Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อะไรคือวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง?? สับสน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
นักโทษประหาร
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 28 ก.พ. 2008
ตอบ: 2

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.พ.2008, 6:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ได้เริ่มเข้ามารู้จักการปฏิบัติธรรมและปฏิบัติติดต่อมาได้ประมาณ 2 ปีกว่า ตามแนวยุบหนอ พองหนอ และไม่เคยเปลี่ยนพระอาจารย์ จึงไม่รู้จักแนวอื่น เพราะรู้สึกว่าถูกจริตแล้ว และมีความรู้สึกอยากออกบวช เพื่อได้มีเวลาปฏิบัติเต็มที่

แต่ตอนนี้มีปัญหาว่า รายละเอียดของการปฏิบัติในแนวนี้ อะไรคือขั้นตอนที่ถูกต้อง

จากเดิมอาจารย์ท่านให้ตั้งฐานที่พองยุบ แต่เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น ให้ตามกำหนดที่เวทนานั้นจนกระทั่งเห็นมันดับไป และจะเพิ่มเวลาขึ้นเรื่อยจนถึงเดินที่ระยะ 6 และนั่งถึง 3 ชั่วโมง และจะต้องตามต่อไป เพิ่มเวลาเข้าไปเมื่อเวทนาไม่เหลือแล้ว เพื่อเป็นการตามที่สุดแห่งทุกข์

ขณะนี้ได้รับคำแนะนำที่ตรงข้าม คือ ไม่จำเป็นต้องตามเวทนาจนมันดับไป ให้กลับมาอยู่ที่ฐานพองยุบมากที่สุด ส่วนเวลาไม่จำเป็นต้องเกิน 1 ชั่วโมง ทั้ง เดิน และ นั่ง

จากคำแนะนำใหม่ ทำให้เกิดความสับสน ลังเลใจว่า อะไรคือวิธีที่ถูกต้อง อยากหาแหล่งข้อมูล หรือคำแนะนำจากพระอาจารย์เพื่อไขข้อสงสัยนี้

ดังที่ได้บอกแล้วว่า ไม่รู้จักวัดอื่น หรือปฏิบัติกับพระอาจารย์ท่านอื่นเลย จึงไม่ทราบว่าจะถามใครดี

หวังว่าความเพียรและบุญกุศลที่ตนเองได้ตั้งใจเพียรปฏิบัติตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปีนี้ จะได้รับคำตอบจากท่านใดท่านหนึ่ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.พ.2008, 7:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ดังที่ได้บอกแล้วว่า ไม่รู้จักวัดอื่น หรือปฏิบัติกับพระอาจารย์ท่านอื่นเลย จึงไม่

ทราบว่าจะถามใครดี




เมื่อไม่รู้จักวัดอื่น หรือพระอาจารย์ท่านอื่น แล้วเริ่มเรียนรู้มาจากที่ใดครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.พ.2008, 9:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แนะนำ สถานที่ วัดอินทราราม (ตลาดพลู)

ถามหา พระเดชพระคุณหลวงพ่อมหาวิบูลย์ พุทธฺญาโณ

หรือ พระอาจารย์สุจิน สุจินฺโณ

สองท่านนี้ ผมเรียนกรรมฐานจากสองท่านนี้

ส่วนอีกท่านที่ผมไปเรียนประจำอยู่ต่างจังหวัด

ข้อคิดเห็นส่วนตัว

ความจริง การปฏิบัติ ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งเพิ่มขึ้นทุกวัน ยิ่งดี และที่สำคัญ ต้องรักษาความเพียรอันนั้นไม่ได้ตก
เช่น ทำวันละ 3 ก็ต้อง 3 ช.ม. ทุกวัน เรียกว่ารักษาปฏิปทาไว้ไม่ให้ตก

ผลจึงจะเกิดและต่อเนื่องด้วยครับ

ส่วนยุบหนอ พองหนอผมไม่เคยปฏิบัติ แต่ใช้วิธี อานาปานสติครับผม

อนุโมทนาด้วยครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
montasavi
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.พ.2008, 11:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิปัสสนาญาณ มี ๙ เข้า ขั้น ครับ ..วิธิปฏิบัติที่เปลี่ยนไปในแต่ละขั้น นั่นแสดงว่าคุณปฏิบบัติก้าวหน้า ....การที่คุณต้องการปฏิบัติแบบเดิม ๆ ง่าย ๆ นั้นแสดงว่าคุณติดสภาวะ ยึดมั่นในธรรมารมณ์..ไม่ยอมปล่อยวาง ...จึงไม่อาจก้าวไปสู่ขั้นต่อไปได้ครับ

อ่านประสบการณ์การปฏิบัติ ๗ เดือนของกระผมได้ที่นี่ครับ

http://www.tlcthai.com/club/list_topic.php?club=buddhism&club_id=1278&table_id=1&cate_id=788
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
jojam
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 พ.ค. 2004
ตอบ: 62

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.พ.2008, 1:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากคำแนะนำใหม่ ทำให้เกิดความสับสน ลังเลใจว่า อะไรคือวิธีที่ถูกต้อง อยากหาแหล่งข้อมูล หรือคำแนะนำจากพระอาจารย์เพื่อไขข้อสงสัยนี้

ดังที่ได้บอกแล้วว่า ไม่รู้จักวัดอื่น หรือปฏิบัติกับพระอาจารย์ท่านอื่นเลย จึงไม่ทราบว่าจะถามใครดี

หวังว่าความเพียรและบุญกุศลที่ตนเองได้ตั้งใจเพียรปฏิบัติตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปีนี้ จะได้รับคำตอบจากท่านใดท่านหนึ่ง

************************************
อย่างแรกตั้งถามก่อนว่ากำลังจะทำอะไร
1. ชำระทำความสะอาดใจ
2. พิจารณาไตรลักษณ์
3. ภาวนาให้สงบ
4. กำหนด แจ้งชัดในอุปทานขันธ์5
5. เดินผ่านออกจากตัณหาที่ไม่อิ่ม
6. กำหนดจิตไม่ให้เวทนาลงสู่จิต
7. ละคลายความเห็นผิด
8. แยกโลกออกจากธรรม

ปล. สติตั้งที่ปากไม่ควร จะตั้งที่ความเห็นหรือ ก็ตั้งไว้ที่ฐานนั้น ให้ถึงความสงบ ย้อนทวน อย่าปล่อยทิ้ง
(กำหนดแล้ว ซ้ำไปสงบ แล้วซ้ำอีก จะไม่ติดกับดัก)
 


แก้ไขล่าสุดโดย jojam เมื่อ 13 เม.ย.2008, 11:56 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดุสิตธานี
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.พ.2008, 8:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สนับสนุนความคิดของ คุณกรัชกาย เจ้าค่ะ
เพราะเรื่องสายหรือแนวการปฏิบัตินี้เหล่าบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย
เคยตั้งป้อมถกเถียงกันแบบเข้มข้น จนจะเป็นชนวนในการทะเลาะกัน
เหตุเพราะ อาจารย์หรือสายที่เราปฏิบัตินั้นมาดี ถูกทางที่สุด ถูกจริตเราที่สุด
เมื่อเราปฏิบัติแล้วเราดีเราก็จะชี้ไปเลยว่านี่แหละถูกทาง
หรือแม้เรายังไม่เคยได้ไปที่อื่นเลย..เราก็จะได้รับคำสอนแต่เดิมๆ

ขอแนะนำให้ฐานะเป็นศิษย์สายพอง-ยุบ เช่นกัน
ไม่ใช่ว่าสายพอง-ยุบ ไม่ดี
หากเราได้เรียนรู้ไปตามสายต่างๆที่อื่นบ้างก็ไม่ได้เสียหาย
เรียนรู้ไปพอประมาณ ...พอสมควร
การไปที่อื่น หรือได้พูดคุยกับ ญาติธรรม
โลกทางธรรม เราจะกว้างกว่าเดิมค่ะ

ไม่มีสำนักไหนที่สอนให้ศิษย์ไม่ได้ดีนะคะ
ทุกสำนัก ต่างอิงแนวทางขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นส่วนใหญ่
เพียงแต่ท่านอาจารย์ของเรา ถนัดตรงไหนเป็นจุดเด่น
ก็จะนำจุดนั้นมาเป็นตัวเน้นในการสอนศิษย์

ธรรมะ อยู่ที่ กาย และ ใจ เรา
เมื่อรู้แนว รู้จุดได้พอชัดเจนแล้ว
หมั่นเพียรตามรอยทางที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำไว้ให้

มีศีล จะทำให้เกิดสติ เมื่อมีสติ จะก่อเกิดปัญญา
ปัญญาจะช่วยขัดเกลาสิ่งที่เราสงสัยให้ได้คำตอบที่ดีเองค่ะ
สาธุ
 

_________________
“จงทำจิตให้บริสุทธิ์” ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง “ตัวของเราเอง”
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.พ.2008, 3:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก็หยุด แล้วกลับไปที่จุดเริ่มต้น

พิจารณาอีกครั้ง

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
หมดตัวเราของเรา
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 01 มี.ค. 2008
ตอบ: 6

ตอบตอบเมื่อ: 01 มี.ค.2008, 1:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทางลัดที่สุด...หมดตัวเรา...ของเรา..ทุกสิ่งทุกอย่างสมมุติขึ้นมาทั้งนั้น...และก็สลายดับไปในที่สุด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 มี.ค.2008, 10:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


รอคำตอบจาก จขกท. อยู่ครับ

ว่าปฏิบัติมานานแล้ว จึงอยากสนทนาธรรมด้วย ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
z
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 มี.ค.2008, 9:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ส่วนสุด 2อย่างอย่าเข้าไปแตะ...

1. การปฏิบัติที่ต้องเบียดเบียนกายเกินไป ไม่เป็นทางนำไปสู่ การบรรลุธรรม

2.การปฏิบัติที่ย่อหย่อนจนเกินไป ก็ไม่เป็นทางไปสู่ การบรรลุธรรม

....พระศาสดา ทรงกระทำเป็นตัวอย่างนำทางแล้ว ว่า การฝึกฝนอบรม ทำที่ใจ ใจเป็นใหญ่ ฝึกที่ใจ บรรลุธรรมด้วยใจ.....กายต้องไม่เครียดจนเกินไป และไม่สบายจนเกินควร...หาจุดพอดี จุดสายกลางของแต่ละคนไม่เท่ากัน....หาเจอก็พบทาง

...กาย กับใจ ต้องแยกกัน....

...กาย หนีเวทนา ไม่พ้น ถ้ายังไม่ตาย....แต่ใจหนีได้พ้น เมื่อฝึกฝนใจให้มีปัญญาถึงพร้อม....
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sittidet
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 26 ธ.ค. 2007
ตอบ: 53
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 09 เม.ย.2008, 8:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทุกวันนี้มีหลายอาจารย์หลายสำนักมากมายอาจทำให้เราสับสนได้ แต่เราอย่าลืมเพชรแท้ในพระไตรปิฎกนะครับ คือ กาลามสูตรครับ ที่จะช่วยให้เราสำเร็จได้ดังใจ ความจริงย่อมมีเพียงสิ่งเดียวครับ อนุโมทนา
 

_________________
ผู้ใดมีตนเป็นที่พึ่งนับว่าหาที่พึ่งอันหาได้ยาก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2008, 8:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นักโทษประหาร พิมพ์ว่า:
ได้เริ่มเข้ามารู้จักการปฏิบัติธรรมและปฏิบัติติดต่อมาได้ประมาณ 2 ปีกว่า ตามแนวยุบหนอ พองหนอ และไม่เคยเปลี่ยนพระอาจารย์ จึงไม่รู้จักแนวอื่น เพราะรู้สึกว่าถูกจริตแล้ว และมีความรู้สึกอยากออกบวช เพื่อได้มีเวลาปฏิบัติเต็มที่

แต่ตอนนี้มีปัญหาว่า รายละเอียดของการปฏิบัติในแนวนี้ อะไรคือขั้นตอนที่ถูกต้อง

จากเดิมอาจารย์ท่านให้ตั้งฐานที่พองยุบ แต่เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น ให้ตามกำหนดที่เวทนานั้นจนกระทั่งเห็นมันดับไป และจะเพิ่มเวลาขึ้นเรื่อยจนถึงเดินที่ระยะ 6 และนั่งถึง 3 ชั่วโมง และจะต้องตามต่อไป เพิ่มเวลาเข้าไปเมื่อเวทนาไม่เหลือแล้ว เพื่อเป็นการตามที่สุดแห่งทุกข์

ขณะนี้ได้รับคำแนะนำที่ตรงข้าม คือ ไม่จำเป็นต้องตามเวทนาจนมันดับไป ให้กลับมาอยู่ที่ฐานพองยุบมากที่สุด ส่วนเวลาไม่จำเป็นต้องเกิน 1 ชั่วโมง ทั้ง เดิน และ นั่ง

จากคำแนะนำใหม่ ทำให้เกิดความสับสน ลังเลใจว่า อะไรคือวิธีที่ถูกต้อง อยากหาแหล่งข้อมูล หรือคำแนะนำจากพระอาจารย์เพื่อไขข้อสงสัยนี้

ดังที่ได้บอกแล้วว่า ไม่รู้จักวัดอื่น หรือปฏิบัติกับพระอาจารย์ท่านอื่นเลย จึงไม่ทราบว่าจะถามใครดี

หวังว่าความเพียรและบุญกุศลที่ตนเองได้ตั้งใจเพียรปฏิบัติตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปีนี้ จะได้รับคำตอบจากท่านใดท่านหนึ่ง




ตอบ ...
ว่าจะไม่ยุ่งไม่สอนแล้วเชียวนา เอาซะหน่อย ด้วยความเมตตาต่อมนุษย์
อาจารย์ข้าพเจ้าก็สอนคล้ายคลึงกับที่คุณกล่าวมา

แต่เมื่อข้าพเจ้าปฏิบัติไป จึงพบว่า เป็นการไม่ถูกต้อง และค้นพบอีกว่า การปฏิบัติสมาธิ คือการเอาใจหรือตั้งใจ หรือสงบใจไว้ ณ.ที่ใดที่หนึ่ง ไม่ให้ไหลตาม
ความรู้สึก ไม่ให้ไหลตามความคิด ไม่ให้ไหลตาม ความฝันฯลฯ
อ่านแค่นี้ไม่รู้ว่าจะเข้าใจหรือไม่
ถ้าได้เข้ามาอ่าน ไม่เข้าใจก็ถามใหม่ได้ขอรับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 12 เม.ย.2008, 9:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า สติปัฏฐาน ๔ เป็นทางสายเอก สายเดียวที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์ได้
ก็น่าจะใช้สติปัฏฐาน ๔ นี้เป็นแนวทางแห่งการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ครับ

การดูพองหนอ ยุบหนอ หรือพุท โธ หรือ นะมะ พะทะ หรืออื่นๆ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยลมหายใจนี้ทั้งนั้น ต่างกันก็แค่จุดที่จะเฝ้าสังเกตเท่านั้น

การดูยุบพอง ก็คือการเอาจิตเฝ้าสังเกตที่ท้องทั้งเวลาลมเข้าและออก

พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ได้สอนว่า ให้กำหนดธรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติ
ถ้าหากเกิดเวทนาอะไรก็ให้กำหนด ไม่ว่าจะเป็น ปวดหนอ เจ็บหนอ ชาหนอ รู้หนอ
หรือแม้แต่เวลาเพลินก็กำหนด เพลินหนอ คิดหนอ รู้หนอ หรืออื่นๆที่เกิดขึ้น
ถ้ากำหนดแล้วเวทนาแต่ละอย่างหายไปก็ให้กลับมากำหนด พองหนอ ยุบหนอ ตามเดิม

ที่ต้องตามดูเวทนาก็เพราะว่าเวทนาเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ถูกเห็นได้ง่ายกว่าสิ่งอื่นๆ
เมื่อเวทนาเกิดขึ้น แล้วเราตามดูตลอดการ จนเวทนาดับไป เราก็จะได้เห็นว่าเวทนา ก็แค่สิ่งที่ถูกรู้ สิ่งใดถูกรู้สิ่งนั้นย่อมแสดงไตรลักษณ์ออกมา คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของเวทนา ถ้าเห็นว่าเวทนาดับแล้วก็ให้กลับมาดูที่พองหนอ ยุบหนอ ต่อไป แต่ถ้าเกิดเวทนาอีกก็ให้ดูเวทนาอีก จนเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของเวทนา ถ้าตามเห็นเวทนาเกิดดับ ได้อย่างนี้ตลอดการปฏิบัติ ก็จะเกิดความรู้ว่าเวทนา(สุข ทุกข์ เฉย)ก็เป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้ สิ่งใดถูกรู้สิ่งนั้นย่อมแสดงไตรลักษณ์ออกมา คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่พ้นจากสามสิ่งนี้เลย
เห็นประโยชน์ของการตามดูเวทนาให้เห็นการเกิดดับหรือยังครับ
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 12 เม.ย.2008, 9:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าตามดูเวทนาจนเห็นการเกิดดับของเวทนาแล้ว ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจิตเราก็จะเห็นเวทนาเป็นอื่นจากจิตเรา นั่นก็คือ สามารถที่จะแยกเวทนาขันธ์ออกจากจิตได้ เมื่อแยกเวทนาขันธ์ได้แล้ว โดยมากก็จะสามารถแยกรูปขันธ์ได้พร้อมๆกัน เพราะว่าส่วมมากแล้วเวทนาที่เกิดในระหว่างการปฏิบัติ จะเป็นเวทนาอาศัยรูป นั่นคือ เพราะมีรูป (ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม)จึงได้มีเวทนา

ถ้าสมาธิดีและคงตัวแล้วก็ให้ตามดูเวทนาเพื่อแยกรูปขันธ์ และเวทนาขันธ์ ออกจากจิตเราจนคล่องแล้วก็จะทำให้การการปฏิบัติธรรมเป็นไปได้สบายขึ้นมากๆ ทั้งนี้ก็เพราะว่าเวทนาต่างๆ ทุกอย่างปรากฏเป็นอื่นจากจิตเรา เวทนาไม่ใช่เรา ไม่มีในเรา เราไม่ได้เจ็บ หรือปวด แต่ที่เจ็บหรือปวดคือ รูปขันธ์

สัญญาขันธ์,สังขารขันธ์ หรือแม้แต่วิญญาณขันธ์ก็ไม่ต่างจากรูปขันธ์ หรือเวทนาขันธ์เลยครับ
คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป เป็นธรรมดา ไม่มีอะไรน่ายึดติด หรือยินดียินร้ายในขันธ์ ๕ เลย

เห็นหรือยังครับว่าทำไมจึงต้องตามดูเวทนาจนเห็นเวทนาดับไป ก็เพราะจะได้เห็นไตรลักษณ์ในเวทนา
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 12 เม.ย.2008, 9:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เอาแค่นี้ก่อนนะครับ ถ้าแยกขันธ์ ๕ ได้คล่องแล้วค่อยว่ากันใหม่

วันหลังจะเอาการสอบอารมณ์ของผู้ที่ใช้พองหนอ ยุบหนอมาให้
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 19 เม.ย.2008, 8:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การเดินจงกรม

๑ การยืน

วิธีการปฏิบัติ ให้ยีนตรง ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับมือซ้ายไว้ตรงกระเบนเหน็บ หน้าตรง หลับตา สติจับอยู่ที่ศีรษะ กำหนดว่า "ยืนหนอ" ๕ ครั้ง แต่ละครั้งแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกคำว่า "ยืน" จิตวาดมโนภาพร่างกายจากศีรษะลงมาหยุดที่สะดือ คำว่า" หนอ" จากสะดือลงไปปลายเท้า แล้วกำหนดขึ้นเมื่อว่า" ยืน" จิตวาดมโนร่างกายจากปลายเท้าขั้นมาที่สะดือ เมื่อกำหนดว่า "หนอ" จากสะดือขึ้นไปบนศีรษะ กลับไปกลับมาจนครบ ๕ ครั้ง ขณะนั้นให้สติอยู่ในกาย อย่าให้ออกไปนอกกาย เสร็จแล้วลืมตา ทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ๑ วา สติจับอยู่ที่เท้าเตรียมพร้อมที่จะเดิน

การเดินจงกรม

เมื่อกำหนด "ยืนหนอ" ๕ ครั้งแล้วจึงตั้งต้นเดินจงกรม

๑)ระยะที่๑

กำหนดว่า "ขวา-ย่าง-หนอ" "ซ้าง-ย่าง-หนอ" โดยปฏิบัติดังนี้ ยกส้นเท้าขวาขึ้นพร้อมกับกำหนดว่า "ขวา" เลื่อนเท้าไปข้างหน้าประมาณ ๑ คืบเป็นอย่างมากพร้อมกับกำหนดว่า "ย่าง" แล้วเหยียบพื้นโดยใช้ปลายเท้าลงก่อน แล้วค่อย ๆ วางส้นเท้าลง กำหนดว่า "หนอ" เท้าซ้ายทำแบบเดียวกันกับเท้าขวา กำหนดว่า "ซ้าย-ย่าง-หนอ"
เมื่อเดินสุดทางแล้วกำหนด "ยืนหนอ" ๕ ครั้ง ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว จากนั้นกำหนดกลับโดยกำหนด "กลับ-หนอ" ๔ ครั้ง เมื่อกำหนดครั้งที่ ๑ ให้ยกปลายเท้าขวา ส้นเท้าติดพื้น หมุนส้นเท้าไปทางขวา ๙๐ องศา พร้อมกำหนดว่า "กลับ" แล้ววางปลายเท้าลงกับพื้นพร้อมกำหนดว่า" หนอ" ครั้งที่ ๒ ลากเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวา ครั้งที่๓ ทำเหมือนครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๔ ทำเหมือนครั้งที่ ๒ แล้วหลับตากำหนด "ยืน-หนอ" ๕ ครั้ง แล้วจึงเดินต่อไปจนหมดเวลาที่กำหนด
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 19 เม.ย.2008, 8:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ส่วนการนั่งสมาธิ

ก็ง่ายๆโดยกำหนด พองหนอ ยุบหนอ
หลังจากนั้นก็ตามดูพองยุบไปเรื่อยๆ ถ้ามีเวทนาก็ให้หยุดจากการกำหนด พองยุบ แล้วไปกำหนดเวทนาแทน ไม่ว่าจะเป็น ปวดหนอ เจ็บหนอ หรืออื่น ๆ
เมื่อกำหนดเวทนาหายแล้ว ค่อยกลับไปกำหนด พองยุบต่อ
ถ้ากำลังจะเผลอ ก็ให้กำหนด เผลอหนอ
ถ้าเพลิน ก็กำหนด เพลินหนอ
รู้หนอ ตามดูไปเรื่อยๆไม่ต้องปรุงแต่งใดๆทั้งนั้น
แค่ตามดู ตามรู้ เท่านั้น
น่าจะเริ่มที่ ครึ่งชั่วโมงก่อน
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 19 เม.ย.2008, 9:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิธีการสอบอารมณ์

ญาณที่ ๑ นามรูปปริจเฉทญาณ

เป็นญาณที่ผู้ปฏิบัติเกิดปัญญารู้ว่า อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ที่เรียกว่ารูปนามนั้นแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร ผู้ปฏิบัติจะรู้แยกรูป แยกนามออกจากกันอย่างชัดเจน ไม่ปะปนกัน ในญาณต้น ๆ นี้ ผู้ปฏิบัติยังไม่รู้จักลู่ทางดี ผู้สอบอารมณ์ต้องซักถามให้ผู้ปฏิบัติเคยชิน เพราะผู้ปฏิบัติยังไม่สามารถเล่าอาการที่เป็นมาได้ถนัด จึงจำเป็นต้องสอบกันมาก

หลักการในญาณที่ ๑ สรุปได้ดังนี้

๑) รู้แยกรูป เช่น
-ขวาย่างกับซ้ายย่าง เป็นคนละอันกัน
-ซ้ายย่างอันก่อน กับซ้ายย่างอันหลัง เป็นคนละอันกัน
-พองกับยุบ เป็นคนละอันกัน
-พองแรกกับพองหลัง และยุบแรกกับยุบหลัง เป็นคนละอันกัน
๒)รู้แยกนาม
-รู้ซ้ายย่างกับรู้ขวาย่าง เป็นคนละอันกัน
-รู้พองกับรู้ยุบ เป็นคนละอันกัน
-รู้พองแรกกับรู้พองหลัง เป็นคนละอันกัน
๓)รู้แยกรูปแยกนาม
-รู้ กับ ซ้ายย่าง ขวาย่าง เป็นคนละอัน
-รู้กับพอง รู้กับยุบ เป็นคนละอันกัน
๔)ทางอายตนะ
-รูปกับรู้ว่าเห็น เสียงกับได้ยิน กลิ่นกับได้กลิ่น รสกับรู้รส
สัมผัสกับรู้ถูก เป็นคนละอันกัน
๕)เบ็ดเตล็ด
- ที่เวทนาเกิดขึ้นกำหนดไม่หาย เดี๋ยวอย่างโน้นเกิด เดี๋ยวอย่างนี้เกิด
- จิตแวบออกไปนาน กำหนดไม่ทัน หรือไม่ได้กำหนด

จาก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม โดย สุทัสสา อ่อนค้อม
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 19 เม.ย.2008, 9:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ญาณที่ ๒ ปัจจยปริคคหญาณ

เป็นญาณที่ผู้ปฏิบัติเกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวะของรูปกับนามที่กำหนดอยู่นั้นว่า ทั้งรูป ทั้งนาม เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันอยู่ทุกขณะ ในญาณนี้ผู้สอบอารมณ์ต้องซักถามผู้ปฏิบัติให้มากเช่นกัน เพราะผู้ปฏิบัติยังไม่ค่อยชำนาญในการแจ้งอารมณ์
หลักการในญาณที่ ๒ สรุปได้ดังนี้
๑) พองขึ้นก่อน รู้ตาม การกำหนดที่เทาในขณะเดิน และการกำหนดอายตนะต่าง ๆ คงเป็นเช่นเดียวกัน
๒) รู้จิตที่สั่ง หรือต้นจิตชัดเจน
๓) เวทนากำหนดไม่ทันหาย อันอื่นเกิด หรือกำหนดเวทนาแล้วกลันไปหนด พอง-ยุบ เวทนาจะหายไปโดยไม่รู้ตัว
๔) นิมิตก็มีลักษณะเช่นเดียวกับเวทนา
๕) จิตที่แวบออกไปรับอารมณ์อื่น กำหนดได้ทันและเร็วขึ้น กำหนดครั้งสองครั้งก็กลับมาอยู่ที่กรรมฐาน

เมื่อเห็นว่าผู้ปฏิบัติรู้แจ้งในญาณนี้แล้วให้เดินระยะที่สอง คือ "ยกหนอ เหยียบหนอ"
การเพิ่มจังหวะกำหนด พองยุบ นั่ง ผู้สอบอารมณ์ควรถามผู้ปฏิบัติก่อน เพื่อทราบว่า พอง-ยุบ ถี่ห่างประการใด ถ้าห่างพอจะเพิ่มได้ก็ควรจะเพิ่ม "นั่งหนอ" แต่ปกติ พอง-ยุบ ของผู้ปฏิบัติมักจะไม่ห่างกัน คือ มักจะโรยท้องลงมาเวลายุบ ให้ได้จังหวะกันกับคำ "หนอ" อย่างไรก็ตาม พอง-ยุบ ของปกติคนธรรมดา เช่นเวลานอนหลับสนิท พองมักจะยาว ยุบมักจะฮวบเดียวหมด คือ สั้น ดังนั้นย่อมมีจังหวะที่จะแทรก "นั่งหนอ" ได้เสมอนอกจากจะถี่จริงๆ ในขั้นต้นควรจะลองให้ "นั่งหนอ" ดูก่อน ถ้าแทรกไม่ได้จริง ๆ จึงสั่งถอน แต่ถ้าบอกด้วยว่า ให้ดูพอง-ยุบอของตนถ้าใส่ "นั่งหนอ" ได้ก็ให้ใส่ ถ้าใส่ไม่ได้ก็ไม่ต้องใส่ อธิบายอย่างนี้โดยมากจะใส่ไม่ได้เพราะความไม่ชำนาญ เป็นเหตุให้เกิดพัลวันกัน ผู้ปฏิบัติก็จะบอกว่าใส่ไม่ได้ ดังนั้นขั้นแรกควรบอกให้ผู้ปฏิบัติใส่ก่อน แล้วจึงพิจารณาชั้นหลังก็ควร

การเดินจงกรมระยะที่ ๒

กำหนดว่า "ยก-หนอ,เหยียบ-หนอ"

วิธีปฏิบัติ คือ ค่อย ๆ ยกเท้าขวาขึ้นให้สูงจากพื้นประมาณ ๓ นิ้ว ขณะยกกำหนดว่า "ยก" เมื่อยกแล้วจึงกำหนดว่า "หนอ" แล้วเลื่อนเท้าไปข้างหน้าช้า ๆ ห่างจากเท้าซ้ายไม่เกิน ๑ คืบ ค่อย ๆ เหยียบเท้าลงไปโดยใช้ปลายเท้าลงก่อน ขณะที่เท้าเหยียบพื้นกำหนดว่า "เหยียบ" เมื่อเหยียบเรียบร้อยแล้วจึงกำหนดว่า "หนอ" เท้าซ้ายก็ทำแบบเดียวกัน เมื่อสุดทางกำหนด "ยืนหนอ" ๕ ครั้ง ปฏิบัติดังที่กล่าวมาแล้ว
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง