Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.พ.2007, 5:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา

- ทางสายกลางที่แท้จริงมีหลักที่แน่นอน ความแน่นอนของทางสายกลางนั้น อยู่ที่ความมีจุด

หมาย หรือเป้าหมายที่แน่ชัด

เมื่อมีเป้าหมายหรือจุดหมายที่แน่นอนแล้ว ทางที่นำไปสู่จุดหมายนั้น หรือการกระทำที่ตรงจุด

พอเหมาะพอดีที่จะให้ผลตามเป้าหมายนั้นแหละ คือ ทางสายกลาง

ทางสายกลางที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทานี้ มีจุดหมายที่แน่นอน คือ ความดับทุกข์ หรือภาวะ

หลุดพ้นเป็นอิสระไร้ปัญหา

- มรรค คือ ระบบความคิด และ การกระทำ หรือ การดำเนินชีวิตที่ตรงจุดพอเหมาะพอดีให้

ได้ผลสำเร็จตามเป้าหมาย คือ ความดับทุกข์นี้ จึงเป็นทางสายกลาง
หรือมัชฌิมาปฏิปทา

พุทธธรรม หน้า 582

http://www.dhammachak.com/viewforum.php?f=5
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.พ.2007, 5:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-เพราะฉะนั้น ทางสายกลาง จึงเป็นทางแห่งปัญญา และจึง

เริ่มต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ คือ เริ่มด้วยการเข้าใจปัญหาของตนและรู้จักจุดหมายที่จะเดินทางไป

โดยนัยนี้ ทางสายกลางจึงเป็นทางแห่งความรู้ และความมีเหตุผล เป็นทางแห่งการรู้เข้าใจ

ยอมรับและกล้าเผชิญหน้ากับความจริง

เมื่อมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจและกล้าเผชิญหน้ากับความจริงของโลกและชีวิตแล้ว มนุษย์ก็

จะสามารถจัดการกับชีวิตด้วยมือของตนเอง หรือสามารถดำเนินชีวิตให้ถูกต้องดีงามกันได้

เอง โดยไม่ต้องคอยหวังพึ่งอำนาจศักดิ์สิทธิ์ฤทธานุภาพดลบันดาลจากภายนอก

และเมื่อมนุษย์มีความมั่นใจด้วยอาศัยปัญญาเช่นนี้แล้ว มนุษย์ก็จะไม่ต้องไปหมกมุ่นวุ่นวายอยู่
กับสิ่งที่ห่วงกังวลว่าจะมีอยู่นอกเหนือวิสัยของมนุษย์ ท่าทีแห่งความมั่นใจเช่นนี้แหละ คือ

ลักษณะอย่างหนึ่งของความเป็นทางสายกลาง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ยาย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 มี.ค.2007, 11:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุๆๆ...จริงแท้หนอ สาธุ
 
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2007, 4:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้เดินทางสายกลาง เมื่อเข้าใจปัญหาและกำหนดรู้แนวแห่งจุดหมายแล้ว ก็จะมี

ความรู้ความเข้าใจตามมาอีกด้วยว่า ทางสายกลางสู่จุดหมายนั้น คือทางดำเนินที่ไม่ตีราคาค่า
ตัวต่ำ ถึงกับยอมสยบจมลงในกระแสโลก ปล่อยชีวิตให้เป็นทาสแห่งอามิสที่เป็นเหยื่อล่อของ

โลก เป็นอยู่ด้วยความหวังที่จะได้เสพรสอร่อยของโลกถ่ายเดียว โดยยอมให้สุขทุกข์

ความดีงาม และคุณค่าแห่งชีวิตของตนขึ้นต่อวัตถุ และความผันผวนปรวนแปรของเหตุปัจจัย

ต่างๆ ในภายนอกอย่างสิ้นเชิง ไม่ให้ชีวิตมีอิสรภาพ เป็นตัวของตัวเอง มีคุณค่าในตัวของมัน

เอง โดยไม่ต้องขึ้นต่อโลกร่ำไปเสียบ้างเลย


-ทางดำเนินชีวิตที่เป็นสายกลางนั้น นอกจากไม่เอียงสุดทางวัตถุ จนเป็นทาสของวัตถุหรือขึ้น

ต่อวัตถุสิ้นเชิงแล้ว ก็ไม่เอียงสุดทางจิตด้วย คือมิได้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นต่อการบำเพ็ญ

เพียรและผลสำเร็จทางจิตฝ่ายเดียว จนปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่สภาพทางวัตถุและร่าง

กาย กลายเป็นการประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง ทางดำเนินชีวิตนี้มีลักษณะไม่

เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นไปด้วยการรู้เข้าใจสภาพที่เป็นอยู่ตามเป็นจริง ทั้งทางวัตถุ

และทางจิตใจ แล้วปฏิบัติด้วยความรู้เท่าทัน พอสมแก่เหตุปัจจัย และสอดคล้อง พอเหมาะพอ

ดี ที่จะให้ได้ผลตามจุดหมาย มิใช่ทำพอสักว่าจะให้ได้เสพเสวยเวทนาอันอร่อยของอามิส

หรือสักว่าถือตามๆกันมา โดยสำคัญมั่นหมาย ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ โดยงมงาย

ทางสายกลางมีลักษณะบางอย่างที่พึงทราบ ดังกล่าวมานี้


หากผู้ใด จะกล่าวอ้างถึงทางสายกลาง หรือเดินสายกลาง อย่างหนึ่งอย่างใด ก็พึงถาม

ท่านผู้นั้นว่า เขาได้เข้าใจสภาพปัญหาที่มีอยู่ และจุดหมายของสายกลางที่จะเดินนั้นแล้วหรือ

ไม่
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 พ.ย.2007, 10:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-หลักมัชฌิมาปฏิปทานี้ ใช้ได้กับกิจการและกิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์ที่เป็นประเภทวิธีการ

ตามปกติ ระบบ แบบแผน วิทยาการ สถาบัน หน้าที่การงานต่างๆ ตลอดจนการปฏิบัติกิจใน

ชีวิตประจำวัน เช่น การศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น ย่อมมีความมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหา กำจัดทุกข์

ช่วยให้มนุษย์บรรลุความดีงามที่สูงยิ่งขึ้นไป อย่างใดอย่างหนึ่ง

การปฏิบัติที่ถูกต้องหรือการปฏิบัติชอบ ต่อระบบ แบบแผน เป็นต้น เหล่านั้น ก็คือ จะ

ต้องกระทำด้วยความเข้าใจในจุดมุ่งหมายของมัน ซึ่งนับว่าเป็นการกระทำด้วยปัญญา หรือ

โดยมีสัมมาทิฏฐิ จึงจะนับว่าเป็นการดำเนินตามแนวทางของมัชฌิมาปฏิปทา

แต่จะเห็นได้ในทางปฏิบัติ มีอยู่เสมอ ที่มนุษย์ปฏิบัติผิดพลาดคลาดเคลื่อน ไม่เป็นไปด้วย

ความรู้ความเข้าใจตรงตามจุดมุ่งหมายของระบบวิธีและกิจการเหล่านั้น

การปฏิบัติผิดพลาดนี้จะเป็นไปในทางเอียงสุดสองอย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวคือ

พวกหนึ่ง มุ่งใช้ระบบวิธีและกิจการเหล่านั้นเป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับแสวงหาสิ่งบำรุง
บำเรอปรนเปรอตน เช่น ใช้ระบบการเมือง ใช้สถาบัน เป็นช่องทางแสวงหาลาภ ยศ

อำนาจ ทำหน้าที่การงาน ศึกษาเล่าเรียนโดยมุ่งเป็นหนทางให้ได้เงินทอง ตำแหน่งใหญ่โต

เพื่อบำรุงบำเรอตนให้มีความสุขสำราญได้เต็มที่

ไม่ทำเพื่อบรรลุจุดหมายของงานหรือวิทยาการนั้นๆ นับว่าเป็นการขาดสัมมาทิฏฐิ มี

มิจฉาทิฏฐิแทนที่

ส่วนอีกพวกหนึ่ง ตั้งใจปฏิบัติกิจ ทำงาน ศึกษา เล่าเรียน เป็นต้น อย่างแข็งขันจริงจัง ระดมทุน

ระดมแรง อุทิศเวลาให้ ทำอย่างทุ่มเท แต่ไม่รู้ไม่เข้าใจความมุ่งหมายของสิ่งที่กระทำนั้นว่า

เป็นไปเพื่อแก้ปัญหาอะไร เป็นต้น ทำให้สิ้นเปลืองเวลา แรงงานและทุน ทำตนเองให้ลำบาก

เหน็ดเหนื่อยเปล่า เป็นการขาดสัมมาทิฏฐิอีกแบบหนึ่ง

พวกแรก ตั้งความมุ่งหมายของตนเองขึ้นใหม่เพื่อสนองตัณหาแห่งตน ไม่เป็นไปตามความมุ่ง
หมายที่แท้จริงของกิจกรรมหรือกิจการนั้นๆ

ส่วนพวกหลัง ทำว่าทำโดยไม่รู้ไม่เข้าใจความมุ่งหมาย ไปสู่ทางสุดโต่งคนละสาย ไม่ดำเนิน

ตามมัชฌิมาปฏิปทา มีแต่จะทำให้เกิดปัญหาเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น

ต่อเมื่อใด ดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทาซึ่งเป็นทางแห่งปัญญา ทำการด้วยความรู้ความเข้าใจ

ตรงตามความมุ่งหมายของเรื่องนั้นๆ กิจนั้นๆ จึงจะแก้ปัญหากำจัดทุกข์ได้สำเร็จ

รวมความว่า ถ้าไม่เริ่มต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ ก็ไม่มีมัชฌิมาปฏิปทา

ถ้าไม่ดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทา ก็แก้ปัญหาดับทุกข์ไม่สำเร็จ

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 พ.ย.2007, 10:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความเพียรพยายามไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป หรือศึกษาเล่าเรียน ทำหน้าที่การงาน อย่าง

ไม่เกียจคร้าน แต่ไม่หักโหมเกินไป บางคราวก็นิยมพูดกันว่า เป็นทางสายกลาง คำพูด

นี้ ในบางกรณีอาจเข้าลักษณะทางสายกลางได้ในบางแง่ แต่ไม่ถูกแท้ทีเดียว แม้แต่ผู้ที่

ดำเนินในทางที่ถูกต้อง เป็นทางสายกลางแล้ว แต่เพียรแรงไป หรืออ่อนไป จึงไม่สำเร็จผล

ก็มี

ในกรณีเช่นนี้ คำพูดที่ถูกต้อง ท่านใช้ว่า “วิริยสมตา” แปลว่า ความพอเหมาะ พอดี

หรือสม่ำเสมอแห่งความเพียร




-บางคราว ถ้าชัดเจนว่าเดินถูกทาง มั่นใจและพร้อมทุกอย่างแล้ว ท่านให้ระดมความเพียร

สุดกำลัง ถึงจะตายก็ต้องยอม เช่น พระพุทธเจ้าตั้งพระทัยเด็ดเดี่ยวในราตรีที่ตรัสรู้ เป็นต้น

ดังนั้น เรื่องนี้จึงไม่ควรสับสนกับทางสายกลาง



-มัชฌิมาปฏิปทา ทรงไขความว่า ได้แก่ ธรรมหมวดใดก็ได้ในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ

คือ สติปัฏฐาน 4 ปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ธ.ค.2007, 5:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(พึงทราบความหมาย ของมัชเฌนธรรมเทศนา ที่เนื่องกับมัชฌิมาปฏิปทา)


มัชเฌนธรรมเทศนา
คือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นกลางๆ

ตามธรรมชาติ คือ ตามสภาวะที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นของมันเองตามเหตุปัจจัย

ไม่ติดข้องในทิฏฐิ คือ ทฤษฎี หรือแนวความคิดเอียงสุดทั้งหลาย ที่มนุษย์วาดให้เข้ากับสัญญา

ที่ผิดพลาด และ ความยึดความอยากของตนที่จะให้โลกและชีวิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

มัชเฌนธรรมเทศนา หมายถึงหลักปฏิจจสมุปบาท อันได้แก่กระบวนธรรมแห่งการเกิดขึ้น

พร้อมโดยอาศัยกันและกันของสิ่งทั้งหลาย กระบวนธรรรมปฏิจจสมุปบาทที่ชี้แจง

เรื่องความทุกข์ (และความดับทุกข์) ของมนุษย์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 เม.ย.2008, 10:37 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 มี.ค.2008, 10:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(ที่มาของศัพท์ว่า มัชฌิมาปฏิปทา)

-การปฏิบัติ ข้อปฏิบัติ หรือวิธีปฏิบัติ มีศัพท์เฉพาะเรียกว่า ปฏิปทา

คำว่า ปฏิปทาในที่นี้มีความหมายจำเพาะหมายถึง ข้อปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ หนทาง วิธีการ

หรือวิธีดำเนินชีวิตให้บรรลุถึงความดับทุกข์

ปฏิปทาเช่นนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดวางไว้แล้วโดยสอดคล้องกับกระบวนการดับทุกข์

ที่เป็นมัชเฌนธรรมเทศนา และทรงเรียกปฏิปทานั้นว่ามัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ข้อปฏิบัติ

มีในท่ามกลาง

หรือ เรียกง่ายๆว่า ทางสายกลาง หมายถึง ข้อปฏิบัติ วิธีการ หรือทางดำเนินชีวิต

ที่เป็นกลางๆ ตามธรรมชาติ สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ พอเหมาะพอดีที่จะให้เกิดผล

ตามกระบวนการดับทุกข์ของธรรมธรรมชาติ ไม่เอียงเข้าไปหาสุดสองข้างที่ทำให้ติดพัวพัน

อยู่หรือ เฉไถลออกไปนอกทาง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 เม.ย.2008, 10:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



มัชฌิมาปฏิปทานี้ มีชื่อเรียกอย่างง่ายๆว่า มรรค ซึ่งแปลว่า ทาง

ทางนี้ มีส่วนประกอบ 8 อย่าง และทำให้ผู้ดำเนินตามเป็นอารยะชน

จึงเรียกชื่อเต็มว่า อริยะอัฏฐังคิกมรรค หรือ อารยะอัษฎางคิกมรรค

พระพุทธเจ้าตรัสว่า มรรคาที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทานี้ เป็นทางเก่าที่เคยมีท่านผู้เดินทาง

ถูกต้องไปถึงจุดหมาย เคยเดินกันมาในกาลก่อนแล้ว พระองค์เพียงแต่ทรงค้นพบแล้ว

ทรงเปิดเผยแก่มวลมนุษย์ ทรงทำหน้าที่แนะนำบอกทางนี้แก่เวไนยชน (สํ.นิ.16/253/129)


มรรคหรือมรรคานี้ เป็นวิธีปฏิบัติของมนุษย์ที่จะทำให้เกิดผลตามกระบวนการดับทุกข์ของ

ธรรมชาติ คือทำให้เหตุปัจจัยต่างๆ ส่งผลสืบทอดกันไปจนสำเร็จเสร็จสิ้นตามกระบวนการ

ของธรรมชาตินั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง