ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
Puy
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 28 ก.ย. 2008
ตอบ: 15
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 9:18 pm |
  |
เห็นทุกท่านตอบคำถามได้ดีและให้ความรู้กับผู้อ่านได้มากจึงอยากทราบว่า ท่านณาน ท่านกรัชกราย ท่านขันธุ์ ท่านพลศักดิ์ ท่านคามินธรรม ท่าน mes ท่าน guest และทุกท่านว่า ท่านมีวิธีฝึกกรรมฐานโดยวิธีใดและปฏิบัติมากี่ปีถึงได้เข้าใจธรรมได้แจ่มแจ้งและหลักในการศึกษาธรรมะท่านศึกษาจากที่ใดบ้าง เพื่อจะได้เป็นแนวทางแก่ผู้ที่ยังหลงทางและอยากปฏิบัติธรรมได้นำไปปฏิบัติต่อไปคะขอบคุณคะที่ชี้ทางสว่างให้แก่ผู้ที่อยากศึกษาธรรมด้วยดีเสมอมา ขออนุโมทนาบุญด้วยคะ ขอบคุณคะ |
|
_________________ อยู่กับปัจจุบัน |
|
    |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 9:53 pm |
  |
สวัสดีครับ
ผมฌาณครับยังไม่เคยฝึกกรรมฐานเลยครับ (เพิ่งเข้ามาครับ) ไม่มีประสบการณ์ครับ เดี๊ยวรออาจารย์ท่านอื่นๆ มาตอบดีกว่าครับ
ส่วนหลักในการศึกษาธรรมนั้น ของผมอ่านลูกเดียว
(แบบว่าอยากได้ดาวมาก)
แต่กิเลสอย่างนี้ก็ดีนะครับ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ เลียนแบบผมได้นะครับ
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 9:59 pm |
  |
คุณฌานมุ่งมั่นเดอะสตาร์จริงๆ นะครับ สักวันคงตามกรัชกายทัน ถึงวันนั้น อาจขอร้องให้ท่านเว็บมาสเตอร์ ขยายดาวเพิ่มอีก เพื่อที่จะได้หนีคุณฌานไปให้ไกลสุดขอบฟ้า  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 10:04 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
เห็นทุกท่านตอบคำถามได้ดีและให้ความรู้กับผู้อ่านได้มากจึงอยากทราบว่าท่าน ณาน ท่านกรัชกราย ท่านขันธ์ ฯลฯ |
สำหรับกรัชกาย ก็กายดูใจนี่ล่ะครับคุณ Puy ไม่ได้ไปค้นหาที่ไหน
ส่วนหนังสือที่ค้นประกอบได้แก่หนังสือพุทธธรรม โดยท่านเจ้าคุณประยุทธ์
ปยุตฺโต ครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
09 ต.ค.2008, 2:50 am |
  |
Puy พิมพ์ว่า: |
ท่านมีวิธีฝึกกรรมฐานโดยวิธีใด |
- www.wimutti.net
ถ้าไม่ได้เว็บนี้ ผมคงยังหลงอยู่
คือต้องยกย่องเทอดทูนท่านพระอาจารย์ปราโมชจริงๆว่าท่านเป็นผู้ยังพระสัทธรรม
เป็นทางตรงที่สุด เนื้อๆ เน้นๆ และที่สำคัญที่สุดคือ. เรียบง่าย
ท่านทำให้ทางสู่นิพพานมันง่ายจนไม่น่าเชื่อ
(เฉพาะ "ทาง/แผนที่" นะคับ การเดินไป หรือการปฏิบัตินี้ อีกเรื่องหนึ่ง)
เป็นเนื้อนาธรรมให้ได้เก็บเกี่ยวจริงๆ
ตอนแรกผมคิดว่าการเรียนศาสนาต้องเรียนพระคัมภีร์จนจำได้หมด
ศาสนาเป็นอะไรที่ต้องใช้ความจำมาก ความคิดมาก ความรู้มาก
คนที่บรรลุอรหันต์ อยู่เหนือทุกข์ได้ต้องเป็นคนฉลาดมากๆ
แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลย
ตรงกันข้ามหมด
ไม่ต้องจำมาก ไม่ต้องเรียนสูงรู้กว้าง ไม่ต้องฉลาดมาก
ยิ่งของพวกนี้มาก ยิ่งพาหลง
มีมากไปก็ไม่ได้ใช้ เป็นห่วงบ่วงรัดพันธนาการ
แต่จะไม่มีเลยก็ไม่ได้
มีแค่พอเหมาะ พอควร พอดี กับ "กิจที่ทำอยู่" เป็นอันใช้ได้
อ้างอิงจาก: |
หลักในการศึกษาธรรม |
- ่เราเพียงแต่ต้องทำความเข้าใจหลักการปฏิบัติให้เข้าใจดีๆ (ปริยัติ)
เรียนหลักการให้ชัด เป็นระดับที่เราต้องใช้ความคิดพอประมาณ
แล้วนำหลักนั้นไปปฏิบัติ
แล้วจะเกิดความรู้ที่ประสบพบด้วยตนเองจริงๆ (ปฏิเวธ)
เป้นความรู้แบบรู้จริงๆ
เช่นสมมุติว่าถ้าเราไม่เคยกินเป๊บซี่มาก่อน
ปริยัติคือการหาความรู้ว่าอะไรคือเป๊บซี่ กินเพื่ออะไร ทำไมต้องกิน
ถ้าคนที่ปริยัติอย่างเดียว มันจะคอยฟังๆ คิดๆ จากคนอื่นว่าเป๊บซี่คืออะไร
คนเขาว่า pepsi ซ่า หวาน ชื่นใจ
ฟังมาแล้วก้นั่งคิด แล้วก็คิดว่าตัวเองรู้จักแป๊บซี่
เวลาคนมาถามเรา เราก็พูดถูกนะ ว่าเป๊บซี่มันหวานซ่า ชื่นใจ
แต่ความรู้เรื่องเป๊บซี่ของเรา มันต่างจากคนที่ได้ซดมันเข้าไปไปในปาก
คนที่ซดเข้าไปคือเขาได้ลงมือปฏิบัติ
เขาจึงเกิดความรู้ซึ้งถึงรสชาดเป๊บซี่อย่างถ่องแท้ไม่ผิดเพี้ยน
ผมพบว่า คนในสังคม ที่สังเกตุผ่านสื่อนะ.. ยังคิดว่า
"ธรรมะคือการคิด" เป็นพวกไม่ยอมซดเป๊บซี่ลงไป
ได้ยินว่าธรรมะนี้ดีแน่ๆ ได้ยินว่า pepsi อร่อย
แต่ไม่เคยลงมือปฏิบัติ ไม่เคยลงมือชิม pepsi
พวกเขาชอบคิด คิดไปต่างๆ นาๆ แล้วเชื่อว่านั่นคือธรรมะ
ผมก็เป็นคนในกลุ่มนี้มาก่อน
น่าจะมองได้ว่า พวกเขาแค่ ปริยัติ อย่างเดียว
คิดๆ ไปแล้วก็เกิดทิฐิขึ้น
(คิดแล้ว ยึดถือเลื่อมใสเชื่อถือในสิ่งที่ถูกคิดขึ้นมา)
เราพยามคิดเพื่อพ้นจากทุกข์
แต่ความจริงไม่ใช่เลย
เราแค่ปรุงความคิดด้านสุขขึ้น (กุศลจิต)
เพื่อละลายเจือจางความทุกข์ลงไป (อกุศลจิต)
เหมือนกด remote ทีวี
จากช่องการเมืองที่เราไม่สบายใจ
ไปช่องตลกสามช่าที่เราสุขใจ
... แล้วสักพักเราจะเกิดตันหาอยากมากๆ
จนกลับไปช่องการเมืองที่เราทุกข์ใจอีก
กดรีโมทกลับไปกลับมาอย่างนี้ไปจนตาย
การศึกษาธรรมะที่เรียกว่า รู้ธรรม เห้นธรรม จริงๆ นั้น
ต้องเกิดจากการลงมือปฏิบัติให้ประสบพบสัจธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากพฤติของจิตใจเรา
ต้องคอยเฝ้าสังเกตรู้สุขทุกข์ต่างๆ จากจิตใจ
จนสามารถสรุปได้เองว่าบรรดาพฤติต่างๆ ของจิตใจนั้น
พฤติอย่างไรที่มันเป็นเหตุแห่งทุกข์
เมื่อเห็นกระบวนการผลิตทุกข์จนเลี่ยน จนเอียน เห็นมานับไม่ถ้วนแล้ว
เราก้จะเกิดความหน่ายในทุกข์นั้น
แล้วจึงค่อยๆ ละวางความทุกข์นั้นลง
ความทุกข์จึงดับลง
โรงงานผลิตมันก็ผลิตต่อไป แต่เราไม่ได้รู้สึกอะไร ต่อผลิตภัณฑ์นั้น
ไม่สุขไม่ทุกข์อะไรกับผลิตภัณฑ์ ไม่ตีค่าราคาอะไรกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ
ผลิตภัณฑ์มันจึงตั้งอยู่ของมันไป มันจะเกิดจะดับอย่างไรเราก็เฉยรู้ไป
เราก็อยู่ของเราไป มันก็อยู่ของมันไปอย่างนั้น
พระอรหันต์นั้น สามารถที่จะรู้และวางเฉยต่อผลิตภันฑ์ตั้งแต่เริ่มกระบวนการผลิตได้เลย
แต่เราๆ ท่านๆ อาจจะมารู้สึกจำแนกแยกแยะได้ว่าเป็นทุกข์เอาตอนมันเริ่มขึ้นรูปแล้ว
ก็ว่ากันไปตามระดับความระลึกรู้ที่ไม่เท่ากัน |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
14 ต.ค.2008, 7:24 pm |
  |
แหม เห็นช่วงหลัง ๆ ขยันหาบทความธรรมะมาลง ป้าบัวหิมะคิดว่า
หลานฌาณ เป็นผู้เชี่ยวชาญ ทั้งบู๊ ทั้งบุ๋น ซะอีก แหม๋ หลงเข้าใจผิด
I see I see เจอกันที่บอร์ดใหม่นะหลาน  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
14 ต.ค.2008, 7:45 pm |
  |
ผมผ่านการปฏิบัติกรรมฐานมาหลายอย่าง
และทำให้เกิดความสงบแก่ใจได้หลายวิธิครับ
ได้แก่ พุทโธ อานาปานสติ กายคตาสติ พรหมวิหาร ๔
พิจารณาไตรลักษณ์ พิจารณาเวทนา ก็ทำให้จิตสงบได้ครับ
ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ครับ พอเห็นสติเด่นขึ้น
จึงเริ่มเข้าใจที่ท่านว่า อ๋อ สติ เป็นอย่างนี้
เดินไปบริกรรมพุทโธไป
ความรู้แผ่ซ่านไปทั่วกาย จึงรู้ว่า อ๋อ สัมปชัญญะ เป็นอย่างนี้
พอสติเด่นขึ้น คราวนี้รู้ไปหมดว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ที่ท่านว่าเป็นยังไง
พอเห็นชัด ๆ อ๋อ เป็นอย่างนี้นี่เอง |
|
|
|
  |
 |
|