Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ท่านทั้งหลายโปรดชี้ทางธรรมด้วย อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตามรอย
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 25 เม.ย.2008, 9:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในตอนนี้ข้าพเจ้ามีเวลาในการปฏิบัติธรรมน้อยมาก เพราะต้องมาช่วยขายของ
ช่วยแม่ที่ร้านก่อนเปิดเทอม ทำให้ มีอาการเพลียๆ ช่วงนี้ก็รักษาศีล5
เจริญ ธรรมสติ ซึ่งเป็นธรรมที่ข้าพเจ้าคิดว่า สำคัญที่สุดในการ
ปฏิบัติธรรมต่างๆ ถ้ามีวิธีง่ายๆก็คงจะดีสำหรับข้าพเจ้ามาก

ขอขอบพระคุณ ทุกท่านที่ ช่วยชี้ทางสว่าง
ขอให้ทุกท่าน อะเวรา อัพยาปัชชา อะนีฆา สุขขีอัตานังปริหะรันตุ

เจริญธรรม สาธุ
 

_________________
อย่าประมาทลืมตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 25 เม.ย.2008, 11:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ใช่แค่การเดินจงกรม นั่งสมาธิ หรือไหว้พระสวดมนต์เท่านั้น
แต่ยังรวมถึงการเจริญสติระหว่างวัน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน
เพราะในวันหนึ่ง ๆ เรามีเวลาเดินจงกรมนั่งสมาธิน้อยกว่า การทำงานช่วงกลางวัน
ดังนั้นการเจริญสติระหว่างวัน ในเวลาทำงาน หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ
ก็เป็นการเพิ่มสติ เพิ่มภูมิจิตภูมิธรรม ได้มากเหมือนกัน

ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ถ้าจะให้ดีก็ให้กำหนด ซ้าย ขวา ๆๆๆๆไปด้วย อย่าทิ้ง
ถ้าทิ้งถือว่าไม่มีสติ

การกินข้าวก็ให้กำหนด ตักหนอ มาหนอ กินหนอ รสหนอ เคี้ยวหนอ กลืนหนอ
เวลาอาบน้ำ ก็กำหนด อสุภกรรมฐาน เห็นร่างกายเป็นของโสโครก
เวลาปวดหนักปวดเบาก็กำหนดเช่นกัน
ถ้าว่างจากการทำงานก็กำหนด อานาปานสติ หรืออิริยาบถต่าง ๆ
แม้แต่ขณะที่พูดกับผู้อื่นก็เจริญสติได้ โดยการกำหนดจิตรู้ที่ริมฝีปาก
หรือที่อื่น ๆ ตามแต่ถนัดแล้วก็ใช้สติเฝ้าดูการพูดของตัวเอง ก็ยังทำได้

ถ้าทำได้แล้วจะรู้ว่าถึงแม้ไม่ต้องนั่งสมาธิเลยก็มีสติ สัมปชัญญะได้เหมือนกัน

ถ้าทำได้ก็ถือว่ามีทุนรอนสะสมไว้แล้ว การทรงอารมณ์กรรมฐานก็จะง่ายขึ้น
การเดินจงกรม นั่งสมาธิ ก็จะสงบเร็ว ไม่ฟุ้งซ่าน
เพราะเราทรงอารมณ์กรรมฐานตลอดวันแล้ว

นี่ต้องทำให้ได้อย่างนี้ถึงจะดี จะไม่ทิ้งอารมณ์กรรมฐาน

ตอนแรก ๆ อาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าทำทุกวัน ทุกเวลาที่นึกได้
ก็จะดี แรก ๆ อาจจะเห็นสองสามครั้ง ก็ให้พยายามต่อ
จากนาน ๆ เห็นที เป็นวันหนึ่งเห็นหลายที ชั่วโมงหนึ่งเห็นหลายที
ครึ่งชั่วโมงเห็นหลายที จนสุดท้ายแม้แต่จิตเคลื่อนจากหลัก คือสติ
แม้ชั่วเวลา ห้า หรือ สิบ วินาที ก็รู้สึกเหมือน เคลื่อนนาน ต้องดึงกับมา

นี่ถ้าทำได้อย่างนี้แล้วก็จะเห็นว่าเราสามารถเจริญสติได้ทุกเวลา ทุกที่
เพราะธรรมะของพระพุทธอง เป็นของไม่จำกัดกาล หรือ สถานที่

ถ้าที่กล่าวมาทั้งหมดยังทำไม่ได้ หรือมีข้อแย้งอีก
ก็ให้หันกลับมามองดูที่ความขี้เกียจ ความเกียจคร้าน ของตัวเองเป็นสำคัญ
อย่าโทษอย่างอื่นอีก (อย่าโกรธกันนะ ไม่ได้ว่านายขี้เกียจนะ)

พยายามทำให้ได้ ทำทุกวัน ๆๆๆ แล้วถ้าได้แล้วจะสามารถทรงอารมณ์กรรมฐานได้ง่าย ๆ

ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 25 เม.ย.2008, 11:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อีกอย่างหนึ่งที่อยากจะแนะนำ คือ

ถ้าหากว่ามีอาการฟุ้งซ่านมาก ๆ อยากให้ทำอากาสกสิน
เพราะการทำอากาสกสิน หรือกสินอื่น ๆ เป็นการเพ่งให้จิตจดจ่อกับสิ่งใด
สิ่งหนึ่งนาน ๆ จะเป็นสมาธิเร็ว พอเป็นสมาธิแล้ว ก็เลิกทำกสิน
กลับมาทำอานาปานสติ กำหนดอารมณ์ เหมือนที่ได้เคยบอกไว้แล้ว

การทำกสินนี้ไม่ใช่ว่าทำเพื่ออยากได้อิทธิฤทธิ์นะ
แต่ทำเพื่อให้จิตเป็นสมาธิเร็ว ไม่ฟุ้งซ่าน แล้วก็อย่าหลงติดสุขหละไม่ดี

ขอให้เจริญในธรรมต่อไปเรื่อย ๆนะครับ
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ชินภพ พิมพะกร
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2006
ตอบ: 67

ตอบตอบเมื่อ: 26 เม.ย.2008, 11:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณตามรอยกำลังเจริญกุศลธรรมคือกตัญญูกตเวิทตาคุณซึ่งแม้แต่พงค์พระสัมมาสัมพุทธท่านก็สรรเสริญความกตัญญูรู้คุณในพระอรหันต์ของลูก ทิศเบื้องหน้าคือมารดรบิดา กุศลกรรมจะส่งให้คุณเจริญรุ่งเรืองครับ

สำหรับการปฏิบัติ แนวทางของคุณมรรคาถือเป็นมรรคอันประเสริฐในการเข้าถึงเนื้อแท้แห่งพระธรรมคำสอน ท่านให้มีสติรู้เท่าทัน

หากต้องการปฏิบัติดัวยการนั่งสมาธิ และด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ ที่บอกเล่ามา คุณตามรอยลองทำก่อนเข้านอนสักวันละ 10 - 15 นาที ค่อย ๆ สะสม แล้วปัญญาจะเกิด คุณจะจัดการเวลาให้ตัวเองสามารถปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอ
ต่อไปครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 26 เม.ย.2008, 1:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตามรอย พิมพ์ว่า:
ในตอนนี้ข้าพเจ้ามีเวลาในการปฏิบัติธรรมน้อยมาก เพราะต้องมาช่วยขายของ
ช่วยแม่ที่ร้านก่อนเปิดเทอม ทำให้ มีอาการเพลียๆ ช่วงนี้ก็รักษาศีล5
เจริญ ธรรมสติ ซึ่งเป็นธรรมที่ข้าพเจ้าคิดว่า สำคัญที่สุดในการ
ปฏิบัติธรรมต่างๆ ถ้ามีวิธีง่ายๆก็คงจะดีสำหรับข้าพเจ้ามาก

ขอขอบพระคุณ ทุกท่านที่ ช่วยชี้ทางสว่าง
ขอให้ทุกท่าน อะเวรา อัพยาปัชชา อะนีฆา สุขขีอัตานังปริหะรันตุ

เจริญธรรม สาธุ


ตอบ...
ข้าพเจ้าไม่ถือสาเรื่องที่คุณกล่าวมา อ่านแล้วเตือนแล้ว รู้แล้ว ก็จบขอรับ

คุณกลับไปอ่านกระทู้ความคิดของข้าพเจ้าที่เขียนตอบโต้กับคุณทั้งหมด คุณก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม
อ่านอีกครั้ง แล้วเกิดปัญญา ก็น่าจะลองดูขอรับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 26 เม.ย.2008, 8:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากจะเพิ่มเรื่อง การสวดมนต์บท อิติปิโส เท่าอายุบวกหนึ่ง นะครับ
ผมว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เหมือนกัน เพราะพระพุทธองค์ ทรงเป็นครูบาอาจารย์ เป็นพระบิดา ของพวกเรา ดังนั้นเราจึงควรที่จะสวดสรรเสริญพระองค์
ให้มาก ๆ เข้าไว้ ถือได้ว่าสำคัญกว่าบทอื่น ๆ ด้วยซ้ำ

ที่คุณวงกลม บอกให้สวดเท่าอายุบวกหนึ่ง เป็นเรื่องที่น่าทำตามมาก ๆ
จะไม่สวดบทไหนก็ได้ แต่อิติปิโสเท่าอายุบวกหนึ่งอย่าลืม

แต่คุณตามรอย บอกว่าถ้าอายุ ๗๐ แล้วไม่สวดทั้งวันหรือ

ผมว่าตอนแรก ๆ อาจจะดูยาก แต่ถ้าสวดได้คล่องแล้ว ก็เป็นเรื่องไม่ยากหรอก

แถมยังเป็นการฝึกสติ สัมปชัญญะ อีกนะ เพราะถ้าไม่มีสติจะลืม
(ถ้าไม่ใช้อะไรนับ) แต่ถ้าสติดีแล้ว ก็ไม่ต้องพึ่งสิ่งอื่น ๆ เลย
ใช้สติ สัมปชัญญะ อย่างเดียว ก็สวดได้แล้ว

อย่างที่ผมสวดอยู่ก็มี บทอิติปิโส เท่าอายุบวกหนึ่ง
ถ้ามีเวลาเยอะก็สวด บทอิติปิโสร้อยแปดจบ หรือมากกว่า
เฉลี่ยสวดได้นาทีละ ๔ จบ ถ้า ๑๐๘ จบ ก็ประมาณ ครึ่งชั่วโมง
เท่านั้นเอง แล้วก็ไม่ต้องใช้อะไรช่วยด้วย ใช้แต่สติอย่างเดียวเท่านั้น
เห็นประโยชน์ของการมีสติ สัมปชัญญะ หรือยังครับ

ถ้ารายละเอียดปลีกย่อยยังไม่มีสติ สัมปชัญญะ แล้ว
สิ่งที่ใหญ่กว่าจะมีสติ สัมปชัญญะได้อย่างไรหละ ลองคิดดูนะครับ

นี่ก็เป็นการภาวนา เป็นการเจริญสติ สัมปชัญญะ เหมือนกัน
ไม่ใช่แค่การเดินเดินจงกรม นั่งสมาธิ อย่างเดียวที่จะเกิดสติได้

แม้แต่การพิมพ์ตอบกระทู้อยู่นี่ก็เป็นการเจริญสติ สัมปชัญญะ ได้เหมือนกัน

ท้ายนี้ก็อยากจะบอกว่า ถ้าเจริญสติ สัมปชัญญะ ดีแล้ว
เป็นคนมีสติ สัมปชัญญะ แล้ว สิ่งอื่น ๆ ก็จะตามมาเอง
แต่ถ้าไม่มีสติ สัมปชัญญะ แล้ว สิ่งอื่น ๆ ก็จะไม่ตามมา

ขอให้มีความสุขกับการเจริญสติ สัมปชัญญะ
ทุกลมหายใจเข้าออกนะครับ

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตามรอย
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 26 เม.ย.2008, 9:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มรรคคา
ขอขอบพระคุณ ท่าน มรรคา มากครับ
 

_________________
อย่าประมาทลืมตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ตามรอย
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2008, 11:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากทราบว่าท่านทั้งหลายเจริญอานาปนสติอย่างไรครับ
จำได้ว่าคุณ มรรคคา เคยแนะนำเอาไว้
แต่ข้าพเจ้าปัญญาน้อยไม่ค่อยเข้าใจ
อยากขอคำแนะนำจากผู้ที่กำลังปฏบัติอยู่
ว่าท่านมีวิธีการอย่างไร เอาแบบโดนใจวัยรุ่น
เหตุเนื่องจากข้าพเจ้าสมาธิสั้น อ่านข้อความยาวๆ
แล้วความเพียรเริ่มลด

ตอนนี้ข้าพเจ้าเข้าใจแล้วว่า"สติ"เป็นประธานแห่งธรรม

เจริญธรรม
 

_________________
อย่าประมาทลืมตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ชินภพ พิมพะกร
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2006
ตอบ: 67

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ค.2008, 11:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อานาปานสติ คือ การกำหนดรู้ลมหายใจครับ หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ หมั่นสังเกตลมหายใจ ว่า หายใจยาว กลาง สั้น ให้ผลต่างกันอย่างไร เมื่อเริ่มต้นทำอานาปานสติ หายใจตามปกติ ไม่ดัดแปลงลมหายใจ ไม่ปรุงแต่ง คงตามดูลมหายใจ เริ่มจากหายใจเข้า สัมผัสปลายจมูกขึ้นไปตามทางเดินของลม เข้าสู่ปอด กระบังลม สุดที่ตำแหน่งใดให้กำหนดรู้ตรงนั้น ส่วนมากจะอยู่เหนือสะดือประมาณ 1 ฝ่ามือ ตามปกติของคนเรา จะมีจังหวะการหยุดหายใจ ก็กำหนดว่าหยุด แล้วหายใจออกตามทางเดินลมดังกล่าว

ผมได้ถือโอกาสคัดลอกอานาปานสติสูตรมาให้ได้อ่าน ค่อย ๆ ทำความเข้าใจแล้วลองทำตามดู ไม่ยากครับ

อานาปานสติสูตร

อานาปานะสะติ ภิกขะเว,ภาวิตา พะหุลีกะตา, มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

อานาปานะสะติ ภิกขะเว ภาวิตา พะหุลีกะตา, จัตตาโร สะติปัฏฐาเน ปะริปูเรนติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมทำให้สติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์

จัตตาโร สะติปัฏฐานา ภาวิตา พะหุลีกะตา, โพชฌังเค ปะริปูเรนติ
สติปัฏฐานทั้งสี่อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์

สัตตะ โพชฌังคา ภาวิตา พะหุลีกะตา, วิชชา วิมุตติง ปะริปูเรนติ
โพชฌงค์ทั้งเจ็ดอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์

กะถัง ภาวิตา จะ ภิกขะเว อานาปานสะติ, กะถัง พะหุลีกะตา มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอย่างไรเล่าจึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ, อะรัญญะคะโต วา, รุกขะมูละคะโต วา, สุญญาคาระคะโต วา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปแล้วสู่ป่าก็ตามไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตามไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม
นิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิตวา, อุชุง กายัง ปะณิธายะ, ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปตวา,
นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น
โส สะโต วะ อัสสะสะติ, สะโต ปัสสะสะติ
ภิกษุนั้น เป็นผู้มีสติอยู่นั้นเทียว หายใจออก มีสติอยู่หายใจเข้า

(1) ทีฆัง วา อัสสะสันโต, ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ,
ภิกษุนั้น เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่า เราหายใจออกยาว ดังนี้
ทีฆัง วา ปัสสะสันโต, ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่า เราหายใจเข้ายาว ดังนี้

(2) รัสสัง วา อัสสะสันโต, รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
ภิกษุนั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่า เราหายใจออกสั้น ดังนี้
รัสสัง วา ปัสสะสันโต, รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่า เราหายใจเข้าสั้น ดังนี้

(3) สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก ดังนี้
สัพพะกายะปฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า ดังนี้

(4) ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้
(จบหมวดกาย)

(5) ปีติปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจออก ดังนี้
ปีติปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจเข้า ดังนี้

(6) สุขะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจออก ดังนี้
สุขะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจเข้า ดังนี้

(7) จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจออก ดังนี้
จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจเข้า ดังนี้

(8) ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้
(จบหมวดเวทนา)

(9) จิตตะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจออก ดังนี้
จิตตะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า ดังนี้

(10) อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้

(11) สะมาทะหัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
สะมาทะหัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้

(12) วิโมจะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
วิโมจะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้
(จบหมวดจิต)

(13) อะนิจจานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็น ซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้
อะนิจจานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็น ซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้

(14) วิราคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็น ซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้
วิราคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้

(15) นิโรธานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็น ซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้
นิโรธานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้

(16) ปะฏินิสสัคคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้
ปะฏินิสสัคคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติฯ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้
(จบหมวดธรรม)

เอวัง ภาวิตา โข ภิกขะเว อานาปานสติ, เอวัง พะหุลีกะตา มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา อิติฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่
มีอานิสงส์ใหญ่ ด้วยประการฉะนี้แล

ขอบพระคุณ กัลยาณมิตร คุณกรัชกาย คุณศิษย์พระชินสีห์
ข้อความคัดลอกจาก www.larndham.net
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ตามรอย
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ค.2008, 2:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชินภพ พิมพะกร

ขอบพระคุณครับ

ถ้าข้าพเจ้าพึงปฏิบัติควรปฏิบัติ เอาแค่ว่า
หายใจยาว สั้น
เข้า ออก
หยุด
เอาแค่นี้ก่อน จะควรหรือไม่ครับ

เจริญธรรม
 

_________________
อย่าประมาทลืมตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ชินภพ พิมพะกร
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2006
ตอบ: 67

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ค.2008, 3:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ควรบังคับลมหายใจครับ กำหนดรู้ตามเป็นจริง เข้า ออก สั้น ยาว หยุด
แล้วสังเกตว่าลมหายใจแต่ละขณะส่งผลอย่างไรครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ตามรอย
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ค.2008, 10:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชินภพ พิมพะกร

ขอสวัสดีและขอขอบพระคุณมากครับ
แล้วเวลาทำกิจกรรมอะไรที่ต้องรีบเร่งนี่
จะกำหนดยังไงล่ะครับ
หรือปล่อยๆไปก่อน เด๋วทำเสร็จค่อยกลับมาทำใหม่
แบบว่ายังรู้ตัวเองอยู่อย่างนี้ได้ไหมครับ

ขอบพระคุณครับ คุณชินภพ

เจริญธรรม
 

_________________
อย่าประมาทลืมตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ชินภพ พิมพะกร
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2006
ตอบ: 67

ตอบตอบเมื่อ: 06 พ.ค.2008, 12:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ ต้องลองทำดูครับ คำตอบจะอยู่ในตัวเอง ในกรณีที่คุณตามรอยถามมา คงต้องแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ การปฏิบัติด้วยตามแนวสติปัฏฐานที่มีทั้งกรรมฐาน และจงกรม หากเป็นแนวทางนั้น ไม่มีอะไรต้องรีบเร่งครับ หาเวลาที่เหมาะสม เสร็จสิ้นจากกิจธุระประจำวันซึ่งเป็นสิ่งหน้าที่ประการหนึ่ง ในขณะที่นั่ง ให้ตัดความคิดต่าง ๆ ออกแล้วตามดูลมหายใจตามหลักอานาปานสติ ดังนั้นไม่มีคำว่ารีบเร่ง หรือถ้าเป็นการเจริญสติแบบธรรมชาติ วิธีที่ดีคือการกำหนดรู้ในสิ่งที่เราทำตามความเป็นจริง เช่น รีดผ้า ก็รู้ว่ารีดผ้า รีดไปซ้าย รีดไปขวา กินข้าวก็รู้ว่ากินข้าว กำหนดที่กิริยา เช่น ตัก ยก เคี้ยว กลืน รส เป็นต้น และหากจะว่าไป เวลาก็เป็นสิ่งสมมติครับ ถ้าจะพูดถึงเวลา ก็มี 2 แบบ คือ เวลาตามนาฬิกาเป็นสิ่งที่สมมติขึ้นโดยมนุษย์ อีกอย่างคือ เวลาทางจิต อันนี้เป็นเวลาที่แท้จริง หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น เขียนโดย ทันตแพทย์สม สุจีรา หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือนายอินทร์หรือร้านหนังสือทั่วไป ราคา 175 บาท และไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ เขียนโดยธนู แก้วโอภาสครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 พ.ค.2008, 1:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชินภพ พิมพะกร พิมพ์ว่า:
ไม่ควรบังคับลมหายใจครับ กำหนดรู้ตามเป็นจริง เข้า ออก สั้น ยาว หยุด แล้วสังเกตว่าลมหายใจแต่ละขณะส่งผลอย่างไรครับ


ขอหนับหนุนคำกล่าวของคุณชินภพด้วยข้อความนี้

ความแตกต่างระหว่างอานาปานสติ กับ วิธีฝึกหัดเกี่ยวกับลมหายใจของลัทธิอื่นๆ เช่น การบังคับ

ควบคุมลมหายใจของโยคะที่เรียกว่า ปราณยาม เป็นต้น ว่าเป็นคนละเรื่องกันทีเดียว

โดยเฉพาะว่าอานาปานสติ เป็นวิธีฝึกสติ มิใช่ฝึกหายใจ คือ อาศัยลมหายใจเป็นเพียง

อุปกรณ์สำหรับฝึกสติ

ส่วนการฝึกบังคับลมหายใจนั้น บางอย่างรวมอยู่ในวิธีบำเพ็ญทุกรกิริยาที่พระพุทธเจ้าเคยทรง

บำเพ็ญและละเลิกมาแล้ว


เราต้องการรู้จักธรรมชาติ ก็ควรมั่นสังเกตนิ่งๆ ตามที่มันเป็น ตามที่มันเป็นของมันเอง

มิใช่ดัดแปลงด้วยการทำให้ลมหายใจยาว หรือสั้น หรือทำให้ท้องพอง ท้องยุบ ตามที่ตน

ต้องการ ไม่ใช่ มันเป็นอย่างไรก็รู้ดูอย่างนั้น ทั้งกายและใจ จะให้มั่นในอารมณ์ก็บริกรรม

ตรึงจิตไว้กับอารมณ์ด้วยยิ่งดี จิตจะไม่ลอยไม่หลง องค์ธรรมจะรวมตัวเร็วขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 พ.ค.2008, 2:21 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 พ.ค.2008, 1:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อมั่นดูมั่นสังเกตธรรมชาติคือกายใจแบบว่าจนถึงจุดหนึ่งแล้ว ก็จะเห็นความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง

กันของนามรูป ว่าเป็นของมันอย่างนั้น

ทีนี้เราก็อยู่กับก้อนทุกข์นี้ด้วยความรู้ความเข้าใจ และเป็นทุกข์น้อยลงๆตามความรู้เข้าใจที่ตน

ของตนเข้าถึงเอง ยิ้ม


สภาพกาย-จิตสัมพันธ์ แบ่งเป็น 3 ระดับ ตามขั้นของพัฒนาการทางจิต

-ขั้นต่ำสุด ผลต่อกาย กระทบจิตด้วย คือเมื่อกายไม่สบาย จิตพลอยไม่สบายด้วย

ซ้ำเติมตนเองให้หนักขึ้น

-ขั้นกลาง จำกัดขอบเขตของผลกระทบได้ คือความทุกข์ความไม่สบายมีอยู่แค่ไหน ก็รับรู้

ตามที่เป็นแค่นั้น วางใจได้ ไม่ให้ทุกข์ทับถมลุกลาม

-ขั้นสูง จิตช่วยกาย คือ เมื่อกายทุกข์ ไม่สบาย นอกจากไม่เก็บไปก่อทุกข์แก่ใจแล้ว

ยังสามารถใช้สมรรถภาพที่เข้มแข็งและคุณภาพที่ดีงามของจิต ส่งผลดีกลับมาช่วยกายได้อีก

ด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตามรอย
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 06 พ.ค.2008, 4:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชินภพ พิมพะกร

สวัสดีครับ ขอขอบพระคุณ
ผมก็ซื้อมาอ่านครับ อิอิ ไม่นึกเลยว่ามีแนวร่วมแล้ว
แต่ก็อ่านไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรครับทันตแพทย์สม เขาใช้ภาษา
ยากไปแต่ก็สนุกดีครับนำมาใช้ในชีวิตได้หลายๆอย่าง

ผมเข้าใจผิดนึกว่าเจริญอานาได้ตลอดเวลา น่ะครับ
สรุปว่าต้องให้เวลาในการปฏิบัติอย่างจริงจังใช่ไหมครับ
ขอบคุณครับ

เจริญธรรม
 

_________________
อย่าประมาทลืมตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ตามรอย
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 06 พ.ค.2008, 5:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรัชกาย

ขอขอบพระคุณมากครับ
 

_________________
อย่าประมาทลืมตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 พ.ค.2008, 6:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตามรอย พิมพ์ว่า:

ผมเข้าใจผิดนึกว่าเจริญอานาได้ตลอดเวลา น่ะครับ
สรุปว่า ต้องให้เวลาในการปฏิบัติอย่างจริงจังใช่ไหมครับ


อย่างนี้ครับ คุณตามรอย ในอิริยาบถนั่ง เราใช้อานาปานะ คือ ลมหายใจเข้าออก
เป็นกรรมฐาน หรือ เป็นที่ทำงานของจิต ร่วมด้วยการตามดูรู้ทันความคิดและเวทนาในขณะนั้นๆไปด้วย (สิ่งใดเกิดก็กำหนดรู้สิ่งนั้น) ในอิริยาบถนั่งเราใช้อานาปานสติแบบนี้

อิริยาบถอื่น เช่น เราใช้ชีวิตปกติประจำวัน ไปนั่นมานี่ หยิบจับสิ่งนั้นสิ่งนี้ ฯลฯ
เราก็ใช้งาน... การเคลื่อนไหวกาย เป็นที่ทำงานของจิต (กรรมฐาน) โดยไม่ต้องนึกคิดถึงลมหายใจแล้วตอนนั้น ดูงานที่กำลังทำเป็นฐานฝึกสติได้เลย
หรือมีเวลาต่อเราจะเดินจงกรม ก็ใช้อาการเดิน ยืน ฯลฯ เป็นที่ทำงานของจิต
โดยไม่ต้องนึกถึงลมหายใจเช่นกัน นึกถึงงานเฉพาะหน้า

เมื่อมีเวลาว่างอีก จะนั่งทำกรรมฐาน ก็ใช้ลมหายใจเป็นกรรมฐานอีก ฯลฯ
เลิกนั่งแล้ว เราก็วางลมหายใจ ฉวยงานอื่นแทนลม (ผู้ใช้พองยุบ ก็วางไว้ก่อน)
เพียงเท่านี้ เราก็ทำกรรมฐานได้ตลอดเวลา ไม่มีอุปสรรคอะไรขัดขวางเลย
ใช่ไหมครับ
บางทีผู้ปฏิบัติคิดไกลตัวเกินไป ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 08 พ.ค.2008, 7:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมพยายามให้มีสติทุกอิริยาบถ

และมองเห็นตามความเห็นจริง คือธรรมนิยาม เห็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เท่าที่สติจะพึงเห็นได้ใน วิตกและวิจาร ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นครับ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตามรอย
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 08 พ.ค.2008, 5:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรัชกาย

ขอขอบพระคุณมากครับ สาธุ

เมื่อวานไปค้นดูกระทู้เก่าๆ เจอกระทู้ของคริสเตียน
คุณกรัชกายตอบได้ตรงใจมากเลยครับ

เจริญธรรม
 

_________________
อย่าประมาทลืมตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง