Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อยากทำสมาธิแต่กลัว มีวิธีแนะนำไหมคะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 2:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอเกริ่นก่อนนะคะว่าอยู่ต่างประเทศ เมื่อมีเวลาตอนลูกๆ หลับแล้วจะสวดมนต์ทุกวัน บางครั้งเคยนั่งสมาธิ แต่จิตมันกลัวเหลือเกิน ไม่รู้เป็นอะไรค่ะ บางทีเหมือนจะเห็นอะไรก็เลย ไม่กล้าหลับตาต่อซะอย่างนั้น เคยแบบว่ากำลังกำหนดๆ อยู่แล้วคนที่บ้านเปิดประตูเข้ามาแบบไม่ให้สุ้มให้เสียงตกใจลืมตาแบบอัตโนมัติเลยค่ะแล้วเหมือนใจหาย วูบเลย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นค่ะ เคยถามหลายคนบอกว่า ถ้าเป็นแบบนี้ไม่ควรทำสมาธิเพราะเหมือนจิตเราตกใจง่าย อาจจะทำให้เสียสติได้ จริงหรือเปล่าคะ พอได้ยินอย่างนี้แล้วกลัว ไม่กล้าทำอีกเลย ไม่ทราบพอจะมีคำแนะนำดีดีไหมคะ อยากทำทุกวัน เริ่มวันละ 5-10 นาทีก็ยังดี

ปล. เมื่อก่อนตอนเด็กๆ เคยทำสมาธิก็ไม่เป็นแบบนี้นะคะ ไม่เคยขี้ตกใจแบบนี้มาก่อนเลย ..แต่ตอนนี้เหมือนกลัวหูจะได้ยินอะไร บางทีเสียงก๊อกแก๊กเราก็คิดไปแล้วน่ะค่ะ ไม่ทราบควรทำอย่างไรดีคะ อยากมีสมาธิและจิตที่นิ่งกว่านี้น่ะค่ะ เศร้า
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 6:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่ตกใจเพราะสติไม่ได้ จดจ่ออยู่กับคำบริกรรมครับ

ถ้าสติจดจ่ออยู่กับคำบริกรรมเสียแล้ว ถึงใครจะมาใครจะไปเราก็มีสติรู้สึกตัวทั่วพร้อมทำให้อาการทางกาย หรือการตกใจนั้นลดลงได้ เพราะเริ่มมีสติจดจ่ออยู่กับคำบริกรรม

ส่วนเรื่องที่เรานั่งหลับตาลง แล้วเห็นอะไรต่างๆนั้น สิ่งต่างๆที่เราเห็นนั้น มันเกิดจากการที่เราคิด ปรุงแต่งขึ้นมาทั้งสิ้น ไม่ว่า จะเป็นเรื่องอดีต ก็ดี ที่เราละไปแล้ว แต่ยังคงมีสัญญาคือความจำติดอยู่ในใจเรา หรือเรียกง่ายว่า ตัวความคิดนั่นเองที่ทำให้เรากลัว ถ้าเราตั้งสติได้คือสนใจอยู่แต่กับคำบริกรรม เช่น พุทโธ ความกลัวนั้นก็จะลดลง หรือ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนว่า ให้เรา นึกถึงพระพุทธเจ้าก็ได้ เหตุผลเพราะ พระองค์นั้น ไม่มีความกลัวแล้ว คือได้ละ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้หมดแล้ว ในเมื่อเรานึกถึงพระองค์ผู้ไม่กลัว เรียกได้ว่า เรามีพระองค์อยู่ในใจ ความกลัว ก็จะเบาเทาลงได้เหมือนกันครับ

สิ่งสำคัญที่สุด คืออะไรจะเกิดขึ้นก็แล้วแต่ขณะทำสมาธิ ให้ตั้งสติ หรือนึกถึง พุทโธไว้ อย่าให้จิตส่งส่ายไปข้างนอก เท่านั้นก็จะทำให้เรามองเห็นอะไรที่กว้างมากขึ้น

ถ้าถูกใจก็ลองทำดูนะครับ

ถ้าไม่ถูกใจ ก็ลองหาวิธีอื่นดูนะครับ

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 9:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตั้งสติให้ดีสิครับ อย่าวอกแวก
ถ้าตกใจ ก็ให้กำหนดจิต ว่า ตกใจหนอ ๆๆๆๆ จนกว่าจะไม่ตกใจ
แล้วค่อยกลับมากำหนดที่คำบริกรรมต่อ

แต่ว่าถ้าเกิดความกลัวก็ให้หยุดบริกรรม
แล้วเอาจิตปักไว้ที่อาการกลัว แล้วก็กำหนดว่า
กลัวหนอ ๆๆๆๆ จนกว่าอาการกลัวจะแปรปรวนไป
แล้วก็จะเห็นพระไตรลักษณ์ในอาการกลัว
ว่าอาการกลัวก็เป็นสิ่งที่มีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ในท่ามกลาง
แล้วก็ก็แปรปรวน หรือดับไปในที่สุด

พอให้การแปรปรวนหรือดับไปแล้ว
หรือไม่มีอาการหลัวแล้วก็ให้กลับมาบริกรรมเหมือนเดิม

ถ้าเกิดอาการอื่น ๆ ก็สามารถกำหนดได้เหมือนกัน
ไม่ว่าจะเป็น จิตมีโทสะ โลภะ หรือโมหะ ก็สามารถกำหนดได้เหมือนกัน
จิตเกิดความกำหนัดในกามก็กำหนดได้เหมือนกันนะครับ

ทั้งหมดนี้เป็นการกำหนดจิตตานุปัสสนา
อันเป็นหนึ่งในการกำหนด สติปัฏฐาน ๔ เหมือนกัน
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 9:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในระหว่างการเจริญสติ
ถ้าหากว่าเกิดเวทนา(สุข ทุกข์ เฉย)
ไม่ว่าจะเป็นเจ็บ ปวด เหน็บ ชา คัน หรืออื่น ๆ
ก็ให้กำหนดได้เหมือนกัน
ถ้าเจ็บตรงไหน ก็ให้เอาจิตปักไว้ตรงที่เจ็บ แล้วกำหนดว่า
เจ็บหนอ ๆๆๆๆ จนกว่าอาการเจ็บจะแปรปรวนไป หรือดับไป
แล้วค่อยกลับมาบริกรรมใหม่
อาการอื่น ๆ ก็กำหนดได้เหมือนกัน
ไม่ว่าจะเป็น ปวดหนอ เหน็บหนอ ชาหนอ คันหนอ หรืออื่น ๆ
ก็กำหนดได้เหมือนกันนะครับ

นี่เป็นการกำหนด เวทนา
อันเป็นหนึ่งในการเจริญ สติปัฏฐาน ๔
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 9:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อีกอย่างที่น่าจะทำร่วมกันก็คือ
การกำหนดอานตนะ ๖
ไม่ว่าจะเป็น
ถ้าได้ยินเสียงก็ให้กำหนด เสียงหนอ ๆๆๆ
ถ้าได้กลิ่นก็ให้กำหนดว่า กลิ่นหนอ ๆๆๆ
หรืออื่น ๆ ของอายตนะ ก็กำหนดได้เหมือนกันนะ
ไม่ว่าจะเป็น เห็นหนอ รสหนอ
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 9:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ

ในระหว่างการเจริญสติไม่ว่าการเดินจงกรม หรือนั่งสมาธิ
ถ้าหากว่าเกิดความคิด หรือเผลอคิดไปเรื่องอื่น
ก็ให้หยุดการบริกรรม แล้วมากำหนดที่ความคิด
โดยการเอาจิตปักไว้ที่ความคิด แล้วกำหนดว่า คิดหนอ ๆๆๆๆ
จนกว่าจะเห็นการแปรปรวน หรือการดับไปของความคิดนั้น ๆ
เมื่อความคิดนั้น ๆ หยุดลงก็กลับมากำหนดที่คำบริกรรมเหมือนเดิม
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 10:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาเหตุที่ให้เอาจิตปักไว้ที่อาการต่าง ๆแล้วดูให้เห็นความแปรปรวน
หรือความดับไป ก็เพื่อจะได้เห็น พระไตรลักษณ์ ในอาการต่าง ๆ ว่า
ธรรมทั้งหมดทั้งมวลนั้นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ว่าสิ่งใดที่เกิดขึ้น
ก็ไม่พ้นจากอาการสามอย่างนี้

เมื่อเห็นอาการต่าง ๆ โดยอาการสามอย่างนี้โดยตลอด
จิตก็จะเกิดอาการปล่อยวางในอาการทั้งหลาย
ว่าเป็นสิ่งที่เป็นธรรมดา ไม่น่ายึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านั้น

สิ่งที่สำคัญคือการมีสติ สัมปชัญญะ ที่จะกำหนดเห็นธรรมทั้งหลายเท่านั้น

ขอให้มีความเจริญในธรรม ของพระบรมศาสดานะครับ
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 10:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณค่ะ จะทำดูนะคะวันนี้ แต่อาจจะ 10 นาทีดูก่อนว่าความกลัวที่เคยมีจะหายไปไหม จะพยายามกำหนดนะคะ จะพยายามตั้งสติค่ะ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำด้วยค่ะ ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 5:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพราะจิตยังไม่ตั้งมั่นในอารมณ์หรือในกรรมฐาน บวกกับเราเก็บคำ
พูดของคนอื่นมาคิด ด้วย

ลองใช้วิธีนี้ดูครับ แรกๆ ให้ลืมตาก่อน ลืมตาเบาๆสบายๆภาวนา
ไป ๆ ตามกรรมฐานที่ใช้ จะกี่นาทีแล้วแต่ เมื่อจิตรับรู้อารมณ์ใดก็
กำหนดอารมณ์เช่นนั้นตามที่รู้สึกประกอบไปด้วย

ฝึกไปแบบนี้แหละบ่อยๆ ทำบ่อยๆ วันหนึ่งจิตจะคุ้นกับกรรมฐาน
เมื่อเค้ามีที่ยึด ที่เกาะในเบื้องต้น ความคิดก็จะหนักแน่นขึ้น

แล้วก็จึงค่อยหลับตา หรือ จะหลับๆลืมๆ ไปก่อนก็ได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง