Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ไม่น่าปรารถนาที่มักเกิดกับนักศึกษาธรรมะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 3:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อุตส่าห์ศึกษาธรรมะ

แต่จิตใจเต็มไปด้วยกิเลส

ทั้งพยาบาทท่านพุทธทาส

ทั้งสิเหน่หาท่านบุญมี เมธางกูร ท่านบุษกร เมธางกูร ท่านแนบ

แต่ก็เอาเถอะสิทธิของคุณ

แล้วสิทธิของผู้อื่นละ

พระพุทธเจ้าทรงห้ามในพระสูตร

ไปหาอ่านเอาเอง

ผมบอกว่าฟังพระอภิธรรมตอนพระสวดไม่รู้เรือง

เอาเลยด่าว่ารังเกียจอภิธรรม

มันอะไรกันครับ

ทำไมจิตใจคนมันถึงได้เป็นกันถึงขนาดนี้

นับถือท่านพุทธทาสก็ไม่ได้

ผมว่ามันจะบ้ากันไปใหญ่แล้ว

มันจะวิปริตวิปลาสกันใหญ่โตแล้ว

ที่เขาเตือนคุณก็เพราะหวังดี

เรียนอภิธรรมมาบาปบุญคุณโทษท่านจำแนกไว้ชัด

พระอภิธรรมหรือพระอภิธัมมัตถสังคหะแปลว่าการรวบรวมหลักธรรมต่างๆแล้วย่อมาไว้

เท่านั้นเอง

ไม่ใช่พระพุทธพจน์

แต่เป็นการรวบรวมเนื้อหาของพระธรรมจากท่านอรรถกถาจารย์

ใครจะเชื่อหรือไม่ก็ได้

แต่ผมนำมาจากเวปของอภิธรรมมูลนิธิ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 3:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเฉลิมศักดิ์ คุณเป็นอะไรของคุณ แล้วกำลังทำอะไรของคุณ

พระอภิธรรมจำแนกกรรมที่คุณก่ออยู่นะเวลานี้

คุณเรียนมาแล้วไม่เข้าใจหรือ

ที่เขายอมตากหน้าออกมาเตือนคุณคุณเห็นที่เขาเตือนไหม

การกระทำของคุณไม่ได้มีตรงใหนให้ผู้อ่านอ่านแล้วดวงตาเห็นธรรมเลย

มีแต่มิจฉทิฏฐิ

คุณทำไปคุณต้องการอะไรถึงได้ออกมาเพ่งโทษท่านพุทธทาสอยู่ได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 3:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่คุณบิดเบือนพระสัทธรรมแล้วคุณหนี

ตลบแตลงในกระทู้นี้

จิตใจคุณทำด้วยอะไรที่ไร้ความละอายต่อบาป
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 3:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นเวลากึ่งพุทธกาลแล้วจริงๆ

ที่มีคนวิกลจริต

จิตวิปลาส

ในพระศาสนานี้

ไม่รู้จุดมุ่งหมายที่ตัวเองทำ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 3:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเฉลิมศักดิ์

ความเข้าใจในเรื่องสิกขาคุณยังเข้าใจผิดอยู่มากน่ะ

ธรรม คุณก็ไม่เข้าใจ

ที่คุณยกเอามาทั้งหมดเป็นแค่ตัวหนังสือที่คุณท่องจำ

คุณแค่คนท่องจำได้เท่านั้น

ไปหาอ่านเอาเองว่าสิกขาคืออะไร เสขะคืออะไร

อะไรคือพระธรรม

อะไรคือตัวอักษร
 


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 31 ส.ค. 2008, 4:14 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 3:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมจะต่อต้านคนที่คิดทำลายศาสนาพุทธอย่างคุณเฉลิมศักดิ์

ให้ถึงที่สุด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 4:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมเชื่อในเสรีภาพของมนุษย์ที่มีอิสระในการเลือกเชื่อถือ ในความเชื่อของตน

ผมขอประนามในความพยายามกดขี่เพ่งโทษกล่าวร้ายของผู้ที่พยายามบังคับใหผู้อืนมาเชื่อตามความคิดตน

เป็นการผิดหลักศาสนาพุทธ

เป็นการทำลายศาสนาพุทธที่เน้นการใช้ปัญญา

แต่คุณเฉลิมศักดิ์พยายามทำลาย

ถ้าขาดปัญญาธรรมทั้งหลายของพระพุทธเจ้าก็ล่มสลายครับ

อย่างที่มีคำทำนายถึงผู้บิดเบือนพระสัทธรรม

คือนายเฉลิมสักดิ์ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 4:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมไม่ยอมนั่งมองเฉยๆให้ใครมาทำลายปัญญา

โดยอาศัยไสยศาสตร์มาอ้าง

เราไม่ปฏิเสธเรื่องชาติภพ เทวดา

แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงให้สวดอ้อนวอนหรือบูชายัญแก่ เทพเทวดา

ทรงให้ปฏิบติธรรมด้วยมรรคที่มีองค์8 ตามหลักมัชเฌนธรรม

ไม่ใช้การปฏิบติธรรมเพือหวังชาติภพหน้าที่ดีขึ้น

แต่ทรงสอนให้ปฏิบติเพื่อสิ้นอาสวะ

เพื่อนิพพาน

เพื่อสิ้นภพสิ้นชาติ

ที่เฉลิมศักดิ์กำลังบิดเบือนและคิดทำลาย

กำลังพยายามเบี่ยงเบนให้ชาวพุทธออกจะปรมัตถ์ธรรมนี้

ไม่มีทางหรอกครับ

ดูตัวเองบ้างคุณเฉลิมศักดิ์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 5:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
เมื่อท่านตายแล้วท่านจะไปไหน

เรื่องของความตายนี้ ถ้าจะว่าโดยปรมัตถธรรมอันเป็นความจริง จริงๆแล้ว“ความตาย” นั้นไม่มี คนเกิด คนตาย สัตว์เกิดหรือสัตว์ตายก็ไม่มีเหมือนกัน ทำไมถึงได้ว่าดังนั้น
เมื่อเราตัดต้นไม้มา นั่นก็คือเราตัด “รูป” คือต้นไม้นั้นแล้วมาทำเป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ เมื่อตัดออกแล้วก็สมมุติเรียกกันว่าต้นไม้ตาย รูปซึ่งเป็นต้นไม้นั้นก็มาเปลี่ยนแปลงเป็นโต๊ะเก้าอี้ไป..... เมื่อโต๊ะและเก้าอี้ซึ่งเป็นรูปผุพังลง โต๊ะเก้าอี้ก็หายไปจากสายตา มันก็กลายสภาพเป็นรูปไปอีกแบบหนึ่ง คือ “ดิน” แต่ดินเราก็เรียกว่าเป็น “รูป” เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เราจะพูดว่าโต๊ะเก้าอี้ตายก็ย่อมได้เหมือนกัน

ดังนั้นต้นไม้ก็คือ ..รูป โต๊ะเก้าอี้ก็คือ รูป... และดินก็คือ รูป
แต่รูปเหล่านี้มันไม่เหมือนกัน เราจึงสมมุติตั้งชื่อมันว่า.. ต้นไม้ โต๊ะเก้าอี้ และดิน เราตั้งชื่อมันเสียใหม่ เพื่อหวังว่าจะได้พูดกันให้รู้เรื่อง

เหมือนกับต้นไม้ตาย ความจริงต้นไม้มิได้ตาย เราจึงสมมุติให้เป็นที่เข้าใจกัน
เหมือนกับรถยนต์ตาย ความจริงรถยนต์มิได้ตาย แต่มันแล่นไปไม่ได้..เพราะเครื่องมันเสียเท่านั้นเอง เราก็สมมุติเพื่อจะให้รู้เรื่องว่า รถยนต์ตาย

ด้วยเหตุดังนี้เอง รูปคือร่างกายของสัตว์ทำการงานไปตามปกติมิได้แล้ว จิตใจหรือวิญญาณมิได้เกิดขึ้นมาได้แล้ว เราจึงได้สมมุติพูดกันว่า คนตายหรือสัตว์ตาย

แท้ที่จริง รูปคือร่างกายของคนหรือสัตว์ ที่เกิดดับเปลี่ยนแปลงไปมาในวินาทีหนึ่งตั้งมากมาย.. แม้จิตใจหรือวิญญาณของคนหรือสัตว์ก็เหมือนกัน ก็ย่อมจะเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปมาในวินาทีหนึ่งนับไม่ไหว

ทั้งรูปและนามเกิดดับตลอดชั่วชีวิตหนึ่งนั้นนับคำนวณไม่ได้เลย.มีที่แปลกอยู่ตรงที่ว่า เมื่อชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่ ในภพชาติใหม่นั้น มีรูปกายแปลกออกไป และจิตใจเมื่อไปได้สิ่งแวดล้อมใหม่เข้าแล้ว ก็อาจจะผิดไปบ้างนิดๆหน่อยๆ และค่อยๆผิดไปทีละน้อยๆ ตามแต่เหตุปัจจัยที่มาผันแปร

ถ้าจะว่าไปก็เปรียบเหมือนต้นไม้เมื่อก่อน แต่เดี๋ยวนี้มาเปลี่ยนเป็นโต๊ะเป็นเก้าอี้ไปเสียแล้ว.. และต่อมาก็เป็นดินไปอีก

แม้ผมจะได้อธิบายถึงปรมัตถธรรมว่า ไม่มีคนตาย ไม่มีสัตว์ตายก็จริง แต่ผมก็จำต้องอธิบายเรื่องความตายให้ท่านฟัง โดยเอาคำที่สมมุติกันว่าตายออกมาใช้ หาได้แล้วจะอธิบายได้อย่างไร

ขอให้ท่านทำความเข้าใจเอาไว้แต่เพียงว่าคนตาย หรือสัตว์ตายนั้น มิได้มีจริงๆ ทั้งรูปทั้งนามก็ย่อมจะผันแปรเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย เวลานี้มีรูปมีนามอยู่ที่นี่ เผลอไปอีกวินาทีหนึ่ง รูปนามนี้ก็อาจจะสืบต่อไปอยู่ในท้องของมารดา เป็นเพียงจุดเล็กๆจุดหนึ่งของมารดาอีกคนหนึ่งเสียก็ได้ แล้วต่อไปอีกไม่นานสักเท่าใดก็เป็นไปอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะได้เกิดเป็นเปรต อสุรกาย หรือเกิดเป็นเทวดา

ว่าโดยปรมัตถ์ คนหรือสัตว์คือทั้งรูปทั้งนาม ก็แตกดับไปแล้วก็เกิดทดแทนขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ ..ซึ่งก็คือได้ตายไปอยู่ทุกวินาที




อย่างนี้คุณเฉลิมศักดิ์ว่าอย่างไหง

ชาตินี้ ชาติหน้า อยู่ไหน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 5:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
-- เหมือนคุณไงคะ คุณเคยสร้างกุศลด้านนี้มา พอมาเกิดชาตินี้ก็มีอนุสัยติดตัวมาในด้านปริยัติ ส่วนดิฉันไม่เคยสร้างมา เพราะเรื่องปริยัตินี่เมื่อก่อนแทบจะไม่กระดิกหู พอดีมีกัลยาณมิตร แนะนำว่าให้เรียนนักธรรมตรี เพื่อจะได้มีอนุสัยในชาติต่อไป ก็เลยไปเรียน พอจะมีความรู้แบบงูๆปลาๆขึ้นมาบ้างนิดหน่อย อภิธรรมนี่บอกได้เลยว่าตอนแรกจะเรียน เพราะเห็นมีคนพูดกันเยอะ โชคดีแล้วที่ไม่ได้เรียน เพราะสิ่งที่รู้มันมีอยู่ในอภิธรรม ไม่งั้นอาจจะกลายเป็นวิปัสสนึกไปก็ได้


คุณวลัยพรครับ ก็อย่ามั่นใจตนเองจนเกินไปนะครับ ว่าเข้าใจวิปัสสนาอย่างถ่องแท้แล้ว จนไม่ต้องอาศัยปริยัติอีกต่อไป

อาจจะล่วงเกินต่อพระปริยัติธรรมได้ จนเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรม

-----------------------------------------------------
35-พระจูฬปันถกเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ

http://www.84000.org/one/1/35.html

ปัญญาทึบพี่ชายไล่สึก

-----------------------------------------------
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10729


บุพกรรมที่ทำให้พระจูฬปันถกท่องจำไม่ได้นั้นก็เพราะว่า ในศาสนาของพระกัสปปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระจูฬบันถกเป็นผู้มีปัญญาดีได้บวชเป็นภิกษุในศาสนานั้น มีภิกษุอีกรูปหนึ่งเป็นคนเขลาได้พยายามท่องปริยัติธรรมอยู่ พระจูฬปันถกเห็นเข้าก็หัวเราะเยาะในความไม่แตกฉาน ทำให้ภิกษุนั้นเกิดความละอายจึงเลิกเรียนไป เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น จึงทำให้พระจูฬปันถกเป็นผู้เขลาในกาลบัดนี้

(ตรงนี้ท่านอาจารย์ได้เน้นให้เกิดความกลัวบาปอีกครั้งหนึ่งว่า จะเห็นว่าท่านจูฬบันถกในสมัยนั้นเพียงแต่หัวเราะเยาะผู้อื่นเท่านั้น ยังทำให้ได้รับผลถึงขนาดนี้ ถ้าคนที่ได้อ่านพระสูตรแล้ว ก็จะเห็นว่า บาปแม้แต่น้อยนิดก็ยังให้ผลได้ และชีวิตก็อยู่ยากจริงๆ เพราะทำอะไรผิดพลาดได้ง่าย)

---------------------------------------------------------

อ้างอิงจาก:
พอจะมีความรู้แบบงูๆปลาๆขึ้นมาบ้างนิดหน่อย อภิธรรมนี่บอกได้เลยว่าตอนแรกจะเรียน เพราะเห็นมีคนพูดกันเยอะ โชคดีแล้วที่ไม่ได้เรียน เพราะสิ่งที่รู้มันมีอยู่ในอภิธรรม ไม่งั้นอาจจะกลายเป็นวิปัสสนึกไปก็ได้


คุณวลัยพร ครับ การมีความรู้ด้านปริยัติ แล้วจะทำให้เป็นวิปัสสนึก ผมว่าเป็นคนละประเด็นกัน

ปริยัติ หรือ คันถะธุระ เป็นเหมือนดังแผนที่

ปฏิบัติวิปัสสนา หรือ วิปัสสนาธุระ เป็นการเดินทาง

วิปัสสนึกคือ การหลงทาง ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่ขาดแผนที่เสียมากกว่า

บ้างครั้งถึงกับ เกิดวิปัสสนึกว่า บรรลุธรรมแล้วก็ได้

ขอยกตัวอย่างของ พระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่งนะครับ คือ อุบาสิกาแนบ มหานีรานนท์


ทิฏฐิวิสุทธิ (บาทแห่ง วิปัสสนาปัญญา (เห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์)) ที่มีปัจจัยจาก ศีล,จิต(สมาธิ) วิสุทธิ

http://larndham.net/index.php?showtopic=19112&per=1&st=0&#entry308655

ปัญญา ๓

ฉะนั้นในตอนนี้จึงจะขอทำความเข้าใจกันในเรื่องของปัญญากันอีกหน่อยก่อนว่า ปัญญานั้นมี ๓ อย่างหรือ ๓ ขั้น คือ
๑. สุตมยปัญญา
๒. จินตามยปัญญา
๓. ภาวนามยปัญญา
และในปัญญาทั้ง ๓ นี้ต้องเป็นปัจจัยซึ่งกันละกัน สุตมยปัญญานั้นเป็นปัญญาที่เกิดจากศึกษา คือมาจากการได้ยินได้ฟัง เป็นต้น และมีความเข้าใจถูกในเรื่องราวนั้น ๆ จินตามยปัญญานั้นก็คือ มีโยนิโสมนสิการ คือมีความเข้าใจในเวลาที่ทำการงาน หรือเวลาที่ปฏิบัติเป็นต้น ถ้าไม่มีความเข้าใจหรือไม่มีโยนิโสให้ถูกต้องแล้ว ก็จะทำถูกหรือให้สำเร็จผลที่ดีนั้นไม่ได้ ส่วนภาวนามยปัญญานั้น เป็นความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ คือการเข้าไปทำการพิสูจน์จนได้ความจริงของวัตถุที่ถูกพิสูจน์นั้น ความรู้ในขั้นนี้เป็นความรู้ถูกต้องและแน่นอนที่สุด เพราะเป็นความรู้ที่ได้มาจากที่ตนได้เข้าไปพิสูจน์มาแล้วด้วยตนเอง ความรู้ขั้นนี้เองที่เรียกว่า “ วิปัสสนาปัญญา” จึงจะทำลายความเห็นที่เข้าใจว่ามีตนหรือเป็นตนนั้นได้ ดังเช่นทิฏฐิวิสุทธิที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้ ก็ต้องเข้าถึงปัญญาขั้นภาวนานี้จึงจะเข้าถึงทิฏฐิวิสุทธิได้


____________________________________

คุณวลัยพรครับ พิจารณาดูครับ ว่า นิพพาน คุณเข้าใจความหมายดีพอหรือยัง ?




http://www.abhidhamonline.org/Ajan/book.htm

ต้องการนิพพาน..ต้องรู้ถูก โดยพระครูศรีโชติญาณ
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/SW/ni.doc

สีเล ปติฐาย นโร สปญฺโญ
จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ
โส อิมํ วิชฏเยชฏํ

ความว่า นรชาติชายหญิง ผู้มีปัญญาแต่กำเนิด
มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสมีปัญญาบริหารจิต
เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด ตั้งมั่นในศีล
อบรมสมาธิและวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น นรชนชาติชายหญิงนี้เท่านั้น
จึงจะสามารถสางรกชัฏที่เป็นเสมือนข่ายคือ ตัณหาออกได้

---------------------------------------------

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๓๙๒ - ๔๐๓. หน้าที่ ๑๘ - ๑๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=392&Z=403&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=60
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 6:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำสอนของท่านพุทธทาส ที่คุณ mes ยกขึ้นมานั้น

หลักการของท่านพุทธทาสคือ ถ้าไปอธิบายถึง จุติ และ ปฏิสนธิวิญญาณ ช่วงที่เปลี่ยนภพชาตินั้น ท่านถือว่าเป็นสัสสตทิฏฐิ ด้วยเหตุนี้ท่านพุทธทาสจึงกล่าวตู่พระพุทธพจน์ ใส่ร้ายอรรถกถาจารย์


เพราะการเกิดของสัตว์ทั้งหลายนั้น ท่านยืนยันว่า ไม่มี ปฏิสนธิวิญญาณเกิดร่วมด้วย

จากความเห็นท่านพุทธทาส

อ้างอิงจาก:
วิญญาณตามความหมายในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าสังขารให้เกิดวิญญาณ ไม่ใช่ปฏิสนธิวิญญาณ, แล้วก็ถูกตู่เอาไปเป็นปฏิสนธิวิญญาณหมด โดยพวกที่รู้แต่ภาษาคน พูดแต่ภาษาคน มีตัวตน คร่อมภพคร่อมชาติเสียเรื่อย แต่ถ้าจะพูดกันอีกทีหนึ่งก็พูดได้เหมือนกันว่า วิญญาณอะไรก็ตามที่ทำหน้าที่ให้เกิดอุปาทาน ภพ ชาติ ในปฏิจจสมุปบาทได้ตามนัยที่ผมกล่าวมาแล้วข้างต้น, ก็อาจเรียกวิญญาณนั้นว่า “ ปฏิสนธิวิญญาณ “ ได้เหมือนกัน เพราะมันสืบต่อการเกิด “ ตัวกู “ ให้เกิด ๆ กันไป


คุณ mes ครับ คงไม่ต้องให้ผมยกหลักฐานมาอ้างอิงนะครับ
-----------------------------------------

ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เรากล่าวอธิบายดังต่อ
ไปนี้-
ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลง
ในท้องแห่งมารดา นามรูปจักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไป
นามรูปจักบังเกิดเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่
จักขาดความสืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูป
ก็คือวิญญาณนั่นเอง ฯ
ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เรากล่าวอธิบายดังต่อ
ไปนี้-
ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้
อาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ พึงปรากฏ
ต่อไปได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณ
ก็คือนามรูปนั่นเอง ด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้แหละ อานนท์ วิญญาณและนามรูป
จึงยังเกิด แก่ ตาย จุติ หรืออุปบัติ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ ทางแห่งบัญญัติ
ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญาและวัฏฏสังสาร ย่อมเป็นไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ๆ ความ
เป็นอย่างนี้ ย่อมมีเพื่อบัญญัติ คือนามรูปกับวิญญาณ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑๔๕๕ - ๑๘๘๗. หน้าที่ ๖๐ - ๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1455&Z=1887&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57

------------------------------------

ปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธองค์ทรงตรัส จะกล่าวถึงการมีวิญญาณมาปฏิสนธิในครรภ์มารดา ด้วย

ซึ่งตรงนี้ ท่านพุทธทาสรับไม่ได้ครับ เพราะขัดกับความเชื่อของท่าน

คตอนนี้ พฤติกรรมของคุณ mes เริ่มเบี่ยงเบนมาก ๆ แล้ว ผมของดการสนทนากับคุณก่อนนะครับ

ครงไหนที่เห็นว่าผมกล่าวตู่พระไตรปิฏกบอกด้วยนะครับ ผมจะชี้แจงครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 6:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16059&start=0

อ้างอิงจาก:
คัดลอกจากคู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ วัดระฆังโฆสิตาราม

พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ไม่น่าปรารถนาที่มักเกิดกับนักศึกษาธรรมะ
และผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหาย


ก.ทำตัวอ่อนต่ออุปนิสัย เป็นคนเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ ขาดระเบียบวินัย ขาดความกระตือรือร้น ในการทำกิจต่าง ๆ ให้ครบถ้วนและดียิ่งขึ้น กลายเป็นคนอ่อนศักยภาพ ที่เรียกว่า ถูกพระสัทธรรมเหยียบ เหมือนถูกมนต์สะกด บางคนบางท่าน เกิดจิตวิปลาส เป็นผู้ที่สังคมไม่ยอมรับ เพราะประพฤติปฏิบัติผิดต่อพระธรรมวินัย นั่นเอง

ข.มีพฤติกรรม สวนกระแสพระสัทธรรม เช่น
๑)อติมานี มีมานะจัด มีนิสัยหยาบกระด้าง (ปากร้าย ชอบทะเลาะ เบาะแว้ง ) บุคคลอื่นแนะนำตักเตือนไม่ได้
๒)โกธาภิภูโต มักโกรธ หงุดหงิดรำคาญง่าย ไร้เหตุผล
๓)พหุภาณี พูดมาก ไม่รู้จักกาลเวลา ไม่เลือกสถานที่ และบุคคล ขาดความสุภาพ
๔)สาเถยยมายาวี เป็นคนเจ้าเล่ห์ มารยา มีเจตนาแอบแฝงที่ไม่ดี หน้าด้าน ไม่รู้จักอาย เป็นคนแก้อยาก
๕)ปาปิจฺโฉ มีความมักมาก แสวงหาปัจจัย โดยไม่ชอบธรรม ชอบคลุกคลี ในทางที่ไม่เหมาะสม
๖)ถทฺธี เป็นคนตระหนี่ เหนียวแน่น ชอบกอบโกย ชอบสะสม ชอบใช้อภิสิทธิ์ หรือวางอำนาจเหนือบุคคลอื่น มีอัธยาศัยคับแคบ ไม่ต้องการเห็นคนอื่นดีกว่าตน
๗)อามิสาภิมุขี เป็นคนเห็นแก่ประโยชน์จำเพาะหน้า มุ่งหน้าแต่เรื่องลาภสักการะ ชื่อเสียง ยศตำแหน่ง เป็นต้น
๘)สทฺธมฺมปฏิมุขี หันหลังให้พระสัทธรรม คือ ไม่ชอบฟังพระสัทธรรม ชอบหมกหมุ่นแต่ในเรื่องเดรัจฉานกถา หรือ ไม่ให้ความสำคัญแก่พระสัทธรรม สนใจและให้ความสำคัญแต่ในเรื่องทางโลก (โลกาธิปไตย หรือ โลกานุวัฒน์ ) หรือเอาความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ เป็นเครื่องตัดสิน (อัตตาธิปไตย) ขาดความมั่นคงและความเคารพยำเกรง ในพระสัทธรรม
๙)มุฏฐสฺสติ ขาดจิตสำนึกในความเป็นกัลยาณชน ขาดความยั้งคิด ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกระแสกิเลส
๑๐) อคมฺภีรปญฺโญ มีความคิดไม่เฉียบแหลม มีวิสัยทัศน์คับแคบ มองโลกในแง่ร้าย ขาดโยนิโสมนสิการ คือ พิจารณาเหตุผลและเหตุการณ์ให้รอบคอบ

--------------------------------------------------------------

ผมว่าพฤติกรรมของผู้ที่ศึกษา พระสัทธรรม อาจจะเบี่ยงเบนได้บ้าง และแก้ไขได้ง่ายกว่า พฤติกรรมของผู้ที่ยึดติดใน อาจาริยาวาท หรือ อัตตโนมติ

ยิ่ง อัตตโนมตินั้น เข้าใจว่าตนเองเข้าใจได้ถูกต้องกว่าพระไตรปิฏก อรรถกถา ยิ่งมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนอย่างยิ่ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 7:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเฉลิมศักดิ์

อ้างอิงจาก

บุพกรรมที่ทำให้พระจูฬปันถกท่องจำไม่ได้นั้นก็เพราะว่า ในศาสนาของพระกัสปปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระจูฬบันถกเป็นผู้มีปัญญาดีได้บวชเป็นภิกษุในศาสนานั้น มีภิกษุอีกรูปหนึ่งเป็นคนเขลาได้พยายามท่องปริยัติธรรมอยู่ พระจูฬปันถกเห็นเข้าก็หัวเราะเยาะในความไม่แตกฉาน ทำให้ภิกษุนั้นเกิดความละอายจึงเลิกเรียนไป เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น จึงทำให้พระจูฬปันถกเป็นผู้เขลาในกาลบัดนี้

(ตรงนี้ท่านอาจารย์ได้เน้นให้เกิดความกลัวบาปอีกครั้งหนึ่งว่า จะเห็นว่าท่านจูฬบันถกในสมัยนั้นเพียงแต่หัวเราะเยาะผู้อื่นเท่านั้น ยังทำให้ได้รับผลถึงขนาดนี้ ถ้าคนที่ได้อ่านพระสูตรแล้ว ก็จะเห็นว่า บาปแม้แต่น้อยนิดก็ยังให้ผลได้ และชีวิตก็อยู่ยากจริงๆ เพราะทำอะไรผิดพลาดได้ง่าย)


-- ขอบคุณค่ะ ที่นำมาให้อ่าน แต่เท่าที่จำความได้ ตั้งแต่เด็กมาจนโตถึงทุกวันนี้ ดิฉันไม่เคยมองว่าใครโง่ อันนี้เป็นพื้นฐานนิสัยเดิม ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะมาเป้นตอนนี้ ไม่เคยไปหัวเราะเยาะใครเวลาที่ใครเขาพยายามท่องหนังสือสอบ ดิฉันกลับจะเป็นฝ่ายคอยช่วยติวข้อสอบให้ คอยช่วยแนะนำให้กับเพื่อนๆที่เขามาตลอด บางทีกลับจากโรงเรียนจนมืด แม่ถามว่าทำไมกลับมามืดขนาดนี้ ดิฉันบอกว่า มัวแต่ติวให้เพื่อน ไม่ได้ดูเวลา เหมือนเรื่องการปฏิบัติก็เหมือนกัน ไม่เคยไปเที่ยวยัดเยียดบอกใครๆว่า ทำแบบฉันสิ ถูกแน่นอน คนอื่นน่ะมันเสียเวลา มันหลงไปกับนิมิต จะหลงนิมิตหรือไม่หลงนิมิต มันก็คือการปฏิบัติของเขา เราควรอนุโมทนากับเขา ยังไงมันก็เป็นการสร้างกุศล
ดิฉันกลับมาจากบ้าน เพื่อนถามว่า เขาสวดมนต์อย่างเดียว แต่ไม่ได้ปฏิบัตินี่ผิดไหม มีคนมาบอกว่า เขาต้องปฏิบัติแบบนี้ๆ อย่าสวดมนต์อย่างเดียว ดิฉันบอกเพื่อนว่า ที่เขาพยายามมาบอกว่าให้ทำแบบนี้ๆ เพราะเขาทำได้แบบไหน เขาย่อมแนะนำแบบนั้น ถ้าเที่ยวหน้าเขามาพูดอีก ให้ยิ้ม และกล่าวอนุโมทนากับเขา เดี๋ยวเขาเหนื่อย เขาเมื่อย เขาก็หยุดไปเอง มันเป็นเรื่องธรรมดาของผู้ปฏิบัติ ส่วนตัวเพื่อนเอง เพื่อนทำงาน เอาจิตจดจ่ออยู่กับงาน เขาทำขนมหวานขาย การทำงานก็ถือว่าเป็นการทำสมาธิเหมือนกัน ถ้าเราไม่มีสมาธิในการทำงาน งานเราจะเสร็จออกมาดีไหม ต้มถั่วแดงก็ออกมาเม็ดสวย ซึ่งบางคนยังทำไม่ได้อย่างนี้เลย เพื่อนบอกว่าต้องใจเย็น เวลาทำของพวกนี้ ต้องหมั่นช้อนฟอง ต้องหมั่นคน แล้วก็ได้บอกกับเพื่อนต่อ ... เธอรู้ไหม ทำไมบางคนถึงได้สนใจในการปฏิบัติ ทำไมบางคนไม่สนใจทั้งๆที่อยู่กับครูบาฯแท้ๆ เพราะกุศลที่สร้างไง แต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน วิบากกรรรมของแต่ละคนที่ได้เคยกระทำมาอีก


อ้างอิงจาก

คุณวลัยพรครับ ก็อย่ามั่นใจตนเองจนเกินไปนะครับ ว่าเข้าใจวิปัสสนาอย่างถ่องแท้แล้ว จนไม่ต้องอาศัยปริยัติอีกต่อไป

อาจจะล่วงเกินต่อพระปริยัติธรรมได้ จนเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรม



-- ด้วยความสัจจริงดิฉันไม่เคยล่วงเกินครูบาฯ ไม่ว่าจะท่านไหนก็แล้วแต่ จะขออโหสิกรรมก่อนทุกครั้งที่จะนำข้อความของครูบาฯมาพูด แม้แต่ปริยัติก็ตาม ดิฉันไม่เคยไปเที่ยวละเมิด เพียงแต่ตอนแรกพูดไปด้วยความไม่รู้ เพราะอันนั้นก็สนทนากับกัลยาณมิตร ไม่ได้ไปโพทนากับใครๆว่า ไม่ต้องไปเรียนหรือศึกษาปริยัติหรอก ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมันอยู่ในตัวเรานี่เอง ไม่ต้องไปหานอกตัว แล้วก็คำว่าเขาใจวิปัสสนาอย่างถ่องแท้นั้นคุณเฉลิมศักดิ์คงกล่าวผิดคนแล้วแหละ คำว่า " วิปัสสนา " เชื่อไหม ดิฉันมองแค่ว่า มันเป็นเพียงภาษสมมติบัญญัติ ใครจะสื่อยังไงก็ได้ แต่ในแนวทางของการปฏิบัติ ปฏิบัติได้ผลหรือไม่ได้ผล ให้ดูกิเลสตัวเอง ว่ามันลดหรือเพิ่ม ถ้าทำแล้วอัตตา มานะ ยังใหญ่โต นี่ผิดทางแล้ว ยิ่งกิเลสยังหนาเท่าเดิมหรือหนามากขึ้น ก็ยิ่งผิดทางใหญ่

-- สรุปคือ ทั้งหมดที่คุณเฉลิมศักดิ์นำมาพูด เป็นความคิดของคุณเฉลิมศักดิ์เอง แต่บังเอิญเรื่องจูฬบันถก ยกมาให้ฟังผิดคน เพราะดิฉันไม่เคยไปหัวเราะเยาะใคร และไม่เคยไปกล่าวว่าใครโง่ พฤติกรรมนี้ไม่มีในนิสัยของดิฉันจริงๆ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน อันนี้ก็ไม่ว่ากัน ก็คงจะไม่มีอะไรแล้วแหละ คิดว่าจะพูดในสิ่งที่คิดว่าควรพูด ส่วนคุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อเรื่องการละเมิดครูบาฯ อันนี้ก้แล้วแต่คุณ เพราะบอกไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า กุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน วิบากกรรมของแต่ละคนอีก คิดว่าจบแล้ว ไม่มีคำพูดในเรื่องนี้อีกแล้วค่ะ
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 10:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก:
เมื่อท่านตายแล้วท่านจะไปไหน

เรื่องของความตายนี้ ถ้าจะว่าโดยปรมัตถธรรมอันเป็นความจริง จริงๆแล้ว“ความตาย” นั้นไม่มี คนเกิด คนตาย สัตว์เกิดหรือสัตว์ตายก็ไม่มีเหมือนกัน ทำไมถึงได้ว่าดังนั้น
เมื่อเราตัดต้นไม้มา นั่นก็คือเราตัด “รูป” คือต้นไม้นั้นแล้วมาทำเป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ เมื่อตัดออกแล้วก็สมมุติเรียกกันว่าต้นไม้ตาย รูปซึ่งเป็นต้นไม้นั้นก็มาเปลี่ยนแปลงเป็นโต๊ะเก้าอี้ไป..... เมื่อโต๊ะและเก้าอี้ซึ่งเป็นรูปผุพังลง โต๊ะเก้าอี้ก็หายไปจากสายตา มันก็กลายสภาพเป็นรูปไปอีกแบบหนึ่ง คือ “ดิน” แต่ดินเราก็เรียกว่าเป็น “รูป” เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เราจะพูดว่าโต๊ะเก้าอี้ตายก็ย่อมได้เหมือนกัน

ดังนั้นต้นไม้ก็คือ ..รูป โต๊ะเก้าอี้ก็คือ รูป... และดินก็คือ รูป
แต่รูปเหล่านี้มันไม่เหมือนกัน เราจึงสมมุติตั้งชื่อมันว่า.. ต้นไม้ โต๊ะเก้าอี้ และดิน เราตั้งชื่อมันเสียใหม่ เพื่อหวังว่าจะได้พูดกันให้รู้เรื่อง

เหมือนกับต้นไม้ตาย ความจริงต้นไม้มิได้ตาย เราจึงสมมุติให้เป็นที่เข้าใจกัน
เหมือนกับรถยนต์ตาย ความจริงรถยนต์มิได้ตาย แต่มันแล่นไปไม่ได้..เพราะเครื่องมันเสียเท่านั้นเอง เราก็สมมุติเพื่อจะให้รู้เรื่องว่า รถยนต์ตาย

ด้วยเหตุดังนี้เอง รูปคือร่างกายของสัตว์ทำการงานไปตามปกติมิได้แล้ว จิตใจหรือวิญญาณมิได้เกิดขึ้นมาได้แล้ว เราจึงได้สมมุติพูดกันว่า คนตายหรือสัตว์ตาย

แท้ที่จริง รูปคือร่างกายของคนหรือสัตว์ ที่เกิดดับเปลี่ยนแปลงไปมาในวินาทีหนึ่งตั้งมากมาย.. แม้จิตใจหรือวิญญาณของคนหรือสัตว์ก็เหมือนกัน ก็ย่อมจะเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปมาในวินาทีหนึ่งนับไม่ไหว

ทั้งรูปและนามเกิดดับตลอดชั่วชีวิตหนึ่งนั้นนับคำนวณไม่ได้เลย.มีที่แปลกอยู่ตรงที่ว่า เมื่อชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่ ในภพชาติใหม่นั้น มีรูปกายแปลกออกไป และจิตใจเมื่อไปได้สิ่งแวดล้อมใหม่เข้าแล้ว ก็อาจจะผิดไปบ้างนิดๆหน่อยๆ และค่อยๆผิดไปทีละน้อยๆ ตามแต่เหตุปัจจัยที่มาผันแปร

ถ้าจะว่าไปก็เปรียบเหมือนต้นไม้เมื่อก่อน แต่เดี๋ยวนี้มาเปลี่ยนเป็นโต๊ะเป็นเก้าอี้ไปเสียแล้ว.. และต่อมาก็เป็นดินไปอีก

แม้ผมจะได้อธิบายถึงปรมัตถธรรมว่า ไม่มีคนตาย ไม่มีสัตว์ตายก็จริง แต่ผมก็จำต้องอธิบายเรื่องความตายให้ท่านฟัง โดยเอาคำที่สมมุติกันว่าตายออกมาใช้ หาได้แล้วจะอธิบายได้อย่างไร

ขอให้ท่านทำความเข้าใจเอาไว้แต่เพียงว่าคนตาย หรือสัตว์ตายนั้น มิได้มีจริงๆ ทั้งรูปทั้งนามก็ย่อมจะผันแปรเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย เวลานี้มีรูปมีนามอยู่ที่นี่ เผลอไปอีกวินาทีหนึ่ง รูปนามนี้ก็อาจจะสืบต่อไปอยู่ในท้องของมารดา เป็นเพียงจุดเล็กๆจุดหนึ่งของมารดาอีกคนหนึ่งเสียก็ได้ แล้วต่อไปอีกไม่นานสักเท่าใดก็เป็นไปอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะได้เกิดเป็นเปรต อสุรกาย หรือเกิดเป็นเทวดา

ว่าโดยปรมัตถ์ คนหรือสัตว์คือทั้งรูปทั้งนาม ก็แตกดับไปแล้วก็เกิดทดแทนขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ ..ซึ่งก็คือได้ตายไปอยู่ทุกวินาที





อย่างนี้คุณเฉลิมศักดิ์ว่าอย่างไหง

ชาตินี้ ชาติหน้า อยู่ไหน


ข้อความข้างบนนี้คุณเฉลิมศักดิ์มีความเห็นอย่างไรครับ

สำหรับผม ผมยอมรับและศึกษาครับ

แปลว่าเชื่อ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
อิทธิกร
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 28 ส.ค. 2008
ตอบ: 137
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 3:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

?
 

_________________
ชีวิตที่รู้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
อิทธิกร
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 28 ส.ค. 2008
ตอบ: 137
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 4:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

?
 

_________________
ชีวิตที่รู้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 9:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก:
เมื่อท่านตายแล้วท่านจะไปไหน

เรื่องของความตายนี้ ถ้าจะว่าโดยปรมัตถธรรมอันเป็นความจริง จริงๆแล้ว“ความตาย” นั้นไม่มี คนเกิด คนตาย สัตว์เกิดหรือสัตว์ตายก็ไม่มีเหมือนกัน ทำไมถึงได้ว่าดังนั้น
เมื่อเราตัดต้นไม้มา นั่นก็คือเราตัด “รูป” คือต้นไม้นั้นแล้วมาทำเป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ เมื่อตัดออกแล้วก็สมมุติเรียกกันว่าต้นไม้ตาย รูปซึ่งเป็นต้นไม้นั้นก็มาเปลี่ยนแปลงเป็นโต๊ะเก้าอี้ไป..... เมื่อโต๊ะและเก้าอี้ซึ่งเป็นรูปผุพังลง โต๊ะเก้าอี้ก็หายไปจากสายตา มันก็กลายสภาพเป็นรูปไปอีกแบบหนึ่ง คือ “ดิน” แต่ดินเราก็เรียกว่าเป็น “รูป” เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เราจะพูดว่าโต๊ะเก้าอี้ตายก็ย่อมได้เหมือนกัน

ดังนั้นต้นไม้ก็คือ ..รูป โต๊ะเก้าอี้ก็คือ รูป... และดินก็คือ รูป
แต่รูปเหล่านี้มันไม่เหมือนกัน เราจึงสมมุติตั้งชื่อมันว่า.. ต้นไม้ โต๊ะเก้าอี้ และดิน เราตั้งชื่อมันเสียใหม่ เพื่อหวังว่าจะได้พูดกันให้รู้เรื่อง

เหมือนกับต้นไม้ตาย ความจริงต้นไม้มิได้ตาย เราจึงสมมุติให้เป็นที่เข้าใจกัน
เหมือนกับรถยนต์ตาย ความจริงรถยนต์มิได้ตาย แต่มันแล่นไปไม่ได้..เพราะเครื่องมันเสียเท่านั้นเอง เราก็สมมุติเพื่อจะให้รู้เรื่องว่า รถยนต์ตาย

ด้วยเหตุดังนี้เอง รูปคือร่างกายของสัตว์ทำการงานไปตามปกติมิได้แล้ว จิตใจหรือวิญญาณมิได้เกิดขึ้นมาได้แล้ว เราจึงได้สมมุติพูดกันว่า คนตายหรือสัตว์ตาย

แท้ที่จริง รูปคือร่างกายของคนหรือสัตว์ ที่เกิดดับเปลี่ยนแปลงไปมาในวินาทีหนึ่งตั้งมากมาย.. แม้จิตใจหรือวิญญาณของคนหรือสัตว์ก็เหมือนกัน ก็ย่อมจะเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปมาในวินาทีหนึ่งนับไม่ไหว

ทั้งรูปและนามเกิดดับตลอดชั่วชีวิตหนึ่งนั้นนับคำนวณไม่ได้เลย.มีที่แปลกอยู่ตรงที่ว่า เมื่อชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่ ในภพชาติใหม่นั้น มีรูปกายแปลกออกไป และจิตใจเมื่อไปได้สิ่งแวดล้อมใหม่เข้าแล้ว ก็อาจจะผิดไปบ้างนิดๆหน่อยๆ และค่อยๆผิดไปทีละน้อยๆ ตามแต่เหตุปัจจัยที่มาผันแปร

ถ้าจะว่าไปก็เปรียบเหมือนต้นไม้เมื่อก่อน แต่เดี๋ยวนี้มาเปลี่ยนเป็นโต๊ะเป็นเก้าอี้ไปเสียแล้ว.. และต่อมาก็เป็นดินไปอีก

แม้ผมจะได้อธิบายถึงปรมัตถธรรมว่า ไม่มีคนตาย ไม่มีสัตว์ตายก็จริง แต่ผมก็จำต้องอธิบายเรื่องความตายให้ท่านฟัง โดยเอาคำที่สมมุติกันว่าตายออกมาใช้ หาได้แล้วจะอธิบายได้อย่างไร

ขอให้ท่านทำความเข้าใจเอาไว้แต่เพียงว่าคนตาย หรือสัตว์ตายนั้น มิได้มีจริงๆ ทั้งรูปทั้งนามก็ย่อมจะผันแปรเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย เวลานี้มีรูปมีนามอยู่ที่นี่ เผลอไปอีกวินาทีหนึ่ง รูปนามนี้ก็อาจจะสืบต่อไปอยู่ในท้องของมารดา เป็นเพียงจุดเล็กๆจุดหนึ่งของมารดาอีกคนหนึ่งเสียก็ได้ แล้วต่อไปอีกไม่นานสักเท่าใดก็เป็นไปอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะได้เกิดเป็นเปรต อสุรกาย หรือเกิดเป็นเทวดา

ว่าโดยปรมัตถ์ คนหรือสัตว์คือทั้งรูปทั้งนาม ก็แตกดับไปแล้วก็เกิดทดแทนขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ ..ซึ่งก็คือได้ตายไปอยู่ทุกวินาที





อย่างนี้คุณเฉลิมศักดิ์ว่าอย่างไหง

ชาตินี้ ชาติหน้า อยู่ไหน


ข้อความข้างบนนี้คุณเฉลิมศักดิ์มีความเห็นอย่างไรครับ

สำหรับผม ผมยอมรับและศึกษาครับ

แปลว่าเชื่อ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 1:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านเป็นพระอริยะ
ที่หันกลับมาสนใจการเรียนปริยัติ แต่ท้ายสุด ท่านไม่เดินต่อ
ถ่านไม่ถนัดปริยัติแม้จะพยามแล้ว ว่างั้นเถอะ
(หาอ่านได้จากประวัติของท่าน)

สิ่งที่น่าสนใจคือ สัทธรรมของท่าน ไม่แปรรูปคลาดเคลื่อน
เพราะท่านเป้นอรหันต์แล้ว
ท่านมี จิตของท่านเป็นพยานในพระไตรปิฏก
ท่านสามารถชี้แจงผิดถูกได้หมดจรด

แต่คุณเฉลิมศักดิ์พยามใช้ตัวหนังสือ กับสมองคิด
ชี้แจงผิดถูกให้หมดจรดเสมือนหนึ่งใช้วิสัยของพระอริยะ


ความจริงเราไม่ต้องไปสนใจคุณฉลิมศักดิ์มากหรอกนะคับ
ปล่อยเขาวุ่นวายในการเค้นความจริงถูกผิดด้วยภาษาต่อไป

เรามุ่งปฏิบัติของเราไป
ยังไงเสีย ทางเอก ก็คือ การปฏิบัติ
ปริยัติ เป็นแค่แผนที่ของทางเอก

ใครจะไปวินิจฉัยแผนที่เพื่อหาคำตอบว่ามันจริงหรือไม่จริง
ก้สู้คนที่เดินไปตามแผนที่ไม่ได้ เพราะได้เห็นเองกับตัวเอง

และแผนที่หนังสือ มันก็มีประโยชน์แค่เบื้องต้นเท่านั้น
ในระดับสูง การมีแผนที่ชั้นเลิศ ก็ไม่เท่าเราเข้าไปกราบถามพระอริยะโดยตรง
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 6:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ขอให้ท่านทำความเข้าใจเอาไว้แต่เพียงว่าคนตาย หรือสัตว์ตายนั้น มิได้มีจริงๆ ทั้งรูปทั้งนามก็ย่อมจะผันแปรเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย เวลานี้มีรูปมีนามอยู่ที่นี่ เผลอไปอีกวินาทีหนึ่ง รูปนามนี้ก็อาจจะสืบต่อไปอยู่ในท้องของมารดา เป็นเพียงจุดเล็กๆจุดหนึ่งของมารดาอีกคนหนึ่งเสียก็ได้ แล้วต่อไปอีกไม่นานสักเท่าใดก็เป็นไปอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะได้เกิดเป็นเปรต อสุรกาย หรือเกิดเป็นเทวดา


คงเป็นคำสอนของท่านพุทธทาส ที่คุณ mes ออกมาปกป้อง

คุณ mes ครับ เปรต อสุรกาย เทวดา ท่านพุทธทาสได้ให้คำจำกัดความ ว่าหมายถึงคนที่มีภาวะจิตใจต่าง ๆ ( ไม่เกี่ยวกับการตายเข้าโลง)ไว้ดังนี้ครับ ( ไม่ใช่ โอปปาติกะ ในภพภูมิต่าง ๆ )

http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/language30.html

อ้างอิงจาก:
แต่ว่า ภาษาธรรม นั้น หมายอีกอย่างหนึ่ง
คือ เป็นสภาพ เป็นภาวะ- ทางจิตใจ เพราะเป็นภาษาจิตใจ
ก็ชี้ไปยังภาษาของจิตใจ หรือภาวะทางจิตใจ

นรก นี่คือ ภาวะที่กำลังร้อนใจ เป็นไฟเผาลน อยู่ในตัวคน

เดรัจฉาน คือ ความโง่ ที่มีอยู่ในตัวคน เพราะ สัตว์เดรัจฉาน
นั่นคือ โง่ ความโง่ นั้นมาอยู่ในตัวคน
โลกเดรัจฉาน มาอยู่ในใจคน ในตัวคน

เปรต คือ ความทะเยอทะยาน ความหิว ด้วยกิเลสตัณหา
ในนั่นในนี่ ในกามารมณ์ หรือ ในความหวัง อะไรก็ตาม
หวังจนนอนไม่หลับ หิวจนนอนไม่หลับ เปรียบเหมือนกับว่า
มีปากเท่ารูเข็ม มีท้องเท่าภูเขา
มันจะกินเข้าไปให้ทันได้อย่างไร มันก็หิวเรื่อย.

อสุรกาย คือ ความกลัว ความกลัวเป็นปัญหาใหญ่ รบกวนจิตใจ
เหลือเกิน นี่คือ อสุรกาย หรือ โลกของอสุรกาย ที่มันอยู่ในใจคน


------------------------------------------------

คุณ mes ครับ หรือว่าคำสอนของท่านพุทธทาส จะกลับไปกลับมา แล้วแต่ทิฏฐิตอนนั้นจะเป็นแบบไหน

บางทีก็นึกว่า พระพุทธเจ้าเอออวยกับศาสนาพราหมณ์อีก

http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html

เพราะคนโง่ ๆ เยอะ

---------------------------------------------------

คุณ mes ครับ คุณจะออกมาปกป้องท่านพุทธทาส หรือ พระไตรปิฏก อรรถกถา ครับ ?
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 10:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก:
ขอให้ท่านทำความเข้าใจเอาไว้แต่เพียงว่าคนตาย หรือสัตว์ตายนั้น มิได้มีจริงๆ ทั้งรูปทั้งนามก็ย่อมจะผันแปรเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย เวลานี้มีรูปมีนามอยู่ที่นี่ เผลอไปอีกวินาทีหนึ่ง รูปนามนี้ก็อาจจะสืบต่อไปอยู่ในท้องของมารดา เป็นเพียงจุดเล็กๆจุดหนึ่งของมารดาอีกคนหนึ่งเสียก็ได้ แล้วต่อไปอีกไม่นานสักเท่าใดก็เป็นไปอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะได้เกิดเป็นเปรต อสุรกาย หรือเกิดเป็นเทวดา


คงเป็นคำสอนของท่านพุทธทาส ที่คุณ mes ออกมาปกป้อง

คุณ mes ครับ เปรต อสุรกาย เทวดา ท่านพุทธทาสได้ให้คำจำกัดความ ว่าหมายถึงคนที่มีภาวะจิตใจต่าง ๆ ( ไม่เกี่ยวกับการตายเข้าโลง)ไว้ดังนี้ครับ ( ไม่ใช่ โอปปาติกะ ในภพภูมิต่าง ๆ )

http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/language30.html



ข้อความข้างบนนี้เป็นของท่าน บุญมี เมธางกูร

http://www.abhidhamonline.org/Ajan/BM/after.doc
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง