|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
13 ต.ค.2008, 11:35 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
กระผมใช้วิธีภาวนา พุทธ โธ อยู่ครับ แต่ก็ไปไม่ถึงความสงบเย็นอย่างที่เคยได้ยินได้ฟังมาซะที นั่งพิจารณาเรื่องของสติปัฏฐาน ก็เริ่มเห็นบางอย่าง จับเวทนาได้ก่อนแฮะ เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์(เยอะหน่อย) เดี๋ยวเฉยๆ กลับไปกลับมาอยู่ตลอดเวลา สักพักกระผมก็ฉุกคิดถึงปฏิจสมุปบาท เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา เลยคิดย้อนไปถึงผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เลยตั้งสติจดจ่ออยู่สักพักก็เริ่มเห็น ธาตุ 18 กระทบกันอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวหู เดี๋ยวจมูก เดี๋ยวกาย เดี๋ยวความคิด (แต่ตากับลิ้นไม่เห็นครับเพราะหลับตานั่งอยู่เฉยๆ) มาถึงตรงนี้ก็เริ่มไม่รู้สึกถึงเวทนาแล้ว(ไม่ใส่ใจกับเวทนาเลย) บันเทิงอยู่กับการไล่จับผัสสะอยู่....เช้าซะละเลยต้องเลิกก่อนเดี๋ยวไปทำงานสาย
ทีนี้กระผมจะต้องทำอะไรต่อไปครับกรุณาแนะนำที
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=83743#83743
|
จองพื้นที่ไว้ก่อนแล้วค่อยๆว่ากันต่อไปนะครับ
แนะนำบอร์ใหม่
http://fws.cc/whatisnippana/index.php |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ย.2010, 6:19 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
13 ต.ค.2008, 8:43 pm |
  |
หากจะบันเทิงเริงรมย์ไล่จับผัสสะเป็นต้น ควรไล่หลังจากเลิกฝึกกรรมฐานตามแบบแล้ว
พักแล้วจะนั่งไล่อย่างที่ว่าก็ได้
แต่ขณะที่ใช้ลมหายใจเป็นสนามฝึก ลมเข้า พุท ลมออกโธ พุทโธๆๆ อยู่นั่น
ไล่จับอารมณ์อย่างนี้ เป็นต้น
อ้างอิงจาก: |
(
.คิดถึงปฏิจสมุปบาท เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา เลยคิดย้อนไปถึงผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เลยตั้งสติจดจ่ออยู่สักพักก็เริ่มเห็น ธาตุ 18 กระทบกันอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวหู เดี๋ยวจมูก เดี๋ยวกาย เดี๋ยวความคิด) |
ไม่เข้ากับสถานการณ์ คือสถานการณ์ตอนนั้นไม่ใช่ให้คิดให้ทำเช่นนั้น
สิ่งที่ควรทำตอนนั้นคือยึดลมเข้าออกไว้ครับ หายใจเข้า พุท ลมหายใจออก ก็โธ พุทโธๆๆ ตามลมเข้าและออก เป็นหลักยึดภาวนาไป
ส่วนอารมณ์อื่นที่แว็บๆ มา แว้บไป รู้สึกตัว ก็ทำความรู้สึกในใจว่า ...มันเป็นอย่างนั้น แล้วจบ รู้แล้วจบ ไม่ต้องตามไล่อารมณ์นั้นไปอีก
กลับไปพิจารณาลมหายใจต่อ ลมเข้า พุท ลมออก โธ ฯลฯ
แนะนำให้อ่านคำตอบที่แนะนำคุณฌาน คห.วันนี้เพิ่มเติมครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
14 ต.ค.2008, 10:24 am |
  |
เมื่อวานนั่งพิจารณาอยู่ถึงผัสสะที่เกิด เห็นอยู่ว่ามันมีอยู่ตลอดเวลา เหมือนเวทนาที่จองจำเราอยู่ทุกอิริยาบท ตอนที่ไม่ได้นั่งปฏิบัติอยู่ก็มี (เมื่อก่อนไม่ยักรู้สึกแบบนี้ ) เลยคิดได้ว่ามันเป็นธรรมดาของมันอย่างนี้นี่เอง ทีนี้พอตอนปฏิบัติก็เริ่มต้นเหมือนปกติ กำหนดลมหายใจ ภาวนาพุทธโธไปเรื่อย แต่ทีนี้เอาจิตมาจ่ออยู่ที่ลมที่ไหลเข้า ไหลออก แล้วก็ภาวนาไปเรื่อยๆ ผัสสะมันก็มีอยู่เหมือนเดิม เวทนาก็มีอยู่เหมือนเดิม คือรู้สึกอยู่ว่ามันมีแต่ทีนี้ไม่สนใจมันปล่อยมันเป็นไปตามธรรมดาของมัน สักพักนึงก็เริ่มรู้สึกเหมือนลมที่จ่ออยู่มันหายไป แต่พอรู้สึกแบบนี้ปั๊ป มันก็กลับมาอีก เหมือนตอนเริ่มเลย แต่ก่อนจะกลับมานี่มันรู้สึกเหมือนหล่นลงมาจากที่นั่ง(เหมือนกับว่าพื้นมันหายไป...ตกใจเลย )
แล้วทีนี้ก็เอาใหม่ แต่ยังไม่เท่าไหร่เลย เช้าอีกแล้ว เลยต้องเลิกก่อน วันออกพรรษาด้วยตั้งใจจะไปวัดทำบุญ...
รบกวนท่านช่วยวิเคราะห์ทีครับ แล้วก็กรุณาแนะนำให้ด้วยนะครับว่ากระผมควรจะต้องทำยังไงต่อ....  |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ต.ค.2008, 12:44 pm |
  |
บอร์ดใหม่เปิดใช้งานแล้วครับ คุณ natdanai มะมามะมะ นะโมพุทธายะ
มะมะมามา เราไปสนทนากันที่
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=18324 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |