ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ani
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 6
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 8:40 pm |
  |
การปริวาสกรรมกับการอยู่กรรมเหมือนหรือต่างกันหรือไม่..อย่างไร..ต้องปฏิบัติกี่วัน |
|
|
|
  |
 |
มุทิตาภาวนา
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 24 ก.พ. 2008
ตอบ: 62
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 9:09 pm |
  |
การจะมีโอกาสได้บวชในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย
ดังนั้น เมื่อท่านได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว ขอให้ท่านตั้งจิตตั้งใจ ตั้งสติให้ดี
ขอให้การบวชครั้งนี้ของท่าน (แม้จะบวชชั่วคราวก็ตาม)
เป็นการบวชเรียน บวชเพื่อรักษาพระศาสนา
บวชเพื่อสืบต่ออายุพระศาสนา
บวชเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และบวชเพื่อปฏิบัติธรรม
เรื่องทางโลก เรื่องโลกๆ ควรตัดทิ้งไปก่อนค่ะ
โดยเฉพาะในเรื่องทางเพศ เรื่องสีกา เรื่องผู้หญิง
เป็นความมัวหมองในเพศสมณะ ผู้สงบระงับ |
|
|
|
  |
 |
มุทิตาภาวนา
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 24 ก.พ. 2008
ตอบ: 62
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 9:18 pm |
  |
การอยู่ปริวาสกรรม กับ การอยู่กรรม เหมือนกันค่ะ
การอยู่ปริวาสกรรม มีความสำคัญแก่พระภิกษุที่ท่านต้องอาบัติหนัก
คือ อาบัติสังฆาทิเสส เมื่อพระท่านต้องอาบัติเข้าแล้ว
จะแก้ด้วยการปลงอาบัติไม่ได้
แต่ต้องแก้ด้วยการอยู่กรรม (อยู่ปริวาสกรรม) เท่านั้น
ภิกษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ ถ้าปกปิดไว้จำนวนกี่วัน
ก็ต้องอยู่ปริวาสกรรมตามจำนวนวันที่ปกปิดไว้
และต้องอาศัยสงฆ์จึงจะพ้นจากอาบัติหนักได้
เช่น เมื่อต้องอาบัติแล้วไม่ยอมบอกกับเพื่อนพระภิกษุ
เวลาผ่านไป ๑ เดือนจึงเล่าให้เพื่อนพระฟังว่าตนต้องอาบัติ
ผู้ต้องอาบัติต้องกระทำตามวินัยกรรม
โดยขอการอยู่ปริวาสจากคณะสงฆ์
หลังจากนั้นก็อยู่ปริวาสประพฤติวัตร ๑ เดือน
เมื่อครบแล้ว ต้องขอมานัตอยู่ประพฤติวัตรอีก ๖ วัน ๖ คืน
แล้ว ขออัพพาน (การประกาศยุติโทษ) จากสงฆ์ จึงจะพ้นจากอาบัติหนักได้ |
|
|
|
  |
 |
มุทิตาภาวนา
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 24 ก.พ. 2008
ตอบ: 62
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 9:20 pm |
  |
ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ...ข้อวัตรของภิกษุผู้อยู่ปริวาส
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๐๗
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจักบัญญัติวัตรแก่
ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส โดยประการที่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ต้องประพฤติทุกรูป.
ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ
หมวดที่ ๑
[๓๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงประพฤติชอบ
วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-
อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงไห้สามเณรอุปัฏฐาก
ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
สงฆ์ให้ปริวาสเพื่ออาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
ไม่พึงติกรรม
ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงทำการไต่สวน
ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
หมวดที่ ๒
[๓๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส
ไม่พึงไปข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์
ที่สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ
ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุ เป็นสมณะนำหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล
ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์
ไม่พึงสมาทานบิณฑปาติกธุดงค์ และ
ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้งหลายอย่ารู้เรา.
หมวดที่ ๓
[๓๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปาริวาสเป็นอาคันตุกะ
ไปพึงบอกมีอาคันตุกะมา ก็พึงบอก พึงบอกในอุโบสถ
พึงบอกในปวารณา ถ้าอาพาธพึงสั่งทูตให้บอก.
หมวดที่ ๔
[๓๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่
อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย .
หมวดที่ ๕
[๓๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น
มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะ
ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.
หมวดที่ ๖
[๓๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาทที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่น
มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้เทียว.
หมวดที่ ๗
[๓๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี
เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว พึงลุกออกจากอาสนะ พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง
ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมอันเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
[๓๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า
ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี
ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า
...กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
...กับภิกษุผู้ควรมานัต
...กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
...กับภิกษุผู้ควรอัพภาน
เมื่อเธอนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
ในพึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน
เมื่อเธอจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
เมื่อเธอจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
[๓๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุอยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ พึง
ให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูป ทั้งภิกษุผู้
อยู่ปริวาสนั้นพึงอัพภาน การกระทำดังนั้นใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ จบ |
|
|
|
  |
 |
มุทิตาภาวนา
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 24 ก.พ. 2008
ตอบ: 62
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 9:20 pm |
  |
วิเคราะห์สังฆาทิเสส...สังฆาทิเสส ต้องอาศัยสงฆ์จึงจะพ้นได้
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ ๖๐๖
วิเคราะห์สังฆาทิเสส
[๑,๐๓๖] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า สังฆาทิเสส ดังนี้
ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส
ชักเข้าหาอาบัติเดิมให้มานัต อัพภาน เพราะเหตุนั้น
เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า สังฆาทิเสส.
ก็ในบทว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นอาทินี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-
การออกจากอาบัตินั้นใด ของภิกษุผู้ต้องอาบัตินี้แล้วใคร่จะออก
สงฆ์อันภิกษุนั้นพึงปรารถนา ในกรรมเบื้องต้นแห่งการออกจากอาบัตินั้น
เพื่อประโยชน์แก่การให้ปริวาส และในกรรมที่เหลือจากกรรมเบื้องต้น
คือในท่ามกลาง เพื่อประโยชน์แก่การให้มานัต หรือเพื่อประโยชน์แก่การให้มานัตต์
กับมูลายปฏิกัสสนะ และในที่สุดเพื่อประโยชน์แก่อัพภาน. ก็ในกรรมทั้งหลาย
มีปริวาสกรรมเป็นต้นนี้ กรรมแม้อย่างหนึ่ง เว้นสงฆ์เสีย อันใครๆ ไม่อาจทำได้ ฉะนี้แล.
สงฆ์อันภิกษุพึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้น และในกรรมที่เหลือแห่ง
กองอาบัตินั้น เหตุนั้น กองอาบัตินั้น ชื่อว่าสังฆาทิเสส. |
|
|
|
  |
 |
มุทิตาภาวนา
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 24 ก.พ. 2008
ตอบ: 62
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2008, 9:25 am |
  |
เดี๋ยวมาต่ออีกค่ะ..  |
|
|
|
  |
 |
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
07 ส.ค. 2008, 10:31 am |
  |
|
     |
 |
jacksparo
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 03 ก.ย. 2008
ตอบ: 23
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ย. 2008, 12:00 pm |
  |
ขอถามคุณ มุทิตาภาวนา ว่าที่คุณกล่าวว่า
เมื่อต้องอาบัติแล้วไม่ยอมบอกกับเพื่อนพระภิกษุ
เวลาผ่านไป ๑ เดือนจึงเล่าให้เพื่อนพระฟังว่าตนต้องอาบัติ
การเล่าหมายถึงการปลงอาบัติตามบทสวดนี้ใช้หรือเปล่าครับ
สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า 3 หน)
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่าสามหน)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย
อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปฎิเทเสมิ
ตอบด้วยนะครับ อยากรู้ครับ |
|
|
|
  |
 |
มุทิตาภาวนา
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 24 ก.พ. 2008
ตอบ: 62
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ย. 2008, 3:22 pm |
  |
การปลงอาบัติหรือวิธีแสดงอาบัติ
ศึกษาจากที่นี่เลยค่ะ
http://www.dhammajak.net/suadmon1/22.html
เมื่อปลงอาบัติแล้ว
ต่อจากนั้นต้องแก้ด้วยการอยู่กรรม (อยู่ปริวาสกรรม)
ตามจำนวนวันที่ปกปิดไว้ โดยขอการอยู่ปริวาสจากคณะสงฆ์
หลังจากนั้นก็อยู่ปริวาสประพฤติวัตร ๑ เดือน
เมื่อครบแล้ว ต้องขอมานัตอยู่ประพฤติวัตรอีก ๖ วัน ๖ คืน
แล้ว ขออัพพาน (การประกาศยุติโทษ) จากสงฆ์
จึงจะพ้นจากอาบัติสังฆาทิเสสได้ |
|
|
|
  |
 |
jacksparo
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 03 ก.ย. 2008
ตอบ: 23
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ย. 2008, 1:05 pm |
  |
จากที่คุณตอบมาขอความข้างล่างนี้หมายถึง ปลงอาบัติตามบทสวดนี้เปล่าครับ
สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า 3 หน)
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่าสามหน)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย
อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปฎิเทเสมิ
ตามบทสวดนี้ถ้าเราได้ปลงอาบัติกับเพื่อนภิกษุแล้วถือว่าเราได้บอกอาบัติสังฆาทิเสสแล้วใช่หรือไม่ครับ
เมื่อปลงอาบัติแล้ว
ต่อจากนั้นต้องแก้ด้วยการอยู่กรรม (อยู่ปริวาสกรรม)
ตามจำนวนวันที่ปกปิดไว้ โดยขอการอยู่ปริวาสจากคณะสงฆ์
หลังจากนั้นก็อยู่ปริวาสประพฤติวัตร ๑ เดือน
แล้วทำไมต้องอยู่ปริวาสประพฤติวัตร ๑ เดือน ด้วยครับ เพราะเราก็ได้ปลงอาบัติตามบทสวดข้างบนกันเพื่อนภิกษุแล้วก็ถือว่าเราไม่ได้ปกปิดแล้วไม่ใช่หรอครับ
ขอคำตอบด้วยนะครับ ขอบคุณมาก
เมื่อครบแล้ว ต้องขอมานัตอยู่ประพฤติวัตรอีก ๖ วัน ๖ คืน
แล้ว ขออัพพาน (การประกาศยุติโทษ) จากสงฆ์
จึงจะพ้นจากอาบัติสังฆาทิเสสได้ |
|
|
|
  |
 |
มุทิตาภาวนา
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 24 ก.พ. 2008
ตอบ: 62
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ย. 2008, 3:56 pm |
  |
|
  |
 |
|