|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
montasavi
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 8:27 am |
  |
...............ปุจฉา วิธีปฏิบัติดังกล่าวมานี้ เป็นวิปัสสนาได้อย่างไร วิปัสสนาท่านให้กำหนดรู้รูป-นาม ขันธ์ ๕ ที่ปรากฏในขณะปัจจุบันเป็นอารมณ์มิใช่หรือ?
..............วิสัชชนา ขอตอบพอเป็นตัวอย่างดังนี้ ขณะที่ส่งจิตจดจ่อไปที่อาการค่อย ๆ พองออกของท้อง พร้อมกับบริกรรมสำทับลงไปว่า พองหนอ ให้บริกรรมกับอาการพองสิ้นสุดลงพอดีกันนั้น อาการค่อย ๆ เคลื่อนออก ขยายออกของวาโยธาตุในท้อง เป็นรูปขันธ์(ในขันธ์๕) ความรู้สึกอึดอัดขณะธาตุลมขยาย หรือชอบใจที่กำหนดได้คล่อง เป็นเวทนาขันธ์ ความจำได้ว่าอาการเช่นนี้เรียกว่าพอง เป็นสัญญาขันธ์ การบริกรรมในใจว่า พองหนอ ความตั้งใจในการกำหนดและความปีติ ปราโมทย์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เป็นสังขารขันธ์ ความรับรู้อาการพองและรู้ว่ารู้ เป็นวิญญาณขันธ์ .....รูปนาม ขันธ์ ๕ ที่เป็นวิปัสสนาภูมิปรากฏขณะปฏิบัติดังนี้แล ฯ
ส่วนการตามเห็นอาการพองไม่คงที่ เปลี่ยนแปลง ดับไป เห็นอาการยุบ ไม่คงที่ เปลี่ยนแปลง ดับไป อย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง แนบสนิทกับอารมณ์นั้น ๆ ที่จิตเข้าไปรับรู้ในปัจจุบันขณะนั้น นั่นเป็นวิปัสสนา เพราะวิปัสสนา แปลว่า อนิจฺจาทิวเสน วิวิเธน อากาเรหิ ธมฺเม ปสฺสตีติ วิปสฺสนา ปัญญาใด ย่อมเห็นสังขตธรรมมีขันธ์เป็นต้น ด้วยอาการต่าง ๆ มีความไม่เที่ยงเป็นต้น ฉะนั้น ปัญญานั้น ชื่อว่า วิปัสสนา |
|
|
|
   |
 |
montasavi
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 8:30 am |
  |
วิธีเจริญวิปัสสนาล้วน ๆ จากประสบการณ์ตรง ( เบื้องต้น )
......... ๑) การเจริญภาวนาในอิริยาบถเเดิน เดินกลับไปกลับมา ก้มหน้าเล็กน้อย ส่งจิตกำหนดดูอาการของเท้าแต่ละจังหวะที่เคลื่อนไปอย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง รับรู้ถึงความรู้สึกของเท้าที่ค่อย ๆ ยกขึ้น ค่อย ๆ ย่างลง และความรู้สึกสัมผัสที่ฝ่าเท้า(อ่อน แข็ง เย็น ร้อน ฯลฯ) ส่งจิตดูอาการแต่ละอาการอย่างจรดแนบสนิทอยู่กับอาการนั้น ไม่วอกแวก จนรู้สึกได้ถึงอาการที่เปลี่ยนไป ดับไปของสภาวะนั้น ๆ เช่น ขณะย่างเท้า ก็รู้สึกถึงอาการลอยไปเบา ๆ ของเท้า พอเหยียบลงอาการลอย ๆ เบา ๆ ก็ดับไป มีอาการตึงๆแข็งเข้าแทนที่ พอยกเท้าขึ้นอาการตึง ๆแข็ง ๆ ก็ดับไป กลับมีอาการลอยเบาๆ โล่งๆเข้าแทนที่ เป็นต้น ยิ่งเคลื่อนไหวช้าๆ ยิ่งเห็นอาการชัด
........และในขณะที่กำลังเดินอยู่นั้น หากมีความคิดเกิดขึ้นให้หยุดเดินก่อน แล้วส่งจิตไปดูอาการคิดโดยไม่ต้องสนใจว่าคิดเรื่องอะไร พร้อมกับบริกรรมในใจว่า คิดหนอๆๆๆ จนกว่าความคิดจะเลือนหายไปเอง หากมีคิดซ้อนคิดก็ให้ตามดูอาการไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะดับสนิท จึงกลับไปกำหนดเดินต่อ อย่ามองซ้ายมองขวา พยายามให้ใจอยู่กับเท้าที่ค่อย ๆ เคลื่อนไปเท่านั้น ถ้าเผลอหรือหลุดกำหนดให้เอาใหม่ เผลอเริ่มใหม่ ๆๆๆ ไม่ต้องหงุดหงิด การปฏิบัติเช่นนี้ เรียกว่า เดินจงกรม ต้องเดิน ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
.......๒) การเจริญาภวนาในอิริยาบถนั่ง ควรนั่งตัวตรง แต่ไม่ต้องตรงมาก ให้พอเหมาะสมกับสรีระของตนเอง นั่งสงบนิ่ง ไม่ขยับเขยื้อนอวัยวะส่วนใดทั้งสิ้น จนสังเกตได้ว่าอวัยวะที่ยังไหวอยู่มีแต่ท้องเท่านั้น ให้ส่งจิตไปดูอาการไหว ๆ นั้นอย่างต่อเนื่อง แค่ดูเฉยๆ อย่าไปบังคับท้อง ปล่อยให้ท้องไหวไปเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ นั่งกำหนดดูอย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง ไม่หลุด ไม่เผลอ ถ้ามีเผลอสติบ้างก็ไม่ต้องหงุดหงิด เผลอ..เอาใหม่ ๆ จนเห็นอาการพอง อาการยุบค่อย ๆ ชัดขึ้น ขณะเห็นท้องพองกำหนดในใจว่า พองหนอ ขณะเห็นท้องยุบกำหนดในใจว่า ยุบหนอ ถ้าหากท้องพอง-ท้องยุบเบา หรือสั้น ก็ให้กำหนดเพียง พอง ยุบ ไม่ต้องใส่หนอต่อท้าย บางครั้งท้องนิ่ง พอง-ยุบไม่ปรากฏก็ให้กำหนดรู้อาการท้องนิ่งนั่น รู้หนอๆๆ หรือ นิ่งหนอๆๆ บางครั้งพอง-ยุบเร็วแรงจนกำหนดไม่ทัน ก็ให้กำหนดรู้อาการนั้น รู้หนอๆๆ
......ถ้าขณะนั่งกำหนดอยู่มีความคิดเข้ามาให้หยุดกำหนดพอง-ยุบไว้ก่อน ส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า คิดหนอๆๆ แรงๆ เร็วๆ โดยไม่ต้องสนใจว่าคิดเรื่องอะไร พออาการคิดจางไปแล้ว หรือหายไปโดยฉับพลัน ให้กำหนดดูอาการที่หายไป รู้หนอๆๆ แล้วรีบกลับไปกำหนดพอง-ยุบต่อทันที อย่าปล่อยให้จิตว่างจากการกำหนดเด็ดขาด
ขณะที่กำหนดอยู่นั้น ถ้าเกิดอาการปวดขา หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมา ให้ทิ้งพอง-ยุบไปเลย แล้วส่งจิตไปดูอาการปวดนั้น บริกรรมในใจว่า ปวดหนอๆๆ พยายามกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง แต่อย่าเอาจิตเข้าไปเป็นทุกข์กับอาการปวดนั้น ภายใน ๕ หรือ ๖ วันจะมากไปด้วยทุกขเวทนา ก็ให้ตั้งใจกำหนดอย่างเต็มที่ ไม่ต้องสนใจอารมณ์อื่นมากนัก จนกว่าอาการปวดจะหาย หรือลดลง วันแรก ๆ อาการปวดจะไม่รุนแรงมากนัก นั่งได้ ๑ ชั่วโมงแบบสบาย ๆ พอเรามีสมาธิมากขึ้น มีญาณปัญญามากขึ้น อาการปวดจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้นจนทนแทบไม่ไหว จากที่เคยนั่งได้ ๑ ชั่วโมง พอวันที่ ๓-๔ เป็นต้นไป นั่ง ๑๐ หรือ ๒๐ นาทีก็ทนแทบไม่ไหวแล้ว ให้พยายามนั่งกำหนดต่อไปจนกว่าจะครบชั่วโมง (เพื่อจะได้เป็นกำลังใจในการกำหนดบัลลังก์ต่อ ๆ ไป) ยิ่งปวดมากก็ยิ่งกำหนดถี่ๆเร็วๆ แรงๆ นั่นแสดงว่าสมาธิของเราก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ภายใน ๕- ๑๐ วัน เวทนาก็จะหายขาดไปเอง หรืออาจจะมีอยู่บ้างเล็กน้อยช่วงท้ายบัลลังก์ ถึงต้อนนี้วิปัสสนาญาณก้าวเข้าสู่ขั้นที่ ๓ หรือ ๔ แล้ว ขั้นต่อไป ไม่ควร/ห้ามปฏิบัติด้วยตนเอง(อย่างเด็ดขาด) ต้องมีพระอาจารย์คอยควบคุมอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นแล้วจะเกิดผลเสียมากว่าผลดี ..ขอเตือน..
.....อธิบายมานี้เป็นเพียงหลักปฏิบัติเบื้องต้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่จะต้องเรียนรู้ ผู้ต้องการปฏิบัติให้เห็นมรรคเห็นผล พึงแสวงหาสำนักปฏิบัติที่เห็นว่าเหมาะสมกับตนเอาเองเถิด..
จากประสบการณ์ พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี |
|
|
|
   |
 |
montasavi
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84
|
ตอบเมื่อ:
10 ก.ค.2008, 8:31 am |
  |
.
ประโยชน์ของการเจริญสุทธวิปัสสนา
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสมาธิภาวนามีมากมาย จนยากที่จะอธิบายให้เห็นจริงได้จนกว่าผู้นั้นได้ลงมือปฏิบัติจนได้เห็นผลจริงด้วยตนเอง พอกล่าวเป็นตัวอย่างได้ดังนี้
....๑. ทำให้จิตใจเกิดความสงบเยือกเย็นเป็นสุข
....๒. ปิดประดูอบาย คือ เมื่อบรรลุโสดาบันแล้ว ตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไปจะไม่ตกนรก ไม่เกิดเป็นเปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานอีกเลย
โสดาบัน แปลว่า เข้าถึงกระแส ที่ไหลไปสู่ความไม่เกิดอีกภายใน ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง
....๓. เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาถึงสังขารุเปกขาญาณ (ญาณที่ ๑๑) จนแก่กล้าแล้ว ทำให้โรคบางอย่างหายได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ต่อมไทรอย โรคเกี่ยวกับลม เส้นเอ็นและกระดูก ..นี้เป็นตัวอย่างจริงที่พบเห็นจากผู้ร่วมปฏิบัติ
....๔. ถ้ามีเหตุให้ปฏิบัติไม่สำเร็จ ไปติดอยู่เพียงแค่ญาณ ๑๑ ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะจะเกิดปัญญาญาณ ที่จะใช้ในการแก้ปัญหาทุกอย่างในโลกได้ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาทางโลกหรือทางธรรม โดยเฉพาะปัญหาครอบครัวระหว่างสามี ภรรยา ลูก หลาน ญาติพี่น้อง (คิดค้นวิธีเอายานไวกิ้งลงบนดาวอังคารได้ ก็ด้วยการนั่งสมาธินี่แหละ)
.....๕. แก้อาถรรพ์ มนต์ดำได้ ไม่ว่าจะถูกของ หรือโดนยาพิษ ยาสั่งมา เมื่อปฏิบัติจนถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว อาถรรพ์จะหายไปจนเกลี้ยง ( เรื่องนี้ขอท้าให้พิสูจน์)
.....๖. บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ ไม่ต้องกลับมาเกิดอีกใน ๓๑ ภูมิ หรือในสังสารวัฎฎ์อีก อันเป็นจุดประสงค์สูงสุดอย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา |
|
|
|
   |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
14 ก.ค.2008, 11:48 pm |
  |
ยุบหนอ-พองหนอ สามารถจะเป็นได้ทั้งวิปัสสนาและสมถะ
ยุบหนอ-พองหนอ เป็นวิปัสสนา เพราะเอาจิตตามไปดูอาการของมันตลอด จึงเห็นการเกิดและดับ
ของการกระเพื่อมของท้อง
ยุบหนอ-พองหนอ สามารถใช้เป็นสมถะก็ได้ โดยไม่ต้องระลึกรู้ ไม่ต้องตามไปดูอาการของท้อง
จะทำให้จิตเข้าสู่ความสงบนิ่ง |
|
|
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
31 ก.ค.2008, 9:39 am |
  |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า: |
ยุบหนอ-พองหนอ สามารถจะเป็นได้ทั้งวิปัสสนาและสมถะ
ยุบหนอ-พองหนอ เป็นวิปัสสนา เพราะเอาจิตตามไปดูอาการของมันตลอด จึงเห็นการเกิดและดับ
ของการกระเพื่อมของท้อง
ยุบหนอ-พองหนอ สามารถใช้เป็นสมถะก็ได้ โดยไม่ต้องระลึกรู้ ไม่ต้องตามไปดูอาการของท้อง
จะทำให้จิตเข้าสู่ความสงบนิ่ง |
เห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อความนี้
และเชื่อว่าคนส่วนมาก ติดกันตรงนี้แหละ
เพราะคิดว่าความสงบที่ได้จากสมถะเป็นที่หมาย จึง "ติดกับ" อยู่ตรงนี้
(บังคับบงการจิตให้สงบ ไม่ให้แสดงพฤติตามธรรมชาติ
เมื่อไปตามรู้ตามดูแต่ความว่างเปล่า หรือตามดูจิตที่ถูกบงการพฤติเอาไว้ จึงได้ความรู้ที่ผิด ได้วิปัสนาที่ผิด)
แต่เมื่อใช้จิต"ตามดู ตามรู้ อย่างอุเบกขา"
ให้จิตรู้ "พฤติของจิต" ตามธรรมชาติไปอย่างนั้น
ให้จิตรู้ สุข,ทุกข์,สงบ อันเกิดจาก พฤติของจิต ไปตามธรรมชาติ
ให้จิตรู้ ไตรลักษณ์ของ จิต, สังขารของจิต,อาการของจิต ไปตามธรรมชาติ
แล้วเดี๋ยวพอจิตเรียนรู้มากเข้าๆ ทั้งความรู้จากกาย ทั้งความรู้จากจิต ทั้งความรู้จากธรรมที่เกิดกับกายและจิต ....จนถึงเวลาหนึ่ง จิตจะสรุปความรู้อันเป็นปรมัตถ แล้วก็จะ"เลื่อนขั้น"ความรู้ขึ้นไปเอง |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
11 ส.ค. 2008, 9:24 pm |
  |
ตามเข้ามาอ่าน อนุโมทนาบุญด้วยจ้า  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |