ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 5:36 pm |
  |
5 . นิพพิทานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ (8)
-ญาณอันคำนึงเห็นความเบื่อหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว
ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 5:38 pm |
  |
6. มุญจิตุกัมยตาญาณ (ชื่อเดียวกัน 9)
-ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว
ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 5:44 pm |
  |
7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขาญาณ (10)
-ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง คือเมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอา
สังขารทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 5:47 pm |
  |
8. สังขารุเปกขาญาณ (ชื่อเดียวกัน 11)
-ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป
ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้น
เป็นธรรมดา หรือเป็นธรรมของมันอย่างนั้นเอง
จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย
แต่นั้นก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน
เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย
(ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด
และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรคอันเป็นที่ออกจากสิ่งยึด
หรือออกจากสังขาร) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 5:51 pm |
  |
9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (12)
-ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย
ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว
ญาณ อันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป
เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ
วิปัสสนาญาณ 9 สุดแค่นี้.
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 5:54 pm |
  |
ต่อจาก อนุโลมญาณ ก็จะเกิด โคตรภูญาณ (13)
ญาณครอบโคตร คือ ญาณที่เป็นหัวต่อระหว่างภาวะปุถุชนกับภาวะอริยบุคคล
มาคั่นกลาง แล้วจึงเกิดมรรคญาณ ให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป
โคตรภูญาณนี้ ท่านว่าอยู่ระหว่างกลาง ไม่จัดเข้าในวิสุทธิ
ไม่ว่าข้อ 6 หรือ ข้อ 7 แต่ยอมให้นับเข้าเป็นวิปัสสนาได้ เพราะอยู่ในกระแสของ
วิปัสสนา |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ธ.ค.2009, 7:23 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 6:02 pm |
  |
7. ญาณทัสสนวิสุทธิ
-ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ คือ ความรู้อริยมรรค 4
หรือ มรรคญาณ (14) นั่นเอง ซึ่งเกิดถัดจาก
โคตรภูญาณ
เมื่อ มรรคญาณ เกิดแล้ว ผลญาณ (15) ก็เกิดขึ้นในลำดับถัดไปจาก
มรรคญาณนั้นๆ ตามลำดับของแต่ละขั้นของความเป็นอริยบุคคล
ความเป็นอริยบุคคลย่อมเกิดขึ้นโดยวิสุทธิ ข้อนี้
เป็นอันบรรลุที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา
หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งหมด |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ธ.ค.2009, 7:25 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 6:06 pm |
  |
ถัดจากบรรลุมรรค ผล ด้วยมรรคญาณ และ ผลญาณแล้ว ก็จะเกิดญาณหรือปัญญาอีกอย่าง
หนึ่งขึ้นพิจารณา มรรค ผล
พิจารณากิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และพิจารณานิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการ
พิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่)
เรียกว่า ปัจจเวกขณญาณ (16) เป็นอันจบกระบวนการบรรลุมรรคผล
นิพพานขั้นหนึ่งๆ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ค.2008, 12:19 pm |
  |
ขณะจิตที่บรรลุมรรคผล
ตามหลักที่ว่า ในขณะที่บรรลุอริยมรรค แม้แต่ผู้มิได้ฌานมาก่อน จิตก็จะเป็นสมาธิถึงขั้น
อัปปนา คือ ถึงระดับฌาน
ในเรื่องนี้ สำหรับผู้มีพื้นฐานความรู้ด้านอภิธรรม พึงดูลำดับกระบวนการทำงานของจิต
ในตอนที่บรรลุมรรคผล (อัปปนาชวนวาระแห่งมรรควิถี) ของพระวิปัสสนายานิก
ตามนัยที่ท่านแสดงไว้ใน อุทาน อ. 42 ปฏิสํ.อ.32 สงฺคณี อ. 359 วิสุทธิ.3/316,324
สงฺคห. 22)
ดังที่ถอดความออกเป็นแผนผังได้ ดังนี้
(สังขารุเปกขาญาณ => ภวังค์=>) มโนทวาราวัชชนะ => บริกรรม=> อุปจาร =>
อนุโลม => โคตรภู => มรรคจิต => ผลจิต => ภวังค์
(บริกรรม ฯลฯ โคตรภู เป็นกามาวจรชวนะ; มรรคจิต ผลจิต เป็นโลกุตรอัปปนาชวนะ)
วิปัสสนาวิถีนี้ เป็นการแสดงแบบคลุมๆ ความจริงมีการตกภวังค์ได้แล้วๆ เล่าๆ ในระหว่าง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
22 พ.ค.2008, 10:49 am |
  |
หลักการที่ว่า จิตที่บรรลุมรรคผลต้องเป็นอัปปนาสมาธินี้ เมื่อมองอย่างกว้างๆ ทำให้เกิด
ความคิดว่า ความรู้เข้าใจหรือความหยั่งรู้เห็นที่แจ่มแจ้งชัดเจน และแล่นลึกถึงขั้น
เปลี่ยนแปลงพื้นจิตของคนได้ กำจัดกิเลส เปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพได้นั้น จะต้องเป็น
ประสบการณ์ภายในชนิดเต็มทั่วหมดทั้งจิตทั้งใจ หรือโพลงทั้งชีวิตทีเดียว |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
22 พ.ค.2008, 12:29 pm |
  |
ข้อความที่ขีดเส้นใต้หน้าที่ผ่านมา ท่านว่าในขณะที่บรรลุอริยมรรค จิตจะเป็นสมาธิแน่วแน่ถึง
ระดับอัปปนาทุกคนแม้ไม่เคยทำฌานมาก่อน องค์ธรรมจึงจะมีกำลังตัดกิเลสอาสวะ
แต่ยังมีความเห็นแย้งเห็นต่างกันอยู่ ไม่เว้นแม้ผู้สอนวิปัสสนากรรมฐานแบบที่ใช้พองยุบ
(แนวสติปัฏฐาน 4) นั่นเอง
ดังข้อความที่เค้าตอบคำถามไว้ที่บอร์ดหนึ่งเป็นต้นว่า
วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ นี้ ท่านไม่ได้มุ่งเน้นให้ได้สมาธิลึก ๆ ครับ เป็นความ
เข้าใจที่คลาดเคลื่อน สิ่งที่ได้ยินได้ฟังมานั้น เป็นวิปัสสนึก ให้วางไว้ก่อนครับ การปฏิบัติ
แนวทางนี้เพื่อให้รู้ว่า กายและใจนี้เป็นอย่างไร อยู่ไม่ลึกครับ เช่น เมื่อตาเห็นรูป
ให้กำหนด เห็นหนอ หูได้ยินเสียงก็กำหนด เสียงหนอ จมูกได้กลิ่น ก็กำหนด กลิ่นหนอ
กายสัมผัส เย็นร้อนอ่อนแข็งอย่างไรก็กำหนด ธัมมารมณ์คืออาการทางใจเป็นอย่างไร ก็
กำหนดไปตามนั้น เพียงให้มีสติกำกับจิต อยู่ปัจจุบันให้ได้เพียงเท่านี้ ทั้งการปฏิบัติตาม
รูปแบบ และชีวิตประจำวันครับ
หากไม่เข้าใจหรือสงสัยในส่วนใด ให้ติดต่อสอบถามผ่านเวปมาสเตอร์ได้อีกทางครับ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
22 พ.ค.2008, 1:14 pm |
  |
ในการปฏิบัติธรรมชั้นสูงขึ้นไป ที่ถึงขั้นที่จะให้เกิดญาณรู้แจ้งเห็นจริง จนกำจัดอาสวะกิเลสได้ ก็ยิ่งต้องการจิตที่สงบนิ่ง ผ่องใส มีสมาธิแน่วแน่ยิ่งขึ้น ถึงขนาดระงับการรับรู้
ทางอายตนะต่างๆได้หมด เหลืออารมณ์ที่กำหนดไว้ทำการแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อกำจัดกวาดล้างตะกอนที่นอนก้น
ทั้งหลาย ไม่ให้มีโอกาสขุ่นอีกต่อไป |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
สติ สัมปชัญญะ
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 28 พ.ค. 2008
ตอบ: 2
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ค.2008, 11:45 pm |
  |
สาธุ หวังว่าข้าพเจ้าคงมีบุญได้พบกับความสุขอันจริงแท้บ้าง....  |
|
_________________ ไม่มีคติ...มีแต่สติ |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 ก.ค.2008, 10:35 am |
  |
คุณพี่คับ
ผมสงสัยอยู่อย่างหนึ่งว่า
ปัญญา 16 ชั้นนี้
มันจะเกิดเพียง 1 รอบในหนึ่งชีวิตอรหันต์
หรือมันเกิดได้ 1 รอบ ต่อการพิจารณา(กำหนดรู้) 1 ครั้ง
( อีกนัยหนึ่งคือ ภาษาปากง่ายๆว่า
1 รอบจิตเกิดดับ สามารถเกิดปัญญา 16 นี้ได้ 1 รอบ??) |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
31 ก.ค.2008, 3:14 pm |
  |
นับถัดขึ้นไปช่องที่ 6 มีกล่าวไว้แล้วครับน้องคามิน  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|