Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลักของวิปัสสนา และ ปรมัตถธรรม โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 10:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความจริง สติมิไม่ใช่ตัววิปัสสนา ปัญญาหรือการใช้ปัญญาต่างหากเป็นวิปัสสนา
แต่ปัญญาจะได้โอกาสและจะทำงานได้อย่างปลอดโปรงเต็มที่ ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับ
หนุนอยู่ด้วย
การฝึกสติจึงมีความสำคัญมากในวิปัสสนา

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติเพื่อจะใช้ปัญญาได้เต็มที่ หรือเป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง
ในภาษาการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติก็เล็งถึงปัญญาที่ควบอยู่ด้วย และสติจะมีกำลังกล้าแข็งหรือชำนาญคล่องแคล้วขึ้นได้ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงาน**
..................
(ดูที่มา)
**สติเกิดร่วมกับปัญญา จึงจะมีกำลัง ขาดปัญญาย่อมอ่อนกำลัง (ม.อ.3/28; วิภงฺค. อ. 406)
ปัญญาปราศจากสติ ไม่มีเลย (วิสุทฺธิ.ฎีกา 1/320)
ผู้ปราศจากสติ ย่อมไม่มีอนุปัสสนา (ที.อ. 2/474; สํ.อ. 3/270)
พูดถึงสติอย่างเดียวเล็งถึงปัญญาด้วย (องฺ.อ. 3/127...)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 10:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญญาที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆไป มักมีลักษณาการที่เรียกว่าสัมปชัญญะ (สติ สัมปชัญญะ) ในขั้นนี้ ปัญญายังดูคล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานอยู่กับสติ
การพูดจากล่าวขานมักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็นตัวหลักหรือตัวเด่น
แต่ในขั้นที่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา
สติจะเป็นเหมือนตัวที่คอยรับใช้ปัญญา

ปัญญา ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาพที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ นี่แหละคือวิปัสสนา

(อภิ.วิ. 35/612/337...)

จากพุทธธรรมหน้า 821
ดูเต็มๆที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 12:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

คุณกรัชกายครับ แล้วที่คุณภาวนา สั่นหนอ ๆ ๆ ๆ
ทุกข์หนอ ๆ ๆ ๆ ๆ จนสมาธิมากขึ้น ๆ ๆ
มาปิดบัง เวทนาได้แล้ว ยินดี (อภิชฌา) ในสุขเวทนา
จากสมาธิ นั้น
คุณแน่ใจแล้วหรือ คือ การกำหนดทุกข์
เฉลิมศักดิ์: 24 มิ.ย.2008, 6:26 am



คุณแน่ใจแล้วหรือ คือ การกำหนดทุกข์

ตอบอีกครั้งก็ได้ว่า แน่ใจขอรับ

การตามดูรู้ทันสภาวะที่เกิดแต่ละขณะๆตามเป็นจริง เช่น สั่นหนอ ทุกข์หนอ สุขหนอ
ยินดีหนอ ไม่ยินดีหนอ ฯลฯ
นั่นแหละหนทางพ้นทุกข์ หนทางไปสู่นิพพานอย่างใดอย่างหนึ่งแน่ครับ

พิจารณาพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับนิพพานไว้ ดังนี้


“ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน
แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยอ้อม
(โดยปริยาย)

ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา
อาสวะทั้งหลายของเธอก็หมดสิ้นไป
แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยตรง (โดยนิปปริยาย)
องฺ.นวก. 23/237,251,255/425,475,476

ผู้ที่มองเห็นขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว
หมดความหวาดสะดุ้งอยู่เป็นสุข ท่านก็เรียกว่าเป็นผู้ตทังคนิพพาน”
สํ. ข.17/88/54
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 1:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณกรัชกายครับ แล้วที่คุณภาวนา สั่นหนอ ๆ ๆ ๆ
ทุกข์หนอ ๆ ๆ ๆ ๆ จนสมาธิมากขึ้น ๆ ๆ
มาปิดบัง เวทนาได้แล้ว ยินดี (อภิชฌา) ในสุขเวทนา
จากสมาธิ
เฉลิมศักดิ์: 24 มิ.ย.2008, 6:26 am


ผู้ปฏิบัติกรรมฐานไม่กลัวสมาธิเหมือนนักคิดหรอกครับ
เพราะไตรสิกขาก็มีสมาธิ เช่น ศีล สมาธิ ปัญญา มรรคมีองค์ 8 ก็มีสมาธิ
อินทรีย์ 5 เป็นต้น ก็มีสมาธิ
ส่วนนักคิดจะกลัวสมาธิมาก ๆ กลัวจนลน เห็นการ(ใคร) นั่งขัดสมาธิ
เท้าขวาทับเท้าซ้าย เป็นต้น ก็เข้าใจผิดว่า นั่งสมาธิบ้าง ว่าเป็นสมถะบ้าง
เข้าใจว่าการนั่งเป็นสมาธิ

เช่นความเห็นของคุณที่ว่า สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ
เช่น นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้ายเอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย
แล้วนั่งตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้ากำหนดลมหายใจออก
หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับอารมณ์นั้น

http://larndham.net/index.php?showtopic=32047&st=4
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 4:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณกรัชกายครับ ผมว่าเรากลับไปคุยกันในกระทู้ที่คุณประกาศไว้จะดีกว่าครับ


แนวทางปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธไม่ได้
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241&postdays=0&postorder=asc&start=0
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง