ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
nattakarn
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57
|
ตอบเมื่อ:
10 ม.ค. 2008, 6:28 pm |
|
คือหนูเรียนอยู่ ม.ต้นค่ะ
พอดีอาจารย์ให้นั่งสมาธิ(คาบวิถีพุทธ)
หนูก็นั่ง ก่อนนั่งอาจารย์ให้กล่าวอะไรซักอย่างค่ะ ที่ "ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์..."
(คือ หนูจำไม่ค่อยได้ค่ะ)
จากนั้นอาจารย์ให้เปลี่ยนมาเป็นท่านั่งสมาธิ
เมื่อนั่งสมาธิไป 10 นาที (หนูก็ไม่ทราบหรอกนะคะ คืออาจารย์บอก)
อาจารย์ให้ประนมมือขึ้น แล้วก็พูดอะไรซักอย่าง(หนูก็จำไม่ได้อีกล่ะค่ะ)
แล้วอาจารย์ก็บอกว่า
"เมื่อกี้มีคนมามากมาย เพราะนั่ง 10 นาที อนิสงฆ์สูง ไม่เชื่อลองถาม (ชื่อหนู)"
หนูก็ตอบไม่ถูกเลยค่ะ อาจารย์ก็ถามรู้สึกยังไงบ้างตอนนั่งสมาธิ
หนูก็ตอบไป .. แต่ก็ตอบไม่มากค่ะ
ก็เลยหันไปถามเพื่อนหนูอีก 2 คน
อาจารย์ก็บอกว่ามีอะไรจะทำหนู
(หนูก็ไม่ทราบนะคะ ว่าอาจารย์พูดจริงรึเปล่า อาจจะไม่ใช่ทำ หรืออะไรซักอย่างที่เข้ามาใกล้ๆหนูอ่าค่ะ)
แต่หนูใส่พระอยู่ ก็เลยไปหาเพื่อนหนูแทน (-*-)
เนี่ยล่ะค่ะ หนูถามอาจารย์ อาจารย์ก็ไม่ยอมบอก ทำเป็นปริศนาซ่ะงั้น
อาจารย์บอกแค่ว่า "ถ้าบอกไปเดี๋ยวไม่กล้านั่งสมาธิ"
หนูเลยอยากจะมาถามว่า ตอนนั่งสมาธิ จะมีอะไรเหรอคะ ? |
|
|
|
|
|
Buddha
บัวบาน
เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
10 ม.ค. 2008, 8:57 pm |
|
นั่งสมาธิ ก็คือการฝึกการควบคุมระบบความคิด ความรู้สึก อารมณ์ นั่งสมาธิ ย่อมไม่เกิดอะไรทั้งสิ้น
มีแต่ความสงบ ในจิตใจ ไม่มีการคิด ไม่มีการเห็น
ถ้าคิด ถ้าเห็น นั้นเขาเรียกว่า ฟุ้งซ่าน ไม่มีสมาธิ |
|
|
|
|
|
ดุสิตธานี
บัวบาน
เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2008, 8:09 am |
|
น่ารักจัง นั่งสมาธิตั้งแต่ยังเด็ก
ไม่ต้องคิดอะไรมากนะคะ ทำดีแล้ว
ปฏิบัติต่อไป คิดมากสงสัยเราฟุ้งซ่านค่ะ
ธรรมสวัสดีค่ะ น่ารัก |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง |
|
|
|
กรัชกาย
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2008, 8:10 am |
|
ก่อนตอบพี่ขอ ถามหนู นัท...ก่อนว่า
อาจารย์ที่สอนหนูและเพื่อนๆให้ทำสมาธิเป็นพระภิกษุ หรือเป็น อ. ประจำชั้น
ท่านสอนให้ภาวนาว่าอย่างไรด้วยไหม เช่น พุทโธ หรือ พองหนอ ยุบหนอ ไรประมาณเนี่ย
สอนฝึกสมาธิเดือนหนึ่งประมาณกี่ครั้งได้
-ให้นักเรียนนั่งประมาณ 10 นาที หมดเวลาแล้วให้ประนมมือว่า (...) เสร็จแล้วอาจารย์ก็พูดว่า
"เมื่อกี้มีคนมามากมาย เพราะนั่ง 10 นาที อานิสงส์สูง ไม่เชื่อลองถาม (ชื่อ
หนู)" ฯลฯ
คำพูดทำนองนี้ฟังดูแปลกๆ ล้วนแต่ทำให้ผู้ฟังเกิดวิตกจริต คิดปรุงแต่งความคิดได้มากมาย
พูดชักจูงในทางที่เป็นกุศลสร้างศรัทธาพอฟังได้ แต่คำพูดสร้างความตื่นกลัวอย่างนั้นไม่
ควร
แนะนำบอร์ดใหม่
http://fws.cc/whatisnippana/index.php |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ย.2010, 6:16 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง |
|
|
|
montasavi
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2008, 8:22 am |
|
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
ประโยชน์ของการปฏิบัติวิปัสสนาที่พบเห็นจากประสบการณ์ตรง
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมีมากมายยากที่จะอธิบายให้เห็นจริงได้ จนกว่าผู้นั้นได้ลงมือปฏิบัติจนได้เห็นผลจริงด้วยตนเอง แต่พอกล่าวเป็นตัวอย่างได้ดังนี้
๑. ทำให้บรรลุโสดาบันได้ภายใน ๓-๔เดือน (..เท่านั้น) โสดาบัน แปลว่า เข้าถึงกระแสที่จะไหลไปสู่ความไม่เกิดอีกภายใน ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง(1) (เมื่อไม่เกิดอีกก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย และไม่ ต้องเป็นทุกข์อีกแล้ว) เป็นมรรคขั้นต้นของมรรคทั้ง ๔ ( โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค) ที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา เป็นเป้าหมายสำคัญที่สัตว์ทั้งมวล ผู้รักสุขเกลียดทุกข์และต้องการ สุขแท้สุขถาวร ควร/ต้องไปให้ถึงให้ได้ภายในชาตินี้ ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานให้วิปัสสนาญาณเกิดไปตามลำดับจนครบ ๑๖ ขั้น ก็จะสำเร็จเป็นพระโสดาบันโดยสมบูรณ์(2)
อ้างอิง 1.ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ หน้า ๑๔๑ 2.ดูรายละเอียดใน คัมภีร์อรรถกถา สังยุตนิกาย (บาลี) เล่มที่ ๒ หน้า ๑๔๓
๒. เมื่อบรรลุโสดาบันแล้ว ถ้าหากต้องการมีฤทธิ์ มีเดช ก็สามารถฝึกสมถกรรมฐานต่อได้เลย จะสำเร็จได้ในระยะเวลาไม่นาน ในขณะที่การปฏิบัติสมถล้วนๆ ต้องใช้เวลาปฏิบัติกันถึง ๒-๓ปี หรือนานกว่านั้น จึงจะได้ผล
๓. เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาถึงสังขารุเปกขาญาณ (ญาณที่ ๑๑) จนแก่กล้าแล้ว ทำให้โรคบางอย่างหายได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ต่อมไทรอย โรคเกี่ยวกับลม เส้นเอ็นและกระดูก (..นี้เป็นตัวอย่างจริงที่พบเห็นจากผู้ร่วมปฏิบัติ เป็นต้น
๔. ถ้ามีเหตุให้ปฏิบัติไม่สำเร็จ ไปติดอยู่เพียงแค่ญาณ ๑๑ ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะจะเกิดปัญญาญาณ ที่จะใช้ในการแก้ปัญหาทุกอย่างในโลกได้ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาทางโลกหรือทางธรรม โดยเฉพาะปัญหาครอบครัวระหว่างสามี ภรรยา ลูก หลาน ญาติพี่น้อง (คิดค้นวิธีเอายานไวกิ้งลงบนดาวอังคารได้ ก็ด้วยการนั่งสมาธินี่แหละ)
๕. ล้างอาถรรพ์ มนต์ดำได้ ไม่ว่าจะถูกของ หรือโดนยาพิษ ยาสั่งมา เมื่อปฏิบัติจนถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว อาถรรพ์จะหายไปจนเกลี้ยง ( เรื่องนี้ขอท้าให้พิสูจน์)
วิธีปฏิบัติวิปัสสนาจากประสบการณ์ตรง
๑) เดินจงกรม เดินกลับไปกลับมา ก้มหน้าเล็กน้อย ส่งจิตกำหนดดูอาการของเท้าแต่ละจังหวะที่เคลื่อนไป อย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง รับรู้ถึงความรู้สึกของเท้าที่ค่อยๆยกขึ้น ค่อย ๆ ย่างลง และความรู้สึกสัมผัสที่ฝ่าเท้า(อ่อน แข็ง เย็น ร้อน ฯลฯ) ส่งจิตดูอาการแต่ละอาการอย่างจรด แนบสนิทอยู่กับอาการนั้น ไม่วอกแวก จนรู้สึกได้ถึงอาการที่เปลี่ยนไป ดับไปของสภาวนั้น ๆ เช่น ขณะย่างเท้า ก็รู้สึกถึงอาการลอยไปเบา ๆ ของเท้า พอเหยียบลงอาการลอย ๆ เบา ๆ เมื่อ ๒-๓ วินาทีก่อนก็ดับไป มีอาการตึงๆแข็งเข้าแทนที่ พอยกเท้าขึ้นอาการตึงๆแข็งๆด็ดับไป กลับมีอาการลอยเบาๆ โล่งๆเข้าแทนที่ เป็นต้น ยิ่งเคลื่อนไหวช้าๆ ยิ่งเห็นอาการชัด และในขณะที่กำลังเดินอยู่นั้น หากมีความคิดเกิดขึ้นให้หยุดเดินก่อน แล้วส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า คิดหนอๆๆๆ จนกว่าความคิดจะเลือนหายไป จึงกลับไปกำหนดเดินต่อ อย่ามองซ้ายมองขวา พยายามให้ใจอยู่กับเท้าที่ค่อยๆเคลื่อนไปเท่านั้น ถ้าเผลอหรือหลุดกำหนดให้เอาใหม่ เผลอเริ่มใหม่ ๆๆๆ ไม่ต้องหงุดหงิด การปฏิบัติเช่นนี้ เรียกว่า เดินจงกรม ต้องเดิน ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
๒) นั่งสมาธิ นั่งตัวตรง แต่ไม่ต้องตรงมาก ให้พอเหมาะสมกับสรีระของตนเอง นั่งสงบนิ่ง ไม่ขยับเขยื้อนอวัยวะส่วนใดทั้งสิ้น จนสังเกตได้ว่าอวัยวะที่ยังไหวอยู่มีแต่ท้องเท่านั้น ให้ส่งจิตไปดูอาการไหวๆนั้นอย่างต่อเนื่อง แค่ดูเฉยๆ อย่าไปบังคับท้อง ปล่อยให้ท้องไหวไปเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ นั่งกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง ไม่หลุด ไม่เผลอ ถ้ามีเผลอสติบ้างก็ไม่ต้องหงุดหงิด เผลอ..เอาใหม่ ๆ จนเห็นอาการพอง อาการยุบค่อยๆชัดขึ้น ขณะเห็นท้องพองกำหนดในใจว่า พองหนอ ขณะเห็นท้องยุบกำหนดในใจว่า ยุบหนอ บางครั้งท้องนิ่งพอง-ยุบไม่ปรากฏก็ให้กำหนดรู้อาการท้องนิ่งนั่น รู้หนอๆๆ หรือ นิ่งหนอๆๆ บางครั้งพอง-ยุบเร็วแรงจนกำหนดไม่ทัน ก็ให้กำหนดรู้อาการนั้น รู้หนอๆๆ ถ้าขณะนั่งกำหนดอยู่มีความคิดเข้ามาให้หยุดกำหนดพองยุบไว้ก่อน ส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า คิดหนอๆๆ แรงๆ เร็วๆ โดยไม่ต้องสนใจว่าคิดเรื่องอะไร พออาการคิดจางไปแล้ว หรือหายไปโดยฉับพลัน ให้กำหนดดูอาการที่หายไป รู้หนอๆๆ แล้วรีบกลับไปกำหนดพอง-ยุบต่อทันที อย่าปล่อยให้จิตว่างจากการกำหนดเด็ดขาด
ขณะที่กำหนดอยู่นั้น ถ้าเกิดอาการปวดขา หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมา ให้ทิ้งพอง-ยุบไปเลย แล้วส่งจิตไปดูอาการปวดนั้น บริกรรมในใจว่า ปวดหนอๆๆ พยายามกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง แต่อย่าเอาจิตเข้าไปเป็นทุกข์กับอาการปวดนั้น ภายใน ๕ หรือ ๑๐ วันแรกให้กำหนดดูอาการปวดอย่างเดียว ไม่ต้องสนใจอารมณ์อื่นมากนัก จนกว่าอาการปวดจะหาย หรือลดลง วันแรกๆ อาการปวดจะไม่รุนแรงมากนัก นั่งได้ ๑ ชั่วโมงแบบสบายๆ พอเรามีสมาธิมากขึ้น มีญาณปัญญามากขึ้น อาการปวดจะค่อยๆรุนแรงขึ้น จนทนแทบไม่ไหว จากที่เคยนั่งได้ ๑ ชั่วโมง พอวันที่ ๕-๖ เป็นต้นไป นั่ง ๑๐ หรือ ๒๐ นาทีก็ทนแทบไม่ไหวแล้ว ให้พยายามนั่งกำหนดต่อไปจนกว่าจะครบชั่วโมง (เพื่อจะได้เป็นกำลังใจในการกำหนดบัลลังก์ต่อๆไป) ยิ่งปวดมากก็ยิ่งกำหนดถี่ๆเร็วๆ แรงๆ นั่นแสดงว่าสมาธิของเราก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ภายใน๑๐-๒๐ วันเวทนาก็จะหายขาดไปเอง หรืออาจจะมีอยู่บ้างเล็กน้อยช่วงท้ายบัลลังก์ ถึงต้อนนี้วิปัสสนาญาณของคุณก้าวเข้าสู่ขั้นที่ ๔ แล้ว ขั้นต่อไป ไม่ควร/ห้ามปฏิบัติด้วยตนเอง(อย่างเด็ดขาด) ต้องมีพระอาจารย์คอยควบคุมอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นแล้วจะเกิดผลเสียมากว่าผลดี ..ขอเตือน.. ที่อธิบายมานี้เป็นเพียงหลักปฏิบัติเบื้องต้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่จะต้องเรียนรู้ ผู้ต้องการปฏิบัติให้เห็นมรรคเห็นผล พึงแสวงหาสำนักปฏิบัติที่เห็นว่าเหมาะสมกับตนเอาเองเถิด..
ดูรายละเอียด และ สภาวะของญาณ ๑๖ ได้ที่ :
http://www.tlcthai.com/club/list_topic.php?club=buddhism&club_id=1278&table_id=1&cate_id=788 |
|
|
|
|
|
โมกข์ป่า
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 10 ม.ค. 2008
ตอบ: 22
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2008, 10:09 am |
|
ขอแนะนำนะคะว่า
ตอนที่หนูนั่งสมาธินั้น ให้หนูท่องคำว่า พุธ ตอนหายใจเข้า และท่อง โธ ตอนหายใจออก
ช่วงของการหายใจให้หนูหายใจให้ยาวกว่าปกติหน่อยนะคะ นึกถึงตอนที่เห็นคนหลับมั้ยคะ เค้าจะหายใจยาวกว่าเวลาปกติ แต่ไม่ต้องเอาแบบที่ว่าจะขาดใจนะคะ เอาแค่พอทำได้ ลองสูดหายใจเข้ายาวๆ ได้แค่ไหน แค่นั้นพอค่ะ
แล้วตอนที่อาจารย์ให้นั่งสมาธินั้น จำไว้แค่คำเดียวพอนะคะ คือคำว่า พุธโธ หรือจะได้คำอื่นก็ได้ที่หนูคิดว่าหนูท่องได้ง่ายกว่า เช่น คำว่า ยุบหนอ พองหนอ นั่นแหละค่ะ
และที่สำคัญ ไม่ต้องไปคิดว่าจะเห็นอะไรทั้งสิ้นในขณะนั่งสมาธิ อย่างที่ท่านอื่นๆ ได้แนะนำไว้ หากอาจารย์พูดอะไรให้กลัวก็ไม่ต้องไปกลัวตามค่ะ เพราะถ้าหากเราคิดตาม เราจะเห็นอย่างที่เราคิด ซึ่งนั่นมันไม่ใช่ของจริงที่มีอยู่ แต่เกิดจากจินตนาการและใต้สำนึกของความอยากเห็นของเราทำให้เราเห็นค่ะ
ในการนั่งสมาธิ ปฏิบัติกรรมฐานนั้น มีอะไรที่ลึกซึ้งมากกว่าแค่การนั่งหลับตา และกำหนดลมหายใจเท่านั้น ยังมีการกำหนดจิต และระลึกรู้ถึงสติของเรา และการตามดูจิต และมีอีกมากมายค่ะ ในการนั่งสมาธิเพื่อให้จิตสงบและหลุดพ้น
แต่อย่างน้อยก็ดีแล้วค่ะที่อาจารย์พานักเรียนนั่งสมาธิ
อ้อ เกือบลืมค่ะ
จะบอกว่า ผู้ที่นั่งสมาธิแล้วเห็นสิ่งต่างๆ ได้นั้น คือผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานได้แล้วค่ะ หนูไม่ต้องกลัวสิ่งที่อาจารย์หนูบอกนะคะ นั่นอาจแค่เป็นการพูดให้กลัวก็ได้ค่ะ
พระอรหันต์ ท่านสามารถเห็นอดีตของท่านเองว่าชาติก่อนนั้นท่านเกิดเป็นอะไร และเคยทำกรรมสิ่งใดไว้บ้าง หรือท่านเห็นนรก สวรรค์ แม้กระทั่งได้พบกับเทวดา และอาจถึงขั้นเทศนาธรรมให้แก่เทวดา นางฟ้าทั้งหลายได้ฟังด้วยซ้ำค่ะ
ขอเอาใจช่วยและขอให้ตั้งใจนั่งสมาธิต่อไปนะคะ |
|
|
|
|
|
1เอง
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2007
ตอบ: 43
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2008, 11:50 am |
|
ผมมีความเห็นเดียวกับคุณกรัชกายนะคับ และขอบอกน้องนะคับว่ารับรองได้ไม่มีอะไรน่ากลัวหรอกครับ มีแต่บุญกุศลที่จะได้อย่างมากมาย
ขอให้น้องอย่าได้ไปสนใจอะไรที่ไม่ควรสนใจเลยครับ ให้ตั้งใจให้แน่วแน่ลงไปกับพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ เป็นพอระหว่างขณะนั่งสมาธิอยู่ครับผม
จงทำต่อไปเถอะครับน้องเพราะเป็นสิ่งที่ดีในชีวิตเลยก็ว่าได้ ทำโดยไม่ต้องไปกลัวอะไรหรอกครับ
ขยันๆทำบ่อยๆนะครับแล้วจะดีเอง |
|
|
|
|
|
1เอง
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2007
ตอบ: 43
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2008, 11:51 am |
|
ผมมีความเห็นเดียวกับคุณกรัชกายนะคับ และขอบอกน้องนะคับว่ารับรองได้ไม่มีอะไรน่ากลัวหรอกครับ มีแต่บุญกุศลที่จะได้อย่างมากมาย
ขอให้น้องอย่าได้ไปสนใจอะไรที่ไม่ควรสนใจเลยครับ ให้ตั้งใจให้แน่วแน่ลงไปกับพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ เป็นพอระหว่างขณะนั่งสมาธิอยู่ครับผม
จงทำต่อไปเถอะครับน้องเพราะเป็นสิ่งที่ดีในชีวิตเลยก็ว่าได้ ทำโดยไม่ต้องไปกลัวอะไรหรอกครับ
ขยันๆทำบ่อยๆนะครับแล้วจะดีเอง |
|
|
|
|
|
1เอง
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2007
ตอบ: 43
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2008, 11:52 am |
|
ผมมีความเห็นเดียวกับคุณกรัชกายนะคับ และขอบอกน้องนะคับว่ารับรองได้ไม่มีอะไรน่ากลัวหรอกครับ มีแต่บุญกุศลที่จะได้อย่างมากมาย ขอให้น้องอย่าได้ไปสนใจอะไรที่ไม่ควรสนใจเลยครับ ให้ตั้งใจให้แน่วแน่ลงไปกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นพอระหว่างขณะนั่งสมาธิอยู่ครับผม จงทำต่อไปเถอะครับน้องเพราะเป็นสิ่งที่ดีในชีวิตเลยก็ว่าได้ ทำโดยไม่ต้องไปกลัวอะไรหรอกครับ ขยันๆ ทำบ่อยๆ นะครับแล้วจะดีเอง |
|
|
|
|
|
nattakarn
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2008, 6:33 pm |
|
ค่ะ .. อาจารย์ที่สอนหนูไม่ใช่ภิษุค่ะ แต่อาจารย์ก็เคยเป็นภิษุมาก่อนค่ะ
แต่หนูก็ไม่ทราบหรอกนะคะว่าจริงรึเปล่า รุ่นพี่เล่นให้ฟังค่ะ
หนูฟังๆไปเหมือนกันอาจารย์นั่งสมาธิถึงขึ้นวิปัสสนากัมมฐาน(ถูกไหมคะ)
โรงเรียนหนู คือ . . สมัยก่อนรุ่นพี่จะถูกผีเข้าเยอะค่ะ
แต่ตอนนั้นอาจารย์(ที่ให้หนูนั่งสมาธิ) ก็ไม่ได้ทราบนะคะว่าถูกผีเข้า
จนหลายวันต่อมา นร. ก็ถูกผีเข้าทุกวัน อาจารย์เลยไปได้ไม้ 1 อันค่ะ
เอามาตีเด็ก ให้ผีออก ปรากฏว่าผีออกค่ะ
(แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีใครถูกผีเข้าแล้วค่ะ เห็นอาจารย์ว่าทำบุญใหญ่ครั้งหนึ่งอ่าค่ะ)
และอีกอย่างตอนที่อาจารย์ให้รุ่นพี่นั่งสมาธิ(รุ่นพี่เล่าให้ฟังค่ะ)
คือ .. ทุกคนนั่งสมาธิกันหมด แม้แต่อาจารย์ก็นั่งค่ะ
แต่ว่ามีพี่คนนึง เดินออกไปกับผู้ชายและพากันไปไหนก็ไม่ทราบค่ะ
ทั้งๆที่อาจารย์ก็นั่งสมาธิอยู่
แต่อาจารย์เห็นว่าพี่เค้าไปไหน ไปกับใคร ไปทำอะไรค่ะ
ส่วนตอนนั่งสมาธิหนูกำหนดว่า พุท แล้วก็ โธ ค่ะ
พอดีอาจารย์ให้กำหนด อาจารย์บอกว่ากำหนดว่า ยุพหนอ พองหนอ ก็ได้ค่ะ
แต่หนูเลือก พุท โธ ค่ะ |
|
|
|
|
|
nattakarn
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2008, 6:41 pm |
|
กรัชกาย พิมพ์ว่า: |
ก่อนตอบพี่ขอ ถามหนู นัท...ก่อนว่า
อาจารย์ที่สอนหนูและเพื่อนๆให้ทำสมาธิเป็นพระภิกษุ หรือเป็น อ. ประจำชั้น
ท่านสอนให้ภาวนาว่าอย่างไรด้วยไหม เช่น พุทโธ หรือ พองหนอ ยุบหนอ ไรประมาณเนี่ย
สอนฝึกสมาธิเดือนหนึ่งประมาณกี่ครั้งได้
-ให้นักเรียนนั่งประมาณ 10 นาที หมดเวลาแล้วให้ประนมมือว่า (...) เสร็จแล้วอาจารย์ก็พูดว่า
"เมื่อกี้มีคนมามากมาย เพราะนั่ง 10 นาที อานิสงส์สูง ไม่เชื่อลองถาม (ชื่อ
หนู)" ฯลฯ
คำพูดทำนองนี้ฟังดูแปลกๆ ล้วนแต่ทำให้ผู้ฟังเกิดวิตกจริต คิดปรุงแต่งความคิดได้มากมาย
พูดชักจูงในทางที่เป็นกุศลสร้างศรัทธาพอฟังได้ แต่คำพูดสร้างความตื่นกลัวอย่างนั้นไม่
ควร |
อ๋อ .. สอนฝึกสมาธิเหรอค่ะ
ช่วงนี้สวดมนต์เสร็จอาจารย์ก็จะให้นั่งสมาธิอ่าค่ะ
คาบวิถีพุทธ 1 อาทิตย์ รู้สึกว่าจะมี 3 คาบนะคะ
สรุปก็ 1 เดือน 12 ครั้งได้มั๊งคะ |
|
|
|
|
|
กรัชกาย
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2008, 7:51 pm |
|
ถามหนูนัท...อีกนิดครับว่า
อาจารย์คนที่สอนหนูทำสมาธิ (ปัจจุบัน) คือ คน ๆ เดียวกันที่สอนรุ่นพี่ๆ ทำสมาธิ
แต่สอนรุ่นพี่ผีเข้าบ่อย ถูกตีผีจึงกลัวหายไปพร้อมๆ กับทำการทำบุญดังกล่าว
จนมาถึงรุ่นหนูนี้ แต่ไม่มีใครถูกผีเข้าอีก พี่เข้าใจถูกไหมครับ
อ้างอิงจาก: |
หนูฟังๆไปเหมือนกับอาจารย์นั่งสมาธิถึงขั้นวิปัสสนากัมมฐาน (ถูกไหมคะ)
nattakarn
11 ม.ค.2008, 6:33 pm |
วิปัสสนาหนูเป็นไงหรอ จึงฟังรู้ว่า อาจารย์นั่งสมาธิถึงขั้นวิปัสสนา
แล้วสมาธิล่ะ หนูเข้าใจว่า เป็นอย่างไร
ตามสบายน่ะ เล่าตามที่หนูเข้าใจเลยครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
|
|
nattakarn
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57
|
ตอบเมื่อ:
12 ม.ค. 2008, 5:39 pm |
|
ค่ะคุณอากรัชกาย (ขออนุญาตเรียกคุณอานะคะ)
อาจารย์คือคนเดียวกัน ที่สอนหนูนั่งสมาธิ ที่สอนรุ่นพี่นั่งสมาธิ คนที่ตีเด็กจนผีออกไป
แล้วก็โรงเรียนได้ทำบุญครั้งใหญ่จนไม่มีเด็กถูกผีเข้ามาจนถึงปัจจุบันนี้ค่ะ
ที่หนูฟังแล้วทราบว่าอาจารย์นั่งถึงขึ้นวิปัสสนากัมมฐานก็เพราะว่า
ที่รุ่นพี่เล่าให้ฟังอ่าคะ .. ที่อาจารย์เห็นทุกๆอย่างๆ
ทั้งๆที่อาจารย์นั่งสมาธิอยู่ คือ .. ถอดจิตได้ค่ะ
สมาธิเหรอคะหนูก็เข้าใจว่า .. การนั่งที่ทำให้จิตใจสงบ ให้จิตนิ่ง และไม่นึกถึงเรื่องๆอื่นๆ
ไม่ยึดติกับเรื่องภายนอก ไม่ยึดติกับเสียงหรืออะไรก็แล้วแต่ นั่งดูเพียงลมหายใจเข้าออกของเราค่ะ
หนูเข้าใจถูกรึเปล่าคะ |
|
|
|
|
|
กรัชกาย
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ม.ค. 2008, 8:45 pm |
|
อ้างอิงจาก: |
-สมาธิเหรอคะหนูก็เข้าใจว่า ... นั่งดูเพียงลมหายใจเข้าออกของเราค่ะ
หนูเข้าใจถูกรึเปล่าคะ
Nattakarn
12 ม.ค.2008, 5:39 pm |
อาว่าหนูนัท...เข้าใจสมาธิจิตค่อนข้างถูกต้องกว่าผู้สอนเสียอีก
จิตที่เป็นสมาธิ ได้แก่จิตที่สงบตั้งมั่นอยู่กับสิ่งที่กำลังทำ กล่าวคือ ไม่ซ่านไม่ส่าย ไม่วอกแวก
เช่น
กำลังอ่านหนังสืออยู่จิตจดจ่ออยู่กับหนังสือที่ดูที่อ่านนั้น
กำลังกวาดบ้านอยู่จิตจดจ่อมุ่งอยู่กับงานที่กำลังทำนั้น
กำลังล้างจานอยู่จิตจดจ่ออยู่กับการล้างนั้น
กำลังกินข้าวอยู่จิตก็จดจ่ออยู่กับกิริยาอาการที่กำลังตักกำลังยกเป็นต้นนั้น
(อุปกรณ์สำหรับฝึกจิต) งานทั้งหมดนั้น ก็คือที่ให้จิตทำงาน
ที่เรียกว่า กัมมัฏฐาน (หรือ กรรมฐาน)
กรรมฐาน แปลว่าที่ทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน
เราจะใช้อุปกรณ์หรืออารมณ์ภายนอกดังกล่าวเป็นที่ฝึกก็ได้
จะใช้อุปกรณ์หรืออารมณ์ภายใน เช่น ร่างกาย+ความรู้สึกก็ได้ (มี 4 ฐาน 4 ที่)
จะฝึกร่วมๆ ทั้งอารมณ์ภายนอก/ภายใน ก็ได้ แล้วแต่โอกาส
ส่วนคำว่า วิปัสสนา ได้แก่ ปัญญาที่อาศัยสมาธิเกิดแล้วรู้เห็นธรรมชาติคือร่างกายและจิตใจ
(ตนเอง) ตามความเป็นจริง คือ ตามที่มันเป็น
(รู้คร่าวๆ เท่านี้ก่อนนะ)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
|
|
กรัชกาย
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ม.ค. 2008, 8:46 pm |
|
อ้างอิงจาก: |
รุ่นพี่เล่าให้ฟังอ่าคะ .. ที่อาจารย์เห็นทุกๆอย่างๆ
ทั้งๆที่อาจารย์นั่งสมาธิอยู่ คือ .. ถอดจิตได้ค่ะ
Nattakarn
12 ม.ค.2008, 5:39 pm |
- หนูนัท...ลบข้อมูลความจำ วิปัสสนาถอดจิตถอดใจออกไปจากความทรงจำให้หมดเลย
อย่าเก็บไว้ให้รกสมอง เป็นไฟล์ขยะ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
|
|
กรัชกาย
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ม.ค. 2008, 8:49 pm |
|
อ้างอิงจาก: |
แล้วอาจารย์ก็บอกว่า
"เมื่อกี้มีคนมามากมาย เพราะนั่ง 10 นาที อานิสงส์สูง ไม่เชื่อลองถาม (ชื่อหนู)"
...อาจารย์ก็ถามรู้สึกยังไงบ้างตอนนั่งสมาธิ
อาจารย์ก็บอกว่ามีอะไรจะทำหนู
หนูถามอาจารย์ อาจารย์ก็ไม่ยอมบอก ทำเป็นปริศนาซ่ะงั้น
อาจารย์บอกแค่ว่า "ถ้าบอกไปเดี๋ยวไม่กล้านั่งสมาธิ"
Nattakarn
10 ม.ค.2008, 6:28 pm |
อากรัชกาย อ่าน เอะใจแต่ทีแรกแล้ว
อาจารย์ที่สอนสมาธิหนูและเพื่อนๆ กำลังหลงเข้าใจผิดภาพนิมิตทางใจอยู่
ภาษาทางธรรม เรียกว่า วิปลาส
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
|
|
กรัชกาย
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ม.ค. 2008, 8:55 pm |
|
ชั่วโมงคาบวิถีพุทธ
อาจารย์ให้ฝึกสมาธิ หนูนัท จึงจำเป็นต้องทำตามอาจารย์สั่ง ก็ทำไปฝึกไป เมื่อเห็นอะไรนอก
จากลมหายใจเข้าออก ให้ทำความรู้สึกตัว รู้แล้วไม่ใส่ใจต่อสิ่งนั้น
เพราะเป็นภาพลวงความรู้สึก เป็นมายาของจิต ไม่ใช่ของจริง
มีปัญหาสงสัยเรื่องนี้ รวมทั้งเพื่อนๆในห้องด้วย ส่งจดหมายถึงอากรัชกายที่เมลบ๊อก
เวปนี้ อย่าเก็บความสงสัยไว้นาน
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
|
|
กรัชกาย
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ม.ค. 2008, 9:01 pm |
|
อ้างอิงจาก: |
หนูเลยอยากจะมาถามว่า ตอนนั่งสมาธิ จะมีอะไรเหรอคะ ?
Nattakarn
10 ม.ค.2008, 6:28 pm |
มี/เป็น/เห็นอย่างอาจารย์เห็นนั่นอย่างหนึ่ง แต่เห็นคนเดียวนะ คนอื่นไม่เห็น
หลงก็หลงคนเดียวเช่นกัน
หนูนัท ดูตัวอย่างข้างล่างสัก 5 แบบ
อาก๊อบมาให้ดู แต่อย่าคิดฟุ้งซ่านนะ ดูไว้เป็นบทเรียนเฉยๆ ธรรมดามากๆ แบบนี้
อย่างที่บอก ขณะนั้นๆ รู้สึก-เห็นอะไร ทำความรู้สึกว่ารู้แล้ว ไม่สนใจสิ่งหรืออาการ
เหล่านี้ =>
1) คือได้ไปปฎิบัติธรรมค่ะ และได้นั่งสมาธิแล้วก็เห็นตัวเองตัวใหญ่มาก ๆ และเห็น
ทุกขเวนาเกิดขึ้น ใช่เปล่าไม่แน่นใจ (เหน็บกินขาและเท้า) ทำให้เห็นตัวเองใหญ่มาก ๆ
เกือบหลุดออกจากสมาธิค่ะ แต่ก็ไม่เข้าใจค่ะ
2) ผมนั่งกำหนดลมหายใจเข้าออก สักพักจะนิ่ง แล้วจะรู้สึกว่าตัวใหญ่ขึ้นแล้วมองลงมาดูที่
พื้นห้องและตัวส่วนล่าง แต่บางครั้งก็จะหมุนรอบตัว สักพักพอดูอาการเหล่านั้นก็จะหายไป
จิตก็จะเริ่มฟุ้งอีกครั้ง
3) ช่วงนี้ดิฉันเริ่มแบ่งเวลาทำตามรูปแบบมากขึ้น นั่งสมาธิวันละ 5 นาที 10 นาทีน่ะคะ
มีอยู่ครั้งนึง นั่งตอนเช้า จิตใจยังซึมๆ ง่วงๆ อยู่เลย ก็ใช่วิธีภาวนาพุธโธไป โดยระลึกรู้ว่า
เรากำลังง่วงๆ อยู่ แต่ขณะนั้นก็มีความคิดต่างๆ ผุดขึ้นมามากมาย พอรู้ทัน แต่ละอันรู้สึก
เหมือนเกิดจิตมันสว่างวาบขึ้นต่อจากที่รู้ทันไปแล้วแต่เร็วมากเลยค่ะ
มันวาบขึ้นแป็บเดียว ประมาณ 1 วินาทีเห็นจะได้ แต่ทำให้เรารู้สึกดี แล้วกลับมาคิดมาง่วงต่อ
แล้วก็ไปรู้ทันอีกก็จะเกิดแบบนี้อีกค่ะ
4) ไม่ได้นั่งสมาธิมานานแล้ว ปกติเมื่อก่อนไม่เคยเกิน 15 นาทีต่อครั้งเลยก็ทนไม่ได้แล้ว
แต่คราวนี้กลับมาลองนั่งใหม่ เพราะรู้สึกอยากทำ ไม่ทราบเพราะอะไรเหมือนกัน
แต่ก็สามารถนั่งได้ ประมาณชั่วโมงหนึ่ง และช่วงระหว่างทำสมาธิ รู้สึกตัวเองโยกไปข้างหลัง
ช้า
แขนขวาเริ่มขยับช้า ๆ สูงขึ้นๆ และหยุดตั้งฉากกับลำตัวและแกว่ง ช้า สักพักก็หยุดเหมือน
พระปางห้ามญาติประมาณนั้น อยู่อย่างนั้นสักพัก ก็ลดระดับต่ำลงมาวางบนขาตัวเอง
แล้วแขนซ้ายก็เริ่มขยับ อาการเหมือนแขนขวาทำทุกอย่างอย่างเลย จนกระทั่งแขนซ้ายลดมา
อยู่บนขาตัวเองอีกครั้ง แล้วแขนสองข้าง ก็ขึ้น ช้า ๆ พร้อม ๆ กัน และ มาประนมมือบรรจบกัน
ตรงหน้าอก แล้วค่อย ๆ เลื่อนขึ้นไปจรดหน้าผาก แล้วค่อย ๆ ลดต่ำลงมา เรื่อย ๆ จนมือมา
วางบนขาอีกครั้ง
จะเป็นอย่างนี้แทบทุกครั้งเลย ค่ะ งง ค่ะ รู้ตัวตลอด ภาวนาตลอด ในห้วงจิตเห็นแสงสว่าง
เหมือนดวงแก้วลอยมาแต่ก็ยังพอรู้สึกได้ว่า อวัยวะของร่างกายบางส่วนเคลื่อนไหวอยู่
แต่โดยส่วนตัว ปกติตั้งแต่เด็กแล้วจะสามารถสัมผัสพลังได้ง่าย มาก เช่น รู้ได้แม้กระทั่งว่า
พระองค์ไหนผ่านพิธีปลุกเสกแล้วหรือยัง เพราะสามารถจับพลังงานความร้อนที่แผ่ออกมาได้
แต่ในเรื่องการทำสมาธิ เพิ่งจะหัดค่ะ
5) อยากทราบว่า มีอาการใจจะขาดและเสียวแปปๆ เวลาทำสมาธิ เกิดจากสาเหตุใดครับ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
|
|
nattakarn
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57
|
ตอบเมื่อ:
13 ม.ค. 2008, 7:05 am |
|
ค่ะ ขอบคุณนะคะ คุณอา
แต่คุณอาคะ อาจารย์หนูอาจจะล้อเล่นก็ได้ค่ะ แฮ่ะๆ ..
อาจารย์หนูก็เคยนั่งสมาธิเป็นชั่วโมงๆนะคะ
อาจารย์บอกว่าครั้งหนึ่ง .. อาจารย์เดินๆแล้วตกบันได แบบถือของมากเกินอ่าคะ
แล้วอาจารย์ก็ต้องไปนั่งสมาธิกับอาจารย์ของอาจารย์ค่ะ(งงไหมคะ)
อาจารย์ของอาจารย์บอกว่าเพ่งจิตไปตรงที่เจ็บแล้วจะหาย
อาจารย์หนูก็ทำอย่างนั้นค่ะ ปรากฏว่าหายเจ็บค่ะ
แล้วอาจารย์ก็เคยบอกนะคะว่า เมื่อนั่งสมาธิแล้วรู้สึกว่าเจ็บขา ขาชา
นั่นถือว่าเข้าสู้สมาธิขั้นที่ 1 แล้วต่อมาก็จะรู้สึกขาโตขึ้นๆ คันใบหน้า เข้าสู่สมาธิขึ้นที่ 2
ส่วนสมาธิขั้นที่ 3 หนูก็จำไม่ค่อยได้แล้วอ่าน่ะค่ะ จำได้อย่างนึงค่ะ จะรู้สึกตัวเองว่าลอย
สมาธิขึ้นที่ 4 อาจารย์ยังไม่ได้สอนค่ะ ^^ |
|
|
|
|
|
กรัชกาย
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
13 ม.ค. 2008, 8:59 am |
|
อ้างอิงจาก: |
อาจารย์บอกว่าครั้งหนึ่ง .. อาจารย์เดินๆแล้วตกบันได แบบถือของมากเกินอ่าคะ
แล้วอาจารย์ก็ต้องไปนั่งสมาธิกับอาจารย์ของอาจารย์ค่ะ (งงไหมคะ)
nattakarn
13 ม.ค.2008, 7:05 am |
ไม่งงจ้า คือ อาจารย์ของหนู มีอาจารย์สอนสมาธิให้ ถูกไหมจ๊ะ
แล้วอาจารย์ของอาจารย์ยังมีชีวิตอยู่ไหม
เป็นภิกษุหรือเป็นคฤหัสถ์ อาจารย์บอกหนูไหม ครับ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
|
|
|