Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ใบไม้กำมือเดียว อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2004, 1:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำนำ



เขียนโดย พระสุเมธาจารย์

แปลโดย ศุภวรรณ กรีน



            พวกเราผู้มีโอกาสทองที่ได้ไปฝึกและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เมืองไทยนั้น ล้วนซาบซึ้งในบุญคุณของพระสงฆ์ไทยที่เต็มเปี่ยมด้วยปัญญาตลอดจนความโอบอ้อมอารีและความเกื้อxxxลของคนไทย



            คุณศุภวรรณได้วางแผนและสะท้อนความคิดของเธอออกมาอย่างยอดเยี่ยมในใบไม้กำมือเดียวนี้ ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า ผลงานที่ชำนาญเช่นนี้จะต้องออกมาจากการปฏิบัติเป็นเวลานานจนสามารถที่จะบอกผู้คนถึงความหมายของชีวิตตลอดถึงการปฏิบัติที่เรียบง่ายเพื่อให้คนสามารถหยั่งถึงสัจธรรมอันสูงสุดได้ การมองโลกและความหวังของเธอที่มีต่อเพื่อนมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่สร้างความเบิกบานใจและก่อให้เกิดปีติเป็นอย่างยิ่ง การยอมรับและบอกกล่าวแก่เพื่อนมนุษย์ว่าทุกคนล้วนมีโอกาสที่จะหาความสงบสุขให้แก่จิตใจตนเองอันเป็นหัวใจของทุกศาสนานั้นเป็นสิ่งที่ฟังง่ายและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง



            ถึงแม้คุณศุภวรรณได้พูดว่า พวกเราอาจจะเห็นเธอเป็น”ผู้อ่อนต่อโลกและโง่เขลา” ที่จริงแล้ว การมองโลกของเธอนั้นได้หยิบยื่นความหวังตลอดจนแนวทางที่ชัดเจนเพื่อช่วยเหลือคนให้หยั่งถึงสัจธรรมได้



            คำสอนของพระพุทธองค์นั้นเน้นไปที่ “การตื่น” มันไม่ได้หมายถึงการเป็นชาวพุทธเท่านั้น ฉะนั้น คำสอนทั้งหมดอยู่ที่การปลุกเร้าและแนะแนวทางเพื่อให้เกิดสติ เพื่อว่าเราจะได้พิจารณาประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ การจะทำเช่นนี้ได้ ทุกคนจะต้องมีความตื่นอย่างเต็มที่ และจะต้องให้ความสนใจต่อทุกขณะจิตของชีวิต



            ใบไม้กำมือเดียวเป็นเสมือนกับไกด์ผู้นำทาง คุณศุภวรรณเขียนจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเธอ ฉะนั้น จึงไม่เหมือนกับวิธีการเขียนธรรมะของคนที่ไม่เคยผ่านการปฏิบัติมาก่อนที่มักจะเอาของเก่ามาใส่เครื่องปรุงใหม่ เพราะเนื้อหานั้นมีความใหม่สดและความมั่นใจที่จะออกมาได้ก็จากผู้ที่มีความรู้จากภายในโดยตรงเท่านั้น



            อาตมาโชคดีมากพอที่ได้มีโอกาสบวชเป็นพระภิกษุและปฏิบัติเรียนรู้อยู่ที่ภาคอีสานของไทยถึง ๑๐ ปี ฉะนั้น อาตมาจึงได้มีโอกาสจุ่มลงไปในวัฒนธรรมแห่งการรู้แจ้งของชาวพุทธไทยที่อยู่ในกรอบของประเพณีอันดั้งเดิม แต่วัฒนธรรมที่ดีงามเหล่านี้ก็กำลังเปลี่ยนแปลงถดถอยและจืดจางตามกาลเวลาที่ผ่านไป อาตมาต้องยอมรับว่าเห็นด้วยกับคุณศุภวรรณในเรื่องการให้ความเคารพและเป็นหนี้บุญคุณต่อวัฒนธรรมแห่งการรู้แจ้งนี้



            สังขารทั้งหลายย่อมเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา อดีตนั้นไม่มีวันที่จะนำกลับมาได้ ความศรัทธาของมนุษย์นั้นอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงที่ปราศจากเวลา “การตื่น”ได้เกิดขึ้นแล้วในยุโรป ถึงแม้ว่าตามหน้าหนังสือพิมพ์จะเต็มไปด้วยข่าวร้ายที่รังแต่ทำให้จิตใจของผู้อ่านห่อเxxx่ยวและเศร้าหมองก็ตาม แต่อาตมาก็ยังมีความมั่นใจในคุณงามความดีของมนุษย์ และยินดีปรีดากับมนุษย์ผู้มีจิตสำนึกที่ได้สร้างผลงานที่ดีงามอย่างมากมายเหลือคณานับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของเวลา ความคิดและการมองโลกของคุณศุภวรรณนั้นจะช่วยให้เพื่อนมนุษย์สามารถสร้างความสัมพันอันดีงามต่อกันและกันได้และสามารถปลุกเร้าให้คนมีพลังในการที่จะสร้างทัศนคติอย่างเปิดเผยและเริ่มให้ความสังเกตต่อประสบการณ์ประจำวันของชีวิตอันเนื่องกับนิสัยและอารมณ์ความรู้สึก มิเช่นนั้นแล้ว มนุษย์มักจะมองซึ่งกันและกันอย่างข่มขู่หรือไม่ก็เยาะเย้ยถากถางในทุกเรื่องและดูอะไรเป็นแง่ลบไปเสียหมด



            อาตมาเชื่อว่า ใบไม้กำมือเดียว ของคุณศุภวรรณนั้นจะได้รับการต้อนรับเข้าสู่วงการหนังสือธรรมะอย่างแน่นอน



พระสุเมธาจารย์[1]



กันยายน ๑๙๙๙/๒๕๔๒



...........



วัดอมราวดี



เฮมเมล เฮมสเต็ด



อังกฤษ



................................

อ่านเนื้อหาทั้งหมดในหนังสือได้ที่นี้ครับ (คลิก)


http://supawangreen.in.th/leaves_thai

..............................................................



           ท่านอาจารย์สุเมโธ เป็นพระภิกษุชาวอเมริกันที่คนไทยส่วนมากรู้จักดีอยู่แล้วในฐานะที่เป็นลูกศิษย์คนสำคัญของหลวงพ่อชา สุภัทโท ท่านเกิดปี ค.ศ.๑๙๓๔ / พ.ศ. ๒๔๗๗ ที่เมืองซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน สงครามเวียดนามได้เป็นสาเหตุที่นำท่านเดินทางมาสู่ภาคพื้นเอเซียอาคเนย์ในปี พ. ศ. ๒๕๐๗ และคงจะเป็นสงครามเวียดนามอีกเช่นกันที่ทำให้ท่านอยากจะหาความหมายแห่งชีวิต ท่านคงจะทราบดีว่าตนเองได้มาอยู่ในภูมิภาคที่สามารถจะเสาะแสวงหาภูมิปัญญาอันลึกซึ้งของชีวิตแล้ว จึงได้ตัดสินใจบวชเข้าสู่เพศบรรพชิตที่จังหวัดหนองคายในราวสามปีหลังจากที่ท่านได้จากบ้านเกิดมา และต่อมาก็ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อชาและฝึกการปฏิบัติแบบพระป่าที่วัดป่านานาชาติ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเวลาถึง ๑๐ปี ราวปี พ.ศ. ๒๕๒๐ หลวงพ่อชาได้พาลูกศิษย์ซึ่งเป็นพระฝรั่งสี่รูปคือ ท่านสุเมโธ ท่านเขมะธัมโม ท่านอานันโทและท่านวีรธัมโม เดินทางมาโปรดญาติโยมที่อังกฤษ ผู้คนศรัทธาคำสอนของหลวงพ่อมากและขอร้องให้หลวงพ่ออนุญาติให้พระฝรั่งของท่านอยู่ต่อเพื่อช่วยงานเผยแผ่คำสอนของศาสนาพุทธในอังกฤษ ท่านอาจารย์สุเมโธจึงได้กลายเป็นพระผู้นำในประเทศอังกฤษเผยแผ่คำสอนที่เรียบง่ายของหลวงพ่อชาให้แก่ผู้ศรัทธาในอังกฤษและยุโรป จากวิหารแฮมสเต็ดในชานกรุงลอนดอนซึ่งหลวงพ่อชามาอยู่กับพระฝรั่งของท่านในตอนแรกนั้น ก็ค่อย ๆ ขยับขยายออกไป ปี พ. ศ. ๒๕๒๒ วัดป่าจิตวิเวกที่ชิตเฮิร์สต์ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นตลอดจนวัดในสาขาอีกสามสี่แห่งในอังกฤษ และในที่สุดในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ฐานแห่งการเผยแผ่ธรรมก็ได้มาปักหลักที่วัดอมราวดี ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงลอนดอนนัก ได้มีการก่อสร้างวิหารและขยับขยายวัดตั้งแต่บัดนั้นจนถึงบัดนี้ วัดอมราวดีได้กลายเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรมที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงโด่งดัง ทั้งในอังกฤษและยุโรป ได้มีการจัดองค์กรอันเป็นระบบและมีระเบียบอย่างยิ่ง ในพรรษาที่ผ่านมานี้มีพระสงฆ์ทั้งชาวเอเซียและชาวตะวันตกกว่า ๔๐ รูป แม่ชีราว ๒๐ ท่าน นอกจากนั้นก็มีผ้าขาว และฆราวาสที่อยู่ปฏิบัติอย่างถาวร ซึ่งเปิดโอกาสให้ชาวตะวันตกมากมายได้เข้ามาเรียนรู้การปฏิบัติในพระพุทธศาสนา รวมทั้งชาวพุทธเอเซียในอังกฤษเช่น ไทย จีน ลังกา ลาว เขมร พม่า ก็สามารถเข้ามาทำบุญตามประเพณี ซึ่งนับว่าเป็นผลงานอันทรงคุณค่าที่ท่านสุเมโธได้ทำด้วยความเสียสละอย่างต่อเนื่องเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมตะวันตก จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ในชั้นเจ้าคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและมีนามใหม่ว่า พระสุเมธาจารย์ อันเนื่องจากผลงานที่ดีเด่นของท่าน ซึ่งเป็นพระฝรั่งรูปแรกและรูปเดียวที่ได้รับสมณศักดิ์ดังกล่าว แต่ชาววัดอมราวดีมักจะเรียกท่านอย่างเรียบง่ายว่า หลวงพ่อสุเมโธ







            ดิฉันได้มีโอกาสไปกราบนมัสการหลวงพ่อสุเมโธเมื่องานทอดกฐินที่วัดอมราวดีในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๒ ซึ่งเดี๋ยวนี้มีวิหารถาวรที่ใหญ่โตสามารถจุคนได้หลายร้อยคน ในวันนั้นมีพุทธศาสนิกชนหลายเชื้อชาติมาร่วมงานกันอย่างคับคั่งราว ๓๐๐–๔๐๐ คน ภาพของพระสงฆ์ นักบวชหญิง และผ้าขาวร่วม๘๐ท่านที่เดินเหิรด้วยท่ามุทราอันสงบและมีสติเพื่อมารับอาหารบิณฑบาตรจากญาติโยมผู้ใจบุญและศรัทธาที่เรียงแถวกันอย่างเป็นระเบียบรอบวิหารนั้นทำให้ดิฉันเกือบลืมไปว่านี่เป็นเมืองอังกฤษ มันเป็นภาพที่สร้างความปีติปราโมทย์ให้ดิฉันเป็นอย่างยิ่ง ดิฉันอดนึกถึงหลวงพ่อชาไม่ได้ว่าท่านคงจะต้องภูมิใจในพระฝรั่งของท่านมากเพียงใดหากท่านได้มาเห็นภาพเช่นนี้ ดิฉันขอถือโอกาสนี้อนุโมทนาในผลงานอันทรงคุณค่ายิ่งของหลวงพ่อสุเมโธ และกราบขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงที่กรุณาเขียนคำนำให้กับหนังสือเล่มนี้ของดิฉัน ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งในความเมตตาของท่านเป็นอย่างยิ่ง



 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง