Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ถึงคุณตรงประเด็น อนุรักษ์ “สัมมาสมาธิ” ไม่ใช่การนั่งหลับตา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ค.2008, 6:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16413&postdays=0&postorder=asc&start=20

อ้างอิงจาก:
ขออนุญาต สรุปประมวล การเจริญ สมถะ-วิปัสสสนา เป็นดังนี้


1.เจริญวิปัสสนาล้วนๆ100% โดยไม่มีส่วนของสมถะมาเจือปน

2.เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า

3.เจริญสมถะควบคู่กับวิปัสสนา

4.การเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า

5.เจริญสมถะล้วนๆ100% โดยไม่มีส่วนของวิปัสสนามาเจือปน
---------------------------------------------------------------

คุณตรงประเด็นครับ มีการปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ แบบไม่ต้องอาศัย สมาธิ ด้วยหรือครับ ?



แต่การปฏิบัติในแนว วิปัสสนายานิกะ เช่น อิริยาบถบรรพะ ล้วนต้องอาศัย สมาธิ ที่เป็น ขณิกะสมาธิ เป็นขณะ ๆ กับ อิริยาบถที่เป็นปัจจุบัน

เพียงแต่ไม่ได้นั่งหลับตา ให้เกิดสมาธิขั้นสูงจนได้ฌาน แล้วยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนาต่อเท่านั้น

ผมว่าคุณตรงประเด็นเข้าใจเรื่อง การปฏิบัติวิปัสสนาผิดแล้วครับ

ฟังท่านผู้รู้ท่านบรรยายไว้ดีกว่าครับ
----------------------------------------------------
สมถะ - วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16060&sid=57d63dee7c69912c1d6603d436dc1066

-----------------------------------
สมถะ - วิปัสสนา
http://larndham.net/index.php?showtopic=26325&per=1&st=2&#entry369546
--------------------------------------

วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา

http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10082



โดยมากชาวพุทธผู้ที่สนใจการปฏิบัติธรรม มักจะพูดกันเสมอว่า การที่จะเจริญวิปัสสนาในเบื้องต้น จำเป็นจะต้องทำสมถะเสียก่อนแล้วจึงจะทำวิปัสสนาต่อไป ถ้าไม่ทำสมถะเสียก่อนแล้ว จะก้าวขึ้นไปทำวิปัสสนาได้อย่างไร เพราะสมถะเป็นเบื้องต้นของวิปัสสนา


เท่าที่ผู้วิจัยเคยสังเกตมา ส่วนมากมักจะเป็นแบบนี้แทบทั้งนั้น เพื่อจะทำความเข้าใจให้เกิดขึ้นโดยยึดพระปริยัติเป็นหลัก ก็ใคร่ที่จะขออธิบายให้เป็นที่เข้าใจกันเสียในที่นี้เลย


อันที่จริง แนวในการปฏิบัติธรรม เพื่อทำใจให้หมดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ทรงวางไว้แล้ว โดยแยกการปฏิบัติออกเป็น ๒ แนว คือ




แนวที่ ๑ เรียกว่า "สมถยานิกะ" คือ เจริญฌานสมาบัติให้เกิดขึ้นเสียก่อน แล้วให้ฝึกหักฌานจนเกิดเป็นวสี ๕ คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ จากนั้นจึงค่อยต่อเป็นวิปัสสนา โดยเข้าฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จากนั้นก็ให้ยกเอาองค์ของฌานเท่ที่ตนจะเข้านั้น เฉพาะองค์ที่ชัดที่สุดขึ้นพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์


การเจริญวิปัสสนาปัญญาแบบที่ว่านี้ท่านเรียกว่า "สมถยานิกะ" ถ้าสำเร็จมรรค-ผล ท่านก็เรียกผู้สำเร็จแนวที่ว่านี้ว่า "เจโตวิมุตติ" อาจมีชื่อพิเศษเป็น เตวิชโช ฉฬภิญโญ คือ ผู้ที่ได้วิชชา ๓ หรือผู้ได้อภิญญา ๖ เป็นต้น




แนวที่ ๒ เรียกว่า "วิปัสสนายานิกะ" คือ เจริญวิปัสสนาปัญญาล้วนๆ ทีเดียว โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องไปทำฌานสมาบัติอะไรให้เกิดขึ้นก่อนก็ได้ พอเริ่มทำก็กำหนดนามรูปกันทีเดียว


หมายความว่า พอตนเรียนอารมณ์ พร้อมทั้งวิธีกำหนดจากอาจารย์ผู้สนอจนเข้าใจแล้ว ก็ลงมือปฏิบัติหลังจากที่ตนได้สถานที่ที่สบาย บุคคลที่สบาย ละปลิโพธกังวลเล็กๆ น้อยๆ หมดแล้ว ก็ทำวิปัสสนาได้ทีเดียว พอวิปัสสนาเกิดขึ้นตนเองก็จะต้องประคองพลธรรมทั้ง ๕ ประการ มีศรัทธาเป็นต้นให้เสมอภาคกัน ในไม่ช้าก็จะสามารถแยกฆนสัญญาออกจากกันได้


เมื่อสามารถทำลายฆนสัญญาให้แตกออกจากกันได้แล้ว นามรูปก็จะปรากฎขึ้น ถ้าผู้ปฏิบัติพยายามทำต่อไปโดยไม่ลดละก็สามารถที่จะบรรลุถึงมรรค-ผล ได้ตามประสงค์ วิธีปฏิบัติแบบหลังที่ว่านี้ท่านเรียกว่า "ปัญญาวิมุตติ" และจะได้ชื่อพิเศษว่า "สุขวิปัสสโก" ที่มักแปลกันว่า "เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง"
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ค.2008, 6:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากหนังสือ พุทธวิทยาน่ารู้ ของพระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล) เกี่ยวกับคู่มือวิปัสสนาเบื้องต้น ซึ่งผมเห็นว่าพระครูศรีโชติญาณ เป็นผู้หนึ่งที่เชี่ยวชาญทั้งด้าน คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระhttp://abhidhamonline.org/sw.htm
--------------------------------------------------------------------------
ก่อนอื่นผู้ที่ประสงค์จะปฏิบัติวิปัสสนา จำเป็นจะต้องรู้หลักของการปฏิบัติสักเล็กน้อยก่อน เพราะถ้าไม่รู้หลักของการปฏิบัติ ก็จะปฏิบัติกันไม่ถูก อันนี้แหละที่เราเรียกว่ากันว่า " ปริยัติ" สำหรับในที่นี้จำเป็นจะขอแนะนำว่า การปฏิบัติวิปัสสนา ในทางพระพุทธศาสนาของเรานั้น มีอยู่ด้วยกัน ๒ แบบ คือ
แบบที่ ๑ เรียกว่า " สมถยานิกะ " คือ ทำฌานให้เกิดขึ้นเสียก่อน จนมีวสี ๕ อย่างคล่องแคล่วแล้วจึงถอนจิตออกจากฌาน แล้วจึงจะทำวิปัสสนาต่อไปได้โดยยกเอาองค์ฌานที่ปรากฏชัดที่สุดมาพิจารณา โดยความเป็นพระไตรลักษณ์
แบบที่ ๒ เรียกว่า " วิปัสสนายานิกะ " วิธีหลังนี้ทำวิปัสสนาล้วน ๆ เลย โดยที่ไม่มีสมถะที่เป็นฌานเข้ามาเจือปนเลย ที่พูดนี้อาจมีผู้สงสัยว่า ถ้าไม่สมถะให้เกิดสมาธิเสียก่อนแล้ว จะไปทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้นได้อย่างไร เรื่องนี้ขอตอบว่าการทำตามวิธีที่ ๒ นี้ มิใช่จะปฏิเสธสมาธิแต่ผู้ที่สงสัย ต้องไม่ลืมว่าวิปัสสนานั้น อาศัยเกิดบนฐานของขณิกสมาธิที่มีอยู่(สมาธิที่เป็นขณะ ๆ ) ไม่ใช่สมาธิที่เป็นอุปจาระหรืออัปปนาอย่างที่บางคน หรือบางสำนักมีความเข้าใจกัน เพราะผู้ที่จะเจริญวิปัสสนาจำเป็นต้องเจริญไตรสิกขาไปพร้อมกัน ๆ กันทีเดียว มิใช่จะเจริญเพียงสิกขาใด สิกขาหนึ่งโดยเฉพาะก็หาไม่ หมายความว่า ขณะกำหนดอารมณ์ ศีล สมาธิ และปัญญา จะต้องร่วมทำกิจในอารมณ์เดียวกันนั่นเอง
------------------------------------------------------------------------
-http://geocities.com/toursong1/thang/00.htm
-http://geocities.com/toursong1/thang/07.htm

ถาม การเจริญวิปัสสนา ต่างกับการเจริญสมถะอย่างไรบ้าง

ตอบ ต่างกันโดยอารมณ์ ต่างกันโดยปหานะ ต่างกันโดยกิจ ต่างกันโดยลักษณะ ต่างกันโดยอานิสงส์ และต่างกันโดยสภาวะ คือ การเจริญวิปัสสนา เป็นการทำปัญญาที่รู้ซึ้งถึงนามรูปพร้อมด้วยลักษณะให้เกิดขึ้น ส่วนการเจริญสมถะนั้นเป็นการทำสมาธิที่ตั้งมั่นในบัญญัติกรรมฐานอารมณ์ให้เกิดขึ้น แต่ถ้าจะว่ากันโดยอารมณ์แล้ว วิปัสสนาก็มีพระไตรลักษณ์ซึ่งเป็นลักษณะของนามรูปเป็นอารมณ์ แต่สมถะนั้นมีบัญญัติกรรมฐานมีกสิณเป็นต้นเป็นอารมณ์ ถ้าจะว่ากันโดยปหานะคือการละแล้ว วิปัสสนาก็จัดเป็นตทังคะปหานะคือละอนุสัยกิเลสอันมีทิฏฐานุสัยเป็นต้นที่นอนเนื่องอยู่ในโลกียจิตทุกๆดวง ตลอดระยะเวลาที่วิปัสสนานั้นเกิดขึ้น ส่วนสมถะก็เป็นได้เพียงวิขัมภนปหานะคือ ละได้ด้วยการกดหรือข่มนิวรณ์ ๕ ซึ่งเป็นกิเลสอย่างกลางเข้าไว้ได้ด้วยอำนาจขององค์ฌานเท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจที่จะละอนุสัยกิเลสได้เหมือนวิปัสสนา ถ้าจะว่ากันโดยกิจแล้ว วิปัสสนามีกิจกัจัดอวิชชาคือความไม่รู้ซึ้งสภาวะความจริงที่เป็นม่านมืดคอยปกปิดสภาวะความจริงของอารมณ์อยู่ ส่วนสมถะนั้นมีกิจกำจัดนิวรณ์๕มีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้น ถ้าจะว่ากันโดยลักษณะแล้ว วิปัสสนามีลักษณะรู้แจ้งแทงตลอดถึงสภาวะความจริงของอารมณ์เป็นลักษณะ ส่วนสมถะมีความไม่ฟุ้งซ่านตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเป็นลักษณะ แต่เมื่อจะว่ากันโดยอานิสงส์แล้ว วิปัสสนามีอาสวขัย คอความสิ้นจากกิเลสทั้งปวงในชาติปัจจุบัน และมีการสิ้นชาติสิ้นภพในอนาคตชาติเป็นอานิสงส์ ส่วนสมถะนั้นก็มีอานิสงส์ทำให้ได้อภิญญาสมาบัติทั้ง ๕ มีหูทิพย์ ตาทิพย์เป็นต้น เป็นคนมีจิตใจเยือกเย็นเนื่องจากสงบระงับนิวรณ์ที่มากลุ้มรุมจิตใจเสียได้ในชาติปัจจุบัน ส่วนอานิสงส์ในอนาคตชาตินั้น สมถะก็มีอานิสงส์ให้เกิดในพรหมโลกได้ ถ้าจะว่ากันโดยสภาวะของธรรมะทั้งสองอย่างนั้นแล้ว วิปัสสนาเป็นเรื่องของปัญญาโดยตรง ส่วนสมถะนั้นเนเรื่องของสมาธิโดยเฉพาะซึ่งไม่เกี่ยวกับปัญญาเลย จึงขอให้ท่านผู้สนใจในธรรมพึงรับทราบตามนี้
---------------------------------------------------------------------------------
- ถาม ผู้ที่จะปฏิบัติธรรมตามแนวมหาสติปัฏฐาน จำเป็นจะต้องประกอบด้วยอง๕คุณเท่าไร อะไรบ้าง
ตอบ จำเป็นจะต้องประกอบด้วยองค์คุณ ๓ ประการ คือ

ก. อาตาปี ต้องมีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสที่เป็นไปติดต่อตามหลักของปธานความเพียร ๔ อย่าง คือ เพียรละความเข้าใจผิดในนามรูปเก่าๆที่เกิดแล้ว เพียรระวังไม่ให้ความเข้าใจผิดในนามรูปใหม่ๆที่มันยังไม่เกิดอย่าให้เกิดขึ้นได้ เพียรทำโยนิโสมนสิการคือความเข้าใจถูกในนามรูปที่มันยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นให้ได้ และเพียรพยายามทำโยนิโสมนสิการคือความเข้าใจถูกตามความเป็นจริงของนามรูปที่มันเกิดขึ้นแล้วอย่าให้เสื่อมไป เมื่อจะพูดกันอย่างฟังง่ายๆก็คือ ถ่ายเทความเข้าใจผิดในนามรูปที่เรียกว่าวิปลาสธรรมเก่าๆออกไปเสีย เปลี่ยนรับเอาแต่เฉพาะความเข้าใจถูกตามความเป็นจริงของนามรูปอันมีโยนิโสมนสิการและวิปัสสนาเป็นต้นเข้ามาแทนที่นั่นเอง

ข. สัมปชาโน คือต้องเป็นผู้ที่เต็มไปด้วยสัมปชัญญะ ๔ คือ

จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าในการที่จะก้าวเท้าไปข้างหน้านั้น จะเป็นประโยชน์แก่สติปัญญาหรือไม่ที่เรียกว่า สาตถกสัมปชัญญะ หนึ่ง

จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าในการที่จะเดินไปนั้น จะเป็นที่สบายแก่สติปัญญาหรือไม่ที่เรียกว่า สัปปายสัมปชัญญะ หนึ่ง

จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าอารมณ์ที่ตนจะประสบนั้น จะเป็นอารมณ์ที่เจริญไปด้วยสติปัญญาหรือไม่ที่เรียกว่า โคจรสัมปชัญญะ หนึ่ง

จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าในการที่จะก้าวเท้าไปข้างหน้าหรือถอยกลับมาข้างหลังเป็นต้นนั้น ตนเองจะรู้เท่าทันกับอารมณ์นั้นหรือไม่ที่เรียกว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ หนึ่ง

ค. สติมา คือจะต้องเป็นผู้ที่ประกอบไปด้วยสติที่ตั้งอยู่บนมูลฐาน ๔ อย่างมีกายานุปัสสนาเป็นต้น อย่างชนิดที่เป็นไปติดต่อโดยไม่ขาดสาย นั่นแหละจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ที่สมควรในการเจริญสติปัฏฐานได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ค.2008, 6:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่จริง พระวิปัสสนาจารย์สาย วิปัสสนายานิกะ ผู้ทรงพระไตรปิฏก ท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธแนวทาง การปฏิบัติแบบ สมถะยานิกะ เลย


จะมีก็แต่ผู้ที่ไม่เข้าใจการวิปัสสนา เข้าใจผิดว่า สมถะคือวิปัสสนา

รูปแบบการปฏิบัติจึงต้อง นั่งหลับตา อาศัย อัปปนาสมาธิให้ได้ฌานเท่านั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ค.2008, 2:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิปัสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
สมถะมีวิปัสนาเป็นที่สุด
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2008, 10:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เห็นเด้วยกับคุณเฉลิมศักดิ์ คุณ natdanai
เพราะปฏิบัติแล้วเห็นจริงดังนั้น
(แม้จะอึ้งกิมกี่ กับคำศัพท์ ... เยอะมาก ไม่รู้จักซะมาก ตาลาย)


คือถ้าจะเอาแต่ทำให้จิตสงบนิ่ง จะไม่มีวันรู้อะไรเลย
เหมือนจับเด็กมาบังคับให้มันนั่งเรียบร้อย หวีผมแปร้ ไม่หือ ไม่อือ
แล้วก้มาพิจารณาว่าเด็กคนนี้ (จิต) เป็นอย่างไร

มันก็เป็นเด็กดีสิคับ เพราะโดนบงการอยู่
แล้วก็ไปเชื่อว่าเด็กคนนี้ดี (ทั้งที่ตัวเองบังคับเด็ก) เป็นของแท้

แต่พอปล่อยเด็กไปตามธรรมชาติ (ออกจากสมถะ เลิกเจริญจิต เข้าสู่ชิวิตประจำวัน)
เด็กมันก็แสดงพฤติกรรมต่างๆตามธรรมชาติออกมา
แต่เราดันไม่ตามไปดู ไม่ตามไปรู้

เพราะฉะนั้น
ตราบเท่าที่เรายังจับเด็ก(จิตของเรา)มานั่งเรียบร้อย ไม่หือไม่อือ
เราก้จะไม่มีวันเข้าใจเด็กคนนี้ตามธรรมชาติของเขาจริงๆได้เลย

ต้องแอบตามดู ตามรู้ ตลอดเวลาทั้งนั่งสมาธิ หรือใช้ชีวิตประจำวัน
อย่างพอเหมาะพอดี ไม่เคร่งเกินไป ไปเผลอเรอเกินไป
ไม่แทรกแทรงพฤติต่างๆตามธรรมชาติของมัน
จึงจะเห็นของจริง
แล้วจิตจะเรียนรู้เอง โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสมองคิด หรือตำราอะไรเลย
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 9:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ่านเยอะ เป็น งง
อนุโมทนาบุญ สำหรับความรู้ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง