Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สิ่งที่สำคัญที่สุดในคุณธรรมแห่งความสำเร็จ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ม.ค. 2005, 8:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณธรรมแห่งความสำเร็จ 4 ประการหรือ อิทธิบาท 4 ได้แก่

ฉันทะ ความพอใจที่จะไปสู่ความสำเร็จในเรื่องที่ปราถนา

วิริยะ ความเพียร

จิตตะ ความตั้งใจ

วิมังสา ความเข้าใจ และหมั่นพิจารณาทบทวนถึงวิธีการที่ถูกต้องอยู่เสมอ

ต่อจากนี้ไป เป็นความคิดของผมเองนะครับ ถูกหรือผิด ก็วิจารณ์ได้ครับ ทั้งนี้เพราะผมตระหนักดีว่า ความรู้ความคิดที่ผมมีมาอยู่นี้ไม่ได้รู้มาได้เองเลยครับ ได้มาจากครูอาจารย์ทั้งนั้น แม้บางอย่างคิดได้ภายหลัง ก็เพราะอาศัยพื้นฐานความรู้ของครูอาจารย์อยู่ดี

ผมลองวิเคราะห์ดู ว่าองค์ประกอบทั้ง 4 ประการนี้ อย่างไหนสำคัญที่สุด ซึ่งผมก็พบว่า ฉันทะ นี่สำคัญที่สุด เพราะถ้าไม่มีฉันทะก็ไม่สำเร็จ หรือถ้าตอนต้นมีฉันทะ ตอนหลังเปลี่ยนใจ ก็ไม่สำเร็จ

ส่วนวิริยะ จิตตะ วิมังสา นั้น จะเป็นคุณสมบัติทำให้ความสำเร็จเนิ่นช้า หรือรวดเร็ว เช่น เมื่อเริ่มต้นยังไม่รู้ทางที่ถูกต้อง ก็จะเสียเวลาหาเนิ่นนานออกไปมากกว่าผู้ที่รู้หนทางสำเร็จตั้งแต่แรก ดังตัวอย่างประกอบ

1. เรื่องของพระมหากัจจายนะ ผู้ที่แต่เดิมตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า และบำเพ็ญบารมีมาต้องบอกว่าถูกทาง เพราะได้ลักษณะมหาบุรุษมาหลายประการ จนถ้าใครมองไกลๆ จะดูคล้ายพระพุทธเจ้ามาก ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ของท่านต้องบอกว่า มีแน่นอน เพราะทำมาจนกำลังใกล้จะสำเร็จแล้ว แต่เมื่อพบพระพุทธเจ้าของเรา ท่านเกิดเปลี่ยนใจภายหลัง (ฉันทะหมดไป) ขอเป็นพระอรหันต์ธรรมดาดีกว่า และก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ทีนี้พอท่านเดินไปไหน คนก็เข้าใจไปว่า พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จมา ท่านกลัวคนเข้าใจผิด จึงอธิษฐานให้อ้วนพุงพลุ้ยขึ้นมา จนกลายเป็นพระสังกจาย (ไม่รู้สะกดถูกหรือเปล่า) นั่นเอง ซึ่งพวกชาวจีนจะนับถือมาก (ผมว่าก็ด้วยบุญบารมีที่ท่านบำเพ็ญไว้เดิมตอนตั้งใจจะเป็นพระพุทธเจ้า จึงทำให้มีคนนับถือมาก)

2. เรื่องราวของพระเทวทัต ซึ่งชาตินี้ท่านลงนรกอเวจี แต่พระพุทธเจ้าของเราบอกว่า ท่านบำเพ็ญบารมีมาครบ 2 อสงไขยกัปแล้ว เมื่อพ้นกรรมมาได้ ต่อไปท่านจะได้บรรลุธรรมเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า สมดังที่ปรารถนาไว้

จะเห็นว่า ฉันทะ วิริยะ จิตตะ ท่านมีเต็มที่ แต่วิมังสาทั้งทำผิดศีล ทำสมาธิผิด และมีปัญญาที่ผิดมาหลายชาติ โดยเฉพาะชาติที่เจอพระโพธิสัตว์ของเราจะจองเวรตลอดจนชาติสุดท้าย แต่เมื่อฉันทะยังอยู่ ก็ทำให้วิริยะ จิตตะยังอยู่ และก็จะทำให้ท่านไปเจอวิมังสาที่ถูกต้องได้ คือศีล สมาธิ ปัญญาที่ถูกต้องได้และสำเร็จได้ในที่สุดครับ เพียงแต่ต้องเนิ่นช้าออกไป

 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ม.ค. 2005, 9:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อิทธิบาท แปลตรงตัวว่า "ทางแห่งฤทธิ์" คือทางแห่งความสำเร็จ ดูความหมายว่า "ทาง" ที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ นั้นเป็นทางของ"อิทธิ"คือต้องใช้"อิทธิ"ไปตาม "ทาง"หรือตาม "บาท"



อิทธิแปลว่า "อำนาจที่บันดาลผลสำเร็จ" คือใช้ฤทธิ์ทำให้สำเร็จ ได้แก่อามิสฤทธิ์ และ ธรรมฤทธิ์ หมายถึงความสำเร็จรุ่งเรืองทางวัตถุ กับความสำเร็จรุ่งเรืองในทางธรรม



การเจริญอิทธิบาททำยังไง?
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2005, 12:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การเจริญอิทธิบาททำยังไง ถ้าเป็นแนวคิดลึกซึ้งผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ แต่ถ้าเป็นความเข้าใจของผม คิดว่า ผมก็จะทำเหมือนตอนที่ครูสอนตอนอยู่ชั้นม.1 นั่นแหละครับ ในหนังสือวิชาพระพุทธศาสนา ก็จะบอกว่าอิทธิบาท 4 คือ คุณธรรมแห่งความสำเร็จ แบ่งเป็น ฉันทะ ซึ่งตอนนั้นผมเข้าใจว่า เราอยากสำเร็จในเรื่องนั้นๆ เช่น อยากเรียนให้จบ วิริยะ ตอนนั้นผมเข้าใจว่า พากเพียร ก็ดูหนังสือเยอะๆ จิตตะ ตอนนั้นผมเข้าใจว่า ตั้งใจฟังครูสอน วิมังสา ผมเข้าใจว่าเราเรียนแล้วเราเข้าใจหรือไม่ โดยทดลองทำแบบฝึกหัด แล้วตรวจสอบดูว่าถูกหรือผิด ถ้าผิดแล้ววิธีที่ถูกคืออะไร

ตอนนี้ผมก็ยังเข้าใจอย่างนั้นอยู่ครับ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2005, 3:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คือเมื่อมีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว วิริยะย่อมตามมา และคุณธรรมอื่นๆก็ตามมา นี่ย่อมเป็นอิทธิบาท แต่อิทธิบาทนี่เป็นธรรม ผมนึกอยากทราบว่าพระพุทธเจ้าจะเจริญอิทธิบาทอย่างไรในการทำให้อายุยืน



คือมีคนพูดเรื่องเจริญอิทธิบาทมาก แต่ผมสงสัยตอนแรกว่าเขาทำยังไงเจริญอิทธิบาท แต่เข้าใจว่ามีในภาษาบาลี



แล้วผมยังสงสัยว่าสมัปปธาน ๔ เวลาเจริญมีธรรมที่เป็นอิทธิบาทด้วยหรือไม่ แต่ก็เข้าใจว่าการพิจารณาว่ามีอิทธิบาทด้วยหรือไม่นี่ จะต้องพิจารณาว่ามีฉันทะหรือไม่ แต่อย่างไรหรือประมาณเท่าใดจึงเรียกว่า"ฉันทะ"



เพราะฉันทะนั้นทำถึงขั้นมีฤทธิ์ที่จะให้เกิดความสำเร็จ ฉันทะมากเท่าใด วิริยะก็มากเท่านั้น จิตตะ และวิมังสา ก็จะตามมาในระดับมีกำลังเท่ากันด้วย แล้วเจริญในเรื่องใดเล่า



ถ้าเราอยากเรียนหนังสือ เราก็ทำความพอใจหรือศรัทธาในการเรียนให้เกิดขึ้น แล้วมีความเพียรในการศึกษาไม่หยุดไม่หย่อน นี่เป็นอามิสฤทธิ์ก็ย่อมได้ แต่ธรรมฤทธิ์ให้อายุยืน ทำฉันทะในเรื่องอะไร? หรือว่าเจริญอย่างไร?



แต่ผมก็หาคำตอบได้ ด้วยการถามท่านผู้รู้ ถ้ายังไม่มีใครทราบก็ต้องใช้เวลาอีกพักหนึ่งให้เจอท่านผู้รู้ เวลานี้ท่านผู้รู้เดินสายไม่รู้ท่านไปแสดงธรรมอยู่จังหวัดไหน แต่เมื่อท่าบอกแล้วไม่ทราบว่าผมจะเข้าใจหรือไม่
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2005, 3:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอแก้ถ้อยคำเป็น "สัมมัปปธาน" ที่เขียนไว้ข้างบนนั้นผิดครับ
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2005, 4:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าคุณโอ่ได้คำตอบแล้ว ช่วยบอกด้วยนะครับผมก็อยากทราบเหมือนกัน
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2005, 9:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

[๒๓๑] อิทธิบาท ๔ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท

อันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท

อันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน

ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน

ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร ฯ

 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2005, 9:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

[๓๓๕] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก

ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอิทธิบาทสี่. ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย

วิริยสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยจิตสมาธิ และปธานสังขาร

เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร. ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา

ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญอิทธิบาทสี่นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ

 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2005, 9:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อปารสูตร

อิทธิบาท ๔

[๑๑๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท

อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธาน-

สังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย

วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง.



จบ สูตรที่ ๑
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2005, 9:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปเทสสูตร

ฤทธิ์สำเร็จได้เพราะเจริญอิทธิบาท

[๑๑๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ยัง

ส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็

เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล

จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้

ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน

ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ย่อมยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้

ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทประ

กอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.

[๑๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล ยัง

ส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็

เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ใน

อนาคตกาล จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังส่วนแห่งฤทธิ์

ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ย่อมยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ย่อมยัง

ส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.



จบ สูตรที่ ๕
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2005, 8:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โอ้ แจ๋วครับ กำลังว่าจะไปยืมพระไตรปิฎกเขามาเปิดดูท่อนนี้พอดีเลยครับ ขอบคุณมากนะครับ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2005, 4:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมดูจากเวบของธรรมจักรนี่แหละ กำลังหาว่าในที่อื่นๆจะมีรายละเอียดไหม? แต่รู้ว่าสมาธินี้เอาสังขารเป็นใหญ่ เป็นประธานหมด ผมจะหาเวลาหาเพิ่มในที่ไม่ใช่พระไตรปิฏกว่าพอมีอะไรบ้างหรือไม่
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2005, 9:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองดูสำนวนในวิสุทธิมรรคบ้างนะครับ



"...........ฝ่ายพระอิทธิบาททั้ง ๔ นั้น ก็ได้ในจิตต่างๆ เมื่อกระทำฉันทะเป็น



อธิบดีแล้ว แลยังกุศลธรรมให้บังเกิดในจิตตุปบาทอันใด จึงได้ฉันทิทที



บาทในจิตตุปบาทนั้น เมื่อกระทำวิริยจิตตะปัญญาเป็นอธิบดีแล้วยังกุศล



ธรรมให้บังเกิดในจิตตุปบาทใดๆ จึงได้วิริยะจิตตะวิมังสาจิตตุปบาทในอิทธิ



บาทนั้นๆ "
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2005, 9:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อิทธิบาท ๔

บางตอนจาก วิมุติมรรค (พลตรีนายแพทย์ ชาญ สุวรรณวิภัช แปลเรียบเรียง พร้อมคำอธิบาย)

คำว่า ฉันทะ หมายถึงความพอใจ ฉันทะในที่นี้ หมายถึงกัตตุกัมมยตาฉันทะ คือ ความอยากทำ ความใคร่ที่จะทำด้วยความพอใจ สมาธิ ความตั้งใจมั่นในอารมณ์ที่ตั้งใจไว้ จนได้ถึงอุปจาระและอัปปนาสมาธิปธานสังขาร เครื่องปรุงแต่งความเพียร ท่านหมายถึง สัมมัปปธานสี่ วิริยะ การตั้งความเพียร จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระราชวรมุนี) เอาใจจดจ่ออยู่แต่สิ่งนั้น วิมังสา ปัญญา การหมั่นตริตรองพิจารณา



ฉันทะสมาธิปธานสังขาร หมายถึง สมาธิที่เกิดจากการประกอบความเพียร ซึ่งมีฉันทะ ความพอใจอยากจะทำเป็นหัวหน้าใหญ่ หรือเป็นต้นเหตุ วิริยสมาธิปธานสังขาร หมายถึงสมาธิที่เกิดจากการประกอบความเพียร โดยมีความเพียรเป็นหัวหน้าใหญ่ จิตตสมาธิปธานสังขาร หมายถึง สมาธิที่เกิดจากการประกอบความเพียร โดยมีความเอาใจจดจ่ออยู่ เป็นหัวหน้าใหญ่ วิมังสาสมาธิปธานสังขาร หมายถึงสมาธิทีเกิดจากการประกอบความเพียร โดยมีปัญญาพิจารณาอยู่ เป็นหัวหน้าใหญ่



ถามว่า ปัญญาพิจารณาอะไร ?



ตอบว่า พิจารณาจิตในขณะนั้น หากจิตย่อหย่อนก็ให้ปลอบจิต ถ้าจิตหดหู่ก็ให้ยกจิตขึ้น ถ้าจิตฟุ้งซ่านก็ให้ข่มจิต



“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ตั้งความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น (ต้นฉบับรู้สึกว่าจะพิมพ์ผิด ผมเลยแก้ไขในข้อความข้างหน้าดังที่เห็น) เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อเจริญยิ่งๆขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่าปธานสังขาร “



(หมายเหตุโดย โอ่ จะเห็นว่าความหมายของปธานสังขารในข้างบน คือสัมมัปปธานสี่นั่นเอง )



ฉันทะนี้ด้วย ฉันทะสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย เรียกว่า อิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร วิริยสมาธิปธานสังขาร จิตตสมาธิปธานสังขาร วิมังสาสมาธิปธานสังขาร



(แค่นี้ก่อน เรื่องนี้ยังมีต่ออีก และเป็นความรู้ครับ โอ่)

 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ม.ค. 2005, 6:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากวิมุติมรรค (อ้างแล้ว)

วิภังคสูตร วิธีเจริญอิทธิบาทสี่

สํ.ม. ข้อ (๑๑๗๙-๑๒๐๔)

“ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาทสี่เหล่านี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาทสี่อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก



ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก



และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น



เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่



ภิกษุทั้งหลายฉันทะที่ย่อหย่อนเป็นไฉน?



ฉันทะที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี่เรียกว่าฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไป



ก็ฉันทะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน?



ฉันทะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี่เรียกว่าฉันทะต้องประคองเกินไป



ก็ฉันทะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน?



ฉันทะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี่เรียกว่าฉันทะที่หดหู่ในภายใน



ก็ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน?



ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป คิดถึงกามคุณห้าในภายนอก นี่เรียกว่าฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก



ภิกษุมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างไร?



ความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว กระทำไว้ในใจไว้ดีแล้ว (คิดว่าจะเป็นโยนิโสมนสิการ –โอ่) ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดด้วยปัญญา



ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างนี้แล



ก็ภิกษุมีความสำคัญว่าเบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างไร?



ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณากายนี้ (บทที่ขึ้นว่า อะยัง โข เม กาโย หรือกายคตาสติ – โอ่) เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องล่างแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มี ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูต (สามสิบสองอาการเหล่านี้เป็นล้วนแต่เป็นของปฏิxxxล) ภิกษุย่อมมีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างนี้แล (ยังมีอีก )

 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ม.ค. 2005, 4:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ต่อ)



ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างไร?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืนด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น



อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืนด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ในกลางวัน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น



ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างนี้แล



ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร?



อาโลกสัญญา (ความสำคัญแสงสว่าง) (เป็นกสิน – โอ่) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ยึดไว้ดีแล้ว มีความสำคัญว่ากลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล



ก็วิริยะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน?

ก็จิตตะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน?

ก็วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน?



(ข้อความที่จะอธิบายสามข้อข้างบนนี้หายไป เข้าใจว่าในหนังสือที่ผมค้นนี้มีการพิมพ์ตก และอาจตรวจทานไม่ดี – โอ่)



“ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาทสี่ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาทสี่ อย่างนี้แล ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาทสี่ อย่างนี้แล ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ม.ค. 2005, 5:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๒ วิภังคปกรณ์



[๕๐๕] อิทธิบาท ๔ คือ



๑. ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-



๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร



๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร



๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร



[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร]



[๕๐๖] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร



คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์



คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม



เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท



[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร]



[๕๐๙] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร



คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์



คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม



เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท



[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร]



[๕๑๒] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร



คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์



คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม



เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท



[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร]



[๕๑๕] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร



คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์



คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม



เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท



[๕๑๘] อิทธิบาท ๔ คือ



๑. ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-



๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร



๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร



๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร



[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร]



[๕๑๙] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร



ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร



คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของ



คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม



เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท



[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร]



[๕๒๒] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร



ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร



คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคล



คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม



เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท



[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร]



[๕๒๕] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร



ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธารสังขาร



คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคล



คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม



เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท



[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร]



[๕๒๘] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร



ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร



คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคล



คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม



เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท



[๕๓๑] อิทธิบาท ๔ คือ



[๕๓๒] ในอิทธิบาท ๔ นั้น ฉันทิทธิบาท เป็นไฉน



[๕๓๖] อิทธิบาท ๔ คือ



๑. ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-



๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร



๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร



๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร



บรรดาอิทธิบาท ๔ อิทธิบาทไหนเป็นกุศล อิทธิบาทไหนเป็นอกุศล



อิทธิบาทไหนเป็นอัพยากฤต ฯลฯ อิทธิบาทไหนเป็นสรณะ อิทธิบาทไหน



[๕๓๗] อิทธิบาท ๔ เป็นกุศลอย่างเดียว อิทธิบาท ๔ เป็นสุขเวทนา-



*สัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี อิทธิบาท ๔ เป็นวิปากธัมมธรรม



อิทธิบาท ๔ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ อิทธิบาท ๔ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ



อิทธิบาท ๔ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกา-



*วิจาระก็มี อิทธิบาท ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขา-



*สหคตะก็มี อิทธิบาท ๔ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ อิทธิบาท ๔ เป็น



เนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ อิทธิบาท ๔ เป็นอปจยคามี อิทธิบาท ๔



เป็นเสกขะ อิทธิบาท ๔ เป็นอัปปมาณะ อิทธิบาท ๔ เป็นอัปปมาณารัมมณะ



อิทธิบาท ๔ เป็นปณีตะ อิทธิบาท ๔ เป็นสัมมัตตนิยตะ อิทธิบาท ๔ ไม่เป็น



มัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ ไม่เป็นมัคคาธิปติ อิทธิบาท ๔ เป็นอุปปันนะก็มี



เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่าเป็นอุปปาที อิทธิบาท ๔ เป็นอดีตก็มี เป็น



อนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี อิทธิบาท ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ



แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ อิทธิบาท ๔ เป็นอัชฌัตตะ



ก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี อิทธิบาท ๔ เป็นพหิทธารัมมณะ



อิทธิบาท ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ



[๕๓๘] วีมังสิทธิบาท เป็นเหตุ อิทธิบาท ๓ เป็นนเหตุ อิทธิบาท ๔



เป็นสเหตุกะ อิทธิบาท ๔ เป็นเหตุสัมปยุต วีมังสิทธิบาท เป็นเหตุสเหตุกะ



อิทธิบาท ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นแต่สเหตุกนเหตุ วีมังสิทธิ-





 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ม.ค. 2005, 5:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องอิทธิบาทนี้เป็นธรรมที่มีความลึกซึ้ง ถือเป็นการเจริญปัญญา น่าจะมีคนเขียนเรื่องอิทธิบาทแยกออกมา เหมือนกับเรื่องปฏิจจสมุปปาทที่มีการแยกออกมาอธิบาย เมื่อดูแล้วเห็นว่าเรื่องอิทธิบาทนี้เป็นเรื่องของผู้เจริญสมาธิมีความชำนาญแล้วในอัปณาสมาธิ เป็นการเจริญฤทธิ์และเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นด้วย และคงไม่ค้นต่อ เพราะมากเกินพอที่จะศึกษา และที่นำเสนอที่นี้ก็ทำให้ผู้สนใจจะค้นหาได้ทั้งในพระสูตรและพระอภิธรรม ทั้งในพระไตรปิฏก ในอรรถกถา (ที่นี่ไม่ได้ยกในอรรถกถามานำเสนอ เพราะคิดว่าพอแล้ว) ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค (อาจหลายสำนวนแปล) และในวิสุทธิมรรค ก็เพียงพอในการค้นหา
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง