ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
นันทิกร
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
09 มี.ค.2005, 8:59 pm |
  |
อ่านหนังสือเรื่องทำสมาธิ ติดขัดคำว่าขันธ์ 5 ช่วยแปลให้ละเอียดด้วย |
|
|
|
|
 |
เปิดหนังสือตอบ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
10 มี.ค.2005, 5:20 am |
  |
ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เป็นมาร
เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ถูกปัจจัยต่างๆ มีอาพาธ เป็นต้น บีบคั้น เบียดเบียน เป็นเหตุขัดขวาง หรือรอนโอกาส มิให้สามารถทำความดีงามได้เต็มที่ หรืออาจตัดโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง
เป็นคำตอบที่น่าจะใช่นะ
เข้าใจตามนี้ไปก่อนก็แล้วกัน
ที่ถูกต้องต้องรอผู้รู้ผ่านมาตอบอีกที  |
|
|
|
|
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
10 มี.ค.2005, 4:00 pm |
  |
เขียนให้เป็นภาษาสมัยนี้ก็จะเป็นดังนี้ครับ
ขันธ์ 5 ได้แก่
1. รูป ตรงนี้คิดว่าเข้าใจแล้ว คือ กาย
2. เวทนา หมายถึง เห็น (แต่ความหมายกว้างไปจนถึงการรับความรู้สึกทั้งได้ยิน รับรส ได้กลิ่น สัมผัส นึกขึ้นได้ ใช้คำว่า"เห็น" แต่ครอบคลุมทั้งหมดครับ)
3. สัญญา หมายถึง จำ
4. สังขาร หมายถึง คิด
5. วิญญาณ หมายถึง รู้
เห็น จำ คิด รู้ เป็นกระบวนการทำงานของใจ
ดังนั้น ขันธ์ 5 คือ รูป เห็น จำ คิด รู้ ก็คือ ร่างกายกับจิตใจนั่นเองครับ |
|
|
|
|
 |
มาดู
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
10 มี.ค.2005, 11:08 pm |
  |
.....ค่อยเข้าใจได้ง่ายๆ หน่อย...
...
สาธุค่ะ... .... |
|
|
|
|
 |
jeed
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 มี.ค.2005, 2:25 pm |
  |
ตอบจากการอ่านและความเข้าใจนะค่ะ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ละอย่างก็มีรายละเอียด เช่น รูป คือกาย กายนั้นก็ยังมีกายหยาบ คือมนุษย์ กายละเอียด หรือกายทิพย์ อาจเป็นชั้นเทพ ชั้นวิญญาณ (คนละวิญญาณกับวิญญาณขันธ์นะ) เวทนา ก็แบ่งเป็นสุขเวทนา ทุกข์เวทนา อีก  |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 มี.ค.2005, 5:37 pm |
  |
รูป ในขันธ์ห้า หมายถึงมหาภูตรูปสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประกอบกันเป็นรูป จึงว่ารูปมิใช่ตัวตน |
|
|
|
|
 |
นันทิกร
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 มี.ค.2005, 8:24 pm |
  |
อ่านความคิดที่หนึ่ง และความคิดที่ 2 เข้าใจขึ้นมาก จะพยายามอ่านหนังสือธรรมะให้มากขึ้น ขอบคุณมาก ๆ |
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 มี.ค.2005, 4:44 pm |
  |
>ขันธ์ 5 ดังนี้
1 รูปขันธ์= กองแห่งรูป รูป ได้แก่ร่างกาย นี่แหละ
2 เวทนาขันธ์= กองแห่งเวทนา เวทนา การเสวยอารมณ์
3 สัญญาขันธ์ = กองแห่งสัญญา สัญญา ความจำอารมณ์
4 สังขารขันธ์ = กองแห่งสังขาร สังขารการปรุงแต่งอารมณ์
5 วิญญานขันธ์= กองแห่งวิญญาน การรับอารมณ์
>เรียกย่อ ๆ ว่า นาม-รูป
ข้อ 1-4 เป็นนามธรรม
ข้อ 1 เป็นรูปธรรม
ขันธ์ แปลว่า กอง
เวทนา เป็นเจตสิกธรรม มี 3 คือ 1 สุขเวทนา 2 ทุกขเวทนา 3 อุเบกขาเวทนา
เวทนา 3 นี้เราจะรับรู้ รู้สึกทุก ๆ วัน ทุก ๆ ช.ม. ทุก ๆ ลมหายใจเข้าออก.
สัญญา เป็นเจตสิก
สังขาร เป็นเจตสิก
วิญญาน มี 6 คือ
1 จักษุวิญญาน รับอารมณ์ทางตา
2 โสตวิญญาน รับอารมณ์หู
3 ฆานวิญญาน รับอารมณ์จมูก
4 ชิววิญญาน รับอารมณ์ทางลิ้น
5 กายวิญญาน รับอารมณ์กาย
6 มโนวิญญาน รับอารมณ์ทางใจ
|
|
|
|
|
 |
2
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 พ.ย.2005, 4:07 pm |
  |
|
|
 |
บู้บี้
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
30 พ.ย.2005, 3:05 pm |
  |
ขันธ์ 5
สรรพสิ่งทั้งหลายในอนันตจักรวาลนั้น แยกประเภทได้เป็น 3 ส่วน (ดูแผนผังด้านล่างประกอบ) คือ
1.) ส่วนที่เป็นวัตถุทั้งหลาย ได้แก่ สสารทั้งหลาย แสง สีทั้งหลาย เสียง กลิ่น รส ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความหย่อน ความตึง อาการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ช่องว่างต่างๆ อากาศ ดิน น้ำ ไฟ ลม สภาพแห่งความเป็นหญิง เป็นชาย เนื้อสมองและระบบของเส้นประสาททั้งหลาย อันเป็นฐานให้จิตเกิด รวมทั้งอาการแห่งความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป ดับไปของวัตถุทั้งหลายด้วย
ซึ่งรวมเรียกว่ารูปขันธ์ (ขันธ์ = กอง หมวด หมู่)
2.) ส่วนที่เป็นความรู้สึกนึกคิด และความคิดทั้งหลาย รวมเรียกว่านามขันธ์ แยกได้ 4 ชนิดคือ
2.1) เวทนาขันธ์ คือความรู้สึกเป็นสุขทางกาย ทุกข์ทางกาย โสมนัส(สุขทางใจ) โทมนัส(ทุกข์ทางใจ) อุเบกขาหรืออทุกขมสุขเวทนา(เป็นกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์)
2.2) สัญญาขันธ์ คือความจำได้หมายรู้ในสิ่งต่างๆ คือส่วนที่ทำหน้าที่ในการจำนั่นเอง (ไม่ใช่เนื้อสมอง แต่เป็นส่วนของความรู้สึกนึกคิด เนื้อสมองนั้นจัดเป็นรูปขันธ์ เนื้อสมองเป็นเหมือนสำนักงาน ส่วนนามขันธ์ทั้งหลายเหมือนผู้ที่ทำงานในสำนักงานนั้น)
2.3) สังขารขันธ์ คือส่วนที่ปรุงแต่งจิต คือสภาพที่ปรากฎของจิตนั่นเอง เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทาน(สภาพของจิตที่สละสิ่งต่างๆ ออกไป) ความเมตตา กรุณา มุทิตา สมาธิ ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ท้อถอย ความง่วง ความละอาย ความเกรงกลัว ความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัว เจตนาในการทำสิ่งต่างๆ ความลังเลสงสัย ความมั่นใจ ความเย่อหยิ่งถือตัว ความเพียร ปิติ ความยินดีพอใจ ความอิจฉา ความตระหนี่ ศรัทธา สติ ปัญญา การคิด การตรึกตรอง
2.4) วิญญาณขันธ์ หรือจิต คือผู้ที่รับรู้สิ่งทั้งปวง คือรับรู้ความรู้สึกต่างๆ
ตั้งแต่ ข้อ 2.1 จนถึงข้อ 2.3 และเป็นผู้รับรู้ถึงส่วนที่เป็นรูปขันธ์ทั้งหลายด้วย อันได้แก่เป็นผู้รับรู้สิ่งทั้งหลาย ที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง รวมถึงเป็นผู้รับรู้ในสภาวะแห่งนิพพานด้วย
3.) นิพพาน คือสภาวะที่พ้นจากรูปขันธ์และนามขันธ์ทั้งปวง
หรือสภาวะจิตที่พ้นจากความยึดมั่นผูกพันธ์ในสิ่งทั้งปวง รวมถึงไม่ยึดมั่นในนิพพานด้วย
นิพพาน = นิ + วาน (ในภาษาบาลีนั้น ว. กับ พ. ใช้แทนกันได้ วาน จึงเท่ากับ พาน)
นิ = พ้น
วาน = สิ่งที่เกี่ยวโยงไว้ ได้แก่ ตัณหาคือความทะยานอยาก และอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง
นิวาน หรือนิพพาน แปลตามตัวจึงหมายถึงความพ้นจากเครื่องเกี่ยวโยง(ตัณหาและอุปาทาน) นั่นเอง
สรุปแล้วขันธ์ 5 ประกอบด้วย
1.) รูปขันธ์
2.) เวทนาขันธ์
3.) สัญญาขันธ์
4.) สังขารขันธ์
5.) วิญญาณขันธ์
โดยที่เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์รวมเรียกว่าเจตสิก ซึ่งแปลว่าเป็นสิ่งที่เกิดร่วมกับจิตเสมอ (ในภาษาบาลีนั้นสระ อิ กับสระ เอ ใช้แทนกันได้ เจต จึงเท่ากับ จิต นั่นเอง) คือจิตและเจตสิกจะเกิดและดับพร้อมกันเสมอ จะแยกกันเกิดไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ เพียงแต่ว่าตอนนั้นนามขันธ์ตัวไหนจะแสดงตัวเด่นกว่าตัวอื่นเท่านั้นเอง
ใครต้องการทำการบ้านส่งก็มาหาในกระทู้นี้ได้ค่ะ |
|
|
|
|
 |
charoem
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 07 เม.ย. 2008
ตอบ: 31
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2008, 11:25 am |
  |
ขันธ์ 5
สรรพสิ่งทั้งหลายในอนันตจักรวาลนั้น แยกประเภทได้เป็น 3 ส่วน (ดูแผนผังด้านล่างประกอบ) คือ
1.) ส่วนที่เป็นวัตถุทั้งหลาย ได้แก่ สสารทั้งหลาย แสง สีทั้งหลาย เสียง กลิ่น รส ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความหย่อน ความตึง อาการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ช่องว่างต่างๆ อากาศ ดิน น้ำ ไฟ ลม สภาพแห่งความเป็นหญิง เป็นชาย เนื้อสมองและระบบของเส้นประสาททั้งหลาย อันเป็นฐานให้จิตเกิด รวมทั้งอาการแห่งความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป ดับไปของวัตถุทั้งหลายด้วย
ซึ่งรวมเรียกว่ารูปขันธ์ (ขันธ์ = กอง หมวด หมู่)
2.) ส่วนที่เป็นความรู้สึกนึกคิด และความคิดทั้งหลาย รวมเรียกว่านามขันธ์ แยกได้ 4 ชนิดคือ
2.1) เวทนาขันธ์ คือความรู้สึกเป็นสุขทางกาย ทุกข์ทางกาย โสมนัส(สุขทางใจ) โทมนัส(ทุกข์ทางใจ) อุเบกขาหรืออทุกขมสุขเวทนา(เป็นกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์)
2.2) สัญญาขันธ์ คือความจำได้หมายรู้ในสิ่งต่างๆ คือส่วนที่ทำหน้าที่ในการจำนั่นเอง (ไม่ใช่เนื้อสมอง แต่เป็นส่วนของความรู้สึกนึกคิด เนื้อสมองนั้นจัดเป็นรูปขันธ์ เนื้อสมองเป็นเหมือนสำนักงาน ส่วนนามขันธ์ทั้งหลายเหมือนผู้ที่ทำงานในสำนักงานนั้น)
2.3) สังขารขันธ์ คือส่วนที่ปรุงแต่งจิต คือสภาพที่ปรากฎของจิตนั่นเอง เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทาน(สภาพของจิตที่สละสิ่งต่างๆ ออกไป) ความเมตตา กรุณา มุทิตา สมาธิ ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ท้อถอย ความง่วง ความละอาย ความเกรงกลัว ความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัว เจตนาในการทำสิ่งต่างๆ ความลังเลสงสัย ความมั่นใจ ความเย่อหยิ่งถือตัว ความเพียร ปิติ ความยินดีพอใจ ความอิจฉา ความตระหนี่ ศรัทธา สติ ปัญญา การคิด การตรึกตรอง
2.4) วิญญาณขันธ์ หรือจิต คือผู้ที่รับรู้สิ่งทั้งปวง คือรับรู้ความรู้สึกต่างๆ
ตั้งแต่ ข้อ 2.1 จนถึงข้อ 2.3 และเป็นผู้รับรู้ถึงส่วนที่เป็นรูปขันธ์ทั้งหลายด้วย อันได้แก่เป็นผู้รับรู้สิ่งทั้งหลาย ที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง รวมถึงเป็นผู้รับรู้ในสภาวะแห่งนิพพานด้วย
3.) นิพพาน คือสภาวะที่พ้นจากรูปขันธ์และนามขันธ์ทั้งปวง
หรือสภาวะจิตที่พ้นจากความยึดมั่นผูกพันธ์ในสิ่งทั้งปวง รวมถึงไม่ยึดมั่นในนิพพานด้วย
นิพพาน = นิ + วาน (ในภาษาบาลีนั้น ว. กับ พ. ใช้แทนกันได้ วาน จึงเท่ากับ พาน)
นิ = พ้น
วาน = สิ่งที่เกี่ยวโยงไว้ ได้แก่ ตัณหาคือความทะยานอยาก และอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง
นิวาน หรือนิพพาน แปลตามตัวจึงหมายถึงความพ้นจากเครื่องเกี่ยวโยง(ตัณหาและอุปาทาน) นั่นเอง
สรุปแล้วขันธ์ 5 ประกอบด้วย
1.) รูปขันธ์
2.) เวทนาขันธ์
3.) สัญญาขันธ์
4.) สังขารขันธ์
5.) วิญญาณขันธ์
โดยที่เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์รวมเรียกว่าเจตสิก ซึ่งแปลว่าเป็นสิ่งที่เกิดร่วมกับจิตเสมอ (ในภาษาบาลีนั้นสระ อิ กับสระ เอ ใช้แทนกันได้ เจต จึงเท่ากับ จิต นั่นเอง) คือจิตและเจตสิกจะเกิดและดับพร้อมกันเสมอ จะแยกกันเกิดไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ เพียงแต่ว่าตอนนั้นนามขันธ์ตัวไหนจะแสดงตัวเด่นกว่าตัวอื่นเท่านั้นเอง |
|
|
|
  |
 |
ตามรอย
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่
|
ตอบเมื่อ:
14 พ.ค.2008, 12:15 am |
  |
ไม่มีไรจะบอกละครับ ตามด้านบนนี้เลยละกัน |
|
_________________ อย่าประมาทลืมตน |
|
   |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
20 พ.ค.2008, 4:22 pm |
  |
ขอแสดงความเห็นบ้างครับ
ขันธ์ 5 ประกอบด้วย
1. รูป ท่องจำมาว่าคือ สี ไม่ใช่ตน " สี " ในที่นี้ผมเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ หรือรวมถึงที่มองไม่เห็นด้วย เช่นว่า ที่พื้นบ้านของเรา ดูสะอาดตาดีอยู่ แต่เมื่อเอาไม้กวาดไปกวาดก็จะเห็นว่ามีฝุ่นมารวมกันเป็นกอง อัน" ฝุ่น " นี้เปรียบได้กับ " สี " และ " สี " เปรียบได้กับ " รูป " ครับ รูปนี้ไม่ได้มีเพียงร่างกายครับ หมายรวมถึง ทุกสรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
2. เวทนา ท่องจำมาว่า ความเสวยอารมณ์ ไม่ใช่ตน " ความเสวยอารมณ์ " ผมเข้าใจว่าเป็นความรับรู้ถึงอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีสุข มีทุกข์ และ เฉยๆ เช่นว่า อากาศร้อนเหงื่อออกรู้สึกไม่สบายตัวอันนี้ก็เป็นทุกขเเวทนา เป็นต้น
3. สัญญา ท่องจำมาว่า ความจำหมาย ไม่ใช่ตน " ความจำหมาย " หรือความจำได้นั่นแหละ คือจำในสิ่งต่างๆ หมายรวมถึงทุกๆสิ่ง มักจะมาพร้อมกับ สมมติ ( ให้เข้าใจง่ายๆว่า ชื่อเรียก )
4. สังขาร ว่ากันว่าคือการปรุงแต่ง " การปรุงแต่ง" อันนี้มักจะเห็นชัดใจความคิดครับ กระผมเข้าใจว่ามันคือตัวนึก ตัวคิด พิจารณาเห็นเป็นหลักๆ อยู่ 2 อย่างครับ คือ " รัก " กับ " ชัง " เช่นเห็นรูปที่สวยก็รู้สึกพอใจอันนี้คือ "รัก" เห็นสิ่งที่ไม่สวยไม่งามก็เกลียดอันนี้คือ "ชัง"
5. วิญญาณ หรือตัวรู้ หมายถึงรู้ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับขันธ์ทั้ง 4 ข้อ เช่น รู้ว่านี่คือรูป ( 1 ) รู้ว่าเรียกว่าอะไร ( 3 ) รู้ว่าชอบ หรือไม่ชอบ ( 4 ) หากชอบก็รู้ว่าคือความสุข หากไม่ชอบก็รู้ว่าคือความทุกข์ ( 2 )
ขันธ์ 5 นี้ มีลักษณะเฉพาะอยู่อย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ เป็นไตรลักษณ์ ( อนิจจัง คือ ไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุปัจจัย เป็นทุกข์ คือ บังคับไม่ได้ หรือไม่เป็นไปดังปรารถนา และอนัตตา คือ ตั้งอยู่ไม่ได้ ไร้รูป หรือ ที่เรียกว่าไม่มีตัวตน หรือว่างเปล่า
อันนี้ผมพิจารณาตามกำลังสติปัญญาของผมเองเอง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลด้วยครับ |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
ballad666
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 19 พ.ค. 2008
ตอบ: 10
|
ตอบเมื่อ:
23 พ.ค.2008, 7:13 pm |
  |
สาธุ............
*********************************
 |
|
|
|
  |
 |
โปเต้
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2008
ตอบ: 76
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
25 พ.ค.2008, 10:01 am |
  |
ขันธ์ ๕
1. รูป - รูปร่าง ร่างกาย เห็นชัดได้ง่าย
2. เวทนา - ความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ความชอบใจ ไม่ชอบใจ ที่ก่อให้เกิดสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย
3. สัญญา - ความจำได้ หมายรู้ เห็นหน้าคนนั้น คนนี้ก็จำได้ว่าชื่ออะไร อยู่ที่ไหน เคยทำดี ทำร้ายไว้กับเรายังไง จำสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็งที่ทำให้เกิดเรามีความรู้สึก(เวทนา) เป็นสุขเป็นทุกข์ ความสบาย ไม่สบายต่างๆ
4. สังขาร - ความคิดนึก ปรุงแต่งไปทางดี หรือร้ายต่างนานา ตามความชอบใจ ไม่ชอบใจ บางทีก็ถึงกับสร้างสวรรค์วิมานในอากาศ หรืออาจสร้างนรกโลกันต์ให้กับผู้ที่เราไม่ชอบใจ เกลียดชัง
5. วิญญาณ - ความรับรู้ต่างๆ ที่เข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 6 ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตาเห็นรูป สิ่งของ ก็คือ วิญญาณรับรู้ ทางตา
หูได้เสียงต่างๆ ก็คือ วิญญาณรับรู้ ทางหู
จมูกได้กลิ่น ก็คือ วิญญาณรับรู้ ทางจมูก
ลิ้นสัมผัสถึงรสชาติ ก็คือ วิญญาณรับรู้ ทางลิ้น
กายสัมผัสถูกความเย็น ความร้อน ความอ่อนนุ่ม ความแข็งกระด้าง ก็คือ วิญญาณรับรู้ทางกาย
ใจสัมผัส รับรู้อารมณ์ต่างๆนาๆ ก็คือวิญญาณรับรู้ ทางใจ
ซึ่งสิ่งต่างๆ คือ ขันธ์ ๕ นี่เองที่ประมวลกันขึ้นมา โดยมี ใจเป็นใหญ่ เป็นประธาน เป็นสถานีชุมทาง ยึดเอาทุกสิ่ง ทุกอย่างไว้ เพราะความไม่รู้ ไม่มีสติ ก็เลยหลงไปตามสิ่งต่างๆที่มากระทบ
.............. |
|
|
|
  |
 |
|