|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
01 ก.พ.2008, 11:26 am |
  |
8) อุปายาส
ความคับแค้น หรือ สิ้นหวัง ได้แก่ เร่าร้อนทอดถอนใจ ในเมื่อความโศกเศร้าเพิ่มทวี เป็นต้น
9) อัปปิยสัมปโยค
การประสบคน หรือสิ่งซึ่งไม่เป็นที่รัก เช่น ต้องพบต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่ชอบหรือชิงชัง
เป็นต้น
10) ปิยวิปโยค
การพลัดพรากจากคนหรือสิ่งอันเป็นที่รัก เช่น จากญาติ จากคนรัก สูญเสียทรัพย์สิน เป็นต้น
11) อิจฉิตาลาภ
การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา คือ ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สมหวัง
12) อุปาทานขันธ์
ขันธ์ทั้งห้าซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน กล่าวคือ ทุกข์ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นทุกข์ของ
อุปาทานขันธ์ขันธ์ทั้งห้า
เมื่อว่าโดยสรุป หรือ โดยรวบยอดก็ คือ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
วิสุทธิ. ฎีกา 3/179).. |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.พ.2008, 7:03 pm |
  |
ในบาลีและอรรถกถา ยังกล่าวถึงทุกข์ชื่ออื่นๆอีก แต่เห็นว่าจะเฝือจึงลงเท่านี้พอ
อย่างไรก็ดี เรื่องทุกข์เราสามารถพรรณนาแสดงรายชื่อขยายรายการออกไปได้อีกเป็นอันมาก
เพราะปัญหาของมนุษย์มีมากมาย ทั้งทุกข์ที่เป็นสามัญแก่ชีวิตโดยทั่วไป และทุกข์ที่แปลก
กันออกไปตามสภาพแวดล้อมของยุคสมัย ถิ่นฐาน และสถานการณ์
ข้อสำคัญอยู่ที่จะต้องรู้ความมุ่งหมาย
การที่ท่านแสดงชื่อทุกข์ต่างๆไว้มากมายนั้น ก็เพื่อให้เรารู้จักมันตามสภาพ คือ ตามที่เป็นจริง
(ปริญญากิจ) เพื่อปฏิบัติต่อทุกข์นั้นๆอย่างถูกต้อง ด้วยการยอมรับรู้สู้หน้าสิ่งที่มีอยู่ซึ่งตน
จะต้องเกี่ยวข้อง ไม่ใช่เลี่ยงหนีอำพรางปิดตาหลอกตัวเอง หรือแม้กระทั่งปลอบใจ
ตน ประดุจดังว่าทุกข์เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือตนเองหลีกหลบไปได้แล้ว และกลายเป็นสร้าง
ปมปัญหา เสริมทุกข์ให้หนักหนาซับซ้อนและรุนแรงยิ่งขึ้น
แต่เข้าเผชิญหน้า ทำความรู้จัก แล้วเอาชนะอยู่เหนือมัน ทำตนให้ปลอดพ้นได้จากทุกข์
เหล่านั้น ปฏิบัติต่อทุกข์โดยทางที่จะทำให้ทุกข์ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่อย่างชั่วคราว
จนถึงโดยถาวร |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 เม.ย.2008, 1:00 pm |
  |
ข้อความว่า =>
.เมื่อเข้าใจและลงมือภาวนาก็จะพบว่า
การปฏิบัติธรรมไม่ได้ยากจริง ดังคำของครูบาอาจารย์
มันยากเพราะกิเลสมันไม่อยากให้ปฏิบัติเท่านั้น
นำมาจาก คห. 8 ลิงค์นี้ =>
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4713
ข้อความดังกล่าว บ่งว่าเข้าใจการปฏิบัติธรรมพลาดทั้งกระบวน
ซึ่งหาได้ไม่ยากในกลุ่มผู้ปฏิบัติกรรมฐานในปัจจุบันและในอนาคต
ทำนายอนาคตไว้ให้เลย |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 เม.ย.2008, 1:47 pm |
  |
ความมุ่งหมายในการปฏิบัติธรรมก็เพื่อกำจัดกิเลส มีนิวรณ์ เป็นต้น
มิใช่ปฏิบัติอย่างไร้จุดหมาย หรือหลบๆ เลี่ยงๆกิเลสไปมา อย่างที่เค้าแนะนำกันและกัน
ที่บอร์ดหนึ่ง
รายนี้ถูกนิวรณ์ครอบงำอย่างหนัก แต่ไม่มีทางออก ไม่รู้จะทำอย่างไร
http://larndham.net/index.php?showtopic=31466&st=0
นี่แหละความยากของการปฏิบัติธรรม
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |