Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความหมายคำว่า “พรหมจรรย์” อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 8:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ส่วนคำว่า จริยธรรม ตามที่เข้าใจกันในภาษาไทย ยังพร่าและสับสนไม่น้อย มีทั้งที่เข้าใจกัน

อย่างชาวบ้าน รู้สึกเหมือนๆ กับศีลธรรมนั่นเองบ้าง เข้าใจอย่างนักวิชาการในเชิงปรัชญา

บ้าง

แต่ในที่นี้จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับความหมายเหล่านั้นเลย ขอยุติอย่างเดียวกับคำว่าศีลธรรมข้างต้น

นั้นแลว่า ศีลธรรม ก็คือศีล ธรรมเป็นเพียงสร้อยคำ

จริยธรรม ก็คือจริยะ ธรรมเป็นเพียงสร้อยคำ

เมื่อยุติอย่างนี้แล้ว จริยะก็เข้ามาในพรหมจริยะ มีความหมายชัดเจนแน่นอน

เท่ากับมรรคหรือมัชฌิมาปฏิปทา แต่มองในแง่ของความประพฤติหรือการดำเนินชีวิต

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 8:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ว่าโดยลักษณะทั่วไป จริยธรรมนี้ มองไปได้กว้างขวางครอบคลุมวงการที่มีการใช้ธรรมทั้ง

หมด ไม่ว่าจะเป็นความ ประพฤติศีลธรรมอย่างที่เข้าใจกัน หรือการทำจิตใจให้มีความ

สุข วิธีสร้างสุขภาพจิต การฝึกจิต บำเพ็ญสมาธิภาวนา การเจริญวิปัสสนา

ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว การอยู่ร่วมกันด้วยดีในสังคม การไปเป็นอุบาสกจำศีลที่วัด

ตลอดจนการที่พระภิกษุไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่า รวมอยู่ในคำว่าจริยธรรมตามหลักนี้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 8:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ว่าโดยเนื้อหา ได้กล่าวแล้วว่า พรหมจริยะนี้ เป็นระบบการดำเนินชีวิตที่ดีงาม หรือระบบ

การปฏิบัติธรรมทั้ง หมดในพุทธศาสนา จึงครอบคลุมศีลธรรมอย่างที่เข้าใจกันในภาษาไทย

แล้วเลยไปถึงการฝึกอบรมจิต การปลูกฝังวางรากฐานคุณธรรมในจิตใจ และการสร้างญาณ

ทัสสนะต่างๆ ที่เป็นเรื่องของปัญญาภาวนาในขั้นสูง

พูดรวมๆ ว่าเป็นเครื่องมือฝึกปรือคุณธรรมทั้งทางกายทางวาจา และทางจิตใจ

หรือมองในแง่ไตรสิกขาว่า มีทั้งศีล สมาธิ และปัญญา ครบตลอด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 8:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ว่าโดยจุดหมาย จริยธรรมนี้ ประพฤติปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายทุกขั้น ทุกระดับเท่าที่

พุทธศาสนาแสดงไว้ จนถึงจุดหมายสูงสุดที่เรียกว่าพรหมจริยปริโยสาน หรือ

ความสิ้นโลภะ โทสะ โมหะ บรรลุวิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 9:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


คำแปลคำว่า พรหมจริยะ หรือ พรหมจรรย์ ที่กระทัดรัดว่า ชีวิตประเสริฐ หรือ

การครองชีวิตประเสริฐ

และสรุปลักษณะของจริยธรรมตามหลักนี้ว่า จริยธรรมมิใช่ข้อปฏิบัติที่จะกำหนดวางกันขึ้น

ตามความพอใจของผู้มีอำนาจใดๆ และมิใช่หลักการที่สักว่าจะยึดถือปฏิบัติตามๆ กันไป

จริยธรรมที่แท้ จะเกิดมีขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่อิงอาศัยความรู้แจ้งสัจธรรม และจริยธรรมที่แท้

นั้น แม้จะเกิดมีขึ้นแล้ว ก็จะประพฤติให้สำเร็จผลไม่ได้ ถ้าไม่สัมพันธ์กับความรู้ความ

เข้าใจในสัจธรรม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง