ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
samphan
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 29 ก.ย. 2007
ตอบ: 3
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
02 ต.ค.2007, 4:16 pm |
  |
ผมนั่งสมาธิเป็นประจำและนั่งประมาณ 1 ชั่วโมง ทำโดยการกำหนดลมหายใจ+พุทโธ แรกๆ ก็รู้สึกปล่อยวาง และสบาย แต่พอนั่งไประยะหนึ่ง
ประมาณ ครึ่งชั่วโมงจะมีอาการคอแข็ง ตัวแข็งและเหมือนมีก้อนอะไรที่ศรีษะและจะปวดคอ/ไหล่มาก(เคยได้ยินอาจารย์บางท่านบอกว่า ต้องอดทนต่อความเจ็บปวด แต่ผมทนแล้วทนอีกก็ไม่ไปไหน) ไม่หายปวดเลย จึงต้องเลิกทำช่วยชื้ทางให้หน่อยครับ ทำอย่างไรดี |
|
|
|
  |
 |
bad&good
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115
|
ตอบเมื่อ:
02 ต.ค.2007, 8:48 pm |
  |
โปรดใช้หลักอริยสัจ4 เพื่อตรวจสอบดูว่า ทุกข์เช่นนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร
...................................................
ทุกข์อันเกิดจากร่างกาย ผิดปกติ หรือ ป่วย ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา หรือ คำแนะนำ เพื่องดทำสิ่งนั้นอีก เพื่อผลสิ่งนั้น จะไม่เกิดขึ้น
..................................................
ความเข้าใจในเหตุและผล อย่างง่าย อย่างวิทยาศาสตร์ เช่นนี้ ควรคำนึงถึง ใช้ประโยชน์บ้าง
..................................................
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
เมื่อทราบแล้ว ว่า ทำกิริยาใด แล้วเป็นทุกข์ จงหยุดทุกข์นั้น โดยหยุดอดทน คอแข็ง นั่งทำสมาธิต่อไป
ไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังอาจารย์ทุกกรณี "ไม่ควรเชื่อ ด้วยเหตุว่าความรู้นั้นมาจาก อาจารย์" (ตามบทกาลมสูตร) คอของท่าน ไม่ใช่คอของอาจารย์ ไม่มีใครรับผิดชอบคอของท่านได้
แต่เมื่ออ่าน วรรค นี้ แล้ว อย่าคิดไปไกลว่า ข้าพเจ้าสอนท่านไม่ให้เคารพอาจารย์ หรือสอนให้ไม่ให้เชื่อทุกเรื่องในคำสอนของอาจารย์ แหล่งความรู้จากพุทธธรรม หลายแหล่ง สามารถหาอ่านได้ เพื่อตรวจสอบ สอบยันกันได้ เมื่อเห็นว่า ยังคงอยู่ใน อริยมรรค 8 จึงทำตาม และเชื่อตาม
...................................................
หรือ หากร่างกายท่าน ปกติดี
แต่การฟังวิธีทำการทำสมาธิ ท่านฟังอย่างไม่เข้าใจก็ได้ เช่นว่า ทำร่างกาย และจิตใจ ให้สบาย ปล่อยวางเรื่องทุกสิ่ง หยุดนึกคิดถึงสิ่งต่าง ๆ
หยุดคาดหวัง ต้องการพบเห็นสิ่งที่ตนต้องการ เช่น นิมิตต่าง ๆ ดวงแก้ว ระลึกชาติก่อนได้
หยุดการวางแผนการทำสมาธิ ให้ได้ตามเป้าหมาย ตามเวลาที่กำหนด เช่น วันนี้ จะทำให้ได้ 5 ชั่วโมง เพื่ออะไรสักอย่างหนึ่ง
ซึ่งท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านได้กล่าวย้ำว่า คิดจะทำสมาธิเพื่ออยากได้อะไร ทำจนถึงตี 4 ตี 5 ก็ไม่ได้อะไร เสียเวลาเปล่า
..................................................
การทำสมาธิ ข้าพเจ้าเห็นว่า ควรทำควบคู่ไปกับ "จิตว่างจากกิเลส"
เป้าหมายแก่นแท้ของพุทธ คือ ดับกิเลสสิ้นเชิง ตามแบบอย่างพระพุทธเจ้า (ตามบทสวดมนต์ที่ท่านสวดเช้า-เย็น สวดสรรเสริญพระพุทธเจ้า ที่ ดับทุกข์กิเลสสิ้นเชิง ผู้สวดหมายได้แบบอย่างพระองค์ คือ ดับกิเลสสิ้นเชิงด้วย
...................................................
การทำสมาธิ ข้าพเจ้าเห็นว่า เป็นเรื่องรอง
การทำกิเลสให้หมดทุกข์สิ้นเชิง เป็นเรื่องหลัก
แม้นท่านลืมตา ทำจิตว่างจากกิเลสได้ทุกขณะ
มีสติ อยู่กับ อริยมรรค 8 ทุกขณะ (แต่ไม่เกร็ง เครียด ถึงกับควบคุมจิต ร่างกาย ทุกวินาที เช่นนั้น ควบคุมเพียงรวม รวม พอเห็นว่าตนเอง เริ่มมีกิเลสพองตัว จึงใช้ สัมมาสติ คอยเตือนตนเองว่า อริยมรรค 8 ข้อใดเริ่ม ทำผิด เลยเส้นที่ตนกำหนดไว้)
ความจริงแล้ว ลืมตา อยู่กับ อริยมรรค 8 ถือเป็น "สมาธิ" เช่นเดียวกัน
คือ จิตกำลังจะทำอะไร ลงไป จงทำอย่างมีศีล มีสติ
..............................................................
ความประหลาดใจข้อหนึ่ง ของข้าพเจ้า เห็นว่า พระพุทธเจ้า เป็นผู้เลิศใน จิตว่างจากกิเลส และดำรงค์อยู่ซึ่งจิตว่างตลอดเวลา (เหมือนติดนิสัย นิพพาน จะทำอะไร ก็ไม่กังวลต่อความผิดพลาด อริยมรรค 8 คือ ไม่ได้ควบคุมสัมมา อะไรมาก เป็นความง่าย เป็นความเบิกบาน ไม่หวั่นไหวสิ่งใด)
พระพุทธเจ้าตรัสสอนผู้อื่น ด้วยสติ คือ สอนไป ด้วยว่า จิตไม่มีกิเลส คือ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ
ซึ่งต่างกันผู้สอนพุทธธรรม ผู้อื่น สอนไปสักพัก กิเลสของตนเอง จะเริ่มก่อตัว ด้วยว่า เคืองเล็ก ๆ ว่า นักศึกษาผู้นี้มันดื้อ จริงโว๊ย อวดเก่งจริงโว๊ย โง่จริงโว๊ย ไม่เห็นนับถืออะไรกับตนเองเลยโว๊ย เสียเวลาสอนเปล่า ๆ โว๊ย เหล่านี้ทำให้ จิตว่างจากกิเลส เปลี่ยนแปลงไป ด้วยว่า ทำอะไรสองเรื่องพร้อมกันไม่ได้ คือ นิพพานด้วย สอนไปด้วย ทำไม่ได้
ซึ่งต่างจากพระพุทธเจ้า พระองค์กลับทำได้
.........................................................................
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า ทำได้เช่นนั้น พระองค์มีเป้าหมายเดียว คือ
ท่านอยู่ในอารมณ์นิพพาน ไม่ได้อยู่ในอารมณ์ที่อยากตรัสสอน
เหมือน แสงแห่งจิตที่เป็นนิพพาน ของพระองค์ เปล่งออกมา ตกกระทบตา ให้ได้ประจักษ์
เหมือน เสียงแห่งจิตที่เป็นนิพพาน ของพระองค์ ตกกระทบโสตสัมผัสหู ของผู้ศรัทธา
ไม่ได้ใช้กิเลส ความอยากสอน อยากตรัส ให้ผู้ศรัทธา กระทบต่อโสตสัมผัสหู
ไม่ได้คาดหวัง หรือใฝ่หา โลภะ โทสะ โมหะ อะไร จากผู้ศรัทธา
ไม่ได้ ผู้ศรัทธา ยอมรับนับถือ ด้วยว่า ต้องการเป็นผู้เลิศในโลก เพราะไม่มีโมหะ เช่นนั้น
การตรัสสอนของพระองค์ จึงไม่ต้องควบคุมดูแลเรื่องของกิเลส เนื่องจากตรัสสอนด้วยจิตว่าง
การตรัสสอนจึงเป็นของง่าย สำหรับพระองค์
...............................................................
การทำสมาธิ เป็นเรื่องศึกษา
มีวิธีหลายอริยบส เช่น เดิน นั่ง ยืน นอน
เลือกใช้วิธีที่ทำให้ไม่ปวดคอ ปวดร่าง
แม้นท่านทำด้วยวิธีใด แล้ว ปวดร่าง จงสลับเปลี่ยนเป็นวิธีอื่น แล้วกลับมาเป็นวิธีเดิม
ปริศนาธรรมของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ มีอยู่เรื่องหนึ่งว่า ทุกสิ่งเป็นของไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ดูเพียงแต่การนั่งท่าเดียวนาน ๆ ก็ยังคงทน สภาพนั่งแบบนั้น ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนเป็นท่านั่ง ท่าอื่นบ้าง ยืนบ้าง นอนบ้าง สลับไปมาบ้าง เพื่อให้ร่างกายหายเมื่อย หายเหน็บชา
ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า แม้นนั่งสมาธินาน ๆ ความไม่เที่ยงของร่างกาย ต้องเกิดขึ้นแน่นอน
แล้วอะไรล่ะ ที่พุทธ ต้องการให้บรรลุเป้าหมาย การหมดทุกข์สิ้นเชิงไม่ใช่หรือ
ใช่ นั่งสมาธิได้นานที่สุดในโลก เช่นนั้นหรือ (ติดรูปแบบ เข้าใจผิดเรื่องใด ต้องการอะไรหรือ)
ความหมดทุกข์สิ้นเชิง จะต้องการได้อะไรอีกหรือ อะไรอีกเล่า ที่ท่านอยากได้
สิ่งนั้นแล คือ กิเลสอันละเอียด ประมาณผงอณู |
|
_________________ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
แก้ไขล่าสุดโดย bad&good เมื่อ 02 ต.ค.2007, 8:58 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
02 ต.ค.2007, 8:50 pm |
  |
ทน (ขันติ) มี 2 แบบ- ทนแบบไม่รู้ไม่ชี้อย่างนิครนถ์
แบบพุทธะ-ทนอย่างมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวว่า เป็นอะไรอยู่จึงทน คือรู้ตัวทุกขณะ
แล้วก็เดินจงกรมบ้างนะครับ
สมาธิมากเกินวีริยะจะมีลักษณะดังกล่าว พึงปรับให้สมดุลกัน
ผู้ทำกรรมฐานแบบพุทโธ ไม่ค่อยชอบเดินจงกรม สมาธิจึงเกิดล้ำวิริยะ
เดินจงกรมก็รู้สึกตัวว่ากำลังเดินอยู่ มีสติอยู่กับการเดินนั้น
แล้วกายใจจะเบาผ่อนคลาย ด้วยเดินนี้เอง
ขอย้ำว่าเดินอย่างรู้สึกตัวมีสติอยู่กับการเคลื่อนไหวกายนั้น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ต.ค.2007, 5:03 pm |
  |
การเจริญสติปัฏฐาน ต้องมีหลัก หรือมีอารมณ์ที่ให้จิตกำหนด
ลองพิจารณาองค์ประกอบย่อๆดังนี้
-อารมณ์ = สิ่งที่ถูกรู้ (หลัก)
-สติ=เป็นตัวควบคุมจิตไว้ให้อยู่กับหลัก
-สัมปชัญญะ = การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้ หรือรู้ชัดสิ่งที่กำลังทำ
-สัญญา = จำได้, กำหนดได้ (จำสภาวธรรมคือนาม-รูป)
-เหตุให้เกิดสติ คือ สัญญา หรือ สติปัฏฐานชนิดต่างๆ
-ลักษณะการทำงานโดยทั่วไปของสติ คือ การไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอย
ไม่ปล่อยอารมณ์ให้ผ่านเรื่อยเปื่อยไป
หรือ ไม่ปล่อยให้ความนึกคิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ
แต่คอยระวัง เหมือนจับดูอารมณ์ที่ผ่านมาแต่ละอย่าง
มุ่งหน้าเข้าหาอารมณ์นั้น
เมื่อต้องการกำหนดอารมณ์ใดแล้ว ก็เข้าไปดูติดๆไป
ไม่ยอมให้คลาดหาย
คือนึกถึงหรือระลึกถึงไว้เสมอ
ไม่ยอมให้หลงลืม
มีคำเปรียบเทียบว่าเหมือนนายประตู เพราะเฝ้าอายตนะต่างๆ ที่เป็นทางรับอารมณ์
ตรวจดูอารมณ์ที่ผ่านเข้ามา
เหตุให้เกิด...สติ คือ... สัญญา ที่มั่นคง หรือ ... สติปัฏฐาน ชนิดต่างๆ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ต.ค.2007, 5:09 pm |
  |
(นาม-รูป หรือ กายกับใจ นี้มีสิ่งที่เจ้าตัวยังไม่รู้ไม่เข้าใจอีกมากนัก ขอให้พิจารณาทุกข์ลักษณะที่อิริยาบถบังอยู่ ดังนี้)=>
อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ
ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดัน ที่มีอยู่ตลอดเวลา
ก็ถูก อิริยาบถ คือความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้
ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ
ภาวะ...ที่...ทน...อยู่...มิได้
หรือภาวะที่คงสภาพเดิมอยู่มิได้
หรือภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้
ด้วยมีแรง...บีบ...คั้น...กด...ดัน...ขัด...แย้ง...เร้า...อยู่...ภายในส่วนประกอบต่างๆ นั้น
จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา
หรือ ความ...รู้...สึก...ของมนุษย์
มัก...จะ...ต้อง...ใช้...เวลา...ระยะหนึ่ง
แต่...ใน...ระหว่าง...นั้น
ถ้ามี...การ...คืบเคลื่อน...ยักย้าย
หรือ...ทำ...ให้...แปรรูป...เป็น...อย่างอื่นไป...เสียก่อน...ก็ดี
สิ่งที่...ถูกสังเกต...เคลื่อน...ย้าย...พ้น...จาก...ผู้สังเกต...ไป...เสียก่อน
หรือ...ผู้สังเกต...แยกพราก...จากสิ่ง...ที่...ถูกสังเกต...ไป...เสียก่อน ก็ดี
ภาวะที่...บีบ...คั้น...กด...ดัน...ขัดแย้ง...นั้น ก็...ไม่...ทัน...ปรากฏ...ให้...เห็น
ปรากฏการณ์ ส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ
ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ
ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละ
ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก
แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง
ความบีบคั้นกดดันขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลาทั่วองคาพยพ
จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉยในท่าเดียวได้
ถ้าเราอยู่
หรือ ต้องอยู่
ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น
ยืนอย่างเดียว
นั่งอย่างเดียว
เดินอย่างเดียว
นอนอย่างเดียว
ความบีบคั้นกดดันตามสภาวะจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น ๆ
จนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้นกดดัน
ที่คนทั่วไปเรียกว่า ทุกข์ เช่นเจ็บ ปวด เมื่อย
จนในที่สุดก็จะทนไม่ไหว
และต้องยักย้ายเปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่น
ที่เรียกว่า อิริยาบถอื่น
เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง
ความบีบคั้นกดดัน ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็หายไปด้วย
(ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบายที่เรียกว่า ความสุข เกิดขึ้นมาแทนด้วย
แต่อันนี้ เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์)
ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น
เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง
หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ
พอจะรู้สึก
ปวด
เมื่อย
เป็นทุกข์
เราก็ชิงเคลื่อนไหว
เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น
หรืออิริยาบถอื่นเสีย
หรือเรามักจะเคลื่อนไหว
เปลี่ยนท่า
เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ
จึง...หนี...รอด...จาก...ความ...รู้...สึก...ทุกข์...ไปได้
เมื่อ...ไม่...รู้...สึก...ทุกข์
ก็...เลย...พลอย...มอง...ข้าม...ไม่เห็น...ความทุกข์...ที่เป็น...ความ...จริง...ตามสภาวะ...ไป...เสียด้วย
ท่าน...จึง...ว่า อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
เสกสรรค์
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2007
ตอบ: 22
ที่อยู่ (จังหวัด): นครพนม
|
ตอบเมื่อ:
06 ต.ค.2007, 9:37 pm |
  |
อาจเกิดได้จาก
1 การเพ่งที่อวัยวะเหล่านั้นมากเกิน ไป จนทำให้เกิดความเครียดหรือเกร็ง จนเจ็บหรือปวด แก้ดโดย ไม่เพ่งจนเกินไป เจริญสติโดยพิจารณาอาการของการไปด้วย คือขณะกำหนดคำบริกรรม นอกจากจะกำหนดสติตามคำบริกรรม ต้องสังเกตุอาการของการด้วยว่า เป้นปกติหรือไม่
2 เกิดจากไม่มีสติรู้กายขณะทำสมาธิ ซึ่งอาจจะทำให้ เกิดการเอนของตัว หรือคอพับลงมา จนทำให้การหายใจไม่สะดวก แก้โดยมีสติรู้การไม่ปล่อยให้การเอนไหวไปโดยไร้การควบคุมจากสติ
การที่อาจารย์ให้อดทนนั้น ท่านคงหมายถึง การอดทนต่อความเจ็บปวดจากการนั่งที่ถูกวิธีมากกว่า แต่กาหไม่ถูกวิธีแล้วไซร้ก็ไม่ต่างจากพวกโยคีทรมานตนเอง จิตใจตอนนั้นก็เป้นทุกข์ มีอบายเป้นที่ไป เพราะสรัทธาลดลง |
|
|
|
  |
 |
suvitjak
บัวบาน

เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen
|
ตอบเมื่อ:
13 มิ.ย.2008, 2:33 pm |
  |
ขอบคุณครับ  |
|
_________________ ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน |
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
09 ส.ค. 2008, 9:53 pm |
  |
samphan พิมพ์ว่า: |
ผมนั่งสมาธิเป็นประจำและนั่งประมาณ 1 ชั่วโมง ทำโดยการกำหนดลมหายใจ+พุทโธ แรกๆ ก็รู้สึกปล่อยวาง และสบาย แต่พอนั่งไประยะหนึ่ง
ประมาณ ครึ่งชั่วโมงจะมีอาการคอแข็ง ตัวแข็งและเหมือนมีก้อนอะไรที่ศรีษะและจะปวดคอ/ไหล่มาก(เคยได้ยินอาจารย์บางท่านบอกว่า ต้องอดทนต่อความเจ็บปวด แต่ผมทนแล้วทนอีกก็ไม่ไปไหน) ไม่หายปวดเลย จึงต้องเลิกทำช่วยชื้ทางให้หน่อยครับ ทำอย่างไรดี |
อดทน อดทน คุณ samphan ต้องอดทน บัวหิมะก็เป็น 2-3 วันแรกที่ฝึกสมาธิ ปวดไปหมด ทรมานมาก เรียกว่าปวดขา ไปเป็นเดือนทีเดียว เพราะไม่เคยนั่งขัดสมาธินานๆ แต่ก็เพราะความอดทนนี่แหละ ทำให้ ปัจจุบันสามารถนั่งสมาธิได้แล้ว และรู้สึกเป็นบุญอย่างยิ่ง
ไม่อยากให้เลิก จงพยายามต่อไป สาธุ สาธุ  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
19 ส.ค. 2008, 4:03 pm |
  |
นั่งผิงเก้าอี้ได้ นิดๆ |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
อิทธิกร
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 28 ส.ค. 2008
ตอบ: 137
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี
|
ตอบเมื่อ:
18 ก.ย. 2008, 8:20 pm |
  |
เเค่รู้ว่ารู้สึกอย่างไร
รู้สึกเมื่อยก็รู้ว่าเมื่อย ไม่ต้องไปคิดอะไรเเค่รู้ไว้ว่าเมื่อย ปล่อยวาง
รู้สึกวังวนก็รู้ว่วังวน ไม่ต้องไปคิดอะไรเเค่รู้ไว้วันวน ปล่อยวาง |
|
_________________ ชีวิตที่รู้ |
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
19 ก.ย. 2008, 12:58 am |
  |
ให้ย้อนจิตเข้ามาครับ
อย่าส่งจิตไปตามอาการเหล่านั้นครับ |
|
|
|
  |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
19 ก.ย. 2008, 8:49 am |
  |
ความเพียรเป็นสิ่งที่พระมหาชนกทรงดำรงเป็นเครื่อง
รอดพ้น มรณะภัย
พระองค ทรงปรารภ ความเพียรอันดับแรก ถึงจึงได้ ทรงพระผู้มีพระภาคตรัสรู้
ขดให้นำ ข้อนี้เป็นพุทธานุสติเทอญ เพื่อยังมรรคผลให้เกิด
เป็นเเรงใจให้ทุกๆ ท่านครับ....สาธุๆ |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
|