Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรื่อง สีลัพพตปรามาส อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 2:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ปรามาส -ใช้มากอีกอย่างหนึ่งในรูปที่เป็นคุณนามว่า “ปรามฏฺฐ”

(ปรามัฏฐะ) แปลว่า “ซึ่งจับต้องแล้ว หรือ จับต้องบ่อย ๆ”

หมายความว่า แปดเปื้อน หรือเสียความบริสุทธิ์ไปแล้ว

ท่านอธิบายว่า ถูกตัณหาและทิฏฐิจับต้อง คือเปรอะเปื้อน

หรือไม่บริสุทธิ์ เพราะถูกตัณหาและทิฏฐิเข้ามาเกลือกกลั้วพัวพัน

คือ รักษาศีลบำเพ็ญพรต เพราะอยากได้ผลตอบแทน เป็นลาภยศ

สรรเสริญสุขสวรรค์ หรือ เพราะเข้าใจว่า จะได้เป็นนั่นเป็นนี่

ตามลัทธิหรือทฤษฎีที่ยึดถือเอาไว้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 2:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ศีล ที่บริสุทธิ์จึงเรียกว่าเป็น “อปรามฏฺฐ” ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิ

แตะต้องให้เปรอะเปื้อน ประพฤติด้วยปัญญา ถูกต้องตามหลักการ

และความมุ่งหมาย เป็นไท คือไม่เป็นทาสของตัณหาและทิฏฐินั้น

เป็นศีลระดับพระโสดาบัน- (เช่น สํ.ม. 19/1412/429 ฯลฯ...

แปลอีกอย่างหนึ่งว่า ไม่ถูกปรามาส คือใครๆ ท้วงตำหนิ

ดูหมิ่น หรือ หาเรื่องไม่ได้)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 2:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ลักษณะสุดท้ายของการถือศีลพรตที่พลาดหลัก ก็คือ การถือที่เป็นเหตุ

ให้มาทะเลาะวิวาทเกี่ยงแย้งกันว่าใครดี ใครเลว ท่านผิด ฉันถูก

หรือเป็นเหตุให้ยกตนข่มผู้อื่นว่า เราทำได้เคร่งครัดถูกต้อง คนอื่น

เลวกว่าเรา ทำไม่ได้อย่างเรา เป็นต้น-

(ขุ.สุ.25/412/491; 419/505)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 2:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ



เท่าที่กล่าวมา พอจะสรุปลักษณะการถือศีลพรตที่เป็นสีลัพพตปรามาส

ได้ว่า เป็นการถือด้วยโมหะ หรือ ด้วยตัณหาและทิฏฐิ

ซึ่งแสดงออกในรูปของการถือโดยงมงาย ไม่เข้าใจความมุ่งหมาย

สักว่าทำตามๆกันไปอย่างเถรส่องบาตรบ้าง

ถือโดยหลงผิดว่า ศีลพรตเท่านั้นก็พอให้ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้น หรือ

ถืออย่างเป็นพิธีรีตองศักดิ์สิทธิ์ว่าทำไปตามนั้นแล้ว ก็จะบันดาลผลสำเร็จ

ให้เกิดเองบ้าง

ถือโดยรู้สึกว่าเป็นข้อบังคับลอยๆ เป็นเครื่องบีบคั้นขืนใจไม่รู้ว่าจะทำไป

เพื่ออะไร เพราะไม่เห็นโทษของสิ่งที่พึงงดเว้น ไม่ซาบซึ้งในคุณ

ของการละเว้นสิ่งที่ชั่วเลวและการที่จะทำตามข้อปฏิบัตินั้น จำใจทำไป

ไม่เห็นประโยชน์บ้าง

ถือเพราะอยากได้เหยื่อล่อ เช่น โชคลาภ กามสุข เป็นต้นบ้าง

ถือเพราะมีความเห็นผิดในจุดหมายว่า ศีลพรตจะทำให้ได้เป็นนั่น

เป็นนี่บ้าง

ถือแล้วเกิดความหลงตัวเอง มีอาการยกตนข่มผู้อื่นบ้าง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 3:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


ลักษณะการรักษาศีลบำเพ็ญพรต หรือ ประพฤติวัตรที่ถูกต้อง ไม่เป็น

สีลัพพตปรามาส ก็คืออาการที่พ้นจากความผิดพลาดที่กล่าวแล้วข้าง

ต้น ซึ่งแสดงออกด้วยการปฏิบัติที่เกิดจากความตระหนัก

ว่ากระทำเพื่อฝึกหัดขัดเกลาตนเอง

เพื่อเป็นบาทของสมาธิ

เพื่อความสงบเรียบร้อย

เพื่อความดีงามของประชุมชน

ปฏิบัติด้วยมองเห็นโทษของการเบียดเบียน

ทราบซึ้งว่า ความสงบเรียบร้อย ไม่เบียดเบียน เป็นต้น

เป็นสิ่งดี

เห็นคุณเห็นโทษแล้ว ละอายบาป มีฉันทะที่จะเว้นชั่วทำความดี

โดยพร้อมใจตนตลอดจนถึงขั้นสุดท้ายคือ ไม่กระทำชั่วและประพฤติดี

อย่างเป็นไปเอง

มีศีลและวัตรเกิดขึ้นในตัวเป็นปกติธรรมดา ไม่ต้องฝึก ไม่ต้องฝืน

เพราะไม่มีกิเลสที่จะเป็นเหตุให้ทำความชั่ว เข้าลักษณะของฐานหนึ่ง

ใน 6 ที่พระอรหันต์น้อมใจไป คือ ข้อที่ว่า พระอรหันต์น้อมใจดิ่งไป

ในภาวะที่ไม่มีการเบียดเบียน มิใช่เพราะถือสีลัพพตปรามาส

แต่เพราะหมดราคะ หมดโทสะ หมดโมหะ


(วินย.5/3/9; ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 3:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


เบื้องแรก

ศีล เป็นความประพฤติปกติ เพราะฝีกปฏิบัติให้เคยชินเป็นนิสัย และเพราะ

แรงใจที่มุ่งมั่น ฝึกตนให้ก้าวหน้าในคุณความดี


ส่วนเบื้องปลาย

ศีล เป็นความประพฤติปกติ เพราะหมดสิ้นเหตุปัจจัยภายในที่จะให้หา

ทางทำสิ่งที่ไม่ดี

ผู้ปฏิบัติผิดก็อาจมีศีลวัตร แต่เป็นสีลัพพตปรามาส

ผู้ปฏิบัติถูกก็มีศีลวัตรดังที่เรียกว่า “สีลวตูปฺปนฺน” (สีลวตูปปันนะ)

แปลว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลพรต (องฺ.ติก.20/499/214) บ้าง

จะว่าบริสุทธิ์ด้วยศีลพรตก็ไม่ถูก

บริสุทธิ์ได้โดยไม่ต้องมีศีลพรตก็ไม่ถูก (ขุ.สุ.25/426/498)

แต่อยู่ที่ศีลพรตที่ไม่เป็นสีลัพพตปรามาส พรตหรือวัตรอาจไม่จำเป็น

เฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคฤหัสถ์

แต่ศีลเป็นอปรามัฏฐ์ คือ บริสุทธิ์ ไม่คลาดหลักความจริง ไม่เปรอะ

ด้วยตัณหาและทิฏฐิ เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับความบริสุทธิ์หลุดพ้น

ในทุกกรณี

(สํ.ม.19/1412/428-1628/514)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 3:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

สรุปให้สั้นที่สุด หลักการของศีลวัตร ก็มีเพียงว่า เมื่อบุคคลถือปฏิบัติศีล

วัตรใดแล้ว อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ศีลวัตรอย่างนั้น

ผิดพลาดไร้ผล

เมื่อบุคคลถือปฏิบัติศีลวัตรใดแล้ว กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อมถอย

ศีลวัตรอย่างนั้น ถูกต้องมีผลดี

(องฺ.ติก.20/518/289; ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 3:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ตราบใด ยังเป็นปุถุชน การถือมั่นถือพลาดในศีลวัตรก็ยังมีอยู่

ไม่มากก็น้อย ตามสัดส่วนของตัณหา ทิฏฐิ หรือ โมหะที่เบาบางลง

อย่างน้อยก็ยังมีอาการฝืนใจหรือข่มไว้ จึงยังไม่พ้นขั้นที่รักษาศีล

ด้วยความยึดมั่นในศีล และถือเกินเลยคลาดสภาวะไปบ้าง

ต่อเมื่อใด เป็นพระโสดาบัน กิเลสหยาบหมดไป จึงได้ชื่อว่า

เป็นผู้บำเพ็ญบริบูรณ์ในศีล- (เช่น องฺ.ติก.20/526/298; ฯลฯ )

การรักษาศีลจึงจะเป็นไปเอง เพราะเป็นศีลอยู่ในตัว เป็นปกติธรรมดา

ไม่ต้องฝึก ไม่ต้องฝืนอีกต่อไป และถือพอดีๆ ตรงตามหลัก

ตามความมุ่งหมาย ไม่หย่อน ไม่เขว ไม่เลยเถิดไป.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง