า กลับบ้านเก่า
หลวงพ่อสดเทศน์ว่า ช้าเร็วทุกคนก็ต้องเข้านิพพานกันหมด
นั่นเป็นเพราะอะไรล่ะครับ ก็เพราะว่า จิตเดิมของเราทุกจิตเป็นจิตประภัสสร ก็อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่า
พวกเราเคยอยู่ในนิพพานมาแล้วทั้งนั้น พวกเราเพียงแต่ออกมาเล่นเกมค้นหาตัวเองเท่านั้น ใครค้นหาตัวเอง
เจอแล้ว ก็เข้านิพพานไปก่อน ถ้ายังหาตัวเองไม่เจอ ก็ต้องเล่นเกมกันต่อไป
2. พวกเราเกิดมาเพื่อรับรู้สุขทุกข์ในภพภูมิต่างๆทั้ง 31-32 ภูมิ เปรียบเทียบกับความไม่ทุกข์ในนิพพาน
และเปรียบเทียบความสุขและความทุกข์จากการใช้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือขันธ์ 5 ของเรา
รับรู้ความสุขทุกข์จากอายตนะภายใน 6 และภายนอก 6 เมื่อเปรียบเทียบกับ ความไม่ทุกข์หรือความสุขบริสุทธิ์ในนิพพานของเรา
3 พวกเราเกิดมาเพื่อลองใช้สิ่งที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือขันธ์ 5 และสังขาร ที่เป็นสิงที่ไม่อมตะ ลองเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในภพภูมิต่างๆดู เทียบกับการไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย หรือความเป็นอมตะภาวะของเราในนิพพาน |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ค.2008, 4:42 pm |
  |
thammathai พิมพ์ว่า: |
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงพบอายตนะนิพพาน หรือธรรมกาย ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย และทรงสอนทางเข้าไปสู่กายนั้น ซึ่ง ต้องละราคะ โทสะ โมหะให้หมด และไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวกู ของกู......
ยังครับคุณพงษ์ศักดิ์...ยังเข้าอายตนะนิพพานไม่ได้
จุดสุดท้ายคือต้องละ อวิชชา ครับ  |
ละราคะ โทสะ โมหะให้หมด และไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวกู ของกู......เป็นความหมายเดียวกับละอวิชชาครับ |
|
|
|
  |
 |
thammathai
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 35
ที่อยู่ (จังหวัด): สังขตธาตุ
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 9:05 am |
  |
สวัสดีครับคุณพงษ์ศักดิ์ สนทนากันต่อครับ
คุณพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า.....
....."คำตอบของผม ทุกอย่างต้องมีการเปรียบเทียบ เราจะรู้ว่านี่ป็นสีขาว ก็ต้องมีสีอื่นมาเทียบ อย่างน้อยก็สีดำ เราจึงจะรู้ว่านี่คือสีขาว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าภาวะนิพพานที่เราเคยอยู่เป็นภาวะที่ดีที่สุดแล้ว เราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อต้องมีภพภูมิอื่นเปรียบเทียบให้เห็น"
สังเกตุว่าผมเน้นคำ "จะรู้"
แสดงว่าคุณพงษ์ศักดิ์เห็นด้วยกับผมแล้วใช่ไหมครับว่าก่อนหน้านั้นยังไม่รู้ใช่ไหม....จิตเดิมปภัสสรจริงแต่ไร้เดียงสาคือยังไม่รู้ ยังไม่มีวิชชา(เหมือนเด็กยังไม่ได้เรียนหนังสือ)จึงโง่อยู่
"หลงอยู่ว่าถ้ามีอะไรมากไปกว่าจิต....จะเป็นอย่างไร"
จิตเดิมทุกดวงจึงค่อยๆออกมาเวียนว่ายในวัฎฎะ เมื่อจบปริญญาแล้ว มีวิชชาแล้วรู้แล้วว่าอะไรที่มากไปกว่าจิตมันคือทุกข์ทั้งสิ้น ไม่เอาแล้วโลก จึงกลับมาเป็นจิตเดิมปภัสสสรเช่นเดิม(หรือยิ่งกว่าเพราะมีวิชชากลับมาด้วย) จึงเรียกภาวะนี้ว่า "นิพพาน "
นิพพาน จึงเท่ากับจิตเดิม+วิชชา
(คือจิตรู้แล้ว ไม่หลงโง่มาเกิดแล้ว)
ดังนั้นทุกดวงจิตจะเข้าสู่นิพพานหมด...เห็นด้วยครับ
แต่ระยะเวลายาวนานต่างกัน ต่างกรรม ต่างวาระ....
แต่จิตเดิมที่ยังไม่รู้นั้นไม่ใช่อยู่ในภาวะนิพพาน(จึงโง่มาเกิดอีก)
ขอให้คุณพงษ์ศักดิ์อ่านทำความเข้าใจดีๆแล้วจะข้อความที่คุณแสดงจะไม่ขัดกันเองครับ...
เจริญในธรรม  |
|
_________________ เราคือใจที่บริสุทธิ์ |
|
  |
 |
thammathai
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 35
ที่อยู่ (จังหวัด): สังขตธาตุ
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 9:17 am |
  |
ละราคะ โทสะ โมหะให้หมด และไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวกู ของกู......เป็นความหมายเดียวกับละอวิชชาครับ
(คุณพงษ์ศักดิ์กล่าวไว้)
คงไม่ใช่เช่นนั้นครับ..... คนละอย่างกัน
ถ้าไล่ปฏิจจสมุปบาทแล้วพบว่า ราคะ โทสะ โมหะ คือกิเลสตัณหา
แต่อวิชชานั้นละยากสุดเพราะมันคือต้นกำเนิดของกิเลส
ในสังโยชน์ 10 จะเห็นว่าการละความยึดมั่นในขันธ์ 5(สักกายะทิฎฐิ )
อยู่ในข้อแรกเลย....แต่การละอวิชชาอยู่ข้อสุดท้าย
ท่านต้องละอวิชชาเสียได้ก่อน.....จึงเข้าสู่นิพพานได้
เจริญในธรรม |
|
_________________ เราคือใจที่บริสุทธิ์ |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 11:53 am |
  |
มีเหตุผลดี ชัดเจนดีมากคับพี่
คุยกันแบบนี้ ถึงเรียกว่าคุยกันแบบหาความรู้
สรรเสริญคับ |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 12:38 pm |
  |
อวิชชา คือสาเหตุที่ทำให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ
ราคะ โทสะ โมหะ ดับ ก็เพราะอวิชชาดับ
พระพุทธองค์ตรัสว่า ความสิ้นไปแห่งราคะ โทสะ โมหะอันใด อันนั้นแล คือนิพพาน .... |
|
|
|
  |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 12:57 pm |
  |
ขอถามตามประสาคนไม่รู้จริงครับ
เราจะละอวิชชาด้วยอะไรครับ
 |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 12:58 pm |
  |
รากเหง้าของกิเลสประกอบด้วยอกุศล ๓ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ความโลภ ความโกรธ ความหลง(อวิชชา) จึงเป็นรากเหง้าของกิเลส(อกุศล) ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความทุกข์
ทางจิตใจ โดยมีความหลง(อวิชชา)เป็นหัวหน้าใหญ่ ติดตามด้วยความโลภ และความโกรธตามลำดับ.
การจะดับกิเลสทั้ง ๓ กลุ่มนี้ได้นั้น จำเป็นจะต้องใช้ความรู้และความสามารถในอริยสัจ ๔ (มีวิชชา)เท่านั้น
จึงจะสามารถดับความหลง(ดับอวิชชา) และดับความคิดที่เจือปนด้วยข้อมูลด้านกิเลสได้ตรงประเด็น.
พระพุทธองค์ตรัสว่า:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ......"ภิกขุสูตร ที่ ๒ มหา. สํ. (๓๑-๓๒) |
|
แก้ไขล่าสุดโดย พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เมื่อ 10 ก.ค.2008, 2:32 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 1:29 pm |
  |
คุณ"thammathai"ครับ
ข้อความของคุณ
แสดงว่าคุณพงษ์ศักดิ์เห็นด้วยกับผมแล้วใช่ไหมครับว่าก่อนหน้านั้นยังไม่รู้ใช่ไหม....จิตเดิมปภัสสรจริงแต่ไร้เดียงสาคือยังไม่รู้ ยังไม่มีวิชชา(เหมือนเด็กยังไม่ได้เรียนหนังสือ)จึงโง่อยู่
"หลงอยู่ว่าถ้ามีอะไรมากไปกว่าจิต....จะเป็นอย่างไร"
จิตเดิมทุกดวงจึงค่อยๆออกมาเวียนว่ายในวัฎฎะ เมื่อจบปริญญาแล้ว มีวิชชาแล้วรู้แล้วว่าอะไรที่มากไปกว่าจิตมันคือทุกข์ทั้งสิ้น ไม่เอาแล้วโลก จึงกลับมาเป็นจิตเดิมปภัสสสรเช่นเดิม(หรือยิ่งกว่าเพราะมีวิชชากลับมาด้วย) จึงเรียกภาวะนี้ว่า "นิพพาน "
นิพพาน จึงเท่ากับจิตเดิม+วิชชา
(คือจิตรู้แล้ว ไม่หลงโง่มาเกิดแล้ว)
ดังนั้นทุกดวงจิตจะเข้าสู่นิพพานหมด...เห็นด้วยครับ
แต่ระยะเวลายาวนานต่างกัน ต่างกรรม ต่างวาระ....
แต่จิตเดิมที่ยังไม่รู้นั้นไม่ใช่อยู่ในภาวะนิพพาน(จึงโง่มาเกิดอีก)
ตอบ......จิตเดิมเป็นปภัสสร คือ จิตเดิมอยู่ในนิพพานอยู่แล้ว เราเป็นพุทธะหรือพระเจ้าอยู่แล้ว
ถ้าเราไม่ปล่อยให้กิเลสเข้ามาในจิต เราจะลงไปเกิดไม่ได้ ลงไปรับรู้ความเป็นอยู่ใน 3 ภพไม่ได้ เราจึง
ต้องให้อวิชชาเข้ามาในจิตของเรา เราจึงจะไปใช้ชีวิตอยู่ใน 3 ภพได้ เพื่อเราจะได้เปรียบเทียบกับ
นิพพานของเราได้ว่าอันไหนดีกว่ากัน เราอยู่เป็นนิรันดรอยู่แล้ว เราออกไปใช้ชีวิตใน 3 ภพก่อน
ค่อยกลับเข้านิพพานก็ได้
จิตในปฏิจจสมุปบาทเป็นจิตไม่บริสุทธิ์ เป็นจิตที่ถูกอวิชชาครอบงำ จึงเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ส่วนจิตเดิมแท้ที่เป็นปภัสสร เป็นนิพพานจิต นิพพานจิตเป็นสิ่งที่ไม่มีจุดเกิด จุดเสื่อม จุดดับ ไม่มีความทุกข์
จิตไม่บริสุทธิ์ หรือ จิตในปฏิจจสมุปบาท เป็นปัจจัยให้เกิด สังขตธาตุ คือธาตุที่ต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง
ให้เกิดขึ้น คือ อายตนะที่เป็นขันธ์ 5
จิตเดิมแท้ที่เป็นปภัสสร เป็นนิพพานจิต เป็นอสังขตธาตุ เป็นธาตุที่ไม่ต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง คือ
อายตนะนิพพาน หรือธรรมกาย
พุทธะหรือพระเจ้าก็คือ คุณ และผม และคนอื่นๆ แต่เราไม่ต้องการทรงสภาวะความเป็นพระเจ้าเอาไว้
พวกเราต้องการค้นหาตัวเอง ถ้าไม่พบตนเอง เราก็เวียนว่ายตายเกิดต่อไป ถ้าค้นหาตัวเองเจอ เราก็
กลับไปเป็นพุทธะ(พระเจ้า)ตามเดิม นี่แหละที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำบอกว่า [b]นิพพานคือกลับบ้านเก่า
และหลวงพ่อสดบอกว่า ช้าเร็วพวกเราก็ต้องเข้านิพพานกันหมด[/b] |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 2:03 pm |
  |
คุณ"thammathai"ครับ (ต่อ)
หลวงปู่ดูลย์ อตุโลที่กล่าวไว้ว่า
จิตคือพุทธะ
หมายความว่า
จิตเอง หรือจิตเดิมแท้ๆ ก่อนจะพอกพูนด้วยกิเลส นั่นละที่คือสภาพจิตพุทธะ หรือนิพพาน
หรือ
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้กล่าวไว้
จิตของคนเราเป็นของใสสะอาดมาแต่เดิม เหตุนั้นขัดเกลากิเลสออกหมด
มันจึงเห็นความใสสะอาด จึงเรียก ปภสฺสรมิท จิตฺต |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 2:36 pm |
  |
RARM พิมพ์ว่า: |
ขอถามตามประสาคนไม่รู้จริงครับ
เราจะละอวิชชาด้วยอะไรครับ
 |
สติปัฏฐาน 4 ครับ
เมื่อรู้ก็สักแต่ว่ารู้ เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน อย่าไปคิดปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้น |
|
|
|
  |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 3:10 pm |
  |
และอาการสักแต่ว่า พอจา ขยายความได้ไหมครับ
 |
|
|
|
  |
 |
|