|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ย. 2008, 4:45 pm |
  |
ข. กระบวนธรรมที่สืบทอดจากผัสสะ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทางจริยธรรม ระหว่างความดีกับความชั่ว ระหว่างกุศลกับอกุศล ระหว่างความหลุดพ้นเป็นอิสระกับการหมกติดหมุนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ
เมื่อกล่าวถึงส่วนอื่นๆ ของกระบวนธรรมแล้วก็ต้องย้อนกลับไปพูดถึงอายตนะอีก เพราะกระบวนธรรมต่างๆ ที่กล่าวมานั้น ต้องอาศัยอายตนะ เริ่มต้นที่อายตนะ
เมื่อว่าองค์ธรรมอื่นๆสำคัญ ก็ต้องว่าอายตนะสำคัญเหมือนกัน เช่น เมื่อว่าเวทนาเป็นองค์ธรรมสำคัญยิ่งในกระบวนธรรมแบบเสพเสวยโลก อายตนะก็ย่อมมีความสำคัญมากด้วย เพราะอายตนะเป็นแหล่งอำนวยสิ่งที่มุ่งประสงค์นั้น เท่าที่กล่าวมา
สรุปได้ว่า อายตนะ 6 ทำหน้าที่รับใช้มนุษย์ 2 อย่าง คือ
1. เป็นทางรับรู้โลก หรือเป็นแหล่งนำโลกมาเสนอต่อมนุษย์ เป็นเครื่องมือสื่อสาร ทำให้มนุษย์ได้รับข้อมูลแห่งความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถเกี่ยวข้องกับโลกได้ถูกต้อง ทำให้ชีวิตอยู่รอด และดำเนินไปด้วยดี
2. เป็นช่องทางเสวยโลก หรือเป็นประตูที่มนุษย์จะเปิดออกไปรับอารมณ์ที่เป็นรสอร่อยของโลกมาเสพเสวย ด้วยการดู การฟัง การดม การลิ้มชิมรส การแตะต้องเสียดสี ความสนุกสนานบันเทิงตลอดจนจินตนาการสิ่งที่หวานชื่นระรื่นใจ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 ก.ย. 2008, 7:32 pm |
  |
-ต่อ
ความจริง หน้าที่ทั้งสองอย่างนี้ ก็ติดเนื่องอยู่ด้วยกัน หน้าที่อย่างแรกเรียกได้ว่าเป็นหน้าที่หลักหรือหน้าที่พื้นฐานที่จำเป็น
ส่วนหน้าที่ที่สองเป็นหน้าที่รอง จะว่าเป็นของแถมหรือส่วนเกินก็คงได้
ในกรณี ทั้งสองนั้น การทำงานของอายตนะก็อย่างเดียวกัน ความแตกต่างอยู่ที่เจตน์จำนงของมนุษย์ ซึ่งมุ่งไปที่ความรู้หรือมุ่งไปที่เวทนา
สำหรับมนุษย์ปุถุชน ความสำคัญของอายตนะมักจะก้าวข้ามมาอยู่กับหน้าที่อย่างที่สอง คือ การเสพเสวยโลก จนถึงขั้นที่กลายเป็นว่า หน้าที่อย่างที่หนึ่งมีไว้เพียงเพื่อเป็นส่วนประกอบสนองการทำหน้าที่อย่างที่สอง
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการรับรู้มีไว้เพื่อรับใช้กระบวนการเสพเสวยโลก หรือรับใช้กระบวนการสังสารวัฏเท่านั้นเอง ทั้งนี้เพราะปุถุชนมักใช้อายตนะเพื่อมุ่งรับรู้เฉพาะความรู้ส่วนที่จะทำให้ตนได้เสพเสวยอารมณ์อร่อยของโลกเท่านั้น หาสนใจสิ่งอันพึงรู้นอกจากนั้นไม่
ยิ่งกว่านั้น แม้ความสัมพันธ์กับโลกในภาคแสดงออกด้วยการทำ การพูด การคิด ก็จะกลายเป็นการกระทำเพื่อรับใช้กระบวนการสังสารวัฏเช่นเดียวกัน คือ มุ่งทำ พูด คิด เพื่อแสวงหาและให้ได้มาซึ่งอารมณ์สำหรับเสพเสวย ยิ่งเป็นปุถุชนหนามากเท่าใด ความติดข้องพัวพันอยู่กับหน้าที่อย่างที่สอง
ของอายตนะก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น จนถึงขั้นที่ว่า ชีวิตและโลกของมนุษย์วนเวียนอยู่แค่อายตนะ 6 เท่านั้นเอง
เท่าที่กล่าวมานี้ จึงเห็นได้ว่า แม้อายตนะ 6 จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของขันธ์ 5 และไม่ครอบคลุมทุกส่วนแห่งชีวิตของมนุษย์โดยสิ้นเชิง เหมือนอย่างขันธ์ 5 ก็จริง แต่มันก็มีบทบาทสำคัญยิ่งในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีอำนาจกำกับวิถีชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก จนกล่าวได้ว่า ชีวิตเท่าที่มนุษย์รู้จักและดำเนินอยู่ก็ คือ การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกทางอายตนะเหล่านี้ และชีวิตมีความหมายต่อมนุษย์ก็ด้วยอาศัยอายตนะเหล่านี้
ถ้าอายตนะไม่ทำหน้าที่แล้ว โลกก็ดับ ชีวิตก็ไร้ความหมายสำหรับมนุษย์ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ก.ย. 2008, 8:46 am |
  |
อายตนะทั้ง 12 จัดลงในขันธ์ 5 ดังนี้
1. อายตนะ 5 คู่แรก (จักขุ-รูป โสต-สัททะ ฆานะ-คันธะ ชิวหา-รส
กาย-โผฏฐัพพะ) อยู่ในรูปขันธ์
2. อายตนะภายในที่ 6 คือ มโน หรือ ใจ อยู่ในวิญญาณขันธ์
3. อายตนะภายนอกที่ 6 คือ ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ อยู่ในขันธ์ 4 คือ
นามขันธ์ 3 (เวทนา สัญญา สังขาร) และรูปขันธ์ (เฉพาะที่เป็นสุขุมรูปเท่า
นั้น เช่น อากาศธาตุ ความเป็นหญิง ความเป็นชาย ความเบา
ความอ่อนสลวย ความสืบต่อ ความทรุดโทรม การขยายตัว ความแปรสลาย
ของรูป เป็นต้น) กับทั้งนิพพานซึ่งเป็นภาวะพ้นจากขันธ์ (อภิ.วิ.35/100/85) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ก.ย. 2008, 8:49 am |
  |
มีข้อความแห่งในบาลี แสดงกระบวนธรรมเท่าที่กล่าวมานี้ได้อย่าง
กะทัดรัด และช่วยเชื่อมความที่กล่าวมาตอนที่ว่าด้วยขันธ์ 5 เข้ากับ
เรื่องที่อธิบายในตอนนี้ให้ต่อเนื่องกัน มองเห็นกระบวนธรรมได้ครอบ
ถ้วนตลอดสายยิ่งขึ้น จึงขอยกมาอ้างไว้ ดังนี้ (ม.มู. 12/248/226)
อาศัยตาและรูป เกิดจักขุวิญญาณ ความประจวบแห่งธรรมทั้งสามนั้น
เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี บุคคลเสวย
อารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น (= สัญญา) หมายรู้อารมณ์ใด
ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (= วิตักกะ) ตริตรึกอารมณ์ใด
ย่อมผันพิสดารซึ่งอารมณ์นั้น (= ปปัญจะ) บุคคลผันพิสดารซึ่ง
อารมณ์ใด เพราะการผันพิสดารนั้นเป็นเหตุ ปปัญจสัญญาแง่ต่างๆ
(= สัญญาที่ซับซ้อนหลากหลาย) ย่อมผุดพลุ่งสุมรุมเขา ในเรื่องรูป
ทั้งหลาย ที่พึงรู้ได้ด้วยตา ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน
(ต่อไปว่าด้วยอายตนะและอารมณ์อื่นๆ จนครบ 6 คู่ ใจความอย่างเดียว
กัน) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |