Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
มานพ ธงชัยตระกูล
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2006, 3:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อริยสัจ ๔
1. ทุกข์ คือ อุปาทานขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา
(ที่ไหนมีเรา ที่นั่นมีผู้ที่จะรองรับความทุกข์ / เมื่อไม่มีเรา ก็ไม่มีผู้ทุกข์)
2. สมุทัย เหตุของความทุกข์ คือ ตัณหา ความทะยานอยาก ที่จะทำให้เกิดความยึดมั่นตามมา เมื่อมีความยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตน ความทุกข์ก็เกิดขึ้น -- ดังนี้ ตามปฏิจจสมุปบาท
3. นิโรธ คือ นิพพาน / ความดับสนิทของความทุกข์
4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับของความทุกข์ โดยย่อ คือ ศีล/ สมาธิ / ปัญญา

สำหรับสิ่งที่ต้องทำ ตามแนวอริยสัจ คือ
1. ให้รู้ ทุกข์
2. ละ สมุทัย
3. ทำนิโรธให้แจ้ง
4. เจริญ มรรค ให้มาก (ทำบ่อยๆ)

ขอขยายความตามภาษาชาวบ้าน ดังนี้ครับ :-
ให้เรามีสติ (ระลึกได้) สัมปชัญญะ (รู้ตัว ทั่วพร้อม ไม่เผลอหลง) ประกอบด้วย ศีล-สมาธิ-ปัญญา ระลึกรู้ สภาพของความทุกข์ ที่กำลังเกิดขึ้น ตามที่มันเป็น ก็จะเกิดปัญญา รู้ตามความจริงว่า นี้คือความทุกข์ นี้คือเหตุของความทุกข์ เมื่อรู้จักเหตุของความทุกข์แล้ว ก็จะละวางมันได้เอง ทำเช่นนี้บ่อยๆ จิตใจก็จะพัฒนาขึ้น ความทุกข์ก็จะลดลงโดยลำดับ จนเข้าถึงความดับของความทุกข์ในที่สุด
 
zeabra
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2006, 12:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ขออนุโมทนา สาธุ ธรรมจักร
 
charoem
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 07 เม.ย. 2008
ตอบ: 31

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2008, 12:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อริยสัจ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ที่ชื่อว่าทุกข์เพราะทนได้ยาก
๒. สมุทัย เหตุเกิดทุกข์ ได้แก่ตัณหา คือความทะยานอยาก
๓. นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ดับตัณหาให้สิ้นเชิง
๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่อริยมรรค ๘ ประการ

อริยสัจ ๔ ประการนี้ เป็นหลักคำสอนที่สำคัญของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงแสดงไว้อย่างชัดแจ้งในธรรมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดปัญจักวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันนี้เรียกว่า "สารนาถ" ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ที่เราเรียกวันนี้ว่า "อาสาฬหบูชา"พระธรรมเทศนากัณฑ์นี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปฐมเทศนา" คือ การเทศกัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้แล้ว ปฐมเทศนามีหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกอย่างสมบูรณ์ คำว่า "สัจจะ" แปลว่า ความจริง มี ๔ ประการ คือ
๑. สมมุติสัจ ความจริงโดยการสมมุติ คือความจริที่ไม่เป็นจริง เพียงแต่เราสมมุติขึ้นเท่านั้น

๒. สภาวสัจ ความจริงโดยสภาวะ คือความจริงที่เป็นจริง ซึ่งได้มาจากการค้นคว้าวิจัย ทดลองจนสามรถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้น

๓. อันติมสัจ ความจริงขั้นสุดท้าย หมายถึงความจริงที่ได้วิเคราะห์จนถึงที่สุดแล้วไม่มีอะไรจริงยิ่งไปกว่านั้น

๔. อริยสัจ ความจริงอันประเสริฐทำให้ผู้ปฏิบัติหลุดพ้นจากกองกิเลสทั้งหลายกลายเป็นหระอริยเจ้า

อริสัจข้อที่ ๑ ทุกข์
คำว่า "ทุกข์" นี้ ตามความหมายทั่วไป ก็หมายถึงความทุกข์มาน ความเจ็บปวดความโศกเสร้า เสียใจ แต่คำว่าทุกข์ใน

อริยสัจข้อที่ ๑ นี้ เป็นความทุกข์ที่แฝงทัศนะทางพุทศาสนาเกี่ยวกับชีวิตและโลกเอาไว้ ย่อมมีความหมายทางปรัชญาที่ลึกซึ้งกว่า เป็นที่ยอมรับกันว่า คำว่า ทุกข์ ในอริยสัจ ข้อที่ ๑ นั้น รวมถึงความหมายของทุกข์ตามปรกติธรรมดา เช่น ทุกข์ทรมาน ความเจ็บ ปวด เข้าไว้ด้วย และรวมถึงความคิดที่ลึกซึ้งเข้าไปด้วยกันด้วย เช่น ความไม่แน่นอน ความว่างเปล่า ความไม่สมหวัง ความไม่มีแก่นสาร เป็นต้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสทุกข์ไว้ในธรรมจักกัปปวัตนสูตร ตอนที่ว่าด้วยอริยสัจได้แบ่งทุกข์ออกเป็น ๒ ประการคือ

๑. สภาวทุกข์ ทุกประจำ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ และความตาย เป็นทุกข์
๒. ปกิณณกทุกข์ ทุกข์จร ได้แก่ ความเศร้าโศก เสียใจ ร่ำไห้ รำพัน ความผิดหวัง เป็นทุกข์

อริยสัจข้อที่ ๒ สมุทัย
สมุทัย คือ เหตุเกิดทุกข์ อันเกิดจากตัณหาคือ ความอยากที่มุอยู่ในจิตใจของแต่ละคนทำให้คนเกิดทุกข์ในขณะที่ลีทธิต่าง ๆสอนว่า ความทุกข์นั้นเกิดจากพระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นใหญ่บนสวรรค์ บันดาลให้มนุษย์เป็นไปต่าง ๆ กัน แต่พระพุทธเจ้าทรงชี้ไปที่ตัณหา คือความอยากเท่านั้นว่าทำให้คนเกิดทุกข์
ตัณหา ๓ ได้แก่
ก. กามตัณหา อยากได้กามคุณ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จัดเป็นกามตัณหา
ข. ภวตัณหา อยากได้ในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
ค. วิภวตัณหา อยากไม่ให้มี อยากไม่ให้เป็น เช่นอยากหนีภาวะที่คับแค้น

อริยสัจข้อที่ ๓ นิโรธ
นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การสละ การสลัดออก ความดับทุกข์ ได้แก่ นิพพานนั่นเอง คำนิยามของ นิพพาน หมายถึง การดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหา ความว่า ความปล่อยวาง ความไม่อาลัย "ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืออุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาธรรมเป็นที่สำรอก ธรรมเป็นที่ดับ คือ นิพพาน"

อริยสัจข้อที่ ๔ มรรค
มรรค แปลว่า หนทาง หมายถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มรรคนี้เป็นทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา เพราะมีทางปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปคือ

๑.ประเภทที่หย่อนเกินไป ร่างกายและจิตใจหมกมุ่นมัวเมาอยู่ในกามารมณ์ เรียนว่า กามสุขัลลิกานุโยค

๒. ประเภทที่ตึงเกินไป มีการทรมานตนให้ได้รับความลำบาก ทุกข์ทรมานอย่างหนักเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

การบำเพ็ญทั้งสองวิธีนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงทดลองมาแล้วตอนบำเพ็ญทุกรกิริยาก่อนตรัสรู้ เมี่อทดลองจนถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่พ้นทุกข์จึงได้ค้นพบวิธีปฏิบัติใหม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่หย่อนเกินไป และไม่ตึงเกินไป เป็นการปฏิบัติอยู่ในสายกลาง ทางสายกลางนี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ
๑. ความเห็นชอบ
๒. ความดำริชอบ
๓. การเจรจาชอบ
๔. การงานชอบ
๕. เลี้ยงชีพชอบ
๖. พยายามชอบ
๗. ระลึกชอบ
๘. ตั้งใจชอบ

อริยสัจทั้ง ๔ ประการนี้ ถือว่าเป็นหลักคำสอนที่คลุมธรรมทั้งหมด โดยเฉพาะทางสายกลางทั้งหมดนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงแสดงสายกลางนี้ตลอดมาเป็นระยะเวลานาน แก่บุคคลหลายประเภทที่แตกต่างกัน ตามกำลังสติปัญญาและความสามารถของแต่ลบุคคลที่จะเข้า
ใจและปฏิบัติตามพระองค์ได้การปฏิบัติตามมรรค ๘ ประการ หรือทางสายกลางนี้ต้องทำให้เกี่ยวเนื่องกันครบทุกข้อ แต่ละข้อเป็นทางปฏิบัติที่
สัมพันธ์กัน มรรคทั้ง ๘ ประการนี้มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การอบรมฝึกฝนตนตามหลักสูตรของพระพุทธศาสนาซึ่งมีสาระ
อยู่ ๓ ประการ คือ
ก. การประพฤติตามหลักจรรยา (ศีล)
ข. การฝึกฝนอบรมทางใจ (สมาธิ)
ค. การให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง (ปัญญา)

หลักการรู้อริยสัจ ๔
การรู้อริยสัจนั้น จะต้องมีหลักเกณฑ์ในการรู้ที่แน่นอนตายตัว การรู้อริยสัจที่ถือว่าจบเกณฑ์นั้น จะต้องรู้ ๓ รอบ รู้ในญาณทั้ง ๓ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ เรียกว่า ปริวัติ ครั้งละ ๔ รวมเป็น ๑๒ ครั้งดังนี้

รอบที่ ๑ สัจจญาณ คือรู้ว่า
๑. ทุกข์มีจริง ชีวิตคลุกเคล้าด้วยควมทุกข์จริง
๒. สมุทัย เป็นเหตุเกิดทุกข์จริง
๓. นิโรธ ความดับทุกข์มีจริง
๔. มรรค เป็นทางไปสู้ความดับทุกข์จริง

รอบที่ ๒ กิจจญาณ คือรู้ว่า
๑. ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้
๒. สมุทัย เป็นสิ่งที่ควรละ
๓. นิโรธ ความดับทุกข์ควรทำให้แจ้งขึ้นในใจ
๔. มรรค ควรบำเพ็ญให้เกิดขึ้น

รอบที่ ๓ กตญาณ คือรู้ว่า
๑. ทุกข์ เราได้กำหนดรู้แล้ว
๒. สมุทัย เราได้ละแล้ว
๓. นิโรธ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
๔. มรรค เราได้บำเพ็ญให้เกิดมีครบถ้วนแล้ว
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง