Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ไม่น่าปรารถนาที่มักเกิดกับนักศึกษาธรรมะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 9:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก:
เฉลิมศักดิ์ พิมพ์ว่า:
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกรงว่า พระพุทธศาสนาจะล้มละลายลงไปโดยเร็ว พระองค์จึงได้ให้ตัวเลขควบคุมเอาไว้ พระองค์ท่านทราบเป็นอย่างดีว่า จะมีผู้พูดแสดงพระธรรมออกไปตามชอบใจ พระธรรมของพระองค์นั้นไม่มีผู้ใดคิดค้นขึ้นมาเองได้ มีเหตุผลข้อเท็จจริงในเรื่องของชีวิตจิตใจและความพ้นทุกข์ที่ลึกซึ้งเข้าถึงจิตใจอย่างสุดที่พรรณาได้ ถ้าแสดงธรรมะเอาตามชอบใจแล้ว นอกจากจะไม่ถูกต้องสมบูรณ์ อาจผิดไปอย่างตรงกันข้ามเป็นฟ้ากับดินได้โดยง่าย ในวันข้างหน้าจากเดียรถีย์คือผู้ข้ามไม่ถูกท่า ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อผมได้


คุณเริ่มมั่วแล้ว

ขอหลักฐานอ้างอิงที่พระพุทธเจ้าตรัสเช่นข้างต้นด้วย

รวมถึงที่พระองค์ให้มีตัวเลขควบคุม

ประวัติพระอภิธรรมใครบันทึกยังเป็นปัญหาอยู่เลย


ตรงนี้คุณเฉลิมศักดิ์จะทำเป็นไขสือไม่ตอบไม่ได้

เพราะเป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า

ไม่ใช่พอไม่พอใจอะไรก็ยกคำพูดตนเองขึ้นมาแล้วอ้างว่าเป็นของพระพุทธเจ้า

อย่ามีพฤติกรรมขี้แล้วทิ้ง


เมื่อไหร่คุณจะตอบ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 6:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรัชกาย พิมพ์ว่า:
สาระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ชาวกาลามชน อยู่ที่ทำปัจจุบันนี้เดี๋ยวนี้

ให้ดี เมื่อทำปัจจุบันนี้ดีแล้ว ถ้าโลกหน้ามีหรือไม่มี ฯลฯ

ก็ไม่ต้องกังวลเพราะเป็นผลจากการกระทำในปัจจุบันเป็นเหตุ

ดูท่อนดังกล่าว

ฯลฯ

ในเรื่องความเชื่อทางจริยธรรมเกี่ยวกับเรื่องชาตินี้ ชาติหน้า

ก็มีความในตอนท้ายของสูตรเดียวกันนั้นว่า

“กาลามชนทั้งหลายอริยสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวร

อย่างนี้

มีจิตปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้

มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้

มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้


ย่อมได้ประสบความอุ่นใจ

ถึง 4 ประการ ตั้งแต่ในปัจจุบันนี้แล้ว

ฯลฯ

ถึงตอนนี้พระองค์ก็ยังไม่ได้ยืนยืนตรงไหนว่านรกสวรรค์มีหรือไม่มี

เพียงตรัสแก่พวกเขาว่า ถ้ามี...ก็อุ่นใจ เพราะทำดีในปัจจุบันอนาตต

ก็คงไปดี

ถ้าไม่มี...ก็อุ่นใจว่าในปัจจุบันเราไม่ก่อเวรก่อภัยแก่ผู้ใด ไฉนบาปกรรม

จะตกต้องตัว ผู้ไม่มีเวรแก่ใคร ๆ ฯลฯ


คุณกรัชกาย ทำตนเยี่ยงท่านพุทธทาสอีกแล้วครับ

บางพระสูตรพระพุทธองค์ทรงไม่ตรัสพยากรณ์ ก็มี ( บัวใต้ดิน โปรดไม่ได้แล้ว)

บางพระสูตรก็ทรง ตรัสเป็นกลาง ๆ ให้ผู้ฟังพิจารณาเอง ดังเรื่องความอุ่นใจ ถ้าเชื่อว่า ชาติหน้ามีจริงนี้ ( พอจะโปรดได้ )

บางพระสูตรก็ทรงตรัสพยากรณ์ในเรื่อง ชาตินี้ ชาติหน้า



แต่พฤติกรรมของ ท่านพุทธทาส มักจะกล่าวอ้างพระสูตรที่ แล้วฟันธง พระองค์ไม่ตรัสพยากรณ์ แล้วกล่าวตู่พระพุทธองค์ว่า ไม่สอนเรื่องการเวียนว่าย ตายเกิด และหลักกรรม

พฤติกรรมแบบนี้ จึงถ่ายทอดมาสู่ผู้ที่ศึกษางานของท่านเพียงอย่างเดียว

-------------------------------------------------------


พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์

543 อนาคตของคนจิตเศร้าหมองและผ่องใส
http://84000.org/true/543.html

----------------------------------------------------------------
021 มนุษย์ไปเกิดเป็นสัตว์ได้
http://www.84000.org/true/021.html
-------------------------------------------------------
073 คนเกิดเป็นสัตว์ได้
http://www.84000.org/true/073.html
------------------------------------------------------
074 คนพาลเกิดเป็นมนุษย์ได้ยาก
http://www.84000.org/true/074.html
------------------------------------------------------
072 นรกมีจริงหรือ
http://84000.org/true/072.html
---------------------------------------------------
495 ตรัสว่าคนตายแล้วเกิดจริง
http://www.84000.org/true/495.html
----------------------------------------------------
526 พระพุทธองค์ทรงรับรองการตายแล้วเกิด
http://www.84000.org/true/526.html
-----------------------------------------------------
061 เหตุให้เชื่อชาติหน้า
http://www.84000.org/true/061.html
--------------------------------------------------------
037 โลกหน้ามีจริงหรือไม่
http://www.84000.org/true/037.html
-----------------------------------------------------------
166 เหตุให้เกิดในภพ
http://www.84000.org/true/166.html
------------------------------------------------------------
046 พุทธทำนาย
http://www.84000.org/true/046.html
-------------------------------------------------------------

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

อารมณ์ของสัตว์ที่มรณะ
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/083.htm
--------------------------------------------------
กรรมอารมณ์
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/084.htm
-------------------------------------------------------
กรรมนิมิตอารมณ์
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/085.htm

-----------------------------------------------------------
คตินิมิตอารมณ์
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/086.htm

-----------------------------------------------------------
จากหนังสือ พุทธธรรม

กาลามชนทั้งหลาย เป็นการสมควรที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลง
สมควรที่จะสงสัย ความเคลือบแคลงสงสัยของพวกท่านเกิดขึ้นในฐานะ
กาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
- อย่าปลงใจเชื่อ โดยการฟัง (เรียน) ตามกันมา (อนุสสวะ)
- อย่าปลงใจเชื่อ โดยการถือสืบๆ กันมา (ปรัมปรา)
- อย่าปลงใจเชื่อ โดยการเล่าลือ (อิติกิรา)
- อย่าปลงใจเชื่อ โดยการอ้างตำรา (ปิฏกสัมปทาน)
- อย่าปลงใจเชื่อ โดยตรรก (ตักกะ)
- อย่าปลงใจเชื่อ โดยการอนุมาน (นยะ)
- อย่าปลงใจเชื่อ โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (อาการปริวิตักกะ)
- อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน (ทิฏฐินิชฌานักขันติ)
- อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ (ภัพพรูปตา)
- อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (สมโณ
โน ครูติ)
เมื่อใด ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรม
เหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้วิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครยึดถือปฏิบัติ
ถ้วนถึงแล้ว จะเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น
ท่านทั้งหลายพึงละเสีย ฯลฯ
เมื่อใด ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรม
เหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครยึดถือ
ปฏิบัติถ้วนถึงแล้ว จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น
ท่านทั้งหลายพึงถือปฏิบัติบำเพ็ญ (ธรรมเหล่านั้น)
ในกรณีที่ผู้ฟังยังไม่รู้ไม่เข้าใจและยังไม่มีความเชื่อในเรื่องใดๆ ก็ไม่
ทรงชักจูงความเชื่อ เป็นแต่ทรงสอนให้พิจารณาตัดสินเอาตามเหตุผลที่เขา
เห็นได้ด้วยตนเอง เช่น ในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับชาตินี้ชาติหน้าในแง่จริย-
ธรรม ก็มีความในตอนท้ายของสูตรเดียวกันนั้นว่า
กาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวรอย่างนี้ มีจิต
ปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิต
บริสุทธิ์อย่างนี้ ย่อมได้ประสบความอุ่นใจถึง ๔ ประการ ตั้งแต่ใน
ปัจจุบันนี้แล้ว คือ
ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วมีจริง การที่ว่า
เมื่อเราแตกกายทำลายขันธ์ไปแล้ว จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็ย่อมเป็น
สิ่งที่เป็นไปได้ นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๑ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วไม่มี เราก็ครอง
ตนอยู่ โดยไม่มีทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขอยู่แต่ในชาติ
ปัจจุบันนี้แล้ว นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๒ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าเมื่อคนทำความชั่วก็เป็นอันทำไซร้ เรามิได้คิดการชั่วร้ายต่อ
ใครๆ ที่ไหนทุกข์จักมาถูกต้องเราผู้มิได้ทำบาปกรรมเล่า นี้เป็นความอุ่น
ใจประการที่ ๓ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าเมื่อคนทำความชั่ว ก็ไม่ชื่อว่าเป็นอันทำไซร้ ในกรณีนี้ เราก็มอง
เห็นตนเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งสองด้าน นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๔ ที่เขาได้รับ


สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้นับถือในลัทธิศาสนาหรือหลักคำสอนใดๆ พระองค์
จะตรัสธรรมเป็นกลางๆ เป็นการเสนอแนะความจริงให้เขาคิด ด้วยความ
ปรารถนาดี เพื่อประโยชน์แก่ตัวเขาเอง โดยมิต้องคำนึงว่าหลักธรรมนั้นเป็น
ของผู้ใด โดยให้เขาเป็นตัวของเขาเอง ไม่มีการชักจูงให้เขาเชื่อหรือเลื่อมใส
ต่อพระองค์ หรือเข้ามาสู่อะไรสักอย่างที่อาจจะเรียกว่าศาสนาของพระองค์
พึงสังเกตด้วยว่า จะไม่ทรงอ้างพระองค์ หรืออ้างอำนาจเหนือธรรม
ชาติพิเศษอันใด เป็นเครื่องยืนยันคำสอนของพระองค์ นอกจากเหตุผลและ
ข้อเท็จจริงที่ให้เขาพิจารณาเห็นด้วยปัญญาของเขาเอง เช่น เรื่องใน
อปัณณกสูตร ซึ่งแสดงให้เห็นเหตุผลที่ควรประพฤติธรรม โดยไม่ต้องใช้วิธี
ขู่ด้วยการลงโทษและล่อด้วยการให้รางวัล

--------------------------------------------------------------------

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๔๙๓๐ - ๕๐๙๒. หน้าที่ ๒๑๒ - ๒๑๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=4930&Z=5092&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=505

----------------------------------------------------------------------------------



หรือตอนนี้ ชาวไทยเราส่วนใหญ่ จะเป็นดั่งกาลามชนแล้ว ที่ยังไม่นับถือศาสนาใด ที่ยังไม่เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา

เชื่อแต่ใน ความเห็นส่วนตัว (อัตตโนมติ) และ อาจาริยวาท อย่างท่านพุทธทาส เป็นต้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 8:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
จากหนังสือ พุทธธรรม

กาลามชนทั้งหลาย เป็นการสมควรที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลง
สมควรที่จะสงสัย ความเคลือบแคลงสงสัยของพวกท่านเกิดขึ้นในฐานะ
กาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย


ไหนๆนำมาจากหนังสือพุทธธรรมแล้ว น่าจะนำมาตั้งแต่เริ่มต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 8:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณกรัชกาย ทำตนเยี่ยงท่านพุทธทาสอีกแล้วครับ


คุณเฉลิมศักดิ์ครับ ยิ้ม

ถ้าคุณทำความเข้าใจพุทธพจน์นั้นดีดี แล้วจะไม่ฟุ้งซ่านเรื่องนรกสวรรค์

อย่างที่คุณจินตนาการนั้นเลย

พิจารณาสารัตถะที่สอนแก่กาลามชนอีกครั้ง


อริยสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวร อย่างนี้

มีจิตปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้

มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้

มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้


หากคุณปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธศาสนาจนมีจิตบริสุทธิ์แล้ว

ความวิตกกังวลต่อโลกหน้าจะหมดไปทันที

ทำปัจจุบันขณะเดี๋ยวนี้ให้ได้ตามนั้น แล้วจะไม่หวั่นต่อโลกหน้าเลย

มันมีหรือไม่มี ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย


เรื่องนรกสวรรค์เขายกขึ้นถกเถียงกันก่อนพุทธกาลด้วยซ้ำ

จนป่านนี้ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่ามีหรือไม่มี

เพราะฉะนั้นพุทธพจน์ที่ชี้แนวทางปฏิบัติแก่ชาวกาลามะนี่ล่ะทันสมัยที่สุด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 8:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
หรือตอนนี้ ชาวไทยเราส่วนใหญ่ จะเป็นดั่งกาลามชนแล้ว ที่ยังไม่นับถือศาสนาใด ที่ยังไม่เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา



คุณคิดมุมนั้นแต่กรัชกายคิดมุมนี้

เราเป็นชาวพุทธนับถือคำสอนของพระพุทธเจ้านี่หล่ะ แต่คำสอน

ของพุทธะมีมากมาย (คุณบอกเองว่า เด๋วอาจารย์นั้นๆตีพิมพ์เสริมออก

มาอีก) ทั้งโลกียธรรมและโลกุตรธรรม

โลกียธรรมยังจำแนกแจกแจงแต่ออกไปอีกมากมาย

ชีวิตนี้สั้นนัก ทำไมเราไม่เลือกเอาคำสอนที่สมแก่ชีวิตมนุษย์แล้ว

ปฏิบัติตาม

เช่นที่ว่า

อ้างอิงจาก:
อริยสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวร อย่างนี้
มีจิตปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้
มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้
มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 10:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เฉลิมศักดิ์1 พิมพ์ว่า:

เชื่อแต่ใน ความเห็นส่วนตัว (อัตตโนมติ) และ อาจาริยวาท อย่างท่านพุทธทาส เป็นต้น


- บังเอิญผมอยู่ในนิกายที่ชื่อว่า เถรวาท
มาจาก เถระ + วาทะ


-ส่วนเรื่องของท่านพุทธทาส ดูเหมือนว่าคุณเฉลิมศักดิ์จะไม่ใครสนใจตอบประเด็นใครเท่าไหร่

เหมือนอยากมาพูดอย่างเดียวมากกว่า
ประมาณแก้วน้ำที่มันเอ่อล้นตลอดเวลา ไม่มีที่ว่างเหลือ
ถึงคุยด้วยก็เท่านั้น

(จริงไหมคับคุณ mes)
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 3:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณคามินธรรม

ใช่ครับ

ผมตั้งคำถามไว้ไม่ตอบผมเลย

ไม่มีประโยชน์ที่จะคุยกันด้วยเหตุและผล

ที่โกหก เอาไว้ก็ไม่ชี้แจง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 3:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องนรกสวรรค์ มีจริงแท้แน่นอน แม้กระทั่ง พระพุทธองค์ยังทรงอนุญาต ให้พระโมคคัลนะเหาะไปสวรรค์ เพื่อนำมาเป็นพยานว่า ตายไปแล้วสู่สุคติอย่างไร

ถ้าจะถกปัญหาควรออกจากตัวบุคคล แต่ควรเข้าสู่การถกธรรมว่า จริงหรือไม่อย่างไร
ท่านพระพุทธทาส ส่วนดีของท่านก็มีมากมาย เราจึงไม่ควรนำตัวท่านมาทำลายคุณงามความดีของท่าน คือ ท่านเผยแพร่ ปรมัตธรรม ออกสู่สังคมอย่างง่าย
แต่ทีนี้ เมื่อ เผยแพร่ปรมัตธรรมแล้ว สรรพสิ่งทั้งปวงก็ไม่มีอะไร ท่านจึงบอกว่า นรกสวรรค์ไม่มี ให้หาทุกข์ที่ปัจจุบันแทน

ทั้งนี้ ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ท่านพระพุทธทาส เป็น สุขวิปัสโก ย่อมไม่ีมีตาทิพย์ ที่เห็น นรกสวรรค์
อีกทั้ง ผมคาดว่า ท่านน่าจะยังไม่เข้าสู่ อรหัตตมรรค อรหัตตผล จึงไม่สามารถเปิดจิตให้เห็น นรกสวรรค์ ตามโลกียธรรมอันมีอยู้จริง แน่นอน

หลวงตามหาบัวท่านพูดเอาไว้เสมอว่า นรกสวรรค์ นี้มีแน่นอน คนตาบอดก็บอกว่าไม่มี คนตาดีมองเห็นจึงจะบอกว่ามี พระพุทธเจ้า บอกไว้แล้วว่ามี

สำหรับ การทำลาย พระอภิธรรม นั้นเป็นคำพูดในสไตล์ของท่านพระพุทธทาสอยู่แล้ว คือ พูดเพื่อให้คิดว่า ไม่ควรสนใจแต่อภิธรรม เพราะอภิธรรมนี้เป็น ขั้นที่ พระอรหันต์ เท่านั้นที่จะเข้าใจและเห็นจริงตามนั้น
แต่ไม่ได้หมายถึงให้ ทำลาย หรือ เรียกร้องให้ เอาพระอภิธรรมออกไป
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 8:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณขันธ์ วางธรรมได้อย่างแม่นยำเหมาะสมดีแท้

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 5:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ mes ครับ เรื่องจำนวนตัวเลข ที่ควบคุมองค์ธรรมนั้น เช่น จิต และเจตสิก เป็นการนับองค์ธรรมและรวบรวมจาก พระอภิธรรมปิฏก


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=34&item=17

จิตตุปปาทกัณฑ์
กุศลธรรม
กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๑
บทภาชนีย์
[๑๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส ๑- สัมปยุตด้วยญาณ ๒- มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียง
เป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์
หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัส
สินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภ อโทสะ
อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ (สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ
กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล


-----------------------------------------------------------
ซึ่งใน พระอภิธัมมัตถสังคหะ ก็ได้ย่อลงเพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจง่ายขึ้น

มีการอธิบายประเภทจิตต่าง ๆ มีกี่ประเภท

http://abhidhamonline.org/aphi/p1/006.htm

http://abhidhamonline.org/aphi/p1/008.htm


mes พิมพ์ว่า:
อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก:
เฉลิมศักดิ์ พิมพ์ว่า:
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกรงว่า พระพุทธศาสนาจะล้มละลายลงไปโดยเร็ว พระองค์จึงได้ให้ตัวเลขควบคุมเอาไว้ พระองค์ท่านทราบเป็นอย่างดีว่า จะมีผู้พูดแสดงพระธรรมออกไปตามชอบใจ พระธรรมของพระองค์นั้นไม่มีผู้ใดคิดค้นขึ้นมาเองได้ มีเหตุผลข้อเท็จจริงในเรื่องของชีวิตจิตใจและความพ้นทุกข์ที่ลึกซึ้งเข้าถึงจิตใจอย่างสุดที่พรรณาได้ ถ้าแสดงธรรมะเอาตามชอบใจแล้ว นอกจากจะไม่ถูกต้องสมบูรณ์ อาจผิดไปอย่างตรงกันข้ามเป็นฟ้ากับดินได้โดยง่าย ในวันข้างหน้าจากเดียรถีย์คือผู้ข้ามไม่ถูกท่า ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อผมได้


คุณเริ่มมั่วแล้ว

ขอหลักฐานอ้างอิงที่พระพุทธเจ้าตรัสเช่นข้างต้นด้วย

รวมถึงที่พระองค์ให้มีตัวเลขควบคุม

ประวัติพระอภิธรรมใครบันทึกยังเป็นปัญหาอยู่เลย


ตรงนี้คุณเฉลิมศักดิ์จะทำเป็นไขสือไม่ตอบไม่ได้

เพราะเป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า

ไม่ใช่พอไม่พอใจอะไรก็ยกคำพูดตนเองขึ้นมาแล้วอ้างว่าเป็นของพระพุทธเจ้า

อย่ามีพฤติกรรมขี้แล้วทิ้ง


เมื่อไหร่คุณจะตอบ



ต่างจากท่านพุทธทาสอ้างแต่เรื่องจิตว่าง ไม่มีตัวกูของกู อธิบายตามใจชอบ แบบง่าย ๆ

เรื่องการแบ่งจิต เจตสิก รูป เป็นประเภทต่าง ๆ ( มีตัวเลขกำกับ) ท่านพุทธทาสศึกษาเข้าไปไม่ไหวครับ ท่านบอกมันเยอะเกินไป ฟั่นเฝือเปล่า ๆ จำไปก็ปวดหัว เป็นทุกข์

ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้ท่านไม่ยอมรับ พระอภิธรรม เพราะศึกษาแล้วต้องมานั่งจำตัวเลข ทำให้เกิดปวดหัว เกิดทุกข์ ( อ่านจากอภิธรรมคืออะไร)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 4:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เฉลิมศักดิ์ พิมพ์ว่า:
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกรงว่า พระพุทธศาสนาจะล้มละลายลงไปโดยเร็ว พระองค์จึงได้ให้ตัวเลขควบคุมเอาไว้


ขอหลักฐานอ้างอิง

อย่ามั่ว

คุณพยายามมั่ว


บอกมาว่าอยู่ตรงไหนของพระไตรปิฎก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 4:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเฉลิมศักดิ์

กรุณาอย่าโกหกในเวปธรรมะ


อ้างอิงจาก:
ต่างจากท่านพุทธทาสอ้างแต่เรื่องจิตว่าง ไม่มีตัวกูของกู อธิบายตามใจชอบ แบบง่าย ๆ

เรื่องการแบ่งจิต เจตสิก รูป เป็นประเภทต่าง ๆ ( มีตัวเลขกำกับ) ท่านพุทธทาสศึกษาเข้าไปไม่ไหวครับ ท่านบอกมันเยอะเกินไป ฟั่นเฝือเปล่า ๆ จำไปก็ปวดหัว เป็นทุกข์

ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้ท่านไม่ยอมรับ พระอภิธรรม เพราะศึกษาแล้วต้องมานั่งจำตัวเลข ทำให้เกิดปวดหัว เกิดทุกข์ ( อ่านจากอภิธรรมคืออะไร)




คุณตอบแทนท่านพุทธทาสได้อย่างไร
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 5:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

mes พิมพ์ว่า:


อ้างอิงจาก:
ต่างจากท่านพุทธทาสอ้างแต่เรื่องจิตว่าง ไม่มีตัวกูของกู อธิบายตามใจชอบ แบบง่าย ๆ

เรื่องการแบ่งจิต เจตสิก รูป เป็นประเภทต่าง ๆ ( มีตัวเลขกำกับ) ท่านพุทธทาสศึกษาเข้าไปไม่ไหวครับ ท่านบอกมันเยอะเกินไป ฟั่นเฝือเปล่า ๆ จำไปก็ปวดหัว เป็นทุกข์

ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้ท่านไม่ยอมรับ พระอภิธรรม เพราะศึกษาแล้วต้องมานั่งจำตัวเลข ทำให้เกิดปวดหัว เกิดทุกข์ ( อ่านจากอภิธรรมคืออะไร)




คุณตอบแทนท่านพุทธทาสได้อย่างไร



ก็ท่านพุทธทาสได้แสดงความเห็นไว้ในหนังสือ อภิธรรมคืออะไร ดังนี้ครับ

อ้างอิงจาก:
หน้า ๙๘

อภิธรรมไม่ใช่พุทธวจนะ โดยเฉพาะพระอภิธรรมปิฏกทำให้ยากแก่การเรียน ทำให้ลำบาก ทำให้เวียนหัว ทำให้เป็นบ้าไปก็มี ทำให้เรื่องมากจนเกิดทุกข์ จึงถือว่ามันทำให้เป็นไปเพื่อความทุกข์

หน้า ๑๐๕
ในยุคหนึ่ง สมัยหนึ่งนี้ อภิธรรมปิฏกนี้เป็นกัญชา ติดกันจนตาปรือ คุยเรื่องอื่นไม่เป็น คุยแต่เรื่องกัญชานี้ทั้งนั้น แต่นั่นมันพ้นสมัยแล้ว เดี๋ยวนี้มันเป็นอภิธรรมปรมาณู ไม่ใช่อภิธรรมกัญชา ; เลิกอภิธรรมกัญชาเสียบ้าง. อภิธรรมนี้จัดไว้เป็นอุตริมนุสสธรรม คือเกินหรือยิ่งเหมือนกัน ; แต่ว่ามันเกินหรือยิ่งในฝ่ายปริยัติ ไม่ได้เกินหรือยิ่งในฝ่ายปฏิบัติ. อภิธรรมเป็นของยิ่งของเกินเป็นอุตริมนุสสธรรมสูงสุด แต่มันเป็นไปในทางฝ่ายปริยัติไม่ใช่ฝ่ายปฏิบัติ



คุณ mes ครับ ต้องขอโทษด้วยนะครับ ที่ผมไม่ได้คัดลอกความเห็นของท่านพุทธทาสที่ดูหมิ่นพระอภิธรรมมาได้ทั้งหมด คัดลอกมาบางส่วนเท่านั้น


อ้างอิงจาก:
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกรงว่า พระพุทธศาสนาจะล้มละลายลงไปโดยเร็ว พระองค์จึงได้ให้ตัวเลขควบคุมเอาไว้


ขอหลักฐานอ้างอิง

อย่ามั่ว

คุณพยายามมั่ว

บอกมาว่าอยู่ตรงไหนของพระไตรปิฎก


คุณ mes ครับ ตามความเข้าใจของผม ในพระอภิธรรมปิฏก ที่กล่าวถึงเรื่อง จิต เจตสิก รูป จะมีจำนวนตัวเลข กำกับจำนวนที่แน่นอน พร้อมองค์ธรรมที่ประกอบ

แล้วมาย่อใน พระอภิธัมมัตถสังคหะ เพื่อง่ายต่อการศึกษาพระอภิธรรมปิฏก ( เป็นการยากที่จะศึกษาพระอภิธรรมปิฏก โดยตรง โดยไม่ศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะก่อน )


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๕๙๘ - ๘๔๗. หน้าที่ ๒๘ - ๓๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=598&Z=847&pagebreak=0
อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=17&book=34&bookZ=&pagebreak=0&mode=[]
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๔



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์ธรรมสังคณีปกรณ์
มาติกา
ติกมาติกา ๒๒ ติกะ
ทุกมาติกา ๑๔๒ ทุกะ
อภิธรรมมาติกา ๑๐๐ ทุกะ
เหตุโคจฉกะ
จูฬันตรทุกะ
อาสวโคจฉกะ
สัญโญชนโคจฉกะ
คันถโคจฉกะ
โอฆโคจฉกะ
โยคโคจฉกะ
นีวรณโคจฉกะ
ปรามาสโคจฉกะ
มหันตรทุกะ
อุปาทานโคจฉกะ
กิเลสโคจฉกะ
ปิฏฐิทุกะ
สุตตันตมาติกา ๔๒ ทุกะ
จิตตุปปาทกัณฑ์
กุศลธรรม
กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๑
บทภาชนีย์
โกฏฐาสวาร
สุญญตวาร
จิตดวงที่ ๒
จิตดวงที่ ๓
จิตดวงที่ ๔
จิตดวงที่ ๕
จิตดวงที่ ๖
จิตดวงที่ ๗
จิตดวงที่ ๘
รูปาวจรกุศล กสิณ ฌาน
จตุกกนัย
ปัญจกนัย
ปฏิปทา ๔
อารมณ์ ๔
แจกฌานอย่างละ ๑๖

-------------------------------------------------------------


พระอภิธัมมัตถสังคหะ ก็ได้ย่อลงเพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจง่ายขึ้น

มีการอธิบายประเภทจิตต่าง ๆ มีกี่ประเภท

http://abhidhamonline.org/aphi/p1/006.htm

http://abhidhamonline.org/aphi/p1/008.htm
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 5:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ประวัติพระอภิธรรมใครบันทึกยังเป็นปัญหาอยู่เลย


ตรงนี้คุณเฉลิมศักดิ์จะทำเป็นไขสือไม่ตอบไม่ได้

เพราะเป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า

ไม่ใช่พอไม่พอใจอะไรก็ยกคำพูดตนเองขึ้นมาแล้วอ้างว่าเป็นของพระพุทธเจ้า



ประวัติพระอภิธรรม ก็เป็นปัญหากับท่านพุทธทาส และผู้ที่เชื่อตามท่าน จึงได้กล่าวตู่และวิจารณ์ พระอภิธรรมปิฏก

คำวิจารณ์ของท่านพุทธทาสต่อ พุทธวิสัย
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2007/04/Y5330962/Y5330962.html

สาธุ ประวัติพระอภิธรรม สาธุ


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14797&start=0&postdays=0&postorder=asc&highlight=&sid=3e44281e212d5acd9043c171b5fad520
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 3:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกรงว่า พระพุทธศาสนาจะล้มละลายลงไปโดยเร็ว พระองค์จึงได้ให้ตัวเลขควบคุมเอาไว้


เป็นไปไม่ได้ที่พระพุทธเจ้าทรงให้ตัวเลขควบคุม

เพราะพระไตรปิฎกเกิดขึ้นหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานหลายร้อย หรือ พันปี

ถามว่าอยู่ตรงไหนของพระไตรปิฎก

ถ้าพูดเอาเองก็ขออภัยผู้อ่านเสีย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 12:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๕๙๘ - ๘๔๗. หน้าที่ ๒๘ - ๓๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=598&Z=847&pagebreak=0
อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=17&book=34&bookZ=&pagebreak=0&mode=[]
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๔



จิตดวงที่ ๑
บทภาชนีย์
โกฏฐาสวาร
สุญญตวาร
จิตดวงที่ ๒
จิตดวงที่ ๓
จิตดวงที่ ๔
จิตดวงที่ ๕
จิตดวงที่ ๖
จิตดวงที่ ๗
จิตดวงที่ ๘
รูปาวจรกุศล กสิณ ฌาน
จตุกกนัย
ปัญจกนัย
ปฏิปทา ๔
อารมณ์ ๔
แจกฌานอย่างละ ๑๖




คุณ mes ครับ ผมถือว่าพระอภิธรรมปิฏก มีตัวเลขควบคุมกำกับไว้ครับ

ส่วนท่านพุทธทาสและคุณ mes จะคิดอย่างไรก็ได้ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 4:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก:
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกรงว่า พระพุทธศาสนาจะล้มละลายลงไปโดยเร็ว พระองค์จึงได้ให้ตัวเลขควบคุมเอาไว้



ไหนคุณบอกว่าพระพุทธเจ้าจึงได้ให้ตัวเลขควบคุม

ผมถึงบอกว่าคุณโกหก

คุณจะตลบแตลงพลิกลิ้นมากล่าวหาผู้อื่นอย่างนี้ไม่ได้

ต้องมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองกระทำลงไป

คุณกระทำผิดแล้วสำนึกให้อภัยกันได้

แต่นี่กระทำผิดแล้วยังไม่สำนึก

ทางพระพุทธศาสนาเรียกโมฆะบุรุษ

อ้างอิงจาก:
[๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษใน
โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะ
อัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 11:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เฉลิมศักดิ์1 พิมพ์ว่า:
และอีกอย่าง อรรถกถาจารย์ท่านแยกการปฏิบัติออกเป็น สมถะยานิกะ และ วิปัสสนายานิกะ


ซึ่งตรงจุดนี้ท่านพุทธทาส ไม่เคยอธิบายไว้เลย ท่านอาจจะเข้าใจผิดว่า สมถะ และ วิปัสสนา คือสิ่งเดียวกัน

ทำให้คนหลงผิดมามากแล้วครับ

นั่งหลับตานึกแต่ว่า ไม่มีตัวกู ของกู แต่เข้าใจว่ากำลังทำวิปัสสนาอยู่



คุณเฉลิมศักดิ์อ่านด้วย



สมาธิเบื้องต้น (อานาปานัสสติ)
สำหรับคนทั่วไปอย่างง่าย

พระธรรมเทศนาโดย พระธรรมโกศาจารย์
(ท่านเจ้าประคุณพุทธทาส อินทปัญโญ)


ในกรณีปกติให้นั่งตัวตรง (ข้อกระดูกสันหลังจรดกันสนิทเต็มหน้าตัดของมันทุกๆ ข้อ)

๑. ศรีษะตั้งตรงตามองไปที่ปลายจมูกให้อย่างยิ่งจนไม่เห็นสิ่งอื่น จะเห็นอะไร หรือไม่เห็นก็ตามใจ ขอให้จ้องมองเท่านั้น พอชินเข้าจะได้ผลดีกว่าหลับตา และไม่ชวนให้ง่วงนอนได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะคนขี้ง่วงให้ทำอย่างลืมตานี้แทนหลับตา ทำไปเรื่อยๆ ตามันจะหลับของมันเอง ในเมื่อถึงขั้นที่มันจะต้องหลับ หรือจะหัดทำอย่างหลับตาเสียตั้งแต่ต้นก็ตามใจ แต่วิธีที่ลืมตานั้นจะมีผลดีกว่าหลายอย่าง แต่ว่าสำหรับบางคนรู้สึกว่าทำยาก โดยเฉพาะพวกที่ยึดถือในการหลับตา ย่อมไม่สามารถทำอย่างลืมตาได้เลย

๒. มือปล่อยวางไว้บนตักซ้อนกันตามสบาย ขาขัดหรือซ้อนกันโดยวิธีที่จะช่วยยันน้ำหนักตัว ให้นั่งได้ถนัดและล้มยาก ขาขัดอย่างซ้อนกันธรรมดาหรือจะขัดไขว้กันนั่นแล้วแต่จะชอบหรือทำได้ คนอ้วนจะขัดขาไขว่กันอย่างที่เรียกว่า ขัดสมาธิเพชรนั้น ทำได้ยากและไม่จำเป็น ขอแต่ให้นั่งคู้ขาเข้ามา เพื่อรับน้ำหนักตัวให้สมดุลล้มยากก็พอแล้ว ขัดสมาธิอย่างเอาจริงเอาจังยากๆ แบบต่างๆ นั้นไว้สำหรับเมื่อจะเอาจริงอย่างโยคีเถิด

๓. ในกรณีพิเศษสำหรับคนป่วยคนไม่ค่อยสบายหรือแม้แต่คนเหนื่อย จะนั่งอิงหรือนั่งเก้าอี้ หรือเก้าอี้ผ้าใบสำหรับเอนทอดเล็กน้อย หรือนอนเลยสำหรับคนเจ็บไข้ก็ทำได้ ทำในที่ไม่อับอากาศ หายใจได้สบายไม่มีอะไรกวนจนเกินไป

๔. เสียงอึกทึกที่ดังสม่ำเสมอ และไม่มีความหมายอะไร เช่น เสียงคลื่น เสียงโรงงานเหล่านี้ไม่เป็นอุปสรรคเว้นแต่จะไปยึดถือว่าเป็นอุปสรรคเสียเอง เสียงที่มีความหมายต่างๆ เช่น เสียงคนพูดกันนั้น เป็นอุปสรรคแก่ผู้หัดทำ ถ้าหาที่เงียบเสียงไม่ได้ ก็ให้ถือว่าไม่มีเสียงอะไร ตั้งใจทำไปก็แล้วกัน มันจะค่อยได้เอง

๕. ทั้งที่ตามองเหม่อ ดูปลายจมูกอยู่ก็สามารถรวมความนึกหรือความรู้สึก หรือเรียกาษาวัดว่า สติ ไปกำหนดจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของตัวเองได้ คนที่ชอบหลับตาก็หลับตาแล้วตั้งแต่ตอนนี้ คนชอบลืมตาลืมไปได้เรื่อยๆ จนมันค่อยๆ หลับของมันเองเมื่อเป็นสมาธิมากขึ้นๆ

๖. เพื่อจะให้กำหนดได้ง่ายๆ ในขั้นแรกหัด ให้พยายามหายใจให้ยาวที่สุดที่จะยาวได้ด้วยการฝืนทั้งเข้าและออกหลายๆ ครั้งเสียก่อนเพื่อจะได้รู้ตัวเองให้ชัดเจนว่า ลมหายใจที่มันลากเข้าออกเป็นทางอยู่ภายในนั้น มันลากถูหรือกระทบอะไรบ้าง ในลักษณะอย่างไร และกำหนดได้ง่ายๆ ว่า มันไปรู้สึกว่าสุดลงที่ตรงไหนที่ในท้อง โดยเอาความรู้สึกที่กระเทือนนั้นเป็นเกณฑ์พอเป็นเครื่องกำหนดส่วนสุดข้างใน และส่วนสุดข้างนอก ก็กำหนดง่ายๆ เท่าที่จะกำหนดได้

๗. คนธรรมดาจะรู้สึกลมหายใจกระทบปลายจะงอยจมูก ให้ถือเอาตรงนั้นเป็นที่สุดข้างนอก ถ้าคนจมูกแฟบหน้าหัก ริมฝีปากบนเชิด ลมจะกระทบปลายริมฝีปากบนอย่างนี้ก็ให้กำหนดเอาที่ตรงนั้นว่าเป็นที่สุดท้ายข้างนอกแล้วก็จะได้จุดทั้งข้างนอกและข้างใน โดยกำหนดเอาว่าที่ปลายจมูกจุดหนึ่งที่สะดือจุดหนึ่ง แล้วลมหายใจได้ลากตัวมันเองไปมาอยู่ระหว่างจุดสองจุดนี้ ขึ้นลงอยู่เสมอ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 11:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๘. ทีนี้ทำใจของเราให้เป็นเหมือนอะไรที่คอยวิ่งตามลมนั้นไม่ยอมพรากทุกครั้งที่หายใจทั้งขึ้นและลงตลอดเวลาที่ทำสมาธินี้ จัดเป็นชั้นหนึ่งของการกระทำ เรียกกันง่ายๆ ในที่นี้ก่อนว่า ขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” กล่าวมาแล้วว่าเริ่มต้นที่เดียวให้พยายามฝืนหายใจให้ยาวที่สุดและให้แรงๆ และหยาบที่สุดหลายๆ ครั้งเพื่อให้พบจุดหัวท้าย แล้วพบเส้นที่ลากอยู่ตรงกลางๆ ให้ชัดเจน

๙. เมื่อจิตหรือสติจับหรือกำหนดตัวลมหายใจที่เข้าๆ ออกๆ ได้โดยทำความรู้สึกที่ๆ ลมมันกระทบลากไป แล้วไปสุดลงที่ตรงไหน แล้วจึงกลับเข้าหรือกลับออกก็ตามดังนี้แล้ว ก็ค่อยๆ ผ่อนให้การหายใจนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นหายใจอย่างธรรมดาโดยไม่ต้องฝืน แต่สตินั้นคงกำหนดที่ลมได้ตลอดเวลาตลอดสาย เช่นเดียวกับเมื่อแกล้งหายใจหยาบแรงๆ นั้นเหมือนกัน คือกำหนดได้ตลอดสายที่ลมผ่านจากจุดข้างในคือสะดือหรือท้องส่วนล่าง ก็ตามถึงจุดข้างนอกคือปลายจมูก หรือปลายริมฝีปากบนแล้วแต่กรณี ลมหายใจจะละเอียดหรือแผ่วลงอย่างไร สติก็คงกำหนดได้ชัดเจนอยู่เสมอไปโดยให้การกำหนดนั้นละเอียดเข้าตามส่วน

๑๐. ถ้าเผอิญเป็นว่าเกิดกำหนดไม่ได้เพราะลมจะละเอียดเกินไปก็ให้ตั้งต้นหายใจให้หยาบหรือแรงกันใหม่ แม้จะไม่เท่าทีแรกก็เอาพอให้กำหนดได้ชัดเจนก็แล้วกัน กำหนดกันไปใหม่จนให้มีสติรู้สึกอยู่ที่ลมหายใจไม่มีขาดตอนให้จนได้ คือจนกระทั่งกายใจอยู่ตามธรรมดาไม่มีฝืนอะไรก็กำหนดได้ตลอดมันยาวหรือสั้นแค่ไหนก็รู้ มันหนักหรือเบาเพียงไหนก็รู้พร้อมอยู่ในนั้น เพราะสติเพียงแต่คอยเกาะแจอยู่ติดตามไปมาอยู่กับลมตลอดเวลา ทำได้อย่างนี้เรียกว่าทำการบริกรรมในขั้น “วิ่งตามไปกับลม” ได้สำเร็จ

๑๑. การทำไม่สำเร็จนั้น คือสติ หรือความนึกไม่อยู่กับลมตลอดเวลา เผลอเมื่อไรก็ไม่รู้ มารู้เมื่อมันไปแล้ว และก็ไม่รู้ว่ามันไปเมื่อไร โดยอาการอย่างไรเป็นต้น พอรู้ก็จับตัวมันมาใหม่และฝึกกันไปกว่าจะได้ในขั้นนี้ ครั้งหนึ่ง ๑๐ นาที เป็นอย่างน้อยแล้วจึงค่อยฝึกขั้นต่อไป

๑๒. ขั้นต่อไป ซึ่งเรียกว่า บริกรรมขั้นที่สอง หรือขั้น “ดักดูอยู่แต่ตรงที่แห่งใดแห่งหนึ่ง” นั้นจะทำต่อเมื่อทำขั้นแรกข้างต้นได้แล้วเป็นดีที่สุด หรือใครจะสามารถข้ามมาทำขั้นที่สองนี้ได้เลย ก็ไม่ว่า ในขั้นนี้จะให้สติ หรือความนึกคอยดักกำหนดอยู่ตรงที่ใดแห่งหนึ่ง โดยเลิกการวิ่งตามลมเสีย ให้กำหนดความรู้สึกเมื่อลมหายใจเข้าไปถึงที่สุดข้างใน คือสะดือครั้งหนึ่งแล้วปล่อยวางหรือวางเฉย แล้วกำหนดรู้สึกกันเมื่อลมออกมากระทบที่สุดข้างนอกคือปลายจมูกอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ปล่อยว่างหรือวางเฉย จนมีการกระทบส่วนสุดข้างในคือสะดืออีก ทำนองนี้เรื่อยไปไม่มีการเปลี่ยนแปลง

๑๓. เมื่อเป็นขณะที่ปล่อยวาง หรือวางเฉยนั้นจิตก็ไม่ได้หนีไปอยู่บ้านช่องไร่นาหรือที่ไหนเลยเหมือนกัน แปลว่าสติคอยกำหนดที่ส่วนสุดข้างในหนึ่งข้างนอกแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้นปล่อยเงียบหรือว่าง เมื่อทำได้อย่างนี้เป็นที่แน่นอนแล้ว ก็เลิกกำหนดข้างในเสีย คงกำหนดแต่ข้างนอก คือที่ปลายจมูกแห่งเดียวก็ได้ สติคอยเฝ้ากำหนดอยู่แต่ที่จะงอยจมูกไม่ว่าลมจะกระทบเมื่อหายใจเข้าหรือเมื่อหายใจออกก็ตาม ให้กำหนดรู้ทุกครั้ง สมมติเรียกว่าเฝ้าแต่ตรงที่ปากประตู ให้มีความรู้สึกครั้งหนึ่งๆ เมื่อลมผ่านออกนั้นว่าง หรือเงียบ ระยะกลางที่ว่างหรือเงียบนั้นจิตไม่ได้หนีไปอยู่ที่บ้านช่องหรือที่ไหนอีกเหมือนกัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 11:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑๔. ทำได้อย่างนี้เรียกว่า ทำบริกรรมในชั้น “ดักอยู่แต่ในที่แห่งหนึ่ง” นั้นได้สำเร็จ จะไม่สำเร็จก็ตรงที่จิตหนีไปเสียเมื่อไรก็ไม่รู้ มันกลับเข้าไปในประตูหรือเข้าประตูแล้วลอดหนีไปทางไหนเสียก็ได้ทั้งนี้เพราะระยะที่ว่างหรือเงียบนั้น เป็นไปไม่ถูกต้องและทำไม่ดีมาตั้งแต่ข้างต้นของขั้นนี้ เพราะฉะนั้นควรให้ดีหนักแน่นและแม่นยำมาตั้งแต่ขั้นแรก คือขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” นั้นทีเดียว

๑๕. แม้ขั้นต้นที่สุดหรือที่เรียกว่าขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” ก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่ายสำหรับทุกคน และเมื่อทำได้ก็มีผลเกินคาดมาแล้วทั้งกายและใจ จึงควารทำให้ได้และทำให้เสมอๆ จนเป็นของเล่นอย่างการปริหารกายมีเวลาสองนาทีก็ทำ เริ่มหายใจให้แรงจนกระดูกลั่นก็ยิ่งดี จนมีเสียงหวีดหรืออซูดซาดก็ได้ แล้วค่อยผ่อนให้เบาไปๆ จนเข้าระดับปกติของมัน

๑๖. ตามธรรมดาที่คนเราหายใจอยู่นั้นไม่ใช่ระดับปกติ แต่ว่าต่ำกว่า หรือน้อยกว่าปกติโดยไม่รู้สึกตัวโดยเฉพาะเมื่อทำกิจการงานต่างๆ หรืออยู่ในอิริยาบถที่ไม่เป็นอิสระนั้นลมหายใจของตัวเองอยู่ในลักษณะที่ต่ำกว่าปกติที่ควรจะเป็นทั้งที่ตนเองไม่ทราบได้ เพราะฉะนั้นจึงให้เริ่มด้วยหายใจอย่างรุนแรงเสียก่อนแล้วจึงค่อยปล่อยให้เป็นไปตามปกติ อย่างนี้จะได้ลมหายใจที่เป็นสายกลางหรือพอดี และทำร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติด้วยเหมาะสำหรับจะกำหนดเป็นนิมิตรของอานาปานัสสติในขั้นต้นนี้ด้วย

๑๗. ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าการบริกรรมขั้นต้นที่สุดนี้ขอให้ทำจนเป็นของเล่นปกติสำหรับทุกคนและทุกโอกาสเถิด จะมีประโยชน์ในส่วนสุขภาพทั้งทางกายและใจอย่างยิ่ง แล้วจะเป็นบันไดสำหรับขั้นสองต่อไปอีกด้วย แท้จริง ความแตกต่างกันในระหว่างขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” กับ “ดักดูอยู่เป็นแห่งๆ” นั้นมีไม่มากมายอะไรนัก เป็นแต่เป็นการผ่อนให้ประณีตเข้า คือมีระยะการกำหนดด้วยสติน้อยเข้าแต่คงมีผล คือจิตหนีไปไม่ได้เท่ากัน

๑๘. เพื่อให้เข้าใจง่ายจะเปรียบกับพี่เลี้ยงไกวเปลเด็กอยู่ข้างเสาเปล ขั้นแรกก็จับเด็กใส่ลงในเปลแล้วเด็กยังไม่ง่วง ยังคอยจะดิ้นหรือลุกออกจากเปลในขั้นนี้พี่เลี้ยงจะต้องคอยจับตาดูแหงนหน้าไปมาดูเปลไม่ให้วางตาได้ ซ้ายทีขวาทีอยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้เด็กมีโอกาสตกมาจากเปลได้ ครั้นเด็กชักจะยอมนอน คือไม่ค่อยจะดิ้นรนแล้วพี่เลี้ยงก็หมดความจำเป็นที่จะต้องแหงนหน้าไปมา ซ้ายทีขวาทีตามระยะที่เปลไกวไปไกวมา พี่เลี้ยงคงเพียงแต่มองเด็กเมื่อเปลไกวมาตรงหน้าตนเท่านั้นก็พอแล้ว มองแต่เพียงครั้งหนึ่งๆ เป็นระยะๆ ขณะที่เปลไกวไปมาตรงหน้าตนพอดี เด็กก็ไม่มีโอกาสลงจากเปลเหมือนกันเพราะเด็กชักจะยอมนอนขึ้นมา ดังกล่าวแล้ว

๑๙. ระยะแรกของการบริกรรมกำหนดลมหายใจในขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” นี้ก็เปรียบกันได้กับระยะที่พี่เลี้ยงต้องคอยส่ายหน้าไปมาตามเปลที่ไกวไม่ให้วางตาได้ ส่วนระยะที่สองกำหนดลมหายใจเฉพาะที่ปลายจมูกที่เรียกว่า ขั้น “ดักอยู่แห่งใดแห่งหนึ่ง” นั้นก็คือขั้นที่เด็กชักจะง่วงและยอมนอนจนพี่เลี้ยงจับตาดูเฉพาะเมื่อเปลไกวมาตรงหน้าตนนั่นเอง

๒๐. เมื่อฝึกหัดมาได้ขั้นที่สองนี้อย่างเต็มที่ก็อาจฝึกต่อไปถึงขั้นที่ผ่อนระยะการกำหนดของสติให้ประณีตเข้าๆ จนเกิดสมาธิชนิดแน่วแน่เป็นลำดับ ไปจนถึงเป็นฌาณขั้นใดขั้นหนึ่งได้ซึ่งพ้นไปจากสมาธิอย่างง่ายๆ ในขั้นต้นๆ สำหรับคนธรรมดาทั่วไปและไม่สามารถนำมากล่าวรวมกันไว้ในที่นี้เพราะ เป็นเรื่องละเอียดรัดกุม มีหลักเกณฑ์ซับซ้อนต้องศึกษากันเฉพาะผู้สนใจถึงขั้นนั้น ในขณะนี้เพียงแต่ขอให้สนใจในขั้นมูลฐานกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็นของเคยชินเป็นธรรมดาอันอาจจะตะล่อมเข้าเป็นขั้นสูงขึ้นไปตามลำดับในภายหลัง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง