Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 กรรมฐาน 40 ตามคัมภีร์ศาสนา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 3:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เมื่อรู้จักกสิณตามแบบในคัมภีร์แล้ว

ต่อไปท่านแสดงวิธีเจริญสมาธิโดยใช้อานาปานสติกรรมฐานเป็นตัวอย่าง

อ่านแล้วพิจารณาประเด็นนี้ดีดี เพราะถกเถียงเห็นแย้งกันทุกบอร์ด


หวังว่าคงได้ข้อคิดจากตัวอย่างนี้มากทีเดียว โดยเฉพาะผู้ที่ติดภาพ

สมาธิ หรือ สมถะผิดๆ แบบข้ามภพข้ามชาติ เป็นต้น เศร้า
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 3:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตัวอย่างวิธีเจริญสมาธิ


เมื่อได้กล่าวถึงหลักทั่วไปของวิธีเจริญสมาธิไว้แล้ว ก็เห็นควรแสดง

ตัวอย่างวิธีเจริญสมาธิไว้สักอย่างหนึ่งด้วย

และบรรดากรรมฐาน 40 อย่างนั้น ในที่นี้ขอเลือกแสดงอานาปานสติ

เหตุผลที่เลือกแสดงอานาปานสติเป็นตัวอย่าง มีหลายประการ เช่น


-เป็นวิธีเจริญสมาธิที่ปฏิบัติได้สะดวกยิ่ง เพราะใช้ลมหายใจซึ่งเนื่องอยู่

กับตัวของทุกคน ใช้ได้ทุกเวลาทุกสถานที่ในทันทีที่ต้องการ ไม่ต้อง

ตระเตรียมวัตถุอุปกรณ์อย่างพวกกสิณ เป็นต้น ในเวลาเดียวกันก็เป็น

อารมณ์ประเภทรูปธรรม ซึ่งกำหนดได้ชัดเจนพอสมควร ไม่ละเอียดลึก

ซึ้งอย่างกรรมฐานประเภทนามธรรมที่ต้องนึกขึ้นมาจากสัญญา และถ้า

ต้องการปฏิบัติอย่างง่ายๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดอะไร เพียงเอาสติ

คอยกำหนดลมหายใจที่ปรากฏอยู่แล้ว ไม่ต้องคิดแยกแยะพิจารณา

สภาวธรรมอย่างพวกธาตุมนสิการ เป็นต้น ผู้ที่ใช้สมองเหนื่อยแล้ว ก็

ปฏิบัติได้สบาย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 ส.ค. 2008, 3:55 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 3:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-พอเริ่มลงมือปฏิบัติ ก็ได้รับผลเป็นประโยชน์ทันทีตั้งแต่ต้นเรื่อยไป

ไม่ต้องรอจนเกิดสมาธิที่เป็นขั้นตอนชัดเจน กล่าวคือ กายใจผ่อนคลาย

ได้พัก จิตสงบสบายลึกซึ้งลงไปเรื่อยๆ ทำให้อกุศลธรรมระงับ

และส่งเสริมให้กุศลธรรมเกิดขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 3:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ไม่กระทบระเทือนต่อสุขภาพ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงประสบการณ์

ของพระองค์เองว่า

“เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ (คือ อานาปานสติสมาธิ) มาก

กายก็ไม่เมื่อย ตาก็ไม่เมื่อย” (สํ.ม.19/1329/401)


ไม่เหมือนกรรมฐานบาง อย่างที่อาศัยการยืน การเดิน หรือการเพ่ง

จ้อง แต่ตรงข้ามอานาปานสติกรรมฐานนี้ กลับเกื้อกูลแก่

สุขภาพ ทั้งช่วยให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างดี

และระบบการหายใจที่ปรับให้เรียบเสมอประณีตด้วยการปฏิบัติธรรมฐาน

นี้ ก็ช่วยส่งเสริมสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น


ขอให้นึกอย่างง่ายๆ ถึงคนที่วิ่งมาหรือขึ้นลงที่สูงกำลังเหนื่อย

หรือคนตื่นเต้นตกใจ เกรี้ยวกราด หวาดกลัว เป็นต้น ลมหายใจ

หยาบแรงกว่าคนปกติ บางทีจมูกไม่พอ ต้องหายใจทางปากด้วย

ในทางตรงข้าม คนที่กายผ่อนคลาย ใจสงบสบาย ลมหายใจ

จะละเอียดประณีตกว่าคนปกติ การบำเพ็ญอานาปานสติสมาธิ

ช่วยทำให้กายใจสุขสงบ จนลมหายใจละเอียดประณีตลงไปเรื่อยๆ

ยิ่งกว่านั้นอีก จนถึงขั้นที่แทบจับไม่ได้เลยว่ามีลมหายใจ

ในเวลานั้นร่างกายดำรงอยู่ได้ดีโดยใช้พลังงานน้อยที่สุด ไม่เรียกร้อง

การเผาพลาญ เตรียมความสดชื่นไว้ในแก่การทำกิจในเวลาถัดไป

และช่วยให้แก่ช้าลง หรือช่วยให้ทำงานได้มากขึ้นพร้อมกับที่สามารถ

พักผ่อนน้อยลง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 3:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-เป็นกรรมฐานข้อหนึ่งในจำนวนเพียง 12 อย่างที่สามารถให้สำเร็จผล

ในด้านสมถะได้จนถึงขั้นสูงสุด คือ จตุตถฌาน และส่งผลให้ถึง

อรูปฌาน กระทั่งนิโรธสมาบัติก็ได้ จึงจับเอาเป็นข้อปฏิบัติหลักได้

ตั้งแต่ต้นจนตลอด ไม่ต้องพะวงที่จะหากรรมฐานอื่นมาสับเปลี่ยน

หรือ ต่อเติมอีก


มีพุทธพจน์เสริมว่า “เพราะฉะนั้นแล หากภิกษุหวังว่า เราพึงบรรลุ

จตุตถฌาน...พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี...หากภิกษุหวังว่า

เราพึงก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้า

เนวสัญญานาสัญญายตนะเถิด... เราพึงก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธเถิด ก็พึงมนสิการ

อานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี”



(ดูรายละเอียดที่ สํ.ม.19/1329-1345/401-404 ....อนึ่งพึง

สังเกตว่า ตามมติของพระอรรถกถาจารย์ อานาปานสติ ไม่สามารถ

ให้ผลถึงอรูปได้ เพราะอรูปฌานต้องอาศัยกสิณ...เช่น วิสุทธิ.2/132)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 4:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ใช้ได้ทั้งในทางสมถะและวิปัสสนา คือจะปฏิบัติเพื่อมุ่งผลฝ่ายสมาธิ

แน่วไปอย่างเดียวก็ได้

จะใช้เป็นฐานปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานครบทั้ง 4 อย่างก็ได้

เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่เอื้ออำนวยให้สามารถใช้สมาธิจิตเป็นสนามปฏิบัติ

การของปัญญาได้เต็มที่***




*** ที่จัดเป็นส่วนหนึ่งของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ

ที.ม.10/274/325; ฯลฯ .... ที่ระบุวิธีปฏิบัติให้ได้ครบสติปัฏฐาน 4

คือ ในอานาปานสติสูตร, ม.อุ.14/289/195 ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 4:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

^
^
คำอธิบายอานาปานสติกรรมฐานสั้นๆ ห้องบน บอกว่าโยคีผู้ใช้ลมหายใจ

เข้าออก จะมุ่งแต่สมาธิอย่างเดียวก็ได้

จะใช้ลมหายใจเข้าออก เจริญสติปัฏฐาน 4 จนครบก็ได้ กล่าวไว้ชัดเลย


ตัวอย่างมุ่งสมาธิอย่างเดียว คือ ผู้ใช้พุทโธ ลมเข้า ภาวนา "พุท"

ลมออกภาวนา "โธ" ไม่กำหนดรู้อารมณ์อื่นๆ พุทโธๆๆไป

อย่างนี้มุ่งสมาธิอย่างเดียว ซึ่งท่านแนะนำพร่ำสอนกันมาอย่างนี้


แต่เมื่อต้องการจะให้เป็นสติปัฏฐาน 4 ก็ภาวนา เวทนา จิต ธรรม

ร่วมด้วย อารมณ์ไหนเกิดก็ภาวนาอารมณ์นั้นสิ่งนั้นด้วย ไม่ปล่อยให้ผ่าน

เลยไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 4:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้ใช้พอง-ยุบ เป็นกรรมฐาน เมื่อมุ่งแต่สมาธิอย่างเดียว แบบพุทโธแบบ

สอนกันดั่งเดิม ก็ภาวนาอยู่แค่พอง-ยุบ พองหนอ ยุบหนอ แค่นี้


แต่เมื่อต้องการให้เข้าเป็นสติปัฏฐาน 4 อย่างครบ ก็ภาวนา พอง-ยุบ

ด้วย เวทนาด้วย จิตด้วย ธรรมด้วย ตามสมควรตามเหตุปัจจัยใน

ขณะนั้น สภาวะใดเกิดไม่ปล่อยให้สภาวะนั้นผ่านไป ภาวนาสภาวะนั้น

ด้วย

วิธีปฏิบัติยืดหยุ่นได้ พลิกแพลงได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 4:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีเว็บบอร์ดหนึ่ง อธิบายธรรมผิดพลาดคลาดเคลื่อนเสียหายหมด

เช่นที่อธิบายเกี่ยวกับสติปัฏฐานไว้ท่อนหนึ่งว่า



--เวทนาเป็นกรรมฐานที่ตามรู้ ตามดูแบบไม่จมตามสภาวะได้ยากครับ.

ผมว่า คุณภาวนาเคร่งเครียดมากเกินไป ขอให้ลองแบบอื่น หรือลด

ความจงใจลงครับ

...ครูบาอาจารย์

ท่านเทียบกรรมฐานเป็นสองกลุ่มคือ

1 กาย กับ เวทนา

2 จิต กับ ธรรม

แบบที่ 1 เหมาะกับพวกที่ฝึกได้ลำดับของฌาน หากฝึกไม่ได้ให้ดูจิต

แบบที่ 2 เหมาะกับพวกดูจิต ครับ

http://larndham.net/index.php?showtopic=32101&st=10


ไปแยกสติปัฏฐานเป็นท่อนๆ แล้วอธิบายเข้าข้างตนเอง

ชอบยกขึ้นอ้างกันจังสติสติสติ

เมื่อถูกถามว่าทำอย่างไรเล่า สติจะเกิดปัญญาจึงจะเจริญ

ตอบไม่เป็นแล้ว บ้างก็โยกไปอดีตชาติบ้าง บ้างก็มันจะเกิดเอง

เป็นต้นบ้าง

สรุปก็ คือ ไม่มีหลักในการปฏิบัติธรรม เศร้า
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 ส.ค. 2008, 5:05 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 5:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ดูต่อ

-เป็นวิธีเจริญสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญมาก ทรงสนับสนุนบ่อย

ครั้งให้พระภิกษุทั้งหลายปฏิบัติ และพุทธองค์เองก็ได้ทรงใช้เป็น

วิหารธรรมมากทั้งก่อนและหลังตรัสรู้

ดังพุทธพจน์บางแห่งว่า


“ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธินี้แล เจริญแล้ว ทำให้มาก

แล้ว ย่อมเป็นสภาพสงบ ประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็น

สุข และยังอกุศลธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปได้

โดยพลัน เปรียบเหมือนฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ยังฝุ่น

ละอองที่ฟุ้งขึ้นในเดือนท้ายฤดูร้อนให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน

ฉะนั้น”

(วินย.1-178/131 ฯลฯ )
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 5:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“ภิกษุทั้งหลาย...เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิ

ว่า เป็นอริยวิหาร (= ธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยะ) ก็ได้

ว่าเป็นพรหมวิหาร (= ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม) ก็ได้

ว่าเป็นตถาคตวิหาร (= ธรรมเครื่องอยู่ของตถาคต) ก็ได้

ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ปรารถนาภาวะปลอด

โปร่งโล่งใจ (โยคเกษม) อันยอดเยี่ยม อานาปานสติสมาธิ

ที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลาย

ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว... อานาปานสติ

สมาธิ ที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว ทำให้/มากแล้ว ย่อมเป็นไป

เพื่อความอยู่สุขสบายในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมสุขวิหาร) และเพื่อ

สติสัมปชัญญะ” (สํ.ม.19/1366-7/413)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 5:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ ชื่อ

อิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลนคร ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้

ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่

ตลอดไตรมาส (สามเดือน) ใครๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่

ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว...ครั้งนั้นแล เมื่อล่วงเวลาสามเดือน

แล้ว พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ตรัสกะภิกษุทั้ง

หลายว่า หากว่า อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลาย จะพึงถามพวกเธอ

อย่างนี้ว่า พระสมณโคดม อยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมไหน โดยมาก

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่อัญเดียรถีย์ปริพาชก

เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคประทับ

จำพรรษาด้วยอานาปานสติสมาธิโดยมาก”

(สํ.ม.19/1373-4/415)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 5:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญจ้า คุณกรัชกาย สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2008, 10:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“ดูกรอานนท์ ธรรมหนึ่งคืออานาปานสติสมาธิ ภิกษุเจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์

สติปัฏฐาน 4 อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ 7

ให้บริบูรณ์

โพชฌงค์ 7 อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและ

วิมุตติให้บริบูรณ์”

(สํ.ม.19/1373-4/415)

บอร์ดใหม่


http://fws.cc/whatisnippana/index.php
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง