Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นิทานชาดกสนุกๆ ทั้งนั้น อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
1234
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 มิ.ย. 2007
ตอบ: 62
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2007, 10:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่อง ฤาษีกินเหี้ย
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีดาบสผู้มีตบะกล้าตนหนึ่ง เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้าน จึงได้สร้างศาลาไว้ให้ที่ชายป่าแห่งหนึ่งใกล้บ้าน ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นเหี้ยตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ที่จอมปลวกแห่งหนึ่ง ใกล้ที่จงกรมของดาบสนั้น มันจะไปหาดาบสวันละสามครั้งเป็นประจำทุกวัน เพื่อฟังธรรม ไหว้ดาบสแล้ว จึงกลับไปอยู่ที่อยู่ของตน

ต่อมาไม่นาน ดาบสนั้น ได้อำลาชาวบ้านไปที่อื่น ได้มีดาบสโกงตนหนึ่ง เข้ามาอาศัยในศาลานั้นแทน เหี้ยพระโพธิสัตว์ก็คิดว่า แม้ท่านผู้นี้ก็ทรงศีลเหมือนกัน จึงไปหาดาบสนั้นเช่นเดิม

อยู่มาวันหนึ่ง ฝนได้ตกมาในฤดูแล้ง ฝูงแมลงเม่าได้พากันบินออกจากจอมปลวกเป็นจำนวนมาก ฝูงเหี้ยก็ได้ออกมากินแมลงเม่าเหล่านั้น พวกชาวบ้านพากันออกมาจับเหี้ยแล้วปรุงเป็นอาหาร รสอร่อยนำมาถวายดาบส ดาบสได้ฉันเนื้อนั้นแล้วติดใจในรส เมื่อทราบว่าเป็นเนื้อเหี้ย จึงคิดได้ว่า
" มีเหี้ยใหญ่ตัวหนึ่งมาหาเราเป็นประจำ เราจะฆ่ามันกินเนื้อ "
จึงให้ชาวบ้านเอาเครื่องปรุงมาไว้ให้ ได้นั่งถือค้อนห่มคลุมผ้าอยู่ที่ประตูศาลา

เย็นวันนั้น เหี้ยโพธิสัตว์ ได้ไปหาดาบสตามปกติ ได้เห็นท่านั่งที่แปลกของดาบส คิดว่า " วันนี้ดาบส นั่งท่าที่ไม่เหมือนวันก่อน นั่งชำเลืองเราเป็นประจำ " จึงไปยืนดูอยู่ใต้ทิศทางลม ได้กลิ่นเนื้อเหี้ย จึงทราบว่า " ดาบสโกงนี้ คงฉันเนื้อเหี้ย ติดใจในรสแล้ว คราวนี้ หวังจะตีเรา เอาเนื้อไปแกงเป็นอาหารแน่ๆ " จึงไม่ยอมเข้าไปใกล้ ถอยกลับแล้ววิ่งหนีไป

ฝ่ายดาบสโกงทราบว่าเหี้ยรู้ตัวไม่ยอมมาแล้ว จึงลุกขึ้นขว้างค้อนตามหลังไป ค้อนได้ถูกเพียงหางเหี้ยเท่านั้น เหี้ยได้หลบเข้าไปในจอมปลวกอย่างรวดเร็ว โผล่เพียงศีรษะออกมาเท่านั้น กล่าวติเตียนดาบสด้วยคาถานี้ว่า
" นี่เจ้าผู้โง่เขลา จะมีประโยชน์อะไรแก่เจ้า ด้วยชฎาและการนุ่งห่มหนังเสือเหลือง
ภายในของเจ้าแสนจะรกรุงรัง เจ้าดีแต่ขัดสีภายนอกเท่านั้น "

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อำนาจของความอยาก ทำให้คนลืมตัว



_____________________________________________________________

เรื่อง ชายจมูกแหว่ง
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภพวกภิกษุได้บูชาต้นโพธิ์ด้วยดอกบัวเพราะอาศัยพระอานนทเถระผู้ฉลาดในการกล่าวถ้อยคำ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลูกชายของเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองพาราณสี มีเพื่อนที่เป็นลูกชายเศรษฐีด้วยกันอีก ๒ คน

ในสมัยนั้นมีชายจมูกแหว่งคนหนึ่งทำหน้าที่ดูแลสระดอกบัวอยู่ชานเมืองพาราณสี วันหนึ่งในเมืองพาราณสีมีมหรสพ ลูกชายเศรษฐีทั้ง ๓ คนได้พากันไปที่สระดอกบัวเพื่อขอดอกบัวประดับกายไปเที่ยวงานมหรสพนั้น
" พี่ชาย ผมและหนวดที่ตัดแล้วยังงอกขึ้นได้ ขอให้จมูกของท่านงอกขึ้นเช่นกัน ผมขอดอกบัวด้วยครับ " ชายจมูกแหว่งโกรธไม่ชอบใจจึงไม่ให้ดอกบัวแก่เขา


ต่อจากนั้น ลูกชายเศรษฐีคนที่ ๒ ได้พูดขอดอกบัวว่า
" พี่ชาย ข้าวที่หว่านในนายังงอกขึ้นได้ ขอให้จมูกท่านงอกได้เช่นกัน ผมขอดอกบัวด้วยครับ " ชายจมูกแหว่งก็ยังโกรธอีกไม่ให้ดอกบัวแก่เขา


พระโพธิสัตว์จึงพูดขอดอกบัวเป็นคนที่ ๓ ว่า
" พี่ชาย คนทั้งสองพูดกับท่านเกินความเป็นจริง ถึงยังไงจมูกของท่านก็ไม่มีวันงอกขึ้นมาได้อีก ผมขอดอกบัวด้วยครับ "
ชายจมูกแหว่งพอใจจึงพูดว่า " สองคนนั้นพูดมุสา ท่านจึงพูดความจริง เราให้ดอกบัวแก่ท่าน " ว่าแล้วก็ยกดอกบัวให้พระโพธิสัตว์ไปกำใหญ่

นิทานเรื่องนีสอนให้รู้ว่า อย่าพูดอะไรเกินจริง

_____________________________________________________________
เรื่อง หนอนท้าสู้กับช้าง
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ปราบความจองหองของชายด้วน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ บ้านพักริมทางปลายแดนแห่งหนึ่งระหว่างอังครัฐกับมคธรัฐ จะมีพ่อค้าทั้งสองเมืองแวะมาพักร้อนก่อนเดินทางไปค้าขายต่ออยู่เป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งมีพ่อค้ากลุ่มหนึ่งแวะมาพักเช่นเคย แต่ครั้งนี้ได้นำสุรามาดื่มด้วยพักค้างคืนแล้วจึงออกเดินทางในตอนเช้ามืด

เมื่อพวกพ่อค้าไปแล้วไม่นาน มีหนอนกินอุจจาระตัวหนึ่งได้กลิ่นอุจจาระจึงมาที่นั้น เห็นสุราที่เขาทิ้งไว้ตรงนั้น มันก็กินด้วยความหิวกระหายแล้วเกิดอาการเมาสุรา ไต่ขึ้นไปบนกองอุจจาระๆ ก็ยุบลง มันจึงร้องขึ้นด้วยความลำพองใจว่า

"อะฮ้า ในโลกนี้ไม่มีใครใหญ่เกินเรา แม้แต่แผ่นดินก็ยังทนทานน้ำหนักเราไม่ได้"

ขณะนั้นเองได้มีช้างตกมันตัวหนึ่งเดินผ่านมาทางนั้นพอดี พอได้กลิ่นอุจจาระจึงปลีกตัวเดินห่างออกไป เจ้าหนอนเห็นช้างเดินตรงมาถึงแล้วก็หลบไปทางอื่นก็ยิ่งลำพองใจคิดว่าช้างกลัวตนเอง จึงร้องเรียกช้างขึ้นว่า

"ท่านเป็นช้างผู้กล้าหาญมิใช่เหรอ ท่านอย่างพึ่งหนีไป กลับมาสู้กันก่อน เราคือผู้ยิ่งใหญ่อยู่ที่นี้"

ช้างพอได้ยินเสียงหนอนเรียกท่าสู้ด้วย จึงเดินกลับไปหาพร้อมตวาดขึ้นว่า ...

"เจ้าหนอนตัวเหม็น เราไม่จำเป็นต้องออกแรงฆ่าเจ้าด้วยเท้าด้วยงาดอก เพียงแค่ขี้ของเราจึงจะคู่ควร"

ว่าแล้วก็ถ่ายอุจจาระก่อนโตตกลงไปทับหนอนตายคาที่พร้อมกับปัสสาวะรดแล้วก็แผดเสียงร้องเข้าป่าไป
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ฤทธิ์ สุราทำให้คนใจใหญ่หยิ่งผยอง ไม่เกรงกลัวใคร และมักนำความฉิบหายมาให้มากกว่าผลดี
_____________________________________________________________

เรื่อง ดาบสฌานเสื่อม
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันอยากสึกเพระเห็นสาวงามรูปหนึ่งจึงตรัสให้โอวาทว่า "ภิกษุ..ธรรมดากิเลสย่อมไม่มีความชื่นบาน มีแต่จะให้ตกนรก กิเลสทำให้เธอลำบากเหมือนลมพัดภูเขา ทำให้ใบไม้เก่า ๆ กระจัดกระจายได้ โบราณบัณฑิตได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ แล้ว ยังเสื่อมจากฌานได้ด้วยอำนาจกิเลส" แล้วได้ตรัสอดีตนิทานสาธกว่า

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์มั่งคั่งตระกูลหนึ่งมีนามว่า หาริตกุมาร เมื่อเติบโตแล้วได้ไปศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองตักกสิลา อยู่ต่อมาเมื่อมารดาบิดาเสียชีวิตแล้วมีความคิดว่า "ทรัพย์เท่านั้นตั้งอยู่ได้ ส่วนผู้ทำให้ทรัพย์เกิดหาตั้งอยู่ไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือนเล่า"

กลัวต่อความตายได้ให้ทานเป็นการใหญ่แล้วเข้าป่าไปบวชเป็นดาบส มีเผือกมันและผลไม้เป็นอาหาร บำเพ็ญเพียรเป็นเวลานานหลายปี จนได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ จึงลงจากเขามาเที่ยวภิกขาจารในเมืองพาราณสี พระราชาเลื่อมใสจึงนิมนต์ให้จำพรรษาอยู่ในสวนหลวงเป็นเวลา ๑๒ ปี ตลอดเวลาที่จำพรรษาอยู่ที่สวนหลวง ทุกเช้าดาบสจะไปรับอาหารในพระราชวังเป็นประจำ

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปปราบกบฎชายแดน จึงมอบหน้าที่ถวายอาหารให้พระเทวีทรงแต่งโภชนาไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อดาบสยังช้าอยู่ จึงสนานด้วยน้ำหอมแล้วทรงพระภูษาเลี่ยนเนื้อละเอียดรับสั่งให้เผยสีหบัญชร (หน้าต่าง ) ประทับอยู่บนเตียงให้ลมพัดพระวรกายอยู่

ฝ่ายดาบสได้เหาะมาทางอากาศผ่านมาทางสีหบัญชรพอดี พระเทวีได้ยินเสียงเปลือกไม้กระทบกันก็ทราบว่าดาบสมาถึงแล้ว จึงรีบลุกขึ้น ขณะนั้นเองพระภูษาได้เลื่อนหลุดหล่นลง ทำให้ร่างกายของนางถูกดาบสเห็นทั้งหมด เป็นเหตุให้กิเลสของดาบสกำเริบขึ้น ทำให้ฌานเสื่อมทันที ดาบสไม่สามารถควบคุมสติไว้ได้จึงเข้าไปจับพระหัตถ์ของพระนางแล้วคนทั้งสองก็เสพโลกธรรมกัน ดาบสหลังจากรับอาหารแล้วก็เดินกลับสวนหลวงไปตั้งแต่วันนั้นมาคนทั้งสองก็เสพโลกธรรมกันทุกวัน

ข่าวที่ดาบสเสพโลกธรรมกับพระเทวีได้แพร่สะพัดไปทั่วพระนคร พวกอำมาตย์ก็ส่งหนังสือไปกราบทูลพระราชา พระองค์ไม่ทรงเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เมื่อปราบกบฎเสร็จแล้วพระราชาก็เสด็จกลับเมือง เข้าไปห้องพระเทวีสอบถามความเป็นจริง พระเทวีทูลว่าจริง พระองค์ก็ยังไม่ทรงเชื่อจึงเสด็จไปหาดาบสตรัสถามความจริง

ดาบสคิดว่า "ถ้าเราบอกว่าไม่เป็นความจริงพระราชาก็ทรงเชื่อ แต่ที่พึ่งที่ดีที่สุดคือคำสัตย์" จึงทูลว่า "ขอถวายพระพรพระองค์ได้สดับมานั้นเป็นความจริง อาตมาหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์แห่งความหลงผิดเสียแล้วละ" พระราชาสดับแล้วตรัสว่า "ปัญญาที่ละเอียดคิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นเครื่องบรรเทาราคะของท่านมีไว้เพื่อประโยชน์ อะไร ท่านไม่อาจใช้ปัญญาบรรเทาความคิดที่แปลกได้หรือ"
ดาบส "มหาบพิตร กิเลส ๔ อย่างคือราคะ โทสะ โมหะ และมทะ เป็นของที่มีกำลังกล้า หยาบคายในโลก ยากที่ปัญญาจะหยั่งถึงได้"
พระราชา "โยมได้ยกย่องท่านเป็นพระอรหันต์ มีศีลเป็นบัณฑิต เบียดเบียนแม้ผู้มีปัญญาโดยแท้"
พระราชาพูดกระตุ้นดาบสว่า "ความกำหนัดเกิดในกายทำลายผิวพรรณของท่าน ท่านจงพยายามทำลายความกำหนัดของท่านนั้นเสียเถิด"
ดาบสได้สติกลับคืนมาแล้วกล่าวเป็นคาถาว่า
"กาลเหล่านั้นทำแต่ความมืดให้ มีทุกข์มาก มีพิษใหญ่หลวง อาตมาจักค้นหามูลรากแห่งกามเหล่านั้นจักตัดความกำหนัดพร้อมเครื่องผูกเสีย"
ว่าแล้วก็ขอโอกาสปฏิบัติธรรมในบรรณศาลาพิจารณาดวงกสิณ ยังฌานที่เสื่อมให้เกิดขึ้นได้แล้ว เหาะขึ้นสู่อากาศแสดงธรรมแก่พระราชาแล้วขออำลากลับเข้าป่าตามเดิม

นิทานเรื่องนี้สอนให้รูว่า อำนาจของกิเลสตัณหาทำให้คนหน้ามืดไม่มีสติ

_____________________________________________________________

เรื่อง ผู้ใหญ่บ้านทวงหนี้ไม่ถูกเวลา
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันอยากสึกรูปหนึ่ง ตรัสให้โอวาทว่า "ภิกษุ..ขึ้นชื่อว่ามาตุคามดูแลไม่ไหว ทำความชั่วแล้วยังลวงสามีด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งอีก" แล้วได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคหบดีในแคว้นกาสี มีภรรยาผู้ทุศีลคนหนึ่งชอบคบชู้กับผู้ใหญ่บ้านเป็นประจำ พระโพธิสัตว์ก็พอทราบระแคะระคายอยู่บ้างจึงเฝ้าสืบดูอยู่

ในฤดูทำนาของปีหนึ่ง หลังจากดำนาเสร็จแล้ว ข้าวยังไม่ทันตั้งท้อง ก็เกิดฝนแล้งขึ้น ชาวบ้านเดือดร้อนกันทั้งหมู่บ้านเพราะไม่มีอาหารจะกิน จึงได้ตกลงกันซื้อวัวของผู้ใหญ่บ้านตัวหนึ่งเพื่อนำมาฆ่าแบ่งเนื้อปันกัน เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วถึงจะนำข้าวเปลือกมอบให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นค่าเนื้อในอีกสองเดือนข้างหน้า

อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่พระโพธิสัตว์ออกไปนา ผู้ใหญ่บ้านได้แอบย่องเข้าไปหาภรรยาของพระโพธิสัตว์ที่บ้าน ในขณะที่ทั้งคู่กำลังนอนด้วยกันอย่างมีความสุขอยู่นั้น พระโพธิสัตว์กลับมาถึงบ้านพอดีได้เห็นเหตุการณ์นั้นจึงยืนดูอยู่ที่ประตูบ้าน ฝ่ายภรรยาพอเห็นสามีกลับมาในขณะนั้นจึงรีบบอกอุบายแก่ผู้ใหญ่บ้านว่า "ท่านจงทำเป็นมาร้องทวงหนี้เนื้อวัวนะ ฉันจะขึ้นไปบนยุ้งข้าวตอบท่านว่าข้าวเปลือกไม่มี ท่านก็จงพูดทวงหนี้นั้นไปเรื่อย ๆ"

ผู้ใหญ่บ้านก็ทำใจดีสู้เสือเดินออกไปยืนกลางเรือนแล้วร้องเรียกว่า "น้องหญิงอยู่ไหม ฉันมาทวงหนี้ค่าเนื้อวัวนะ" ฝ่ายภรรยาที่รีบปีนขึ้นไปนั่งอยู่บนยุ้งข้าวแล้วก็ร้องตอบมาว่า "ข้าวเปลือกยังไม่มีหรอกพี่ผู้ใหญ่ เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วเราจะนำไปให้ดอกนะ กลับไปก่อนเถอะจ้า"

พระโพธิสัตว์เดินเข้าไปในบ้านเห็นเขาพูดโต้ตอบกัน ก็ทราบว่าเป็นอุบายของภรรยา จึงเรียกผู้ใหญ่บ้านพูดว่า "ท่านผู้ใหญ่..เราสัญญากันไว้ ๒ เดือนมิใช่หรือ นี่ยังไม่ถึงครึ่งเดือนด้วยซ้ำไป ท่านมาทวงหนี้ทำไมเวลานี้ ท่านมาเพราะเรื่องอื่นกระมัง ผมไม่ชอบใจเลยนะ นางนั้นก็เหลือร้ายรู้ทั้งรู้อยู่ว่าในยุ้งข้าวไม่มีข้าวเปลือกก็ยังร้องบอกอยู่นั่นแหละ ผมไม่พอใจพฤติกรรมของพวกท่านเลยนะ" แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

"กรรมทั้ง ๒ ไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจ ก็หญิงคนนี้ลงไปในยุ้งข้าวแล้วพูดว่าเรายังใช้หนี้ให้ไม่ได้ท่านผู้ใหญ่บ้าน เพราะเหตุนี้เราจึงพูดกะท่าน ท่านได้ทำสัญญากำหนดไว้ ๒ เดือน แล้วมาทวงเนื้อวัวผอมแก่เมืองยังไม่ถึงกำหนดเวลาสัญญา กรรมทั้ง ๒ นั้น ฉันไม่ชอบใจเลย"

เมื่อพูดจบแล้วก็จิกผมผู้ใหญ่บ้านกระชากให้ล้มลงกลางเรือน แล้วพูดสอนว่า "ท่านทำร้ายคนอื่นเพราะถือว่าตนเองเป็นผู้ใหญ่บ้านหรือ" ทุบตีจนผู้ใหญ่บ้านบอบช้ำแล้วก็ไล่ไสหัวไป หันไปคว้าผมภรรยามาพูดขู่ว่า "นางตัวดี ถ้าเธอไม่เลิกพฤติกรรมเช่นนี้อีกจะเห็นดีกัน" ตั้งแต่วันนั้นมาผู้ใหญ่บ้านไม่กล้าแม้แต่จะเดินผ่านหน้าบ้านหลังนั้นอีกเลย ภรรยา ของพระโพธิสัตว์ก็ได้เลิกพฤติกรรมเช่นนั้นไป

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า เมื่อภัยไม่มาถึงตัว คนก็มักเห็นสิ่งที่ตนกระทำผิด ถูกอยู่เสมอ

_____________________________________________________________

เรื่อง วัยรุ่นวุ่นรัก
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นเศรษฐี มีลูกสาวกำลังเป็นวัยรุ่นอยู่คนหนึ่ง นางเห็นเครื่องสักการะที่เขาจัดทำให้โคอุสภราช(หัวหน้าโค)ในบ้านของตนแล้วถามพี่เลี้ยงว่า
"พี่..โคตัวนี้เป็นอะไร เขาถึงประดับถึงเพียงนี้ "
พี่เลี้ยงตอบว่า " นายหญิง..เขาเรียกโคอุสภราชจ้า"
นางคิดว่า "โคที่ได้รับยกย่องว่าเป็นใหญ่ จะมีโหนกที่หลัง ถ้าเช่นนั้นชายผู้เป็นใหญ่ ก็คงจะมีโหนกขึ้นกลางหลังเช่นกัน"


วันหนึ่งเมื่อเห็นชายหลังค่อมคนหนึ่งระหว่างทางจึงเข้าใจว่า "ชายคนนี้เป็นบุรุษอุสภราช เราควรจะเป็นภรรยาของเขา" จึงใช้พี่เลี้ยงไปบอกเขาให้ไปรออยู่ปากทางลูกสาวเศรษฐีจะไปด้วย นางได้ห่อสิ่งของมีค่าหนีตามชายค่อมนั้นไป

เศรษฐีพอทราบว่าลูกสาวหนีตามชายค่อมไป ก็ออกติดตามเพื่อนำกลับมาบ้าน ฝ่ายลูกสาวเศรษฐีกับชายค่อมเดินทางกันทั้งคืนไม่ได้พักผ่อน ชายค่อมถูกความหนาวเหน็บตลอดคืนรุ่งแจ้งโรคเก่าได้กำเริบขึ้น เดินต่อไปไม่ได้ จึงแวะลงข้างทางนอนขดตัวอยู่ เศรษฐีและคณะตามมาทันเห็นลูกสาวนั่งอยู่ข้างๆชายค่อมนั้น จึงเข้าไปสนทนาด้วยและพูดว่า
" ลูกรัก เรื่องนี้เจ้าคิดคนเดียวไม่ได้นะ ชายค่อมผู้โง่เขลานี้จะนำทางเป็นที่พึ่งของเจ้าไม่ได้แน่ ลูกรัก เจ้าไม่สมควรจะไปกับชายค่อมผู้นี้ดอกนะ"
ลูกสาวตอบเป็นคาถาว่า
" ลูกเข้าใจว่าชายค่อมเป็นคนองอาจ จึงได้รักใคร่เขา
เขานอนตัวคดอยู่อย่างนี้ ดุจคันพิณที่สายขาด "


เศรษฐีได้นำลูกสาวกลับคืนบ้านของตน และให้แต่งงานกับลูกชายเศรษฐีชาวเมืองในเวลาต่อมา

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
วัยรุ่นปัจจุบันมักจะทำตามใจตนเอง ควรถือนิทานเรื่องนี้เป็นตัวอย่าง
ลูกที่ดีควรยึดถือคำพูดของพ่อแม่เป็นเกณฑ์

_____________________________________________________________

เรื่อง ฆ่ายุง

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวมคธ ทรงปรารภพวกชาวบ้านที่เป็นคนพาลในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพ่อค้าชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง ไปค้าขายที่แคว้นกาสี ในระหว่างทำการค้าขายที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้เห็นนายช่างไม้หัวล้านคนหนึ่งกำลังถากไม้อยู่ ในขณะนั้นยุงได้มาจับที่หัวของเขา

เขาจึงเรียกลูกชายที่นั่งเล่นอยู่ใกล้ๆว่า
" ไอ้หนู ยุงมันกัดหัวพ่อ เจ้าจงฆ่ามันเสีย "

ลูกบอกว่า
" พ่อ อยู่นิ่งๆนะ ผมจะฆ่ามัน ด้วยการตบครั้งเดียว "

พูดพลางก็เงื้อขวานเล่มใหญ่อันคมกริบ ยืนอยู่ข้างหลังพ่อ แล้วฟันลงบนหัวพ่ออย่างเต็มเหนี่ยว ด้วยคิดว่าจะฆ่ายุง นายช่างไม้ได้ถึงแก่ความตายในที่นั้นเอง

พ่อค้าเห็นเหตุการณ์นั้นแล้ว จึงกล่าวเป็นคาถาว่า
" ศัตรูผู้มีความรู้ประเสริฐกว่า ส่วนมิตรผู้ไร้ปัญญาไม่ประเสริฐเลย
เพราะลูกชายผู้โง่เขลา คิดว่า จักฆ่ายุง กลับผ่าหัวของพ่อเสีย "

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ผู้ไม่มีปัญญา มักนำความฉิบหายมาให้

_____________________________________________________________
เรื่อง หมูมุณิกะ


ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภการประเล้าประโลมของเด็กหญิงอ้วนคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองพารณาสี ที่บ้านพ่อค้าคนหนึ่ง มีโคหนุ่มสองพี่น้อง โคพี่ชื่อมหาโลหิต(แดงใหญ่) โคน้องชื่อจูฬโลหิต (แดงเล็ก) ได้ช่วยทำงานภาระกิจการของพ่อค้าเป็นอย่างดี และในบ้านนั้นยังมีหมูตัวหนึ่งชื่อมุณิกะ

พ่อค้ามีลูกสาวอยู่คนหนึ่ง ซึ่งมีกำหนดจะเข้าพิธีวิวาห์ในอีกหลายเดือนข้างหน้า พวกเขาจึงให้อาหารบำรุงหมูเพื่อให้เจริญเติบโตทันวันงานวิวาห์ เจ้าโคหนุ่มจูฬโลหิตเห็นเช่นนั้น เกิดความน้อยใจ จึงถามพี่ชายว่า
" ธุระการงานในตระกูล ดำเนินการไปได้ด้วยอาศัยเราสองพี่น้อง ผู้คนให้เพียงหญ้าและใบไม้เท่านั้น กลับไปบำรุงหมูผู้ไม่ได้ทำอะไรเลย ทำไม ? "


ผู้พี่ชายกล่าวว่า " เจ้าอย่าไปริษยาอาหารของหมูเลย เพราะหมูกำลังบริโภคอาหารเป็นเหตุตายในวันวิวาห์ของลูกสาวพ่อค้า "

แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า
" เธออย่าริษยาหมูมุณิกะเลย มันกินอาหารอันเป็นเหตุให้เดือดร้อน
เธอจงเป็นผู้ขวนขวายน้อย กินแต่แกลบเถิด นี่เป็นลักษณะแห่งความเป็นผู้มีอายุยืน "
_____________________________________________________________

เรื่อง พระราชกุมารผู้อัจฉริยะ(เป็นเรื่องที่ยาวหน่อยนะโยม)

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภการสรรเสริญปัญญาพระองค์ของพวกภิกษุ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นราชกุมารของพระเจ้าชนสันธะ ผู้ครองเมืองพาราณสี มีหน้าตาสดใสงดงามมากจึงถูกขนานนามว่าอาทาสมุขกุมาร พอมีอายุได้ ๗ ขวบเท่านั้นพระชนกก็สวรรคต พวกอำมาตย์เห็นว่าพระกุมารยังไม่อยู่ในฐานะจะครองเมืองได้ จึงจะทดสอบภูมิปัญญาของพระกุมารดู ในวันหนึ่ง ได้ตกแต่งพระนครใหม่ จัดตั้งสถานวินิจฉัย( ศาล )เสร็จแล้ว ได้มอบให้พระกุมารขึ้นตัดสินคดีความ พอพระกุมารประทับบนบัลลังก์แล้วก็ให้เอาลิงตัวหนึ่งซึ่งสามารถเดิน ๒ เท้าได้แต่งตัวเป็นอาจารย์ผู้รู้วิชาดูที่ แล้วถวายรายงานพระราชกุมารว่า " ขอเดชะ นี่คืออาจารย์ผู้รู้วิชาดูที่ สมัยของพระชนก ขอพระองค์จงสงเคราะห์ชายผู้นี้ แต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาด้วยเถิด"

พระราชกุมารแลดูผู้นั้นแล้วทราบว่าเป็นลิงมิใช่มนุษย์จึงตรัสว่า
" สัตว์ตัวนี้ไม่ฉลาดทำบ้านเรือน หลุกหลิก หนังหน้าย่น รู้แต่จะทำลายสิ่งที่เขาทำไว้แล้วเท่านั้น จะให้เป็นที่ปรึกษาไม่ได้ "
พวกอำมาตย์รับคำแล้วนำลิงนั้นกลับไป อีกสองวันต่อมาก็นำลิงตัวนั้นมาถวายรายงานอีกว่า
" ขอเดชะ นี่คืออำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดี สมัยพระชนก ขอพระองค์โปรดแต่งตั้งไว้เป็นที่ปรึกษาเถิด "

พระราชกุมาร แลดูก็ทราบว่ามนุษย์ไม่มีขนมากขนาดนี้ จึงตรัสว่า
"สัตว์ที่มีความคิด ขนไม่มากขนาดนี้ ลิงตัวนี้ไม่มีความคิด ไม่รู้จักเหตุผล ทำการวินิจฉัยคดีไม่ได้หรอก "
พวกอำมาตย์รับคำแล้วก็นำลิงนั้นกลับไป อีกสองวันถัดมาก็นำลิงตัวนั้นมาถวายรายงานอีกว่า
"ขอเดชะ ชายผู้นี้ในสมัยพระชนก ได้บำรุงเลี้ยงบิดามารดาเป็นชายกตัญญู ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์เขาด้วยเถิด "
พระราชกุมาร แลดูลิงนั้นแล้วตรัสว่า
" สัตว์เช่นนี้จะเลี้ยงดูบิดามารดาไม่ได้ มีจิตใจกลับกลอก บิดาเราสอนไว้อย่างนี้ "
พวกอำมาตย์ทราบว่าพระกุมารเป็นบัณฑิตแล้วจึงอภิเษกให้ขึ้นครองราชตั้งแต่บัดนั้น ความอัจฉริยะของพระราชกุมาร ๑๔ เรื่องจึงเกิดขึ้น คือ

ในสมัยนั้น มีชายแก่คนหนึ่งชื่อคามณิจันท์เคยเป็นทาสรับใช้ของพระเจ้าชนสันธะ เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าชนสันธะแล้วได้ปลีกตัวออกไปประกอบอาชีพกสิกรรมอยู่บ้านนอกหมู่บ้านหนึ่ง แต่เขาไม่มีโคทำนา เมื่อฝนตกในฤดูทำนาจึงไปยืมโค ๒ ตัวจากเพื่อนบ้านมาไถนาทั้งวัน ตกเย็นได้นำโคไปคืนเจ้าของที่บ้าน เห็นเจ้าของโคกำลังนั่งกินข้าวอยู่กลางบ้าน เกรงว่าเขาจะชวนกินข้าวด้วย นายคามณิจันท์จึงปล่อยแต่โคเข้าไปในคอก ส่วนตัวเองเดินกลับบ้านไป ตกกลางคืนมีโจรมาลักโคเหล่านั้นไปหมด เจ้าของโคถึงแม้รู้อยู่ว่าโคถูกขโมยไป ก็ไปทวงโคกับนายคามณีจันท์พร้อมกับปรับสินไหมนำไปแจ้งความที่เมืองหลวง

ในขณะเดินทางไปเมืองหลวง นายคามณิจันท์หิวข้าวจึงขอแวะบ้านเพื่อนที่หมู่บ้านหนึ่งก่อน ปรากฏว่าเพื่อนไม่อยู่บ้าน อยู่แต่ภรรยาที่ท้องได้ ๗ เดือน นางดีใจที่นายคามณิจันท์มาเยี่ยม แต่ข้าวสุกไม่มี จึงต้องขึ้นไปเอาข้าวที่ฉาง นางได้พลัดตกลงมาที่พื้นดินทำให้นางแท้งลูก พอสามีกลับมาถึงบ้านทราบเรื่องจึงตั้งข้อหานายคามณิจันท์ฆ่าลูก ชายทั้ง ๓ คนจึงต้องเดินทางเข้าเมืองหลวงด้วยกัน

เมื่อเดินทางมาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง คนเลี้ยงม้าคนหนึ่งกำลังต้อนม้าให้กลับบ้าน มีม้าตัวหนึ่งพยศไม่ยอมไป เขาจึงร้องบอกให้นายคามณิจันท์เอาอะไรขวางม้าให้กลับเข้าบ้านที นายคามณิจันท์เอาก้อนหินขว้างไปถูกขาม้าหัก คนเลี้ยงม้าจึงตั้งข้อหาเขาทำให้ขาม้าหัก เป็นเหตุชายทั้ง ๔ คนต้องเดินทางเข้าเมืองหลวงไปด้วยกัน

ในขณะเดินทาง นายคามณิจันท์คิดน้อยใจอยู่คนเดียวว่า " ช่างโชคร้ายนักเรา เมื่อถึงเมืองหลวง เงินสักบาทจะจ่ายค่าโคก็ไม่มี อีกทั้งค่าลูก ค่าม้า ขอตายเสียดีกว่า " ในระหว่างทางต้องเดินผ่านภูเขามีผาชันลูกหนึ่ง เขาจึงตัดสินใจกระโดดลงในเหวไปตาย แต่บังเอิญมี ๒ พ่อลูกนั่งสานเสื่อลำแพนอยู่ที่เชิงเขานั้น นายคามณิจันท์จึงตกลงไปทับช่างสานผู้พ่อเสียชีวิตส่วนตัวเขารอดชีวิต เป็นเหตุให้ลูกชายช่างสานตั้งข้อหาฆ่าพ่อของเขา ชายทั้ง ๕ คนจึงเดินทางเข้าเมืองหลวงไปด้วยกัน

ในระหว่างทาง มีทั้งคนและสัตว์ได้ฝากสาส์นกับนายคามณิจันท์ไปถวายพระราชาอีก ๑๐ เรื่อง เมื่อถึงเมืองหลวงแล้ว วันนั้นพระราชกุมารขึ้นประทับบัลลังก์ตัดสินคดีเอง พอเห็นหน้านายคามณิจันท์ก็จำได้ จึงตรัสถามว่า
" ลุงคามณิจันท์ ท่านไปอยู่ที่ไหนมา "
นายคามณีจันท์กราบทูลว่า " ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า ข้าพระองค์ไปอยู่บ้านนอกทำกสิกรรมพระเจ้าข้า จึงได้เกิดคดีโคกับท่านนี้ขึ้น"

พระราชกุมารจึงไตร่สวนจนทราบความแล้วตรัสถามเจ้าของโคว่า " เมื่อโคเข้าบ้าน ท่านเห็นหรือไม่ "
เจ้าของโคทูลว่า
" ไม่เห็น พระเจ้าข้า "
พระองค์จึงตรัสถามย้ำอีกว่า " ไม่เห็นแน่นะ "
เขาจึงทูลใหม่ว่า " เห็นอยู่พระเจ้าข้า "
พระองค์จึงตัดสินคดีว่า " ลุงคามณิจันท์ เพราะท่านไม่เอ่ยปากมอบโคแก่เจ้าของ จึงปรับสินไหมท่าน ๒๔ กหาปณะ แต่ชายคนนี้พูดมุสา ทั้งที่เห็นอยู่กลับบอกว่าไม่เห็น ท่านจงควักนัยน์ตาของพวกเขาสองผัวเมียเสีย "
ชายเจ้าของโครีบกรูเข้าไปหมอบลงแทบเท้านายคามณิจันท์พูดว่า
" ท่านลุง เงินค่าโคขอยกให้ท่านก็แล้วกัน และเงินเหล่านี้ขอมอบให้ท่านอีก ขออย่าได้ควักนัยน์ตาของพวกข้าพเจ้าเลย " มอบเงินให้แล้วก็กลับบ้านไป


คดีที่ ๒ พระราชกุมารทราบเรื่องแล้วตรัสถามว่า " เมื่อนายคามณิจันท์ไม่ได้ฆ่าลูกของท่าน ท่านจะทำอย่างไรละ"
ชายคนนั้นจึงทูลว่า " ข้าพระองค์ต้องการลูกคืนเท่านั้นแหละ พระเจ้าข้า " พระองค์จึงตัดสินคดีว่า "ถ้าเช่นนั้น ลุงคามณิจันท์จงนำภรรยาของเขาไปอยู่ด้วย เมื่อมีลูกแล้วค่อยคืนเขาไปก็แล้วกัน"
ชายคนนั้นก็หมอบลงแทบเท้าของนายคามณิจันท์อ้อนวอนว่า
" ท่านลุง…อย่าได้ทำลายครอบครัวผมเลยนะครับ " มอบเงินให้แล้วก็กลับบ้านไป


คดีที่ ๓ พระราชกุมารทราบเรื่องแล้วตรัสถามว่า
" ท่านเป็นคนบอกให้นายคามณิจันท์ขว้างม้าใช่หรือไม่ "
ครั้งแรกเขาบอกปฏิเสธเมื่อพระองค์ตรัสถามเป็นครั้งที่สองจึงทูลความจริง พระองค์จึงตัดสินคดีว่า " ชายคนนี้พูดมุสา ลุงคามณิจันท์จงตัดลิ้นของเขาเสีย แล้วจ่ายค่าขาม้าเขาไป ๑,๐๐๐ กหาปณะ"
ชายเจ้าของม้าหมอบลงแทบเท้านายคามณิจันณ์ขอชีวิตพร้อมมอบเงินให้แล้วก็กลับบ้านไป


คดีที่ ๔ เมื่อพระราชกุมารทราบเรื่องแล้วตรัสถามว่า
" เมื่อเขาตกลงมาทับบิดาของท่านตายโดยไม่เจตนาเช่นนี้ ท่านจะให้ทำอย่างไรละ "
ลูกชายช่างสานจึงทูลว่า "ข้าพระองค์ขอเพียงบิดาคืนมาเท่านั้น พระเจ้าข้า "
พระองค์จึงตัดสินคดีว่า " ลุงคามณิจันท์ เมื่อเขาต้องการบิดาของเขาคืน คนตายไปแล้วย่อมฟื้นคืนมาไม่ได้ ท่านจงรับมารดาของเขามาเป็นภรรยาก็แล้วกัน "
บุตรช่างสานจึงหมอบลงแทบเท้าของนายคามณิจันท์อ้อนวอนว่า
" ท่านลุง…อย่าได้ทำลายครอบครัวผมเลยนะครับ " มอบเงินให้แล้วก็กลับบ้านไป


นายคามณิจันท์ชนะคดีความจึงมีความยินดีเบิกบานใจกราบทูลว่า " ขอเดชะ ยังมีสาส์นฝากมาถวายพระองค์อีก ๑๐ เรื่อง พระเจ้าข้า " พระราชกุมารจึงรับสั่งให้บอกสาส์นนั้นมาทีละเรื่อง


สาส์นที่ ๑ นายบ้านส่วยคนหนึ่งทูลถามว่า " เดิมทีเขาเป็นคนรูปงาม มีทรัพย์สมบัติมาก ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน แต่บัดนี้เป็นคนทุกข์ยาก ซูบผอมเป็นโรค เป็นเพราะเหตุไร พระเจ้าข้า "
พระราชกุมารตรัสว่า " นายบ้านส่วยคนนั้นเดิมเป็นคนมีศีลธรรม ตัดสินคดีโดยธรรม จึงเป็นที่รักของทุกคน เขาจึงมีทรัพย์สมบัติมาก ต่อมาเขาเห็นแก่สินบน ตัดสินคดีโดยไม่เป็นธรรม จึงเป็นคนทุกข์ยากเข็ญใจ มีโรคภัยเบียดเบียน บอกให้เขากลับมาเป็นคนมีศีลธรรมอีก เขาก็จะเป็นคนมั่งมีเหมือนเดิม "


สาส์นที่ ๒ หญิงคณิกานางหนึ่งทูลถามว่า " เมื่อก่อนได้ค่าจ้างมาก แต่มาบัดนี้ไม่ได้แม้แต่หมากพลูมวนเดียว ไม่มีใครมาเที่ยวเลยเป็นเพราะเหตุไร "
พระราชกุมารตรัสว่า " เมื่อก่อนนางรับค่าจ้างจากชายคนหนึ่งแล้วจะไม่รับจากคนอื่นอีก (เป็นไปตามลำดับ) นางจึงมีค่าจ้างมาก บัดนี้นางรับค่าจ้างจากคนแรกแล้วกลับไปนอนกับคนหลัง ค่าจ้างจึงไม่ค่อยจะมี ถ้านางกลับไปปฏิบัติตามเดิมไม่เห็นแก่ได้ นางก็จะเป็นคนมีค่าจ้างเหมือนเดิม "


สาส์นที่ ๓ หญิงสาวนางหนึ่งทูลถามว่า " นางไม่สามารถอยู่ในบ้านของสามีและบิดามารดาได้ เป็นเพราะเหตุไร "
พระราชกุมารตรัสว่า " ในระหว่างบ้านของสามีและบิดามารดาของสาวนางนั้น มีบ้านของชายคนรักของเธออยู่หลังหนึ่ง เธอจึงไม่สามารถอยู่ในบ้านสามีได้ บอกสามีว่าจะกลับไปเยี่ยมบิดามารดาก็แอบไปอยู่บ้านชายชู้ ๒-๓ วัน ไปบ้านบิดามารดาก็บอกว่าจะไปบ้านสามี แล้วก็แอบอยู่บ้านชายชู้ ๒-๓ วัน ท่านลุงคามณิจันท์จงบอกให้เธอทราบว่า พระราชกำหนดกฎหมายมีอยู่ ถ้าเธอไม่อยู่ที่บ้านสามีอีกชีวิตเธอก็จะไม่มีเช่นกัน "


สาส์นที่ ๔ งูตัวหนึ่งอยู่ที่จอมปลวกใกล้ทางใหญ่ทูลถามว่า "ในเวลาออกหากินร่างกายผอมกลับคับปล่องทางออกจะออกจากจอมปลวกยากลำบาก เมื่อกินอิ่มแล้วร่างกายอ้วนพีกลับเข้าปล่องง่าย ร่างกายไม่กระทบแม้กระทั่งข้างปล่องเลย เป็นเพราะเหตุไร "
พระราชกุมารตรัสว่า " ภายใต้จอมปลวกมีขุมทรัพย์หม้อใหญ่ฝังอยู่ งูนั้นเฝ้าหม้อทรัพย์นั้นอยู่ จึงทำให้ร่างกายหย่อนติดนั่นติดนี่เวลาออกจึงยากลำบาก เมื่อกินอิ่มแล้วไม่ติดขัดรีบเข้าไปโดยเร็วเพราะติดอยู่ในทรัพย์ ท่านลุงคามณิจันท์จงไปขุดเอาทรัพย์นั่นเสียเถอะ "


สาส์นที่ ๕ เนื้อตัวหนึ่งทูลถามว่า " ข้าพเจ้าไม่อาจไปกินหญ้าที่อื่นได้ กินอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งเดียวเท่านั้น เป็นเพราะเหตุไร "
พระราชกุมารตรัสว่า "ที่ต้นไม้นั้นมีรวงผึ้งใหญ่ เนื้อตัวนั้นติดอยู่ในหญ้าที่เปื้อนน้ำผึ้ง จึงไม่ไปไหน ท่านลุงคามณิจันท์ จงไปนำน้ำผึ้งนั้นมาให้เรา ที่เหลือยกให้ท่าน"


สาสน์ที่ ๖ นกกระทาตัวหนึ่งทูลถามว่า " ข้าพเจ้าจับอยู่ที่จอมปลวกเท่านั้นจึงอยู่ได้สบาย อยู่ที่อื่นไม่ได้เลย เป็นเพราะเหตุไร "
พระราชกุมารตรัสว่า " นกกระทาจับที่จอมปลวกจึงขันอย่างอิ่มเอิบใจ และภายใต้จอมปลวกนั้น มีหม้อขุมทรัพย์ ท่านลุงคามณิจันท์จงไปขุดเอาหม้อขุมทรัพย์นั้นเถิด "


สาส์นที่ ๗ รุกขเทวดาตนหนึ่งทูลถามว่า " เมื่อก่อนเคยได้ลาภสักการะมาก บัดนี้ไม่ได้แม้แต่ใบไม้อ่อนกำมือหนึ่ง เป็นเพราะเหตุไร "
พระราชกุมารตรัสว่า " เมื่อก่อนรุกขเทวดานั้น รักษาพวกมนุษย์ผู้เดินทางไปในดง จึงได้เครื่องสักการะที่เขาทำพลีกรรม บัดนี้ไม่ได้รักษา พวกมนุษย์จึงไม่ได้ทำพลีกรรม ถ้ากลับไปรักษาพวกมนุษย์อีก ก็จะได้ลาภสักการะเหมือนเดิม"


สาส์นที่ ๘ พญานาคตัวหนึ่งทูลถามว่า " เมื่อก่อนน้ำในสระใสสะอาดมีสีเหมือนแก้วมณี บัดนี้กลับขุ่นมัวมีแหนปกคลุม เป็นเพราะเหตุไร"
พระราชกุมารตรัสว่า " พญานาคทะเลาะกัน น้ำจึงขุ่นมัว ถ้าพญานาคกลับมาสมานสามัคคีกัน น้ำในสระก็จะใสสะอาดเหมือนเดิม"


สาส์นที่ ๙ พวกดาบสที่อยู่ใกล้เมืองนี้ทูลถามว่า " เมื่อก่อนผลไม้ในอารามอร่อยมาก บัดนี้กลับมาเฝื่อนฝาดไม่อร่อย เป็นเพราะเหตุไร "
พระราชกุมารตรัสว่า " เมื่อก่อนพวกดาบสพากันปฏิบัติสมณธรรม เป็นผู้ขวานขวายในการบริกรรมกสิณ บัดนี้พากันละทิ้งไม่ปฏิบัติธรรมประกอบในกิจที่ไม่ควรทำ ให้ผลไม้ที่เกิดในอารามแก่พวกโยมอุปัฎฐาก เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เพราะเหตุนี้ผลไม้ของพวกดาบสจึงไม่อร่อย ถ้าพวกดาบสพากันปฏิบัติธรรมเหมือนเดิม ผลไม้ก็จะอร่อยเหมือนเดิม "


สาส์นที่ ๑๐ พราหมณ์หนุ่มคนหนึ่งที่ศาลาใกล้ประตูเมืองทูลถามว่า " เมื่อก่อนเรียนหนังสือท่องจำได้ดี แต่บัดนี้เรียนเท่าไหร่ก็ไม่จำ เป็นเพราะเหตุไร "
พระราชกุมารตรัสว่า "เมื่อก่อนมีไก่ขันบอกเวลา พวกพราหมณ์หนุ่มจึงเรียนได้จำดี แต่บัดนี้ไก่ขันไม่เป็นเวลา จึงทำให้พวกเขาเรียนหนังสือไม่ได้ และจำไม่ได้"


พระราชกุมารครั้นพยากรณ์ปัญหาหมดแล้ว ก็พระราชทานทรัพย์มากมายและบ้านให้นายคามณิจันท์ เขาได้เดินทางกลับไปส่งสาส์นตามที่พระราชาประทานแก่คนเหล่านั้น และทำตามคำแนะนำของพระราชาทุกประการ

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
แข่งเรือแข่งพายแข่งกันได้ แต่แข่งบุญวาสนาแข่งกันไม่ได้ เป็นเรื่องของบุญกุศลที่เคยทำมาก่อน ใครทำไว้มากย่อมได้มากตามยถากรรม


_____________________________________________________________

เรื่อง บวชเพราะแม่ยาย

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภแม่ยายหูหนวกคนหนึ่ง ...

เรื่องมีอยู่ว่า ในเมืองสาวัตถีมีพ่อค้าคนหนึ่ง มีศรัทธาเลื่อมใส่ในพระพุทธศาสนา ถือศีลห้าเป็นประจำ วันหนึ่งเขาไปฟังธรรมที่วัดเชตวัน ขณะนั้นแม่ยายได้ไปเยี่ยมครอบครัวของเขา แต่แม่ยายคนนี้หูแกค่อนข้างตึง เมื่อไปถึงบ้านพบแต่ลูกสาวอยู่บ้านไม่พบลูกเขยจึงเอ่ยปากถามลูกสาวว่า
"นี่ลูกผัวเอ็งนะยังรักเอ็งอยู่รึเปล่า มีเรื่องทะเลาะกันบ้างไหม?"
ลูกสาวตอบว่า "แม่..คนดีๆ อย่างลูกเขยแม่คนนี้นะ แม้บวชแล้วก็ยังหายาก"
ยายแกฟังคำพูดของลูกสาวไม่ชัดได้ยินแต่คำว่าบวชเท่านั้น จึงร้องตะโกนขึ้นด้วยความตกใจกว่า
"อ้าว..ผัวเอ็งไปบวชแล้วหรือ"

ชาวบ้านเรือนข้างเคียงกันได้ยินเช่นนั้นก็พากันพูดว่า "พ่อค้าไปบวชเสียแล้ว" คนที่เดินผ่านไปมาจึงพูดคุยกันแต่เรื่องพ่อค้าออกบวชแล้วฝ่ายพ่อค้าเจ้าของเรื่องหลังจากฟังธรรมเสร็จก็เดินกลับบ้าน ขณะนั้นมีชายคนหนึ่งได้เดินตรงมาจับแขนเขาถามว่า "ข่าวว่าท่านบวชแล้ว ลูกและเมียของท่านพากันร้องไห้อยู่ที่บ้านมิใช่หรือ" พ่อค้าไม่พูดอะไรได้แต่คิดว่า เรายังไม่ได้บวชก็มีคนว่าเราบวชแล้ว ข่าวดีเช่นนี้ไม่ควรให้หายไปไหน ตกลงเราควรจะบวชในวันนี้ละ "จึงเดินกลับวัดเชตวันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องนั้นแก่พระองค์ หลังจากอุปสมบทได้ไม่นานก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ เพื่อคลายความสงสัยของพวกภิกษุ พระพุทธองค์จึงนำอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วพระโพธิสัตว์เกิดเป็นพ่อค้าในเมืองพาราณสีมีแม่ยายหูตึงเช่นกัน วันหนึ่งเขาเดินทางไปนอกเมืองด้วยราชกรณียกิจอย่างหนึ่งได้เกิดเรื่องทำนองเดียวกันนี้ขึ้น เมื่อเขากลับเข้าเมืองมาทราบข่าวนั้น จึงไปทูลลาพระราชาออกบวชด้วยการกล่าวเป็นคาถาว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ในกาลใด บุคคลได้รับสมัญญาว่าผู้มีกัลยาธรรมในโลก ในการนั้นนรชนผู้มีปัญญาว่าผู้มีกัลยาณธรรมในโลก ในกาลนั้นนรชนผู้มีปัญญาไม่ควรให้ตนเสื่อมจากสมัญญานั้นเป็นธุระสำคัญแม้ด้วยหิริ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน สมัญญาว่าผู้มีกัลยาณธรรมในโลกข้าพระองค์ได้รับแล้วในวันนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นสมัญญานั้นอยู่ จักขอบวชในวันนี้ เพราะข้าพเจ้าองค์ไม่มีความพอใจในการบริโภคกามคุณในโลกนี้"
เขาได้บวชเป็นฤาษีอยู่ป่าหิมพานต์จนตลอดชีพ ตายแล้วไปเกิดในพรหมโลก

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : คำพูดของผู้คน สามารถชักจูงความคิดของคนให้กระทำความดีความชั่วได้

_____________________________________________________________

เรื่อง นิสัยของลิงชั่ว

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระเทวทัต ผู้อกตัญญูประทุษร้ายมิตร ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์แห่งหนึ่ง ในแคว้นกาสี ในระหว่างทางมีบ่อน้ำลึกอยู่บ่อหนึ่ง สัตว์ลงกินน้ำไม่ได้ ผู้คนสัญจรไปมาต่างต้องการบุญ ใช้กระบอกตักน้ำเทใส่รางทิ้งไว้ให้สัตว์ได้ดื่มกิน ใกล้บ่อน้ำนั้นมีป่าใหญ่ล้อมรอบมีลิงฝูงใหญ่อาศัยอยู่ในป่านั้น

ต่อมาช่วงหนึ่ง ทางนั้นขาดคนสัญจรไปมาติดต่อกันถึง ๒-๓ วัน สัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งฝูงลิงไม่ได้ดื่มน้ำ มีลิงตัวหนึ่งกระหายน้ำมากเดินวนเวียนรอบบ่อน้ำนั้นอยู่ วันนั้นพระโพธิสัตว์เดินทางผ่านไปทางนั้นพอดีจึงตักน้ำในบ่อเทใส่รางให้มันดื่มกิน เสร็จแล้วคิดจะเอนหลังนอนพักเหนื่อยใต้ต้นไม้สักงีบหนึ่งก่อนเดินทางต่อไป ส่วนลิงนั้นดื่มน้ำแล้วก็ไม่หนีไปไหนได้นั่งทำหน้าล่อกแล่กหลอกพระโพธิสัตว์อยู่ใกล้ ๆ นั่นเอง

พระโพธิสัตว์เห็นกริยาของมันแล้วจึงพูดตวาดว่า "อ้ายวายร้าย ลิงอัปรีย์ ข้าได้ให้เจ้าดื่มน้ำรอดตายแล้ว ยังจะมาทำหน้าล่อกแล่กหลอกข้าอีกน่าอนาถใจแท้ ข้าช่วยเหลือสัตว์ชั่ว ๆ ไม่มีประโยชน์เลย

ลิงได้ฟังคำนั้นแล้วพูดตอบว่า "ท่านเข้าใจว่าจะมีเพียงแค่นี้หรือ เราจะถ่ายอุจจาระรดหัวท่านอีกด้วยนะ" แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า
"ท่านเคยได้ยินหรือเคยได้เห็นมาบ้างไหมว่า ลิงตัวไหนที่ชื่อว่าเป็นสัตว์มีศีล เราจะถ่ายอุจจาระรดหัวท่านเดี๋ยวนี้แล้วจึงจะไป นี่เป็นธรรมดาของพวกเรา"

พระโพธิสัตว์ได้ฟังเช่นนั้นจึงเตรียมจะลุกขึ้น ทันใดนั้นเองลิงกระโดดจิบกิ่งไม้แล้วถ่ายอุจจาระรดหัวพระโพธิสัตว์ แล้วร้องเจี๊ยก ๆ เข้าป่าไป พระโพธิสัตว์อาบน้ำชำระร่างกายแล้วจึงเดินกลับบ้านไปอย่างคนหัวเสีย

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : การคบและช่วยเหลือคนชั่วไม่มีประโยชน์เลย มีแต่จะสร้างความรำคาญและให้โทษ

_____________________________________________________________

เรื่อง นาคกับพญาครุฑ

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระเทวทัตผู้พูดมุสาแล้วถูกแผ่นดินสูบ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพ่อค้าชาวเมืองพาราณสีประมาณ ๕๐๐ คน แล่นสำเภาไปในมหาสมุทรเพื่อไปค้าขายเมือง อื่น ในวันที่ ๗ สำเภาถูกพายุกระหน่ำล่มกลางทะเล ผู้คนล้มตาย เป็นเหยื่อของปลาหมดหลงเหลือเพียงชายคนหนึ่งถูกลมพัดกระหน่ำไปขึ้นที่ฝั่งท่าน้ำกทัมพิยะ เสิ้อผ้าไม่มี เปลือยกายล่อนจ้อน เดินเที่ยวขอทานอยู่

พวกชาวบ้านพบเห็นเขาก็พากันยกย่องเขาว่าเป็นผู้มักน้อยสันโดษ เป็นนักบวช จึงพากันสักการะบูชาเขาเป็นการใหญ่ นับตั้งแต่วันนั้นมาเขาเองก็ไม่ปรารถนาจะนุ่งห่มเสื้อผ้าได้ลาภสักการะจำนวนมาก ถูกคนเรียกหาว่า กทัมพิยอเจลกะ (ชีเปลือยทัมพิยะ)

ในสมัยนั้น มีพญานาคตนหนึ่งชื่อบัณฑรกนาคราช และพญาครุฑตนหนึ่งจะพากันมาปรึกษาชีเปลือยนั้นอยู่เป็นประจำอยู่มาวันหนึ่งพญาครุฑมาหาชีเปลือยแล้วขอร้องว่า "ท่านขอรับพวกญาติของผมจำนวนมาก ตายเพราะจับพวกนาคโดยไม่ทราบสาเหตุ ขอความกรุณาจากท่านช่วยถามพญานาคให้ผมด้วยเถิด"

ชีเปลือยนั้นรับคำจะถามให้ เมื่อพญานาคมาหาจึงถามความนั้นพญานาคตอบว่า "ท่านขอรับเรื่องนี้เป็นความลับของพวกกระผม ถ้าผมบอกท่านเท่ากับผมนำความตายมาสู่ตนเอง และพวกญาติ จึงไม่ขอตอบได้ไหม"
ชีเปลือย "พญานาค เราจะไม่บอกใครหรอก ถามเพราะอยากจะทราบเท่านั้นเองละ จงบอกเถิด"
พญานาคตอบว่า "ผมบอกไม่ได้หรอกครับท่าน" ไหว้ชีเปลือยแล้วก็กลับไป ชีเปลือยถามเช่นนั้นอยู่ ๒ วัน พญานาคก็ไม่ยอมบอกเช่นเดิม ในวันที่ ๓ พญานาคพอถูกชีเปลือยถามอีกจึงกำชับชีเปลือยอย่าได้บอกใคร แล้วก็เล่าให้ฟังว่า "ท่านขอรับเพราะพวกกระผมกลืนกินก้อนหินทุกวันทำให้ตัวหนักนอนอยู่ เมื่อพวกครุฑมาจับที่หัวลากไป จึงถ่วงพวกครุฑจมน้ำตายเป็นจำนวนมาก พวกครุฑมันโง่จึงจับที่หัว ถ้ามันจับหางของพวกเราหินก็จะไหลออกจากปากสามารถนำพวกเราไปได้ ความลับก็มีอยู่เท่านี้แหละท่าน" แล้วก็ลากลับไป

อีกวันต่อมา เมื่อพญาครุฑมาหาเปลือยผู้ทุศีลก็เล่าเรื่องนั้นให้ฟัง พญาครุฑจึงปรี่เข้าไปจับขนดหางพญานาคโผบินขึ้นสู่ท้องฟ้าไป พญานาคเมื่อทราบความลับถูกเปิดเผลแล้ว จึงคร่ำครวญว่า "ภัยเกิดจากตัวเองแท้ๆ ที่พูดพล่อยไม่ปิดบัง บอกความลับแก่ใคร จึงได้บอกออกไปน่าเจ็บใจจริง ๆ "
พญาครุฑพูดว่า "ท่านนาคราช ท่านบอกความลับแก่ชีเปลือยแล้ว จะมาคร่ำครวญอยู่ทำไม สัตว์ที่จะไม่ตายไม่มีในโลกขึ้นชื่อว่าความลับไม่ควรบอกใครๆ ไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา พี่น้องแม้กระทั่งภรรยาและบุตรธิดา" แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

"บัณฑิตไม่พึงเปิดเผยความลับ พึงรักษาความลับนั้นไว้เหมือนรักษาขุมทรัพย์ เพราะว่าความลับบุคคลรู้อยู่ไม่เปิดเผยได้เป็นการดีบัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี ศัตรู คนที่ใช้อามิสล่อ และคนผู้ล้วงความลับ"

พญานาคได้ฟังธรรมของพญาครุฑแล้วอ้อนวอนขอชีวิตว่า "ท่านพยาครุฑ ข้าพเจ้าขอชีวิตจากท่าน ขอท่านจงตั้งตนดุจเป็นมารดาของข้าพเจ้าเถิด"
พญาครุฑตอบว่า "เอาเถอะ เราจะปล่อยท่านไป แต่ว่า บุตรมี ๓ จำพวก คือ ศิษย์ บุตรบุญธรรม และบุตรตัวเอง ท่านยินดีจะเป็นบุตรประเภทไหนของเราละ" ว่าแล้วก็ปล่อยพญานาคไป สัตว์ทั้ง ๒ ก็อยู่กันอย่างสามัคคีกันเช่นเดิม

ต่อมาวันหนึ่งสัตว์ทั้ง ๒ ได้ชวนกันไปหาชีเปลือยอีก พญาครุฑทราบว่าพญานาคจักหมายชีวิตชีเปลือย จึงไม่เข้าไปหาปล่อยให้แต่พญานาคผู้เดียวเข้าไปหาชีเปลือยนั้น พญานาคได้กล่าวติเตียนและสาบแช่งชีเปลือยว่า "ท่านเป็นคนเลวทรามประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้าย ไม่รักษาคำสัตย์ ขอให้หัวของท่านจงแตกเป็น ๗ เสี่ยง" กล่าวจบก็พากันกลับไปที่อยู่ของตนส่วนชีเปลื่อยพอสัตว์ทั้ง ๒ จากไปเท่านั้น หัวก็แตกออกเป็น ๗ เสี่ยงสิ้นชีวิตแล้วไปเกิดในนรก

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ความลับไม่ควรเปิดเผยให้ใครที่ไหนทราบดังคำมีว่า ความลับไม่ให้ถึงสาม ความงามไม่ให้ถึงสี่ ความมิดความหมี่ไม่ให้ถึงห้าถึงหก

_____________________________________________________________

เรื่อง พญาช้างฉัททันต์

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง ผู้นั่งฟังธรรมระลึกถึงอดีตชาติได้แล้วแสดงอาการเดี๋ยวหัวเราะเดี๋ยวร้องไห้ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีช้างประมาณ ๘,๐๐๐ เชือกมีฤทธิ์เหาะไปในอากาศได้ อาศัยสระฉันททันต์อยู่ในป่าหิมพานต์ครั้งนั้น พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นลูกช้างของช้างหัวหน้าโขลง มีสีขาวปลอด ปากและเท้าสีแดง เมื่อเติบโตขึ้นมีร่างกายใหญ่โตมากกว่าช้างเชือกอื่น ๆ ที่งามีแสงรัศมี ๖ ประการเปล่งประกายออกมา

อยู่ต่อมาเมื่อบิดาเสียชีวิตแล้ว พระโพธิสัตว์ได้เป็นหัวหน้าช้างแทน มีชื่อว่า พญาช้างฉัททันต์ มีภรรยา ๒ เชือก คือมหาสุภัททาและจุลลสุภัททา วันหนึ่งในฤดูร้อน ป่ารังมีดอกบานสะพรั่ง พญาช้างฉัททันต์ได้พาบริวารไปหากินที่ป่ารัง ใช้กระพองชนต้นรังให้ดอกหล่นลงมา นางช้างจุลลสุภัททายืนอยู่เหนือลมจึงถูกใบรังเก่า ๆ ติดกับกิ่งไม้แห้งมีมดดำมดแดงตกใส่ร่างกาย ส่วนนางช้างมหาสุภัททายืนอยู่ใต้ลมเกสรดอกไม้และใบสด ๆ จึงโปรยปรายใส่ร่างกาย นางช้างจุลลสุภัททาเห็นเช่นนั้นจึงเกิดความน้อยใจว่าสามีโปรดปรานและรักใคร่แต่นางช้างมหาสุภัททา ส่วนตนมีแต่มดดำมดแดงร่วงใส่ จึงผูกความอาฆาตในพญาช้างฉัททันต์

ต่อมาอีกวันหนึ่ง พญาช้างฉัททันต์เมื่ออาบน้ำในสระเสร็จแล้ว ขึ้นมายืนบนฝั่งขอบสระ มีนางช้างทั่งสองยืนเคียงข้าง ขณะนั้นมีช้างเชือกหนึ่งได้นำดอกบัวมีกลีบ ๗ ชั้นดอกหนึ่งขึ้นมามอบให้พญาช้าง พญาช้างโปรยเกสรลงบนกระพองแล้ว ยื่นดอกบัวให้แก่นางช้างมหาสุภัททา เป็นเหตุให้นางช้างจุลลสุภัททาเห็นแล้วคิดน้อยใจว่า "พญาช้างให้ดอกบัวแก่ภรรยาที่รักและโปรดปรานเท่านั้น ส่วนเราไม่เป็นที่รักที่โปรดปรานจึงไม่ให้" จึงผูกเวรในพญาช้างอีก

อยู่มาวันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ พญาช้างได้ไปอุปัฏฐากถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า นางช้างจุลลสุภัททาถวายผลไม้แล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า "สาธุ ถ้าดิฉันตายไปแล้วขอให้ไปเกิดเป็นอัครมเหสีของพระราชาผู้มีอำนาจ สามารถฆ่าพญาช้างนี้ได้ด้วยเทอญ" นับแต่วันนั้นนางก็อดหญ้าอดน้ำ ร่างกายผ่ายผอม ไม่นานก็ล้มป่วยตายไปเกิดเป็นธิดาของพระราชาในแคว้นมัททรัฐ เมื่อเจริญวัยแล้ว ก็ได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าเมืองพาราณสี เป็นที่รักใคร่โปรดปรานมาก ระลึกชาติหนหลังได้ วันหนึ่งจึงทำทีเป็นประชวรไข้หนักบรรทมอยู่ พระราชาเสด็จมาตรัสถามว่า "น้องนางดูนัยน์ตาเจ้าก็แจ่มใส แต่เหตุไรหนอ น้องนางจึงดูโศกเศร้าซูบผมไปละจ๊ะ"
มเหสี "เสด็จพี่ หม่อมฉันแพ้ครรภ์ ฝันเห็นสิ่งที่หาได้ยากพระเจ้าคุณ แต่ถ้าไม่ได้สิ่งนั้น ชีวิตของหม่อมฉันคงอยู่ไม่ได้เช่นกัน"
พระราชา "น้องนาง มีอะไรในโลกนี้ที่หาได้ยากบอกพี่มาเถิดจะจัดหามาให้"
มเหสี "เสด็จพี่ ถ้าจะกรุณาหม่อมฉัน โปรดรับสั่งให้ประชุมนายพรานป่าทุกสารทิศเข้าประชุมกันที่ท้องพระโรง มีนายพรานป่าประมาณ ๖๐,๐๐๐ คนมาประชุมกัน พระเทวีเมื่อพระราชาเปิดโอกาส จึงตรัสว่า "ท่านนายพรานทั้งหลาย ฉันฝันเห็นช้างเผือก ที่งามีรัศมี ๖ ประการ ฉันต้องการงาคู่นั้น ถ้าไม่ได้ชีวิตฉันก็คงอยู่ไม่ได้ ขอให้พวกท่านนำมาถวายเถิด"
พวกนายพรานทูลว่า "ขอเดชะอาญาไม่พ้นเกล้า ตั้งแต่เป็นพรานมาก็ไม่เคยได้ยินปู่ทวดกล่าวถึงพญาช้างเผือก งามีรัศมี ๖ ประการเลย ขอพระองค์ได้ตรัสบอกที่อยู่ของพญาช้างด้วยเถิดพะยะค่ะ"
พระเทวีได้ตรวจดูพรานป่าทั้งหมด เห็นพรานป่าคนหนึ่งชื่อโสณุตระ มีเท้าใหญ่ เข่าโต หนวดดก เคราแดง ตาเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของพรานผู้โหดร้าย จึงมีรับสั่งให้เข้าเฝ้าแล้วตรัสบอกทิศทางไปว่า "จากนี้ไปทางทิศเหนือ ข้ามภูเขา ๗ ลูก มีภูเขาสูงที่สุดลูกหนึ่งชื่อ สุวรรณปัสสคีรี เจ้าจงขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้นมองดูตามเชิงเขา จะเห็นต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งมีกิ่งก้านสาขาหนาทึบมีพญาช้างเผือกเชือกหนึ่งอาศัยอยู่ มีงาสวยงามมาก มีบริวารอยู่มาก เจ้าจงระวังตัวให้ดี พวกมันระวังรักษาแม่แต่ธุลีก็ไม่ให้แตะต้องพญาช้างได้"
นายพรานเกิดความกลัวตายทูลว่า "ข้าแต่พระเทวี พระแม่เจ้าทรงประสงค์จะฆ่าพญาช้าง เอางามาประดับหรือว่าจะให้พญาช้างฆ่าพวกนายพรานเสียกระมัง"
พระเทวี "นายพราน..เรามีความริษยาและความน้อยใจเมื่อนึกถึงความหลัง ขอเพียงท่านทำตามคำของเรา จะได้บ้านส่วยเก็บภาษี ๕ ตำบล ไปเถิดอย่ากลัวเลย" พร้อมกับชี้แจงที่อยู่ของพญาช้างให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น มอบทรัพย์ให้พันหนึ่งแล้วนัดให้มาอีก ๗ วัน แล้วรับสั่งช่างเหล็กให้ทำอาวุธ ช่างหนังให้ทำกระสอบหนังใส่สัมภาระ ในวันที่ ๗ นายพรานโสณุตระเข้าเฝ้าทูลอำลาเข้าป่าไป

นายพรานปีนยอดเขา ๗ ลูก จนเข้าไปถึงที่อยู่ของพญาช้างเห็นพญาช้างเผือกงามีรัศมี ๖ ประการ ลงอาบน้ำในสระอยู่ เมื่อถึงเวลากลางคืนจึงขุดหลุมสี่เหลี่ยมเพื่อใช้เป็นที่แอบดักยิงพญาช้างในเวลาใกล้รุ่ง คลุมร่างกายมิดชิดด้วยผ้าเหลืองแล้วลงไปยืนถือธนูมีลูกอาบยาพิษแอบอยู่ในหลุมนั้น รอการมาของพญาช้าง

วันนั้น พญาช้างได้พาบริวารออกหากินตามปกติ เมื่อลงอาบน้ำแล้วก็ขึ้นมายืนบนฝั่งใกล้หลุมนั้น ทันใดนั้นเองก็ร้องขึ้นสุดเสียงเมื่อถูกลูกศรของนายพราน ฝูงช้างได้ยินเสียงร้องของพญาช้างต่างตกใจวิ่งหนีเข้าป่าไป พญาช้างตัวเดียวเหลียวดูที่มาของลูกศรแล้วพลิกกระดานขึ้นเห็นนายพรานเท่านั้น คิดจะจับขึ้นมาฆ่าพอเห็นผ้าเหลืองพันกายนายพรานเท่านั้น ความโกรธก็หายไป ด้วยตระหนักว่า "ผ้าเหลืองคือธงชัยแห่งพระอรหันต์ บัณฑิตไม่ควรทำลาย ควรสักการะเคารพอย่างเดียวโดยแท้" จึงกล่าวเป็นคาถาว่า

"ผู้ใดยังไม่หมดกิเลส ปราศจากทมะ และสัจจะ ผู้นั้น ไม่ควรจะนุ่งห่มผ้าเหลือง ส่วนผู้ใดคลายกิเลสได้แล้วตั้งมั่นอยู่ในศีลประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแล ควรนุ่งห่มผ้าเหลือง"

แล้วถามนายพรานว่า "เพื่อนเอ๋ย ท่านยิงเราเพื่อต้องการอะไร เพื่อตนเอง หรือคนอื่นใช้ให้มาฆ่าเรา" นายพรานตอบว่า "พญาช้าง พระนางสุภัททามเหสีของพระเจ้ากาสีกราช ได้ทรงสุบินเห็นท่าน จึงใช้ให้ข้าพเจ้ามาเพื่อประสงค์งาทั้งคู่ของท่าน"

พญาช้างก็ทราบโดยทันทีถึงการผูกเวรของนางจุลลสุภัททา จึงกล่าวว่า "เพื่อนเอ๋ย พระนางสุภัททามิใช่จะต้องการงาทั้งสอง ของเราดอก ประสงค์จะฆ่าเราเท่านั้น ถ้าเช่นนั้นก็เชิญเถิดนายพราน จงหยิบเลื่อยมาตัดงาเราขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เถิด"

นายพรานจึงใช้เลื่อยตัดงาทั้งคู่แล้วรับถือกลับเมืองไป พญาช้างมอบงาให้นายพรานแล้วตั้งจิตอธิษฐานให้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ แล้วตั้งจิตเมตตาให้นายพรานเดินทางกลับเมืองด้วยความปลอดภัย แล้วก็ล้มลงขาดใจตาย

ฝ่ายนางช้างมหาสุภัททาพร้อมฝูงช้างวิ่งหนีไปได้ระยะทางหนึ่ง เมื่อไม่เห็นศัตรูตามมาก็พากันกลับเห็นพญาช้างสิ้นใจตายแล้ว ก็พากันร่ำไห้คร่ำครวญอยู่ ณ ที่ตรงนั้น ส่วนนายพรานก็นำงาทั้งคู่เข้าถวายพระนางสุภัททาพระนางรับคู่งาอันวิจิตรมีรัศมี ๖ ประการวางไว้ที่พระเพลาทอดพระเนตรดูงาของสามีสุดที่รัก เกิดความเศร้าโศกสลดในอย่างยิ่งทันใดนั้นเองดวงหทัยของพระนางก็ได้แตกสลายสวรรคตในวันนั้นเช่นกัน

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : อย่าคิดทำอะไรด้วยอารมณ์หุนหันพลันแล่น วู่วาม เพราะจะนำความเศร้าโศกเสียในมาให้ภายหลัง
_____________________________________________________________
เรื่อง สัตว์ ๔ สหาย

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภอุบาสกผู้ผูกมิตรคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธ ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีชาวบ้านกลุ่มหนี่งประกอบอาชีพล่าสัตว์ พอทราบว่าป่าใดมีสัตว์มากก็จะพากันตั้งแค้มป์พักอยู่ใกล้ป่านั้นล่าสัตว์ อยู่ต่อมาได้พากันไปล่าสัตว์ในป่าแห่งหนึ่งในป่านั้นล่าสัตว์ อยู่ต่อมาได้พากันไปล่าสัตว์ในป่าแห่งหนึ่ง ในป่านั้นมีสระเกิดเองโดยธรรมชาติสระหนึ่ง มีสัตว์ ๔ ชนิดอาศัยอยู่รอบสระ ด้านขวามือของสระมีเหยี่ยว ๒ ผัวเมียอาศียอยู่ ด้านเนือมีราชสีห์ ด้านตะวันออกมีพญานกออก (นกเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิดหนี่ง ชอบหากินปลาในทะเล) และในสระมีเต่าอาศัยอยู่ สมัยนั้นพระโพธิสัตว์เกิดเป็นราชสีห์

วันหนึ่งเหยี่ยวสามีได้ปรึกษาภรรยาว่า "นี่น้อง..เราควรจะมีลูกน้อยได้แล้วละ" ภรรยากล่าวว่า "พี่.. เรายังไม่มีมิตรสักคนเลย ถ้าเกิดภัยอันตรายขึ้นมา เราจะไปพึ่งใคร ก่อนแต่จะมีลูกน้อย น้องว่าเราควรจะเข้าไปผูกมิตรกับสัตว์อีก ๓ ตัวนั้นก่อน" สามีเห็นดีด้วยเมื่อผูกมิตรกับสัตว์ทั้ง ๓ ตัวแล้ว จึงไปทำรังอยู่ที่ต้นกระทุ่มต้นหนึ่งข้างสระน้ำนั้น ไม่นานก็มีลูกน้อย ๒ ตัว

อยู่มาวันหนึ่ง พวกชาวบ้านกลุ่มนั้นพากันตระเวนล่าสัตว์ป่าตลอดวันไม่ได้สัตว์อะไรสักตัวเลยปรึกษากันว่า "เมื่อไม่ได้อะไรพวกเราก็พักอยู่ในป่านี่แหละ ได้อะไรแล้วค่อยกลับคืนบ้าน" ตกลงพักค้างคืนใต้ต้นกระทุ่มต้นนั้น เมื่อมียุงมารุมกัดพวกเขาจึงก่อกองไฟขึ้น ควันไฟได้รมลูกนกเหยี่ยวมันจึงพากันร้อง พวกเขาจึงพูดกันว่า "เสียงลูกนกนี่ หาอะไรไม่ได้ทั้งวันหิวจนตาลายอยู่แล้ว มัดคบเพลิงเร็ว จะขึ้นไปนำมันลงมาปิ้งกัน" แม่เหยี่ยวพอลูกส่งเสียงร้องก็ทราบว่ามีภัยอันตรายแล้ว จึงรีบบินบอกสามีให้ไปขอความช่วยเหรือจากพญานกออก

พญานกออกยินดีช่วยเหลือได้บินไปจับอยู่ที่ต้นไม้ต้นหนึ่งที่อยู่ข้างเคียง พอชาวบ้านคนหนึ่งถือคบเพลิงปีนขึ้นต้นไม้ใกล้จะถึงรังนกเหยี่ยว มันก็รีบบินลงในสระน้ำนำมาดับคบเพลิง คนนั้นก็จะลงมาจุดคบเพลิงและปีนขึ้นไปใหม่ ใกล้จะถึงรังนกเหยี่ยวก็ถูกพญานกออกดับคบเพลิงอีก เป็นอยู่ลักษณะเช่นนี้จนถึงเที่ยงคืน พญานกออกเหน็ดเหนื่อยจนตาแดงก่ำ เหยี่ยวเห็นพญานกออกเหน็ดเหนื่อมากแล้วจึงขอบคุณและให้กลับไปพักผ่อนส่วนตนรีบขอความช่วยเหลือจากเต่า เต่าใหญ่ขึ้นมาจากสระน้ำนำเปลือกตมและสาหร่ายขึ้นไปดับกองไฟ แล้วหมอบอยู่

พวกชาวบ้านเห็นเต่าใหญ่ขึ้นมาจากสระน้ำมาดับไฟก็พากันหันมาจับเต่าแทน ช่วยกันดึงเถาวัลย์ และแก้ผ้านุ่งผูกเต่าดึงไว้กลับถูกเต่าใหญ่ลากลงสระน้ำไป ต่างคนก็สะบักสบอมได้กินน้ำจนพุงกาง ขึ้นจากสระน้ำแล้วพากนบ่นพึมพำว่า "พวกเราเหวย ..นกออกคอยดับคบเพลิงเราตั้งครึ่งคืน คราวนี้โดนเต่าใหญ่ลากลงน้ำได้กินน้ำจนพุงกาง ก่อไฟขึ้นใหม่เถอะเรา เมื่ออรุณขึ้นแล้วค่อยกินลูกเหยี่ยวก็ได้" ว่าแล้วกากันเก็บฟืนมาก่อไฟขึ้นใหม่

ส่วนเหยี่ยว ๒ ผัวเมียหารือกันว่า "คงจะต้องถึงเวลาไปขอความช่วยเหลือจากท่านราชสีห์แล้วละทีนี้" เหยี่ยวสามีจึงไปขอความช่วยเหลือจากท่านราชสีห์ ราชสีห์รับคำแล้วเดินไปที่กองไฟของพวกชาวบ้าน พวกเขาพอเห็นราชสีห์เดินมาต่างก็พากันกลัวตายร้องเสียงหลงว่า "ครั้งแรกนกออกคอยดับคบเพลิง เต่าใหญ่มาทำให้พวกเราผ้าเปียก คราวนี้ราชสีห์จักมาเอาชีวิตพวกเราแล้วต่างพากันแตกตื่นวิ่งหนีกระเจิงไป

ราชสีห์เดินไปใต้ต้นกระทุ่มไม่เห็นมีใครหลงเหลืออยู่เลย ไม่นานเหยี่ยว พญานกออก และเต่าก็เข้ามาหา ราชสีห์จึงให้โอวาทว่า " ต่อแต่นี้ไป สูเจ้าทั้งหลายอย่าทำลายมิตรธรรม อยู่อย่างไม่ประมาทเถิด" แล้วก็กลับที่อยู่ของตน สัตว์ต่าง ๆ ก็แยกย้ายกลับที่อยู่ของตนไป แม่เหยี่ยวมองดูลูกน้อยของตนแล้วพูดขึ้นว่า "เพราะอาศัยมิตรแท้ ๆ เราจึงรักษาลูกๆ ไว้ได้" แล้วจึงกล่าวเป็นคาถาว่า

"บุคคลพึงคบมิตรสหายและเจ้านายไว้ เพื่อได้รับความสุข เรากำจัดศัตรูได้ด้วยกำลังแห่งมิตร เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยบุตรทั้งหลาย บันเทิงอยู่ เหมือนเกราะที่บุคคลสวมแล้วป้องกันลูกศรทั้งหลายได้ฉะนั้น"

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : มิตรแท้สามารถช่วยเหลือในยามทุกข์ยามลำบากได้
_____________________________________________________________
เรื่อง ประโยชน์ของฤกษ์

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภเรื่องประโยชน์ของฤกษ์ เรื่องมีอยู่ว่า

วันหนึ่ง มีชาวบ้านนอกคนหนึ่ง ไปขอสาวในเมืองสาวัตถีให้ลูกชายของตน พร้อมกำหนดนัดวันแต่งงานไว้แล้ว ครั้นถึงวันแต่งานได้ไปสอบถามฤกษ์กับนักบวชอาชีวกว่าดีหรือไม่ นักบวชอาชีวกโกรธที่เขาไม่ได้มาปรึกษาก่อนในคราวแรกจึงพูดว่า " วันนี้ฤกษ์ไม่ดี ท่านอย่ากระทำการมงคลใดๆ ขืนทำลงไปจะเกิดความพินาศ " พวกเขาพากันเชื่ออาชีวกจึงไม่ได้ไปรับตัวเจ้าสาวในวันนั้น

ฝ่ายชาวเมืองสาวัตถีได้จัดเตรียมงานมงคลไว้พร้อมเพรียงแล้ว แต่ไม่เห็นพวกเจ้าบ่าวมารับเจ้าสาวสักที จึงตกลงกันว่า " พวกนั้น กำหนดนัดวันนี้แล้วกลับไม่เห็นมา งานของพวกเราก็ใกล้จะเสร็จแล้ว พวกเราจะยกลูกสาวให้คนอื่นไปเสีย " จึงได้จัดงานแต่งงานด้วยมงคลที่ได้เตรียมไว้แล้วนั้น

ในวันรุ่งขึ้นพวกบ้านนอกที่ขอไว้ก็มาถึง ทันทีที่เห็นหน้ากันพวกชาวเมืองก็พากันด่าพวกบ้านนอกว่า " พวกท่านสมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นคนบ้านนอก ขาดความเป็นผู้ดี กำหนดนัดวันไว้แล้ว กลับไม่มาตามนัด เชิญกลับไปตามทางที่มานั้นแหละ พวกเรายกเจ้าสาวให้คนอื่นไปแล้วละ "

พวกชาวบ้านนอกจึงทะเลาะกับชาวเมืองด้วยเหตุอันนี้ เรื่องที่อาชีวกทำลายงานมงคลของผู้คนเป็นที่ทราบกันไปทั่ว แม้กระทั่งภิกษุในวัด

ในเย็นของวันหนึ่ง พวกภิกษุประชุมกันในธรรมสภาถามเรื่องประโยชน์ของฤกษ์แก่พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงตรัสเป็นพระคาถาว่า
" ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่เขลาที่มัวรอคอยฤกษ์ยามอยู่
ประโยชน์นั่นแหละเป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวทั้งหลายจักทำอะไรได้ "

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
จะทำกิจการใดๆ ไม่ควรคอยฤกษ์ยาม

_____________________________________________________________

เรื่อง ปลุกมันขึ้นมาฆ่า

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ปรารภการยกย่องอสัตบุรุษของพระเจ้าอชาตศัตรู ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

ในกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มีลูกศิษย์ประมาณ ๕๐๐ คน ในนั้นมีมานพคนหนึ่งชื่อ สัญชีวะ ได้เรียนมนต์ทำคนตายให้ฟื้นคืนมาได้แต่ไม่ได้เรียนมนต์สำหรับป้องกัน

วันหนึ่ง เขาเข้าไปหาฟืนกับเพื่อน เห็นเสือตายตัวหนึ่งนอนตายอยู่ ก็พูดกับเพื่อนๆ ว่า
" เราจะทำเสือตายตัวนี้ ให้ฟื้นคืนมา พวกท่านจะเชื่อเราหรือไม่ " พวกเพื่อนๆไม่เชื่อและท้าว่า " ถ้าท่านมีความสามารถ ก็จงปลุกให้มันตื่นขึ้นมาเถิด " แล้วก็ต่างรีบปีนขึ้นต้นไม้ไป

ส่วนนายสัญชีวะ ร่ายมนต์แล้วขว้างเสือตายด้วยก้อนหิน ทันใดนั้นเอง เสือได้ลุกขึ้น กระโดดกัดที่ก้านคอของเขา ทำให้เขาเสียชีวิตล้มลงตรงนั้นเอง ทั้งคนและสัตว์นอนตายในที่เดียวกัน พวกมานพขนฟืนไปแล้ว บอกเรื่องนั้นแก่อาจารย์ อาจารย์จึงกล่าวคาถาว่า
" ผู้ใดยกย่องและคบหาคนชั่ว
คนชั่วย่อมกระทำผู้นั้นแหละ ให้เป็นเหยื่อ
เหมือนเสือโคร่งที่สัญชีวมานพทำให้ฟื้นขึ้น แล้วทำเขานั้นแล ให้เป็นเหยื่อ "

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
การที่นิยมยกย่องคนไม่ดี ย่อมประสบความเดือดร้อน

_____________________________________________________________
เรี่อง พระปริตป้องกันสัตว์ร้าย

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง มรณภาพเพราะถูกงูกัด ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธการ ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤาษีบำเพ็ญสมาบัติอยู่ที่คุ้งแม่น้ำแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์ มีฤาษีหลายร้อยตนเป็นบริวาร ณ ที่ฝั่งแม่น้ำนั้น มีงูนานาชนิดอาศัยอยู่ งูได้กัดฤาษีเสียชีวิตไปหลายตน พระโพธิสัตว์ทราบเรื่องนั้นแล้วจึงพูดให้โอวาทคณะฤาษีว่า
"ท่านทั้งหลาย..หากพวกท่านเจริญเมตตาให้ตระกูลพญางูทั้ง ๔ งูทั้งหลายก็จะไม่กัดพวกท่านหรอก" แล้วกล่าวคาถาว่า

"ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูวิรูปักขะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูเอราปถะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูฉัพยาปุตตะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูกัณหาโคตมะ"

และกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
"ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ที่ไม่มีเท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ ๒ เท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ ๔ เท้า ขอไมตรีจิตของเรา จงมีกับสัตว์ที่มีเท้ามาก"

พระโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงธรรมด้วยการขอร้อง ได้กล่าวคาถาว่า
"ขอสัตว์ที่ไม่มีเท้า สัตว์ที่มี ๒ เท้า สัตว์ที่มี ๔ เท้า สัตว์ที่มีเท้ามาก อย่าได้เบียดเบียนเราเลย"

เมื่อจะแสดงการเจริญเมตตาโดยไม่เจาะจงได้กล่าวคาถาว่า
"ทั้งมวลจงพบกับความเจริญ ความชั่วช้าอย่าได้มาแผ้วพานสัตว์ตนใดตนหนึ่งเลย"

เพื่อระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย จึงพูดว่า
"พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีพระคุณหาประมาณมิได้บรรดาสัตว์เลื้อยคลาน คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแกและหนู มีคุณหาประมาณได้"

เพื่อแสดงกรรมที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ได้กล่าวคาถาว่า
"เราได้ทำการรักษา ทำการป้องกันไว้แล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายผู้มีชีวิตจงพากันหลีกไป ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์"

ตั้งแต่นั้นมา คณะฤาษีได้เจริญเมตตารำลึกถึงพระพุทธคุณงูทั้งหลายต่างก็หลบหนีไปอยู่ที่อื่น

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
แม้อสรพิษก็ไม่เบียดเบียนผู้เจริญเมตตาภาวนา

_____________________________________________________________

เรื่อง หนูถูกหลอก

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

กาลครั้งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นหนู มีตัวโตขนาดลูกหมู มีบริวาร ๕๐๐ ตัว อาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง มีหมาจิ้งจอกตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ใกล้กับที่อยู่ของหนู คิดจะลวงกินหนู ในวันหนึ่ง มันจึงทำทียืนด้วยขาข้างเดียว อ้าปาก แหงนมอง จ้องดูดวงอาทิตย์อยู่

หนูพระโพธิสัตว์ เห็นมันแล้วคิดว่า " หมาจิ้งจอกตัวนี้คงจะเป็นผู้ทรงศีล " จึงเดินเข้าไปใกล้ไต่ถามดูว่า "ท่านชื่ออะไร ? " หมาจิ้งจอกตอบว่า " เราชื่อธรรมิกะ (ผู้ทรงธรรม)"
หนู " ทำไมท่านยืนเท้าเดียว ไม่ยืนทั้ง ๔ เท้า ? "
หมาจิ้งจอก " ถ้าเรายืน ๔ เท้า แผ่นดินจะไหว จึงยืนเท้าเดียว "
หนู " ทำไมท่านยืนอ้าปาก ? "
หมาจิ้งจอก " เราไม่กินอย่างอื่น กินลมเป็นอาหาร"
หนู " ทำไมท่านจ้องดูดวงอาทิตย์ ? "
หมาจิ้งจอก " เรานอบน้อมพระอาทิตย์ "

หนูเชื่อว่าหมาจิ้งจอกว่าเป็นผู้ทรงศีล จึงพากันบำรุงมันอยู่ ฝ่ายหมาจิ้งจอกก็จับหนูตัวสุดท้ายกินเป็นอาหารทุกวัน กินเสร็จก็เช็ดปากยืนต่อ เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนหนูลดน้อยลง

วันหนึ่ง หนูโพธิสัตว์คิดจะตรวจดูว่าหนูบริวารหายไปไหน จึงไปบำรุงหมาจิ้งจอกเป็นตัวสุดท้าย พอได้โอกาสหมาจิ้งจอกก็จับหนูโพธิสัตว์ไว้เพื่อจะกิน หนูรู้เรื่องราวทั้งปวง จึงกล่าวคาถาว่า
" ผู้ใด กล่าวเชิดชูธรรมให้เป็นธงชัย
ล่อลวง ให้สัตว์ทั้งหลายตายใจแล้วซ่อนตนประพฤติชั่ว
ความประพฤติของผู้นั้น ชื่อว่า เป็นความประพฤติของแมว "

หนูพูดพลางก็กระโดดเกาะคอหมาจิ้งจอกกัดที่ซอกคอมันตายทันที ฝูงหนูได้กลับมากัดกินหมาจิ้งจอกเป็นอาหาร และอยู่สุขสบายสืบมา

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
เล่ห์เหลี่ยมของคนมีมาก ก่อนจะเชื่อใครควรศึกษาให้ถ่องแท้

_____________________________________________________________

เรื่อง ตำราเลือกลูกเขย

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพราหมณ์เลือกลูกเขยคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า ...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ในเมืองตักกสิลา มีพราหมณ์คนหนึ่งมีลูกสาว ๔ คน แต่ละคนมีรูปร่างสวยงามเป็นที่หมายปองของชายหนุ่มทั่วไปในบรรดาชายหนุ่มที่มาจีบลูกสาวของพราหมณ์นั้นมีชายหนุ่ม ๔ คนที่เข้าตาของพราหมณ์ คือ คนที่ ๑ เป็นคนรูปหล่อ คนที่ ๒ มีอายุมากแต่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ คนที่ ๓ เป็นลูกชายเศรษฐีตระกูลดี คนที่ ๔ เป็นคนมีศีลธรรม

พราหมณ์คิดหนักใจว่าจะเลือกใครเป็นลูกเขยดี เพราะทั้ง ๔ คน ก็มีความดีแตกต่างกันไป เขาจึงตัดสินใจไปปรึกษาอาจารย์ทิศาปาโมกข์ว่า "ท่านอาจารย์ครับ ผมมีเรื่องกลุ้มใจมาปรึกษาอาจารย์ คือมีชายหนุ่มอยู่ ๔ คน คือ ๑ คนรูปหล่อ ๒ คนอายุมาก ๓ คนมีชาติสูง ๔ คนมีศีล มาจีบลูกสาวผม ผมคิดไม่ตกว่าจะเลือกใครดี ถ้าอาจารย์เป็นผมจะเลือกเอาคนไหน"

พระโพธิสัตว์พูดตอบว่า "พราหมณ์..คนไม่มีศีลถึงมีรูปสมบัติก็น่าตำหนิ ดังนั้น รูปสมบัตินี้ไม่ใช่สิ่งสำคัญ ถ้าฉันเป็นพราหมณ์นะ ฉันจะเลือกคนมีศีลเป็นลูกเขย" แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

"ร่างกายก็มีประโยชน์ ข้าพเจ้าขอทำความนอบน้อมต่อท่านผู้เจริญวัย ชาติสูงก็มีประโยชน์ แต่ข้าพเจ้าชอบใจศีล"

พราหมณ์ฟังแล้วชอบใจ พอกลับไปถึงบ้านจึงตัดสินในยกลูกสาวทั้ง ๔ คน ให้แก่คนผู้มีศีลไป
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ผู้มีศีลธรรมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง

_____________________________________________________________
เรื่อง ปลาเจ้าปัญญา

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้เฒ่า ๒ รูป ที่ผลัดวันประกันพรุ่ง เป็นผู้เกียจคร้าน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีปลา ๓ ตัว เป็นสหายกันชื่อว่า พหุจินตี อัปปจินตี และมิตจินตี ตามลำดับ พากันว่ายออกจากป่าลึกเข้ามาใกล้ถิ่นมนุษย์หากิน

ปลามิตจินตีบอกกับเพื่อนๆว่า " ถิ่นมนุษย์เต็มไปด้วยภัย พวกชาวประมงพากันดักข่ายและไซพวกเรา เข้าป่าลึกตามเดิมเถอะเพื่อน " ปลาอีก ๒ ตัว พูดว่า " วันพรุ่งนี้ พวกเราค่อยไปเถิด " เพราะความเกียจคร้านและติดใจในเหยื่อจนเวลาล่วงไปถึง ๓ เดือน

ชาวประมง ได้เริ่มวางข่ายดักปลาในแม่น้ำ ปลาพหุจินตีและอัปปจินตี เมื่อออกหาอาหารพากันว่ายไปข้างหน้าอย่างไม่ระวัง ก็ว่ายเข้าไปในท้องข่ายทันที ส่วนปลามิตจินตี มาทีหลังได้กลิ่นข่ายก็ทราบว่าเพื่อนอีก ๒ ตัว ติดข่ายแล้ว จึงช่วยเพื่อนด้วยการแสดงลวงให้ชาวประมงเข้าใจว่าข่ายขาดปลาหนีไปได้ ด้วยการกระโดดข้ามข่ายไปมา พวกชาวประมงจึงยกข่ายขึ้นด้วยเข้าใจว่าข่ายขาด ปลาอีก ๒ ตัว จึงรอดออกมาได้ ด้วยการช่วยเหลือของปลามิตจินตี

พระพุทธองค์ เมื่อตรัสเล่าอดีตนิทานแล้ว ได้ตรัสพระคาถาว่า
" ปลาชื่อพหุจินตีและปลาชื่ออัปปจินตี ทั้ง ๒ ตัวติดอยู่ในข่าย
ปลาชื่อมิตจินตีได้ช่วย ให้หลุดพ้นจากข่าย
ปลาทั้ง ๒ ตัว จึงได้มาพร้อมกันกับปลามิตจินตี ในแม่น้ำนั้น "

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ไม่ควรผลัดวันประกันพรุ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลร้ายมากกว่าผลดี

_____________________________________________________________

เรื่อง ชื่อนั้นสำคัญไฉน

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระภิกษุผู้หวังความสำเร็จโดยชื่อรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ อยู่ในเมืองตักกสิลา มีลูกศิษย์คนหนึ่งชื่อว่า ปาปกะ (นายบาป) เขาคิดว่าชื่อของเขาไม่เป็นมงคล จึงเข้าไปหาอาจารย์ และขอให้อาจารย์ตั้งชื่อให้ใหม่ อาจารย์จึงบอกให้ไปเที่ยวแสวงหาชื่อที่ตนเองชอบใจมาแล้วจะทำพิธีเปลี่ยนชื่อให้


เขาได้ออกเดินทางไปแสวงหาชื่อใหม่ จนถึงเมืองหนึ่ง เดินผ่านขบวนญาติหามศพไปป่าช้า จึงถามถึงชื่อคนตาย พวกญาติจึงบอกชื่อว่า ชีวกะ(นายบุญรอด) เขาถามว่า " ชื่อชีวกะก็ตายหรือ ? " พวกญาติจึงกล่าวว่า " จะชื่ออะไร ๆ ก็ตายทั้งนั้น ชื่อเป็นเพียงบัญญัติสำหรับเรียกกันเท่านั้น "

พอเดินเข้าไปในเมือง พบเห็นพวกนายทุนกำลังจับนางทาสีเฆี่ยนด้วยเชือกอยู่ จึงถามความนั้นทราบว่านางไม่ยอมให้ดอกเบี้ยจึงถูกลงโทษแทน ถามถึงชื่อนางทาสีนั้น ทราบว่าชื่อนางธนปาลี (นางรวย) จึงถามว่า " ชื่อรวย ยังไม่มีเงินดอกเบี้ยหรือ ? " พวกนายทุนจึงตอบว่า " จะชื่อรวยหรือจน เป็นคนยากจนได้ทั้งนั้น ชื่อเป็นเพียงบัญญัติเรียกกันเท่านั้น " เขาเริ่มรู้สึกเฉยๆ ในเรื่องชื่อยิ่งขึ้น

เขาได้เดินทางออกจากเมืองไป ในระหว่างทางพบคนหลงทางคนหนึ่ง จึงถามชื่อ ทราบว่าชื่อ ปันถกะ(นายชำนาญทาง) จึงถามว่า " ขนาดชื่อชำนาญทางยังหลงทางอยู่หรือ ? " คนหลงทางจึงตอบว่า " จะชื่อชำนาญทางหรือไม่ชำนาญทาง ก็มีโอกาสหลงทางได้เท่ากัน เพราะชื่อเป็นบัญญัติสำหรับเรียกกันเท่านั้น "

เขาจึงวางเฉยในเรื่องชื่อ เดินทางกลับไปพบอาจารย์ แล้วเล่าเรื่องที่ตนพบเห็นมาให้ฟัง และขอให้ชื่อนายบาปเช่นเดิม อาจารย์จึงกล่าวคาถานี้ว่า
" เพระเห็นคนชื่อเป็นได้ตายไป หญิงชื่อรวยกลับตกยาก
และคนชื่อว่านักเดินทางแต่กลับหลงทางอยู่ในป่า นายปาปกะจึงได้กลับมา "

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ชื่อนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ เป็นเพียงแค่ บัญญัติเท่านั้น อย่ามัวหลงอยู่ในชื่อ
 

_________________
จงระแวงในสิ่งที่ควรระแวง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวหมายเลข ICQ
tamma
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 3

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2008, 8:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แนะนำ คลิปวีดีโอ

นิทานชาดก นิทานอีสป นิทานพื้นบ้าน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
suvitjak
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2008, 1:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ขอบคุณ ยิ้มเห็นฟัน ครับ
 

_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง