Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิวาทะ เรื่อง การปฏิบัติในแนวพองยุบ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 5:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พอดีไปค้นเจอ วิวาทะ เรื่อง การปฏิบัติในแนวพองยุบ เลยนำมาลงไว้


ใช่ว่า พึ่งจะมี ระหว่างผม กับคุณกรัชกาย ในกระทู้นี้


แนวทางปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธไม่ได้
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241&postdays=0&postorder=asc&start=0

------------------------------------------------------------------

เนื้อหาบางส่วน ในการสนทนาธรรม ครั้งนั้น ( ไม่อยากเรียกว่า วิวาทะ เลยครับ)


http://www.dharma-gateway.com/misc/misc-73-01.htm


เรียนคุณผู้ไม่ประสงค์จะออกนามที่นับถือ ที่กล่าวไว้ว่า

"ถ้าคุณโชติกะ เปิดใจให้กว้าง ก็จะทราบดีว่า การปฏิบัติแบบพองยุบ มีส่วนที่ไม่ถูกต้องกับพระพุทธพจน์ก็มีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี และมิใช่การปฏิบัติที่ถูกต้อง 100 % ตามแบบที่พระพุทธองค์ทรงตรัสด้วย แม้แต่การปฏิบัติสายไหนก็ตามที่ไม่ถูกต้องตามพระพุทธดำรัส ก็ต้องไม่สนหน้าอินทร์ หน้าพรหม อย่างที่คุณประกาศมาเช่นเดียวกัน แต่จะทำอย่างไรได้ล่ะ ในเมื่อ คุณเองก็ปฏิบัติแบบที่ไม่ถูกต้องกับหลักของบาลี และอรรถกถา อยู่เช่นกันและแม้พระที่จบธัมมาจริยะนั้นบางองค์ ที่ปฏิบัติพองยุบ ก็ต้องพยายามพูดให้ถูกหลักเข้าว่า ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ถูกต้อง 100 %"

ผมขอคำอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับว่าใช้หลักเกณฑ์อย่างไรมีเหตุผลอย่างไรในการกล่าวเช่นนั้นผมขอให้แยกตอบเป็น ๒ ข้อนะครับ คือ

๑.ที่ว่าไม่ถูกต้อง 100 % นั้นอย่างไรครับ

๒.การปฏิบัติแบบนี้ถูกหรือผิดตามพุทธพจน์ครับ (คืออยากให้ชัดเจนครับ ไม่ต้องเป็นเปอร์เซนต์)

จากคุณ : แววตะวัน [ 7 ก.ย. 2545 ]




ความคิดเห็นที่ 1 : (nnb1 @ thaimail.com)

การถกเถียงกันในทางพระพุทธศาสนาไม่ควรแตกหักกันรุนแรง ถ้าเขาไม่ยึดคำสอนพระศาสดาก็บอกว่าเราอ้างจากพระสูตรนั้น ๆท่านอ้างจากที่ไหนแล้วศึกษาทรงจำของเขาให้ดีแล้วไปค้นหา ถ้าไม่พบก็บอกกันดี ๆ ถึงเขาไม่พึงฟังก็ให้อภัยกันด้วยเมตตาจากผู้ผ่านมา

จากคุณ : nnb1 @ thaimail.com [ 7 ก.ย. 2545 ]




ความคิดเห็นที่ 2 : (ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม)

ถ้าจะคุยกันคงจะยาวนานมาก แต่คุณแววตะวันโปรดทราบว่าผู้พิมพ์มิได้มีเจตนาจะดูถูกการปฏิบัติสายนี้แต่อย่างใด เพราะตนเองก็เข้ามาสู่พระพุทธศาสนาก็เพราะการปฏิบัติสายนี้เช่นเดียวกัน แต่ส่วนที่ถูกก็คือถูกแต่สิ่งที่ไม่ตรง ก็ต้องเป็นสิ่งที่ไม่ตรงตามหลักฐาน ไม่ใช่ความเห็นส่วนตัว หวังว่าคุณแววตะวันจะเข้าใจ

และที่แสดงความเห็นดังกล่าวไปก็เพื่อมุ่งให้คุณโชติกะมุ่งทำกิจที่มีประโยชน์มากกว่าการเผยแผ่ธรรมะในลานธรรมซึ่งนำมาซึ่งความช้ำทั้งต่อคุณโชติกะเองและผู้อ่าน (ส่วนใหญ่)

แต่มีหลายประเด็นที่จะชี้แจงสั้น ๆ เช่น

1. วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์ มิใช่บัญญัติ ตราบใดถ้าไม่ทิ้งองค์บริกรรมก็ยังเป็นบัญญัติอยู่ อย่าว่าแต่บัญญัติที่เป็นคำ ๆ เช่น เห็นหนอ ยินหนอ เป็นต้น แค่รู้สึกว่าเป็นเราขึ้นมา เช่นเราเดิน เราเห็น หรือยังรู้ทรวงทรงสัณฐานก็เป็นบัญญัติแล้ว ตราบใดที่ยังไม่ทิ้งบัญญัติ ไม่มีทางขึ้นนามรูปปริจเฉทญาณได้

แต่สายพองยุบ (บางสำนัก) บางคนยังบริกรรมอยู่แท้ ๆ การเดินก็ยังเป็นตัวเป็นตนอยู่ ถึงญาณ 16 แล้วก็มี

2. การบังคับอารมณ์ให้ต้องรู้ตรงนั้นตรงนี้ เช่นการเดิน 6 ระยะ นั้น นำมาจากหลักในวิสุทธิมรรค แต่ไปเอาผลมาทำเป็นเหตุ กล่าวคือ ในวิสุทธิมรรคเมื่อถึงสมสนญาณ ผู้มีปัญญาก็จะสามารถแยกการเดินออกได้เป็น 6 ระยะด้วยกำลังของญาณที่เห็นการเกิดดับ

แต่วิธีของพองยุบ ไปบังคับให้รูปแยกกันเป็นระยะ เช่น ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ กดหนอ ไปทำผลมาเป็นเหตุแทน นอกจากนี้การบังคับบัญชานั้นยังเกิดด้วยอำนาจของตัวตนที่บังคับบัญชาทั้งรูปและนามให้เคลื่อนไปได้ด้วยอำนาจตัวตนอีก

ถ้ายังเดินจงกรมกันอยู่อย่างนี้ แม้จะมีความรู้ปรมัตถ์มาอยู่บ้าง เช่นอาจจะรู้เย็น ร้อน อ่อนแข็ง หย่อน ตึง แต่ก็รู้บัญญัติเสียมากกว่า เพราะต้องบริกรรม ให้ทันสภาวะ ซึ่งก็ไม่มีทางทัน เพราะสภาวธรรมนั้นเกิดดับเร็วมาก

ยิ่งบริกรรมก็ยิ่งไม่ทันปัจจุบันเท่านั้น มิหนำซ้ำยังบังคับบัญชาให้เดินด้วยระยะเท่านั้นเท่านี้ เป็นการใส่อัตตาเข้าไปอีก ยิ่งเดินก็มักจะได้ โลภทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ซะมากกว่า

3. ยิ่งบริกรรมชำนาญเข้า อัตตาที่แทรกเข้าไปในการบริกรรมแบบไม่รู้ตัว กล่าวคือ เมื่อได้ยินเสียงก็กำหนดยินหนอ ตากระทบรูปก็กำหนด เห็นหนอ จนมีความชำนาญจนอัตตานั้นทำหน้าที่บังคับสติอีกทีหนึ่ง ซึ่งกว่าจะละตรงจุดนี้ได้นั้นไม่ง่ายเลย ที่จะไม่บังคับบัญชาผู้รู้

4. การดูลมแบบพองยุบที่ท้องไม่มีหลักฐานใด ๆ เลย ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ที่อ้างกันว่าเป็น ผุสสนนัย คือนัยกระทบ ตามนัยของวิสุทธิมรรค ท่านก็มิได้แสดงไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นที่ท้องพอง ท้องยุบ

มิหนำซ้ำ การปฏิบัติแบบอานาปานสติ ที่เป็นสติปัฏฐานตามพระไตรปิฎกและอรรถกถา ่หรือแม้แต่วิสุทธิมรรค ให้ดูลมเป็นบาทเพื่อให้ได้ฌาน แล้วจึงออกจากฌานพิจารณาฌานเป็นไตรลักษณ์ จึงเป็นวิปัสสนา

แต่ของพองยุบ ให้ดูกองลมเป็นวิปัสสนาเลย แล้วก็เห็นไตรลักษณ์ตรงท้องพองยุบนี่แหละ เช่น พอง ๆ ยุบ ๆ พอง ๆ ยุบ ผงะวูบไป แล้วก็ว่า เห็นอนิจจัง หรือท้องพองจนแน่น อึดอัด แล้ววูบไป ก็บอกว่า เป็นทุกขัง หรือ เห็นพองยุบ แบบเส้นด้ายบาง ๆ แล้ววูบไป เป็นอนัตตา อันนี้ไม่ถูกต้องตามหลักเลย

การเห็นไตรลักษณ์ ต้องเห็นนามหรือรูป โดยความเป็นไตรลักษณ์ มิใช่เห็นท้องพองท้องยุบ แล้วการเห็นไตรลักษณ์ก็เพื่อถอนความเห็นผิดที่เมื่อโดยสรุปแล้ว ก็คือการถ่ายถอนตัวตนนั้นเอง

ก็น่าแปลกที่ว่า กิเลสมันไปยึดตัวตนที่ท้องตั้งแต่เมื่อไหร่ ว่าฉันพอง ฉันยุบ แล้วก็มุ่งจะไปให้เห็นไตรลักษณ์กันแค่ที่ท้อง

นี่เป็นเพียงบางส่วนที่จะนำมากล่าวแต่คงไม่กล่าวหมด ว่าคุณแววตะวันคงจะไปพิจารณาต่อเองได้บ้าง เช่นการอ้างเรื่อง ปีติ 5 การอ้างเรื่องญาณ 16

ถ้าคุณได้อ่านหนังสือของผู้ปฏิบัติพองยุบ บางท่าน เช่นคุณธนิต อยู่โพธิ์ ตอนที่ท่านประกาศว่าท่านบรรลุธรรม ลองอ่านดูเถอะ ว่าวิญญูชนที่สมบูรณ์ด้วยเหตุผลและหลักฐานจะพิจารณาได้อย่างไร

ถ้าจะให้สรุปแบบฟันธง ก็ต้องแยกว่าการกำหนดวิธีของพองยุบ ถือเป็นพื้นฐานที่ดีมากวิธีหนึ่ง ถ้าทิ้งองค์บริกรรมออกทั้งหมด ไม่บังคับบัญชาการเดิน ยืน นั่ง นอนให้ผิดปกติ การพิจารณาอิริยาบถย่อยก็เป็นหลักที่ดี ถ้าทิ้งบริกรรม หรือการเทียบลำดับญาณกับอาการทางกายเช่น ตัวโยก ตัวไหว สั่น ฯลฯ

การที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า คจฺฉนฺโต ว่า คจฺฉามีติ ปชานาติ เมื่อเดินอยู่ก็รู้ชัดว่าเราเดิน อรรถกถาแก้ว่า ให้รู้วาโยธาตุ ในการเดิน เป็นต้น ที่สำคัญคือให้ละเราออก ในวิสุทธิมรรคให้ดูการเกิดดับของการเดินเป็นต้น

ไม่มีในคัมภีร์ไหนเลยที่บอกว่า ต้อง ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ กลับหนอ ฯลฯ อันนี้คงต้องอ้างพระพุทธพจน์ที่ควรเคารพอย่างยิ่งว่า

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่บัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ยังจักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ตถาคตได้บัญญัติไว้แล้ว ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้”

การใส่บริกรรมลงไปถือว่า บัญญัติสิ่งที่พระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติหรือไม่ โปรดพิจารณาด้วยเทอญ

แต่ถ้าถามว่าถูกต้องพระพุทธพจน์หรือไม่ คุณแววตะวันลองอ่าน มหาสติปัฏฐานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา อภิธัมมัตถสังคหะ และวิสุทธิมรรค ก็น่าจะให้คำตอบตนเองได้ด้วยดี

จากคุณ : ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม [ 7 ก.ย. 2545 ]

----------------------------------------------------------

มีหลายตอนครับ ลองศึกษาดูหลาย ๆ แนวทาง ก่อนลงมือปฏิบัติ ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 8:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เข้าไปอ่านมาแล้วครับคุณเฉลิมศักดิ์ แต่ดูผ่านๆ แต่ก็พบความ

เห็น =>

แต่สายพองยุบ เจริญกันเป็นหมู่คณะ ถึงจะมีแยกเดียวบ้าง ก็ทำ

กันไม่ถึงขั้นฌาน


อ่านแล้วอดยิ้มไม่ได้

คงไปเห็นที่เขาจัดอบรมเป็นคอร์สมาแน่ๆ เลยเหมาว่าผู้ที่ใช้พอง

ยุบเป็นกรรมฐานเจริญกันเป็นหมู่คณะ... ความคิดใสๆซื่อ ๆเหมือน

คุณ ซึ่งก็เคยปรารภแบบเดียวกันนี้เลย

ก็ไปเห็นที่เค้าเปิดอบรมกันเป็นกลุ่มเป็นคณะอย่างนั้น เค้าจึงต้อง

สอนกันเป็นกลุ่มเป็นคณะอย่างที่เห็น

แต่หลังจากนั้น เราจะไปทำที่บ้านคนเดียว หรือที่ไหนๆก็ได้ไม่มีใคร

ห้าม เพราะเรามีแนวทางแล้ว

มิใช่ไปคิดเอาเองว่า ฉันเคยไปเรียนมาเป็นกลุ่มๆ ละหลายสิบคน

จึงยึดติดแบบนั้น

พอกลับถึงบ้านอยู่คนเดียว วังเวงไม่กล้าทำเหมือนมันขาดอะไร

ไป จึงไปตะโกนเรียกเพื่อนบ้านมารวมกลุ่ม

เพื่อปฏิบัติกรรมฐาน เพื่อพองหนอยุบหนอ อายหน้าแดง

ไม่ใช่นะครับ

อยู่คนเดียวก็ทำคนเดียว อยู่ตรงไหนก็ทำตรงนั้นยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 8:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


นำมาจากตรงนี้ครับ....



ถ้าการปฏิบัติพองยุบ อ้างว่าเป็นการเจริญอานาปานสติ ก็ผิดกับ

หลักของอรรถกถา หลาย ๆ จุดดังต่อไปนี้คือ

1. อานาปานสติต้องเจริญในเรือนว่าง หรือในป่าเป็นต้น และ

ต้องได้ฌาน ออกจากฌานจึงพิจารณาองค์ฌานซึ่งเป็นนาม

โดยความเป็นไตรลักษณ์

แต่สายพองยุบ เจริญกันเป็นหมู่คณะ ถึงจะมีแยกเดียวบ้าง ก็ทำ

กันไม่ถึงขั้นฌาน


อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึ้ง

ด้วยเสียงหญิงชาย ช้างม้าเป็นต้น จะบำเพ็ญอานาปานสติ

กัมมัฏฐาน อันเป็นยอดในกายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่ง

การบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระ

พุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้สำเร็จ

ไม่ใช่ทำได้ง่าย ๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก

ด้วยความเคารพ

จากคุณ : ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม [ 15 ก.ย. 2545 ]
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 9:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเฉลิมศักดิ์คิดอย่างนั้นหรอครับ คิดว่าเราวิวาทะกันหรือครับ

แต่กรัชกายเปล่าคิดนะครับ

คุณได้ดูสารคดี ตามรอยพระพุทธเจ้าไหมครับ

พระทิเบตสนทนาธรรมกันน่ะ รูปหนึ่งปุจฉา อีกรูปหนึ่งวิสัชชนา

อย่าคิดมากสิครับ เราสนทนาธรรมกัน อายหน้าแดง


คุณก็พอมีแนวทางมาก่อนแล้ว คิดหนอๆ หรือ ฟุ้งซ่านหนอๆ

สิครับ

ลองดูครับ ได้ผลอย่างไร บอกกรัชกายบ้าง ซึ้ง

แนวทางนี้ แก้อารมณ์แบบของคุณได้นะครับ

หรือคุณจะค้านครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 6:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.dharma-gateway.com/misc/misc-73-04.htm



ความคิดเห็นที่ 31 : (ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม)

คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนามบอกว่าได้ปฏิบัติแบบพองยุบมามากแล้ว และหนักมากด้วย ผมคิดว่าระยะเวลาในการปฏิบัติคงไม่ใช่เครื่องตัดสิน คุณอาจจะยังปฏิบัติไม่ถูกต้องนักก็ได้ การปฏิบัติกรรมฐานเป็นเรื่องละเอียดอ่อนนะครับ บางครั้งเราคิดว่าปฏิบัติดีแล้ว ถูกแล้ว แต่ยังไม่ดี ยังไม่ถูกก็มี ยิ่งที่บอกว่าการปฏิบัติวิปัสสนาจะมีอารมณ์บัญญัติไม่ได้เลยนั้น ก็แสดงว่ายังไม่ได้ศึกษาการปฏิบัติแบบพองยุบมากพอ การปฏิบัติในเบื้องแรกอาจจะปฏิบัติรวมกันมาก ๆ ได้ ได้ผลและได้ประโยชน์มากเหมือนกัน แต่สุดท้ายแล้วการปฏิบัติคนเดียวภายใต้คำแนะนำของพระวิปัสสนาจารย์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

สายพองยุบนั้น ปฏิบัติมาตั้งแต่ สายวัดอัมพวัน สายยุวพุทธฯ ซึ่งก็มีครูบาอาจารย์หลายท่าน ทั้งจากพม่า มาจากพม่า ฯลฯ สายวัดดอนพุด สายวิเวกอาศรม ฯลฯ ครูบาอาจารย์ที่รู้จักก็รู้จักเกือบทุกท่านในสายพองยุบ แต่มิอยากจะเอ่ยนามท่านเพราะความเคารพ

แค่อยากจะบอกว่าตนเองปฏิบัติมาจนครูบาอาจารย์ในสายพองยุบ พยากรณ์แล้วว่าได้ญาณ 16 แต่ตนเองรู้ว่าไม่ใช่ เพราะปริยัติที่เล่าเรียนมาหลังจากปฏิบัติได้ 6 เดือน ช่วยเตือนสติตนเองว่าไม่ใช่แล้ว

บวกกับตนเองได้เป็นวิทยากรสอนคนในสายนี้มามากและเห็นความบกพร่องอีกมากมายที่ไม่อยากจะกล่าวให้เสื่อมเสียกันเปล่า ๆ เพราะตนเองก็เคยศรัทธาการปฏิบัติแบบนี้มามากชนิดคิดว่า วิปัสสนาต้องอย่างนี้เท่านั้น อย่างอื่นผิด อย่างที่คุณโชติกะคิดกับคนอื่นเช่นกัน

จึงบอกว่าเข้าใจและเห็นใจคุณโชติกะมาก ว่าจะรู้สึกเดือดร้อนปานใด ถ้ามีคนมากล่าวว่าสิ่งที่คุณปฏิบัติผิด ก็ไม่ต่างจากการที่คุณพยายามชี้แจงสิ่งที่ถูกให้คนที่คุณคิดว่าเขาผิดนั่นแหละ เขาก็ต่อต้านอย่างที่คุณพยายามแย้งผู้พิมพ์อยู่ในขณะนี้ ถ้าผู้พิมพ์สามารถแก้ความเข้าใจและความเชื่อของคุณด้วยการสนทนาทาง internet คุณก็คงฟังไปแล้วเช่นกัน ก็ไม่ต่างจากสิ่งที่คุณทำนั่นแหละ

ผู้พิมพ์ก็พยายามสะท้อนให้คุณรู้สึกการกระทำอย่างที่คุณทำกับคนอื่นบ้าง ให้คุณเห็น เพราะคุณมักจะทำอะไรโดยมองแต่ความรู้สึกตนเองเป็นใหญ่ จึงมักไม่รอบคอบที่จะพิจารณาเหตุปัจจัยรายล้อมให้รอบคอบกว่านี้

จากคุณ : ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม [ 9 ก.ย. 2545 ]

--------------------------------------------------------------------

เป็นบุญ ของผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ที่ปฏิบัติแนวยุบหนอพองหนอ มาจนได้เป็นวิทยากรอบรมผู้เข้าปฏิบัติ และได้รับการยกย่องจากอาจารย์ว่าได้ญาณ ๑๖ เรียบร้อยแล้ว

แต่คันถธุระหรือปริยัติศาสนา ที่ท่านเล่าเรียนมาได้มาช่วยเตือนท่าน ไม่ให้ยินดีใน มิจฉาทิฏฐิในฌาน หรือในวิปัสสนา ท่านจึงถอนตัวออกมาได้

เป็นห่วงก็แต่หลาย ๆ ท่านที่ยังขาดคันถธุระ เช่น คุณกรัชกาย เป็นต้น


ไม่มีใครมาเตือนคุณกรัชกายได้ มีแต่ออกมาประกาศว่า การปฏิบัติแบบนั้นแบบนี้ แก้ไขอารมณ์พองยุบไม่ได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 10:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
เป็นบุญ ของผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ที่ปฏิบัติแนวยุบหนอพอง
หนอ มาจนได้เป็นวิทยากรอบรมผู้เข้าปฏิบัติ และได้รับการยกย่อง
จากอาจารย์ว่าได้ญาณ ๑๖ เรียบร้อยแล้ว



หากใช้ให้ผู้ไม่ประสงค์ออกนามนี้เที่ยว แนะนำการปฏิบัติกรรมฐาน

นะครับ

กรัชกายอ่านความเห็นเค้าเป็นต้นว่า



แต่สายพองยุบ เจริญกันเป็นหมู่คณะ ถึงจะมีแยกเดียวบ้าง ก็ทำ

กันไม่ถึงขั้นฌาน


อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึ้ง

ด้วยเสียงหญิงชาย ช้างม้าเป็นต้น จะบำเพ็ญอานาปานสติ

กัมมัฏฐาน อันเป็นยอดในกายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่ง

การบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระ

พุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้สำเร็จ

ไม่ใช่ทำได้ง่าย ๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก


น่าห่วงครับคุณเฉลิมศักดิ์ เพราะเค้ายังไม่ขึ้นถนนสายกรรมฐาน

เลยครับ เหมือนคนจะไปสุไหง-โกลก แต่ไปเริ่มต้นที่ถนน

มิตรภาพ หรือถนนสายอื่น ไม่รู้ว่าตอนนี้เค้าหลงอยู่ไหนก็ไม่ รู้

5-6 ปี แล้ว น่าเห็นใจครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 12:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
เป็นห่วงก็แต่หลาย ๆ ท่านที่ยังขาดคันถธุระ เช่น คุณกรัชกาย เป็น
ต้น

ไม่มีใครมาเตือนคุณกรัชกายได้ มีแต่ออกมาประกาศว่า การ
ปฏิบัติแบบนั้นแบบนี้ แก้ไขอารมณ์พองยุบไม่ได้



ขอบคุณครับที่เป็นห่วง

คุณเฉลิมศักดิ์รู้ได้อย่างไรว่า กรัชกายขาดคันถธุระ ดูจากตรงไหน

หรอครับ โปรดชี้บอกขุมทรัพย์



ไม่มีใครมาเตือนคุณกรัชกายได้ มีแต่ออกมาประกาศว่า การปฏิบัติแบบนั้นแบบนี้ แก้ไขอารมณ์พองยุบไม่ได้



ก็คุณเฉลิมศักดิ์ไม่แสดงให้เห็นนี่ว่า วิธีของของ อ. แนบ แก้

อารมณ์กรรมฐานพองยุบเป็นต้นได้

หากคุณแก้อารมณ์กรรมฐานนี้ได้ กรัชกายยอมรับคุณ ดูครับ =>


เมื่อเก้าวันที่แล้วได้ไปฝึกอบรมหลักสูตร
การพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดปัญญาและสันติสุข
โดยคณะวิทยากร ของ คุณแม่ สิริ กรินชัย
ซึ่งเน้นแนวสติปัฏฐานสี่

เมื่อกลับมาบ้านก็ยังพยายามเจริญสติและสวดมนตร์ เดินจงกรม นั่ง
สมาธิต่อ

ซึ่งเวลานั่งสมาธิวันนี้ได้เกิดอาการตัวมันหงายหลัง
และได้กำหนดรู้อาการหงายแต่มันก็ยังหงายไปเรื่อยๆ
จึงลืมตา พบว่าหงายหลังอยู่จริงๆ จึงนั่งตัวตรง
และกำหนดการพองยุบที่ท้องต่อ
แต่ก็หงายอีก จนนอนไปเลย จึงลืมตาและยกตัวขึ้นมานั่งตรง

ทำแบบนี้ไปได้สามสี่ครั้ง

ครั้งต่อมาเลยปล่อยให้นอนสมาธิไปเลย
จนครบเวลาที่ได้กำหนดไว้ว่าจะนั่ง

ถ้าหากนั่งสมาธิแล้วเกิดอาการแบบนี้อีกจะแก้อย่างไรดีคะ

http://board.palungjit.com/showthread.php?t=126565

ว่าไงครับ แก้สภาวะนั้นอย่างไร
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 5:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นสายยุบหนอ พองหนอ

ก็ต้องการผลคือสติ และสัมปชัญญะ

จะเป็น อานาปานสติ ก็ต้องการผล คือสติ และสัมปชัญญะ

ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่เหมือนกัน แต่แนวทางการต่างกัน

อันจุดมุ่งหมายที่แท้จริงนั้น คือวิมุตติ เหมือนกัน

การเดินนั้นเป็นมรรค เหมือนกันอีก สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 10:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผลเกิดจากการกระทำ การกระทำเป็นเหตุ

สติกับสัมปชัญญะเป็นผลซึ่งเกิดจากการกระทำ หรือจากการปฏิบัติ
ที่สมเหตุสมผลกัน

ฉะนั้นปัญหามิใช่อยู่ที่ผล คือสติกับสัมปชัญญะ แต่อยู่ที่การกระทำ
หรือการปฏิบัติของคนว่าทำอย่างไร สติกับสัมปชัญญะที่เป็นผล
จึงจะเกิด นี้คือปัญหาของผู้แสวงทางพ้นทุกข์ในขณะนี้

โยคีรู้ครับว่า กิเลสมีนิวรณ์เป็นต้นมีโทษมาก ทำให้จิตใจเศร้า
หมอง ไม่ดีเลยไม่โปร่งเลย
แต่ปัญหายังอยู่ที่โยคีไม่รู้วิธีปฏิบัติ ยังไม่มีแนวทาง คือ ไม่รู้ว่าจะ
ทำยังไงให้กิเลสเหล่านั้นหมดสิ้นหรือเบาบางลงได้
นี่คือคำถามที่ร่ำร้องหากันอยู่ ตอนนี้


เหมือนการตอกตะปู เป้าหมายคือตอกให้จมลงในเนื้อไม้โดยเรียบ
ร้อย
แต่การตอกนั้นหาสำเร็จสมประสงค์ได้ทุกคน เพราะมีปัจจัยแวด
ล้อมอื่นๆเกี่ยวข้องด้วย

ลองส่งค้อนส่งตะปูให้คน 10 คนนั่งตอกตะปูกันจะเห็นความแตกต่าง
บางคนตอกแล้วตอกเล่า ตอกจนมือบวมเล็บหาย
บางคนตอกแล้วกระเด็นกระดอน
บางคนตอกตะปูงอเสียหายใช้การไม่ได้ บอกไม้แข็งตะปูอ่อน
บางคนเห็นพวกนั่งตอกกันเป็นอย่างแล้วนึกท้อวางค้อนวางตะปูกลับ
บ้าน
บางคนตอกได้หน่อยเลิกไม่เอาดีกว่ามันยาก
ฯลฯ
อีกคนหนึ่งแรกเริ่มก็คล้ายๆ เขาเหล่านั้น แต่ไม่ท้อเพียรพยายาม
ฝึกปรือ หมั่นสังเกตจุดบกพร่องของตนแล้วแก้ไข ฝีกๆทำๆ ...จน
กระทั่งเข้าใจเห็นความพอเหมาะพอดี....เห็นจุดลงตัว ถึงวันจริง
จับตะปูจับค้อนได้ตอกเปรี้ยงๆก็ลุถึงจุดหมายได้โดยเรียบร้อย…ซึ่งดู
เหมือนไม่ยาก เย็น ฉันใดก็ฉันนั้น


ตอนนี้โยคีอยู่ในขั้นฝึกทำ ฝึกหัดปฏิบัติ (เหตุ) เพื่อให้ผลคือสติสัมปชัญญะเป็นต้นเกิด
แต่จะสำเร็จหรือไม่ ก็เหมือนคนตอกตะปูนั้นแล


องค์ธรรมต่างๆ มีสติเป็นต้นจะเกิดหรือเจริญขึ้นได้นั้นก็ด้วยการลง
มือทำลงมือปฏิบัติจริง ฝึกฝนบ่อยๆ ไม่ทิ้งงานสังเกตงานที่ทำ (กรรมฐาน) แก้ไขจุดบกพร่อง ด้วยการปรับอินทรีย์
สุดท้ายก็จับจุดสิ่งที่ทำนั้นได้ สู้ สู้ ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 2:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ผู้แนะนำการปฏิบัติกรรมฐานแก่บุคคลอื่น ไม่รู้วิธีปรับอินทรีย์เลย

ไม่มีประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติกรรมฐานบ้างเลย

แต่มีศรัทธา จดจำวิธีปฏิบัติเบื้องต้นได้ ว่าอิริยาบถนั่ง

เค้าทำกันอย่างนี้ๆ

อิริยาบถเดินเขาปฏิบัติกันอย่างนี้ๆ เท่านี้ ตนจำได้ แล้วก็มา

สอนกรรมฐานแบบที่ใช้คำบริกรรม ภาวนา ไม่ว่าจะเป็นพอง-ยุบ

หรือ พุทโธ หรือ ที่ใช้บริกรรมอื่นจากนี้

ค่อนข้างอันตรายแก่บุคคลผู้ปฏิบัติตามผู้เช่นว่านั้น เสี่ยงจะยึดติด

สภาวะที่อึดอัดรบกวนแม้ยามปกติ มีบางคนปฏิบัติแล้วหนักหัว

ปวดหัว ปวดไหล่ เป็นต้น

แปลว่า โยคีมีสมาธิเกินวิริยะจะต้องปรับอินทรีย์ช่วย เช่น รายนี้ =>



พอดีดิฉันเคยเข้ามารับกรรมฐานที่วัดอัมพวันเป็นเวลา 3 วัน และเคย
ไปเข้าคอร์สของคุณแม่สิริฯ
มา 3 ครั้งค่ะ เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว แล้วก็เคยปฏิบัติอยู่พัก
หนึ่งแล้วก็ทิ้งการปฏิบัติไป

ตอนนี้กลับมาเริ่มปฏิบัติใหม่ได้ประมาณครึ่งเดือนแล้วค่ะ โดยจะ
ตื่นมาเดินจงกรมประมาณ 30 นาที และนั่งสมาธิประมาณ 30 นาทีตอนช่วงเช้าค่ะ โดยตื่นมาทำตอนประมาณตี 4 ครึ่งก่อน
ไปทำงาน แล้วค่อยไปใส่บาตรแล้วจึงมาสวดมนต์ต่อ และ
พยายามเจริญสติโดยการกำหนดอิริยาบถย่อยต่างๆ เท่าที่
สามารถทำได้ค่ะ

แต่ว่าตอนนี้ ได้พบปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติ จึงอยากรบกวน
ปรึกษาผู้มีประสบการณ์ค่ะ
คือ ว่าหลังจากเดินจงกรมนั่งสมาธิเสร็จจะรู้สึกมึนๆ หนักๆ ที่ศีรษะ
ไม่โปร่งเบาสบาย
เหมือนที่เคยทำมาในอดีต มันเกิดเพราะ
อะไรคะ? แล้วควรจะต้องแก้ไขอย่างไรคะ

http://jarun.org/v6/board/viewtopic.php?t=9722

ดูแล้วยังไม่มีคำแนะนำที่ถูกวิธี ยังท่องเป็นสูตรอยู่
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 6:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กระผมขอคำแนะนำจากท่านครับว่า

ถ้าผมยึดหลักใดหลักหนึ่งแล้วปฏิบัติ โดยมิได้ยึดหลักธรรมอันเป็นตัวแท้มาปฏิบัติ และผมไม่สามารถ รับฟังหรือมีใจต่อต้านการปฏิบัติแนวนั้นอยู่

จะพึงแก้ไขได้อย่างไร โปรดแนะนำด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 11:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
กระผมขอคำแนะนำจากท่านครับว่า

ถ้าผมยึดหลักใดหลักหนึ่งแล้วปฏิบัติ โดยมิได้ยึดหลักธรรมอัน
เป็นตัวแท้มาปฏิบัติ
และผมไม่สามารถรับฟังหรือมีใจต่อต้านการปฏิบัติแนวนั้นอยู่
จะพึงแก้ไขได้อย่างไร



สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้นะครับ มิใช่การแนะนำ

หลักสำหรับปฏิบัติมีมากครับ ในแบบมีถึง 40 หลัก
ต้องชัดเจนในหลักที่เราจะยึดไปปฏิบัติก่อนครับ ว่าต้องการหลัก
ไหน
แม้ได้หลักแล้ว ก็ยังมีตัวแปรอื่นอีก คือ เจตนาที่ตั้งมีจุดหมาย
มีเป้าหมายในการปฏิบัตินั้นๆอย่างไร
อีกทั้งความโน้มเอียงของจิต (ความคิด) ในขณะนั้นๆ ด้วย

ขอนำอดีตมาเป็นตัวอย่างสักเล็กน้อย
สองดาบสซึ่งเป็นอาจารย์ของเจ้าชายสิทธัตถะ
มีเป้าหมายในการปฏิบัติอย่างหนึ่ง
เจ้าชายสิทธัตถะ ก็มีเป้าหมายอีกอย่างหนึ่ง

อุปติสสะ (พระสารีบุตร) มีเป้าหมายอย่างหนึ่ง
อาจารย์สญชัย (เป็นอาจารย์ของอุปติสสะ) ก็มีเป้าหมายใน
การปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง

กรัชกายมีเป้าหมายในการปฏิบัติอย่างหนึ่ง

คุณ RARM มีเป้าหมายการปฏิบัติอย่างหนึ่ง

คุณเฉลิมศักดิ์ ท่านก็มีเจตนาของท่านไปอีกอย่างหนึ่ง

เมื่อต่างคนต่างมีเป้าหมาย ผลที่ได้จึงต่างกันตามเจตนา
ตามสมควรแก่การปฏิบัติ ตามความโน้มเอียงของจิตของความคิด

ตอบกว้างๆอย่างนี้ก่อนครับ

สุดท้ายขออนุญาตถามคุณ RARM ว่ามีเจตนาในการปฏิบัติอย่าง
ไรครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 3:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าถามถึงเจตนาของผม ก็ เจตนาที่จะให้ได้รับผล คือมีใจที่บริสุทธิ์

เพียงเท่านี้เองครับ

ส่วนการเดินทางนั้น ก็ คงจะมีหลายวิธีแต่ผมก็ไม่ได้ยึดวิธีที่ตายตัว เพราะบางอย่างก็ต้องอาศัยเช่น ใช้พิจารณาบ้าง หรือเดินสมถะควบคู่วิปัสสนาบ้าง ตามแต่โอกาสจะอำนวย ด้วยจิตนั้นไม่ได้นิ่ง

แต่จุดหมายคือวิมุตติครับ

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2008, 7:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เบื้องต้น คุณต้องมีหลักครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง