Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สัจจบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.พ.2006, 1:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

สัจจบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดย พลตำรวจตรีสุชาติ เผือกสกนธ์



“สัจจบารมี” เป็นบารมีหนึ่งในทศบารมี ซึ่งเป็นชาดกกล่าวถึงเรื่องของการเสวยพระชาติของพระพุทธเจ้า เป็นพระโพธิสัตว์เพื่อบำเพ็ญบารมีต่างๆ รวม ๑๐ ชาติ ก่อนที่จะเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะแล้วเสด็จออกบวช จนกระทั่งทรงบรรลุพระโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด

คำว่า “สัจจะ” หมายถึง “จริงใจ คือ ความซื่อสัตย์ จริงวาจา คือ พูดจริง” และ “จริงการ คือ ทำจริง” ส่วนคำว่า “บารมี” หรือ “ปารมี” มีความหมายอยู่ ๒ ประการ คือ “อย่างยิ่ง, เลิศประเสริฐที่สุด” และ “คุณธรรมที่ได้สั่งสมกันมาโดยลำดับ หรือ การสะสมคุณงามความดี ทำบุญกุศลกันโดยลำดับต่อเนื่อง”

“สัจจบารมี” จึงหมายความว่า “บารมีที่เกิดขึ้นโดยวิธีการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีความจริงใจ มีความซื่อสัตย์ พูดจริง กระทำจริง” นอกจาก “สัจจบารมี” แล้ว ยังมีอีกบารมีหนึ่งที่จำเป็นต้องบำเพ็ญควบคู่กัน เสมือนพี่น้องฝาแฝด คือ “อธิษฐานบารมี”

คำว่า “อธิษฐาน” หมายถึง “ความตั้งใจมั่น เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ ที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุความมุ่งหมายของตน” คำนี้มักถูกนำมาใช้ควบคู่กับคำว่า “สัตย์” ซึ่งเรียกรวมกันว่า “สัตยาธิษฐาน หรือ ตั้งสัตย์อธิษฐาน”

ในการตั้งสัตยาธิษฐานเพื่อให้บรรลุผลตามที่ได้ตั้งจิตปรารถนาไว้นั้น จะบังเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อในคำอธิษฐานนั้น ได้มีการกล่าวอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นความจริง และหรือ คุณธรรมที่ตนเชื่อมั่น และได้ถือปฏิบัติอย่างจริงจัง

พระสูตร หรือพระปริตร เป็นบทสวดมนต์ที่พระภิกษุสงฆ์นำมาสวด หรือเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีมงคลต่างๆ เป็นการตั้งสัตยาธิษฐาน หรือการกล่าวสัจจวาจาของผู้สวดเพื่ออวยพรแก่เจ้าภาพ และผู้ที่มาร่วมพิธี เช่น บทสวดที่ว่า นัตถิ เม สรณัง อัญญัง ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พุทโธ เม สรณัง วรัง พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ด้วยคำกล่าวสัตย์นี้ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความศักดิ์สิทธิ์ของบทสวดมนต์จะปรากฏผลได้ ก็ต่อเมื่อผู้สวดได้ถือปฏิบัติตามข้อความ หรือสัจจวาจาที่ได้แสดงไว้ในบทสวดนั้นได้จริงๆ กล่าวคือ ผู้สวดจะต้องมีความเคารพเชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัยจริงๆ มิใช่กล่าวออกไปเฉยๆ พอเป็นพิธีเท่านั้น

การกล่าวสัจจวาจานั้น ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงคุณพระรัตนตรัยเสมอไป ผู้กล่าวจะอ้างอิงความจริงในเรื่องอื่นๆ ของตนก็ได้ เช่นอ้างเรื่องการบำเพ็ญบุญกิริยาของตน คือ การรักษาศีล การบริจาคทาน การภาวนา เป็นต้น เมื่อได้กล่าวอ้างอิงถึงความจริงแล้ว ก็ให้อธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาสิ่งที่พึงเป็นไปได้ไว้ในใจ เช่น อธิษฐานขอความคุ้มครองให้ตนพ้นจากทุกข์โศกโรคภัย มีบทสวดมนต์บทหนึ่งในบทสวด ๗ และ ๑๒ ตำนาน คือ วัฏฏปริตร ซึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า อัตถิ โลเก สีเลคุโณ บทสวดนี้ เป็นที่รู้จัก และนับถือกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันว่า “คาถา (นกคุ่ม) ดับไฟ”

บทสวดมนต์ หรือ คาถาดังกล่าวนี้มีตำนานว่า ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จไปจำพรรษาที่ตำบลหนึ่งในแคว้นมคธ เช้าวันหนึ่ง ได้เสด็จออกบิณฑบาต ระหว่างทาง ได้เกิดไฟป่าลุกไหม้ และไฟได้ลามมาใกล้ที่ประทับของพระพุทธองค์ แต่ก็ได้ดับลงไปเองอย่างน่าอัศจรรย์ บรรดาพระภิกษุสงฆ์ จึงได้ขอให้พระสาริบุตรทูลถาม

พระพุทธองค์จึงได้ตรัสเล่าวัฏฏชาดกซึ่งเป็นเรื่องที่ได้เกิดมาแล้วในอดีต เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้เสวยพระชาติเป็นลูกนกคุ่ม (บางทีเรียกว่า นกคุ่มไฟ) ว่า ครั้งหนึ่งได้เกิดไฟป่าไหม้มาโดยรอบรังนกที่อาศัยอยู่ในป่า และรังหนึ่งเป็นรังของนกคุ่มผัวเมีย มีลูกเล็กๆ อาศัยอยู่ด้วย เมื่อไฟป่าได้ลุกลามมาใกล้จะถึง บรรดานกทั้งหลายก็พากันบินหนี รวมทั้งนกคุ่มที่เป็นพ่อแม่ด้วย ปล่อยให้ลูกนกคุ่มที่ยังเดินไม่ได้ บินไม่ได้รอความตายอยู่ในรัง

ลูกนกคุ่มนั้นจึงได้ตั้งสัจจกิริยา คือ การกล่าวสัจจวาจาโดยอ้างอิงถึงคุณของศีล รวมทั้งคุณธรรมอื่นที่มีอยู่ ที่ได้กระทำมาในอดีตชาติ คุณของพระพุทธเจ้า รวมทั้งความจริงที่เกี่ยวกับตัวเอง คือ มีปีกก็ยังบินไม่ได้ มีเท้าก็ยังเดินหนีไปไม่ได้ แล้วจึงอธิษฐานอยู่ในใจว่า ขอให้อำนาจแห่งความจริงต่างๆ ที่ตนได้กล่าวไว้จงดลบันดาลให้เกิดผลคือ ขอให้ไฟป่าที่กำลังลุกลามเข้ามาใกล้รอบตัวได้ดับลง

Image
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงแปลมีข้อความตอนหนึ่งในบทสวดนี้ไว้ว่า “คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก ความสัตย์ความสะอาดและความเอ็นดูกรุณามีอยู่ในโลก ด้วยคำสัตย์นั้น ข้าพเจ้าจะทำสัจจกิริยาอันเยี่ยม ข้าพเจ้ารำลึกถึงกำลังแห่งธรรม รำลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลายในปางก่อน อาศัยกำลังแห่งสัจจะ ขอทำสัจจกิริยา ปีกทั้งหลายของข้าพเจ้ามีอยู่ แต่ก็ยังบินไปไม่ได้ เท้าทั้งหลายของข้าพเจ้ามีอยู่ก็ยังเดินไม่ได้ มารดาและบิดาของข้าพเจ้าก็ออกไปแล้ว ดูก่อนไฟป่า ขอท่านจงถอยไป ครั้นเมื่อสัจจะอันข้าพเจ้าทำแล้ว เปลวไฟอันลุกโพลงมากก็สงบ ประหนึ่งเปลวไฟที่ตกถึงน้ำ สิ่งใดเสมอด้วยสัจจะของเราไม่มี นี้เป็นสัจจบารมีของเรา”

ผู้ที่สามารถรักษาสัจจวาจาได้จนเป็นนิสัย ก็เท่ากับผู้นั้นได้มีโอกาสบำเพ็ญ สะสมสัจจบารมีของตนให้มากขึ้นโดยลำดับ และเมื่อนำมาประกอบกับอธิษฐานบารมี บารมีที่ได้สะสมไว้ทั้งสองประการย่อมมีพลังรุนแรงแสดงผลให้ได้ทันตาเห็น ดังที่ได้แสดงไว้ในบทสวดวัฏฏปริตรดังกล่าวข้างต้น

เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ได้มีเหตุการณ์สำคัญที่น่าระทึกใจยิ่งครั้งหนึ่งคือ ภัยพิบัติที่เกิดแก่หลายจังหวัดในภาคใต้ตอนบน อันเนื่องจากพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” พัดผ่าน พายุนี้ได้เริ่มก่อตัวในทะเลจีนตอนใต้ห่างจากแหลมญวนไม่มากนัก โดยเริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ มาเป็นดีเปรสชันเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ แล้วได้ทวีความรุนแรงกลายเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐

ต่อจากนั้นได้แปรสภาพเป็นพายุ ไต้ฝุ่นมีความเร็วสูงสุดรอบศูนย์กลางประมาณ ๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนที่ผ่านแหลมญวนเข้าสู่อ่าวไทย มุ่งหน้าเข้าสู่บางจังหวัดในภาคใต้ตอนบนซึ่งได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพร ลักษณะการก่อตัว ความรุนแรง และทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุใต้ฝุ่นนี้คล้ายกับพายุใต้ฝุ่น “เกย์” ซึ่งได้เคยก่อภัยพิบัติ ให้แก่จังหวัดเหล่านี้มาแล้วอย่างมหาศาลเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒

ด้วยความเป็นห่วงใยต่อพสกนิกรที่พำนักอาศัยอยู่ในท้องถิ่นที่ พายุ “ลินดา” จะเคลื่อนที่ผ่าน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงเฝ้าติดตามสังเกตการณ์การก่อตัว การเปลี่ยนแปลงของพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” ตั้งแต่จุดเริ่มต้นอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด

คำพยากรณ์ ที่ได้รับรายงานจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาทั่วโลก ระบุอย่างแน่ชัดว่า ในวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ตามเวลาท้องถื่น ๑๙.๐๐ นาฬิกา พายุนี้จะมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด ๑๐.๘ องศาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐.๘ องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดที่จุดศูนย์กลางรุนแรงถึง ๗๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเคลื่อนที่มาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ ๑๑ นอต หรือ ๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตรงเข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดชุมพร โดยอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ ๒๘ กิโลเมตร และจะเคลื่อนที่ถึงฝั่งภายใน ๑ ชั่วโมงเศษเท่านั้น หากเป็นเช่นคำพยากรณ์ ทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดชุมพร คงจะถูกกวาดล้างโดยพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” จนหมดสิ้น สิ่งบอกเหตุดังกล่าวนี้ จึงได้สร้างความกังวลและความเคร่งเครียดพระทัยให้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง

แต่โดยที่มิได้คาดคิด อีกไม่กี่นาทีก่อนที่จะเคลื่อนที่มาถึงฝั่ง พายุนี้ได้กลับอ่อนกำลังลงโดยฉับพลัน มาเป็นพายุโซนร้อนมีความเร็วสูงสุดที่จุดศูนย์กลางเพียง ๕๐ นอต หรือ ๙๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น ทั้งทิศทางการเคลื่อนที่กลับเบี่ยงเบนขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเล็กน้อย และถึงฝั่งที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ เวลา ๐๒.๐๐ น. จังหวัดสุราษฎร์ธานีและชุมพรจึงได้รับภัยพิบัติจากพายุนี้ไม่รุนแรงนัก ดูจะเป็นการผิดปกติอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันของพายุไต้ฝุ่นในลักษณะนี้

เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ถ้าพายุยังเคลื่อนที่อยู่เหนือพื้นน้ำทะเลหรือมหาสมุทร พายุนั้นจะเพิ่มความแรง ความเร็วที่จุดศูนย์กลางมากยิ่งขึ้น และจะลดลงเมื่อเคลื่อนที่ขึ้นฝั่งแล้ว พายุโซนร้อน “ลินดา” นี้ก็เช่นกัน เมื่อเคลื่อนที่พ้นจากประเทศไทยลงสู่ทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย ก็ได้เพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้นตามลำดับ แปรสภาพกลับไปเป็นพายุไต้ฝุ่น หรือ ไซโคลน อีกครั้งหนึ่งในวันเวลาต่อมา

เหตุการณ์ครั้งนี้ เมื่อได้พิจารณาดูแล้ว จะไม่แตกต่างกับเหตุการณ์ที่ได้มีแสดงไว้ในวัฏฏปริตร จึงน่าจะยืนยันได้ว่า การที่พายุไต้ฝุ่น “ลินดา” ได้เปลี่ยนทิศทางโดยกระทันหันเป็นมหัศจรรย์ ในครั้งนั้นเป็นผลมาจากพลังสัจจบารมี และอธิษฐานบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงสะสมมาตั้งแต่ในอดีตพระชาติ และที่ได้ทรงบำเพ็ญสะสมเพิ่มเติมขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างยิ่งใหญ่มหาศาลในพระชาติปัจจุบันได้ส่งเสริมกันจนเป็นพลังที่รุนแรง สามารถมีส่วนช่วยให้ประเทศชาติพสกนิกรรอดพ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติในครั้งนั้นได้

ประชาชนคนไทยนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีโชคดีที่ได้มีพระมหากษัตราธิราชซึ่งทรงสมบูรณ์ด้วยพระบารมี และทศพิธราชธรรม ทรงมีพระปรีชาสามารถ ทรงมีพระราชอัจฉริยภาพสูงส่ง และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พวกเราเหลือคณานับ ดังนั้น ในวโรกาสที่สำคัญยิ่งที่วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ท่านที่จะเวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่พวกเรา ชาวไทยทุกคนจะร่วมกันตั้งสัตยาธิษฐาน ด้วยการระลึกถึงคุณธรรมที่เป็นความจริงต่างๆ ซึ่งตนได้บำเพ็ญมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การรักษาศีล การบริจาคทาน การภาวนา เป็นต้น เป็นสัจจบารมี แล้วตั้งจิตอธิษฐานถวายพระพรว่า ขอให้สัจจบารมีที่ตนได้บำเพ็ญมาโดยตลอดนั้น จงบังเกิดเป็นพระราชกุศลให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานตลอดไป



...............................................................

http://web.schq.mi.th/~suriyon/suri_a1.htm
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.พ.2006, 10:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ...คุณสายลม

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.พ.2006, 3:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับ... คุณสายลม
 
wvichakorn
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 13 มิ.ย. 2008
ตอบ: 17
ที่อยู่ (จังหวัด): สระบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ค.2008, 11:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เร็ว ๆ นี้ ด้วยพระบารมี ไทยไม่ได้รับความเสียหายจากพายุนากิส
ขอทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ขออนุโมทนาต่อผู้เขียน ที่มีเรื่องดี ๆ มาให้อ่านค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailYahoo MessengerMSN Messenger
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 11:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม สาธุ สาธุ พุทโธ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง