Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ...ทำอย่างไรให้รอดจากการเลย์ออฟ... อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 12:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

การถูกให้ออกจากงานนั้น ย่อมไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง
แต่ ณ ภาวะปัจจุบันที่เราไม่อาจคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจได้เลย การเตรียมรับมือไว้ก็น่าจะเป็นเรื่องดีกว่า


ถึงแม้ว่าจะมีข่าวแว่ว ๆ มาว่าจะมีการปลดพนักงานออก
คุณก็อย่าตระหนกตกใจไป ตั้งใจทำงานของเราให้เต็มที่ดีกว่า
โดยทำงานอย่างมีความสุข และกระตือรือร้นที่จะทำงาน
ให้เจ้านายเห็นว่าคุณไม่ใช่คนเฉื่อยชา

คุณควรเตรียมการเงินสำรองไว้
อย่างน้อย ๆ คุณควรมีเงินเก็บสำรองไว้สัก 3 เดือนเป็นอย่างต่ำ
เผื่อเหลือยังไงก็ดีกว่าดเผื่อขาดค่ะ

หมั่นอัพเดทเรซูเม่เป็นประจำ
เพื่อที่ว่าคุณจะได้มีข้อมูลหรือผลงานล่าสุดไปเสนอให้บริษัทอื่นดูได้

หัดทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมสายงานต่างบริษัทเอาไว้บ้าง เผื่อคุณตกงานพวกเขาอาจจะช่วยเหลือคุณได้
และควรมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงานที่ถูกเลย์ออฟ
เช่น การช่วยหางานให
้ เผื่อว่าคุณอยากหางานใหม่พวกเขาจะได้ช่วยคุณกลับบ้าง

ทว่าหากคุณโชคร้ายโดนเลย์ออฟจริง ๆ ให้สงวนท่าทีไว้ อย่าโวยวาย แต่ให้คุยกับเจ้านายถึงค่าตอบแทนที่คุณควรจะได้

อย่ามัวแต่โทษตัวเอง
การถูกให้ออกจากงานอาจจะเกิดจากความจำเป็นของบริษัท คุณไม่ได้ทำอะไรผิด อย่าร้องไห้ฟูมฟายนานเกินเหตุ ทางที่ดีคือคุณควรพยายามหางานใหม่ทันทีที่ทำใจได้

แต่คุณก็ควรจะค่อย ๆ พิจารณางานใหม่
ที่ให้เงินเดือนตามที่คุณพอใจ ลักษณะงานถูกใจคุณ หรืออาจจะเป็นบริษัทที่มั่นคงและรู้จักการอดทนและการรอคอย อย่าสมัครเพื่อให้ได้งานเพียงอย่างเดียว
เพราะถ้าคุณสมัครงานในตำแหน่งที่คุณไม่ถนัด
คุณอาจจะอึดอัด และลำบากใจในภายหลังได้

เมื่อคุณมีโอกาสสัมภาษณ์งานใหม่
คุณควรรู้จักการโฆษณาตัวเองให้แก่บริษัทใหม่สนใจ
ซึ่งปัจจุบันถือเป็นเรื่องสำคัญ
โดยต้องให้ความสำคัญกับการใช้ถ้อยคำ
ลักษณะการพูด และการวางตัวเป็นสำคัญ


ทุกปัญหามีทางออกเสมอ
อยู่ที่ว่าเราพยายามที่จะมองทางออกนั้นหรือเปล่าเท่านั้นเอง



คัดลอกจาก...
http://variety.teenee.com/foodforbrain/8525.html

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 12:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สิทธิในการได้รับค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง

เลิกจ้าง คำนี้คงไม่มีใครอยากได้ยินจากปากนายจ้างของตนแน่
แต่บางที สถานการณ์ทางเศรษฐกิจมันบังคับ นายจ้างจำเป็นต้องลดขนาดกิจการลง
มิเช่นนั้นก็ต้องปิดบริษัท จึงจำต้องเลิกจ้างพนักงานบางส่วน
ก็ต้องมาดูกันว่าหากเราเป็นลูกจ้างในส่วนที่ถูกแจ๊คพ๊อตนั้น
เราจะมีสิทธิอย่างไรบ้างตามกฎหมายแรงงาน และเงินที่จะได้รับนั้นจะมีจำนวนเท่าไหร่

เบื้องต้นเราจำต้องรู้ความหมายของคำเหล่านี้ให้ดีเสียก่อน เพื่อจะได้ไม่สับสน

การเลิกจ้าง คือ การกระทำใด ๆ ก็ตามที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด รวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

ค่าชดเชย คือ เงินที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง

บุคคลที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
คือ ลูกจ้างซึ่งนายจ้างบอกเลิกการจ้างเท่านั้น
มิใช่การลาออกด้วยใจสมัครของลูกจ้าง
หรือการเกษียณอายุการทำงานก่อนกำหนดกฎหมาย
ก็ถือว่าเป็นการลาออกเองเช่นกัน

จำนวนเงินค่าชดเชยที่พึงได้รับตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541


1. ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน (1 เดือน)
หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

2. ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน (3 เดือน)
หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 90 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

3. ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน (6 เดือน)
หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 180 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

4. ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน (8 เดือน)
หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 240 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

5. ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน (10 เดือน)
หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

ใครจะได้เท่าไหร่ ก็นับอายุงานของตัวเองกันเลยนะครับ
ถ้าทำมานานก็ได้มากหน่อย ทำไม่นานก็ได้น้อยหน่อย แต่ก็ยังมีลูกจ้างบางประเภทนะครับที่แม้ว่าจะถูกเลิกจ้าง ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เรามาดูข้อยกเว้นดังกล่าวกันนะครับ

ข้อยกเว้นที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

1. ลูกจ้างลาออกจากงานด้วยความสมัครใจเอง

2. เป็นลูกจ้างประเภทกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
และเลิกจ้างตามกำหนดเวลานั้น ซึ่งกฎหมายได้
กำหนดรายละเอียดไว้ด้วยว่า การเลิกจ้างงานแบบใดที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
2.1 การจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจ
2.2 การค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่แน่นอน
2.3 งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน
2.4 งานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น

ทั้งนี้ การจ้างงานดังกล่าวมาข้างต้น นายจ้างและลูกจ้างต้องทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง และงานนั้นต้องทำแล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี

3. ถ้าเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้
3.1 ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
3.2 จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
3.3 ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
3.4 ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้าง
อันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว
เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
และหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับใช้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
3.5 ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร
3.6 ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

นอกจากค่าชดเชยปกติที่ได้กล่าวมานั้น
กฎหมายยังกำหนดให้มีค่าชดเชยพิเศษซึ่งลูกจ้างพึงได้รับ กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบการไปตั้งที่อื่น อันกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้าง และกรณีถูกเลิกจากเพราะนายจ้างนำเครื่องจักรมาใช้
และลดจำนวนลูกจ้างลง ซึ่งกรณีนี้มีการกำหนดจำนวนเงิน
และหลักเกณฑ์เฉพาะไว้ต่างหาก

ดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น ลูกจ้างและนายจ้างทั้งหลาย
ควรตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตน ในการเลิกจ้างงานหรือถูกเลิกจ้างงาน เพราะแท้จริงแล้วนายจ้างกับลูกจ้าง ก็เปรียบเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน ต่างต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเสมอไปครับ

โกวิท เหล็กสูงเนิน

คัดลอกจาก...
http://www.bunditcenter.com/articles.php?articleId=127

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง