Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขอท่านผู่เจริญในธรรมอธิบายให้ที อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2008, 10:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กระผมอยากทราบถึง นิยาม 5 ครับ ท่านใดทราบก็ขอท่านโปรดกระผมด้วยครับ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2008, 10:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

งานเข้าเลย
เจอของแปลกอีกแล้ว ตื่นเต้นๆ
ลงชื่อรอดูด้วยคน ยิ้มเห็นฟัน สาธุ
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2008, 10:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ได้มาตอบนะคับ
แต่เอาลิงก์มาฝาก
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=223
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2008, 11:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิยาม 5 [ กำหนดอันแน่นอน, ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ, กฎธรรมชาติ ]

1. อุตุนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฎการ์ณธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะดินน้ำอากาศ และฤดูกาล อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์ ]

2. พีชนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธ์ มีพันธุ์กรรมเป็นต้น ]

3. จิตตนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต ]

4. กรรมนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของกระทำ ]

5. ธรรมนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับสัมพันธ์และอาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันแห่งสิ่งทั้งหลาย ]


--------------------------
กรรมนิยาม 5 คืออะไร (น่าจะหมายถึง ธรรมนิยาม 5 หรือเปล่า ซึ่งรวมถึงกรรมนิยามด้วย)

พระองค์ทรงทราบว่าเกิดขึ้นจากกฎธรรมชาติที่เรียกว่า ธรรมนิยาม เรื่องธรรมนิยามนี้พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้คร่าว ๆ ไม่ได้ลงรายละเอียด ซึ่งในภายหลังอรรถกถาจารย์ผู้มีความแตกฉานในธรรมะได้ขยายความเพิ่มเติม ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ในอรรถกถาแห่งทีฆนิกาย อรรถกถาจารย์ได้จำแนกนิยามออกได้ 5 ประการ[๘] คือ

1. อุตุนิยาม (Physical Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุม ความเป็นไปของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แม้กระทั่งการเกิดและการดับสลายของโลกก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติข้อนี้ ในตำราพุทธศาสนาที่เขียนโดยขาวฝรั่ง มักใช้คำว่า คนอินเดียในสมัยพุทธกาลสงสัยกันว่า อะไรคือสิ่งกำหนดให้มีความสม่ำเสมอคงที่ในธรรมชาติ ส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุ เช่นความสม่ำเสมอของฤดูกาล ซึ่งทางพระพุทธศาสนาตอบปัญหานี้ว่า สิ่งที่กำหนด คือ อุตุนิยาม

2. พีชนิยาม (Biological Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ กฎธรรมชาตินี้ เมื่อเรานำเมล็ดข้าวเปลือกไปเพาะ ต้นไม้ที่งอกออกมาจะต้องเป็นต้นข้าวเสมอ หรือ ช้างเมื่อคลอดลูกออกมาแล้วก็ย่อมเป็นลูกลิงเสมอ ความเป็นระเบียบนี้พุทธศาสนาเชื่อว่าเป็นผลมาจากการควบคุมของพีชนิยาม

3. จิตนิยาม (Psychic Laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต พระพุทธศาสนาเชื่อว่า คนเราประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ จิตมีกฎเกณฑ์ในการทำงาน เปลี่ยนแปลงและแสดงพฤติกรรม เป็นฉบับเฉพาะตัว

4. กรรมนิยาม (Kamic Laws) คือ กฎการให้ผลของกรรม กรรมคือ การกระทำที่ประกอบด้วยความตั้งใจ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ กรรมดีและกรรมชั่ว กรรมดีย่อมตอบสนองในทางดี กรรมชั่วย่อมตอบสนองในทางชั่ว นี่คือ กฎแห่งกรรมนั่นเอง

5. ธรรมนิยาม (General Laws) คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งทั้งหลาย เป็นกฎสากลที่ครอบคลุม ความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุ กฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุด กฎ 4 ข้อข้างต้นสรุปรวมลงในข้อสุดท้ายนี้ [๙]

พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนิยามหรือกฎธรรมชาติทั้ง 5 เหล่านี้ แต่ไม่ทรงสอนทั้งหมด พระองค์ทรงสอนธรรมนิยามเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับจิตตนิยามและและกรรมนิยาม พระองค์ทรงสอนเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามเพียงเล็กน้อย ในลักษณะกลับกัน นักวิทยาศาสตร์ศึกษาธรรมนิยามเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับอุตุนิยามและพีชนิยาม ไม่สนใจกรรมนิยามและสนใจในจิตนิยามเล็กน้อย นี่คือจุดเน้นที่ต่างกันระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ธรรมนิยามเป็นกฎธรรมชาติสากลที่ครอบคลุม 4 กฎย่อยดังที่กล่าวมาแล้ว แม้พระพุทธศาสนาจะศึกษาเน้นเรื่องกรรมนิยามและจิตนิยามก็จริง ถึงกระนั้นพระพุทธศาสนาก็ไม่ปฏิเสธเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามที่เป็นจุดเน้นของวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุนี้เองพระพุทธศาสนาจึงไม่ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์

จากการค้นพบธรรมะดังกล่าวนี้เอง ทำให้เราทราบว่า ความรู้เรื่องจักรวาลวิทยาเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบเท่านั้น ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่พระองค์ทรงค้นพบแล้วมิได้นำมาตรัสให้ฟัง และเรื่องที่นำมาตรัสเล่านั้นก็เพียงเพื่อให้พ้นทุกข์ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิต

---------------
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2008, 1:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ธรรมนิยามเป็นกฎธรรมชาติสากลที่ครอบคลุม 4 กฎย่อยดังที่กล่าวมาแล้ว


พี่ครับแสดงว่ากฏแห่งกรรมก็เป็นกฏธรรมชาติด้วยใช่ไหมครับ

ผมเข้าใจถูกไหม....สั่งสอนผมด้วยอะครับ สงสัย
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 6:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

RARM พิมพ์ว่า:
นิยาม 5 [ กำหนดอันแน่นอน, ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ, กฎธรรมชาติ ]

1. อุตุนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฎการ์ณธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะดินน้ำอากาศ และฤดูกาล อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์ ]

2. พีชนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธ์ มีพันธุ์กรรมเป็นต้น ]

3. จิตตนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต ]

4. กรรมนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของกระทำ ]

5. ธรรมนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับสัมพันธ์และอาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันแห่งสิ่งทั้งหลาย ]


--------------------------
กรรมนิยาม 5 คืออะไร (น่าจะหมายถึง ธรรมนิยาม 5 หรือเปล่า ซึ่งรวมถึงกรรมนิยามด้วย)

พระองค์ทรงทราบว่าเกิดขึ้นจากกฎธรรมชาติที่เรียกว่า ธรรมนิยาม เรื่องธรรมนิยามนี้พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้คร่าว ๆ ไม่ได้ลงรายละเอียด ซึ่งในภายหลังอรรถกถาจารย์ผู้มีความแตกฉานในธรรมะได้ขยายความเพิ่มเติม ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ในอรรถกถาแห่งทีฆนิกาย อรรถกถาจารย์ได้จำแนกนิยามออกได้ 5 ประการ[๘] คือ

1. อุตุนิยาม (Physical Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุม ความเป็นไปของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แม้กระทั่งการเกิดและการดับสลายของโลกก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติข้อนี้ ในตำราพุทธศาสนาที่เขียนโดยขาวฝรั่ง มักใช้คำว่า คนอินเดียในสมัยพุทธกาลสงสัยกันว่า อะไรคือสิ่งกำหนดให้มีความสม่ำเสมอคงที่ในธรรมชาติ ส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุ เช่นความสม่ำเสมอของฤดูกาล ซึ่งทางพระพุทธศาสนาตอบปัญหานี้ว่า สิ่งที่กำหนด คือ อุตุนิยาม

2. พีชนิยาม (Biological Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ กฎธรรมชาตินี้ เมื่อเรานำเมล็ดข้าวเปลือกไปเพาะ ต้นไม้ที่งอกออกมาจะต้องเป็นต้นข้าวเสมอ หรือ ช้างเมื่อคลอดลูกออกมาแล้วก็ย่อมเป็นลูกลิงเสมอ ความเป็นระเบียบนี้พุทธศาสนาเชื่อว่าเป็นผลมาจากการควบคุมของพีชนิยาม

3. จิตนิยาม (Psychic Laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต พระพุทธศาสนาเชื่อว่า คนเราประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ จิตมีกฎเกณฑ์ในการทำงาน เปลี่ยนแปลงและแสดงพฤติกรรม เป็นฉบับเฉพาะตัว

4. กรรมนิยาม (Kamic Laws) คือ กฎการให้ผลของกรรม กรรมคือ การกระทำที่ประกอบด้วยความตั้งใจ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ กรรมดีและกรรมชั่ว กรรมดีย่อมตอบสนองในทางดี กรรมชั่วย่อมตอบสนองในทางชั่ว นี่คือ กฎแห่งกรรมนั่นเอง

5. ธรรมนิยาม (General Laws) คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งทั้งหลาย เป็นกฎสากลที่ครอบคลุม ความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุ กฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุด กฎ 4 ข้อข้างต้นสรุปรวมลงในข้อสุดท้ายนี้ [๙]

พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนิยามหรือกฎธรรมชาติทั้ง 5 เหล่านี้ แต่ไม่ทรงสอนทั้งหมด พระองค์ทรงสอนธรรมนิยามเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับจิตตนิยามและและกรรมนิยาม พระองค์ทรงสอนเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามเพียงเล็กน้อย ในลักษณะกลับกัน นักวิทยาศาสตร์ศึกษาธรรมนิยามเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับอุตุนิยามและพีชนิยาม ไม่สนใจกรรมนิยามและสนใจในจิตนิยามเล็กน้อย นี่คือจุดเน้นที่ต่างกันระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ธรรมนิยามเป็นกฎธรรมชาติสากลที่ครอบคลุม 4 กฎย่อยดังที่กล่าวมาแล้ว แม้พระพุทธศาสนาจะศึกษาเน้นเรื่องกรรมนิยามและจิตนิยามก็จริง ถึงกระนั้นพระพุทธศาสนาก็ไม่ปฏิเสธเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามที่เป็นจุดเน้นของวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุนี้เองพระพุทธศาสนาจึงไม่ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์

จากการค้นพบธรรมะดังกล่าวนี้เอง ทำให้เราทราบว่า ความรู้เรื่องจักรวาลวิทยาเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบเท่านั้น ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่พระองค์ทรงค้นพบแล้วมิได้นำมาตรัสให้ฟัง และเรื่องที่นำมาตรัสเล่านั้นก็เพียงเพื่อให้พ้นทุกข์ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิต

---------------

ขอบคุณครับท่าน RAMA ที่ให้ความรู้ครับ แต่ตรงตัวหนังสือสีแดงที่ผมเน้นไว้ ท่านพิมพ์ผิดป่าวครับ(อิอิ)ถ้าหากตั้งใจก็รบกวนอธิบายให้ทีนะครับ แต่กระผมเองไม่ได้พิจารณาเห็นอย่างนั้นครับ รบกวนท่านลองพิจารณาดูนะครับ หากมีอะไรแนะนำก็ขอท่านแนะนำด้วยครับ

นิยาม หมายถึง ความเป็นไปอย่างแน่นอน
นิยาม 5 นั้นกระผมพิจารณาได้ว่าเป็นวงจรการเกิดขึ้น - แตกกระจายของโลก อันเริ่มต้นขึ้นจาก อุตตุนิยาม - การรวมตัวขึ้นของธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ช่องว่าง ก่อตัวขึ้น และตกตะกอน กลายเป็นมหาภูตรูป หลังจากตกตะกอนแล้วมหาภูตรูปนี้ก็รับแสงสว่าง อุนหภูมิ จากดวงอาทิตย์ และจึงเกิด พืชนิยาม เกิดพันธุกรรม และก็อาศัยธาตุจากมหาภูตรูปนี้ในการพัฒนาพันธุกรรม
แล้วจึงเกิดสิ่งมีชีวิตที่เริ่มต้นขึ้นจาก สิ่งมีชีวิตที่ตัวเล็กมาก เกิดขึ้นจากตะใคร่ จากไคล เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของพืชนิยาม พอเกิดสิ่งมีชีวิตขึ้น จิตนิยามก็เกิดขึ้น จิตจะมุ่งไปข้างหน้าเสมอ จึงทำให้เกิดการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต บนความเป็นไปของพืชนิยาม(การเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรม) จิตคิดอะไรต่อมิอะไรแล้วก็จึงเกิด กรรมนิยาม การกระทำต่างๆของสัตว์ ตอบสนองปราถนาของจิต และเป็นเหตุปัจจัยของการเวียนตายเวียนเกิดของจิต ( กฏแห่งกรรม ) แล้วก็เกิดธรรมนิยาม ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามเหตุปัจจัย หรือให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ความเปลี่ยนแปลงของสังขารโลก ( การไหลเวียนของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ) ซึ่งเป็นกฏของเหตุ มีฝนตก ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว และภัยธรรมชาติอื่นๆ เพราะมีเหตุมาจากการกรรมนิยาม และเมื่อจิตมุ่งไปข้างหน้าเสมอ กรรมจึงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ( คนคิดและพัฒนาเทคโนโลยีเสมอ ) จึงเกิดการเสียสมดุลย์ของมหาภูตรูปอย่างรุนแรงขึ้นและเมื่อถึงที่สุดก็แตกกระจายไหลไปในอวกาศ แล้วก็ไหลไปก่อตัวขึ้นใหม่ เริ่มต้นอุตตุนิยาม - พืชนิยาม - จิตนิยาม - กรรมนิยาม - ธรรมนิยาม วนเวียนอยู่แบบนี้ นับไม่ถ้วนเหมือนที่เราเวียนตายเวียนเกิดนี่ล่ะครับ
หากที่กระผมพิจารณานี้ผิด...ก็ขอท่านผู้รู้โปรดกระผมด้วยครับ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 7:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฌาณ พิมพ์ว่า:
อ้างอิงจาก:
ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ธรรมนิยามเป็นกฎธรรมชาติสากลที่ครอบคลุม 4 กฎย่อยดังที่กล่าวมาแล้ว


พี่ครับแสดงว่ากฏแห่งกรรมก็เป็นกฏธรรมชาติด้วยใช่ไหมครับ

ผมเข้าใจถูกไหม....สั่งสอนผมด้วยอะครับ สงสัย


เป็นกรรมนิยามครับ ทำกรรมใดไว้ จะได้รับผลกรรมนั้นอย่างแน่นอน
ธรรมนิยาม เป็นกฏของเหตุครับ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
kokorado
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 12 ก.ค. 2008
ตอบ: 104
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 1:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าเป็นของธรรมกายตอบ เขาจะตอบว่า กฎแห่งกรรมก็มีผู้สร้างขึ้นมา ลองคิดดูว่าทำไม นรกมี450กว่าขุม สวรรค์ทำไมมีแค่ 6ชั้น
 

_________________
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 5:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม

ธรรมนิยามตัวเดียว สิ้นสุดการพิจารณา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 10:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

RARM พิมพ์ว่า:
นิยาม 5 [ กำหนดอันแน่นอน, ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ, กฎธรรมชาติ ]

1. อุตุนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฎการ์ณธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะดินน้ำอากาศ และฤดูกาล อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์ ]

2. พีชนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธ์ มีพันธุ์กรรมเป็นต้น ]

3. จิตตนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต ]

4. กรรมนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของกระทำ ]

5. ธรรมนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับสัมพันธ์และอาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันแห่งสิ่งทั้งหลาย ]


--------------------------
กรรมนิยาม 5 คืออะไร (น่าจะหมายถึง ธรรมนิยาม 5 หรือเปล่า ซึ่งรวมถึงกรรมนิยามด้วย)

พระองค์ทรงทราบว่าเกิดขึ้นจากกฎธรรมชาติที่เรียกว่า ธรรมนิยาม เรื่องธรรมนิยามนี้พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้คร่าว ๆ ไม่ได้ลงรายละเอียด ซึ่งในภายหลังอรรถกถาจารย์ผู้มีความแตกฉานในธรรมะได้ขยายความเพิ่มเติม ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ในอรรถกถาแห่งทีฆนิกาย อรรถกถาจารย์ได้จำแนกนิยามออกได้ 5 ประการ[๘] คือ

1. อุตุนิยาม (Physical Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุม ความเป็นไปของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แม้กระทั่งการเกิดและการดับสลายของโลกก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติข้อนี้ ในตำราพุทธศาสนาที่เขียนโดยขาวฝรั่ง มักใช้คำว่า คนอินเดียในสมัยพุทธกาลสงสัยกันว่า อะไรคือสิ่งกำหนดให้มีความสม่ำเสมอคงที่ในธรรมชาติ ส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุ เช่นความสม่ำเสมอของฤดูกาล ซึ่งทางพระพุทธศาสนาตอบปัญหานี้ว่า สิ่งที่กำหนด คือ อุตุนิยาม

2. พีชนิยาม (Biological Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ กฎธรรมชาตินี้ เมื่อเรานำเมล็ดข้าวเปลือกไปเพาะ ต้นไม้ที่งอกออกมาจะต้องเป็นต้นข้าวเสมอ หรือ ช้างเมื่อคลอดลูกออกมาแล้วก็ย่อมเป็นลูกลิงเสมอ ความเป็นระเบียบนี้พุทธศาสนาเชื่อว่าเป็นผลมาจากการควบคุมของพีชนิยาม

3. จิตนิยาม (Psychic Laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต พระพุทธศาสนาเชื่อว่า คนเราประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ จิตมีกฎเกณฑ์ในการทำงาน เปลี่ยนแปลงและแสดงพฤติกรรม เป็นฉบับเฉพาะตัว

4. กรรมนิยาม (Kamic Laws) คือ กฎการให้ผลของกรรม กรรมคือ การกระทำที่ประกอบด้วยความตั้งใจ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ กรรมดีและกรรมชั่ว กรรมดีย่อมตอบสนองในทางดี กรรมชั่วย่อมตอบสนองในทางชั่ว นี่คือ กฎแห่งกรรมนั่นเอง

5. ธรรมนิยาม (General Laws) คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งทั้งหลาย เป็นกฎสากลที่ครอบคลุม ความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุ กฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุด กฎ 4 ข้อข้างต้นสรุปรวมลงในข้อสุดท้ายนี้ [๙]

พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนิยามหรือกฎธรรมชาติทั้ง 5 เหล่านี้ แต่ไม่ทรงสอนทั้งหมด พระองค์ทรงสอนธรรมนิยามเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับจิตตนิยามและและกรรมนิยาม พระองค์ทรงสอนเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามเพียงเล็กน้อย ในลักษณะกลับกัน นักวิทยาศาสตร์ศึกษาธรรมนิยามเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับอุตุนิยามและพีชนิยาม ไม่สนใจกรรมนิยามและสนใจในจิตนิยามเล็กน้อย นี่คือจุดเน้นที่ต่างกันระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ธรรมนิยามเป็นกฎธรรมชาติสากลที่ครอบคลุม 4 กฎย่อยดังที่กล่าวมาแล้ว แม้พระพุทธศาสนาจะศึกษาเน้นเรื่องกรรมนิยามและจิตนิยามก็จริง ถึงกระนั้นพระพุทธศาสนาก็ไม่ปฏิเสธเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามที่เป็นจุดเน้นของวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุนี้เองพระพุทธศาสนาจึงไม่ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์

จากการค้นพบธรรมะดังกล่าวนี้เอง ทำให้เราทราบว่า ความรู้เรื่องจักรวาลวิทยาเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบเท่านั้น ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่พระองค์ทรงค้นพบแล้วมิได้นำมาตรัสให้ฟัง และเรื่องที่นำมาตรัสเล่านั้นก็เพียงเพื่อให้พ้นทุกข์ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิต

---------------



ซึ่ง \โอโห ทึ่งจริงๆ คุณ RARM อ่านแล้วได้ความรู้ขึ้นอีกพะเรอ ช่างเอาความรู้มาจากไหน นักหนาหนอ อมิตพุทธ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง