ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 4:47 pm |
  |
แอ่งดอยหลวง ฝึกจิตใจ มีพระพุทธรูปไม้แกะสลักจากต้นจำปีป่าใหญ่ที่สุดในโลก
ณ วัดหลวงขุนวิน หมู่ที่ 7 ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ 50360
ประวัติพระธาตุวัดหลวงขุนวิน
....ในสมัยพุทธกาลหลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว เสด็จสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งหลายนานได้ 25 พรรษา ครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ในพระวิหารเชตะวัน ปัจจุบันสมัยใกล้รุ่งคืนหนึ่งพระพุทธองค์ทรงรำพึงว่า อายุตถาคตได้ 60 พรรษา นับแต่นี้ไปอีก 20 พรรษาบริบูรณ์ก็จะนิพพานไปเวไนยสัตว์ผู้มีบุญสมภารมาก (มีบุญสะสมไว้มาก) ต่างก็เข้ามาสู่ในคำสอนของคถาคตสำเร็จมรรคสำเร็จผลไป สัตว์โลกที่มีสมภารอ่อน (มีบุญที่สะสมไว้น้อย) ก็ยังมีอีกมาก เราสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ถึงมรรคถึงผลนั้นก็หาได้สอนเต็มที่ไม่ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่พอเต็ม 25 อสงไขยทุกตัวสัตว์ได้ เราก็จักนิพพานไป สมควรเราจะตั้งจิตอธิษฐานไว้ยังพระพุทธศาสนา พระบาท พระธาตุ และพระรัตนตรัย เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการบูชาของคนและเทวดาทั้งหลาย ประการหนึ่ง เมื่อเรานิพพานไปแล้วและเพื่อให้พระศาสนาอยู่เฝ้าสั่งสอนโปรดเวไนยสัตว์ ชักจูงเข้าสู่พระนิพพานให้ครบจำนวนประมาณ 25 อสงไขย ตามพุทธประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
....อีกประการหนึ่ง เมื่อเรานิพพานไปแล้วได้ตั้งพระพุทธศาสนาไว้ 5,000 พรรษา คือ เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ 2,000 พรรษา เข้าไปสู่ 3,000 พรรษา บาปและกรรมเวร 5 ประการ จะมาครอบงำยุยงส่งเสริมให้คนและสัตว์ทั้งหลายถึงความพินาศฉิบหาย เหตุนั้นเราควรไปตั้งจิตอธิษฐานยังพระบาทและพระธาตุไว้ในที่อันสมควรเพื่อเป็นที่สักการบูชาของคนและเทวดาทั้งหลายให้เป็นเสมือนดั่งตัวเรายังทรมานดำรงชีวิตอยู่
....ความรำพึงด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าในข้อนี้บังเกิดขึ้นแก่พระองค์ในวันเดือนเจียง (เดือนอ้าย) วันเพ็ญ จากนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเถระอรหันต์ 3 รูป คือพระโสณเถระ 1 พระอุตตระเถระ 1 พระอานนทเถระ 1 พร้อมด้วยพระอินทร์ทรงกั้นฉัตรแก่พระพุทธเจ้า และยังมีพระยาองค์หนึ่งพระนามว่าพระยาอโศกราช (พระเจ้าอโศกมหาราช) เมืองใหญ่ในกุสินารา พระองค์ทรงบังเกิดปสาทศรัทธาทรงเป็นผู้อุปัฏฐาก (อุปถัมภ์บำรุง) พระพุทธเจ้าในเชตวันมหาวิหาร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพาท่านทั้งหลายดังกล่าวมานี้ เสด็จออกจากเชตวันมหาวิหาร ในวันเดือนเจียง แรม 2 ค่ำ เสด็จเข้าสู่เมืองกุสินารา เมืองคูลวา (ทมิฬ) เมืองแกว (ญวน) เมืองลังกา เมืองละโว้ อโยธยา ทวารวดีทั้งมวล เสด็จขึ้นไปเมืองจีนหลวง เมืองเวเทหะ (จีนฮ่อ) เมืองโกศล เมืองลื้อ ไทย
....ความเป็นจริงแล้วหลักฐานความเป็นมาของพระธาตุวัดหลวงฯ ไม่สามารถหาได้ในปัจจุบัน เพราะสร้างมาหลายยุคหลายสมัย มีทั้งรุ่งเรืองบ้างและเสื่อมบ้าง บางสมัยก็กลายเป็นวัดร้างหลายปี การเช่นนี้จึงทำให้หลักฐานความเป็นมาของวัดหลวงขุนวินสาบสูญไป ฉะนั้น เป็นการพยายามอย่างยิ่งที่จะรวบรวมประวัติความเป็นมาให้บริบูรณ์ได้ จึงสอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความเลื่อมใสและได้กราบทูลขอพระเกศาธาตุ พระพุทธองค์ทรงประทานให้แล้วสร้างพระเจดีย์ครอบไว้บนยอดเตี้ยๆ ลูกหนึ่งชื่อว่า พระธาตุม่อนเปี้ยะดังนี้แล
<<<ประวัติวัดหลวงขุนวินมีต่อ>>> |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 04 ส.ค. 2008, 6:49 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 4:54 pm |
  |

|

|

|

|
.....(ต่อ) หลังจากนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงจาริกมาทางทิศที่จะมาเพื่อประทับรอยพระบาท แต่ในสถานที่นั้นหินที่เป็นก้อนใหญ่ไม่ค่อยมีจึงได้หินก้อนหนึ่งกว้างประมาณ 1 ศอก และยาว 2 ศอก จึงนำมาถวายพระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระบาทให้ แต่เนื่องจากหินก้อนเล็กไปจึงปรากฏเฉพาะรอยฝ่าพระบาทเท่านั้น ส่วนส้นและนิ้วพระบาทหายไป และพระพุทธองค์ทรงทำนายไว้ว่า พระพุทธบาทนี้ไม่เต็มรอยเพราะแหว่งไป (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า หวิดไป) ฉะนั้น เมืองนี้จึงมีชื่อว่าเมืองหวิด ต่อมาได้ชื่อว่า เมืองวิน ดังนี้แล
...จากนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงเสด็จจาริกมายังบริเวณที่ตั้งของวัดหลวงขุนวินปัจจุบันนี้ และพอจะสันนิษฐานได้ว่า ปู่หลาน เดิมนั้นคงจะมีบ้านเรือนตั้งอยู่ใกล้บริเวณวัดหลวงฯ และพระพุทธองค์ทรงรับบิณฑบาตในที่นี้ หลังจากทรงฉันภัตตาหารแล้ว มีชาวลัวะ 2 ท่าน คือ ขุนสาบและขุนสระเมิง มีจิตเลื่อมใส ได้กราบทูลขอพระเกศาธาตุ พระพุทธองค์ทรงเอื้อมพระหัตถ์แล้วทรงประทานเส้นพระเกศา 5 เส้น จึงได้สร้างพระเจดีย์ 5 ยอด บรรจุเอาไว้ เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการบูชาของชนทั้งหลายตราบจนทุกวันนี้
....หลังจากนั้น วัดหลวงขุนวิน ได้เจริญรุ่งเรืองและถึงความเสื่อมไปตามยุคตามสมัยเรื่อยมา ครั้นต่อมามีหลักฐานจารึกในใบลานว่า เจ้าหมื่นคำซาว ฐานะเป็นน้องของขุนหลวงวิลังคะ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้ทำนุบำรุงวัดหลวงฯ ขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีครูบาปัญญาวงศา เป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. 1760 ได้เจริญรุ่งเรืองมาถึงปี พ.ศ. 1802 พม่าตีเมืองเชียงใหม่แตกวันนี้จึงกลายเป็นวัดร้าง
....ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2497 ครูบาอุ่นเรือน สุภทฺโท วัดบ้านควน ตำบลพรหมหลวง อำเภอสันป่าตอง มาบูรณะวัดนี้อีกครั้งหนึ่ง สร้างเสร็จได้นิมนต์ครูบาอภิชัย ขาวปี มาเป็นประธานร่วมฉลอง เมื่อปี พ.ศ. 2501 ครั้นต่อมา ปี พ.ศ. 2530 ครูบาอุ่นเรือน อาพาธหนักและได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2507 ที่วัดบ้านควน ต่อมาเจ้าชื่น สิโรรส ได้นิมนต์หลวงปู่เณรไจ๋ อุ่นเรือน จากวัดอุโมงค์เถรจันทร์ มาจำพรรษาในปี พ.ศ. 2505 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2532 พระอาจารย์สมบูรณ์ รตฺนญาโณ จำพรรษาอยู่ได้ 8 ปี และได้มอบให้แก่พระอาจารย์จรัญ ทกฺขญาโณ แห่งวัดสังฆทานดูแลสืบไป
<<<จบบริบูรณ์ประวัติวัดหลวงขุนวิน>>>
อริยบถยามเช้าของ พระอธิการจรัญ ทกฺขญาโณ ขณะกำลังกวาดบริเวณวัด ปฏิบัติเช่นเดียวกับ พระลูกวัด
รูปหมู่ของพระสงฆ์ทั้งหมดที่เดินทางขึ้นไปที่ดอยหลวงต่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อเก็บอารมณ์สั่งสมบารมี และ สาธุชนผู้หาความสงบความมั่นคงให้กับชีวิต ภาพนี้ถือว่าเป็นบุญบารมีของคนถ่ายมากๆ ที่ทางวัดใด้ให้โอกาสเก็บภาพเพื่อเวปธรรมจักร |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 19 พ.ย.2018, 11:11 pm, ทั้งหมด 16 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 5:04 pm |
  |
....พระอธิการจรัญ ทกฺขญาโณ เจ้าอาวาสวัดหลวงขุนวิน เล่าว่า วัดหลวงขุนวินนี้เป็นวัดเก่าแก่ ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เล่ากันว่ากำเนิดจริงๆ ของวัดหลวงขุนวินนั้น มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมา ณ บริเวณที่ตั้งวัด และประทับรอยพระบาทไว้ในป่าแห่งนี้ ตามปกติพระพุทธเจ้าเสด็จไปแห่งใด จะไม่มีรอยพระบาท นอกจากจะทรงอธิษฐานประทับรอยพระบาท ซึ่งรอยพระบาทนี้เรียกว่า "พระบาทย่ำหวิด " ย่ำ คือ "เหยียบ " หวิด คือ แหว่งไป เนื่องจากพระบาทที่ทรงย่ำนั้น มีรอยแหว่ง เพราะแผ่นหินที่ประทับรอยพระบาทนั้นมีขนาดเล็กเกินไป ทำให้นิ้วของพระบาทหายหรือแหว่งไป และชื่อเมืองแต่เดิมชื่อ "หวิด " ต่อมาเปลี่ยนเป็น "วิน " จึงเป็นเมืองวินหรือขุนวิน ชาวบ้านได้ทูลขอพระเกศาธาตุจากพระพุทธองค์ แล้วจึงสร้างเจดีย์ไว้บรรจุพระธาตุเพื่อการกราบไหว้บูชาต่อไป และชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างวัดไว้ด้วย คือวัดหลวงขุนวิน ในปัจจุบัน
ประวัติหลวงหลวงพ่อจรัญ ทกฺขญาโณ
..หลวงพ่อจรัญ ทกฺขญาโณ เป็นคนจังหวัดน่าน ขณะทำงานที่กรุงเทพฯ มีความสนใจศึกษาและฝึกปฏิบัติจนเกิดศรัทธา และบวชที่วัดสังฆทาน ในปี พ.ศ. 2529 เมื่ออายุได้ 27 ปี พรรษาแรกจำพรรษาที่อุ้มผาง จังหวัดตาก และผ่านการเก็บอารมณ์ที่วัดหนองไผ่เจริญธรรม จังหวัดสุพรรณบุรี รวม 4 ปี
..ต่อมาท่านธุดงค์ไปทางภาคเหนือเพื่อการปฏิบัติ จนพบวัดพันต้น ซึ่งเป็นวัดร้างอยู่กลางทุ่ง ที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตามประวัตินั้นเป็นวัดที่จัดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎก มีพระมาประชุมกันพันองค์ หรือพันต้น ท่านเห็นว่าเป็นสถานที่สัปปายะ เหมาะแก่การฝึกปฏิบัติจึงอยู่จำพรรษาที่วัดนี้เป็นเวลา 2 ปี ซึ่งในปีสุดท้ายนั้นมีพระจากวัดสังฆทานธุดงค์ผ่านมา ท่านจึงบอกทางไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยให้ตัดตรงผ่านเส้นทางนี้ไป ท่านจึงพบวัดหลวงขุนวินโดยบังเอิญ ซึ่งขณะนั้นพระอาจารย์สมบูรณ์ รตนญาโณ (ลูกศิษย์หลวงพ่อสนิท ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่สังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม จังหวัดสุพรรณบุรี) เป็นผู้ดูแลวัดได้ 8 ปีแล้ว พระอาจารย์สมบูรณ์จึงดีใจที่ได้พบพระจากวัดสังฆทาน และยกวัดให้หลวงพ่อจรัญ ทกฺขญาโณ ดูแลวัดสืบต่อไป ในปลายปี พ.ศ. 2539 นั้นเอง
...หลวงพ่อจรัญ ทกฺขญาโณ จึงอยู่ที่วัดหลวงขุนวินเรื่อยมา ซึ่งเดิมทีตั้งใจจะอยู่เงียบๆ แต่มีพระท่านขึ้นไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นหมู่คณะ และดูแลปกครองกันจนเป็นสาขาหนึ่งของวัดสังฆทาน ช่วยกันบูรณะและดูแลวัดเรื่อยมา ปัจจุบันที่วัดมีพระ 17 รูป (ปี 2551)ชาวบ้านที่อาศัยอยู่เป็นชาวเขาทั้งหมด ยากจนนับถือศาสนาพุทธและนับถือผี อาศัยอยู่ไกลจากวัด กว่า 5 กิโลเมตร พระจึงไม่ได้ออกบิณฑบาต มีแม่ครัวประจำวัด(แม่ชีบุญมี)เพื่อจัดเตรียมอาหารสำหรับหมู่สงฆ์ มีการฉันอาหารเพียงมื้อเดียวดำรงอยู่แบบพระป่ามุ่งปฏิบัติเพียรภาวนา โดยเข้าเมืองซื้อของและเสบียงสัปดาห์ละครั้ง ปกติพระจะอยู่กันเฉพาะหมู่สงฆ์ ไม่มีกิจนิมนต์ การทำวัตรสวดมนต์ต่างคนต่างปฏิบัติ เน้นการทำกรรมฐาน แต่ในวันเทศกาลสำคัญ เช่น วันสงกรานต์ วันลอยกระทง ชาวเขาจะมารวมตัวกันประมาณ 200-300 คน จากหลายสิบหมู่บ้านเพื่อทำบุญด้วยการถวายทาน รักษาศีล และสวดมนต์ แต่ขาดความสนใจและความเข้าใจในเรื่องภาวนา
...ปัจจุบัน มีคนเมืองหรือคนจากเชียงใหม่ที่สนใจการทำสมาธิเข้ามาวัดในวันเสาร์-อาทิตย์ กันมากขึ้น เพื่อการฝึกปฏิบัติกรรมฐานและภาวนา ท่ามกลางทัศนียภาพที่สวยงามร่มรื่น บรรยากาศดี และอากาศเย็นตลอดปี มักจะมีชาวต่างชาติเข้ามาแวะเยี่ยมชมโบราณสถานในวัดอยู่เสมอ วัดอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร สามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฮอด เมื่อถึงสามแยกสันป่าตองให้เลี้ยงขวาไปอำเภอแม่วาง (ถึงแม่วางกิโลเมตรที่ 12) ไปตามทางจนถึงกิโลเมตรที่ 26 ถึงหมู่บ้านขุนวิน จะเห็นป้ายบอกทางไปวัดหลวงขุนวินอยู่ด้านขวามือ จากทางแยกนี้ไป ถึงวัดประมาณ 10 กิโลเมตร จะเป็นทางลูกรังตลอดในช่วง 5 กิโลเมตรแรก ทางค่อนข้างลาดชันจนถึงบ้านกะเหรี่ยงห้วยหยวก ซึ่งรถกระบะธรรมดาขึ้นได้ ส่วน 5 กิโลเมตรหลังเป็นทางที่ขึ้นได้เฉพาะขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น เนื่องจากเป็นถนนที่ใช้แรงคนในการขุดจึงต้องมีการซ่อมแซมกันตลอดเวลา
 |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 24 เม.ย.2009, 10:24 am, ทั้งหมด 9 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 5:08 pm |
  |
บนดอยหลวงสูงเสียดฟ้า วัดหลวงขุนวิน เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล วัดหลวงขุนวิน หมายถึง วัดที่ใหญ่โตที่อยู่ต้นแม่น้ำของลำน้ำแม่วิน อีกความหมายหนึ่งคือ เป็นวัดของหลวงของเจ้าฟ้าหรือเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ต้นแม่น้ำของแม่วิน
ซากอิฐโบราณเก่าแก่ที่ยังคงอยู่ให้เห็น (ว่ากันว่าพวกสร้างวัตถุโบราณชอบมาขโมยไปเป็นเครื่องผสม
พระธาตุหลวงยามท้องฟ้าแจ่มใสไร้เมฆฝน |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 02 ก.ย. 2008, 7:40 pm, ทั้งหมด 7 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 5:16 pm |
  |
คาดกันต่อมาว่า "วัดหลวงขุนวิน " คงมีทั้งความรุ่งเรืองและเสื่อมไปตามกาลสมัย จวบจนกระทั่งราวปี พ.ศ. 1760 เจ้าหมื่นคำซาว ซึ่งเป็นน้องของขุนหลวงวิลังคะ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้ทรงทำนุบำรุงวัดหลวงขุนวินให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง แต่ต่อมาพม่าตีเมืองเชียงใหม่จนแตก วัดจึงกลายเป็นวัดร้างมากว่า 700 ปี
วิหารหลวงขุนวิน(ซ้ายมือ)และหอพระไตร(ขวามือ)
พระธาตุหลวง หรือ พระธาตุหลวงขุนวิน ยามรุ่งสาง |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 02 ก.ย. 2008, 7:38 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 5:22 pm |
  |
วันที่ฟ้าไร้ฝน
ทัศนียภาพ "ยามรุ่งสาง" พระธาตุหลวง |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 04 ส.ค. 2008, 5:51 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 5:27 pm |
  |
คล้ายเมืองสายหมอก ในเทพนิยาย
อรุณรุ่งยามเช้า ณ วัดหลวงขุนวิน อ.แม่วาง จ.เชียงไหม่ |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 02 ก.ย. 2008, 7:41 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 5:29 pm |
  |
ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 มีพรานป่ามาพบวัดนี้ และนมัสการครูบาอุ่นเรือน สุภทฺโท ลูกศิษย์ครูบาศรีวิชัย มาบูรณะวัดให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง แต่เมื่อท่านมรณภาพลงในปี พ.ศ. 2527 วัดนี้จึงขาดพระสงฆ์ดูแล เณรไจ๋ (ปัจจุบันอายุ 93 ปี) ลูกศิษย์ครูบาอุ่นเรือน จึงเป็นผู้อยู่รักษาวัดตั้งแต่นั้นมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 พระอาจารย์สมบูรณ์ รตนญาโณ ได้มาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ และปลายปี พ.ศ. 2539 จึงมอบหมายให้หลวงพ่อจรัญ ทกฺขญาโณ เป็นผู้ดูแลวัดสืบต่อมาจนทุกวันนี้
กุฏิ หลวงปู่เณร ด้วยวันเวลาผ่านมา นานแล้ว ทำให้มีสภาพอย่างที่เห็น ซึ่งเป็นศิลปะทางล้านนา ที่หาดูยากแล้วในสมัยนี้ ซึ่งทางท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันกำลังมีโครงการซ่อมแซมต่อไป
กุฏิหลวงปู่เณร ซึ่งคาดว่าจะเป็นกุฏิของ ครูบาอุ่นเรือน ในสมัยที่ท่านเป็นผู้ดูแลวัดหลวงขุนวินแห่งนี้อยู่ |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 04 ส.ค. 2008, 5:56 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 5:34 pm |
  |
หลวงปู่เณร ซึ่งในสมัยก่อนหลวงปู่เณร อยู่ที่นี่เพียงองค์เดียวเท่านั้น
ส่วนใหญ่คนเมืองที่บากบั่นขึ้นไปทำบุญถวายอาหารแด่พระสงฆ์มักจะต้องเดินทางขึ้นไปเยี่ยมพูดคุยกับหลวงปู่เณรเสมอ (กุฏิของหลวงปู่เณรจะต้องเดินขึ้นเนินไปทางด้านหลังวัดซึ่งอยู่ห่างจากวัดประมาณ 4-5 ร้อยเมตร) |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 04 ส.ค. 2008, 5:57 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 5:39 pm |
  |
ความชุ่มชื้นของผืนป่า ส่งผลให้บริเวณรอบ ๆ อุดมสมบูรณ์ |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 04 ส.ค. 2008, 6:06 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 5:46 pm |
  |
บริเวณภายใน วิหารวัดหลวงขุนวิน ซึ่งมีพระพุทธรูป และ รูปหล่อเหมือน ครูบาอุ่นเรือน ประดิษฐานอยู่เพื่อให้ชาวบ้านและผู้เดินทางขึ้นไปวัดหลวงขุนวินได้กราบไหว้เพื่อความเป็นศิริมงคล
ภาพบน-ป้ายชื่อวัดหลวงขุนวิน ที่มีภาษาล้านนากำกับอยู่ |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 04 ส.ค. 2008, 4:46 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 5:58 pm |
  |
ในวิหารวัดหลวงขุนวิน |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 04 ส.ค. 2008, 6:47 pm, ทั้งหมด 5 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 6:00 pm |
  |
ป้ายประวัติวัดหลวงขุนวิน ซึ่งติดไว้ภายใน หอพระไตร |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 04 ส.ค. 2008, 4:49 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 6:08 pm |
  |
พระธาตุหลวง ใต้ก้อนเมฆที่ถูกลมพัดลอยลงมาปกคลุม |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 04 ส.ค. 2008, 6:47 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 6:13 pm |
  |
ในภาพ-เป็นด้านหลังของวิหารวัดหลวงขุนวิน ซึ่งจะมองเห็นหอพระไตร(ตรงกลาง) และ พระธาตุหลวง รวมไปถึงศาลาที่สร้างไว้ให้ญาติโยมที่ขึ้นมาทำบุญได้นั่งพักผ่อน |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 04 ส.ค. 2008, 6:48 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 6:21 pm |
  |
ในภาพ คือ พญานาค อยู่หน้าวิหารวัดหลวงขุนวิน |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 04 ส.ค. 2008, 6:09 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 6:27 pm |
  |
ศาลาที่ท่านเจ้าอาวาสได้สร้างไว้สำหรับต้อนรับญาติโยมที่หน้าเทศกาลสำคัญๆ จะมีขึ้นมาทำบุญกันพอสมควรได้ไว้นั่ง
และเป็นอีกที่หนึ่งที่ พวกเราใช้เดินจงกรมทั้งกลางวันและกลางคืน |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 6:30 pm |
  |
กุฏิท่านเจ้าอาวาส องค์ปัจจุบันซึ่งเก่าแก่กว่า 50 ปี แฝงตัวอยู่ในต้นไม้ |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 04 ส.ค. 2008, 6:32 pm, ทั้งหมด 14 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 6:38 pm |
  |
ทางเดินจงกรมของท่านเจ้าอาวาส หลวงพ่อจรัญ ทกฺขญาโณ
เรียบง่าย..และ สมถะ |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง
แก้ไขล่าสุดโดย ดุสิตธานี เมื่อ 04 ส.ค. 2008, 6:11 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
ดุสิตธานี
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
03 ส.ค. 2008, 6:41 pm |
  |
|
  |
 |
|