Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐาน (แบบพองหนอยุบหนอ) โดย...พระครูประจา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
man
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2005, 3:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



93149314.jpg


ธรรมบรรยายภาคปฏิบัติ

โดยพระครูปลัดประจาก สิริวณฺโณ

ในการปฏิบัติธรรม ณ อุทยานธรรม หน้าวัดน้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

ระหว่างวันที่ 24 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2544

************************

ในวันนี้เป็นแรกวันที่ท่านทั้งหลายได้มาปฏิบัติธรรม เบื้องต้นเราก็ต้องสละก่อน ที่ว่าสละคือปลิโพธ เครื่องกังวลต่างๆ พระก็มีหน้าที่การสอน รับนิมนต์ต่างๆ พระก็ต้องปล่อยวาง โยมมีครอบครัว มีหน้าที่ภาระในครอบครัว การงานก็ต้องสละ เมื่อเราสละทุกอย่างมาแล้ว ใจก็จะไม่วิตกกังวล ก็จะทำให้การปฏิบัติของเราดีขึ้น มันทุ่มเทให้กับการปฏิบัติได้เต็มที่ แต่ถ้าเรามีเรื่องวิตกกังวลอยู่ ใจมันจะแวบๆ ไปหาสิ่งที่เรากังวลอยู่ ฉะนั้นเราต้องเสียสละมาก่อน เมื่อเราวางทุกอย่างมาแล้ว ฉะนั้นอะไรๆ จะมีอยู่ข้างหลัง ก็ไม่ต้องคิดถึงแล้ว ตัดทิ้งหมด จะเป็นอย่างไร เรื่องนั้นมันอยู่ข้างหลัง เรามาตั้งใจใหม่

เมื่อมาถึงที่นี่แล้ว สิ่งที่เราควรสละอีกอย่างหนึ่ง คือ การสละทิฏฐิมานะ มานะเพราะเหตุแห่งการศึกษาก็ตาม มานะเพราะยศฐาบรรดาศักดิ์ก็ตาม มานะเพราะเหตุแห่งความรู้ก็ตาม มานะต่างๆ นี้เราจะต้องทิ้ง ตัวนี้สำคัญ ถ้าเราไม่ทิ้งแล้ว มานะจะเป็นตะปูตรึงใจ ถ้าเราไม่ถอนเขาออก เขาจะขวางการปฏิบัติของเราอยู่ แม้แต่ในสมัยที่สมเด็จพ่อทรงพระชนม์อยู่ พระองค์ได้ประทับอยู่ใต้ต้นไม้พญารัง ในสวนสุภควัน ในเมืองอุกกัฏฐา ที่ปรากฏอยู่ในมัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์ เหตุที่จะให้เกิดการแสดงธรรม ที่เรียกว่า มูลปริยายสูตรนี้ ท่านบอกว่า มีพราหมณ์ 500 คน ในเมืองสาวัตถี มาฟังธรรมพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใส ก็เห็นโทษของการเป็นฆราวาสนี้มีโทษมาก แล้วเราจะทำใจให้บริสุทธิ์เป็นดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้ทำได้ ไม่ง่าย ก็เลยพร้อมใจกันออกบวชทั้ง 500 ปกติตอนที่เป็นฆราวาสเขาก็จบไตรเภท เป็นคนที่มีความรู้ดีมาก พอมาบวชก็เริ่มศึกษาพุทธวัจนะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไม่นานก็สำเร็จการศึกษาในพระไตรปิฎก ท่านก็เกิดทิฏฐิมานะขึ้น เพราะเหตุมาจากการศึกษา ดังที่ท่านอรรถกถาแสดงไว้ว่า " ปริยตฺตึ นิสฺสาย มานํ อุปฺปาเทสุ " ท่านบอกว่าภิกษุเหล่านี้ก็อาศัยปริยัติที่ตนเองศึกษาเล่าเรียนเกิดมานะขึ้นมา ยกตัวเองไปเทียบพระพุทธเจ้า บอกว่า " โอ ธรรมะของพระพุทธเจ้าเราเรียนหมดแล้ว พระพุทธเจ้าเทศน์อะไรคงไม่เหนือไปจาก ลิงค์ 3 บท 4 วิภัตติ 7 บท 4 ก็คือ นามบท กิริยาบท คืออาขยาตบทนั่นเอง อุปสัคคบท และนิปาตบท วิภัตติ 7 ก็มีปัฐมาวิภัตติ เป็นต้น จนถึงสัตตมีวิภัตติเป็นที่สุด เงื่อนงำที่สงสัยในบทต่างๆ เหล่านั้นเราไม่มีเลย " พระภิกษุ 500 รูป ก็เลยยกตัวไปเทียบกับพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้ารู้อะไร เราก็รู้อย่างนั้นแหละ ก็เลยไม่ไปฟังธรรม เพราะถือว่าตัวเองเข้าใจแล้ว ไม่ไปอุปฏฐากพระพุทธเจ้าตามกาลตามเวลา องค์สมเด็จพ่อก็รู้วาระจิตของภิกษุเหล่านั้น ก็ทรงดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ยังมีมานะคือตะปูตรึงใจอยู่ตราบใด ก็ไม่สามารถจะบรรลุธรรมได้ตราบนั้น ท่านก็เลยแสดงธรรมเพื่อหักรานมานะหรือข่มมานะของภิกษุเหล่านี้ ท่านแสดงมูลปริยายสูตร ซึ่งปรากฏเป็นสูตรแรกในมัชฌิมนิกาย พุทธองค์ได้ตรัสเป็นสูตรแรก พอตรัสจบแล้ว ภิกษุทั้งหลายไม่รู้เรื่องเลย ตั้งแต่ต้นจนจบฟังไม่รู้เรื่องเลย คือปกติพระพุทธเจ้าสอนคน เทศน์ธรรมะ ปกติจะต้องให้คนเข้าใจว่าธรรมะที่พระองค์ทรงแสดงเป็นอย่างไร แต่สูตรนี้ในบรรดา 84,000 พระธรรมขันธ์ หรือบรรดาสูตรต่างๆ ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก สูตรนี้เป็นสูตรพิเศษ คือเป็นการแสดงเพื่อไม่ให้รู้เรื่อง ลงท้าย " อิทมโวจ ภควา น อตฺตมนา เต ภิกฺขฺ ภxxxต ภาสิตํ อภินนฺทุนฺติ " หมายความว่าภิกษุทั้งหลายไม่มีความชื่นชมยินดีในพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้าเลยในกัณฑ์นี้ เพราะภิกษุทั้งหลายฟังไม่รู้เรื่องเลย ก็เลยไม่ยินดีไม่ชื่นชม พอเทศน์จบ พระฟังไม่รู้เรื่องก็เกิดอัศจรรย์ใจว่า " เราเข้าใจว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าเรารู้แล้ว เรามีความสามารถเท่าๆ กับท่าน แต่เดี๋ยวนี้วันนี้เราฟังธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแสดงตั้งแต่ต้นจนจบ เราฟังไม่รู้เรื่องเลย พระพุทธเจ้านี่ น่าอัศจรรย์จริงๆ " ทิฏฐิมานะที่มีอยู่ในตัวของตัวเองก็ถูกข่มด้วยพระสูตรกัณฑ์นี้ มีด้วยนะในศาสนาเรานี่ไม่ใช่ธรรมดา ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าจะตรัสให้รู้เรื่องเสมอไป บางกัณฐ์ก็เทศน์ให้ไม่รู้เรื่อง แต่ให้กรรมฐานวันนี้ให้ไม่รู้เรื่องไม่ได้ เดี๋ยวปฏิบัติไม่ถูกอีก อันนี้ก็พอพระพุทธเจ้าเทศน์จบ พระท่านก็ถอนหักมานะของตัวเองได้ว่าที่ไปยกตัวเทียบพระพุทธเจ้า ท่านก็หักมานะของท่านได้ ข่มมานะของท่านได้ ก็เลยน้อมใจเข้ามาหาพระพุทธเจ้า ไม่นานพระพุทธเจ้าก็เทศน์กัณฑ์อื่นต่ออีก ท่านก็เลยสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ขนาดมานะสมัยพระพุทธเจ้าอยู่ยังไปเทียบกับท่าน ลองคิดดู ทีนี้สมัยเรานี่บางทีไม่แน่ เราจะมาปฏิบัติธรรมเราต้องทิ้งตัวนี้ มียศฐาบรรดาศักดิ์ มีความรู้ขนาดไหน ต้องวางไว้ก่อน เพราะธรรมะที่เรามาปฏิบัติไม่ใช่ของอาจารย์ อาจารย์ไม่มีไม่อาจไม่สามารถที่จะไปตรัสธรรมะให้เป็นวิปัสสนาอย่างนี้ได้ เพราะนี้เป็นของพระพุทธเจ้าโดยตรง เราไม่อาจ ผู้ที่ตรัสวิปัสสนากรรมฐานได้ก็มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง ฉะนั้นที่มาน้อมปฏิบัตินี้เราปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า มานะอย่างอื่นเราอย่าเอามาใช้ ทีนี้พอพระพุทธเจ้าแสดงธรรมจบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นสามารถข่มมานะของตัวเองได้เสร็จแล้ว ภิกษุทั้งหลายก็มาโจษจันว่า " โอ น่าอัศจรรย์จริงๆ พระพุทธเจ้าสามารถถอนมานะ ข่มมานะของภิกษุ 500 รูปนี้ได้ " ทีนี้พระพุทธเจ้าเสด็จมาก็ถามว่า " กายนุตฺถ " ในภาษาบาลีจะมีอันนี้ว่า " เออพวกเธอทั้งหลายสนทนาอะไรกันอยู่ " ในพระบาลีจะมีคำนี้อยู่เป็นประจำ พระพุทธเจ้าเวลาเสด็จมา ภิกษุทั้งหลายกำลังสนทนากันแล้ว ท่านจะถามว่า " เออ พวกเธอทั้งหลายสนทนากันเรื่องอะไร " ภาษาบาลีเรียกว่า " กายนุตฺถ " ทีนี้ก็พอพระพุทธเจ้าตรัสถามอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายก็พูดถึงเรื่องว่า พระพุทธองค์น่าอัศจรรย์ที่สามารถข่มมานะของภิกษุ 500 รูปนี้ได้ " พระพุทธเจ้าก็บอกว่า " โอ ภิกษุทั้งหลายไม่ใช่เฉพาะในปัจจุบันนี้ ในอดีต ตถาคตก็ข่มมานะของภิกษุเหล่านี้ได้แล้วครั้งหนึ่ง " ภิกษุทั้งหลายก็เลยอาราธนาให้พระพุทธเจ้าเล่าถึงอดีตชาติ ความเป็นไปของภิกษุ 500 ปรกกฎในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์อรรถกถา คือสมัยนั้นพระพุทธเจ้าเราเป็นทิศาปาโมกข์ เป็นอาจารย์ใหญ่ อยู่ในเมืองพาราณสี แล้วภิกษุ 500 ก็เคยเป็นมานพ 500 สมัยนั้น พุทธองค์ท่านก็ทรงยกบุพกรรมของภิกษุเหล่านี้ว่า เมื่อก่อนเป็นมานพ 500 นี้มาเรียนหนังสือ เรียนได้ไว เรียนเก่ง อาจารย์คือ พระโพธิสัตว์ สอนอะไร สอนแล้วก็จำ ไม่มีผิดพลาดเลย เรียนได้ไว เรียนได้เก่ง ไม่นานเท่าไร มานพก็ว่า " เอ เรามันจบรึยังก็ไม่รู้ เรียนก็ตั้งนานแล้ว " วันหนึ่งก็มาหาครูบาอาจารย์ คือพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ก็บอกว่า " เอตฺตกมิทํ สิปฺปํ ทิฏฐธมฺมสมฺปรายหิตํ " ท่านบอกว่า " ศิลปะเพียงเท่านี้ ก็เป็นประโยชน์ทั้งปัจจุบันและภายภาคหน้า " พออาจารย์พูดเท่านี้ หมายความว่าเท่าที่พวกเธอเรียนมา มันจบแล้ว สามารถใช้ได้ทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้า มานพเหล่านั้นก็เกิดทิฏฐิมานะขึ้นมาทันที เป็นภาษาบาลีท่านว่า "ยํ อมฺหากํ อาจริโย ชานาติ, มยมฺปิ ตํ ชานาม, มยมฺปิ อาจริยา เอว. "

ท่านบอกว่า " อาจารย์ของเรารู้อย่างไร พวกเราก็รู้อย่างนั้น " หมายความว่าอาจารย์รู้สิ่งใด เราก็รู้สิ่งนั้น บัดนี้เราทั้งหลายก็เป็นอาจารย์แล้ว ยกตัวขึ้นทันที ยกตัวเทียบอาจารย์ แล้วภายหลังก็เลยไม่สนใจที่จะเข้ามาหาครูบาอาจารย์ ออกไปเลย ไปทำอะไรต่ออะไร ไม่มาอุปฏฐากอุปถัมภ์อาจารย์ ภายหลังอาจารย์รู้ว่า ลูกศิษย์มีมานะอย่างนี้เกิดขึ้น วันหนึ่งลูกศิษย์พร้อมกันมาหาอาจารย์ อาจารย์ก็เลยถามว่า " ตาตา ปัญหัง ปุจฉิสสามิ กัตจิตถะสมัตถา กเถตุง " ท่านบอกว่า " อ้อ ลูกๆ ทั้งหลายเอย อาจารย์จะถามปัญหาสักข้อหนึ่ง พวกเธอ พอจะตอบได้ไหม " ลูกศิษย์เพราะว่ามีมานะว่าตัวเองมีความรู้เท่ากับอาจารย์ อาจารย์ถามอะไรคงไม่มีปัญหาสำหรับเราๆ ตอบได้ ก็เลยแย่งกันพูดเลย " ปุจฉถะ อาจาริยะ ปุจฉถะ อาจาริยะ อาจารย์ถามมาเลย อาจารย์ถามมาเลย ผมจะตอบ " ต่างคนต่างแย่งกันพูด ผลที่สุดอาจารย์ก็เลยว่า "กาโล ฆสติ ภูตานิ, สพฺพาเนว สหตฺตนา. โย จ กาล ฆโส ภูโต, ส ภูตปจนึ ปจิ."

ในอรรถกถาท่านว่าอย่างนั้น อาจารย์ท่านถามเป็นปัญหาว่า " กาลย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ พร้อมกับตัวมันเอง ใครเล่าสามารถกินกาล พร้อมกับทำลายตัณหาที่เผาไหม้สรรพสัตว์ทั้งหลายไปได้ด้วย " พออาจารย์ตั้งปัญหาแค่นี้ ลูกศิษย์เงียบเลยทีนี้ คิดแล้วคิดอีก เอ มันอะไรหนอ ลูกศิษย์คิดแล้วคิดอีก คิดไม่ออกเลย นั่งก้มหน้ากันอยู่ตรงนั้นนั่งเอง อาจารย์รู้แล้วพวกนี้มันตอบเราไม่ได้หรอก ก็เลยบอกว่า " เอาอย่างนี้ดีกว่า พรุ่งนี้มาเฉลยให้อาจารย์ " อาจารย์ให้โอกาสหน่อย ลูกศิษย์ก็กลับไป กลับไปแล้วก็จับกลุ่มกันคนละ10 บ้าง 20 บ้าง จับกลุ่มกันมาพิจารณาปัญหาของอาจารย์ว่ามันเป็นอย่างไร คิดไม่ออก จะจับกลุ่มอย่างไรก็คิดไม่ออก ทีแรกก็แย่งกันจะตอบ พออาจารย์ถามข้อเดียวก็เงียบไปเลยอย่างนี้ ในที่สุดรุ่งขึ้นก็มาหาอาจารย์ นั่งก้มหน้ากันเลย ไม่ยอมสบตาอาจารย์เลย อาจารย์ก็รู้แล้ว พวกนี้มีหัว แต่หัวมันเหมือนกะลามะพร้าว มันทำอะไรไม่ได้ คิดอะไรไม่ออก มีแต่หัว แต่ไม่มีปัญญา ไม่มีความคิด เรื่องนี้ถ้าโยคีอยากจะรู้เรื่องพิศดาร กลับออกไป ไปอ่านกันเอาเอง ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ในพระไตรปิฎก เขาจะมีขยายไว้ วันนี้อาจารย์ไม่ขยาย เพียงแต่ยกมาให้รู้เฉยๆ ว่า ถ้าเรามีมานะเพราะเหตุแห่งการศึกษาก็ดี มีมานะเพราะเหตุยศฐาบรรดา ศักดิ์ก็ดี มีมานะเพราะชาติตระกูลก็ดี มานะเหล่านี้ ถ้ามีแล้วเราไม่ถอน ไม่ข่ม เรานำมาสู่ในที่นี้ ก็จะเป็นเหตุกางกั้นการปฏิบัติธรรมของเรา วิปัสสนาญาณเกิดไม่ได้ แม้แต่ในสมัยองค์สมเด็จพ่อ อย่างที่บอกไว้นี้ พระภิกษุเหล่านั้น ถึงแม้เรียนจบพระไตรปิฎก แต่มีมานะกระด้างกระเดื่องขึ้นมา ลำพองใจว่าตนเองมีความรู้เท่าเทียมกับองค์สมเด็จพ่ออย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็ต้องถอนทิฏฐิมานะเหล่านั้น ฉะนั้นของเราไม่จบพระไตรปิฎกก็อย่าไปลำพองตัว มีอะไรก็ข่มไว้ก่อน ฉะนั้นโยคีของเราที่มาปฏิบัติต้องพยายาม ใครจะมีชาติสูง ตระกูลสูงเป็นอย่างไร ตอนนี้ขอให้เราทำตัวเป็นปกติธรรมดา เราเคยเป็นเศรษฐี เป็นมหาเศรษฐี เป็นคุณหญิง เป็นคุณนาย เป็นอะไรก็แล้วแต่ แต่ตอนนี้ถอดยศถอดศักดิ์ไว้ที่บ้านก่อน อย่าเอาตามมา ถ้าตามมาแล้วมันจะยุ่ง แม้แต่พระโพธิสัตว์เรา ตอนที่เป็นดาบสก็มีทิฏฐิมานะว่าตนเองเกิดในตระกูลสูง เป็นพราหมณ์มหาศาล ออกบวชมาก็น้อมนึกอยู่ว่าเรานี่เป็นคนตระกูลสูง ตระกูลพราหมณ์ ไม่มีใครสูงไปกว่าเรา เรามีทรัพย์สมบัติมาก แทนที่จะเจริญสมถกรรมฐานให้ได้ฌาน เลยไม่ได้ คิดถึงมานะเหล่านี้ ฌานอะไรก็ไม่เกิด ที่นี้พระปัจเจกพระพุทธเจ้าที่อยู่ทางทิศเหนือ ท่านก็มาพิจารณาว่า โอ ฤาษีองค์นี้ไม่ใช่บุคคลธรรมดา เป็นพระโพธิสัตว์ จะต้องตรัสรู้เป็นอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าใน ภัทรกัปป์นี้ แต่ว่ามัวไปนึกถึงชาติตระกูลของตัวเอง ความมั่งมีศรีสุขที่มีอยู่ ฌานก็เกิดไม่ได้ อย่างที่บาลีท่านบอกว่า " ตาปโสปิ อตฺตโน ชาตึ นิสฺสาย มานวสิโก หุตฺวา ฌานํ อุปฺปาเทตุ น สกฺโกติ. "

ท่านบอกว่า " ฝ่ายฤาษีมัวคิดถึงชาติตระกูล มานะที่อาศัยชาติตระกูลนี้ ก็ไม่สามารถยังฌานให้เกิดขึ้นได้ " พระปัจเจก พระพุทธเจ้าก็เลยเหาะมาโปรดพระโพธิสัตว์ ท่านก็มานั่งอยู่บนแทนหินหน้าบรรณศาลา พระโพธิสัตว์เรานั้นอยู่ในศาลา พอเปิดประตูออกมา เห็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้านั่งอยู่บนแท่นหิน โกรธ ด่าว่าพระปัจเจกพระพุทธ เจ้า ขนาดเป็นพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกพระพุทธเจ้ามาปรากฏเพื่อมาโปรดพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์คือพระพุทธเจ้าของเราองค์นี้ ท่านชี้หน้าด่าหน้าเลย โมโห เพราะว่าสมัยก่อนพวกพราหมณ์เขาถือว่าใครโกนหัวเป็นคนจัณฑาล ฉะนั้นคำด่าเจ็บๆ ในสมัยโบราณเขาเรียกว่า " สมณมุณฑิกะ คนหัวโล้น " หมายความว่าด่าจิกหัวกันเลย พูดด่า เรียกพระในศาสนาเราว่า สมณหัวโล้น สมณมุณฑิกะ ฉะนั้นพระโพธิสัตว์ออกมาหน้าบึ้ง ด่าเลย " นัสสะ วสละ กาลกัณณิ มุณฑิกสมณกะ กิมัตถัง นิสินนผลเก นิสินโนสี " บอกว่า " จงฉิบหาย คนถ่อย คนกาลกรรณี คนหัวโล้นท่านถือดียังไงมานั่ง

ยังมีต่ออีกครับ......รอหน่อย

นำมาจาก http//www.sati99.com
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง