ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ค.2008, 4:41 pm |
  |
บาป ที่ท่านใช้ในความหมายเท่ากับอกุศล แห่งสำคัญคือในสัมมัปปธาน (= สัมมาวายามะ)
ที่ว่าเพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด และเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
แต่ในที่นั้นบุญไม่ได้มากับกุศลธรรมด้วย
มีบาลีหลายแห่งที่พระพุทธเจ้าตรัสถึง โอปธิกบุญ คือบุญที่อำนวยผลแก่เบญจขันธ์ ซึ่งได้แก่
บุญที่เป็นโลกียะ
ส่อความว่าจะต้องมีอโนปธิกบุญหรือนิรูปธิบุญ ที่เป็นโลกุตระเป็นคู่กัน แต่ก็หาได้ทรงออกชื่อ
อโนปธิกบุญ หรือนิรูปธิบุญไว้ด้วยไม่ (ดู สํ.ส.15/923/342 ฯลฯ)
มีแต่คำว่าโลกุตระบุญที่มาในอรรถกถาสักแห่งหนึ่ง (ที.อ.3/55)
และอรรถกถามน้อยแห่งเหลือเกินจะไขความบุญว่าเท่ากับกุศลทั้งหมด
เมื่อมองดูโดยทั่วไปแล้ว ก็จะเห็นว่าคำว่าบุญนั้น ท่านใช้ในความหมายของโอปธิกบุญนั่นเอง
คือ ถึงจะไม่ได้เขียนคำว่า โอปธิกะกำกับไว้ แต่ก็มีความหมายเท่ากับเขียนโอปธิกะอยู่ด้วย
หมายความว่าตรงกับโลกียะกุศลนั่นเอง |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ค.2008, 4:43 pm |
  |
ข้อนี้เท่ากับพูดว่า คำว่าบุญ ที่ใช้ทั่วไป มีความหมายอยู่เพียงขั้นโลกียะเท่ากับโลกียะกุศล
หรือกุศลขั้นโลกียะ จึงเท่ากับเป็นความหมายส่วนหนึ่งของกุศล ไม่ครอบคลุมเท่ากับกุศล
ซึ่งมีโลกุตระกุศลด้วย
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ค.2008, 4:45 pm |
  |
พระอรรถกถาจารย์ท่านสังเกตการใช้คำว่าบุญ แล้วแสดงความหมายไว้ให้เห็นแง่ด้าน
ที่ละเอียดลงไปอีก ดังในคัมภีร์ปรมัตถทีปนี อรรถกถาอิติวุตตกะ (อิติ.อ.96 )
แสดงความหมายของคำว่า บุญ ไว้ 5 อย่างคือ
1. หมายถึงผลบุญคือผลของกุศลหรือผลของความดี เช่น ในข้อความว่า เพราการสมาทานกุ,
ธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ บุญย่อมเจริญเพิ่มพูน (ที.ปา.11/50/86)
2. หมายถึงความประพฤติสุจริตในระดับกามาวจรและรูปวจร เช่นในคำว่า คนตกอยู่ในอวิชชา
หากปรุงแต่งสังขารที่เป็นบุญ (= ปุญญาภิสังขาร) (สํ.นิ.16/191/99)
3.หมายถึงภพที่เกิดซึ่งเป็นสุคติพิเศษ เช่นในคำว่า วิญาณที่เข้าถึงบุญ (สํ.นิ.16/191/99)
4. หมายถึงกุศลเจตนา เช่นในคำว่า บุญกิริยาวัตถุ (คือเท่ากับกุศลกรรม)
5. หมายถึงกุศลธรรมในภูมิสาม เช่นในคำว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวบุญเลย
(ขุ.อิติ.25/200/240) ข้อนี้ตรงกันกับคำว่า โลกียะกุศลนั่นเอง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ค.2008, 4:47 pm |
  |
ส่วนในพุทธพจน์ที่ว่า บุญเป็นชื่อของความสุข บุญก็หมายถึงผลหรือวิบากที่น่าปรารถนา
ของกุศลกรรมคือการทำความดี (ขุ.อิติ.25/200/240 ฯลฯ)
หรือในคำว่า ตายเพราะสิ้นบุญ (บุญขัยมรณะ) ก็หมายถึงหมดผลบุญหรือสิ้นวิบาก
ของกุศลกรรมที่ปรุงแต่งกำเนิดนั้นนั่นเอง (วิสุทธิ.2/1)
ความหมายของคำว่า ธรรม ที่เท่ากับบุญ ก็คือความหมายในแง่ที่สัมพันธ์กับการไป
สวรรค์ เช่นเดียวกับที่อธรรมเท่ากับบาปในความหมายที่สัมพันธ์กับการไปนรก (ปฏิสํ.อ.20)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ค.2008, 4:49 pm |
  |
เป็นอันสรุปได้ว่า แม้ว่าบุญ กับ กุศล และบาปกับอกุศลจะเป็นไวพจน์กัน
แต่ในการใช้จริงโดยทั่วไป กุศลมีความหมายครอบคลุมที่สุดกว้างกว่าบุญ
คำทั้งสองจึงใช้แทนกันได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
ส่วนบาป กับ อกุศล มีความหมายใกล้เคียงกันมากกว่า จึงใช้แทนกันได้บ่อยกว่า
แต่กระนั้นก็มักใช้ในกรณีที่ให้ความรู้สึกที่ตรงข้ามกับความหมายแง่ต่างๆ ของบุญ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ค.2008, 4:51 pm |
  |
โดยนัยนี้
-กุศล ใช้ในแง่การกระทำคือกรรมก็ได้ มองลึกลงไปถึงตัวสภาวธรรมก็ได้
ส่วนบุญ มักเล็งแต่ในแง่กรรมคือการกระทำ
ดังนั้น คำว่า กุศลกรรมก็ดี อกุศลกรรมก็ดี จึงเป็นคำสามัญ
แต่สำหรับบุญ เราพูดได้ว่า บุญกรรม (กรรมที่เป็นบุญ ไม่ใช่ บุญและกรรม)
ถ้าพูดว่า บุญธรรม จะแปลกหู และไม่รู้สึกเป็นคำศัพท์ทางธรรม
ส่วนบาป กับ อกุศล จะพบทั้งอกุศลกรรม อกุศลธรรม บาปกรรม บาปธรรม
-ในแง่พิเศษ บุญหมายถึงผลของบุญหรือวิบากของกุศลกรรม
แม้ในกรณีที่มิได้หมายถึงผลหรือวิบากโดยตรง บุญก็ใช้ในลักษณะที่สัมพันธ์กับผลหรือ
ให้เกิดความรู้สึกเพ่งเล็งถึงผลตอบสนองภายนอกหรือผลที่เป็นอามิส เฉพาะอย่างยิ่งความสุข
และการไปเกิดในที่ดีๆ
-ด้วยเหตุที่กล่าวมานั้น การใช้คำว่าบุญ จึงมักจำกัดอยู่เฉพาะในระดับโลกียะ เป็นโอปธิกบุญ
คือ เป็นโลกียะกุศลเท่านั้น กรณีที่กินความถึงโลกุตระกุศล หาได้ยากอย่างยิ่ง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 พ.ค.2008, 7:55 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ค.2008, 4:53 pm |
  |
-บุญ และ บาป เป็นคำที่มีใช้แพร่หลายอยู่ก่อนแล้วในพุทธกาล
พระพุทธศาสนารับเข้ามาใช้ในความหมายเท่าที่ปรับเข้ากับหลักการของตนได้
ส่วนกุศล และ อกุศล เดิมใช้ในความหมายอย่างอื่น เช่น ฉลาด ชำนาญ คล่องแคล่ว
สบายดี มีสุขภาพ เป็นต้น พระพุทธศาสนานำเอามาบัญญัติใช้สำหรับความหมาย
ที่ต้องการของพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ
-และโดยนัยนี้ กุศล และ อกุศลจึงเป็นศัพท์วิชาการทางธรรมอย่างแท้จริง
ส่วนบุญ และ บาป ท่านมักใช้อยู่ในวงแห่งคำสอนสำหรับชาวบ้านหรือชีวิตของชาวโลก |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 พ.ค.2008, 7:46 pm |
  |
^
มาถึงตรงนี้ก็พอมองเห็นแล้วว่า กุศลจิต อกุศลจิต บุญ บาป ใช้แทนกันได้ส่วนมาก
กันความสับสน บุญเท่ากับกุศลจิต บาปเท่ากับอกุศลจิต จำง่ายๆเท่านี้พอ
ส่วนข้อปลีกย่อยค่อยๆอ่านแล้วทำความเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 พ.ค.2008, 8:23 pm |
  |
ดังนั้นคำถามเกี่ยวอกุศลจิต กับ บาปข้างต้นที่ว่า
อยากทราบว่า ถ้าเรามีจิตอกุศลเกิดขึ้น แต่เรารู้ตัว เช่นความโกรธ ความไม่พอใจ
หรือ นึกอยากไปทำร้ายร่างกายเขา แต่เรารู้ตัว แล้วพยายามระงับอารมณ์นั้น
แล้วนึกถึงคำสอนหลวงพ่อ ว่าอดีต และอนาคตไม่ควรคิดถึง
แล้วนึกขออโหสิกรรมในใจตอนนั้นเลย จะบาปมั๊ย
อยากทราบวิธีแก้ไม่ให้มีจิตอันเป็นอกุศล
ระหว่างการนึกคิด การพูดร้าย การกระทำ ที่ไม่ดีทั้งปวง ตัวไหนบาปมากกว่ากัน
ถ้าคิดจะทำร้ายคนที่เราไม่ชอบ แต่ไม่ทำ บาปมากแค่ไหนค่ะ
นี้จึงคลี่คลายได้เปลาะหนึ่ง ยังเหลือประเด็นว่า จะมีวิธีแก้ไม่ให้มีจิตเป็นอกุศลอย่างไร
กรณีนี้มิใช่ทำได้ง่ายๆ เพราะกุศลและอกุศลเกิดเมื่อมีเหตุปัจจัยให้เกิด
หมดเหตุปัจจัยก็ดับตามธรรมดาของมัน ไม่ใช่สิ่งจีรัง
เมื่อว่ากันตามหลักจะต้องฝึกสติด้วยการปฏิบัติกรรมฐาน (ที่ถูกต้อง)
ตามดูรู้ทันอารมณ์แต่ละขณะๆ ซึ่งก็ไม่ง่ายอีกเช่นกัน
ลองศึกษาวิธีปฏิบัติเบื้องต้นดีกว่าว่า เมื่ออกุศลจิตเกิดรู้สึกตัวอย่างว่า
จะมีวิธีเปลี่ยนความคิดอย่างไรให้เข้าสู่ทางกุศล แบบนี้น่าจะง่ายกว่า
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
07 พ.ค.2008, 8:30 am |
  |
ในกรณีที่ความคิดอกุศลเกิดขึ้นแล้ว ท่านก็แนะนำวิธีแก้ไขไว้ และวิธีแก้ไขนั้น
ส่วนมากก็ใช้วิธีโยนิโสมนสิการแบบเร้ากุศลนั่นเอง ดังตัวอย่างในวิตักกสัณฐานสูตร
พระพุทธเจ้าแนะนำหลักทั่วไปในการแก้ความคิดอกุศลไว้ 5 ขั้น
มีใจความว่า ถ้าความคิดความ ดำริที่เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะ
(ตัณหาฉันทะ) หรือโทสะ หรือโมหะ ก็ตาม เกิดมีขึ้น อาจแก้ไขได้ ดังนี้
1. มนสิการ คือ คิดนึกใส่ใจถึงสิ่งอื่นที่ดีงามเป็นกุศล หรือหาเอาสิ่งอื่นที่ดีงามมาคิดนึกใส่ใจ
แทน- (เช่น นึกถึงสิ่งที่ทำให้เกิดเมตตา แทนสิ่งที่ทำให้เกิดโทสะเป็นต้น)
ถ้าปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ยังไม่หาย
2. ถึงพิจารณาโทษของความคิดที่เป็นอกุศลเหล่านั้นว่า ไม่ดีไม่งาม ก่อผลร้าย
นำความทุกข์มาให้อย่างไรๆ
ถ้ายังไม่หาย
3. พึงใช้วิธีต่อไปอีก ไม่คิดถึง ไม่ใส่ใจถึงความคิดชั่วร้ายที่เป็นอกุศลนั้นเลย เหมือนคนไม่
อยากเห็นรูปอะไรที่อยู่ต่อตา ก็หลับตาเสีย หรือหันไปมองทางอื่น
ถ้ายังไม่หาย
4. พึงพิจารณาสังขารสัณฐานของความคิดเหล่านั้น คือจับเอาความคิดนั้นมาเป็นสิ่งสำหรับ
ศึกษาค้นคว้าในแง่ที่เป็นความรู้ ไม่ใช่เรื่องของตัวตน ว่าความคิดนั้นเป็นอย่างไร
เกิดจากมูลเหตุปัจจัยอะไร
ถ้ายังไม่หาย
5.พึงขบฟัน เอาลิ้นดุนเพดาน อธิษฐานจิต คือตั้งใจแน่วแน่เด็ดเดี่ยว ข่มใจระงับความคิด
นั้นเสีย
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 9:36 am |
  |
ประเด็นความดี-ความชั่ว ยังมีต่อ ที่ลิงค์นี้ครับ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=64055#64055
แต่ข้อธรรมจะละเอียดเข้าใจยากขึ้น ควรทำความเข้าใจ จิตนิยาม กรรมนิยาม
และธรรมนิยาม ข้างต้นก่อน หากยังไม่เข้าใจ  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
viiew
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 26 ก.ย. 2008
ตอบ: 18
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ย. 2008, 7:56 pm |
  |
เยอะจังคะ
ถ้ามีเวลาว่างๆ วิวจามาอ่านนะคะ |
|
_________________ กมฺมนา วตฺตตี โลโก :)
วาสนาคือการกระทำ |
|
   |
 |
|