Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การทำงานต้องมีสมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 9:37 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การทำงานต้องมีสมาธิ เป็นหัวข้อกระทู้ที่หลายๆท่าน พออ่านแล้วก็คงแทบไม่อยากอ่านต่อ แต่ถ้าได้อ่านต่อไปจนจบ ก็จะรู้ว่า ทำไมข้าพเจ้าจึงได้นำมาเขียน

การทำงานทุกชนิด ก็ย่อมเป็นไปตามลักษณะงาน อันเป็นอาชีพต่างๆที่แต่ละคน ล้วนได้ประพฤติ ปฏิบัติ เพื่อเลี้ยงชีพ อันเป็นการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์

สมาธิ คือ การรู้จักควบคุมความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งในทางพุทธศาสนานั้น ให้ความหมายของความมีสมาธิว่า "ความตั้งมั่นในจิตใจ" ซึ่งเมื่อขยายความแล้ว ก็คงได้ความหมายดังที่ได้กล่าวไป

สมาธิ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ หมายความว่า มนุษย์(หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ล้วนมีสมาธิ อยู่เองตามธรรมชาติ เพราะความมีสมาธิของมนุษย์นั้นเอง จึงเกิดเป็นผลแห่งสมาธิ ในตัวของแต่ละบุคคล ซึ่งในทางพุทธศาสนา เรียกว่า สติ สัมปชัญญะ

เมื่อข้าพเจัาได้อธิบายความเกี่ยวกับสมาธิพอสังเขปแล้ว
ก็จะมากล่าวถึงการทำงานของทุกอาชีพ
ความจริงแล้ว การทำงานของบุคคลในทุกอาชีพ ล้วนต่างก็มีสมาธิเป็นเครื่องประกอบ หรือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญยิ่ง รองลงไปก็ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการทำงาน หรือวิชาชีพอันเกี่ยวข้องกับอาชีพนั้น ๆ
ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว ทั้งสมาธิ และความรู้ ความเข้าใจ ในวิชาชีพ อันเกี่ยวข้องกับอาชีพนั้นๆ จะสัมพันธ์กัน เพราะเป็นไปตามธรรมชาติอยู่แล้ว
การทำงานต้องมีสมาธิ ไม่ได้มีความหมายว่า เวลาทำงานต้องปฏิบัติสมาธิไปด้วย
แต่การทำงานต้องมีสมาธิ หมายความว่า ขณะทำงานนั้นๆ ต้องมี สัปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว คือต้องรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าขณะนั้นกำลังทำงานอะไร
และต้องมี สติ คือ มีความระลึกได้ คือ ต้องระลึกได้อยู่เสมอว่าเรากำลังทำงานอะไร ต้องระลึกได้ถึงหลักการ ความรู้ ความเข้าใจ หรือวิชาชีพ อันเกี่ยวข้องกับการทำงานนั้นๆ
เพราะคำว่าสมาธิ เป็นเพียงชื่อเรียก หรือเป็นเพียงเหตุที่ให้ถึง แต่หนทางหรือผลที่เกิดจากสมาธิ อันเรียกว่า สติ สัมปชัญญะ นั้น จะเป็นเครื่องช่วย เป็นปัจจัยหลัก เป็นธรรมชาติ ที่มนุษย์ มีติดตัวอยู่แล้ว ซึ่งล้วนได้รับจาก กรรมพันธุ์ การได้รับการขัดเกลาทางสังคม จารีตวัฒนะธรรม ประเพณี และด้านอื่นๆ
ความจริงแล้ว มนุษย์ส่วนใหญ่จะทำงานโดยมีสมาธิ ไปเองตามธรรมชาติ แต่การกระทำใดใดที่ทำได้แต่ไม่รู้หลักวิชาการเลย ก็จักทำให้สภาพจิต สภาพการทำงาน อาจไม่ดีขึ้น หรือไม่มีการพัฒนา
แต่ถ้าหากบุคคลรู้ และเข้าใจในสภาพของตัวเองกับการทำงานแล้วละก้อ ย่อมสามารถควบคุมบังคับ ตัวเองให้อยู่ในกรอบ สามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการทำงาน ไม่ว่าจะอยู่ในองค์กรใดใด ให้เจริญก้าวหน้า อย่างดียิ่ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ค.2008, 9:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การที่ข้าพเจ้าเขียนบทความนี้ขึั้นมา ก็เพื่อเป็นความรู้ สำหรับท่านทั้งยังไม่รู้
ว่าคำว่าสมาธิ แท้จริงแล้วคือสภาพสภาวะทางจิตใจเป็นเช่นไร อีกทั้งบุคคลโดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่รู้ว่า เวลากระทำกิจการใดใดต้องมีสมาธินั้น เป็นอย่างไร เพราะทุกคนมีสมาธิโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นการที่บุคคลกระทำไปโดยไม่รู้ ก็เท่ากับว่า ไม่มีความรู้ อะไรเลย ไม่สมกับที่เป็นผู้ศรัทธาในพุทธศาสนา ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้นำมาเขียนอธิบายพอสังเขป เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เพราะความรู้ ความเข้าใจในสิ่งใดก็ตาม ย่อมสามารถพัฒนา แก้ไข เปลี่ยนแปลง ตัวบุคคลให้ดีขึ้นได้ ในทุกด้าน
อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้บุคคลรู้คุณค่า และรู้รักษา หลักการวิธีการทางพุทธศาสนา อย่างถูกหลักวิธี มิให้หลงมัวเมาไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
ที่ข้าพเจัากล่าวว่า หลงมัวเมาในทางที่ไม่ถูกต้องนั้น มิได้หมายความว่า ผิดนะขอรับ เพียงแต่ พฤติกรรมบางอย่างของผู้เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนานั้น เป็นพฤติกรรมที่สร้างกิเลส ตัณหาให้เพิ่มพูนขึั้น มิใช่สร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อขจัดกิเลสตัณหา ถึงแม้ว่า พฤติกรรมบางอย่างของผู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา จะนำพาให้บุคคลผู้หลงมัวเมานั้น หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งมันก็เป็นเพียงขั้นหยาบ เท่านั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2008, 10:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพราะคำว่าสมาธิ เป็นเพียงชื่อเรียก หรือเป็นเพียงเหตุที่ให้ถึง แต่หนทางหรือผลที่เกิดจากสมาธิ อันเรียกว่า สติ สัมปชัญญะ นั้น จะเป็นเครื่องช่วย เป็นปัจจัยหลัก เป็นธรรมชาติ ที่มนุษย์ มีติดตัวอยู่แล้ว ซึ่งล้วนได้รับจาก กรรมพันธุ์ การได้รับการขัดเกลาทางสังคม จารีตวัฒนะธรรม ประเพณี และด้านอื่นๆ


ตกลง สติ สัมปชัญญะ เกิดจากสมาธิ ตามกระทู้ข้างบนนี้

หมายถึงว่า ที่เรารู้ลึกตัวอยู่ แต่ไม่มีสมาธิ ก็ไม่มีสติ

เมือไม่มีสติก็สิ้นสติ

หมายถึงสูญเสียสติ

เสียสติ

ใช่ไหมเอ่ย พ่อคูณ

เฮอ!!!! อ่านแล้วสูญเสียจริงๆ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2008, 8:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าต้องมีสมาธิก่อนจึงมีสติ

แล้วจะเอาอะไรมาทำสมาธิ

เจ้าของกระทู้ตอบหน่อย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2008, 8:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Buddha พิมพ์ว่า:
การที่ข้าพเจ้าเขียนบทความนี้ขึั้นมา ก็เพื่อเป็นความรู้ สำหรับท่านทั้งยังไม่รู้
ว่าคำว่าสมาธิ แท้จริงแล้วคือสภาพสภาวะทางจิตใจเป็นเช่นไร อีกทั้งบุคคลโดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่รู้ว่า เวลากระทำกิจการใดใดต้องมีสมาธินั้น เป็นอย่างไร เพราะทุกคนมีสมาธิโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นการที่บุคคลกระทำไปโดยไม่รู้ ก็เท่ากับว่า ไม่มีความรู้ อะไรเลย ไม่สมกับที่เป็นผู้ศรัทธาในพุทธศาสนา ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้นำมาเขียนอธิบายพอสังเขป เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เพราะความรู้ ความเข้าใจในสิ่งใดก็ตาม ย่อมสามารถพัฒนา แก้ไข เปลี่ยนแปลง ตัวบุคคลให้ดีขึ้นได้ ในทุกด้าน
อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้บุคคลรู้คุณค่า และรู้รักษา หลักการวิธีการทางพุทธศาสนา อย่างถูกหลักวิธี มิให้หลงมัวเมาไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
ที่ข้าพเจัากล่าวว่า หลงมัวเมาในทางที่ไม่ถูกต้องนั้น มิได้หมายความว่า ผิดนะขอรับ เพียงแต่ พฤติกรรมบางอย่างของผู้เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนานั้น เป็นพฤติกรรมที่สร้างกิเลส ตัณหาให้เพิ่มพูนขึั้น มิใช่สร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อขจัดกิเลสตัณหา ถึงแม้ว่า พฤติกรรมบางอย่างของผู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา จะนำพาให้บุคคลผู้หลงมัวเมานั้น หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งมันก็เป็นเพียงขั้นหยาบ เท่านั้น

ท่านทั้งหลาย เรื่องของศัพท์ภาษา ต้องทำความเข้าใจ อย่าทำเป็นอวดฉลาด ดังตัวอย่างที่ท่านได้อ่านในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลต่างๆ
ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจ คิดพิจารณาให้ดี
สติ สัมปชัญญะ ในทางศาสนานั้น ต่างกับภาษาพูด ที่เขาใช้กันว่า "สิ้นสติ" เพราะคำว่า"สิ้นสติ"นั้น หมายถึงสลบ หรือไม่รู้สึกตัว เนื่องจากเหตุใดเหตุหนึ่ง
แต่คำว่า "สติ ในทางศาสนานั้น หมายถึง ความระลึกได้ "
และกระทู้นี้ก็เขียนเรื่อง "การทำงานต้องมีสมาธ" ความหมายก็บ่งบอกอยู่แล้วว่า ทำงานขณะตื่น ไม่ใช่ขณะ นอนหลับ หรือสลบ ไป
ดังนั้น หากท่านทั้งหลายอ่านข้อแสดงความคิดเห็น ของบุคคลประเภท อวดรู้ คิดว่าตัวเองฉลาด ก็ต้องใช้วิจารณญาณให้ดี ฮ่า ฮ่า ฮ่า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2008, 8:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก็คุณบอกว่าต้องมีสมาธิถึงจะมีสติไม่ใช่หรื่อ

แล้วยังจะมาพร่ามอะไรอีก

อวดฉลาดเองนี่

ไม่ใช่

ต้องเรียกว่าโง่แล้วยังอวดฉลาด

หลักฐาน ท่านผู้อ่านย้อนขึ้นไปอ่านข้างบน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2008, 9:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สติ สัมปชัญญะ ในทางศาสนานั้น ต่างกับภาษาพูด ที่เขาใช้กันว่า "สิ้นสติ" เพราะคำว่า"สิ้นสติ"นั้น หมายถึงสลบ หรือไม่รู้สึกตัว เนื่องจากเหตุใดเหตุหนึ่ง

แล้ว๓ษาพูดกับภาษาศาสนาต่างกันตรงไหน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2008, 9:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บอกเองไม่ใช่หรือว่าต้องมีสมาธิแล้วจึงมีสติ

อยางนี้คนทั้งโลกคงสิ้นสติเกือบทั้งหมด

ถามจริงๆเถอะ พอหรือยัง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 11:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจริญในธรรม ทุกท่าน สาธุ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง